ที่มาของโครงการ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในสังคมไทยปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่และจิตใจของคนในสังคมเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมีผลกระทบต่อความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลของคน ปัญหาสังคมต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งการเพิ่มขึ้นของยาเสพติด ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาอาชญากรรม การฆ่าตัวตาย เป็นดัชนีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพจิตของคนในสังคมไทยปัจจุบัน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเอื้ออาทรทางสังคมและชีวิตความเป็นอยู่
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ความเอื้ออาทรทางสังคมและการดำเนินชีวิตของประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 13 มีนาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,555 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 44.8 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 26.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 21.9 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.5 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 19.3 ระบุ อายุระหว่าง 20-29 ปี และ ร้อยละ 11.1 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ 80.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 17.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 25.5 ระบุมีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 18.4 ระบุเป็นแม่บ้าน /พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 15.1 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพข้าราชการ /พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.9 ระบุพนักงานบริษัทเอกชน และร้อยละ 3.4 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำตัวอย่างร้อยละ 32.5 ระบุเป็นโสด ร้อยละ 57.5 ระบุแต่งงานและอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 3.5 ระบุแต่งงานแล้วแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน และร้อยละ 6.5 ระบุเป็นม่าย / หย่าร้าง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคนที่คุณต้องการจะคุยด้วย
มีความพร้อมในระดับไหนที่จะรับฟังคุณ
ลำดับที่ ระดับความพร้อมที่จะรับฟัง รวมทั้งสิ้น
1 ไม่มีความพร้อมที่จะรับฟังเลย 10.6
2 ไม่ค่อยพร้อม 29.7
3 ค่อนข้างพร้อม 48.9
4 พร้อมที่จะรับฟังมากที่สุด 10.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเวลาคุณเจ็บป่วยไม่สบาย
คุณได้รับการดูแลอย่างแท้จริงในระดับใด
ลำดับที่ ระดับการได้รับความดูแล รวมทั้งสิ้น
1 ไม่ได้รับการดูแลอย่างแท้จริงเลย 2.0
2 น้อย 9.4
3 มาก 28.3
4 ได้รับการดูแลอย่างแท้จริงมากที่สุด 13.4
5 ไม่ได้เจ็บป่วย 46.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคุณรู้สึกตัวว่าคุณมีความ
สำคัญต่อคนที่คุณพักอาศัยอยู่ด้วยในระดับใด
ลำดับที่ ระดับความสำคัญ รวมทั้งสิ้น
1 ไม่สำคัญเลย 1.1
2 ไม่ค่อยสำคัญ 6.9
3 ค่อนข้างสำคัญ 50.4
4 สำคัญมากที่สุด 39.3
5 ไม่มีใครพักอาศัยอยู่ด้วย 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3เดือนที่ผ่านมาคุณมีคนคอยเอาใจใส่ห่วงใย
ปัญหาส่วนตัวของคุณมากน้อยเพียงใด
ลำดับที่ ระดับความเอาใจใส่ห่วงใย รวมทั้งสิ้น
1 ไม่ได้รับความเอาใจใส่ห่วงใยเลย 5.1
