นางสาววันวิสาข์ เจริญนาน นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, SIMBA) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยของธนาคารกรุงศรีฯ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง พฤติกรรมการใช้โซเชียล มีเดีย (Social Media) ของคนกรุงเทพฯ จำนวนทั้งสิ้น 641 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 17-23 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา โดยผลสำรวจทั้งหมดนี้สามารถดึงข้อมูลฟรีได้ที่ www.abacpolldata.au.edu
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.0 ใช้ Social Media ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา โดยตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 46.9 ใช้มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน รองลงมาคือ ร้อยละ 22.4 ใช้วันละครั้ง ร้อยละ 8.0 ใช้ 5-6 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 9.2 ใช้ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 7.9 ใช้ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ และร้อยละ 5.6 ใช้น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง นอกจากนี้เมื่อถามตัวอย่างถึงเว็บไซต์ที่ใช้ Social Media พบว่าตัวอย่างเกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 98.6 ระบุ Facebook รองลงมาคือ ร้อยละ 21.6 ระบุ Twitter และร้อยละ 13.9 ระบุ Hi5 ตามลำดับ
เมื่อถามถึงเหตุผลที่ใช้ Social Media พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.5 ระบุใช้เพื่อพูดคุย ติดตามข่าวสารของเพื่อน/คนรู้จัก รองลงมาหรือร้อยละ 63.4 ระบุใช้เพื่ออัพเดตสถานะ / รูปภาพ /ข่าวสาร /สถานการณ์ทั่วไป ร้อยละ 34.0 ระบุใช้เล่นเกมส์
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 31.7 ยังใช้เพื่อระบายอารมณ์/ความรู้สึก ร้อยละ 30.0 ใช้พูดคุย ติดตามข่าวสารของคนในครอบครัว ร้อยละ 25.0 ใช้เพื่อหาคู่ /แฟน /เพื่อนใหม่ในสังคมออนไลน์ ร้อยละ 18.9 ใช้เพื่อติดต่องาน ในขณะที่ร้อยละ 9.0 ใช้เพื่อซื้อ /ขายสินค้า/ทำธุรกิจออนไลน์
นอกจากนี้เมื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึกเพิ่มเติมกับกลุ่มผู้ที่ใช้ Social Media เป็นประจำทุกวัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างพบเห็นโฆษณาสินค้าและบริการใน Social Media หลากหลายประเภท อาทิ สินค้าประเภทแฟชั่น เครื่องสำอาง เกม ส่วนลดที่พัก โรงแรม และร้านอาหารต่างๆ เป็นต้น โดยโฆษณาที่พบเห็น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โฆษณาสินค้าและบริการที่ให้การสนับสนุนเว็บไซต์ Social Media ที่ตนใช้ และโฆษณาที่แปะวางบนหน้ากระดาน (Wall) และหน้าประวัติของตน นอกจากนี้ เมื่อสอบถามต่อไปถึงความคิดเห็นต่อโฆษณาทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว พบว่า สำหรับโฆษณาประเภทแรกนั้น กลุ่มตัวอย่างเข้าใจและยอมรับการมีโฆษณา เพราะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาในเชิงธุรกิจที่จะต้องมีสปอนเซอร์ อีกทั้งให้ความเชื่อถือต่อโฆษณาประเภทนี้มากกว่าโฆษณาประเภทที่ 2 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างรู้สึกรำคาญ ถูกรบกวน ถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และรู้สึกกังวลกับข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลไปยังแหล่งที่มาของโฆษณาเหล่านั้น นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างบางรายยังกล่าวว่า การทำโฆษณาลักษณะนี้ถือเป็นความเห็นแก่ตัวของเจ้าของโฆษณา และมักจะลบหรือบล็อคโฆษณาเหล่านี้ทันที
อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ Social Media พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.6 ระบุ Social Media ทำให้ติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่ไกลได้ รองลงมาหรือร้อยละ 71.9 ทำให้รู้ว่าเพื่อนเก่าอยู่ที่ไหน ทำอะไร ร้อยละ 68.8 ทำให้ได้พูดคุยกับคนหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน ร้อยละ 67.3 ทำให้ได้พูดคุยกับคนอื่นได้บ่อยขึ้น และร้อยละ 55.9 ทำให้กล้าที่จะพูดคุยมากกว่าการสื่อสารโดยตรง เช่น การพูดคุยต่อหน้า/ทางโทรศัพท์
ที่น่าพิจารณาคือเมื่อถามถึงปัญหาที่เคยประสบจากการใช้ Social Media พบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่งหรือร้อยละ 46.3 ระบุว่าเคยพบเจอสื่ออนาจาร รองลงมาคือ ร้อยละ 39.0 มีปัญหาในเรื่องของเวลาพักผ่อนน้อย กระทบต่อการเรียน/การงาน ร้อยละ 27.0 มีปัญหาเรื่องข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล ร้อยละ 25.7 มีปัญหาทะเลาะ/มีปัญหากับผู้อื่น ร้อยละ 19.0 มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น กระสับกระส่าย หงุดหงิดเมื่อไม่ได้ใช้ ในขณะที่ร้อยละ 13.0 ระบุปัญหาถูกหลอกลวงต้มตุ๋น และร้อยละ 10.4 ปัญหาสุขภาพ เช่น นิ้วล็อค กล้ามเนื้ออักเสบ
ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 63.8 ระบุวิธีการป้องกันภัยที่อาจแฝงมากับโลกของ Social Media โดยวิธีการเรียนรู้ถึงข้อดีและข้อเสียของการใช้ Social Media รองลงมาหรือร้อยละ 50.8 วิธีการป้องกันโดยการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภัยที่เกิดขึ้นตามสื่อต่างๆ ร้อยละ 41.5 ป้องกันโดยวิธีการให้ความรู้ต่อลูก / หลานหรือคนในครอบครัว ร้อยละ 33.5 ป้องกันโดยไม่สร้าง Social Media กับคนที่ไม่รู้จัก ร้อยละ 28.3 ป้องกันโดยการสอดส่องดูแลการใช้ Social Media ของบุตรหลาน และร้อยละ 19.7 ป้องกันโดยพ่อ แม่หรือผู้ปกครองต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 49.1 เป็นชาย
และร้อยละ 50.9 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.8 อายุระหว่าง 15 — 24 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 25 — 33
ร้อยละ 10.5 อายุระหว่าง 34 — 39 ปี
และร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 40 — 50 ปี
สำหรับรายได้ ร้อยละ 30.6 ระบุรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาท
ร้อยละ 33.3 ระบุรายได้ 20,000-39,999 บาท
ร้อยละ 9.9 ระบุรายได้ 40,000-49,999 บาท
และร้อยละ 26.2 ระบุรายได้ 50,000 บาทขึ้นไป
ด้านการศึกษา ร้อยละ 48.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 43.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 8.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ลำดับที่ การใช้ Social Media ค่าร้อยละ 1 ใช้ 90.0 2 ไม่ใช้ 10.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความถี่ในการใช้ Social Media(เฉพาะตัวอย่างที่ใช้) ลำดับที่ ความถี่ในการใช้ Social Media ค่าร้อยละ 1 มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน 46.9 2 วันละครั้ง 22.4 3 5-6 ครั้ง/สัปดาห์ 8.0 4 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ 9.2 5 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ 7.9 6 น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 5.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุเว็บไซต์ที่ใช้เข้า Social Media(เฉพาะตัวอย่างที่ใช้ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ เว็บไซต์ที่ใช้เข้า Social Media ค่าร้อยละ 1 Facebook 98.6 2 Twitter 21.6 3 Hi5 13.9 4 MySpace 4.8 5 Blogger 1.4 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุเหตุผลที่ใช้ Social Media จำแนกตามช่วงอายุ (เฉพาะตัวอย่างที่ใช้และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ เหตุผลที่ใช้ Social Media ค่าร้อยละ 1 พูดคุย ติดตามข่าวสารของเพื่อน/คนรู้จัก 94.5 2 อัพเดตสถานะ/รูปภาพ/ข่าวสาร/สถานการณ์ทั่วไป 63.4 3 เล่นเกมส์ 34.0 4 ระบายอารมณ์/ความรู้สึก 31.7 5 พูดคุย ติดตามข่าวสารของคนในครอบครัว 30.0 6 หาคู่/แฟน/เพื่อนใหม่ในสังคมออนไลน์ 25.0 7 ติดตามงาน 18.9 8 ซื้อ/ขายสินค้า/ทำธุรกิจออนไลน์ 9.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ Social Media(เฉพาะตัวอย่างที่ใช้และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ Social Media ค่าร้อยละ 1 ทำให้ติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่ไกลได้ 81.6 2 ทำให้รู้ว่าเพื่อนเก่าอยู่ที่ไหน ทำอะไร 71.9 3 ทำให้ได้พูดคุยกับคนหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน 68.8 4 ทำให้ได้พูดคุยกับคนอื่นได้บ่อยขึ้น 67.3 5 ทำให้กล้าที่จะพูดคุยมากกว่าการสื่อสารโดยตรง เช่น การพูดคุยต่อหน้า / ทางโทรศัพท์ 55.9 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุปัญหาที่เคยประสบจากการใช้ Social Media(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัญหาที่เคยประสบจากการใช้ Social Media ค่าร้อยละ 1 พบเจอสื่ออนาจาร 46.3 2 มีเวลาพักผ่อนน้อย กระทบต่อการเรียน/การงาน 39.0 3 ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล 27.0 4 ทะเลาะ / มีปัญหากับผู้อื่น 25.7 5 ปัญหาสุขภาพจิต เช่น กระสับกระส่าย หงุดหงิดเมื่อไม่ได้ใช้ 19.0 6 ถูกหลอกลวงต้มตุ๋น 13.0 7 ปัญหาสุขภาพ เช่น นิ้วล็อค กล้ามเนื้ออักเสบ 10.4 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุวิธีการป้องกันภัยที่อาจแฝงมากับโลกของ Social Media(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ วิธีการป้องกันภัยที่อาจแฝงมากับโลกของ Social Media ค่าร้อยละ 1 เรียนรู้ถึงข้อดีและข้อเสียของการใช้ Social Media 63.8 2 ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภัยที่เกิดขึ้นตามสื่อต่างๆ 50.8 3 ให้ความรู้ต่อลูก / หลานหรือคนในครอบครัว 41.5 4 ไม่สร้าง Social Mediaกับคนที่ไม่รู้จัก 33.5 5 สอดส่องดูแลการใช้ Social Media ของบุตรหลาน 28.3 6 พ่อ / แม่ ผู้ปกครองควรปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีในปัจจุบัน 19.7
--เอแบคโพลล์--