ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, SIMBA) โดยการสนับสนุนทุนวิจัยของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด มหาชน เปิดเผยผลวิจัย เชิงสำรวจเรื่อง การจับจ่ายใช้สอยของชาย-หญิงในวันวาเลนไทน์: กรณีศึกษาตัวอย่างอายุ 18-50 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 722 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-8 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา โดยผลสำรวจทั้งหมดนี้สามารถดึงข้อมูลได้ที่ www.abacpolldata.au.edu
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงกิจกรรมที่วางแผนจะทำในวันวาเลนไทน์ พบว่า ร้อยละ 65.1 ระบุไปกินข้าว ร้อยละ 40.8 ระบุดูหนัง ร้อยละ 32.4 ระบุทำอาหารกินกันเอง ร้อยละ 18.5 ระบุไปพักตากอากาศ และรอง ๆ ลงไป คือ ฟังเพลง เที่ยวกลางคืน ผับ เทค ไปต่างประเทศ ตามลำดับ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่วางแผนไว้สำหรับการไปเที่ยวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ พบว่า ร้อยละ 13.8 ระบุใช้ไม่เกิน 500 บาท ร้อยละ 17.9 ระบุ 501-1,000 บาท ร้อยละ 31.7 ระบุ 1,001-2,000 บาท ร้อยละ 18.3 ระบุ 2,001-3,000 บาท และร้อยละ 18.3 เท่ากันระบุมากกว่า 3,000 บาท จำนวนเงินเฉลี่ยสำหรับไปเที่ยวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เท่ากับ 1,950 บาท โดยเพศชายวางแผนใช้จ่ายมากกว่าเพศหญิง คือ เพศชายใช้จ่ายเฉลี่ย 2,171 บาท และเพศหญิงใช้จ่ายเฉลี่ย 1,750 บาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อทำการประมาณการค่าใช้จ่ายสำหรับการวางแผนไปเที่ยวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ พบว่า อยู่ที่ 3,723,030,266 (สามพันเจ็ดร้อยยี่สิบสามล้านสามหมื่นสองร้อยหกสิบหกบาท)
เมื่อให้เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่วางแผนสำหรับการไปเที่ยวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ของปีนี้กับปีที่แล้ว พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.4 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 32.7 ระบุเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 6.9 ระบุลดลง
เมื่อถามถึงการวางแผนซื้อของขวัญให้กับคนพิเศษ/คนรัก พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 56.6 ระบุไม่ซื้อ และร้อยละ 43.4 ระบุซื้อ สำหรับที่ของขวัญที่ตั้งใจจะซื้อให้กับคนพิเศษ/ คนรัก พบว่า อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 37.5 ระบุดอกไม้ รองลงมาหรือร้อยละ 26.7 ระบุเครื่องแต่งกาย เช่น กระเป๋า รองเท้า ร้อยละ 23.5 ระบุขนมเค้ก ช็อคโกแลต ร้อยละ 16.9 เครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อย กำไล ต่างหู และร้อยละ 1.3 ระบุโทรศัพท์มือถือ ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามถึงราคาของขวัญสำหรับคนพิเศษ/คนรัก พบว่า ร้อยละ 29.1 ระบุไม่เกิน 500 บาท ร้อยละ 26.8 ระบุ 501-1,000 บาท ร้อยละ 27.8 ระบุ 1,001-2,000 บาท ร้อยละ 7.0 ระบุ 2,001-3,000 บาท และร้อยละ 9.3 ระบุมากกว่า 3,000 บาท โดยที่ค่าเฉลี่ยราคาของขวัญที่จะซื้อให้คนพิเศษ/คนรัก เท่ากับ 1,487 บาท โดยเพศชายมีค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อของขวัญมากกว่าเพศหญิง คือ เพศชายใช้จ่ายเฉลี่ย 2,167 บาท และเพศหญิงใช้จ่ายเฉลี่ย 838 บาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อทำการประมาณการค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อของขวัญในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ พบว่า อยู่ที่ 1,892,699,489 (หนึ่งพันแปดร้อยเก้าสิบสองล้านหกแสนเก้าหมื่นเก้าพันสี่ร้อยแปดสิบเก้าบาท)
เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่วางแผนสำหรับซื้อของขวัญในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ จำแนกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 18-24 ปี มีการใช้จ่ายประมาณ 757.53 บาท กลุ่มอายุ 25-33 ปี มีการใช้จ่ายประมาณ 2,208.18 บาท กลุ่มอายุ 34-39 ปี มีการใช้จ่ายประมาณ 1,793.33 บาท และกลุ่มตัวอย่างอายุ 40-50 ปี มีการใช้จ่ายประมาณ 1,142.18 บาท ตามลำดับ
และเมื่อให้เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่วางแผนสำหรับการซื้อของขวัญ ในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ของปีนี้กับปีที่แล้ว พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.1 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 28.9 ระบุเพิ่มขึ้น และร้อยละ 14.0 ระบุลดลง