2 น้อย 17.4
3 มาก 56.5
4 ได้รับความเอาใจใส่ห่วงใยมากที่สุด 21.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคุณมีคนที่คอยแนะแนวทาง
แก้ปัญหาส่วนตัวของคุณอย่างจริงใจมากน้อยเพียงใด
ลำดับที่ คนที่คอยแนะแนวทางแก้ปัญหาส่วนตัว รวมทั้งสิ้น
1 ไม่มีคนที่คอยแนะแนวทางแก้ปัญหาเลย 14.3
2 น้อย 26.7
3 มาก 46.8
4 มากที่สุด 12.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3เดือนที่ผ่านมาบ่อยแค่ไหนที่คุณไม่สบายใจ
เพราะมีเหตุการณ์หรือบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด
ลำดับที่ การเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด รวมทั้งสิ้น
1 บ่อยมาก 10.5
2 บ่อยๆ 13.4
3 บางครั้ง 46.9
4 เกือบจะไม่เคย 14.1
5 ไม่เคยเลย 15.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3เดือนที่ผ่านมาบ่อยแค่ไหนที่คุณรู้สึกว่า
คุณสามารถแก้ไขปัญหาที่เคยทำให้คุณไม่สบายใจสำเร็จลงได้
ลำดับที่ สามารถแก้ไขปัญหาที่เคยทำให้ไม่สบายใจสำเร็จลงได้ รวมทั้งสิ้น
1 บ่อยมาก 11.5
2 บ่อยๆ 19.9
3 บางครั้ง 50.0
4 เกือบจะไม่เคย 9.2
5 ไม่เคยเลย 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น กรณี ในช่วง 3เดือนที่ผ่านมาบ่อยแค่ไหนที่คุณรู้สึก
กระวนกระวายใจหรือเครียดกับบางสิ่งบางอย่าง
ลำดับที่ รู้สึกเครียดกับบางสิ่งบางอย่าง รวมทั้งสิ้น
1 บ่อยมาก 12.0
2 บ่อยๆ 17.4
3 บางครั้ง 45.5
4 เกือบจะไม่เคย 13.0
5 ไม่เคยเลย 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาบ่อยแค่ไหนที่คุณสามารถ
แก้ปัญหาเอาชนะอุปสรรคต่างๆรอบๆตัวคุณได้
ลำดับที่ สามารถแก้ปัญหาเอาชนะอุปสรรครอบตัวได้ รวมทั้งสิ้น
1 บ่อยมาก 16.0
2 บ่อยๆ 22.7
3 บางครั้ง 45.5
4 เกือบจะไม่เคย 8.0
5 ไม่เคยเลย 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา บ่อยแค่ไหนที่คุณสามารถ
ตัดสินใจได้ว่าเวลาไหนคุณจะทำอะไร
ลำดับที่ สามารถตัดสินใจได้ว่าเวลาไหนจะทำอะไร รวมทั้งสิ้น
1 บ่อยมาก 24.6
2 บ่อยๆ 24.3
3 บางครั้ง 40.3
4 เกือบจะไม่เคย 5.0
5 ไม่เคยเลย 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนคนที่สนิท และคอยติดต่ออยู่ด้วยอย่างสม่ำเสมอ
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ จำนวนคนที่สนิท และคอยติดต่ออยู่ด้วยอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งสิ้น
1 ไม่มีใครเลย 1.3
2 1 -2 คน 21.8
3 3 - 4 คน 32.1
4 5 - 6 คน 22.6
5 มากกว่า 6 คน 22.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนวันในการติดต่อกับคนที่สนิทกับคุณอย่างแท้จริง
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ จำนวนวันในการติดต่อกับคนสนิท รวมทั้งสิ้น
1 ไม่ติดต่อกับใครเลย 2.4
2 1 - 15 วัน 25.2
3 16 - 30 วัน 14.0
4 31 - 45 วัน 11.3
5 46 - 60 วัน 8.9
6 มากกว่า 60 วัน 38.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยถึง ผลสำรวจ เรื่อง ความเอื้ออาทรทางสังคมและการดำเนินชีวิตของประชาชน ในครั้งนี้ว่า ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเอื้ออาทรในสังคมไทยปัจจุบัน รวมทั้งการดำเนินชีวิตของประชาชนโดยทั่วไป โดยได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั้งสิ้น 2,555 ตัวอย่าง จาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 13 มีนาคม 2547 ผลการสำรวจพบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาดังนี้
- สังคมไทยยังคงอบอุ่น และเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
จากการสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างประชาชนต่อกรณี ระดับความพร้อมในการรับฟังปัญหาของบุคคลที่ตัวอย่างต้องการคุยด้วย ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 59.7 ระบุว่า คิดว่าคนที่ตนเองต้องการจะคุยด้วยนั้น พร้อม/ค่อนข้างพร้อมที่จะรับฟังเรื่องราวของตนเอง ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 29.7 ระบุไม่ค่อยพร้อม และ ร้อยละ 10.6 ระบุคิดว่าบุคคลนั้นไม่มีความพร้อมที่จะรับฟังตนเองเลย
สำหรับประเด็นการได้รับการดูแลอย่างแท้จริงในเวลาที่เจ็บป่วยไม่สบายในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.7 ระบุว่าตนเองได้รับการดูแลอย่างแท้จริงในระดับ มาก/มากที่สุด ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 9.4 ระบุว่าได้รับการดูแลอย่างแท้จริงในระดับน้อย โดยมีตัวอย่างเพียงร้อยละ 2.0 เท่านั้นที่ระบุว่าตนเองไม่ได้รับการดูแลอย่างแท้จริงเลย ในเวลาที่เจ็บป่วยไม่สบาย
ตัวอย่างร้อยละ 89.7 ระบุแสดงความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ/ค่อนข้างมีความสำคัญต่อคนที่พักอาศัยอยู่ด้วยในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 6.9 ระบุรู้สึกว่าตนเองไม่ค่อยมีความสำคัญ ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 1.1 เท่านั้นที่รู้สึกว่า ตนเองไม่มีความสำคัญต่อคนที่พักอาศัยอยู่ด้วยเลย
ตัวอย่างกว่าร้อยละ 77.5 ระบุว่าตนเองได้รับการเอาใจใส่ห่วงใยในปัญหาส่วนตัวอย่างแท้จริงในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา ในระดับมาก /มากที่สุด ร้อยละ 17.4 ระบุได้รับการเอาใจใส่ห่วงใยอย่างแท้จริงในระดับน้อย ในขณะที่ ร้อยละ 5.1 ระบุว่าตนเองไม่ได้รับการเอาใจใส่ห่วงใยอย่างแท้จริง
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาต่อกรณีความเอื้ออาทรทางสังคม คือ การมีคนที่คอยแนะแนวทางแก้ปัญหาส่วนตัวอย่างจริงจัง ในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.0 ระบุว่าตนเองมีคนที่คอยแนะแนวทางแก้ปัญหาส่วนตัวอย่างจริงจังในระดับ มาก/มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 26.7 ระบุน้อย และร้อยละ 14.3 ระบุไม่มีคนคอยแนะแนวทางแก้ปัญหาส่วนตัว
- การดำเนินชีวิตโดยทั่วไปในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ตัวอย่างร้อยละ 23.9 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานี้ ตนเองต้องรู้สึกไม่สบายใจเพราะมีเหตุการณ์หรือบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด บ่อยมาก/บ่อยๆ ในขณะที่ร้อยละ 46.9 ระบุมีเพียงบางครั้ง ร้อยละ 14.1 ระบุเกือบจะไม่มีเลย และร้อยละ 15.1 ระบุ ไม่เคยมีเลย
ตัวอย่างร้อยละ 31.4 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานี้ ตนเองสามารถแก้ไขปัญหาที่เคยทำให้ไม่สบายใจสำเร็จลงได้ บ่อยมาก/บ่อยๆ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 50.0 ระบุว่ามีเพียงบางครั้งเท่านั้นที่ตนเองจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จ ร้อยละ 9.2 ระบุเกือบจะไม่เคย และตัวอย่างร้อยละ 9.4 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ตนเองไม่เคยสามารถแก้ไขปัญหาที่เคยทำให้ไม่สบายใจให้สำเร็จลงได้เลย
อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีช่วงเวลาที่เกิดความรู้สึกกระวนกระวายใจหรือเครียดกับบางสิ่งบางอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.4 ระบุว่าเกิดความรู้สึกดังกล่าวอยู่บ่อยมาก /บ่อยๆ ร้อยละ 45.5 ระบุรู้สึกเครียดเป็นบางครั้ง ร้อยละ 13.0 ระบุเกือบจะไม่เคย และร้อยละ 12.1 ระบุไม่เคยรู้สึกเครียดเลยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีการเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่างๆรอบตัวในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.7 ระบุตนเองสามารถแก้ปัญหาเอาชนะอุปสรรคต่างๆได้ บ่อยมาก/บ่อยๆ ร้อยละ 45.5 ระบุเป็นบางครั้ง ร้อยละ 8.0 ระบุเกือบจะไม่เคย และร้อยละ 7.8 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาตนเองไม่เคยสามารถแก้ไขปัญหาเอาชนะอุปสรรคต่างๆได้เลย
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 48.9 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานี้ มีบ่อยครั้งมาก/บ่อยๆ ที่ตนเองสามารถตัดสินใจได้ว่าเวลาไหนจะทำอะไร ร้อยละ 40.3 ระบุเป็นบางครั้ง ร้อยละ 5.0 ระบุเกือบจะไม่เคย และร้อยละ 5.8 ระบุไม่เคยเลย
- เครือข่ายทางสังคมของคนไทย
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่าง ถึงจำนวนคนที่สนิทและติดต่อด้วยอย่างสม่ำเสมอในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 1.3 ระบุว่าไม่เคยติดต่อใครเลย ร้อยละ 21.8 ระบุติดต่อ 1-2 คน ร้อยละ 32.1 ระบุ 3-4 คน ร้อยละ 22.6 ระบุ 5-6 คน และร้อยละ 22.2 ระบุมากกว่า 6 คน
เมื่อสอบถามต่อไปถึงจำนวนวันที่ติดต่อกับคนที่สนิทอย่างแท้จริงในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 2.4 ระบุไม่ได้ติดต่อกับใครเลยสักวัน ร้อยละ 25.2 ติดต่อประมาณ 1-15 วัน ร้อยละ 14.0 ระบุติดต่อ 16-30 วัน ร้อยละ 11.3 ระบุ ติดต่อ 31-45 วัน ร้อยละ 8.9 ระบุ ติดต่อ 46-60 วัน และร้อยละ 38.2 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ตนเองติดต่อกับคนที่สนิทอย่างแท้จริงมากกว่า 60 วัน
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในสังคมไทยปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่และจิตใจของคนในสังคมเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมีผลกระทบต่อความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลของคน ปัญหาสังคมต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งการเพิ่มขึ้นของยาเสพติด ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาอาชญากรรม การฆ่าตัวตาย เป็นดัชนีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพจิตของคนในสังคมไทยปัจจุบัน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเอื้ออาทรทางสังคมและชีวิตความเป็นอยู่
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ความเอื้ออาทรทางสังคมและการดำเนินชีวิตของประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 13 มีนาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,555 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 44.8 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 26.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 21.9 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.5 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 19.3 ระบุ อายุระหว่าง 20-29 ปี และ ร้อยละ 11.1 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ 80.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 17.