ที่มาของโครงการ
จากการที่สื่อมวลชนหลายแขนง ได้นำเสนอข่าวมาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับกรณีการหายตัวของนาย สมชาย นีละไพจิตร ทนายความชื่อดังที่ทำหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชน และเป็นประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม โดยล่าสุดนี้ มีการเสนอข่าวว่า คณะทำงานชุดสอบสวนคลี่คลายคดีดังกล่าวได้มีการรวบรวมพยานหลักฐาน ที่จะมัดตัวผู้ที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวของนายสมชายได้ และคาดว่าจะสามารถออกหมายจับได้ในเร็วๆนี้ รวมทั้งการออกมาเปิดเผยข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่ายว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนพัวพันกับการหายตัวดังกล่าว ทำให้ประชาชนทั่วไปต่างให้ความสนใจและกำลังจับตามองว่าในที่สุดแล้ว รัฐบาลจะสามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายได้หรือไม่สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชน ต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตามคลี่คลายคดีการหายตัวไปของทนายสมชาย
2. เพื่อสำรวจความศรัทธาของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของตำรวจกองปราบภายหลังจากมีข่าวตำรวจกองปราบมีส่วนพัวพันกับการลักพาตัวของนายสมชาย
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อข่าวนายตำรวจกองปราบเข้าพัวพันการลักพาตัวนายสมชาย นีละไพจิตร: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 5 -6 เมษายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และเข้าถึงตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรในพื้นที่เป้าหมาย
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,203 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 59.0 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 41.0 ระบุเป็นชาย ร้อยละ 38.1 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 17.3 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 10.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 8.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 50.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 41.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 8.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 18.7 ระบุนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 17.3 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย ร้อยละ 17.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 7.3 ระบุพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ และร้อยละ 1.1 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการลักพาตัวนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความ
ชื่อดังที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน
ลำดับที่ การทราบข่าวการลักพาตัวนายสมชาย นีละไพจิตร ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 90.4
2 ไม่ทราบข่าว 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี การหายตัวของทนายความชื่อดัง
นายสมชาย นีละไพจิตร เกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่
ลำดับที่ เชื่อหรือไม่ว่าการหายตัวของนายสมชาย เกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าเกี่ยวข้อง 60.5
2 เชื่อว่าไม่เกี่ยวข้อง 9.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตาม
คลี่คลายคดีการหายตัวของทนายสมชาย
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตามคลี่คลายคดีการหายตัวของทนายสมชาย ค่าร้อยละ
1 พอใจ 8.0
2 ค่อนข้างพอใจ 17.2
3 ไม่ค่อยพอใจ 35.5
4 ไม่พอใจ 16.4
5 ไม่มีความเห็น 22.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี เชื่อหรือไม่ว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนาย
พัวพันกับการหายตัวของทนายสมชาย
ลำดับที่ เชื่อหรือไม่ว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนายพัวพันกับการหายตัวของทนายสมชาย ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีส่วนพัวพัน 64.5
2 ไม่มีส่วนพัวพัน 7.3
3 ไม่มีความเห็น 28.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี ข่าวนายตำรวจกองปราบลักพาตัว
นายสมชายทำให้ท่านเสียความศรัทธาต่อภาพลักษณ์ของตำรวจกองปราบโดยรวมหรือไม่
ลำดับที่ ข่าวนายตำรวจกองปราบลักพาตัว นายสมชายทำให้ท่านเสียความ ค่าร้อยละ
ศรัทธาต่อภาพลักษณ์ของตำรวจกองปราบโดยรวมหรือไม่
1 เสียศรัทธา 46.6
2 ไม่เสียศรัทธา 23.7
3 ไม่มีความเห็น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการนำ "ตัวผู้บงการ" ลักพาตัว
ทนายสมชายมาลงโทษตามกฎหมาย
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการนำ "ตัวผู้บงการ" ลักพาตัวทนายสมชายมาลงโทษตามกฎหมาย ค่าร้อยละ
1 มั่นใจว่ารัฐบาลสามารถทำได้ 23.2
2 ไม่มั่นใจ 63.7
