ที่มาของโครงการ
จากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่กำลังเติบโต แม้จะได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนก (Bird Flu) อยู่บ้าง แต่โดยภาพรวมของเศรษฐกิจยังคงเติบโตในระดับที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายท่านทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศนั้นยังคงให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืนมากกว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดด ดังนั้นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ คือ ภาระหนี้สินในระดับครัวเรือน เพราะครัวเรือนเป็นทั้งกำลังซื้อ และทรัพยากรที่สำคัญในการผลิตสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ลงความเห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจากปีที่ผ่านมานั้น เป็นการโตจากด้านอุปสงค์ (Demand Side) ซึ่งต้องอาศัยกำลังซื้อจากครัวเรือนเป็น ที่ตั้ง ทั้งนี้หากกำลังซื้อเหล่านี้ไม่สามารถเพิ่มได้อีก หรือมีปัญหาในเรื่องของการชำระหนี้ของกลุ่มกำลังซื้อดังกล่าวจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างยิ่ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดตั้งโครงการสำรวจทางเศรษฐกิจ โดยจะดำเนินโครงการวิจัยด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นเครื่องมือในการวัดแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจและนำเสนอข้อมูลไปยังรัฐบาลและสาธารณชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับทุกหน่วยในระบบเศรษฐกิจต่อไป สำนักวิจัยฯ ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการเข้าถึงตัวอย่างตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนของประชาชน2. เพื่อสำรวจแนวโน้มการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนของประชาชน3. เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาคของทั้งภาครัฐและ
ภาคเอกชนต่อไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะผู้บริหารในรัฐบาล กลุ่มบุคคลในสถาบันทางการเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเป็นข้อมูลสำหรับ ผู้ที่สนใจศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "พฤติกรรมการซื้อสินค้าเงินผ่อนของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุระหว่าง 21 - 60 ปี ใน กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่" ซึ่ง ดำเนินโครงการวิจัยระหว่างวันที่ 1 -23 มีนาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 21 - 60 ปี ที่มีการผ่อนชำระสินค้าอยู่ ณ ปัจจุบัน และพักอาศัยอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ได้แก่ จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช ระนอง สุราษฎร์ธานี อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เชียงใหม่ อุบลราชธานี อุดรธานี สุรินทร์ สกลนคร บุรีรัมย์ นครราชสีมา เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ราชบุรี และ สระบุรี
ขนาดตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ทั้งสิ้น 2,942 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ งบประมาณสนับสนุนโครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 51.9 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.1 ระบุ เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 17.3 ระบุอายุ 21 - 25 ปี ร้อยละ 20.4 ระบุอายุ 26 - 30 ปี ร้อยละ 17.6 ระบุอายุ 31 - 35 ปี ร้อยละ 13.6 ระบุอายุ 36 - 40 ร้อยละ 13.7 ระบุอายุ 41 - 45 ปี ร้อยละ 8.8 ระบุ 46 - 50 ปี ร้อยละ 8.3 ระบุ 51 ปีขี้นไป ขณะที่ร้อยละ 0.3 ไม่ระบุอายุ
เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 1.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และร้อยละ 73.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 4.0 ไม่ระบุระดับการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 16.7 ระบุอาชีพข้าราชการ ร้อยละ 19.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัท / พนักงานเอกชน ร้อยละ 33.3 ระบุประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 3.8 ระบุอาชีพนักศึกษา ร้อยละ 4.7 ระบุอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 1.7 ระบุว่างงาน ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพอิสระ อาทิ ทนายความ ที่ปรึกษา เป็นต้น ร้อยละ15.7 ระบุอาชีพ อื่นๆ อาทิ แม่บ้าน / เกษียณอายุ ขณะที่ ร้อยละ 0.2 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 24.6 ระบุรายได้ระดับต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 38.8 ระบุรายได้ 5,001 - 10,000 บาท ร้อยละ 13.2 ระบุรายได้ 10,001 - 15,000 บาท ร้อยละ 7.6 ระบุรายได้ 15,001 - 20,000 บาท ร้อยละ1.9 ระบุ รายได้ 20,001 - 25,000 บาท ร้อยละ 3.1 ระบุรายได้ 25,001 - 30,000 บาท ร้อยละ 4.5 ระบุระดับรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป และร้อยละ 6.3 ไม่ระบุระดับรายได้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุลักษณะการผ่อนชำระสินค้า ( ตอบมากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ ลักษณะการผ่อนชำระสินค้า ร้อยละ
1 บัตรอิออน ( AEON ) 27.6
2 บัตรเฟิร์สช้อย ( First Choice ) 6.9
3 บัตรอีซี่บาย ( Easy Buy ) 6.5
4 บัตรเพาเวอร์บาย ( Power Buy ) 5.4
5 บัตรโลตัส 4.8
6 บัตรคาร์ฟูร์ 1.7
7 บัตรเครดิต อื่นๆ อาทิ บัตรเครดิตของ
ธนาคารกรุงไทย บัตรเครดิตของธนาคาร
กรุงเทพ เป็นต้น 8.8
8 บัตรประเภทอื่นๆ อาทิ บัตรแม็คโคร บัตรบิ๊กซี
เป็นต้น 3.7
9 ผ่อนโดยไม่ได้ใช้บัตร 70.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุว่าผ่อนชำระสินค่าโดยไม่ใช้บัตร ได้ระบุวิธีการผ่อนสินค้าดังนี้วิธีที่ 1 ผ่อนกับทางร้านที่ซื้อสินค้า คิดเป็นร้อยละ 64.5วิธีที่ 2 ผ่อนกับทางบริษัทที่ให้บริการทางด้านการเงิน คิดเป็นร้อยละ 26.4วิธีที่ 3 ผ่อนชำระด้วยบัตรของผู้อื่นแต่ตนเองเป็นผู้ผ่อนชำระ (ใช้เครดิตของผู้อื่น ในการผ่อน ) คิดเป็นร้อยละ 9.1