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 25.5 ระบุมีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 18.4 ระบุเป็นแม่บ้าน /พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 15.1 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพข้าราชการ /พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.9 ระบุพนักงานบริษัทเอกชน และร้อยละ 3.4 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำตัวอย่างร้อยละ 32.5 ระบุเป็นโสด ร้อยละ 57.5 ระบุแต่งงานและอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 3.5 ระบุแต่งงานแล้วแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน และร้อยละ 6.5 ระบุเป็นม่าย / หย่าร้าง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคนที่คุณต้องการจะคุยด้วย
มีความพร้อมในระดับไหนที่จะรับฟังคุณ
ลำดับที่ ระดับความพร้อมที่จะรับฟัง รวมทั้งสิ้น
1 ไม่มีความพร้อมที่จะรับฟังเลย 10.6
2 ไม่ค่อยพร้อม 29.7
3 ค่อนข้างพร้อม 48.9
4 พร้อมที่จะรับฟังมากที่สุด 10.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเวลาคุณเจ็บป่วยไม่สบาย
คุณได้รับการดูแลอย่างแท้จริงในระดับใด
ลำดับที่ ระดับการได้รับความดูแล รวมทั้งสิ้น
1 ไม่ได้รับการดูแลอย่างแท้จริงเลย 2.0
2 น้อย 9.4
3 มาก 28.3
4 ได้รับการดูแลอย่างแท้จริงมากที่สุด 13.4
5 ไม่ได้เจ็บป่วย 46.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคุณรู้สึกตัวว่าคุณมีความ
สำคัญต่อคนที่คุณพักอาศัยอยู่ด้วยในระดับใด
ลำดับที่ ระดับความสำคัญ รวมทั้งสิ้น
1 ไม่สำคัญเลย 1.1
2 ไม่ค่อยสำคัญ 6.9
3 ค่อนข้างสำคัญ 50.4
4 สำคัญมากที่สุด 39.3
5 ไม่มีใครพักอาศัยอยู่ด้วย 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3เดือนที่ผ่านมาคุณมีคนคอยเอาใจใส่ห่วงใย
ปัญหาส่วนตัวของคุณมากน้อยเพียงใด
ลำดับที่ ระดับความเอาใจใส่ห่วงใย รวมทั้งสิ้น
1 ไม่ได้รับความเอาใจใส่ห่วงใยเลย 5.1
2 น้อย 17.4
3 มาก 56.5
4 ได้รับความเอาใจใส่ห่วงใยมากที่สุด 21.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคุณมีคนที่คอยแนะแนวทาง
แก้ปัญหาส่วนตัวของคุณอย่างจริงใจมากน้อยเพียงใด
ลำดับที่ คนที่คอยแนะแนวทางแก้ปัญหาส่วนตัว รวมทั้งสิ้น
1 ไม่มีคนที่คอยแนะแนวทางแก้ปัญหาเลย 14.3
2 น้อย 26.7
3 มาก 46.8
4 มากที่สุด 12.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3เดือนที่ผ่านมาบ่อยแค่ไหนที่คุณไม่สบายใจ
เพราะมีเหตุการณ์หรือบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด
ลำดับที่ การเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด รวมทั้งสิ้น
1 บ่อยมาก 10.5
2 บ่อยๆ 13.4
3 บางครั้ง 46.9
4 เกือบจะไม่เคย 14.1
5 ไม่เคยเลย 15.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3เดือนที่ผ่านมาบ่อยแค่ไหนที่คุณรู้สึกว่า
คุณสามารถแก้ไขปัญหาที่เคยทำให้คุณไม่สบายใจสำเร็จลงได้
ลำดับที่ สามารถแก้ไขปัญหาที่เคยทำให้ไม่สบายใจสำเร็จลงได้ รวมทั้งสิ้น
1 บ่อยมาก 11.5
2 บ่อยๆ 19.9
3 บางครั้ง 50.0
4 เกือบจะไม่เคย 9.2
5 ไม่เคยเลย 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น กรณี ในช่วง 3เดือนที่ผ่านมาบ่อยแค่ไหนที่คุณรู้สึก
กระวนกระวายใจหรือเครียดกับบางสิ่งบางอย่าง
ลำดับที่ รู้สึกเครียดกับบางสิ่งบางอย่าง รวมทั้งสิ้น
1 บ่อยมาก 12.0
2 บ่อยๆ 17.4
3 บางครั้ง 45.5
4 เกือบจะไม่เคย 13.0
5 ไม่เคยเลย 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาบ่อยแค่ไหนที่คุณสามารถ
แก้ปัญหาเอาชนะอุปสรรคต่างๆรอบๆตัวคุณได้
ลำดับที่ สามารถแก้ปัญหาเอาชนะอุปสรรครอบตัวได้ รวมทั้งสิ้น
1 บ่อยมาก 16.0
2 บ่อยๆ 22.7
3 บางครั้ง 45.5
4 เกือบจะไม่เคย 8.0