3 ไม่มีความเห็น 13.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อข่าวนายตำรวจกองปราบเข้าพัวพันการลักพาตัวนายสมชาย นีละไพจิตร: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" โดยสุ่มตัวอย่างสำรวจประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 1,203 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 5 - 6 เมษายน 2547 ประเด็นสำคัญที่สำรวจพบมีดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 90.4 ระบุทราบข่าวการหายตัวของนายสมชาย ร้อยละ 9.6 ระบุไม่ทราบข่าว ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 60.5 ระบุความคิดเห็นว่า การหายตัวของนายสมชายนั้นเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 9.8 ระบุเชื่อว่าไม่เกี่ยวข้อง และร้อยละ 29.7 ระบุไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามความพึงพอใจของตัวอย่างต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตามคลี่คลายคดีการหายตัวไปของนายสมชายนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุไม่ค่อยพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 16.4 ระบุไม่พอใจ ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 17.2 ระบุค่อนข้างพอใจ และร้อยละ 8.0 ระบุพอใจ ส่วนตัวอย่างร้อยละ 22.9 ระบุไม่มีความเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 64.5 ระบุเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนายพัวพันกับการหายตัวของนายสมชาย ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 7.3 เท่านั้นที่ระบุ เชื่อว่าไม่มีส่วนพัวพัน และร้อยละ 28.2 ระบุไม่มีความคิดเห็น ซึ่งเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความศรัทธาที่มีต่อตำรวจกองปราบโดยรวม ภายหลังจากมีข่าวว่ามีนายตำรวจกองปราบลักพาตัวนายสมชาย นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.6 ระบุเสียศรัทธาต่อภาพลักษณ์ของตำรวจกองปราบโดยรวม ในขณะที่ ร้อยละ 23.7 ระบุไม่เสียศรัทธา และร้อยละ 29.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ ความมั่นใจของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการนำ "ตัวผู้บงการ" ลักพาตัวนายสมชายมาลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.7 ระบุไม่มั่นใจในรัฐบาล ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 23.2 ที่ระบุมั่นใจ และร้อยละ 13.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
จากการที่สื่อมวลชนหลายแขนง ได้นำเสนอข่าวมาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับกรณีการหายตัวของนาย สมชาย นีละไพจิตร ทนายความชื่อดังที่ทำหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชน และเป็นประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม โดยล่าสุดนี้ มีการเสนอข่าวว่า คณะทำงานชุดสอบสวนคลี่คลายคดีดังกล่าวได้มีการรวบรวมพยานหลักฐาน ที่จะมัดตัวผู้ที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวของนายสมชายได้ และคาดว่าจะสามารถออกหมายจับได้ในเร็วๆนี้ รวมทั้งการออกมาเปิดเผยข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่ายว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนพัวพันกับการหายตัวดังกล่าว ทำให้ประชาชนทั่วไปต่างให้ความสนใจและกำลังจับตามองว่าในที่สุดแล้ว รัฐบาลจะสามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายได้หรือไม่สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชน ต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตามคลี่คลายคดีการหายตัวไปของทนายสมชาย
2. เพื่อสำรวจความศรัทธาของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของตำรวจกองปราบภายหลังจากมีข่าวตำรวจกองปราบมีส่วนพัวพันกับการลักพาตัวของนายสมชาย
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อข่าวนายตำรวจกองปราบเข้าพัวพันการลักพาตัวนายสมชาย นีละไพจิตร: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 5 -6 เมษายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และเข้าถึงตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรในพื้นที่เป้าหมาย
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,203 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 59.0 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 41.0 ระบุเป็นชาย ร้อยละ 38.1 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 17.3 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 10.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 8.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 50.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 41.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 8.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 18.7 ระบุนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 17.3 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย ร้อยละ 17.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 7.3 ระบุพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ และร้อยละ 1.1 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการลักพาตัวนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความ