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุจำนวนบัตรที่ใช้ในการผ่อนชำระที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน
ลำดับที่ จำนวนบัตรที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ค่าร้อยละ ภาพรวม
กทม. /ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่
1 จำนวน 1 บัตร 62.3 61.1 61.7
2 จำนวน 2 บัตร 24.0 24.8 24.4
3 จำนวน 3 บัตร 9.5 10.0 9.8
4 จำนวน 4 บัตร 3.3 3.2 3.2
5 จำนวน 5 บัตร 0.7 0.9 0.8
6 มากกว่า 5 บัตรขึ้นไป 0.2 - 0.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุจำนวนสินค้าภายในบ้านที่มีการผ่อนชำระอยู่ในปัจจุบัน
ลำดับที่ จำนวนสินค้าภายในบ้านที่ผ่อนอยู่ ณ ปัจจุบัน ค่าร้อยละ ภาพรวม
กทม. /ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่
1 จำนวน 1 ชิ้น 80.0 76.3 77.8
2 จำนวน 2 ชิ้น 16.5 18.9 17.9
3 จำนวน 3 ชิ้น 3.0 4.1 3.7
4 จำนวน 4 ชิ้น 0.3 0.5 0.4
5 มากกว่า 4 ชิ้น 0.2 0.2 0.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
สินค้าที่ได้รับความนิยมจากตัวอย่างในการผ่อนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ อาทิ ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ โดยค่างวดเฉลี่ย งวดละ 1,237.15 บาทอันดับที่ 2 จักรยานยนต์ โดยค่างวดเฉลี่ย งวดละ 1,900.12 บาทอันดับที่ 3 รถยนต์และรถกระบะ โดยค่างวดเฉลี่ยงวดละ 10,039.67 บาทอันดับที่ 4 โทรศัพท์มือถือ โดยค่างวดเฉลี่ยงวดละ 1,208.47 บาทอันดับที่ 5 เครื่องเสียง อาทิ วิทยุเทป อุปกรณ์โฮมเธียร์เตอร์ โดยค่างวดเฉลี่ยงวดละ 1,185.50 บาท
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุความตั้งใจในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน หากผ่อนชำระค่าสินค้า ณ ปัจจุบันเสร็จสิ้นแล้ว
ลำดับที่ ความตั้งใจในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน ร้อยละ ภาพรวม
กทม./ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่
1 ตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีก 21.3 21.8 21.6
2 ไม่ต้องการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีก 11.2 16.2 14.2
3 ยังไม่แน่ใจ 67.5 62.0 64.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ไม่ต้องการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีกนั้น ระบุเหตุผลดังนี้1) มีครบทุกอย่างแล้ว / ไม่ต้องการผ่อนแล้ว / ไม่อยากผ่อนสินค้าใดๆ อีก 2) ดอกเบี้ยแพง / เอากำไรเกินควร ครึ่งต่อครึ่งของราคาเงินสด / ราคาแพง 3) มีภาระที่ยุ่งยากในการผ่อนชำระ หากผ่อนชำระช้าก็จะโดนปรับ 4)ไม่ต้องการเป็นหนี้ มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากอยู่แล้ว และ ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ฯลฯ
ขณะที่ตัวอย่างที่ระบุสินค้าที่ตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนได้แก่ 1) สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 30.22) สินค้าประเภทยานยนต์ เช่น รถยนต์ รถกระบะ รถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น 3) สินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม ที่ดิน เป็นต้น 4) สินค้าประเภทเครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุปัญหาที่ประสบในการผ่อนชำระสินค้า ( ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ ปัญหาที่ประสบในการผ่อนชำระสินค้า ร้อยละ
1 หมุนเงินไม่ทันทำให้บางเดือนไม่สามารถชำระค่างวดได้ / จ่ายเงินไม่ตรงกำหนด 78.1
2 ดอกเบี้ยแพงหากส่งไม่ทันก็เสียค่าดอกเบี้ยเพิ่ม / ค่าธรรมเนียมในแต่ละงวดสูง 15.2
3 ชำระแล้วทางบริษัทว่าไม่ชำระ /ใบเสร็จไม่ตรงกับที่ชำระ/โดนโกง / คิดเงินผิดบ้าง 4.8
4 ใบทวงหนี้มาล่าช้า / ไม่ได้รับใบเตือนชำระหนี้ / ใบแจ้งหนี้มาไม่ตรงเวลา 4.0
5 มีปัญหาการติดต่อกับบริษัทในการสอบถามข้อมูลเรื่องการผ่อนชำระ / มีการบริการที่ไม่ดี 2.4
6 สินค้าด้อยคุณภาพ / เมื่อสินค้าชำรุด ไม่สามารถเปลี่ยนสินค้าได้ 2.0
7 อื่น ๆ อาทิ เคยค้ำประกันให้กับคนรู้จักแต่คนนั้นไม่ส่งค่างวด / สถานที่ชำระเงินจำกัด / มีการทวงถามหนี้บ่อยครั้ง 2.6
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุว่าเคยประสบปัญหามีทั้งสิ้น 640 คน คิดเป็นร้อยละ 21.9 โดยตัวอย่างที่ระบุว่าไม่เคยประสบปัญหามีทั้งสิ้น
2,289 คน คิดเป็นร้อยละ 78.1
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุการผ่อนชำระสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ หรือสินค้าคงทน ประเภทอื่น เช่น ยานยนต์
ลำดับที่ ภาระในการผ่อนสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ ภาพรวม
และสินค้ายานยนต์ กทม. /ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่
1 มีการผ่อนชำระอยู่ ณ ปัจจุบัน 15.5 17.7 16.8
2 ไม่มีการผ่อนชำระ 84.5 82.3 83.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์และสินค้าประเภทยานยนต์ซึ่งมีการผ่อนชำระอยู่
ในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์และสินค้ายานยนต์ ร้อยละ ภาพรวม
ซึ่งมีการผ่อนชำระอยู่ ณ ปัจจุบัน กทม. /ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่
1 บ้านเดี่ยว 38.3 56.7 49.9
2 รถยนต์ / รถกระบะ 27.9 17.0 21.0
3 รถจักรยานยนต์ 12.0 12.8 12.5
4 ที่ดิน 5.5 9.0 7.7
5 ทาวเฮาส์ 7.1 7.4 7.3
6 คอนโดมิเนียม / ห้องชุด 12.6 2.2 6.1
7 อาคารพาณิชย์ / อาคารชุด 5.5 3.2 4.0
8 อื่น ๆ อาทิ เครื่องจักร รถแทรกเตอร์ เป็นต้น 1.6 1.3 1.4
ตารางที่ 9 แสดงการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนระหว่างตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำ
กับตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำ โดยใช้สถิติทดสอบ T - test
ตัวอย่างจำแนกตามประเภทของรายได้ ค่าเฉลี่ยของค่างวดที่ต้องชำระต่อเดือน Significant
1. ตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานเอกชน 1,515.36 0.026
2. ตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำ ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร ค้าขาย 2,520.43 หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุอาชีพ แม่บ้าน / พ่อบ้าน ข้าราชการเกษียณอายุ ไม่ถูกนำมาพิจารณา
ตารางที่ 9 แสดงผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนจำแนกตามประเภทของรายได้ ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยของยอดผ่อนชำระสินค่าต่อเดือนของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sigificant = 0.026) โดยตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำมียอดผ่อนชำระต่อเดือนเท่ากับ 2,520.43 บาท ซึ่งสูงกว่า ตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำ ที่มียอดผ่อนชำระสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 1,515.36 บาท
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงแนวโน้มการผ่อนชำระสินค้าต่อไปในอนาคต กลับพบว่าตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำมีความตั้งใจที่จะผ่อนสินค้าต่อคิดเป็นร้อยละ 24.4 ซึ่งมากกว่าตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำ ที่ระบุความตั้งใจในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน คิดเป็นร้อยละ 20.5
ตารางที่ 10 แสดงการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อจำแนกตามแนวโน้มในการซื้อ
สินค้าด้วยเงินผ่อน โดยใช้สถิติทดสอบ T - test
ตัวอย่างจำแนกตามแนวโน้มการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน ค่าเฉลี่ยของค่างวดที่ต้องชำระต่อเดือน Significant
1. ตัวอย่างที่มีความตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีก 2,339.67 0.003
2. ตัวอย่างที่ไม่มีความตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีก 998.25
ตารางที่ 10 แสดงผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนจำแนกตาม แนวโน้มการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยของยอดผ่อนชำระสินค่าต่อเดือนของทั้งสองกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sigificant = 0.003) โดยตัวอย่างที่มีความตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีกนั้นมีภาระค่างวดที่ต้องชำระต่อเดือนโดยเฉลี่ย มากกว่าตัวอย่างที่ไม่ตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน
และเมื่อนำปัจจัยทางด้านการประสบปัญหาในการผ่อนชำระมาพิจารณาประกอบนั้น พบว่ามีข้อสังเกตที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างที่เคยประสบปัญหาฯร้อยละ 51.7 ระบุว่ายังมีความตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนต่อไป ในขณะที่ตัวอย่างที่ไม่เคยประสบปัญหาฯ นั้นมีตัวอย่าง ร้อยละ 63.8 ที่ระบุว่าตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีก โดยจากการทดสอบ Chi-Square ถึงความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนในอนาคตกับประสบการณ์ในการประสบปัญหาในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้แนวโน้มในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนยังมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับระดับรายได้ โดยผู้ที่มีระดับรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท มีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีกคิดเป็นร้อยละ 76.8 ขณะที่ ตัวอย่างที่มีรายได้สูงกว่า 15,000 บาท มีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีกเพียง ร้อยละ 23.2 ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มแรกถึง 3 เท่า
ตารางที่ 11 แสดงการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนของเพศชายและเพศหญิง
โดยใช้สถิติทดสอบ T - test
ตัวอย่างจำแนกตามเพศ ค่าเฉลี่ยของค่างวดที่ต้องชำระต่อเดือน Significant
1. เพศชาย 2,242.83 0.042
2. เพศหญิง 1,508.02
ตารางที่ 11 แสดงผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนของเพศชายและเพศหญิง ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยของยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนของทั้งสองกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sigificant = 0.0042) โดยเพศชายมียอดผ่อนชำระสินค้าโดยเฉลี่ยเท่ากับ 2,242.83 บาทต่อเดือน และเพศหญิงมียอดผ่อนชำระสินค้าโดยเฉลี่ย เท่ากับ 1,508.02 บาทต่อเดือน
และจากการพิจารณาเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับรายได้ จำนวนสินค้าที่กำลังทำการผ่อนชำระอยู่ ณ ปัจจุบัน และจำนวนบัตรที่สามารถใช้ในการผ่อนชำระสินค้าได้ ของเพศชายและเพศหญิงนั้น ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามพบประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ ในสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงบางประเภท อาทิ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ / รถกระบะ หรือเครื่องเสียงนั้น พบว่าตัวอย่างเพศชายมีสัดส่วนในการผ่อนชำระในสินค้าดังกล่าวสูงกว่าเพศหญิง อาทิ รถจักรยานยนต์พบว่า เพศหญิงมีสัดส่วนในการผ่อนชำระสินค้าประเภทนี้ เพียงร้อยละ 17.6 ในขณะที่เพศชายมี สัดส่วนของการผ่อนชำระสูงกว่า โดยคิดเป็นร้อยละ 30.4 และในสินค้าประเภทรถยนต์ พบว่าเพศชายมีการผ่อนชำระคิดเป็นร้อยละ 18.0 ขณะที่เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 16.7 สำหรับสินค้าประเภทเครื่องเสียงอาทิ ชุดโฮมเธียร์เตอร์นั้น พบว่า เพศชายมีการผ่อนชำระคิดเป็นร้อยละ 10.6 ขณะที่เพศหญิงมีเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น
