ที่มาของโครงการ
ประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั้น มีหลายประเด็นที่ได้รับความสนใจ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้าง ทั้งข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก การทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น/นักเรียน ข่าวสุนัขกัดเด็ก หรือข่าวเรื่องการรณรงค์รักษาวัฒนธรรมไทย ในประเด็นสำคัญต่างๆ เหล่านี้ ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือว่าเป็นข่าวที่ประชาชนทั่วประเทศต่างให้ความสนใจและติดตามสถานการณ์ด้วยความรู้สึกห่วงใยมาโดยตลอด นอกจากนี้หลายฝ่ายต่างวิตกกังวลถึงปัญหา ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในแง่ของภาพรวมของประเทศและในแง่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ถึงประเด็นความคิดเห็นและความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามประเด็นข่าวสำคัญทางการเมืองและสังคมของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ความสนใจติดตามข่าวสาร และความห่วงใยของคนกรุงต่อปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,111 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 54.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 38.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 29.8 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 15.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 12.2 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 4.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 15.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 30.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ ปวช.
ร้อยละ 13.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
ร้อยละ 38.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 20.6 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.6 ค้าขาย / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 8.9 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.7 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 15.4 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน เกษียณอายุ เกษตรกร
ในขณะที่ร้อยละ 3.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสื่อที่ใช้ในการติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่ติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคมต่างๆ ร้อยละ
1 โทรทัศน์ 89.8
2 หนังสือพิมพ์ 72.5
3 วิทยุ 31.1
4 อินเตอร์เน็ต 13.0
5 ไม่ได้ติดตามข่าวเลย 0.9
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นข่าวการเมืองและสังคมที่สนใจติดตามในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเด็นข่าวการเมืองและสังคมที่สนใจติดตาม ร้อยละ
1 ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 80.8
2 การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก 66.0
3 การทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น/นักเรียน 43.3
4 ข่าวถ่ายแบบบัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย 39.1
5 ข่าวการชุมนุมประท้วงของพนักงาน กฟผ. 36.4
6 การกลับมาของยาเสพติด 34.7
7 ข่าวอาชญากรรมรายวัน 32.8
8 การออกกฎกระทรวงกำหนดเวลาเปิด-ปิดสถานบันเทิง 32.0
9 การควบคุมเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกจากบ้านหลังเวลา 4 ทุ่ม - ตี 4 27.2
10 เจ้าหน้าที่ตำรวจข่มขืนเด็กที่ จ.สมุทรปราการ 24.8
11 สุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์กัดเด็ก 23.9
12 การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 18.3
13 การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดสงขลา 16.9
14 ข่าวการจัดงานกรุงเทพเมืองแฟชั่น 15.8
15 การทุจริตโครงการรับจำนำข้าว 10.9
16 การเลือกตั้งประธานวุฒิสภา 9.7
17 การแต่งตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน 7.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อข่าวสารที่ได้รับเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบ
ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
อันดับที่ ความรู้สึกต่อข่าวสารที่ได้รับเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบใน ร้อยละ
พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1 รู้สึกสับสน /ไม่เข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 58.3
2 ไม่รู้สึกสับสน /เข้าใจชัดเจนดีแล้ว 19.2
3 ไม่มีความเห็น 22.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความห่วงใยของคนกรุงเทพต่อพี่น้องประชาชนชาวภาคใต้
จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ความห่วงใยของคนกรุงเทพต่อพี่น้องประชาชนชาวภาคใต้ ร้อยละ
จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 72.2
2 เรื่องการเรียนของเด็กๆ 63.3
3 ความปลอดภัยในชีวิตของเด็ก 54.8
4 ความไม่มั่นคงของประเทศ 47.1
5 สุขภาพจิตของประชาชน 42.2
6 ขวัญและกำลังใจของประชาชนในพื้นที่ 38.1
7 ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รัฐ 35.4
8 ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนในพื้นที่ 30.1
9 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.9
10 ขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่รัฐ 26.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลว่าปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ จะลุกลามบานปลายเป็นปัญหาก่อการร้ายระดับประเทศ
ลำดับที่ ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ
จะลุกลามบานปลายเป็นปัญหาก่อการร้ายระดับประเทศ
1 กังวล 45.5
2 ไม่กังวล 15.1
