ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง สาธารณชนคิดอย่างไรต่อการปรับคณะรัฐมนตรี กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี น่าน พิษณุโลก เชียงใหม่ นครสวรรค์ หนองคาย ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,153 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 — 21 มกราคม 2555 โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นในการเข้าถึงผู้ตอบแบบสอบถามและความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 โดยผลสำรวจที่สำคัญ พบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.2 ทราบข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 11.8 ไม่ทราบข่าว
ที่น่าพิจารณา คือ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการปรับคณะรัฐมนตรีว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่นั้น พบว่า ตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 65.3 ระบุเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง และร้อยละ 34.7 ระบุเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงการให้โอกาสคณะรัฐมนตรีได้ทำงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.4 ระบุให้โอกาส ในขณะที่ ร้อยละ 28.6 ไม่คิดเช่นนั้น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อความขัดแย้งแย่งชิงผลประโยชน์ทางการเมืองในพรรคเพื่อไทย พบว่าตัวอย่างร้อยละ 60.9 ระบุจะเกิดความขัดแย้ง ในขณะที่ร้อยละ 39.1 ไม่คิดเช่นนั้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.3 เป็นชาย ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 5.9 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ26.1อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 72.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และร้อยละ 27.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 29.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 11.4 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 10.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 6.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.3 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ 1 ทราบข่าว 88.2 2 ไม่ทราบข่าว 11.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรี ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง 65.3 2 เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง 34.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้โอกาสคณะรัฐมนตรีทำงาน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ให้โอกาส 71.4 2 ไม่คิดเช่นนั้น 28.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความขัดแย้งแย่งชิงผลประโยชน์ทางการเมืองในพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 จะเกิดความขัดแย้ง 60.9 2 ไม่คิดเช่นนั้น 39.1 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--