ที่มาของโครงการ
ตามที่รัฐบาลได้จัดส่งทหารไทยกองกำลังที่ 976 ไปประจำการที่ค่ายลิม่า ประเทศอิรัก เพื่อปฏิบัติหน้าที่ด้านมนุษยธรรมนั้น บัดนี้สถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศอิรักได้รุนแรงเพิ่มมากขึ้นจนหลายฝ่ายได้ออกมาถกเถียงกันถึงเรื่องการ "ถอนทหารไทย" ออกจากประเทศอิรัก สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศในประเด็นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์การสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการ "ถอนทหารไทย" ออกจากประเทศอิรัก
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้เข้าใจความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดบทบาทของทหารไทยในประเทศอิรัก
2. เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของสถาบันทางสังคมและการเมืองที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ความคิดเห็นต่อการถอนทหารไทยออกจากประเทศอิรัก : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15 - 24 เมษายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และนครศรีธรรมราช
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจประชาชนทั่วไป 2,571 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่าตัวอย่างร้อยละ 58.8 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 41.2 ระบุเป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 25.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี และร้อยละ 6.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 32.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 27.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ปลาย/ ปวช. ร้อยละ 8.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา และร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 25.8 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ ร้อยละ 15.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 15.5 ระบุแม่บ้าน / เกษียณ ร้อยละ 13.2 ระบุอาชีพข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 9.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นเกษตรกร และร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมในการส่งทหารไปประเทศอิรัก
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เหมาะสม 36.7
2 ไม่เหมาะสม 38.2
3 ไม่มีความเห็น 25.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่าเหมาะสม ให้เหตุผลว่า
-เป็นการทำงานเพื่อมนุษยธรรม
-เป็นการช่วยเหลือประชาชนชาวอิรัก
-เพื่อทำงานด้านสันติภาพของโลก ฯลฯกลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่าไม่เหมาะสม ให้เหตุผลว่า
- สถานการณ์ยังไม่เอื้อต่อการเดินทางไปประเทศอิรัก - เกรงว่าจะมีผลประโยชน์อื่นๆ แอบแฝง
- เกรงว่าจะตกเป็นเครื่องมือของประเทศมหาอำนาจบางประเทศ
- เกรงว่าทหารไทยจะเป็นอันตราย ฯลฯ
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีการถอนทหารไทยออกจากประเทศอิรัก
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เห็นด้วย 57.2
2 ไม่เห็นด้วย 22.3
3 ไม่มีความเห็น 20.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่าเห็นด้วย ให้เหตุผลว่า
- สถานการณ์ในประเทศอิรักรุนแรงเกินไป ทำให้เป็นห่วงความปลอดภัยของทหาร
- ไม่ใช่ปัญหาของประเทศไทย / ประเทศไทยไม่ควรไปยุ่งกับประเทศอิรักตั้งแต่แรก
- ทหารไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาภายในประเทศได้เลย / ควรส่งทหารมาช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้แทน
- ไม่สามารถช่วยประเทศอิรักได้เลย / ไม่มีประโยชน์ที่จะให้ทหารไทยอยู่ต่อ
- สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของทหารไทย ฯลฯ
กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่าไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่า
- ควรจะปฏิบัติภารกิจให้เสร็จสิ้นก่อน / ควรช่วยฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ควรคำนึงถึงมนุษยธรรม / ถือว่าเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
- ทหารที่ไปประเทศอิรัก เป็นความสมัครใจของเขาเอง
- เป็นการช่วยเหลือสหประชาชาติ ฯลฯ
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการสื่อไปยังกองทัพไทยในประเทศอิรัก ถ้ารัฐบาลไม่ดำเนินการ
ถอนกำลังกลับมายังประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการสื่อไปยังกองทัพไทยในประเทศอิรัก ร้อยละ
1 ต้องการส่งกำลังใจและขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้ปลอดภัย 85.1
2 ต้องการให้ทำหน้าที่เพื่อมนุษยธรรมให้ดีที่สุด 76.8
3 ต้องการให้บรรลุความสำเร็จในเป้าหมายที่กองทัพไทยกำหนดไว้ 72.4
4 ต้องการให้ทหารไทยมีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 70.1
5 ต้องการให้ทหารไทยมีสุขภาพแข็งแรง 64.6
6 ต้องการให้ผู้บังคับบัญชาดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างดีและทั่วถึง 62.3
7 ต้องการให้ทหารไทยอดทนและทำหน้าที่เพื่อภาพลักษณ์ของกองทัพไทยอย่างดีที่สุด 57.8
8 อื่นๆ อาทิ ต้องการให้ทหารไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนชาวอิรัก / ขอให้รัฐบาลรีบดำเนินการ