ตารางที่ 12 แสดงค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย ของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือน
ตัวแปรอิสระ ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย
รายได้ต่อเดือน 0.030*
อายุ 37.868*
เพศ 603.959*
การมีเงินเดือนประจำ -523.519
การมีแนวโน้มที่จะผ่อนชำระสินค้าต่อไป 636.256
การมีพื้นที่พักอาศัยอยู่ในหัวเมืองใหญ่ -94.170
การมีภาระผ่อนสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์/ สินค้าคงทนประเภทอื่น -417.188*
P-value < 0.10 ,R2 =0.825
ตารางที่ 12 แสดงผลการศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนของตัวอย่าง โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression ) ซึ่งตัวแปรตามได้แก่ ยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือน และตัวแปรอิสระได้แก่ รายได้ต่อเดือน อายุ เพศ การมีเงินเดือนประจำ การมีแนวโน้มที่จะผ่อนชำระสินค้าต่อไป การมีพื้นที่พักอาศัยอยู่ในหัวเมืองใหญ่ และ การมีภาระผ่อนสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์/ สินค้าคงทนประเภทอื่น ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า ตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อ ตัวแปรตาม (ยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือน) อย่างมีนัยสำคัญได้แก่ รายได้ต่อเดือน อายุ และ เพศ (ตัวแปรดัมมี่) ซึ่งตัวแปรอิสระดังกล่าวทุกตัวรวมกันแล้วสามารถอธิบายความผันแปรในตัวแปรตามได้ถึง 82.5 %
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง "พฤติกรรมการซื้อสินค้าเงินผ่อนของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุระหว่าง 21 - 60 ปี ใน กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่" ในครั้งนี้ ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้ที่มีการผ่อนชำระสินค้าอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีขนาดตัวอย่างรวม ทั้งสิ้น 2,942 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1-23 มีนาคม 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้มีดังนี้
อิออน บัตรผ่อนสินค้ายอดนิยมตัวอย่างร้อยละ 27.6 ระบุว่าผ่อนชำระสินค้าโดยใช้บัตรอิออน ร้อยละ 6.9 ระบุผ่อนชำระโดยใช้บัตรเฟิร์สชอยท์ ร้อยละ 6.5 ระบุบัตรอีซี่บาย ร้อยละ 5.4 ระบุบัตรเพาเวอร์บาย และร้อยละ 4.8 ระบุผ่อนชำระโดยใช้บัตรโลตัส
ตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำมียอดผ่อนชำระสูงกว่าตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำ (ยอดชำระสินค้าต่อเดือนไม่รวมสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์)ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของยอดผ่อนชำระสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนระหว่างตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำ และตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำ พบประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำมีภาระในการผ่อนชำระสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 1,515.36 บาท ซึ่ง ต่ำกว่า ตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำซึ่งมียอดผ่อนชำระโดยเฉลี่ยต่อเดือนสูงถึง 2,520.43 บาท ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงประเภทสินค้าที่ตัวอย่างกำลังผ่อนชำระกันอยู่นั้นพบว่า สินค้าที่จัดในกลุ่มประเภท สินค้าฟุ่มเฟือยยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภค อาทิ โทรศัพท์มือถือ หรือชุดเครื่องเสียง/ โฮมเธียร์เตอร์ เป็นต้น
ภาระการผ่อนชำระสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์และสินค้าประเภทยานยนต์สำหรับสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์และสินค้าประเภทยานยนต์ ที่ตัวอย่างระบุว่ากำลังผ่อนชำระอยู่ในปัจจุบันมีดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 49.9 ระบุกำลังผ่อน บ้านเดี่ยว ร้อยละ 21.0 ระบุผ่อนรถยนต์/ รถกระบะ ร้อยละ 12.5 ระบุผ่อนรถจักรยานยนต์ ตามลำดับ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือน (ไม่รวมสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์)ผลการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression ) พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อยอดผ่อนชำระสินค้าของตัวอย่างได้แก่ อายุ รายได้ และเพศ ตามลำดับ
นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังค้นพบผลการวิเคราะห์เพิ่มเติมคือ ตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีกในอนาคต ดังนั้นการกำหนดมาตรการในเรื่องของรายได้ขั้นต่ำสำหรับผู้ที่มีบัตรที่สามารถผ่อนชำระสินค้าได้หรือบัตรเครดิตรวมถึงบัตรสมาชิกของห้างร้านต่าง ๆ ที่อำนวย ความสะดวกต่อผู้ซื้อในรูปของการผ่อนชำระนั้น ท่านผู้ที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบเพื่อลดจำนวนภาระหนี้สินของประชาชนทั่วไปลงมากกว่าที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน นอกจากรายได้จะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการทำบัตรที่สามารถผ่อนชำระสินค้าหรือเบิกเงินสดล่วงหน้าแล้ว อายุและลักษณะของงานควรจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาประกอบ นอกจากนี้ปัญหาที่ตัวอย่างประสบมากที่สุดคือ การหมุนเงินไม่ทัน หรือการขาดสภาพคล่องทางการเงินทำให้ชำระค่าผ่อนชำระสินค้าล่าช้าและต้องเสียค่าปรับ ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนควรรับรู้หรือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรช่วยกันประชาสัมพันธ์ คือค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระสินค้าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับซื้อสินค้าด้วยเงินสด
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
จากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่กำลังเติบโต แม้จะได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนก (Bird Flu) อยู่บ้าง แต่โดยภาพรวมของเศรษฐกิจยังคงเติบโตในระดับที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายท่านทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศนั้นยังคงให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืนมากกว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดด ดังนั้นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ คือ ภาระหนี้สินในระดับครัวเรือน เพราะครัวเรือนเป็นทั้งกำลังซื้อ และทรัพยากรที่สำคัญในการผลิตสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ลงความเห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจากปีที่ผ่านมานั้น เป็นการโตจากด้านอุปสงค์ (Demand Side) ซึ่งต้องอาศัยกำลังซื้อจากครัวเรือนเป็น ที่ตั้ง ทั้งนี้หากกำลังซื้อเหล่านี้ไม่สามารถเพิ่มได้อีก หรือมีปัญหาในเรื่องของการชำระหนี้ของกลุ่มกำลังซื้อดังกล่าวจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างยิ่ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดตั้งโครงการสำรวจทางเศรษฐกิจ โดยจะดำเนินโครงการวิจัยด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นเครื่องมือในการวัดแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจและนำเสนอข้อมูลไปยังรัฐบาลและสาธารณชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับทุกหน่วยในระบบเศรษฐกิจต่อไป สำนักวิจัยฯ ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการเข้าถึงตัวอย่างตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนของประชาชน2. เพื่อสำรวจแนวโน้มการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนของประชาชน3. เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาคของทั้งภาครัฐและ
ภาคเอกชนต่อไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะผู้บริหารในรัฐบาล กลุ่มบุคคลในสถาบันทางการเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเป็นข้อมูลสำหรับ ผู้ที่สนใจศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "พฤติกรรมการซื้อสินค้าเงินผ่อนของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุระหว่าง 21 - 60 ปี ใน กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่" ซึ่ง ดำเนินโครงการวิจัยระหว่างวันที่ 1 -23 มีนาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 21 - 60 ปี ที่มีการผ่อนชำระสินค้าอยู่ ณ ปัจจุบัน และพักอาศัยอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ได้แก่ จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช ระนอง สุราษฎร์ธานี อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เชียงใหม่ อุบลราชธานี อุดรธานี สุรินทร์ สกลนคร บุรีรัมย์ นครราชสีมา เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ราชบุรี และ สระบุรี
ขนาดตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ทั้งสิ้น 2,942 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ งบประมาณสนับสนุนโครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 51.9 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.1 ระบุ เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 17.3 ระบุอายุ 21 - 25 ปี ร้อยละ 20.4 ระบุอายุ 26 - 30 ปี ร้อยละ 17.6 ระบุอายุ 31 - 35 ปี ร้อยละ 13.6 ระบุอายุ 36 - 40 ร้อยละ 13.7 ระบุอายุ 41 - 45 ปี ร้อยละ 8.8 ระบุ 46 - 50 ปี ร้อยละ 8.3 ระบุ 51 ปีขี้นไป ขณะที่ร้อยละ 0.3 ไม่ระบุอายุ
เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 1.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และร้อยละ 73.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 4.0 ไม่ระบุระดับการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 16.7 ระบุอาชีพข้าราชการ ร้อยละ 19.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัท / พนักงานเอกชน ร้อยละ 33.3 ระบุประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 3.8 ระบุอาชีพนักศึกษา ร้อยละ 4.7 ระบุอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 1.7 ระบุว่างงาน ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพอิสระ อาทิ ทนายความ ที่ปรึกษา เป็นต้น ร้อยละ15.7 ระบุอาชีพ อื่นๆ อาทิ แม่บ้าน / เกษียณอายุ ขณะที่ ร้อยละ 0.2 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 24.6 ระบุรายได้ระดับต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 38.8 ระบุรายได้ 5,001 - 10,000 บาท ร้อยละ 13.2 ระบุรายได้ 10,001 - 15,000 บาท ร้อยละ 7.6 ระบุรายได้ 15,001 - 20,000 บาท ร้อยละ1.9 ระบุ รายได้ 20,001 - 25,000 บาท ร้อยละ 3.1 ระบุรายได้ 25,001 - 30,000 บาท ร้อยละ 4.5 ระบุระดับรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป และร้อยละ 6.3 ไม่ระบุระดับรายได้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุลักษณะการผ่อนชำระสินค้า ( ตอบมากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ ลักษณะการผ่อนชำระสินค้า ร้อยละ
1 บัตรอิออน ( AEON ) 27.6
2 บัตรเฟิร์สช้อย ( First Choice ) 6.9
3 บัตรอีซี่บาย ( Easy Buy ) 6.5
4 บัตรเพาเวอร์บาย ( Power Buy ) 5.4
5 บัตรโลตัส 4.8
6 บัตรคาร์ฟูร์ 1.7
7 บัตรเครดิต อื่นๆ อาทิ บัตรเครดิตของ
ธนาคารกรุงไทย บัตรเครดิตของธนาคาร
กรุงเทพ เป็นต้น 8.8
8 บัตรประเภทอื่นๆ อาทิ บัตรแม็คโคร บัตรบิ๊กซี
เป็นต้น 3.7
9 ผ่อนโดยไม่ได้ใช้บัตร 70.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุว่าผ่อนชำระสินค่าโดยไม่ใช้บัตร ได้ระบุวิธีการผ่อนสินค้าดังนี้วิธีที่ 1 ผ่อนกับทางร้านที่ซื้อสินค้า คิดเป็นร้อยละ 64.5วิธีที่ 2 ผ่อนกับทางบริษัทที่ให้บริการทางด้านการเงิน คิดเป็นร้อยละ 26.4วิธีที่ 3 ผ่อนชำระด้วยบัตรของผู้อื่นแต่ตนเองเป็นผู้ผ่อนชำระ (ใช้เครดิตของผู้อื่น ในการผ่อน ) คิดเป็นร้อยละ 9.1