3 ไม่มีความเห็น 39.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลว่าจะสามารถยุติปัญหาความไม่สงบ
ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลว่าจะสามารถยุติปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ร้อยละ
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแท้จริง
1 มั่นใจ 12.8
2 ค่อนข้างมั่นใจ 18.9
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 40.2
4 ไม่มั่นใจ 15.8
5 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ความสนใจติดตามข่าวสาร และความห่วงใยของคนกรุงต่อปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้" ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,111 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23 - 26 กุมภาพันธ์ 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจในประเด็นพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 89.8 ระบุ ติดตามข่าวสารต่างๆทางโทรทัศน์ ร้อยละ 72.5 ระบุติดตามทางหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 31.1 ระบุติดตามทางวิทยุ และร้อยละ 13.0 ระบุติดตามข่าวสารต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
- ประชาชนคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังคงสนใจติดตามปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็นอันดับหนึ่ง และยังสับสนไม่เข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างได้ระบุประเด็นข่าวสำคัญทางการเมืองและสังคมที่กำลังติดตามอยู่ในขณะนี้ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 80.8 ระบุติดตามข่าวปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 66.0 ระบุติดตามข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ร้อยละ 43.3 ระบุติดตามข่าวการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น/นักเรียน ร้อยละ 39.1 ระบุติดตามข่าวเกี่ยวกับการถ่ายแบบบัตรเครดิตของธนาคารกรุงไทย ร้อยละ 36.4 ระบุติดตามข่าวกรณีการชุมนุมประท้วงของพนักงาน กฟผ. และร้อยละ 34.7 ระบุติดตามข่าวการกลับมาของยาเสพติด ตามลำดับ
สำหรับประเด็นความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อข่าวสารที่ได้รับเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.3 ระบุว่า รู้สึกสับสนและไม่เข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 19.2 ระบุไม่สับสน/เข้าใจชัดเจนดีแล้ว และร้อยละ 22.5 ไม่มีความคิดเห็น
- ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การเรียน และความปลอดภัยของเด็กๆ เป็นสิ่งที่คนกรุงเทพฯ ห่วงใยประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด
ผลสำรวจพบว่า สิ่งที่ตัวอย่างประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความวิตกกังวลต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด 5 อันดับแรกมีดังนี้ ร้อยละ 72.2 ระบุเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ร้อยละ 63.3 เป็นห่วงเรื่องการเรียนของเด็กๆ ร้อยละ 54.8 เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตของเด็กๆ ร้อยละ 47.1 เป็นห่วงเรื่องผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และร้อยละ 42.2 เป็นห่วงเรื่องปัญหาสุขภาพจิตของพี่น้องชาวใต้
- ความวิตกกังวลต่อปัญหาการก่อการร้ายและความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาตัวอย่างร้อยละ 45.5 ระบุมีความวิตกกังวลว่าปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะลุกลามบานปลายกลายเป็นปัญหาการก่อการร้ายในระดับประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 15.1 ระบุไม่รู้สึกวิตกกังวล และร้อยละ 39.4 ไม่มีความเห็น ซึ่งเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความมั่นใจต่อรัฐบาลในการยุติปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว พบว่า ตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 56.0 ระบุไม่ค่อยมั่นใจ/ ไม่มั่นใจ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 31.7 ระบุ ค่อนข้างมั่นใจ/มั่นใจ และร้อยละ 12.3 ไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั้น มีหลายประเด็นที่ได้รับความสนใจ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้าง ทั้งข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก การทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น/นักเรียน ข่าวสุนัขกัดเด็ก หรือข่าวเรื่องการรณรงค์รักษาวัฒนธรรมไทย ในประเด็นสำคัญต่างๆ เหล่านี้ ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือว่าเป็นข่าวที่ประชาชนทั่วประเทศต่างให้ความสนใจและติดตามสถานการณ์ด้วยความรู้สึกห่วงใยมาโดยตลอด นอกจากนี้หลายฝ่ายต่างวิตกกังวลถึงปัญหา ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในแง่ของภาพรวมของประเทศและในแง่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ถึงประเด็นความคิดเห็นและความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามประเด็นข่าวสำคัญทางการเมืองและสังคมของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ความสนใจติดตามข่าวสาร และความห่วงใยของคนกรุงต่อปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,111 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 54.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 38.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 29.8 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 15.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 12.2 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 4.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 15.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 30.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ ปวช.