ถอนกำลังทหารไทยกลับมาโดยเร็ว / ขอให้รัฐบาลมีรางวัลตอบแทนทหารไทยที่เสียสละในการปฏิบัติ
หน้าที่นี้อย่างเต็มที่ เป็นต้น 44.7
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจเรื่อง "ความคิดเห็นต่อการถอนทหารไทยออกจากประเทศอิรัก" ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และนครศรีธรรมราช โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 2,571 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15 - 24 เมษายน 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจความคิดเห็น เมื่อสอบถามประชาชนถึงความเหมาะสมในการส่งทหารไทยไปประเทศอิรัก ตัวอย่างร้อยละ 38.2 ระบุไม่เหมาะสม ร้อยละ 36.7 ระบุเหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 25.1 ไม่มีความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างที่ระบุไม่เหมาะสมได้ระบุเหตุผลว่า สถานการณ์ยังไม่เอื้อต่อการเดินทางไปประเทศอิรัก / เกรงว่าจะตกเป็นเครื่องมือของประเทศมหาอำนาจบางประเทศ / เกรงว่าจะมีผลประโยชน์อื่นๆ แอบแฝง เป็นต้น สำหรับตัวอย่างที่ระบุเหมาะสมได้ระบุเหตุผลว่า เป็นการทำงานเพื่อมนุษยธรรม / เป็นการช่วยเหลือประชาชนชาวอิรัก / เพื่อทำงานด้านสันติภาพของโลก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบตัวอย่างเหล่านั้นต่อกรณีการถอนทหารไทยออกจากประเทศอิรัก พบว่า ตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่ง คือ ร้อยละ 57.2 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 22.3 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.5 ไม่มีความคิดเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงเหตุผลของความคิดเห็นดังกล่าวข้างต้น พบว่า ในตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยกับการถอนทหารออกจากประเทศอิรักนั้น ได้ให้เหตุผลที่สำคัญคือ สถานการณ์ในประเทศอิรักรุนแรงเกินไป ทำให้เป็นห่วงความปลอดภัยของทหารไทย / ประเทศไทยไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวตั้งแต่แรก เพราะไม่ใช่ปัญหาของประเทศไทย / ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ควรส่งทหารมาช่วยแก้ไขปัญหานี้ก่อน เป็นต้น ในขณะที่ตัวอย่างที่ระบุไม่เห็นด้วย ได้ให้เหตุผลที่สำคัญดังต่อไปนี้ ต้องการให้ปฏิบัติภารกิจให้เสร็จสิ้นก่อน / ควรอยู่ช่วยฟื้นฟูประเทศอิรัก / ควรคำนึงถึงมนุษยธรรม / ถือว่าเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ / เป็นความสมัครใจของทหารที่จะไปประเทศอิรัก / เป็นการช่วยเหลือสหประชาชาติ ตามลำดับ
สำหรับสิ่งที่ตัวอย่างต้องการสื่อไปยังกองทัพไทยในประเทศอิรัก ถ้ารัฐบาลไม่ดำเนินการถอนกำลังกลับมายังประเทศนั้น ตัวอย่างร้อยละ 85.1 ต้องการส่งกำลังใจและขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้ปลอดภัย ร้อยละ 76.8 ต้องการให้ทหารไทยทำหน้าที่เพื่อมนุษยธรรมให้ดีที่สุด ร้อยละ 72.4 ต้องการให้บรรลุความสำเร็จในเป้าหมายที่กองทัพไทยกำหนดไว้ ร้อยละ 70.1 ต้องการให้ทหารไทยมีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
ตามที่รัฐบาลได้จัดส่งทหารไทยกองกำลังที่ 976 ไปประจำการที่ค่ายลิม่า ประเทศอิรัก เพื่อปฏิบัติหน้าที่ด้านมนุษยธรรมนั้น บัดนี้สถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศอิรักได้รุนแรงเพิ่มมากขึ้นจนหลายฝ่ายได้ออกมาถกเถียงกันถึงเรื่องการ "ถอนทหารไทย" ออกจากประเทศอิรัก สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศในประเด็นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์การสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการ "ถอนทหารไทย" ออกจากประเทศอิรัก
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้เข้าใจความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดบทบาทของทหารไทยในประเทศอิรัก
2. เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของสถาบันทางสังคมและการเมืองที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ความคิดเห็นต่อการถอนทหารไทยออกจากประเทศอิรัก : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15 - 24 เมษายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และนครศรีธรรมราช
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจประชาชนทั่วไป 2,571 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่าตัวอย่างร้อยละ 58.8 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 41.2 ระบุเป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 25.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี และร้อยละ 6.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 32.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 27.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ปลาย/ ปวช. ร้อยละ 8.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา และร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 25.8 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ ร้อยละ 15.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 15.5 ระบุแม่บ้าน / เกษียณ ร้อยละ 13.2 ระบุอาชีพข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 9.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นเกษตรกร และร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมในการส่งทหารไปประเทศอิรัก