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุจำนวนบัตรที่ใช้ในการผ่อนชำระที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน
ลำดับที่ จำนวนบัตรที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ค่าร้อยละ ภาพรวม
กทม. /ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่
1 จำนวน 1 บัตร 62.3 61.1 61.7
2 จำนวน 2 บัตร 24.0 24.8 24.4
3 จำนวน 3 บัตร 9.5 10.0 9.8
4 จำนวน 4 บัตร 3.3 3.2 3.2
5 จำนวน 5 บัตร 0.7 0.9 0.8
6 มากกว่า 5 บัตรขึ้นไป 0.2 - 0.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุจำนวนสินค้าภายในบ้านที่มีการผ่อนชำระอยู่ในปัจจุบัน
ลำดับที่ จำนวนสินค้าภายในบ้านที่ผ่อนอยู่ ณ ปัจจุบัน ค่าร้อยละ ภาพรวม
กทม. /ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่
1 จำนวน 1 ชิ้น 80.0 76.3 77.8
2 จำนวน 2 ชิ้น 16.5 18.9 17.9
3 จำนวน 3 ชิ้น 3.0 4.1 3.7
4 จำนวน 4 ชิ้น 0.3 0.5 0.4
5 มากกว่า 4 ชิ้น 0.2 0.2 0.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
สินค้าที่ได้รับความนิยมจากตัวอย่างในการผ่อนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ อาทิ ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ โดยค่างวดเฉลี่ย งวดละ 1,237.15 บาทอันดับที่ 2 จักรยานยนต์ โดยค่างวดเฉลี่ย งวดละ 1,900.12 บาทอันดับที่ 3 รถยนต์และรถกระบะ โดยค่างวดเฉลี่ยงวดละ 10,039.67 บาทอันดับที่ 4 โทรศัพท์มือถือ โดยค่างวดเฉลี่ยงวดละ 1,208.47 บาทอันดับที่ 5 เครื่องเสียง อาทิ วิทยุเทป อุปกรณ์โฮมเธียร์เตอร์ โดยค่างวดเฉลี่ยงวดละ 1,185.50 บาท
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุความตั้งใจในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน หากผ่อนชำระค่าสินค้า ณ ปัจจุบันเสร็จสิ้นแล้ว
ลำดับที่ ความตั้งใจในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน ร้อยละ ภาพรวม
กทม./ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่
1 ตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีก 21.3 21.8 21.6
2 ไม่ต้องการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีก 11.2 16.2 14.2
3 ยังไม่แน่ใจ 67.5 62.0 64.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ไม่ต้องการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีกนั้น ระบุเหตุผลดังนี้1) มีครบทุกอย่างแล้ว / ไม่ต้องการผ่อนแล้ว / ไม่อยากผ่อนสินค้าใดๆ อีก 2) ดอกเบี้ยแพง / เอากำไรเกินควร ครึ่งต่อครึ่งของราคาเงินสด / ราคาแพง 3) มีภาระที่ยุ่งยากในการผ่อนชำระ หากผ่อนชำระช้าก็จะโดนปรับ 4)ไม่ต้องการเป็นหนี้ มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากอยู่แล้ว และ ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ฯลฯ
ขณะที่ตัวอย่างที่ระบุสินค้าที่ตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนได้แก่ 1) สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 30.22) สินค้าประเภทยานยนต์ เช่น รถยนต์ รถกระบะ รถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น 3) สินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม ที่ดิน เป็นต้น 4) สินค้าประเภทเครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุปัญหาที่ประสบในการผ่อนชำระสินค้า ( ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ ปัญหาที่ประสบในการผ่อนชำระสินค้า ร้อยละ
1 หมุนเงินไม่ทันทำให้บางเดือนไม่สามารถชำระค่างวดได้ / จ่ายเงินไม่ตรงกำหนด 78.1
2 ดอกเบี้ยแพงหากส่งไม่ทันก็เสียค่าดอกเบี้ยเพิ่ม / ค่าธรรมเนียมในแต่ละงวดสูง 15.2
3 ชำระแล้วทางบริษัทว่าไม่ชำระ /ใบเสร็จไม่ตรงกับที่ชำระ/โดนโกง / คิดเงินผิดบ้าง 4.8
4 ใบทวงหนี้มาล่าช้า / ไม่ได้รับใบเตือนชำระหนี้ / ใบแจ้งหนี้มาไม่ตรงเวลา 4.0
5 มีปัญหาการติดต่อกับบริษัทในการสอบถามข้อมูลเรื่องการผ่อนชำระ / มีการบริการที่ไม่ดี 2.4
6 สินค้าด้อยคุณภาพ / เมื่อสินค้าชำรุด ไม่สามารถเปลี่ยนสินค้าได้ 2.0
7 อื่น ๆ อาทิ เคยค้ำประกันให้กับคนรู้จักแต่คนนั้นไม่ส่งค่างวด / สถานที่ชำระเงินจำกัด / มีการทวงถามหนี้บ่อยครั้ง 2.6
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุว่าเคยประสบปัญหามีทั้งสิ้น 640 คน คิดเป็นร้อยละ 21.9 โดยตัวอย่างที่ระบุว่าไม่เคยประสบปัญหามีทั้งสิ้น
2,289 คน คิดเป็นร้อยละ 78.1
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุการผ่อนชำระสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ หรือสินค้าคงทน ประเภทอื่น เช่น ยานยนต์
ลำดับที่ ภาระในการผ่อนสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ ภาพรวม
และสินค้ายานยนต์ กทม. /ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่
1 มีการผ่อนชำระอยู่ ณ ปัจจุบัน 15.5 17.7 16.8
2 ไม่มีการผ่อนชำระ 84.5 82.3 83.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์และสินค้าประเภทยานยนต์ซึ่งมีการผ่อนชำระอยู่
ในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์และสินค้ายานยนต์ ร้อยละ ภาพรวม
ซึ่งมีการผ่อนชำระอยู่ ณ ปัจจุบัน กทม. /ปริมณฑล หัวเมืองใหญ่
1 บ้านเดี่ยว 38.3 56.7 49.9
2 รถยนต์ / รถกระบะ 27.9 17.0 21.0
3 รถจักรยานยนต์ 12.0 12.8 12.5
4 ที่ดิน 5.5 9.0 7.7
5 ทาวเฮาส์ 7.1 7.4 7.3
6 คอนโดมิเนียม / ห้องชุด 12.6 2.2 6.1
7 อาคารพาณิชย์ / อาคารชุด 5.5 3.2 4.0
8 อื่น ๆ อาทิ เครื่องจักร รถแทรกเตอร์ เป็นต้น 1.6 1.3 1.4
ตารางที่ 9 แสดงการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนระหว่างตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำ
กับตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำ โดยใช้สถิติทดสอบ T - test
