ที่มาของโครงการ
ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในครั้งนี้ เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ กำลังได้รับความสนใจ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้สนใจการเมืองอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในเรื่องความจำเป็น และความเหมาะสมของการปรับ ครม.ในขณะนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของ ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง และประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์การสำรวจ
1. เพื่อประเมินความเหมาะสมในการปรับคณะรัฐมนตรีในตำแหน่งต่าง ๆ ในทรรศนะของผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง
2. เพื่อประเมินความเหมาะสมในการปรับคณะรัฐมนตรีในตำแหน่งต่าง ๆ ในทรรศนะของประชาชนทั่วไปประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง และประชาชนทั่วไปต่อการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้
2. เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจขององค์กรทางสังคมและการเมืองที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ความเหมาะสมของการปรับครม.ทักษิณ 8 : กรณีศึกษาผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองทั่วประเทศ และประชาชนทั่วไปในกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ 1) ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง จากการเคยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากทั่วประเทศ 2) ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง 1) กลุ่มผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงระบบ (Systematic Sampling) ในการเลือกตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อผู้ที่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จาก ทั่วประเทศ 2) กลุ่มประชาชนทั่วไป ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง 404 ตัวอย่าง ประชาชนทั่วไป 1,124 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 15.5 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 84.5 ระบุเป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 34.6 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี ร้อยละ 28.8 อายุ 50-59 ร้อยละ 21.2 อายุต่ำกว่า 40 ปี และร้อยละ 15.4 อายุ 60 ปีขึ้นไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไป พบว่าตัวอย่างร้อยละ 46.9 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 53.1 ระบุเป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 35.8 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี ร้อยละ 16.7 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี ร้อยละ 14.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ 44.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 27.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ปลาย/ ปวช. ร้อยละ 10.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา ร้อยละ 10.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือ ต่ำกว่า และร้อยละ 7.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 29.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 20.1 ประกอบอาชีพค้าขาย/ อิสระ ร้อยละ 20.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.3 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 1.5 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 1.2 ระบุอื่นๆ เช่น เกษตรกร, ว่างงาน เป็นต้นโปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการปรับครม.ชุดทักษิณ 8
ลำดับที่ การติดตามข่าวปรับครม.ทักษิณ 8 ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง ประชาชน
1 ติดตามอย่างละเอียด 76.9 15.7
2 ติดตามบ้าง 23.1 68.3
3 ไม่ได้ติดตาม - 16.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ความคิดเห็นของผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง ต่อการปรับครม.
( ตารางที่ 2 - 13 )
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
" นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พ้นจากรมว.มหาดไทย ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 62.5) 1. ไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ได้
2. ขาดความเด็ดขาด/จริงจังในการแก้ปัญหา
3. เหมาะสมที่จะเป็นที่ปรึกษามากกว่าที่จะมาทำงานเอง
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 30.8) 1. อยู่ที่เดิมก็ดีอยู่แล้วไม่ควรเปลี่ยน
2. ตำแหน่งใหม่ที่ได้รับยังไม่เหมาะสม
3. เชื่อว่าถูกปรับด้วยเหตุผลของการประนีประนอมทางการเมืองมาก
