ที่มาของโครงการ
ในช่วงต้นเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี เป็นช่วงที่นิสิตนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาและเข้าสู่ตลาดแรงงาน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อศึกษาถึงความคาดหวังในการทำงานของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคาดหวังในการทำงานของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2. เพื่อสำรวจข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "นิสิตนักศึกษากับความคาดหวังในการทำงาน : กรณีศึกษานิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล"ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 3 -4 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามที่มีลักษณะสอดคล้องกับลักษณะของประชากร เป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,231 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.7 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 44.3 ระบุเป็นชาย ซึ่งร้อยละ 41.1 ศึกษาในมหาวิทยาลัยปิดของรัฐ ร้อยละ 32.8 ศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ และร้อยละ 26.1 ศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน ร้อยละ 33.3 ระบุเกรดเฉลี่ยไม่เกิน 2.50 ร้อยละ 40.6 ระบุเกรดเฉลี่ยระหว่าง 2.51 - 3.00 และร้อยละ 26.1 มีเกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.00
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการวางแผนชีวิตภายหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว
การวางแผนชีวิตภายหลัง มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
จากสำเร็จการศึกษาแล้ว ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. ทำงานบริษัทเอกชน 38.9 23.7 45.9 35.6
2. ทำงานรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ 11.0 34.8 13.8 19.5
3. ทำธุรกิจส่วนตัว / ธุรกิจครอบครัว 12.0 21.0 27.1 19.0
4. ศึกษาต่อในประเทศไทย 23.5 14.9 7.3 16.4
5. ศึกษาต่อต่างประเทศ 12.2 2.8 5.0 7.3
6. อื่นๆ อาทิ ยังไม่ได้วางแผนชีวิต /
เรียนควบคู่ไปกับการทำงาน 2.4 2.8 0.9 2.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งที่ค้นหางาน / สมัครงาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
แหล่งที่ค้นหางาน / สมัครงาน มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. คนรู้จักแนะนำ 55.6 53.6 60.9 56.2
2. หนังสือพิมพ์ / นิตยสาร 47.8 54.2 53.8 51.7
3. อินเตอร์เนต 55.9 35.5 45.5 45.4
4. ฝ่ายแนะแนวการศึกษาของสถาบัน 33.8 35.8 21.9 31.0
5. กรอกใบสมัครงานฝากไว้
ตามหน่วยงานต่างๆ 32.2 16.7 25.8 24.9
6. ตลาดนัดแรงงาน 27.2 20.0 19.0 22.1
7. ป้ายประกาศ / แผ่นพับ / ใบปลิว 23.4 25.5 16.1 21.9
8. อื่นๆ อาทิ วิทยุ / โทรทัศน์ 3.5 3.0 4.0 3.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกวิตกกังวลในการสมัครงาน / สัมภาษณ์งาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา)
ความรู้สึกวิตกกังวลในการสมัครงาน / มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
สัมภาษณ์งาน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. วิตกกังวล 59.4 62.5 62.5 61.3
2. ไม่มีความวิตกกังวล 40.6 37.5 37.5 38.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตัวอย่างที่มีความรู้สึกวิตกกังวล ให้เหตุผลเพราะ......
1) งานหายาก / ไม่มีตำแหน่งงานรองรับ / บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีจำนวนมาก
2) ไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน
3) ขาดความพร้อมในการสัมภาษณ์งาน
4) กลัวไม่ถูกตอบรับจากหน่วยงานต่างๆ / ไม่ถูกเรียกสัมภาษณ์งาน
5) มีความประหม่า ตื่นเต้น / ไม่มีความมั่นใจตัวอย่างที่ไม่มีความรู้สึกวิตกกังวล ให้เหตุผลเพราะ.........
