ที่มาของโครงการ
ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้วนั้น ยังไม่มีวี่แววว่ารัฐบาล จะสามารถควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวให้ยุติลงได้ นอกจากนี้ยังส่อเค้าว่าจะเกิดปัญหาความรุนแรงบานปลาย มากขึ้นไปอีกทั้งกรณีการหายตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความของผู้ต้องหาคดีเจไอ ซึ่งหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีส่วนพัวพันต่อกรณีดังกล่าวด้วย และล่าสุดเมื่อคืนวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา มีคนร้ายได้ลอบวางเพลิงสถานที่ต่างๆ ใน 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และสงขลา รวม 36 จุด ซึ่งจากปัญหาความไม่สงบต่างๆดังกล่าว ทำให้รัฐบาลปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีการหายตัวของทนายความเจไอ2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากตำแหน่ง3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีรัฐบาลปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และกรณีการหายตัวของทนายสมชาย : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 19 -20 มีนาคม 2547 (เริ่มดำเนินโครงการในตอนเย็นของวันที่ 19 - 20 มีนาคมที่ผ่านมา)
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับลักษณะของประชากร
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,724 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.4 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 20-29 ปี และร้อยละ 6.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 26.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ปวช ร้อยละ 8.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปวส. / อนุปริญญา ร้อยละ 26.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 22.9 รับจ้างทั่วไป / เกษตรกร ร้อยละ 22.4 ค้าขาย / อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.7 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.4 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.2 เป็นแม่บ้าน / เกษียณอายุ ร้อยละ 10.4 เป็น นักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 3.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี การปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เห็นด้วย 53.5
2 ไม่เห็นด้วย 27.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เห็นด้วยต่อกรณี การปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุเหตุผล เพราะ…..1) ไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้2) ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนยังไม่ได้รับการแก้ไข3) มีปัญหาเรื่องภาพลักษณ์มาตลอด4) ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ รุนแรงมากขึ้น5) บริหารงานไม่ดีเท่าที่ควร ฯลฯ
ตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วยต่อกรณี การปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุเหตุผล เพราะ…..1) ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง / ควรจะแก้ปัญหาให้ตรงจุด2) น่าจะให้โอกาสพิสูจน์ตัวเองก่อน3) ควรให้อยู่จนครบวาระ ฯลฯ
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ควรจะมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่
ลำดับที่ บุคคลที่ควรจะมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ร้อยละ
1 พล.ต.อ. สุนทร ซ้ายขวัญ 11.9
2 พล.ต.อ. ชาญชิต เพียรเลิศ 11.6
3 พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ 9.6
4 พล.ต.ท. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 5.9
5 พล.ต.อ. นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ 4.8
6 พล.ต.อ. ธวัชชัย ภัยลี้ 2.6
7 พล.ต.อ. อำนวย เพชรศิริ 1.1
8 พล.ต.อ. ปิยะ เจียมไชยศรี 0.5
9 ไม่ทราบ/ไม่รู้จักใครเลย 52.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หลักเกณฑ์ของรัฐบาลที่ประชาชนอยากให้ใช้ในการแต่งตั้ง
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หลักเกณฑ์ของรัฐบาลที่ประชาชนอยากให้ใช้ในการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ร้อยละ
1 ให้คำนึงถึงความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนเป็นหลัก 93.4
2 ใช้ผลงานในการป้องกันปราบปรามที่ผ่านมา 86.2
3 ให้คำนึงถึงความสามัคคีภายในองค์กร 64.9
4 ใช้ระบบความรู้ความสามารถ 62.5
5 ใช้ระบบอาวุโส 52.7
6 ใช้ผลงานด้านการศึกษา 43.7
7 ใช้ระบบพวกพ้องหรือเส้นสายของฝ่ายการเมือง 28.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณสมบัติของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ร้อยละ
1 แก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ 93.2
2 ไม่โกงกิน ไม่คอรัปชั่น 87.6
3 เป็นคนตรงไปตรงมา 84.1
4 เป็นที่ยอมรับและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนอย่างกว้างขวาง 75.6
5 ทันต่อปัญหาและเข้าถึงปัญหาของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว 74.2
6 มีวิสัยทัศน์ในการป้องกันปัญหาอาชญากรรม 70.3
7 เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างกว้างขวาง 66.5
8 ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างดี 60.4
9 มีการศึกษาดี 54.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวกรณี ทนายสมชาย นีละไพจิตร หายตัวไป
ลำดับที่ การติดตามข่าวกรณีทนายสมชาย นีละไพจิตร หายตัวไป ร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 21.7
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 54.0
3 ไม่ได้ติดตามเลย 24.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี เชื่อหรือไม่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนพัวพัน
กับกรณีทนายสมชาย หายตัวไป
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง 36.5
2 ไม่เชื่อเช่นนั้น 28.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 35.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี เชื่อหรือไม่ว่ากรณีทนายสมชาย หายตัวไปนั้น
มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 54.4
2 ไม่เชื่อเช่นนั้น 14.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี เชื่อหรือไม่ว่ากรณีทนายสมชาย หายตัวไปนั้น
จะทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงบานปลายมากขึ้นไปอีก
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เชื่อว่าจะทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงบานปลายขึ้นไปอีก 48.1
2 ไม่เชื่อเช่นนั้น 21.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี การหายตัวของทนายสมชายจะทำให้รัฐบาล
เสียภาพลักษณ์หรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ทำให้รัฐบาลเสียภาพลักษณ์ 42.9