กว่ามุ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 6.7)
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา พ้นจากรมว.กลาโหม ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 61.5) 1. สถานการณ์ในภาคใต้ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและประนีประนอมในการแก้ปัญหา
2. มีความรู้/ประสบการณ์ที่สามารถจะไปทำงานเป็นรองนายกฯ
3. อยากให้คนอื่นมาทำหน้าที่แทน
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 27.9) 1. กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเร่งแก้ปัญหา/ไม่ควรเปลี่ยนตอนนี้
2. เชื่อว่ายังสามารถทำงานในตำแหน่งเดิมต่อไปได้
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 10.6)
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายโภคิน พลกุล จากรองนายกรัฐมนตรี ไปเป็นรมว.มหาดไทย"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม (ร้อยละ 38.5) 1. เชื่อมั่นในความเป็นนักกฎหมาย/มีคุณวุฒิเหมาะสม
2. ชอบในบุคลิกความเป็นนักวิชาการ
3. เป็นคนรุ่นใหม่
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 44.2) 1. ยังขาดประสบการณ์การทำงานด้านการปกครอง
2. สถานการณ์ยังไม่เหมาะที่จะให้คนใหม่ได้เริ่มลองงาน
3. เกรงว่าจะไม่มีความเข้มแข็งเด็ดขาดเพียงพอ
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 17.3)
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร จากรมว.วิทยาศาสตร์ ฯ ไปเป็นรมว.กลาโหม"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 83.5) 1 เป็นทหาร/มีความรู้/ประสบการณ์ตรงกับงาน
2. เชื่อมั่นในความรู้/ความสามารถ
3. เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยเฉพาะปัญหาภาคใต้ได้
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 11.7) 1. มีงานอื่นที่น่าสนใจให้รับผิดชอบมากกว่า
2. ยังไม่เห็นความตั้งใจที่จะมาดูแลงานด้านนี้ /ถูกคนอื่นเลือกให้มา
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 4.8)
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นางสิริกร มณีรินทร์ พ้นจากรมช.ศึกษาธิการ ไปเป็นรมช.สาธารณสุข"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 50.0) 1. เชื่อว่ามีความรู้ความสามารถทำงานได้
2. ความเป็นผู้หญิงจะสามารถทำงานเข้ากันได้ดีกับรมว.สาธารณสุขคนปัจจุบัน
3. อยากให้โอกาส/อยากดูผลงาน
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 39.4) 1. เหมาะสมที่จะทำงานในตำแหน่งเดิม
2 . ไม่มั่นใจในเรื่องประสบการณ์การทำงานด้านสุขภาพ
3. บทบาทการทำงานยังไม่โดดเด่นพอ
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 10.6)
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายสมคิค จาตุศรีพิทักษ์ จากรองนายกรัฐมนตรี ไปเป็นรมว. คลัง"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 87.5) 1 มีความรู้/ความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้รับ
2. มีประสบการณ์และผลงานเป็นที่ยอมรับมาก่อน
3. มั่นใจว่าจะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 5.8) 1. น่าจะให้ดูแลเศรษฐกิจโดยรวม/ไม่ใช่รับผิดชอบหน่วยงานเดียว
2. ไม่มั่นใจในความเป็นตัวของตัวเอง/เกรงว่าจะอยู่ในอาณัติคนอื่น
3. ทำงานในตำแหน่ง/หน้าที่เดิมดีอยู่แล้ว
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 6.7)
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ พ้นจากรมว. คลัง ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 59.6) 1. มีความสามารถเหมาะสม
2. มีประสบการณ์การทำงานมาก
3. เชื่อว่าจะสามารถทำงานตอบสนองนายกรัฐมนตรีได้ดี
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 25.0) 1. ความสามารถน่าจะเหมาะกับตำแหน่งเดิมมากกว่า
2. ยังสร้างผลงานได้ไม่เด่นชัดพอ
3. เกรงว่าจะดูแลงานระดับกว้างได้ไม่ดีพอ
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 15.4)
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายสุวิทย์ คุณกิตติ จากรองนายกรัฐมนตรี ไปเป็นรมว.ทรัพยากรธรรมชาติ ฯ"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 55.7) 1. มีประสบการณ์มากพอ
2 เชื่อมั่นในความสามารถ
3. อยากให้ลอง/อยากดูผลงาน
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 30.8) 1. ไม่มั่นใจว่าจะแก้ไขปัญหาได้ดีเพียงใด
2. ความรู้และประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับงานยังน้อยเกินไป
3. ควรให้ทำหน้าที่เดิมจะดีกว่า
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 13.5)
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายสุธรรม แสงประทุม เข้ามารับตำแหน่งรมช.ศึกษาธิการ"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 72.2) 1.เคยมีประสบการณ์ทำงานด้านการศึกษา/
