ที่มาของโครงการ
ตั้งแต่เริ่มศักราชใหม่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมายที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในสายตาประชาชน ที่สำคัญคือปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบ ลงได้ ทำให้สาธารณะชนต่างกำลังจับตามองว่าในที่สุดแล้ว รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะสามารถดำเนินมาตรการเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงของปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม นอกจากปัญหาความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ปัญหาที่ท้าทายและรอการแก้ไขจากรัฐบาลอย่างเร่งด่วนอีกปัญหาหนึ่งก็คือการติดตามคลี่คลายคดีการลักพาตัวทนายความชื่อดัง ซึ่งถึงแม้ดูเหมือนว่าจะมีความคืบหน้าในการดำเนินการ แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ กับตัวผู้บงการได้ ความวุ่นวายต่างๆ ดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มีกระแสข่าวออกมาว่ารัฐบาลอาจมีการยุบสภาก่อนครบวาระ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นและความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามประเด็นข่าวสำคัญทางการเมืองและสังคมของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และข่าวการลักพาตัวทนายสมชาย นีละไพจิตร
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวการยุบสภาก่อนครบวาระ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในรัฐบาลและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จากกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐพัวพันการลักพาตัวทนายสมชาย: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 10 เมษายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,181 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.0 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 49.0 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 17.2 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 15.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 7.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 65.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 30.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 35.4 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 22.3 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 17.5 ค้าขาย / อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.7 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.2 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ ร้อยละ 1.9 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน เกษียณอายุ เกษตรกร ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามประเด็นข่าวสำคัญทางการเมืองและสังคม
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 32.1
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 65.4
3 ไม่ได้ติดตามเลย 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับฟังรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนผ่านทางวิทยุ
ลำดับที่ การติดตามรับฟังรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนผ่านทางวิทยุ ค่าร้อยละ
1 ติดตามรับฟังเป็นประจำทุกสัปดาห์ 10.7
2 1-3 ครั้ง ต่อเดือน 21.9
3 นานๆครั้ง /น้อยกว่าเดือนละครั้ง 43.2
4 ไม่เคยรับฟังเลย 24.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับฟังรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนในปัจจุบัน
(เฉพาะตัวอย่างที่ระบุเคยติดตามรับฟัง)
ลำดับที่ การติดตามรับฟังรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ยังคงติดตามรับฟังอยู่ 38.9
2 ไม่ได้ติดตามแล้ว 61.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี มีคนบงการที่เป็นข้าราชการระดับสูงอยู่เบื้องหลัง
การลักพาตัวทนายสมชาย นีละไพจิตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณี มีคนบงการที่เป็นข้าราชการระดับสูงอยู่ เบื้องหลังการลักพาตัวทนายสมชาย นีละไพจิตร ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 66.5
2 ไม่เชื่อว่ามี 4.2
3 ไม่มีความเห็น 29.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกระบวนการยุติธรรมในการเอาผิดลงโทษผู้ลักพาตัวทนายสมชาย
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อกระบวนการยุติธรรมในการเอาผิดลงโทษผู้ลักพาตัวทนายสมชาย ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 22.2
2 ไม่มั่นใจ 62.5
3 ไม่มีความเห็น 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหวังที่ว่า ทนายสมชายจะได้รับการปล่อยตัวอย่างปลอดภัยจากกลุ่มที่ลักพาตัวไป
ลำดับที่ ความหวังของประชาชน ค่าร้อยละ
1 มีความหวังอยู่ 24.8
2 ไม่มีความหวัง 61.9
3 ไม่มีความเห็น 13.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อปัญหาความไม่สงบในภาคใต้จะรุนแรงและบานปลายมาถึงในกรุงเทพฯ
ถ้าทนายสมชายไม่ได้รับความปลอดภัย
ลำดับที่ ความเชื่อต่อความรุนแรงของปัญหา ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะรุนแรงและบานปลายถึงในกรุงเทพฯ 53.6
2 ไม่เชื่อ 34.2
3 ไม่มีความเห็น 12.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลว่าจะมีการก่อวินาศกรรมในช่วงสงกรานต์
ลำดับที่ ความวิตกกังวลว่าจะมีการก่อวินาศกรรมในช่วงสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 วิตกกังวลว่าอาจจะมีการก่อวินาศกรรม 42.8
2 ไม่วิตกกังวล 44.7
3 ไม่มีความเห็น 12.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าเชื่อถือต่อรัฐบาลในขณะนี้
ลำดับที่ ความน่าเชื่อถือต่อรัฐบาลในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 มาก 10.0
