ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, SIMBA) โดยการสนับสนุนทุนวิจัยของธนาคารกรุงศรีฯ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือ ถือ: กรณีศึกษาตัวอย่างผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ที่พักอาศัยอยู่เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 641 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา โดยผลสำรวจทั้งหมดนี้สามารถดึงข้อมูลได้ที่ www.abacpolldata.au.edu
โดยผลสำรวจ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.7 ระบุมีโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง ร้อยละ 17.4 ระบุมีโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง ขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุมีโทรศัพท์มือถือมากกว่า 2 เครื่อง เมื่อสอบถามถึงประเภทโทรศัพท์มือถือที่ใช้ พบว่า เกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.4 ระบุใช้โทรศัพท์มือถือประเภทหน้าจอสี รองลงมาหรือร้อยละ 43.8 ระบุใช้สมาร์ทโฟน เช่น ไอโฟน แบลคเบอร์รี่ ซัมซุงกาแลคซี่ ร้อยละ 12.7 ใช้โทรศัพท์มือถือประเภท 2 ซิม และร้อยละ 7.7 ใช้โทรศัพท์มือถือประเภทหน้าจอขาว-ดำ ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มตัวอย่าง 1 ใน 3 หรือร้อยละ 39.0 และร้อยละ 35.0 ใช้โทรศัพท์มือถือราคาไม่เกิน 5,000 บาทและ ไม่เกิน 10,000 บาท และเมื่อเปรียบเทียบราคาโทรศัพท์มือถือที่ใช้จำแนกตามระดับรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ ครอบเฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 50,000 บาท มีค่าเฉลี่ยในการซื้อโทรศัพท์อยู่ที่ 9,555 บาท รายได้ 40,000 — 49,999 บาท มีค่าเฉลี่ยในการซื้อ โทรศัพท์อยู่ที่ 6,944 บาท รายได้ 20,000 - 39,999 บาท มีค่าเฉลี่ยในการซื้อโทรศัพท์อยู่ที่ 7,260 บาท และรายได้น้อยกว่า 20,000 บาท มี ค่าเฉลี่ยในการซื้อโทรศัพท์อยู่ที่ 6,930 บาท
เมื่อสอบถามถึงแหล่งของเงินที่ใช้ซื้อโทรศัพท์มือถือ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.5 ระบุใช้เงินเก็บซื้อเอง รองลงมาคือ ร้อยละ 22.0 ระบุคนอื่นซื้อให้ อาทิ พ่อแม่ พี่น้อง แฟน/คู่สมรส ร้อยละ 8.1ระบุใช้บัตรเครดิต/บัตรเงินสด ร้อยละ 1.2 ระบุ ขอยืมเงินจากคนอื่น ในขณะ ที่ ร้อยละ 0.7 ระบุจำนำของมีค่าอย่างอื่นเพื่อมาซื้อโทรศัพท์มือถือ
อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงรูปแบบการใช้โทรศัพท์มือถือของกลุ่มตัวอย่างซึ่งตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.4 ระบุรูปแบบการใช้โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน ในขณะที่ร้อยละ 32.2 ระบุใช้แบบจ่ายรายเดือน
นอกจากนี้เมื่อถามถึงค่าบริการโทรศัพท์มือถือต่อเดือน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 26.6 ใช้ไม่เกิน 300 บาท ร้อยละ 36.3 ใช้ตั้งแต่ 300 บาทแต่ไม่เกิน 500 บาท ร้อยละ 26.6 ใช้ตั้งแต่ 500 บาท แต่ไม่เกิน 1,000 บาท และร้อยละ 10.5 ใช้ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป เฉลี่ยค่า บริการโทรศัพท์มือถือต่อเดือนอยู่ที่ 480 บาท และเมื่อทำการเปรียบเทียบค่าบริการโทรศัพท์มือถือต่อเดือน จำแนกตามระดับรายได้ พบว่า กลุ่ม ตัวอย่างที่มีรายได้ครอบเฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 50,000 บาท มีค่าเฉลี่ยในการใช้บริการโทรศัพท์มือถือ อยู่ที่ 640 บาท บาท รายได้ 40,000 — 49,999 บาท มีค่าเฉลี่ยในการใช้บริการโทรศัพท์มือถือ อยู่ที่ 399 บาท รายได้ 20,000 - 39,999 บาท มีค่าเฉลี่ยในการใช้บริการโทรศัพท์มือ ถือ อยู่ที่ 440 บาท และรายได้น้อยกว่า 20,000 บาทมีค่าเฉลี่ยในการใช้บริการโทรศัพท์มือถือ อยู่ที่ 419 บาท ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ประเภทของค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากค่าบริการโทรออก พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 58.4 ระบุค่าบริการอิน เทอร์เน็ต รองลงมาหรือร้อยละ 55.7 ระบุค่าบริการส่งข้อความ (SMS) ร้อยละ 15.3 ระบุค่าบริการดาวน์โหลดเพลง รอสาย ร้อยละ 10.6 ระบุค่าบริการส่งข้อความมัลติมีเดีย (MMS) ร้อยละ 6.3 ระบุค่าบริการดาวน์โหลดริงโทน/เสียงเรียกเข้า ร้อยละ 4.7 ระบุค่าบริการดาวน์ โหลดแอพลิเคชั่น ร้อยละ 3.5 ระบุค่าบริการดาวน์โหลดเกมส์ ร้อยละ 2.7 ระบุค่าบริการดาวน์โหลด ธีมมือถือ (Theme) และร้อยละ 1.2 ระบุค่า บริการดาวน์โหลดภาพ
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 49.1 เป็นชาย