ร้อยละ 13.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
ร้อยละ 38.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 20.6 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.6 ค้าขาย / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 8.9 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.7 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 15.4 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน เกษียณอายุ เกษตรกร
ในขณะที่ร้อยละ 3.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสื่อที่ใช้ในการติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่ติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคมต่างๆ ร้อยละ
1 โทรทัศน์ 89.8
2 หนังสือพิมพ์ 72.5
3 วิทยุ 31.1
4 อินเตอร์เน็ต 13.0
5 ไม่ได้ติดตามข่าวเลย 0.9
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นข่าวการเมืองและสังคมที่สนใจติดตามในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเด็นข่าวการเมืองและสังคมที่สนใจติดตาม ร้อยละ
1 ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 80.8
2 การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก 66.0
3 การทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น/นักเรียน 43.3
4 ข่าวถ่ายแบบบัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย 39.1
5 ข่าวการชุมนุมประท้วงของพนักงาน กฟผ. 36.4
6 การกลับมาของยาเสพติด 34.7
7 ข่าวอาชญากรรมรายวัน 32.8
8 การออกกฎกระทรวงกำหนดเวลาเปิด-ปิดสถานบันเทิง 32.0
9 การควบคุมเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกจากบ้านหลังเวลา 4 ทุ่ม - ตี 4 27.2
10 เจ้าหน้าที่ตำรวจข่มขืนเด็กที่ จ.สมุทรปราการ 24.8
11 สุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์กัดเด็ก 23.9
12 การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 18.3
13 การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดสงขลา 16.9
14 ข่าวการจัดงานกรุงเทพเมืองแฟชั่น 15.8
15 การทุจริตโครงการรับจำนำข้าว 10.9
16 การเลือกตั้งประธานวุฒิสภา 9.7
17 การแต่งตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน 7.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อข่าวสารที่ได้รับเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบ
ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
อันดับที่ ความรู้สึกต่อข่าวสารที่ได้รับเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบใน ร้อยละ
พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1 รู้สึกสับสน /ไม่เข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 58.3
2 ไม่รู้สึกสับสน /เข้าใจชัดเจนดีแล้ว 19.2
3 ไม่มีความเห็น 22.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความห่วงใยของคนกรุงเทพต่อพี่น้องประชาชนชาวภาคใต้
จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ความห่วงใยของคนกรุงเทพต่อพี่น้องประชาชนชาวภาคใต้ ร้อยละ
จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 72.2
2 เรื่องการเรียนของเด็กๆ 63.3
3 ความปลอดภัยในชีวิตของเด็ก 54.8
4 ความไม่มั่นคงของประเทศ 47.1
5 สุขภาพจิตของประชาชน 42.2
6 ขวัญและกำลังใจของประชาชนในพื้นที่ 38.1
7 ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รัฐ 35.4
8 ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนในพื้นที่ 30.1
9 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.9
10 ขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่รัฐ 26.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลว่าปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ จะลุกลามบานปลายเป็นปัญหาก่อการร้ายระดับประเทศ
ลำดับที่ ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ
จะลุกลามบานปลายเป็นปัญหาก่อการร้ายระดับประเทศ
1 กังวล 45.5
2 ไม่กังวล 15.1
3 ไม่มีความเห็น 39.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลว่าจะสามารถยุติปัญหาความไม่สงบ
ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลว่าจะสามารถยุติปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ร้อยละ
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแท้จริง
1 มั่นใจ 12.8
2 ค่อนข้างมั่นใจ 18.9
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 40.2
4 ไม่มั่นใจ 15.8
5 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ความสนใจติดตามข่าวสาร และความห่วงใยของคนกรุงต่อปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้" ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,111 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23 - 26 กุมภาพันธ์ 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจในประเด็นพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 89.8 ระบุ ติดตามข่าวสารต่างๆทางโทรทัศน์ ร้อยละ 72.5 ระบุติดตามทางหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 31.1 ระบุติดตามทางวิทยุ และร้อยละ 13.0 ระบุติดตามข่าวสารต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
- ประชาชนคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังคงสนใจติดตามปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็นอันดับหนึ่ง และยังสับสนไม่เข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างได้ระบุประเด็นข่าวสำคัญทางการเมืองและสังคมที่กำลังติดตามอยู่ในขณะนี้ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 80.8 ระบุติดตามข่าวปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 66.0 ระบุติดตามข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ร้อยละ 43.3 ระบุติดตามข่าวการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น/นักเรียน ร้อยละ 39.1 ระบุติดตามข่าวเกี่ยวกับการถ่ายแบบบัตรเครดิตของธนาคารกรุงไทย ร้อยละ 36.4 ระบุติดตามข่าวกรณีการชุมนุมประท้วงของพนักงาน กฟผ. และร้อยละ 34.7 ระบุติดตามข่าวการกลับมาของยาเสพติด ตามลำดับ
สำหรับประเด็นความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อข่าวสารที่ได้รับเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.3 ระบุว่า รู้สึกสับสนและไม่เข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 19.2 ระบุไม่สับสน/เข้าใจชัดเจนดีแล้ว และร้อยละ 22.5 ไม่มีความคิดเห็น
- ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การเรียน และความปลอดภัยของเด็กๆ เป็นสิ่งที่คนกรุงเทพฯ ห่วงใยประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด
ผลสำรวจพบว่า สิ่งที่ตัวอย่างประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความวิตกกังวลต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด 5 อันดับแรกมีดังนี้ ร้อยละ 72.2 ระบุเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ร้อยละ 63.3 เป็นห่วงเรื่องการเรียนของเด็กๆ ร้อยละ 54.8 เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตของเด็กๆ ร้อยละ 47.1 เป็นห่วงเรื่องผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และร้อยละ 42.2 เป็นห่วงเรื่องปัญหาสุขภาพจิตของพี่น้องชาวใต้
- ความวิตกกังวลต่อปัญหาการก่อการร้ายและความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาตัวอย่างร้อยละ 45.5 ระบุมีความวิตกกังวลว่าปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะลุกลามบานปลายกลายเป็นปัญหาการก่อการร้ายในระดับประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 15.1 ระบุไม่รู้สึกวิตกกังวล และร้อยละ 39.4 ไม่มีความเห็น ซึ่งเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความมั่นใจต่อรัฐบาลในการยุติปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว พบว่า ตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 56.0 ระบุไม่ค่อยมั่นใจ/ ไม่มั่นใจ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 31.7 ระบุ ค่อนข้างมั่นใจ/มั่นใจ และร้อยละ 12.3 ไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-