1) มีความมั่นใจในตัวเอง
2) มีฐานะดีอยู่แล้ว / ไม่เดือดร้อน
3) คิดว่าตนเองมีความรู้ ความสามารถเพียงพอ
4) คิดว่าตนเองมีประสบการณ์ในการทำงาน
5) มีเส้นสาย / คนรู้จักฝากเข้าทำงาน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองจะมีโอกาสตกงาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา)
ความรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
เรื่องที่ตนเองจะมีโอกาสตกงาน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. วิตกกังวลมาก 6.4 9.0 11.0 8.5
2. ค่อนข้างวิตกกังวล 31.5 42.3 36.0 36.7
3. ไม่ค่อยวิตกกังวล 45.7 32.6 39.0 38.9
4. ไม่วิตกกังวลเลย 16.4 16.1 14.0 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดด้อยของตนเองที่จะทำให้ไม่ผ่านการคัดเลือกเข้าทำงาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จุดด้อยที่จะทำให้ไม่ผ่าน มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
การคัดเลือกเข้าทำงาน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. ทักษะด้านภาษาอังกฤษ 60.9 68.4 58.8 61.7
2. ประสบการณ์ในการทำงาน 57.5 55.2 60.6 57.7
3. เส้นสาย 32.5 34.5 33.3 33.1
4. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ 27.2 37.3 23.3 29.4
5. ผลการเรียน 23.1 14.2 24.0 20.2
6. บุคลิกภาพ / รูปร่างหน้าตา 13.8 18.2 10.8 14.3
7. ชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา 2.5 4.2 13.3 6.4
8. สุขภาพร่างกาย 3.4 6.4 6.1 5.2
9. อื่นๆ อาทิ เพศ / อายุ /
การผ่านการเกณฑ์ทหาร /
ประวัติการเคยกระทำผิดคดีอาญา 9.4 10.8 13.5 11.2
10. ไม่มีจุดด้อยเลย 2.5 3.3 3.9 3.5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดเด่นของตนเองที่จะทำให้ผ่านการคัดเลือกเข้าทำงาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จุดเด่นที่จะทำให้ผ่าน มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
การคัดเลือกเข้าทำงาน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. สุขภาพร่างกาย 33.6 42.7 39.6 38.7
2. ชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา 62.9 28.8 22.1 38.3
3. ผลการเรียน 33.6 30.6 36.4 33.3
4. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ 30.2 24.5 40.7 31.6
5. บุคลิกภาพ / รูปร่างหน้าตา 24.6 30.6 39.3 31.1
6. การผ่านการเกณฑ์ทหาร 18.4 24.5 20.4 21.1
7. ประสบการณ์ในการทำงาน 15.3 21.5 16.4 18.1
8. ทักษะด้านภาษาอังกฤษ 19.6 11.2 22.1 17.2
9. อื่นๆ อาทิ เพศ / อายุ /
เส้นสาย 39.9 42.1 47.8 43.0
10. ไม่มีจุดเด่นเลย 5.3 6.4 4.3 5.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่คาดหวังว่าจะได้งานทำภายหลังจากสำเร็จการศึกษา
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา)
ระยะเวลาที่คาดหวังว่าจะได้งานทำ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
ภายหลังจากสำเร็จการศึกษา ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
ไม่เกิน 1 เดือน 22.9 11.2 17.3 17.1
2 เดือน 17.7 15.6 22.2 18.4
3 เดือน 26.2 31.5 31.7 29.7
4 เดือน 3.7 6.9 2.9 4.5
5 เดือน 5.9 6.9 4.1 5.9
6 เดือน 16.6 17.4 14.0 15.9
มากกว่า 6 เดือน 7.0 10.5 7.8 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
มหาวิทยาลัยปิดของรัฐ ค่าเฉลี่ย = 3.7 เดือน
มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ ค่าเฉลี่ย = 4.2 เดือน
มหาวิทยาลัยเอกชน ค่าเฉลี่ย = 3.6 เดือน
ภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 3.8 เดือน
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนเงินเดือนที่คาดหวังว่าจะได้รับจากการทำงาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา)
จำนวนเงินเดือนที่คาดหวังว่า มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
จะได้รับจากการทำงาน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
ไม่เกิน 8,000 บาท / เดือน 13.2 55.0 24.3 30.8
8,001-10,000 บาท / เดือน 33.2 28.9 46.7 35.7
10,001 - 15,000 บาท / เดือน 35.3 11.8 20.4 22.9
มากกว่า 15,000 บาท / เดือน 18.3 4.3 8.6 10.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
มหาวิทยาลัยปิดของรัฐ ค่าเฉลี่ย = 13,424 บาท / เดือน
มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ ค่าเฉลี่ย = 9,102 บาท / เดือน
มหาวิทยาลัยเอกชน ค่าเฉลี่ย = 11,215 บาท / เดือน
ภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 11,286 บาท / เดือน
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพื้นที่ที่ตั้งใจว่าจะทำงาน (เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงาน
ภายหลังจากสำเร็จการศึกษา)
พื้นที่ที่ตั้งใจว่าจะทำงาน มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 85.1 65.1 83.9 77.7
2. จังหวัดภูมิลำเนาเดิม 9.2 20.8 9.7 13.3
3. จังหวัดหัวเมืองใหญ่ 5.3 13.8 4.8 8.3
4. ต่างประเทศ 0.4 0.3 1.6 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจที่จะทำงานรับราชการ
ความสนใจที่จะทำงานรับราชการ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. สนใจ 41.1 77.2 42.0 53.2
2. ไม่สนใจ 58.9 22.8 58.0 46.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตัวอย่างที่สนใจรับราชการ ให้เหตุผล เพราะ......
1) เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง
2) มีสวัสดิการดี
3) มีเกียรติยศ ชื่อเสียง / เป็นที่นับหน้าถือตา
4) เจริญรอยตามผู้ปกครอง
ตัวอย่างที่ไม่สนใจรับราชการ ให้เหตุผล เพราะ.........
1) เงินเดือนน้อย
2) มีระเบียบ กฎเกณฑ์เยอะ / ไม่มีอิสระ / ไม่ชอบระบบการทำงาน
3) ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ
4) งานน่าเบื่อ
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับปัญหาการว่างงานของ
ประชาชน
ความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการให้ความ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
สำคัญกับปัญหาการว่างงานของประชาชน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. ให้ความสำคัญมาก 9.3 14.2 17.3 13.1
2. ปานกลาง 62.8 64.5 62.9 63.2
3. น้อย 27.9 21.3 19.8 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาที่ตนเอง
ศึกษาว่ามีความรู้ความสามารถเพียงพอในการทำงานหรือไม่
หลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาที่ศึกษามีความรู้ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
ความสามารถเพียงพอในการทำงานหรือไม่ ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. เพียงพอในการทำงาน 48.6 50.8 48.7 49.3
2. ไม่เพียงพอในการทำงาน 31.0 34.7 32.1 32.5
3. ไม่แน่ใจ 20.4 14.5 19.2 18.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน
ในระดับอุดมศึกษา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ร้อยละ
1 เน้นการปฏิบัติจริง / การนำไปใช้ 46.4
2 เน้นทักษะด้านภาษาอังกฤษ 23.4
3 เน้นทักษะด้านคอมพิวเตอร์ / เทคโนโลยีต่างๆ 20.0
4 สอดแทรกความรู้รอบตัว/ สถานการณ์ปัจจุบัน นอกหลักสูตร 18.1
5 เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน / แสดงความคิดเห็น 15.3
6 มีการพัฒนาคุณภาพ / ความรู้ความสามารถ ของอาจารย์อยู่ตลอดเวลา 8.8
7 ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัย 7.6
8 อื่นๆ อาทิ ปลูกฝังมารยาท จริยธรรม / ประกันคุณภาพการศึกษาให้มี
มาตรฐานเดียวกันทุกสถาบัน / เปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ด้อยโอกาส 8.8
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "นิสิตนักศึกษากับความคาดหวังในการทำงาน : กรณีศึกษานิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,231 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า นิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.6 วางแผนชีวิตที่จะทำงานบริษัทเอกชนภายหลังจากสำเร็จการศึกษา รองลงมา ร้อยละ 19.5 วางแผนรับราชการ ร้อยละ 19.0 วางแผนทำธุรกิจส่วนตัว / ครอบครัว ร้อยละ 16.4 วางแผนที่จะศึกษาต่อในประเทศไทย และ ร้อยละ 7.3 วางแผนที่จะศึกษาต่อยังต่างประเทศ และเมื่อจำแนกตามประเภทของสถาบันการศึกษา พบว่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐวางแผนทำงานรับราชการ / รัฐวิสาหกิจมากที่สุด คือ ร้อยละ 34.8 ส่วนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยปิดของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน วางแผนที่จะทำงานบริษัทเอกชนมากที่สุด คือร้อยละ 38.9 และ ร้อยละ 45.9 ตามลำดับ
เมื่อสอบถามตัวอย่างเฉพาะกลุ่มที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา เกี่ยวกับแหล่งที่ช่วยในการค้นหางาน / สมัครงาน พบว่า ร้อยละ 56.2 มีคนรู้จักแนะนำให้ไปสมัครงาน รองลงมาร้อยละ 51.7 ค้นหาจากหนังสือพิมพ์ / นิตยสาร ร้อยละ 45.4 ค้นหาจากอินเตอร์เนต