เคยทำงานในทบวงมหาวิทยาลัย มาก่อน
2. มั่นใจในความรู้ความสามารถ
3. มีจุดยืนความคิดเพื่อส่วนรวม
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 16.3) 1. คนที่อยู่ในตำแหน่งเดิมทำงานดีอยู่แล้ว
2. ไม่แน่ใจว่าจะปรับตัวเข้ากับระบบงานที่กระทรวงศึกษา ฯ ได้
3. เกรงว่าจะมุ่งทำงานเชิงการเมืองมากเกินไป
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 11.5)
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายกร ทัพพะรังสี เข้ามารับตำแหน่งรมว.วิทยาศาสตร์ ฯ"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 51.9) 1. เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ
2. มีประสบการณ์ในตำแหน่งสำคัญมาก่อน
3. มีความตั้งใจทำงาน
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 33.7) 1. งานที่ได้รับเป็นการถูกลดระดับความรับผิดชอบลง
2. ยังไม่เห็นการทำงานที่จริงจัง/เด่นชัดพอ
3. ทักษะ/บุคลิกยังไม่เหมาะกับงานที่ได้รับมอบหมาย
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 14.4)
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ พ้นจากตำแหน่งรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 61.2) 1. ผลงานไม่บรรลุเป้าหมาย/ผลงานไม่เด่นชัด
2 . ทำงานไม่ดี/แก้ปัญหาไม่ได้ผล
3. มักมีปัญหาข้อขัดแย้งกับคนอื่น
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 22.3) 1. มีความตั้งใจ/ทุ่มเททำงาน
2. การทำงานไม่ต่อเนื่อง/ งานที่ทำไว้ต้องการการสานต่อ
3. มีจุดยืนในการทำงาน/ รักษาผลประโยชน์ของประชาชน
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 16.5)
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"พลตำรวจเอกจำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ พ้นจากตำแหน่งรมช.สาธารณสุข"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 76.0) 1. ผลงานไม่เด่นชัด/ไม่ปรากฏผลงาน
2. ไม่มีความรู้/ขาดความเชี่ยวชาญในสายงานที่รับผิดชอบ
3. ต้องการให้คนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมมาทำงานแทน
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 3.8) 1. น่าจะให้โอกาสในการทำงานต่อไปก่อน
2. เป็นการปรับเปลี่ยนด้วยเหตุผลทางการเมือง
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 20.2)
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของ "ประชาชน" ที่ระบุความเหมาะสมของการปรับครม.กรณีต่าง ๆ
อันดับที่ กรณีการปรับครม. เหมาะสม ไม่เหมาะสม ไม่มีความเห็น รวม
1 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พ้นจาก
รมว.มหาดไทย ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี 40.4 22.8 36.8 100.0
2 พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณอยุธยา
พ้นจาก รมว.กลาโหม ไปเป็น
รองนายกรัฐมนตรี 34.8 16.9 48.3 100.0
3 นายโภคิน พลกุล จากรองนายกรัฐมนตรี
ไปเป็น รมว.มหาดไทย 16.6 28.3 55.1 100.0
4 พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร จาก
รมว.วิทยาศาสตร์ ฯ ไปเป็นรมว.กลาโหม 52.7 11.9 35.4 100.0
5 นางสิริกร มณีรินทร์ พ้นจากรมช.ศึกษาธิการ
ไปเป็นรมช.สาธารณสุข 25.2 24.0 50.8 100.0
6 นายสมคิค จาตุศรีพิทักษ์ จากรองนายก
รัฐมนตรี ไปเป็นรมว. คลัง 46.1 14.4 39.5 100.0
7 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ พ้นจาก
รมว. คลังไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี 27.6 15.2 57.2 100.0
8 นายสุวิทย์ คุณกิตติ จากรองนายกรัฐมนตรี
ไปเป็นรมว.ทรัพยากรธรรมชาติ ฯ 27.1 17.7 55.2 100.0
9 นายสุธรรม แสงประทุม เข้ารับตำแหน่ง
รมช.ศึกษาธิการ 27.9 14.5 57.6 100.0
ตารางที่ 14 (ต่อ) แสดงค่าร้อยละของ "ประชาชน" ที่ระบุความเหมาะสมของการปรับครม.กรณีต่าง ๆ
อันดับที่ กรณีการปรับครม. เหมาะสม ไม่เหมาะสม ไม่มีความเห็น รวม
10 นายกร ทัพรังสี มารับตำแหน่ง
รมว.วิทยาศาสตร์ ฯ 33.6 26.0 40.4 100.0
11 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ พ้นจาก
ตำแหน่งรมว.ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม 25.6 13.5 60.9 100.0
12 พลตำรวจเอกจำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์
พ้นจากตำแหน่งรมช.สาธารณสุข 27.6 14.2 58.2 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นโดยภาพรวมของการปรับคณะรัฐมนตรี (ทักษิณ 8)
อันดับที่ ความเห็น ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง ประชาชน
1 เห็นด้วย 62.5 46.8
2 ไม่เห็นด้วย 32.7 22.9
3 ไม่มีความเห็น 4.8 30.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ผู้ที่ "เห็นด้วย" ระบุเหตุผลสำคัญได้แก่
1) เชื่อว่าการปรับครม.จะช่วยทำให้รัฐบาลสามารถทำงานได้ดีขึ้น/สร้างผลงานได้มากขึ้น.
2) เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน
3) เป็นการปรับเปลี่ยนคนให้เหมาะสมกับงาน/จัดหาคนให้เหมาะสมกับตำแหน่ง
4) เป็นการคลี่คลายสถานการณ์และปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาภาคใต้ ป้องกันการทุจริต แก้ปัญหาความขัดแย้งภายใน
5) เป็นการกระตุ้นให้รัฐมนตรีทำงานด้วยความกระตือรือร้น/แก้ปัญหาความเฉื่อยชา
ผู้ที่ "ไม่เห็นด้วย" ระบุเหตุผลสำคัญได้แก่
1) เป็นการปรับเปลี่ยนด้วยเหตุผลทางการเมือง/หลีกเลี่ยงการถูกอภิปราย
2) ไม่เชื่อว่าการปรับครม.จะทำให้การแก้ปัญหาหรือการพัฒนาประเทศดีขึ้น
3) การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยจะทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง
4) การจัดวางบุคคลยังไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
5) ยังไม่ถึงเวลา/ยังไม่มีเหตุผลที่มีน้ำหนักพอที่จะปรับเปลี่ยนครม.
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นกรณีที่จะให้มีการยุบพรรคชาติพัฒนา ไปรวมกับ
พรรคไทยรักไทย
อันดับที่ ความเห็น ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง ประชาชน
1 เห็นด้วย 15.4 22.7
2 ไม่เห็นด้วย 56.7 41.2
3 ไม่มีความเห็น 27.9 36.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ผู้ที่ "เห็นด้วย" ระบุเหตุผลสำคัญได้แก่
1) เพื่อสร้างความเข้มแข็ง/สร้างเสถียรภาพให้พรรคการเมือง
2) เพื่อพัฒนาไปสู่ระบบการเมืองแบบมีพรรคใหญ่ 2 พรรคที่แยกฝ่ายกันชัดเจน
3) เป็นการขยายฐานทางการเมือง/เพิ่มคะแนนนิยมให้แก่พรรครัฐบาล
ผู้ที่ "ไม่เห็นด้วย" ระบุเหตุผลสำคัญได้แก่
1) เกรงว่าจะเป็นการรวมตัวกันเพื่อผูกขาดอำนาจเบ็ดเสร็จของกลุ่มการเมืองกลุ่มเดียว
2) ทั้งสองพรรคอาจจะมีแนวคิด อุดมการณ์ และแนวนโยบายที่แตกต่างกัน/ไม่สามารถรวมกันได้
3) ทำให้ประชาชนขาดทางเลือก /มีตัวเลือกทางการเมืองน้อยลง
4) เกรงว่าจะมีความขัดแย้ง แตกแยกเกิดขึ้นในภายหลัง
5) ควรจะรอให้ประชาชนหรือสมาชิกของทั้งสองพรรคได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจก่อน
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในครั้งนี้ เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ กำลังได้รับความสนใจ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้สนใจการเมืองอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในเรื่องความจำเป็น และความเหมาะสมของการปรับ ครม.ในขณะนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของ ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง และประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์การสำรวจ
1. เพื่อประเมินความเหมาะสมในการปรับคณะรัฐมนตรีในตำแหน่งต่าง ๆ ในทรรศนะของผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง
2. เพื่อประเมินความเหมาะสมในการปรับคณะรัฐมนตรีในตำแหน่งต่าง ๆ ในทรรศนะของประชาชนทั่วไปประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง และประชาชนทั่วไปต่อการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้
2. เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจขององค์กรทางสังคมและการเมืองที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ความเหมาะสมของการปรับครม.ทักษิณ 8 : กรณีศึกษาผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองทั่วประเทศ และประชาชนทั่วไปในกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ 1) ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง จากการเคยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากทั่วประเทศ 2) ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง 1) กลุ่มผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงระบบ (Systematic Sampling) ในการเลือกตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อผู้ที่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จาก ทั่วประเทศ 2) กลุ่มประชาชนทั่วไป ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง 404 ตัวอย่าง ประชาชนทั่วไป 1,124 