ชื่อดังที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน
ลำดับที่ การทราบข่าวการลักพาตัวนายสมชาย นีละไพจิตร ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 90.4
2 ไม่ทราบข่าว 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี การหายตัวของทนายความชื่อดัง
นายสมชาย นีละไพจิตร เกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่
ลำดับที่ เชื่อหรือไม่ว่าการหายตัวของนายสมชาย เกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าเกี่ยวข้อง 60.5
2 เชื่อว่าไม่เกี่ยวข้อง 9.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตาม
คลี่คลายคดีการหายตัวของทนายสมชาย
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตามคลี่คลายคดีการหายตัวของทนายสมชาย ค่าร้อยละ
1 พอใจ 8.0
2 ค่อนข้างพอใจ 17.2
3 ไม่ค่อยพอใจ 35.5
4 ไม่พอใจ 16.4
5 ไม่มีความเห็น 22.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี เชื่อหรือไม่ว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนาย
พัวพันกับการหายตัวของทนายสมชาย
ลำดับที่ เชื่อหรือไม่ว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนายพัวพันกับการหายตัวของทนายสมชาย ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีส่วนพัวพัน 64.5
2 ไม่มีส่วนพัวพัน 7.3
3 ไม่มีความเห็น 28.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี ข่าวนายตำรวจกองปราบลักพาตัว
นายสมชายทำให้ท่านเสียความศรัทธาต่อภาพลักษณ์ของตำรวจกองปราบโดยรวมหรือไม่
ลำดับที่ ข่าวนายตำรวจกองปราบลักพาตัว นายสมชายทำให้ท่านเสียความ ค่าร้อยละ
ศรัทธาต่อภาพลักษณ์ของตำรวจกองปราบโดยรวมหรือไม่
1 เสียศรัทธา 46.6
2 ไม่เสียศรัทธา 23.7
3 ไม่มีความเห็น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการนำ "ตัวผู้บงการ" ลักพาตัว
ทนายสมชายมาลงโทษตามกฎหมาย
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการนำ "ตัวผู้บงการ" ลักพาตัวทนายสมชายมาลงโทษตามกฎหมาย ค่าร้อยละ
1 มั่นใจว่ารัฐบาลสามารถทำได้ 23.2
2 ไม่มั่นใจ 63.7
3 ไม่มีความเห็น 13.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อข่าวนายตำรวจกองปราบเข้าพัวพันการลักพาตัวนายสมชาย นีละไพจิตร: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" โดยสุ่มตัวอย่างสำรวจประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 1,203 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 5 - 6 เมษายน 2547 ประเด็นสำคัญที่สำรวจพบมีดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 90.4 ระบุทราบข่าวการหายตัวของนายสมชาย ร้อยละ 9.6 ระบุไม่ทราบข่าว ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 60.5 ระบุความคิดเห็นว่า การหายตัวของนายสมชายนั้นเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 9.8 ระบุเชื่อว่าไม่เกี่ยวข้อง และร้อยละ 29.7 ระบุไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามความพึงพอใจของตัวอย่างต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตามคลี่คลายคดีการหายตัวไปของนายสมชายนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุไม่ค่อยพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 16.4 ระบุไม่พอใจ ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 17.2 ระบุค่อนข้างพอใจ และร้อยละ 8.0 ระบุพอใจ ส่วนตัวอย่างร้อยละ 22.9 ระบุไม่มีความเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 64.5 ระบุเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนายพัวพันกับการหายตัวของนายสมชาย ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 7.3 เท่านั้นที่ระบุ เชื่อว่าไม่มีส่วนพัวพัน และร้อยละ 28.2 ระบุไม่มีความคิดเห็น ซึ่งเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความศรัทธาที่มีต่อตำรวจกองปราบโดยรวม ภายหลังจากมีข่าวว่ามีนายตำรวจกองปราบลักพาตัวนายสมชาย นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.6 ระบุเสียศรัทธาต่อภาพลักษณ์ของตำรวจกองปราบโดยรวม ในขณะที่ ร้อยละ 23.7 ระบุไม่เสียศรัทธา และร้อยละ 29.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ ความมั่นใจของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการนำ "ตัวผู้บงการ" ลักพาตัวนายสมชายมาลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.7 ระบุไม่มั่นใจในรัฐบาล ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 23.2 ที่ระบุมั่นใจ และร้อยละ 13.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-