ตัวอย่างจำแนกตามประเภทของรายได้ ค่าเฉลี่ยของค่างวดที่ต้องชำระต่อเดือน Significant
1. ตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานเอกชน 1,515.36 0.026
2. ตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำ ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร ค้าขาย 2,520.43 หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุอาชีพ แม่บ้าน / พ่อบ้าน ข้าราชการเกษียณอายุ ไม่ถูกนำมาพิจารณา
ตารางที่ 9 แสดงผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนจำแนกตามประเภทของรายได้ ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยของยอดผ่อนชำระสินค่าต่อเดือนของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sigificant = 0.026) โดยตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำมียอดผ่อนชำระต่อเดือนเท่ากับ 2,520.43 บาท ซึ่งสูงกว่า ตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำ ที่มียอดผ่อนชำระสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 1,515.36 บาท
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงแนวโน้มการผ่อนชำระสินค้าต่อไปในอนาคต กลับพบว่าตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำมีความตั้งใจที่จะผ่อนสินค้าต่อคิดเป็นร้อยละ 24.4 ซึ่งมากกว่าตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำ ที่ระบุความตั้งใจในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน คิดเป็นร้อยละ 20.5
ตารางที่ 10 แสดงการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อจำแนกตามแนวโน้มในการซื้อ
สินค้าด้วยเงินผ่อน โดยใช้สถิติทดสอบ T - test
ตัวอย่างจำแนกตามแนวโน้มการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน ค่าเฉลี่ยของค่างวดที่ต้องชำระต่อเดือน Significant
1. ตัวอย่างที่มีความตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีก 2,339.67 0.003
2. ตัวอย่างที่ไม่มีความตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีก 998.25
ตารางที่ 10 แสดงผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนจำแนกตาม แนวโน้มการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยของยอดผ่อนชำระสินค่าต่อเดือนของทั้งสองกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sigificant = 0.003) โดยตัวอย่างที่มีความตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีกนั้นมีภาระค่างวดที่ต้องชำระต่อเดือนโดยเฉลี่ย มากกว่าตัวอย่างที่ไม่ตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน
และเมื่อนำปัจจัยทางด้านการประสบปัญหาในการผ่อนชำระมาพิจารณาประกอบนั้น พบว่ามีข้อสังเกตที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างที่เคยประสบปัญหาฯร้อยละ 51.7 ระบุว่ายังมีความตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนต่อไป ในขณะที่ตัวอย่างที่ไม่เคยประสบปัญหาฯ นั้นมีตัวอย่าง ร้อยละ 63.8 ที่ระบุว่าตั้งใจจะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีก โดยจากการทดสอบ Chi-Square ถึงความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนในอนาคตกับประสบการณ์ในการประสบปัญหาในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อน พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้แนวโน้มในการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนยังมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับระดับรายได้ โดยผู้ที่มีระดับรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท มีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีกคิดเป็นร้อยละ 76.8 ขณะที่ ตัวอย่างที่มีรายได้สูงกว่า 15,000 บาท มีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีกเพียง ร้อยละ 23.2 ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มแรกถึง 3 เท่า
ตารางที่ 11 แสดงการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนของเพศชายและเพศหญิง
โดยใช้สถิติทดสอบ T - test
ตัวอย่างจำแนกตามเพศ ค่าเฉลี่ยของค่างวดที่ต้องชำระต่อเดือน Significant
1. เพศชาย 2,242.83 0.042
2. เพศหญิง 1,508.02
ตารางที่ 11 แสดงผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนของเพศชายและเพศหญิง ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยของยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนของทั้งสองกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sigificant = 0.0042) โดยเพศชายมียอดผ่อนชำระสินค้าโดยเฉลี่ยเท่ากับ 2,242.83 บาทต่อเดือน และเพศหญิงมียอดผ่อนชำระสินค้าโดยเฉลี่ย เท่ากับ 1,508.02 บาทต่อเดือน
และจากการพิจารณาเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับรายได้ จำนวนสินค้าที่กำลังทำการผ่อนชำระอยู่ ณ ปัจจุบัน และจำนวนบัตรที่สามารถใช้ในการผ่อนชำระสินค้าได้ ของเพศชายและเพศหญิงนั้น ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามพบประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ ในสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงบางประเภท อาทิ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ / รถกระบะ หรือเครื่องเสียงนั้น พบว่าตัวอย่างเพศชายมีสัดส่วนในการผ่อนชำระในสินค้าดังกล่าวสูงกว่าเพศหญิง อาทิ รถจักรยานยนต์พบว่า เพศหญิงมีสัดส่วนในการผ่อนชำระสินค้าประเภทนี้ เพียงร้อยละ 17.6 ในขณะที่เพศชายมี สัดส่วนของการผ่อนชำระสูงกว่า โดยคิดเป็นร้อยละ 30.4 และในสินค้าประเภทรถยนต์ พบว่าเพศชายมีการผ่อนชำระคิดเป็นร้อยละ 18.0 ขณะที่เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 16.7 สำหรับสินค้าประเภทเครื่องเสียงอาทิ ชุดโฮมเธียร์เตอร์นั้น พบว่า เพศชายมีการผ่อนชำระคิดเป็นร้อยละ 10.6 ขณะที่เพศหญิงมีเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น