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 15.5 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 84.5 ระบุเป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 34.6 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี ร้อยละ 28.8 อายุ 50-59 ร้อยละ 21.2 อายุต่ำกว่า 40 ปี และร้อยละ 15.4 อายุ 60 ปีขึ้นไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไป พบว่าตัวอย่างร้อยละ 46.9 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 53.1 ระบุเป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 35.8 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี ร้อยละ 16.7 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี ร้อยละ 14.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ 44.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 27.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ปลาย/ ปวช. ร้อยละ 10.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา ร้อยละ 10.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือ ต่ำกว่า และร้อยละ 7.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 29.6 ระบุอาชีพพนักงาน/ ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 20.1 ประกอบอาชีพค้าขาย/ อิสระ ร้อยละ 20.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.3 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 1.5 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 1.2 ระบุอื่นๆ เช่น เกษตรกร, ว่างงาน เป็นต้นโปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการปรับครม.ชุดทักษิณ 8
ลำดับที่ การติดตามข่าวปรับครม.ทักษิณ 8 ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง ประชาชน
1 ติดตามอย่างละเอียด 76.9 15.7
2 ติดตามบ้าง 23.1 68.3
3 ไม่ได้ติดตาม - 16.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ความคิดเห็นของผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง ต่อการปรับครม.
( ตารางที่ 2 - 13 )
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
" นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พ้นจากรมว.มหาดไทย ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 62.5) 1. ไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ได้
2. ขาดความเด็ดขาด/จริงจังในการแก้ปัญหา
3. เหมาะสมที่จะเป็นที่ปรึกษามากกว่าที่จะมาทำงานเอง
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 30.8) 1. อยู่ที่เดิมก็ดีอยู่แล้วไม่ควรเปลี่ยน
2. ตำแหน่งใหม่ที่ได้รับยังไม่เหมาะสม
3. เชื่อว่าถูกปรับด้วยเหตุผลของการประนีประนอมทางการเมืองมาก
กว่ามุ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 6.7)
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา พ้นจากรมว.กลาโหม ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 61.5) 1. สถานการณ์ในภาคใต้ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและประนีประนอมในการแก้ปัญหา
2. มีความรู้/ประสบการณ์ที่สามารถจะไปทำงานเป็นรองนายกฯ
3. อยากให้คนอื่นมาทำหน้าที่แทน
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 27.9) 1. กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเร่งแก้ปัญหา/ไม่ควรเปลี่ยนตอนนี้
2. เชื่อว่ายังสามารถทำงานในตำแหน่งเดิมต่อไปได้
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 10.6)
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายโภคิน พลกุล จากรองนายกรัฐมนตรี ไปเป็นรมว.มหาดไทย"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม (ร้อยละ 38.5) 1. เชื่อมั่นในความเป็นนักกฎหมาย/มีคุณวุฒิเหมาะสม
2. ชอบในบุคลิกความเป็นนักวิชาการ
3. เป็นคนรุ่นใหม่
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 44.2) 1. ยังขาดประสบการณ์การทำงานด้านการปกครอง
2. สถานการณ์ยังไม่เหมาะที่จะให้คนใหม่ได้เริ่มลองงาน
3. เกรงว่าจะไม่มีความเข้มแข็งเด็ดขาดเพียงพอ