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ นิสิตนักศึกษาร้อยละ 61.3 มีความรู้สึกวิตกกังวลในการสมัครงาน / สัมภาษณ์งาน ร้อยละ 38.7 ไม่วิตกกังวล ในขณะที่ ร้อยละ 8.5 มีความรู้สึกวิตกกังวลมากเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองจะมีโอกาสตกงาน ร้อยละ 36.7 ค่อนข้างวิตกกังวล ร้อยละ 38.9 ไม่ค่อยวิตกกังวล และ ร้อยละ 15.9 ไม่วิตกกังวลเลย นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 61.7 เห็นว่าจุดด้อยที่จะทำให้ตนเองไม่ผ่านการคัดเลือกเข้าทำงานคือทักษะในด้านภาษาอังกฤษ รองลงมา ร้อยละ 57.7 ระบุว่าประสบการณ์ในการทำงาน ร้อยละ 33.1 ระบุว่าเส้นสาย ส่วนจุดเด่นที่จะทำให้ตนเองผ่านการคัดเลือกเข้าทำงาน ตัวอย่างร้อยละ 38.7 ระบุว่าสุขภาพร่างกาย รองลงมา ร้อยละ 38.3 ระบุว่าชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา ร้อยละ 33.3 ระบุว่าผลการเรียน
เมื่อสอบถามถึงความคาดหวังว่าจะได้งานทำภายหลังจากสำเร็จการศึกษาพบว่านิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.7 คาดหวังว่าจะได้งานทำภายใน 3 เดือน และจำนวนเดือนที่คาดหวังว่าจะได้งานโดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.8 เดือน โดยมหาวิทยาลัยเอกชน คาดหวังว่าจะได้งานเฉลี่ยเท่ากับ 3.6 เดือน มหาวิทยาลัยปิดของรัฐคาดหวังว่าจะได้งานโดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.7 เดือน และมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ คาดหวังว่าจะได้งานโดยเฉลี่ย 4.2 เดือน นอกจากนี้นิสิตนักศึกษา ร้อยละ 35.7 คาดหวังว่า จะได้รับเงินเดือนที่ได้รับจากการทำงานประมาณ 8,001 - 10,000 บาท รองลงมาร้อยละ 30.8 คาดหวังว่าจะได้รับเงินเดือนไม่เกิน 8,000 บาท ร้อยละ 22.9 คาดว่าจะได้รับเงินเดือนประมาณ 10,001-15,000 บาท และร้อยละ 10.6 คาดว่าจะได้รับเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท โดยมหาวิทยาลัยปิดของรัฐคาดหวังว่าจะได้รับเงินเดือนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 13,424 บาท มหาวิทยาลัยเอกชนคาดหวังว่าจะได้รับเงินเดือนเฉลี่ยเท่ากับ 11,215 บาท และมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ คาดหวังว่าจะได้รับเงินเดือนโดยเฉลี่ย 9,102 บาท
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงพื้นที่ที่นิสิตนักศึกษาตั้งใจว่าจะทำงานพบว่า นิสิตนักศึกษาถึง ร้อยละ 77.7 ที่ตั้งใจที่จะทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเพียง ร้อยละ 13.3 เท่านั้น ที่ตั้งใจว่าจะกลับไปทำงานยังจังหวัดภูมิลำเนาเดิม นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 53.2 สนใจที่จะทำงานรับราชการ เนื่องจาก เป็นอาชีพที่มั่นคง มีสวัสดิการดี และ มีชื่อเสียง เกียรติยศ ขณะที่ร้อยละ 46.8 ไม่สนใจที่จะรับราชการ เนื่องจาก ได้รับเงินเดือนน้อย / มีกฎระเบียบข้อบังคับเยอะ ไม่ชอบระบบการทำงาน / ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ โดยนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐมีความสนใจที่จะทำงานรับราชการสูงที่สุดถึงร้อยละ 77.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ยังสำรวจพบอีกว่า นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ คือร้อยละ 63.2 เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาการว่างงานของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 23.7 เห็นว่าให้ความสำคัญน้อย และ ร้อยละ 13.1 เห็นว่าให้ความสำคัญมาก ขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 49.3 เห็นว่าหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาที่ตนเองศึกษาอยู่ในปัจจุบันมีความรู้ความสามารถเพียงพอในการทำงาน ร้อยละ 32.5 เห็นว่าไม่เพียงพอ และ ร้อยละ 18.2 ไม่แน่ใจ นอกจากนี้ตัวอย่างยังเสนอแนะการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยร้อยละ 46.4 ระบุว่าหลักสูตรการเรียนการสอนควรเน้นการปฏิบัติจริง / การนำไปใช้ ร้อยละ 23.4 เห็นว่าควรเน้นทักษะด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 20.0 เห็นว่าควรเน้นทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีต่างๆ และร้อยละ 18.1 เห็นว่าควรสอดแทรกความรู้รอบตัว / สถานการณ์ต่างๆในปัจจุบัน นอกหลักสูตร ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในช่วงต้นเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี เป็นช่วงที่นิสิตนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาและเข้าสู่ตลาดแรงงาน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อศึกษาถึงความคาดหวังในการทำงานของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคาดหวังในการทำงานของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2. เพื่อสำรวจข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "นิสิตนักศึกษากับความคาดหวังในการทำงาน : กรณีศึกษานิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล"ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 3 -4 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามที่มีลักษณะสอดคล้องกับลักษณะของประชากร เป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,231 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.7 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 44.3 ระบุเป็นชาย ซึ่งร้อยละ 41.1 ศึกษาในมหาวิทยาลัยปิดของรัฐ ร้อยละ 32.8 ศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ และร้อยละ 26.1 ศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน ร้อยละ 33.3 ระบุเกรดเฉลี่ยไม่เกิน 2.50 ร้อยละ 40.6 ระบุเกรดเฉลี่ยระหว่าง 2.51 - 3.00 และร้อยละ 26.1 มีเกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.00
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการวางแผนชีวิตภายหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว
การวางแผนชีวิตภายหลัง มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
จากสำเร็จการศึกษาแล้ว ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. ทำงานบริษัทเอกชน 38.9 23.7 45.9 35.6
2. ทำงานรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ 11.0 34.8 13.8 19.5
3. ทำธุรกิจส่วนตัว / ธุรกิจครอบครัว 12.0 21.0 27.1 19.0
4. ศึกษาต่อในประเทศไทย 23.5 14.9 7.3 16.4
5. ศึกษาต่อต่างประเทศ 12.2 2.8 5.0 7.3
6. อื่นๆ อาทิ ยังไม่ได้วางแผนชีวิต /
เรียนควบคู่ไปกับการทำงาน 2.4 2.8 0.9 2.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งที่ค้นหางาน / สมัครงาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
แหล่งที่ค้นหางาน / สมัครงาน มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. คนรู้จักแนะนำ 55.6 53.6 60.9 56.2
2. หนังสือพิมพ์ / นิตยสาร 47.8 54.2 53.8 51.7
3. อินเตอร์เนต 55.9 35.5 45.5 45.4
4. ฝ่ายแนะแนวการศึกษาของสถาบัน 33.8 35.8 21.9 31.0
5. กรอกใบสมัครงานฝากไว้
ตามหน่วยงานต่างๆ 32.2 16.7 25.8 24.9
6. ตลาดนัดแรงงาน 27.2 20.0 19.0 22.1
7. ป้ายประกาศ / แผ่นพับ / ใบปลิว 23.4 25.5 16.1 21.9
8. อื่นๆ อาทิ วิทยุ / โทรทัศน์ 3.5 3.0 4.0 3.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกวิตกกังวลในการสมัครงาน / สัมภาษณ์งาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา)
ความรู้สึกวิตกกังวลในการสมัครงาน / มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
สัมภาษณ์งาน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. วิตกกังวล 59.4 62.5 62.5 61.3
2. ไม่มีความวิตกกังวล 40.6 37.5 37.5 38.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตัวอย่างที่มีความรู้สึกวิตกกังวล ให้เหตุผลเพราะ......
1) งานหายาก / ไม่มีตำแหน่งงานรองรับ / บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีจำนวนมาก
2) ไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน
3) ขาดความพร้อมในการสัมภาษณ์งาน
4) กลัวไม่ถูกตอบรับจากหน่วยงานต่างๆ / ไม่ถูกเรียกสัมภาษณ์งาน
5) มีความประหม่า ตื่นเต้น / ไม่มีความมั่นใจตัวอย่างที่ไม่มีความรู้สึกวิตกกังวล ให้เหตุผลเพราะ.........