2 ค่อนข้างมาก 35.3
3 ค่อนข้างน้อย 36.1
4 น้อย 9.7
5 ไม่มีความเห็น 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดของรัฐบาลที่จะให้มีการยุบสภาก่อนครบวาระ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวคิดของรัฐบาลที่จะให้มีการยุบสภาก่อนครบวาระ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 18.1
2 ไม่เห็นด้วย 51.2
3 ไม่มีความเห็น 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ต้องการให้เข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาล หากมีการเลือกตั้งครั้งใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ต้องการให้เข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาล หากมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 ไทยรักไทย 51.7
2 ประชาธิปัตย์ 34.2
3 ชาติไทย 14.7
4 ชาติพัฒนา 14.3
5 อื่นๆ ประชากรไทย ความหวังใหม่ มวลชน เป็นต้น 1.1
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "สำรวจผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในรัฐบาล และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จากกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐพัวพันการลักพาตัวทนายสมชาย" ในครั้งนี้ ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,181 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9-10 เมษายน 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจความคิดเห็น เมื่อสอบถามประชาชนถึงการติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคม พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองและสังคม โดยร้อยละ 65.4 ระบุติดตามบ้างเป็นบางครั้ง ร้อยละ 32.1 ระบุติดตามเป็นประจำ ซึ่งมีตัวอย่างเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น ที่ระบุว่าไม่ได้ติดตามเลย อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามตัวอย่างเหล่านั้นถึงการติดตามรับฟังรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนผ่านทางวิทยุ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ 43.2 ระบุติดตามน้อยกว่าเดือนละครั้ง/ นานๆ ครั้ง ร้อยละ 21.9 ระบุติดตาม 1-3 ครั้ง /เดือน ร้อยละ 10.7 ระบุติดตามรับฟังเป็นประจำทุกสัปดาห์ ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 24.2 ระบุไม่เคยติดตามรับฟังรายการ ดังกล่าวเลย โดยตัวอย่างที่เคยติดตามรับฟังนั้น ร้อยละ 38.9 ระบุว่าปัจจุบันยังคงติดตามรับฟังอยู่ ในขณะที่ ร้อยละ 61.1 ระบุไม่ได้ติดตามรับฟังแล้ว
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ ความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อกรณีผู้บงการที่อยู่เบื้องหลังการ ลักพาตัวนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความชื่อดัง และประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ซึ่งตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 66.5 ระบุเชื่อว่ามีคนบงการที่เป็นข้าราชการระดับสูงอยู่เบื้องหลังการลักพาตัว ในขณะที่มีตัวอย่างเพียง ร้อยละ 4.2 เท่านั้นที่ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 29.3 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 62.5 ระบุไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมว่าจะสามารถเอาผิดลงโทษผู้ลักพาตัวทนายสมชายได้ ในขณะที่ร้อยละ 22.2 ระบุมั่นใจ และ ร้อยละ 15.3 ไม่ระบุความคิดเห็นเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความหวังที่ทนายสมชายจะได้รับการปล่อยตัวอย่างปลอดภัยจากกลุ่มที่ลักพาตัวไปนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 61.9 ระบุไม่มีความหวัง ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ระบุยังมี ความหวังอยู่ และร้อยละ 13.3 ไม่ระบุความคิดเห็น ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 53.6 ระบุเชื่อว่าปัญหาความไม่สงบในภาคใต้จะทวีความรุนแรงและบานปลายมาถึงกรุงเทพฯ ถ้าหากทนายสมชายไม่ได้รับความปลอดภัย ในขณะที่ร้อยละ 34.2 ระบุไม่เชื่อเช่นนั้น และร้อยละ 12.2 ไม่ระบุความเห็น
สำหรับความวิตกกังวลของตัวอย่างเกี่ยวกับการก่อวินาศกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.8 ระบุมีความวิตกกังวลว่าอาจจะเกิดการก่อวินาศกรรมขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ในขณะที่ ร้อยละ 44.7 ระบุไม่รู้สึกวิตกกังวล และร้อยละ 12.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นทางการเมือง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.8 จะระบุว่าความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในขณะนี้อยู่ในระดับน้อย/ ค่อนข้างน้อย ในขณะที่ร้อยละ 45.3 ระบุความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในขณะนี้ยังคงอยู่ในระดับ มาก/ค่อนข้างมาก โดยตัวอย่างร้อยละ 8.9 ระบุไม่มีความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 51.2 ระบุไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดของรัฐบาลที่จะให้มีการยุบสภาก่อนครบวาระ ในขณะที่ร้อยละ 18.1 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 30.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามว่า หากมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคการเมืองใดบ้างที่ควรร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 51.7 ระบุต้องการพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 34.2 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 14.7 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ 14.3 ระบุพรรคชาติพัฒนา และร้อยละ 1.1.พรรคอื่นๆ อาทิ ประชากรไทย ความหวังใหม่ เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