ตารางที่ 12 แสดงค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย ของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือน
ตัวแปรอิสระ ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย
รายได้ต่อเดือน 0.030*
อายุ 37.868*
เพศ 603.959*
การมีเงินเดือนประจำ -523.519
การมีแนวโน้มที่จะผ่อนชำระสินค้าต่อไป 636.256
การมีพื้นที่พักอาศัยอยู่ในหัวเมืองใหญ่ -94.170
การมีภาระผ่อนสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์/ สินค้าคงทนประเภทอื่น -417.188*
P-value < 0.10 ,R2 =0.825
ตารางที่ 12 แสดงผลการศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือนของตัวอย่าง โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression ) ซึ่งตัวแปรตามได้แก่ ยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือน และตัวแปรอิสระได้แก่ รายได้ต่อเดือน อายุ เพศ การมีเงินเดือนประจำ การมีแนวโน้มที่จะผ่อนชำระสินค้าต่อไป การมีพื้นที่พักอาศัยอยู่ในหัวเมืองใหญ่ และ การมีภาระผ่อนสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์/ สินค้าคงทนประเภทอื่น ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า ตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อ ตัวแปรตาม (ยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือน) อย่างมีนัยสำคัญได้แก่ รายได้ต่อเดือน อายุ และ เพศ (ตัวแปรดัมมี่) ซึ่งตัวแปรอิสระดังกล่าวทุกตัวรวมกันแล้วสามารถอธิบายความผันแปรในตัวแปรตามได้ถึง 82.5 %
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง "พฤติกรรมการซื้อสินค้าเงินผ่อนของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุระหว่าง 21 - 60 ปี ใน กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่" ในครั้งนี้ ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้ที่มีการผ่อนชำระสินค้าอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีขนาดตัวอย่างรวม ทั้งสิ้น 2,942 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1-23 มีนาคม 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้มีดังนี้
อิออน บัตรผ่อนสินค้ายอดนิยมตัวอย่างร้อยละ 27.6 ระบุว่าผ่อนชำระสินค้าโดยใช้บัตรอิออน ร้อยละ 6.9 ระบุผ่อนชำระโดยใช้บัตรเฟิร์สชอยท์ ร้อยละ 6.5 ระบุบัตรอีซี่บาย ร้อยละ 5.4 ระบุบัตรเพาเวอร์บาย และร้อยละ 4.8 ระบุผ่อนชำระโดยใช้บัตรโลตัส
ตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำมียอดผ่อนชำระสูงกว่าตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำ (ยอดชำระสินค้าต่อเดือนไม่รวมสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์)ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของยอดผ่อนชำระสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือนระหว่างตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำ และตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำ พบประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างที่มีเงินเดือนประจำมีภาระในการผ่อนชำระสินค้าโดยเฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 1,515.36 บาท ซึ่ง ต่ำกว่า ตัวอย่างที่ไม่มีเงินเดือนประจำซึ่งมียอดผ่อนชำระโดยเฉลี่ยต่อเดือนสูงถึง 2,520.43 บาท ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงประเภทสินค้าที่ตัวอย่างกำลังผ่อนชำระกันอยู่นั้นพบว่า สินค้าที่จัดในกลุ่มประเภท สินค้าฟุ่มเฟือยยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภค อาทิ โทรศัพท์มือถือ หรือชุดเครื่องเสียง/ โฮมเธียร์เตอร์ เป็นต้น
ภาระการผ่อนชำระสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์และสินค้าประเภทยานยนต์สำหรับสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์และสินค้าประเภทยานยนต์ ที่ตัวอย่างระบุว่ากำลังผ่อนชำระอยู่ในปัจจุบันมีดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 49.9 ระบุกำลังผ่อน บ้านเดี่ยว ร้อยละ 21.0 ระบุผ่อนรถยนต์/ รถกระบะ ร้อยละ 12.5 ระบุผ่อนรถจักรยานยนต์ ตามลำดับ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อยอดผ่อนชำระสินค้าต่อเดือน (ไม่รวมสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์)ผลการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression ) พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อยอดผ่อนชำระสินค้าของตัวอย่างได้แก่ อายุ รายได้ และเพศ ตามลำดับ
นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังค้นพบผลการวิเคราะห์เพิ่มเติมคือ ตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนอีกในอนาคต ดังนั้นการกำหนดมาตรการในเรื่องของรายได้ขั้นต่ำสำหรับผู้ที่มีบัตรที่สามารถผ่อนชำระสินค้าได้หรือบัตรเครดิตรวมถึงบัตรสมาชิกของห้างร้านต่าง ๆ ที่อำนวย ความสะดวกต่อผู้ซื้อในรูปของการผ่อนชำระนั้น ท่านผู้ที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบเพื่อลดจำนวนภาระหนี้สินของประชาชนทั่วไปลงมากกว่าที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน นอกจากรายได้จะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการทำบัตรที่สามารถผ่อนชำระสินค้าหรือเบิกเงินสดล่วงหน้าแล้ว อายุและลักษณะของงานควรจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาประกอบ นอกจากนี้ปัญหาที่ตัวอย่างประสบมากที่สุดคือ การหมุนเงินไม่ทัน หรือการขาดสภาพคล่องทางการเงินทำให้ชำระค่าผ่อนชำระสินค้าล่าช้าและต้องเสียค่าปรับ ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนควรรับรู้หรือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรช่วยกันประชาสัมพันธ์ คือค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระสินค้าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับซื้อสินค้าด้วยเงินสด
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-