5 ไม่เคยเลย 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา บ่อยแค่ไหนที่คุณสามารถ
ตัดสินใจได้ว่าเวลาไหนคุณจะทำอะไร
ลำดับที่ สามารถตัดสินใจได้ว่าเวลาไหนจะทำอะไร รวมทั้งสิ้น
1 บ่อยมาก 24.6
2 บ่อยๆ 24.3
3 บางครั้ง 40.3
4 เกือบจะไม่เคย 5.0
5 ไม่เคยเลย 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนคนที่สนิท และคอยติดต่ออยู่ด้วยอย่างสม่ำเสมอ
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ จำนวนคนที่สนิท และคอยติดต่ออยู่ด้วยอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งสิ้น
1 ไม่มีใครเลย 1.3
2 1 -2 คน 21.8
3 3 - 4 คน 32.1
4 5 - 6 คน 22.6
5 มากกว่า 6 คน 22.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนวันในการติดต่อกับคนที่สนิทกับคุณอย่างแท้จริง
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ จำนวนวันในการติดต่อกับคนสนิท รวมทั้งสิ้น
1 ไม่ติดต่อกับใครเลย 2.4
2 1 - 15 วัน 25.2
3 16 - 30 วัน 14.0
4 31 - 45 วัน 11.3
5 46 - 60 วัน 8.9
6 มากกว่า 60 วัน 38.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยถึง ผลสำรวจ เรื่อง ความเอื้ออาทรทางสังคมและการดำเนินชีวิตของประชาชน ในครั้งนี้ว่า ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเอื้ออาทรในสังคมไทยปัจจุบัน รวมทั้งการดำเนินชีวิตของประชาชนโดยทั่วไป โดยได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั้งสิ้น 2,555 ตัวอย่าง จาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 13 มีนาคม 2547 ผลการสำรวจพบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาดังนี้
- สังคมไทยยังคงอบอุ่น และเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
จากการสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างประชาชนต่อกรณี ระดับความพร้อมในการรับฟังปัญหาของบุคคลที่ตัวอย่างต้องการคุยด้วย ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 59.7 ระบุว่า คิดว่าคนที่ตนเองต้องการจะคุยด้วยนั้น พร้อม/ค่อนข้างพร้อมที่จะรับฟังเรื่องราวของตนเอง ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 29.7 ระบุไม่ค่อยพร้อม และ ร้อยละ 10.6 ระบุคิดว่าบุคคลนั้นไม่มีความพร้อมที่จะรับฟังตนเองเลย
สำหรับประเด็นการได้รับการดูแลอย่างแท้จริงในเวลาที่เจ็บป่วยไม่สบายในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.7 ระบุว่าตนเองได้รับการดูแลอย่างแท้จริงในระดับ มาก/มากที่สุด ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 9.4 ระบุว่าได้รับการดูแลอย่างแท้จริงในระดับน้อย โดยมีตัวอย่างเพียงร้อยละ 2.0 เท่านั้นที่ระบุว่าตนเองไม่ได้รับการดูแลอย่างแท้จริงเลย ในเวลาที่เจ็บป่วยไม่สบาย
ตัวอย่างร้อยละ 89.7 ระบุแสดงความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ/ค่อนข้างมีความสำคัญต่อคนที่พักอาศัยอยู่ด้วยในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 6.9 ระบุรู้สึกว่าตนเองไม่ค่อยมีความสำคัญ ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 1.1 เท่านั้นที่รู้สึกว่า ตนเองไม่มีความสำคัญต่อคนที่พักอาศัยอยู่ด้วยเลย
ตัวอย่างกว่าร้อยละ 77.5 ระบุว่าตนเองได้รับการเอาใจใส่ห่วงใยในปัญหาส่วนตัวอย่างแท้จริงในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา ในระดับมาก /มากที่สุด ร้อยละ 17.4 ระบุได้รับการเอาใจใส่ห่วงใยอย่างแท้จริงในระดับน้อย ในขณะที่ ร้อยละ 5.1 ระบุว่าตนเองไม่ได้รับการเอาใจใส่ห่วงใยอย่างแท้จริง