ตั้งแต่เริ่มศักราชใหม่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมายที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในสายตาประชาชน ที่สำคัญคือปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบ ลงได้ ทำให้สาธารณะชนต่างกำลังจับตามองว่าในที่สุดแล้ว รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะสามารถดำเนินมาตรการเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงของปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม นอกจากปัญหาความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ปัญหาที่ท้าทายและรอการแก้ไขจากรัฐบาลอย่างเร่งด่วนอีกปัญหาหนึ่งก็คือการติดตามคลี่คลายคดีการลักพาตัวทนายความชื่อดัง ซึ่งถึงแม้ดูเหมือนว่าจะมีความคืบหน้าในการดำเนินการ แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ กับตัวผู้บงการได้ ความวุ่นวายต่างๆ ดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มีกระแสข่าวออกมาว่ารัฐบาลอาจมีการยุบสภาก่อนครบวาระ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นและความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามประเด็นข่าวสำคัญทางการเมืองและสังคมของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และข่าวการลักพาตัวทนายสมชาย นีละไพจิตร
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวการยุบสภาก่อนครบวาระ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในรัฐบาลและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จากกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐพัวพันการลักพาตัวทนายสมชาย: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 10 เมษายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,181 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.0 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 49.0 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 17.2 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 15.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 7.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 65.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 30.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 35.4 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 22.3 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 17.5 ค้าขาย / อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.7 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.2 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ ร้อยละ 1.9 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน เกษียณอายุ เกษตรกร ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามประเด็นข่าวสำคัญทางการเมืองและสังคม
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 32.1
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 65.4
3 ไม่ได้ติดตามเลย 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับฟังรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนผ่านทางวิทยุ
ลำดับที่ การติดตามรับฟังรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนผ่านทางวิทยุ ค่าร้อยละ
1 ติดตามรับฟังเป็นประจำทุกสัปดาห์ 10.7
2 1-3 ครั้ง ต่อเดือน 21.9
3 นานๆครั้ง /น้อยกว่าเดือนละครั้ง 43.2
4 ไม่เคยรับฟังเลย 24.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับฟังรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนในปัจจุบัน
(เฉพาะตัวอย่างที่ระบุเคยติดตามรับฟัง)
ลำดับที่ การติดตามรับฟังรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ยังคงติดตามรับฟังอยู่ 38.9
2 ไม่ได้ติดตามแล้ว 61.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี มีคนบงการที่เป็นข้าราชการระดับสูงอยู่เบื้องหลัง
การลักพาตัวทนายสมชาย นีละไพจิตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณี มีคนบงการที่เป็นข้าราชการระดับสูงอยู่ เบื้องหลังการลักพาตัวทนายสมชาย นีละไพจิตร ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 66.5
2 ไม่เชื่อว่ามี 4.2
3 ไม่มีความเห็น 29.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกระบวนการยุติธรรมในการเอาผิดลงโทษผู้ลักพาตัวทนายสมชาย
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อกระบวนการยุติธรรมในการเอาผิดลงโทษผู้ลักพาตัวทนายสมชาย ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 22.2
2 ไม่มั่นใจ 62.5
3 ไม่มีความเห็น 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหวังที่ว่า ทนายสมชายจะได้รับการปล่อยตัวอย่างปลอดภัยจากกลุ่มที่ลักพาตัวไป
ลำดับที่ ความหวังของประชาชน ค่าร้อยละ
1 มีความหวังอยู่ 24.8
2 ไม่มีความหวัง 61.9
3 ไม่มีความเห็น 13.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อปัญหาความไม่สงบในภาคใต้จะรุนแรงและบานปลายมาถึงในกรุงเทพฯ
ถ้าทนายสมชายไม่ได้รับความปลอดภัย
ลำดับที่ ความเชื่อต่อความรุนแรงของปัญหา ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะรุนแรงและบานปลายถึงในกรุงเทพฯ 53.6
2 ไม่เชื่อ 34.2
3 ไม่มีความเห็น 12.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลว่าจะมีการก่อวินาศกรรมในช่วงสงกรานต์
ลำดับที่ ความวิตกกังวลว่าจะมีการก่อวินาศกรรมในช่วงสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 วิตกกังวลว่าอาจจะมีการก่อวินาศกรรม 42.8
2 ไม่วิตกกังวล 44.7
3 ไม่มีความเห็น 12.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าเชื่อถือต่อรัฐบาลในขณะนี้
ลำดับที่ ความน่าเชื่อถือต่อรัฐบาลในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 มาก 10.0
