ที่มาของโครงการ
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมามีเหตุการณ์ ความวุ่นวายต่างๆเกิดขึ้นมากมายซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลในสายตาประชาชน ทั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งข่าวการหายตัวของทนายความชื่อดังซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายว่าอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย และนอกจากนี้ยังมี ปัญหาการชุมนุมประท้วงของพนักงาน กฟผ. ที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ในสายตาประชาชนได้สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ถึงความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามประเด็นข่าวสำคัญทางการเมืองและสังคมของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลในไตรมาสแรก ของปี พ.ศ. 2547
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,387 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.8 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.8 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 28.9 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 12.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 5.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 52.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 39.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 8.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 31.7 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 29.9 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.0 ค้าขาย / อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.0 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 8.9 รับจ้างทั่วไป และร้อยละ 5.5 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน เกษียณอายุ เกษตรกร ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสื่อที่ใช้ในการติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่ติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคมต่างๆ ร้อยละ
1 โทรทัศน์ 92.4
2 หนังสือพิมพ์ 66.8
3 วิทยุ 36.1
4 อินเตอร์เนต 13.7
5 ไม่ได้ติดตามข่าวเลย 1.4
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่วส่งผลเสียต่อ
ภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่
ลำดับที่ ข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่วส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ ร้อยละ
1 ส่งผลเสีย 65.8
2 ไม่ส่งผลเสีย 18.6
3 ไม่มีความเห็น 15.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาแพร่ระบาด
อีกครั้งในช่วงปิดภาคเรียนนี้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่
ลำดับที่ ปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในช่วงปิดภาคเรียนนี้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ ร้อยละ
1 ส่งผลเสีย 74.6
2 ไม่ส่งผลเสีย 18.2
3 ไม่มีความเห็น 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ปัญหาการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตส่งผลเสีย
ต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่
ลำดับที่ ปัญหาการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ ร้อยละ
1 ส่งผลเสีย 60.1
2 ไม่ส่งผลเสีย 22.2
3 ไม่มีความเห็น 17.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี การหายตัวของนายสมชาย ทนายความชื่อดัง
และผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่
ลำดับที่ การหายตัวของนายสมชาย ทนายความชื่อดังและผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนส่งผล
เสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ ร้อยละ
1 ส่งผลเสีย 61.3
2 ไม่ส่งผลเสีย 18.9
3 ไม่มีความเห็น 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่
ลำดับที่ ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ ร้อยละ
1 ส่งผลเสีย 85.1
2 ไม่ส่งผลเสีย 9.4
3 ไม่มีความเห็น 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของรัฐบาล
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของรัฐบาล ร้อยละ
1 พอใจ 57.3
2 ไม่พอใจ 19.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 23.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ของรัฐบาล
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาล ร้อยละ
1 พอใจ 61.4
2 ไม่พอใจ 27.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมการขายบุหรี่/
สุรา ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมการขายบุหรี่/สุรา ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ
1 พอใจ 85.9
2 ไม่พอใจ 8.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 5.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อมาตรการช่วยแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาล
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อมาตรการช่วยแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาล ร้อยละ
1 พอใจ 66.5
2 ไม่พอใจ 20.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลของรัฐบาล
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลของรัฐบาล ร้อยละ
1 พอใจ 89.5
2 ไม่พอใจ 3.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมต่อนักการเมืองระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน
ลำดับที่ กุมภาพันธ์ 2547ค่าร้อยละ เมษายน 2547ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 66.9 58.8
2 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน 3.0 7.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 30.1 34.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ภาพลักษณ์รัฐบาลในสายตาคนกรุง ณ ไตรมาสที่ 1 /2547" ในครั้งนี้ ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,387 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ปํญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลมากที่สุดในสายตาประชาชน
เมื่อสอบถามตัวอย่างประชาชนถึงเหตุการณ์/ปัญหาต่างๆที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ได้แก่ข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว ปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตการหายตัวของนายสมชาย ทนายความชื่อดัง และผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น ผลการสำรวจเป็นดังนี้
ประชาชนร้อยละ 85.1 ระบุว่าปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 9.4 ที่ระบุว่าไม่ส่งผลเสีย และร้อยละ 5.5 ไม่ระบุความเห็น
ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณี ปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในช่วงปิดภาคเรียนนี้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 74.6 ระบุว่าส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ร้อยละ 18.2 ระบุไม่ส่งผลเสีย และร้อยละ 7.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 65.8 ระบุว่าข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 18.6 ระบุไม่ส่งผลเสีย และร้อยละ 15.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 61.3 ระบุว่าข่าวการหายตัวของนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความชื่อดัง ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ร้อยละ 18.9 ระบุไม่ส่งผลเสีย และร้อยละ 19.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับปัญหาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 60.1 ระบุส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ร้อยละ 22.2 ระบุไม่ส่งผลเสีย และร้อยละ 17.7 ไม่ระบุความคิดเห็น ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นผลงานรัฐบาลที่ประชาชนพึงพอใจมากที่สุด
จากการสอบถามตัวอย่างประชาชนถึงความพึงพอใจต่อนโยบาย/มาตรการที่สำคัญต่างๆของรัฐบาล ได้แก่ นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค มาตรการควบคุมการจำหน่ายบุหรี่/สุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มาตรการช่วยแก้ปัญหาความยากจน และนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล นั้น ผลสำรวจเป็นดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 89.5 ระบุพึงพอใจในนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 6.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 85.9 ระบุพึงพอใจในมาตรการควบคุมการจำหน่ายบุหรี่ /สุรา ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 8.4 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 5.7 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 66.5 ระบุพึงพอใจต่อมาตรการช่วยแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาล ร้อยละ 20.0 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 13.5 ระบุไม่มีความเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 61.4 ระบุพึงพอใจต่อนโยบายโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 27.4 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 11.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 57.3 ระบุพึงพอใจต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ร้อยละ 19.4 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 23.3 ระบุไม่มีความเห็น ตามลำดับ
กล่าวโดยสรุป ทรรศนะของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2547 นั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลมากที่สุด ในขณะที่นโยบายของรัฐบาลที่พึงพอใจมากที่สุดได้แก่ นโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หรือ ผลิตภัณฑ์ OTOP
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่การเปรียบเทียบคะแนนนิยมระหว่างนายบัญญัติ บรรทัดฐาน แกนนำฝ่ายค้าน กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แกนนำฝ่ายรัฐบาล ซึ่งมีข้อสังเกตที่น่าพิจารณาคือ ถึงแม้ว่าคะแนนนิยมของประชาชนที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ จะยังคงทิ้งห่างคะแนนนิยมที่มีต่อนายบัญญัติก็ตาม หากเมื่อเปรียบเทียบคะแนนนิยมจากการสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลับพบว่าคะแนนนิยมที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นลดลงจาก ร้อยละ 66.9 เหลือ ร้อยละ 58.8 จากการสำรวจในครั้งนี้ ในขณะที่คะแนนนิยมของนายบัญญัติ นั้นเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 3.0 มาเป็นร้อยละ 7.2
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมามีเหตุการณ์ ความวุ่นวายต่างๆเกิดขึ้นมากมายซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลในสายตาประชาชน ทั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งข่าวการหายตัวของทนายความชื่อดังซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายว่าอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย และนอกจากนี้ยังมี ปัญหาการชุมนุมประท้วงของพนักงาน กฟผ. ที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ในสายตาประชาชนได้สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ถึงความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามประเด็นข่าวสำคัญทางการเมืองและสังคมของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลในไตรมาสแรก ของปี พ.ศ. 2547
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,387 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.8 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.8 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 28.9 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 12.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 5.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 52.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 39.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 8.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 31.7 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 29.9 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.0 ค้าขาย / อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.0 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 8.9 รับจ้างทั่วไป และร้อยละ 5.5 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน เกษียณอายุ เกษตรกร ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสื่อที่ใช้ในการติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่ติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคมต่างๆ ร้อยละ
1 โทรทัศน์ 92.4
2 หนังสือพิมพ์ 66.8
3 วิทยุ 36.1
4 อินเตอร์เนต 13.7
5 ไม่ได้ติดตามข่าวเลย 1.4
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่วส่งผลเสียต่อ
ภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่
ลำดับที่ ข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่วส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ ร้อยละ
1 ส่งผลเสีย 65.8
2 ไม่ส่งผลเสีย 18.6
3 ไม่มีความเห็น 15.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาแพร่ระบาด
อีกครั้งในช่วงปิดภาคเรียนนี้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่
ลำดับที่ ปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในช่วงปิดภาคเรียนนี้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ ร้อยละ
1 ส่งผลเสีย 74.6
2 ไม่ส่งผลเสีย 18.2
3 ไม่มีความเห็น 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ปัญหาการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตส่งผลเสีย
ต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่
ลำดับที่ ปัญหาการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ ร้อยละ
1 ส่งผลเสีย 60.1
2 ไม่ส่งผลเสีย 22.2
3 ไม่มีความเห็น 17.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี การหายตัวของนายสมชาย ทนายความชื่อดัง
และผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่