2 ไม่เสีย 35.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้วนั้น ยังไม่มีวี่แววว่ารัฐบาล จะสามารถควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวให้ยุติลงได้ นอกจากนี้ยังส่อเค้าว่าจะเกิดปัญหาความรุนแรงบานปลาย มากขึ้นไปอีกทั้งกรณีการหายตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความของผู้ต้องหาคดีเจไอ ซึ่งหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีส่วนพัวพันต่อกรณีดังกล่าวด้วย และล่าสุดเมื่อคืนวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา มีคนร้ายได้ลอบวางเพลิงสถานที่ต่างๆ ใน 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และสงขลา รวม 36 จุด ซึ่งจากปัญหาความไม่สงบต่างๆดังกล่าว ทำให้รัฐบาลปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีการหายตัวของทนายความเจไอ2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากตำแหน่ง3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีรัฐบาลปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และกรณีการหายตัวของทนายสมชาย : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 19 -20 มีนาคม 2547 (เริ่มดำเนินโครงการในตอนเย็นของวันที่ 19 - 20 มีนาคมที่ผ่านมา)
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับลักษณะของประชากร
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,724 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.4 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 20-29 ปี และร้อยละ 6.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 26.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ปวช ร้อยละ 8.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปวส. / อนุปริญญา ร้อยละ 26.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 22.9 รับจ้างทั่วไป / เกษตรกร ร้อยละ 22.4 ค้าขาย / อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.7 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.4 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.2 เป็นแม่บ้าน / เกษียณอายุ ร้อยละ 10.4 เป็น นักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 3.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี การปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เห็นด้วย 53.5
2 ไม่เห็นด้วย 27.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เห็นด้วยต่อกรณี การปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุเหตุผล เพราะ…..1) ไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้2) ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนยังไม่ได้รับการแก้ไข3) มีปัญหาเรื่องภาพลักษณ์มาตลอด4) ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ รุนแรงมากขึ้น5) บริหารงานไม่ดีเท่าที่ควร ฯลฯ
ตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วยต่อกรณี การปลดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุเหตุผล เพราะ…..1) ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง / ควรจะแก้ปัญหาให้ตรงจุด2) น่าจะให้โอกาสพิสูจน์ตัวเองก่อน3) ควรให้อยู่จนครบวาระ ฯลฯ
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ควรจะมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่
ลำดับที่ บุคคลที่ควรจะมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ร้อยละ
1 พล.ต.อ. สุนทร ซ้ายขวัญ 11.9
2 พล.ต.อ. ชาญชิต เพียรเลิศ 11.6
3 พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ 9.6
4 พล.ต.ท. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 5.9
5 พล.ต.อ. นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ 4.8
6 พล.ต.อ. ธวัชชัย ภัยลี้ 2.6
7 พล.ต.อ. อำนวย เพชรศิริ 1.1
8 พล.ต.อ. ปิยะ เจียมไชยศรี 0.5
9 ไม่ทราบ/ไม่รู้จักใครเลย 52.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หลักเกณฑ์ของรัฐบาลที่ประชาชนอยากให้ใช้ในการแต่งตั้ง
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หลักเกณฑ์ของรัฐบาลที่ประชาชนอยากให้ใช้ในการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ร้อยละ
1 ให้คำนึงถึงความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนเป็นหลัก 93.4
2 ใช้ผลงานในการป้องกันปราบปรามที่ผ่านมา 86.2
3 ให้คำนึงถึงความสามัคคีภายในองค์กร 64.9
4 ใช้ระบบความรู้ความสามารถ 62.5
5 ใช้ระบบอาวุโส 52.7
6 ใช้ผลงานด้านการศึกษา 43.7
7 ใช้ระบบพวกพ้องหรือเส้นสายของฝ่ายการเมือง 28.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณสมบัติของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ร้อยละ
1 แก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ 93.2
2 ไม่โกงกิน ไม่คอรัปชั่น 87.6
3 เป็นคนตรงไปตรงมา 84.1
4 เป็นที่ยอมรับและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนอย่างกว้างขวาง 75.6
5 ทันต่อปัญหาและเข้าถึงปัญหาของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว 74.2
6 มีวิสัยทัศน์ในการป้องกันปัญหาอาชญากรรม 70.3
7 เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างกว้างขวาง 66.5
8 ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างดี 60.4
9 มีการศึกษาดี 54.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวกรณี ทนายสมชาย นีละไพจิตร หายตัวไป
ลำดับที่ การติดตามข่าวกรณีทนายสมชาย นีละไพจิตร หายตัวไป ร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 21.7
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 54.0
3 ไม่ได้ติดตามเลย 24.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี เชื่อหรือไม่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนพัวพัน
กับกรณีทนายสมชาย หายตัวไป
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง 36.5
2 ไม่เชื่อเช่นนั้น 28.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 35.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี เชื่อหรือไม่ว่ากรณีทนายสมชาย หายตัวไปนั้น
มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 54.4
2 ไม่เชื่อเช่นนั้น 14.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี เชื่อหรือไม่ว่ากรณีทนายสมชาย หายตัวไปนั้น
จะทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงบานปลายมากขึ้นไปอีก
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เชื่อว่าจะทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงบานปลายขึ้นไปอีก 48.1
2 ไม่เชื่อเช่นนั้น 21.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี การหายตัวของทนายสมชายจะทำให้รัฐบาล
เสียภาพลักษณ์หรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ทำให้รัฐบาลเสียภาพลักษณ์ 42.9
2 ไม่เสีย 35.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-