2 ค่อนข้างมาก 35.3
3 ค่อนข้างน้อย 36.1
4 น้อย 9.7
5 ไม่มีความเห็น 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดของรัฐบาลที่จะให้มีการยุบสภาก่อนครบวาระ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวคิดของรัฐบาลที่จะให้มีการยุบสภาก่อนครบวาระ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 18.1
2 ไม่เห็นด้วย 51.2
3 ไม่มีความเห็น 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ต้องการให้เข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาล หากมีการเลือกตั้งครั้งใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ต้องการให้เข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาล หากมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 ไทยรักไทย 51.7
2 ประชาธิปัตย์ 34.2
3 ชาติไทย 14.7
4 ชาติพัฒนา 14.3
5 อื่นๆ ประชากรไทย ความหวังใหม่ มวลชน เป็นต้น 1.1
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "สำรวจผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในรัฐบาล และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จากกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐพัวพันการลักพาตัวทนายสมชาย" ในครั้งนี้ ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,181 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9-10 เมษายน 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจความคิดเห็น เมื่อสอบถามประชาชนถึงการติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคม พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองและสังคม โดยร้อยละ 65.4 ระบุติดตามบ้างเป็นบางครั้ง ร้อยละ 32.1 ระบุติดตามเป็นประจำ ซึ่งมีตัวอย่างเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น ที่ระบุว่าไม่ได้ติดตามเลย อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามตัวอย่างเหล่านั้นถึงการติดตามรับฟังรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนผ่านทางวิทยุ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ 43.2 ระบุติดตามน้อยกว่าเดือนละครั้ง/ นานๆ ครั้ง ร้อยละ 21.9 ระบุติดตาม 1-3 ครั้ง /เดือน ร้อยละ 10.7 ระบุติดตามรับฟังเป็นประจำทุกสัปดาห์ ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 24.2 ระบุไม่เคยติดตามรับฟังรายการ ดังกล่าวเลย โดยตัวอย่างที่เคยติดตามรับฟังนั้น ร้อยละ 38.9 ระบุว่าปัจจุบันยังคงติดตามรับฟังอยู่ ในขณะที่ ร้อยละ 61.1 ระบุไม่ได้ติดตามรับฟังแล้ว
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ ความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อกรณีผู้บงการที่อยู่เบื้องหลังการ ลักพาตัวนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความชื่อดัง และประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ซึ่งตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 66.5 ระบุเชื่อว่ามีคนบงการที่เป็นข้าราชการระดับสูงอยู่เบื้องหลังการลักพาตัว ในขณะที่มีตัวอย่างเพียง ร้อยละ 4.2 เท่านั้นที่ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 29.3 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 62.5 ระบุไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมว่าจะสามารถเอาผิดลงโทษผู้ลักพาตัวทนายสมชายได้ ในขณะที่ร้อยละ 22.2 ระบุมั่นใจ และ ร้อยละ 15.3 ไม่ระบุความคิดเห็นเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความหวังที่ทนายสมชายจะได้รับการปล่อยตัวอย่างปลอดภัยจากกลุ่มที่ลักพาตัวไปนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 61.9 ระบุไม่มีความหวัง ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ระบุยังมี ความหวังอยู่ และร้อยละ 13.3 ไม่ระบุความคิดเห็น ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 53.6 ระบุเชื่อว่าปัญหาความไม่สงบในภาคใต้จะทวีความรุนแรงและบานปลายมาถึงกรุงเทพฯ ถ้าหากทนายสมชายไม่ได้รับความปลอดภัย ในขณะที่ร้อยละ 34.2 ระบุไม่เชื่อเช่นนั้น และร้อยละ 12.2 ไม่ระบุความเห็น
สำหรับความวิตกกังวลของตัวอย่างเกี่ยวกับการก่อวินาศกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.8 ระบุมีความวิตกกังวลว่าอาจจะเกิดการก่อวินาศกรรมขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ในขณะที่ ร้อยละ 44.7 ระบุไม่รู้สึกวิตกกังวล และร้อยละ 12.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นทางการเมือง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.8 จะระบุว่าความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในขณะนี้อยู่ในระดับน้อย/ ค่อนข้างน้อย ในขณะที่ร้อยละ 45.3 ระบุความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในขณะนี้ยังคงอยู่ในระดับ มาก/ค่อนข้างมาก โดยตัวอย่างร้อยละ 8.9 ระบุไม่มีความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 51.2 ระบุไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดของรัฐบาลที่จะให้มีการยุบสภาก่อนครบวาระ ในขณะที่ร้อยละ 18.1 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 30.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามว่า หากมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคการเมืองใดบ้างที่ควรร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 51.7 ระบุต้องการพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 34.2 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 14.7 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ 14.3 ระบุพรรคชาติพัฒนา และร้อยละ 1.1.พรรคอื่นๆ อาทิ ประชากรไทย ความหวังใหม่ เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-