จากการวัดดัชนีความเชื่อมั่นในการวางแผนช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นวัดได้ อยู่ที่ 114.9 จุด หมายความว่า จะมีการใช้จ่ายเกิดขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 46.8 เป็นชาย และร้อยละ 53.2 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 18 — 24 ปี (Gen M) ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 25 — 33 ปี (Gen Y) ร้อยละ 16.8 อายุระหว่าง 34 — 39 ปี (Gen X) และร้อยละ 37.3 อายุระหว่าง 40 — 50 ปี (Gen B) สำหรับรายได้ร้อยละ 46.1 ระบุรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 17.4 ระบุรายได้ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 17.8 ระบุรายได้ 15,001-20,000 บาท และร้อยละ18.7 ระบุรายได้ 20,001 บาทขึ้นไป ด้านการศึกษา ร้อยละ 64.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 32.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ลำดับที่ กิจกรรมที่วางแผนในวันวาเลนไทน์ ค่าร้อยละ 1 ไปกินข้าว 65.1 2 ดูหนัง 40.8 3 ทำอาหารกินกันเอง 32.4 4 ไปพักตากอากาศ 18.5 5 ฟังเพลง 18.1 6 เที่ยวกลางคืน ผับ เธค 5.5 7 ไปต่างประเทศ 1.7 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง ที่ระบุค่าใช้จ่ายที่วางแผนสำหรับการไปเที่ยวหรือกิจกรรมต่างๆ ในเทศกาลวันวาเลนไทน์ จำแนกตามเพศ (เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะทำกิจกรรม) ลำดับที่ ค่าใช้จ่าย ชาย หญิง ทั้งหมด 1 ไม่เกิน 500 บาท 13.3 14.4 13.8 2 501 - 1,000 บาท 16.0 19.5 17.9 3 1,001 - 2,000 บาท 35.8 28.0 31.7 4 2,001 - 3,000 บาท 16.0 20.3 18.3 5 มากกว่า 3,000 บาท 18.9 17.8 18.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ค่าเฉลี่ย (บาท) 2,171 1,750 1,950 ค่าสูงสุด (บาท) 60,000 15,000 60,000
ค่าประมาณการจำนวนเงินที่วางแผนสำหรับไปเที่ยวหรือกิจกรรมต่างในวันวาเลนไทน์ จำนวน 3,723,030,266 (สามพันเจ็ดร้อยยี่สิบสามล้านสามหมื่นสองร้อยหกสิบหกบาท)
ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ชาย หญิง ทั้งหมด 1 เพิ่มขึ้น 37.3 28.3 32.7 2 เท่าเดิม 56.8 63.8 60.4 3 ลดลง 5.9 7.9 6.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุการวางแผนซื้อของขวัญให้กับคนพิเศษ/คนรัก จำแนกตามเพศ ลำดับที่ การวางแผนซื้อของขวัญให้กับคนพิเศษ/คนรัก ค่าร้อยละ 1 ซื้อ 43.4 2 ไม่ซื้อ 56.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุของขวัญสำหรับคนพิเศษ/คนรัก จำแนกตามเพศ (เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะซื้อและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ของขวัญสำหรับคนพิเศษ/คนรัก ชาย หญิง ทั้งหมด 1 ดอกไม้ 43.9 31.4 37.5 2 เครื่องแต่งกาย เช่น กระเป๋า รองเท้า 20.3 32.7 26.7 3 ขนมเค้ก ช็อคโกแลต 21.6 25.2 23.5 4 เครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อย กำไล ต่างหู 23.0 11.3 16.9 5 โทรศัพท์มือถือ 2.0 0.6 1.3 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง ที่ระบุค่าใช้จ่ายที่วางแผนสำหรับการซื้อของขวัญในวันวาเลนไทน์ จำแนกตามเพศ (เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะซื้อ) ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายที่วางแผนสำหรับการซื้อของขวัญในวันวาเลนไทน์ ชาย หญิง ทั้งหมด 1 ไม่เกิน 500 บาท 26.0 32.0 29.1 2 501 - 1,000 บาท 24.0 29.4 26.8 3 1,001 - 2,000 บาท 29.5 26.0 27.8 4 2,001 - 3,000 บาท 5.5 8.5 7.0 5 มากกว่า 3,000 บาท 15.0 3.9 9.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ค่าเฉลี่ย (บาท) 2,167 838 1,487 ค่าสูงสุด (บาท) 100,000 10,000 100,000
ค่าประมาณการค่าใช้จ่ายที่วางแผนสำหรับการซื้อของขวัญในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ จำนวน 1,892,699,488.82(หนึ่งพันแปดร้อยเก้าสิบสองล้านหกแสนเก้าหมื่นเก้าพันสี่ร้อยแปดสิบเก้าบาท)
ลำดับที่ ช่วงอายุ ค่าใช้จ่ายค่าเฉลี่ย 1 18-24 ปี (Gen M) 757.53 2 25-33 ปี (Gen Y) 2,208.17 3 34-39 ปี (Gen X) 1,793.33 4 40-50 ปี (Gen B) 1,142.18 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่วางแผนสำหรับการซื้อของขวัญในวันวาเลนไทน์กับปีที่ผ่านมา จำแนกตามเพศ (เฉพาะตัวอย่างที่วางแผนจะซื้อ) ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ชาย หญิง ทั้งหมด 1 เพิ่มขึ้น 31.5 26.5 28.9 2 เท่าเดิม 56.2 58.0 57.1 3 ลดลง 12.3 15.5 14.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าเปรียบเทียบดัชนีความเชื่อมั่นในการวางแผนช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ (ถ้าค่าต่ำกว่า 100 จุด หมายถึง ไม่เชื่อมั่น) ลำดับที่ ดัชนีความเชื่อมั่นวางแผนใช้จ่ายเงินช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ ค่าอ้างอิงความเชื่อมั่น ค่าดัชนีที่วัดได้ ความหมาย ความเชื่อมั่นในการวางแผนช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ 100 114.9 เชื่อมั่น
--เอแบคโพลล์--