และร้อยละ 50.9 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.7 ระบุอายุระหว่าง 15 — 24 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 25 — 33
ร้อยละ 10.5 อายุระหว่าง 34 — 39 ปี
และร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 40 — 50 ปี
ด้านรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 30.5 ระบุรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาท
ร้อยละ 33.4 ระบุรายได้ 20,000-39,999 บาท
ร้อยละ 9.9 ระบุรายได้ 40,000-49,999 บาท
และร้อยละ 26.2 ระบุรายได้ 50,000 บาทขึ้นไป
ด้านการศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 48.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 43.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 8.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง
ลำดับที่ จำนวนโทรศัพท์มือถือ ค่าร้อยละ 1 1 เครื่อง 78.7 2 2 เครื่อง 17.4 3 มากกว่า 2 เครื่อง 3.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุประเภทโทรศัพท์มือถือที่ใช้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ประเภทโทรศัพท์มือถือที่ใช้ ค่าร้อยละ 1 โทรศัพท์มือถือประเภทหน้าจอสี แต่ไม่ใช่สมาร์ทโฟน 49.4 2 สมาร์ทโฟน เช่น ไอโฟน แบลคเบอร์รี่ ซัมซุงกาแลคซี่ 43.8 3 โทรศัพท์มือถือประเภท 2 ซิม 12.7 4 โทรศัพท์มือถือประเภท หน้าจอขาว-ดำ 7.7 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสูงสุดของตัวอย่าง ที่ระบุราคาโทรศัพท์มือถือที่ใช้ จำแนกตามระดับรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน ลำดับที่ ราคาโทรศัพท์มือถือที่ใช้ มากกว่า 50,000 บาท 40,000-49,999 บาท 20,000-39,999 บาท น้อยกว่า 20,000 บาท ทั้งหมด 1 ไม่เกิน 5,000 บาท 25.3 35.1 40.7 50.6 39.0 2 5,000 บาท ถึง ไม่เกิน 10,000 บาท 35.3 47.4 37.0 28.2 35.0 3 10,000 บาท ถึง ไม่เกิน 15,000 บาท 21.3 12.3 13.8 9.4 14.3 4 15,000 บาท ถึง ไม่เกิน 20,000 บาท 9.3 5.2 3.2 5.3 5.7 5 20,000 บาท ขึ้นไป 8.8 - 5.3 6.5 6.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ค่าเฉลี่ย (บาท) 9,555 6,944 7,260 6,930 7,652 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุแหล่งของเงินที่ใช้ซื้อโทรศัพท์มือถือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ แหล่งของเงินที่ใช้ซื้อโทรศัพท์มือถือ ค่าร้อยละ 1 ใช้เงินเก็บซื้อเอง 74.5 2 คนอื่นซื้อให้ อาทิ พ่อแม่ พี่น้อง แฟน/คู่สมรส 22.0 3 ใช้บัตรเครดิต/บัตรเงินสด 8.1 4 ขอยืมเงิน จากคนอื่น อาทิ พี่น้อง 1.2 5 จำนำของมีค่าอย่างอื่น เพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือ 0.7 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรูปแบบการใช้โทรศัพท์มือถือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ รูปแบบการใช้โทรศัพท์มือถือ ค่าร้อยละ 1 เติมเงิน 92.4 2 จ่ายรายเดือน 32.2 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสูงสุดของตัวอย่าง ที่ระบุค่าบริการโทรศัพท์มือถือต่อเดือน จำแนกตามระดับรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน ลำดับที่ ค่าบริการโทรศัพท์มือถือต่อเดือน มากกว่า 50,000 บาท 40,000-49,999 บาท 20,000-39,999บาท น้อยกว่า 20,000 บาท ทั้งหมด 1 ไม่เกิน 300 บาท 14.8 30.9 27.3 34.9 26.6 2 300 บาท ถึง ไม่เกิน 500 บาท 32.9 40.0 37.4 36.7 36.3 3 500 บาท ถึง ไม่เกิน 1,000 บาท 33.5 21.8 27.3 21.3 26.6 4 1,000 บาท ขึ้นไป 18.8 7.3 8.0 7.1 10.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ค่าเฉลี่ย (บาท) 640 399 440 419 480 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุประเภทค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ นอกจากค่าบริการโทรออก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ประเภทค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ นอกจากค่าบริการโทรออก ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(บาท) ค่าสูงสุด(บาท) 1 ค่าบริการอินเทอร์เน็ต 58.4 288 2,000 2 ค่าบริการส่งข้อความ (SMS) 55.7 65 800 3 ค่าบริการดาวน์โหลดเพลงรอสาย 15.3 38 120 4 ค่าบริการส่งข้อความมัลติมีเดีย (MMS) 10.6 71 500 5 ค่าบริการดาวน์โหลดริงโทน/เสียงเรียกเข้า 6.3 50 100 6 ค่าบริการดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น 4.7 99 300 7 ค่าบริการดาวน์โหลดเกมส์ 3.5 127 500 8 ค่าบริการดาวน์โหลดธีมมือถือ (Theme) 2.7 49 200 9 ค่าบริการดาวน์โหลดภาพ 1.2 186 500
--เอแบคโพลล์--