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาต่อกรณีความเอื้ออาทรทางสังคม คือ การมีคนที่คอยแนะแนวทางแก้ปัญหาส่วนตัวอย่างจริงจัง ในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.0 ระบุว่าตนเองมีคนที่คอยแนะแนวทางแก้ปัญหาส่วนตัวอย่างจริงจังในระดับ มาก/มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 26.7 ระบุน้อย และร้อยละ 14.3 ระบุไม่มีคนคอยแนะแนวทางแก้ปัญหาส่วนตัว
- การดำเนินชีวิตโดยทั่วไปในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ตัวอย่างร้อยละ 23.9 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานี้ ตนเองต้องรู้สึกไม่สบายใจเพราะมีเหตุการณ์หรือบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด บ่อยมาก/บ่อยๆ ในขณะที่ร้อยละ 46.9 ระบุมีเพียงบางครั้ง ร้อยละ 14.1 ระบุเกือบจะไม่มีเลย และร้อยละ 15.1 ระบุ ไม่เคยมีเลย
ตัวอย่างร้อยละ 31.4 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานี้ ตนเองสามารถแก้ไขปัญหาที่เคยทำให้ไม่สบายใจสำเร็จลงได้ บ่อยมาก/บ่อยๆ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 50.0 ระบุว่ามีเพียงบางครั้งเท่านั้นที่ตนเองจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จ ร้อยละ 9.2 ระบุเกือบจะไม่เคย และตัวอย่างร้อยละ 9.4 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ตนเองไม่เคยสามารถแก้ไขปัญหาที่เคยทำให้ไม่สบายใจให้สำเร็จลงได้เลย
อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีช่วงเวลาที่เกิดความรู้สึกกระวนกระวายใจหรือเครียดกับบางสิ่งบางอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.4 ระบุว่าเกิดความรู้สึกดังกล่าวอยู่บ่อยมาก /บ่อยๆ ร้อยละ 45.5 ระบุรู้สึกเครียดเป็นบางครั้ง ร้อยละ 13.0 ระบุเกือบจะไม่เคย และร้อยละ 12.1 ระบุไม่เคยรู้สึกเครียดเลยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีการเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่างๆรอบตัวในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.7 ระบุตนเองสามารถแก้ปัญหาเอาชนะอุปสรรคต่างๆได้ บ่อยมาก/บ่อยๆ ร้อยละ 45.5 ระบุเป็นบางครั้ง ร้อยละ 8.0 ระบุเกือบจะไม่เคย และร้อยละ 7.8 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาตนเองไม่เคยสามารถแก้ไขปัญหาเอาชนะอุปสรรคต่างๆได้เลย
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 48.9 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานี้ มีบ่อยครั้งมาก/บ่อยๆ ที่ตนเองสามารถตัดสินใจได้ว่าเวลาไหนจะทำอะไร ร้อยละ 40.3 ระบุเป็นบางครั้ง ร้อยละ 5.0 ระบุเกือบจะไม่เคย และร้อยละ 5.8 ระบุไม่เคยเลย
- เครือข่ายทางสังคมของคนไทย
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่าง ถึงจำนวนคนที่สนิทและติดต่อด้วยอย่างสม่ำเสมอในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 1.3 ระบุว่าไม่เคยติดต่อใครเลย ร้อยละ 21.8 ระบุติดต่อ 1-2 คน ร้อยละ 32.1 ระบุ 3-4 คน ร้อยละ 22.6 ระบุ 5-6 คน และร้อยละ 22.2 ระบุมากกว่า 6 คน
เมื่อสอบถามต่อไปถึงจำนวนวันที่ติดต่อกับคนที่สนิทอย่างแท้จริงในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 2.4 ระบุไม่ได้ติดต่อกับใครเลยสักวัน ร้อยละ 25.2 ติดต่อประมาณ 1-15 วัน ร้อยละ 14.0 ระบุติดต่อ 16-30 วัน ร้อยละ 11.3 ระบุ ติดต่อ 31-45 วัน ร้อยละ 8.9 ระบุ ติดต่อ 46-60 วัน และร้อยละ 38.2 ระบุว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ตนเองติดต่อกับคนที่สนิทอย่างแท้จริงมากกว่า 60 วัน
--เอแบคโพลล์--
-พห-