1) มีความมั่นใจในตัวเอง
2) มีฐานะดีอยู่แล้ว / ไม่เดือดร้อน
3) คิดว่าตนเองมีความรู้ ความสามารถเพียงพอ
4) คิดว่าตนเองมีประสบการณ์ในการทำงาน
5) มีเส้นสาย / คนรู้จักฝากเข้าทำงาน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองจะมีโอกาสตกงาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา)
ความรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
เรื่องที่ตนเองจะมีโอกาสตกงาน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. วิตกกังวลมาก 6.4 9.0 11.0 8.5
2. ค่อนข้างวิตกกังวล 31.5 42.3 36.0 36.7
3. ไม่ค่อยวิตกกังวล 45.7 32.6 39.0 38.9
4. ไม่วิตกกังวลเลย 16.4 16.1 14.0 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดด้อยของตนเองที่จะทำให้ไม่ผ่านการคัดเลือกเข้าทำงาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จุดด้อยที่จะทำให้ไม่ผ่าน มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
การคัดเลือกเข้าทำงาน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. ทักษะด้านภาษาอังกฤษ 60.9 68.4 58.8 61.7
2. ประสบการณ์ในการทำงาน 57.5 55.2 60.6 57.7
3. เส้นสาย 32.5 34.5 33.3 33.1
4. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ 27.2 37.3 23.3 29.4
5. ผลการเรียน 23.1 14.2 24.0 20.2
6. บุคลิกภาพ / รูปร่างหน้าตา 13.8 18.2 10.8 14.3
7. ชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา 2.5 4.2 13.3 6.4
8. สุขภาพร่างกาย 3.4 6.4 6.1 5.2
9. อื่นๆ อาทิ เพศ / อายุ /
การผ่านการเกณฑ์ทหาร /
ประวัติการเคยกระทำผิดคดีอาญา 9.4 10.8 13.5 11.2
10. ไม่มีจุดด้อยเลย 2.5 3.3 3.9 3.5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดเด่นของตนเองที่จะทำให้ผ่านการคัดเลือกเข้าทำงาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จุดเด่นที่จะทำให้ผ่าน มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
การคัดเลือกเข้าทำงาน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. สุขภาพร่างกาย 33.6 42.7 39.6 38.7
2. ชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา 62.9 28.8 22.1 38.3
3. ผลการเรียน 33.6 30.6 36.4 33.3
4. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ 30.2 24.5 40.7 31.6
5. บุคลิกภาพ / รูปร่างหน้าตา 24.6 30.6 39.3 31.1
6. การผ่านการเกณฑ์ทหาร 18.4 24.5 20.4 21.1
7. ประสบการณ์ในการทำงาน 15.3 21.5 16.4 18.1
8. ทักษะด้านภาษาอังกฤษ 19.6 11.2 22.1 17.2
9. อื่นๆ อาทิ เพศ / อายุ /
เส้นสาย 39.9 42.1 47.8 43.0
10. ไม่มีจุดเด่นเลย 5.3 6.4 4.3 5.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่คาดหวังว่าจะได้งานทำภายหลังจากสำเร็จการศึกษา
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา)
ระยะเวลาที่คาดหวังว่าจะได้งานทำ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
ภายหลังจากสำเร็จการศึกษา ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
ไม่เกิน 1 เดือน 22.9 11.2 17.3 17.1
2 เดือน 17.7 15.6 22.2 18.4
3 เดือน 26.2 31.5 31.7 29.7
4 เดือน 3.7 6.9 2.9 4.5
5 เดือน 5.9 6.9 4.1 5.9
6 เดือน 16.6 17.4 14.0 15.9
มากกว่า 6 เดือน 7.0 10.5 7.8 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
มหาวิทยาลัยปิดของรัฐ ค่าเฉลี่ย = 3.7 เดือน
มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ ค่าเฉลี่ย = 4.2 เดือน
มหาวิทยาลัยเอกชน ค่าเฉลี่ย = 3.6 เดือน
ภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 3.8 เดือน
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนเงินเดือนที่คาดหวังว่าจะได้รับจากการทำงาน
(เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา)
จำนวนเงินเดือนที่คาดหวังว่า มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
จะได้รับจากการทำงาน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
ไม่เกิน 8,000 บาท / เดือน 13.2 55.0 24.3 30.8
8,001-10,000 บาท / เดือน 33.2 28.9 46.7 35.7
10,001 - 15,000 บาท / เดือน 35.3 11.8 20.4 22.9
มากกว่า 15,000 บาท / เดือน 18.3 4.3 8.6 10.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
มหาวิทยาลัยปิดของรัฐ ค่าเฉลี่ย = 13,424 บาท / เดือน
มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ ค่าเฉลี่ย = 9,102 บาท / เดือน
มหาวิทยาลัยเอกชน ค่าเฉลี่ย = 11,215 บาท / เดือน
ภาพรวม ค่าเฉลี่ย = 11,286 บาท / เดือน
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพื้นที่ที่ตั้งใจว่าจะทำงาน (เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำงาน
ภายหลังจากสำเร็จการศึกษา)
พื้นที่ที่ตั้งใจว่าจะทำงาน มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 85.1 65.1 83.9 77.7
2. จังหวัดภูมิลำเนาเดิม 9.2 20.8 9.7 13.3
3. จังหวัดหัวเมืองใหญ่ 5.3 13.8 4.8 8.3
4. ต่างประเทศ 0.4 0.3 1.6 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจที่จะทำงานรับราชการ
ความสนใจที่จะทำงานรับราชการ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. สนใจ 41.1 77.2 42.0 53.2
2. ไม่สนใจ 58.9 22.8 58.0 46.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตัวอย่างที่สนใจรับราชการ ให้เหตุผล เพราะ......
1) เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง
2) มีสวัสดิการดี
3) มีเกียรติยศ ชื่อเสียง / เป็นที่นับหน้าถือตา
4) เจริญรอยตามผู้ปกครอง
ตัวอย่างที่ไม่สนใจรับราชการ ให้เหตุผล เพราะ.........
1) เงินเดือนน้อย
2) มีระเบียบ กฎเกณฑ์เยอะ / ไม่มีอิสระ / ไม่ชอบระบบการทำงาน
3) ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ
4) งานน่าเบื่อ
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับปัญหาการว่างงานของ
ประชาชน
ความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการให้ความ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
สำคัญกับปัญหาการว่างงานของประชาชน ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. ให้ความสำคัญมาก 9.3 14.2 17.3 13.1
2. ปานกลาง 62.8 64.5 62.9 63.2
3. น้อย 27.9 21.3 19.8 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาที่ตนเอง
ศึกษาว่ามีความรู้ความสามารถเพียงพอในการทำงานหรือไม่
หลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาที่ศึกษามีความรู้ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาพรวม
ความสามารถเพียงพอในการทำงานหรือไม่ ปิดของรัฐ เปิดของรัฐ เอกชน
1. เพียงพอในการทำงาน 48.6 50.8 48.7 49.3
2. ไม่เพียงพอในการทำงาน 31.0 34.7 32.1 32.5
3. ไม่แน่ใจ 20.4 14.5 19.2 18.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน
ในระดับอุดมศึกษา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ร้อยละ
1 เน้นการปฏิบัติจริง / การนำไปใช้ 46.4
2 เน้นทักษะด้านภาษาอังกฤษ 23.4
3 เน้นทักษะด้านคอมพิวเตอร์ / เทคโนโลยีต่างๆ 20.0
4 สอดแทรกความรู้รอบตัว/ สถานการณ์ปัจจุบัน นอกหลักสูตร 18.1
5 เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน / แสดงความคิดเห็น 15.3
6 มีการพัฒนาคุณภาพ / ความรู้ความสามารถ ของอาจารย์อยู่ตลอดเวลา 8.8
7 ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัย 7.6
8 อื่นๆ อาทิ ปลูกฝังมารยาท จริยธรรม / ประกันคุณภาพการศึกษาให้มี
มาตรฐานเดียวกันทุกสถาบัน / เปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ด้อยโอกาส 8.8
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "นิสิตนักศึกษากับความคาดหวังในการทำงาน : กรณีศึกษานิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,231 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า นิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.6 วางแผนชีวิตที่จะทำงานบริษัทเอกชนภายหลังจากสำเร็จการศึกษา รองลงมา ร้อยละ 19.5 วางแผนรับราชการ ร้อยละ 19.0 วางแผนทำธุรกิจส่วนตัว / ครอบครัว ร้อยละ 16.4 วางแผนที่จะศึกษาต่อในประเทศไทย และ ร้อยละ 7.3 วางแผนที่จะศึกษาต่อยังต่างประเทศ และเมื่อจำแนกตามประเภทของสถาบันการศึกษา พบว่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐวางแผนทำงานรับราชการ / รัฐวิสาหกิจมากที่สุด คือ ร้อยละ 34.8 ส่วนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยปิดของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน วางแผนที่จะทำงานบริษัทเอกชนมากที่สุด คือร้อยละ 38.9 และ ร้อยละ 45.9 ตามลำดับ
เมื่อสอบถามตัวอย่างเฉพาะกลุ่มที่วางแผนจะทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา เกี่ยวกับแหล่งที่ช่วยในการค้นหางาน / สมัครงาน พบว่า ร้อยละ 56.2 มีคนรู้จักแนะนำให้ไปสมัครงาน รองลงมาร้อยละ 51.7 ค้นหาจากหนังสือพิมพ์ / นิตยสาร ร้อยละ 45.4 ค้นหาจากอินเตอร์เนต