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 17.3)
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร จากรมว.วิทยาศาสตร์ ฯ ไปเป็นรมว.กลาโหม"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 83.5) 1 เป็นทหาร/มีความรู้/ประสบการณ์ตรงกับงาน
2. เชื่อมั่นในความรู้/ความสามารถ
3. เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยเฉพาะปัญหาภาคใต้ได้
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 11.7) 1. มีงานอื่นที่น่าสนใจให้รับผิดชอบมากกว่า
2. ยังไม่เห็นความตั้งใจที่จะมาดูแลงานด้านนี้ /ถูกคนอื่นเลือกให้มา
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 4.8)
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นางสิริกร มณีรินทร์ พ้นจากรมช.ศึกษาธิการ ไปเป็นรมช.สาธารณสุข"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 50.0) 1. เชื่อว่ามีความรู้ความสามารถทำงานได้
2. ความเป็นผู้หญิงจะสามารถทำงานเข้ากันได้ดีกับรมว.สาธารณสุขคนปัจจุบัน
3. อยากให้โอกาส/อยากดูผลงาน
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 39.4) 1. เหมาะสมที่จะทำงานในตำแหน่งเดิม
2 . ไม่มั่นใจในเรื่องประสบการณ์การทำงานด้านสุขภาพ
3. บทบาทการทำงานยังไม่โดดเด่นพอ
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 10.6)
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายสมคิค จาตุศรีพิทักษ์ จากรองนายกรัฐมนตรี ไปเป็นรมว. คลัง"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 87.5) 1 มีความรู้/ความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้รับ
2. มีประสบการณ์และผลงานเป็นที่ยอมรับมาก่อน
3. มั่นใจว่าจะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 5.8) 1. น่าจะให้ดูแลเศรษฐกิจโดยรวม/ไม่ใช่รับผิดชอบหน่วยงานเดียว
2. ไม่มั่นใจในความเป็นตัวของตัวเอง/เกรงว่าจะอยู่ในอาณัติคนอื่น
3. ทำงานในตำแหน่ง/หน้าที่เดิมดีอยู่แล้ว
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 6.7)
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ พ้นจากรมว. คลัง ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 59.6) 1. มีความสามารถเหมาะสม
2. มีประสบการณ์การทำงานมาก
3. เชื่อว่าจะสามารถทำงานตอบสนองนายกรัฐมนตรีได้ดี
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 25.0) 1. ความสามารถน่าจะเหมาะกับตำแหน่งเดิมมากกว่า
2. ยังสร้างผลงานได้ไม่เด่นชัดพอ
3. เกรงว่าจะดูแลงานระดับกว้างได้ไม่ดีพอ
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 15.4)
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายสุวิทย์ คุณกิตติ จากรองนายกรัฐมนตรี ไปเป็นรมว.ทรัพยากรธรรมชาติ ฯ"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 55.7) 1. มีประสบการณ์มากพอ
2 เชื่อมั่นในความสามารถ
3. อยากให้ลอง/อยากดูผลงาน
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 30.8) 1. ไม่มั่นใจว่าจะแก้ไขปัญหาได้ดีเพียงใด
2. ความรู้และประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับงานยังน้อยเกินไป
3. ควรให้ทำหน้าที่เดิมจะดีกว่า
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 13.5)
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายสุธรรม แสงประทุม เข้ามารับตำแหน่งรมช.ศึกษาธิการ"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 72.2) 1.เคยมีประสบการณ์ทำงานด้านการศึกษา/
เคยทำงานในทบวงมหาวิทยาลัย มาก่อน
2. มั่นใจในความรู้ความสามารถ
3. มีจุดยืนความคิดเพื่อส่วนรวม
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 16.3) 1. คนที่อยู่ในตำแหน่งเดิมทำงานดีอยู่แล้ว
2. ไม่แน่ใจว่าจะปรับตัวเข้ากับระบบงานที่กระทรวงศึกษา ฯ ได้
3. เกรงว่าจะมุ่งทำงานเชิงการเมืองมากเกินไป
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 11.5)
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายกร ทัพพะรังสี เข้ามารับตำแหน่งรมว.วิทยาศาสตร์ ฯ"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 51.9) 1. เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ
2. มีประสบการณ์ในตำแหน่งสำคัญมาก่อน
3. มีความตั้งใจทำงาน
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 33.7) 1. งานที่ได้รับเป็นการถูกลดระดับความรับผิดชอบลง
2. ยังไม่เห็นการทำงานที่จริงจัง/เด่นชัดพอ
3. ทักษะ/บุคลิกยังไม่เหมาะกับงานที่ได้รับมอบหมาย
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 14.4)
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ พ้นจากตำแหน่งรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 61.2) 1. ผลงานไม่บรรลุเป้าหมาย/ผลงานไม่เด่นชัด
2 . ทำงานไม่ดี/แก้ปัญหาไม่ได้ผล
3. มักมีปัญหาข้อขัดแย้งกับคนอื่น
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 22.3) 1. มีความตั้งใจ/ทุ่มเททำงาน
2. การทำงานไม่ต่อเนื่อง/ งานที่ทำไว้ต้องการการสานต่อ
3. มีจุดยืนในการทำงาน/ รักษาผลประโยชน์ของประชาชน
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 16.5)
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ระบุความเหมาะสมในการปรับครม. กรณี
"พลตำรวจเอกจำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ พ้นจากตำแหน่งรมช.สาธารณสุข"
ลำดับที่ ความเห็น เหตุผลเพราะ
1 เหมาะสม ( ร้อยละ 76.0) 1. ผลงานไม่เด่นชัด/ไม่ปรากฏผลงาน
2. ไม่มีความรู้/ขาดความเชี่ยวชาญในสายงานที่รับผิดชอบ
3. ต้องการให้คนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมมาทำงานแทน
2 ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 3.8) 1. น่าจะให้โอกาสในการทำงานต่อไปก่อน
2. เป็นการปรับเปลี่ยนด้วยเหตุผลทางการเมือง
3 ไม่มีความเห็น (ร้อยละ 20.2)
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของ "ประชาชน" ที่ระบุความเหมาะสมของการปรับครม.กรณีต่าง ๆ
อันดับที่ กรณีการปรับครม. เหมาะสม ไม่เหมาะสม ไม่มีความเห็น รวม
1 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พ้นจาก
รมว.มหาดไทย ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี 40.4 22.8 36.8 100.0
2 พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณอยุธยา
พ้นจาก รมว.กลาโหม ไปเป็น
รองนายกรัฐมนตรี 34.8 16.9 48.3 100.0
3 นายโภคิน พลกุล จากรองนายกรัฐมนตรี
ไปเป็น รมว.มหาดไทย 16.6 28.3 55.1 100.0
4 พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร จาก
รมว.วิทยาศาสตร์ ฯ ไปเป็นรมว.กลาโหม 52.7 11.9 35.4 100.0
5 นางสิริกร มณีรินทร์ พ้นจากรมช.ศึกษาธิการ
ไปเป็นรมช.สาธารณสุข 25.2 24.0 50.8 100.0
6 นายสมคิค จาตุศรีพิทักษ์ จากรองนายก
รัฐมนตรี ไปเป็นรมว. คลัง 46.1 14.4 39.5 100.0
7 ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ พ้นจาก
รมว. คลังไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี 27.6 15.2 57.2 100.0
8 นายสุวิทย์ คุณกิตติ จากรองนายกรัฐมนตรี
ไปเป็นรมว.ทรัพยากรธรรมชาติ ฯ 27.1 17.7 55.2 100.0
9 นายสุธรรม แสงประทุม เข้ารับตำแหน่ง
รมช.ศึกษาธิการ 27.9 14.5 57.6 100.0
ตารางที่ 14 (ต่อ) แสดงค่าร้อยละของ "ประชาชน" ที่ระบุความเหมาะสมของการปรับครม.กรณีต่าง ๆ
อันดับที่ กรณีการปรับครม. เหมาะสม ไม่เหมาะสม ไม่มีความเห็น รวม
10 นายกร ทัพรังสี มารับตำแหน่ง
รมว.วิทยาศาสตร์ ฯ 33.6 26.0 40.4 100.0
11 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ พ้นจาก
ตำแหน่งรมว.ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม 25.6 13.5 60.9 100.0
12 พลตำรวจเอกจำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์
พ้นจากตำแหน่งรมช.สาธารณสุข 27.6 14.2 58.2 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นโดยภาพรวมของการปรับคณะรัฐมนตรี (ทักษิณ 8)
อันดับที่ ความเห็น ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง ประชาชน
1 เห็นด้วย 62.5 46.8
2 ไม่เห็นด้วย 32.7 22.9
3 ไม่มีความเห็น 4.8 30.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ผู้ที่ "เห็นด้วย" ระบุเหตุผลสำคัญได้แก่
1) เชื่อว่าการปรับครม.จะช่วยทำให้รัฐบาลสามารถทำงานได้ดีขึ้น/สร้างผลงานได้มากขึ้น.
2) เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน
3) เป็นการปรับเปลี่ยนคนให้เหมาะสมกับงาน/จัดหาคนให้เหมาะสมกับตำแหน่ง
4) เป็นการคลี่คลายสถานการณ์และปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาภาคใต้ ป้องกันการทุจริต แก้ปัญหาความขัดแย้งภายใน
5) เป็นการกระตุ้นให้รัฐมนตรีทำงานด้วยความกระตือรือร้น/แก้ปัญหาความเฉื่อยชา
ผู้ที่ "ไม่เห็นด้วย" ระบุเหตุผลสำคัญได้แก่
1) เป็นการปรับเปลี่ยนด้วยเหตุผลทางการเมือง/หลีกเลี่ยงการถูกอภิปราย
2) ไม่เชื่อว่าการปรับครม.จะทำให้การแก้ปัญหาหรือการพัฒนาประเทศดีขึ้น
3) การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยจะทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง
4) การจัดวางบุคคลยังไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
5) ยังไม่ถึงเวลา/ยังไม่มีเหตุผลที่มีน้ำหนักพอที่จะปรับเปลี่ยนครม.
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นกรณีที่จะให้มีการยุบพรรคชาติพัฒนา ไปรวมกับ
พรรคไทยรักไทย
อันดับที่ ความเห็น ผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง ประชาชน
1 เห็นด้วย 15.4 22.7
2 ไม่เห็นด้วย 56.7 41.2
3 ไม่มีความเห็น 27.9 36.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ผู้ที่ "เห็นด้วย" ระบุเหตุผลสำคัญได้แก่
1) เพื่อสร้างความเข้มแข็ง/สร้างเสถียรภาพให้พรรคการเมือง
2) เพื่อพัฒนาไปสู่ระบบการเมืองแบบมีพรรคใหญ่ 2 พรรคที่แยกฝ่ายกันชัดเจน
3) เป็นการขยายฐานทางการเมือง/เพิ่มคะแนนนิยมให้แก่พรรครัฐบาล
ผู้ที่ "ไม่เห็นด้วย" ระบุเหตุผลสำคัญได้แก่
1) เกรงว่าจะเป็นการรวมตัวกันเพื่อผูกขาดอำนาจเบ็ดเสร็จของกลุ่มการเมืองกลุ่มเดียว
2) ทั้งสองพรรคอาจจะมีแนวคิด อุดมการณ์ และแนวนโยบายที่แตกต่างกัน/ไม่สามารถรวมกันได้
3) ทำให้ประชาชนขาดทางเลือก /มีตัวเลือกทางการเมืองน้อยลง
4) เกรงว่าจะมีความขัดแย้ง แตกแยกเกิดขึ้นในภายหลัง
5) ควรจะรอให้ประชาชนหรือสมาชิกของทั้งสองพรรคได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจก่อน
--เอแบคโพลล์--
-พห-