ลำดับที่ การหายตัวของนายสมชาย ทนายความชื่อดังและผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนส่งผล
เสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ ร้อยละ
1 ส่งผลเสีย 61.3
2 ไม่ส่งผลเสีย 18.9
3 ไม่มีความเห็น 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่
ลำดับที่ ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ ร้อยละ
1 ส่งผลเสีย 85.1
2 ไม่ส่งผลเสีย 9.4
3 ไม่มีความเห็น 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของรัฐบาล
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของรัฐบาล ร้อยละ
1 พอใจ 57.3
2 ไม่พอใจ 19.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 23.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ของรัฐบาล
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาล ร้อยละ
1 พอใจ 61.4
2 ไม่พอใจ 27.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมการขายบุหรี่/
สุรา ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมการขายบุหรี่/สุรา ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ
1 พอใจ 85.9
2 ไม่พอใจ 8.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 5.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อมาตรการช่วยแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาล
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อมาตรการช่วยแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาล ร้อยละ
1 พอใจ 66.5
2 ไม่พอใจ 20.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลของรัฐบาล
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลของรัฐบาล ร้อยละ
1 พอใจ 89.5
2 ไม่พอใจ 3.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมต่อนักการเมืองระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน
ลำดับที่ กุมภาพันธ์ 2547ค่าร้อยละ เมษายน 2547ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 66.9 58.8
2 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน 3.0 7.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 30.1 34.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ภาพลักษณ์รัฐบาลในสายตาคนกรุง ณ ไตรมาสที่ 1 /2547" ในครั้งนี้ ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,387 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ปํญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลมากที่สุดในสายตาประชาชน
เมื่อสอบถามตัวอย่างประชาชนถึงเหตุการณ์/ปัญหาต่างๆที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ได้แก่ข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว ปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตการหายตัวของนายสมชาย ทนายความชื่อดัง และผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น ผลการสำรวจเป็นดังนี้
ประชาชนร้อยละ 85.1 ระบุว่าปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 9.4 ที่ระบุว่าไม่ส่งผลเสีย และร้อยละ 5.5 ไม่ระบุความเห็น
ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณี ปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในช่วงปิดภาคเรียนนี้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือไม่ นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 74.6 ระบุว่าส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ร้อยละ 18.2 ระบุไม่ส่งผลเสีย และร้อยละ 7.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 65.8 ระบุว่าข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 18.6 ระบุไม่ส่งผลเสีย และร้อยละ 15.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 61.3 ระบุว่าข่าวการหายตัวของนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความชื่อดัง ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ร้อยละ 18.9 ระบุไม่ส่งผลเสีย และร้อยละ 19.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับปัญหาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 60.1 ระบุส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ร้อยละ 22.2 ระบุไม่ส่งผลเสีย และร้อยละ 17.7 ไม่ระบุความคิดเห็น ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นผลงานรัฐบาลที่ประชาชนพึงพอใจมากที่สุด
จากการสอบถามตัวอย่างประชาชนถึงความพึงพอใจต่อนโยบาย/มาตรการที่สำคัญต่างๆของรัฐบาล ได้แก่ นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค มาตรการควบคุมการจำหน่ายบุหรี่/สุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มาตรการช่วยแก้ปัญหาความยากจน และนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล นั้น ผลสำรวจเป็นดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 89.5 ระบุพึงพอใจในนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 6.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 85.9 ระบุพึงพอใจในมาตรการควบคุมการจำหน่ายบุหรี่ /สุรา ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 8.4 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 5.7 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 66.5 ระบุพึงพอใจต่อมาตรการช่วยแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาล ร้อยละ 20.0 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 13.5 ระบุไม่มีความเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 61.4 ระบุพึงพอใจต่อนโยบายโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 27.4 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 11.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 57.3 ระบุพึงพอใจต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ร้อยละ 19.4 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 23.3 ระบุไม่มีความเห็น ตามลำดับ
กล่าวโดยสรุป ทรรศนะของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2547 นั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลมากที่สุด ในขณะที่นโยบายของรัฐบาลที่พึงพอใจมากที่สุดได้แก่ นโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หรือ ผลิตภัณฑ์ OTOP
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่การเปรียบเทียบคะแนนนิยมระหว่างนายบัญญัติ บรรทัดฐาน แกนนำฝ่ายค้าน กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แกนนำฝ่ายรัฐบาล ซึ่งมีข้อสังเกตที่น่าพิจารณาคือ ถึงแม้ว่าคะแนนนิยมของประชาชนที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ จะยังคงทิ้งห่างคะแนนนิยมที่มีต่อนายบัญญัติก็ตาม หากเมื่อเปรียบเทียบคะแนนนิยมจากการสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลับพบว่าคะแนนนิยมที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นลดลงจาก ร้อยละ 66.9 เหลือ ร้อยละ 58.8 จากการสำรวจในครั้งนี้ ในขณะที่คะแนนนิยมของนายบัญญัติ นั้นเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 3.0 มาเป็นร้อยละ 7.2
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-