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ นิสิตนักศึกษาร้อยละ 61.3 มีความรู้สึกวิตกกังวลในการสมัครงาน / สัมภาษณ์งาน ร้อยละ 38.7 ไม่วิตกกังวล ในขณะที่ ร้อยละ 8.5 มีความรู้สึกวิตกกังวลมากเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองจะมีโอกาสตกงาน ร้อยละ 36.7 ค่อนข้างวิตกกังวล ร้อยละ 38.9 ไม่ค่อยวิตกกังวล และ ร้อยละ 15.9 ไม่วิตกกังวลเลย นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 61.7 เห็นว่าจุดด้อยที่จะทำให้ตนเองไม่ผ่านการคัดเลือกเข้าทำงานคือทักษะในด้านภาษาอังกฤษ รองลงมา ร้อยละ 57.7 ระบุว่าประสบการณ์ในการทำงาน ร้อยละ 33.1 ระบุว่าเส้นสาย ส่วนจุดเด่นที่จะทำให้ตนเองผ่านการคัดเลือกเข้าทำงาน ตัวอย่างร้อยละ 38.7 ระบุว่าสุขภาพร่างกาย รองลงมา ร้อยละ 38.3 ระบุว่าชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา ร้อยละ 33.3 ระบุว่าผลการเรียน
เมื่อสอบถามถึงความคาดหวังว่าจะได้งานทำภายหลังจากสำเร็จการศึกษาพบว่านิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.7 คาดหวังว่าจะได้งานทำภายใน 3 เดือน และจำนวนเดือนที่คาดหวังว่าจะได้งานโดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.8 เดือน โดยมหาวิทยาลัยเอกชน คาดหวังว่าจะได้งานเฉลี่ยเท่ากับ 3.6 เดือน มหาวิทยาลัยปิดของรัฐคาดหวังว่าจะได้งานโดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.7 เดือน และมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ คาดหวังว่าจะได้งานโดยเฉลี่ย 4.2 เดือน นอกจากนี้นิสิตนักศึกษา ร้อยละ 35.7 คาดหวังว่า จะได้รับเงินเดือนที่ได้รับจากการทำงานประมาณ 8,001 - 10,000 บาท รองลงมาร้อยละ 30.8 คาดหวังว่าจะได้รับเงินเดือนไม่เกิน 8,000 บาท ร้อยละ 22.9 คาดว่าจะได้รับเงินเดือนประมาณ 10,001-15,000 บาท และร้อยละ 10.6 คาดว่าจะได้รับเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท โดยมหาวิทยาลัยปิดของรัฐคาดหวังว่าจะได้รับเงินเดือนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 13,424 บาท มหาวิทยาลัยเอกชนคาดหวังว่าจะได้รับเงินเดือนเฉลี่ยเท่ากับ 11,215 บาท และมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ คาดหวังว่าจะได้รับเงินเดือนโดยเฉลี่ย 9,102 บาท
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงพื้นที่ที่นิสิตนักศึกษาตั้งใจว่าจะทำงานพบว่า นิสิตนักศึกษาถึง ร้อยละ 77.7 ที่ตั้งใจที่จะทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเพียง ร้อยละ 13.3 เท่านั้น ที่ตั้งใจว่าจะกลับไปทำงานยังจังหวัดภูมิลำเนาเดิม นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 53.2 สนใจที่จะทำงานรับราชการ เนื่องจาก เป็นอาชีพที่มั่นคง มีสวัสดิการดี และ มีชื่อเสียง เกียรติยศ ขณะที่ร้อยละ 46.8 ไม่สนใจที่จะรับราชการ เนื่องจาก ได้รับเงินเดือนน้อย / มีกฎระเบียบข้อบังคับเยอะ ไม่ชอบระบบการทำงาน / ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ โดยนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐมีความสนใจที่จะทำงานรับราชการสูงที่สุดถึงร้อยละ 77.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ยังสำรวจพบอีกว่า นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ คือร้อยละ 63.2 เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาการว่างงานของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 23.7 เห็นว่าให้ความสำคัญน้อย และ ร้อยละ 13.1 เห็นว่าให้ความสำคัญมาก ขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 49.3 เห็นว่าหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาที่ตนเองศึกษาอยู่ในปัจจุบันมีความรู้ความสามารถเพียงพอในการทำงาน ร้อยละ 32.5 เห็นว่าไม่เพียงพอ และ ร้อยละ 18.2 ไม่แน่ใจ นอกจากนี้ตัวอย่างยังเสนอแนะการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยร้อยละ 46.4 ระบุว่าหลักสูตรการเรียนการสอนควรเน้นการปฏิบัติจริง / การนำไปใช้ ร้อยละ 23.4 เห็นว่าควรเน้นทักษะด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 20.0 เห็นว่าควรเน้นทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีต่างๆ และร้อยละ 18.1 เห็นว่าควรสอดแทรกความรู้รอบตัว / สถานการณ์ต่างๆในปัจจุบัน นอกหลักสูตร ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-