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เหมาะสม 36.7
2 ไม่เหมาะสม 38.2
3 ไม่มีความเห็น 25.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่าเหมาะสม ให้เหตุผลว่า
-เป็นการทำงานเพื่อมนุษยธรรม
-เป็นการช่วยเหลือประชาชนชาวอิรัก
-เพื่อทำงานด้านสันติภาพของโลก ฯลฯกลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่าไม่เหมาะสม ให้เหตุผลว่า
- สถานการณ์ยังไม่เอื้อต่อการเดินทางไปประเทศอิรัก - เกรงว่าจะมีผลประโยชน์อื่นๆ แอบแฝง
- เกรงว่าจะตกเป็นเครื่องมือของประเทศมหาอำนาจบางประเทศ
- เกรงว่าทหารไทยจะเป็นอันตราย ฯลฯ
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีการถอนทหารไทยออกจากประเทศอิรัก
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 เห็นด้วย 57.2
2 ไม่เห็นด้วย 22.3
3 ไม่มีความเห็น 20.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่าเห็นด้วย ให้เหตุผลว่า
- สถานการณ์ในประเทศอิรักรุนแรงเกินไป ทำให้เป็นห่วงความปลอดภัยของทหาร
- ไม่ใช่ปัญหาของประเทศไทย / ประเทศไทยไม่ควรไปยุ่งกับประเทศอิรักตั้งแต่แรก
- ทหารไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาภายในประเทศได้เลย / ควรส่งทหารมาช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้แทน
- ไม่สามารถช่วยประเทศอิรักได้เลย / ไม่มีประโยชน์ที่จะให้ทหารไทยอยู่ต่อ
- สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของทหารไทย ฯลฯ
กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่าไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่า
- ควรจะปฏิบัติภารกิจให้เสร็จสิ้นก่อน / ควรช่วยฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ควรคำนึงถึงมนุษยธรรม / ถือว่าเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
- ทหารที่ไปประเทศอิรัก เป็นความสมัครใจของเขาเอง
- เป็นการช่วยเหลือสหประชาชาติ ฯลฯ
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการสื่อไปยังกองทัพไทยในประเทศอิรัก ถ้ารัฐบาลไม่ดำเนินการ
ถอนกำลังกลับมายังประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการสื่อไปยังกองทัพไทยในประเทศอิรัก ร้อยละ
1 ต้องการส่งกำลังใจและขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้ปลอดภัย 85.1
2 ต้องการให้ทำหน้าที่เพื่อมนุษยธรรมให้ดีที่สุด 76.8
3 ต้องการให้บรรลุความสำเร็จในเป้าหมายที่กองทัพไทยกำหนดไว้ 72.4
4 ต้องการให้ทหารไทยมีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 70.1
5 ต้องการให้ทหารไทยมีสุขภาพแข็งแรง 64.6
6 ต้องการให้ผู้บังคับบัญชาดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างดีและทั่วถึง 62.3
7 ต้องการให้ทหารไทยอดทนและทำหน้าที่เพื่อภาพลักษณ์ของกองทัพไทยอย่างดีที่สุด 57.8
8 อื่นๆ อาทิ ต้องการให้ทหารไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนชาวอิรัก / ขอให้รัฐบาลรีบดำเนินการ
ถอนกำลังทหารไทยกลับมาโดยเร็ว / ขอให้รัฐบาลมีรางวัลตอบแทนทหารไทยที่เสียสละในการปฏิบัติ
หน้าที่นี้อย่างเต็มที่ เป็นต้น 44.7
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจเรื่อง "ความคิดเห็นต่อการถอนทหารไทยออกจากประเทศอิรัก" ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และนครศรีธรรมราช โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 2,571 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15 - 24 เมษายน 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจความคิดเห็น เมื่อสอบถามประชาชนถึงความเหมาะสมในการส่งทหารไทยไปประเทศอิรัก ตัวอย่างร้อยละ 38.2 ระบุไม่เหมาะสม ร้อยละ 36.7 ระบุเหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 25.1 ไม่มีความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างที่ระบุไม่เหมาะสมได้ระบุเหตุผลว่า สถานการณ์ยังไม่เอื้อต่อการเดินทางไปประเทศอิรัก / เกรงว่าจะตกเป็นเครื่องมือของประเทศมหาอำนาจบางประเทศ / เกรงว่าจะมีผลประโยชน์อื่นๆ แอบแฝง เป็นต้น สำหรับตัวอย่างที่ระบุเหมาะสมได้ระบุเหตุผลว่า เป็นการทำงานเพื่อมนุษยธรรม / เป็นการช่วยเหลือประชาชนชาวอิรัก / เพื่อทำงานด้านสันติภาพของโลก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบตัวอย่างเหล่านั้นต่อกรณีการถอนทหารไทยออกจากประเทศอิรัก พบว่า ตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่ง คือ ร้อยละ 57.2 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 22.3 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.5 ไม่มีความคิดเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงเหตุผลของความคิดเห็นดังกล่าวข้างต้น พบว่า ในตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยกับการถอนทหารออกจากประเทศอิรักนั้น ได้ให้เหตุผลที่สำคัญคือ สถานการณ์ในประเทศอิรักรุนแรงเกินไป ทำให้เป็นห่วงความปลอดภัยของทหารไทย / ประเทศไทยไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวตั้งแต่แรก เพราะไม่ใช่ปัญหาของประเทศไทย / ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ควรส่งทหารมาช่วยแก้ไขปัญหานี้ก่อน เป็นต้น ในขณะที่ตัวอย่างที่ระบุไม่เห็นด้วย ได้ให้เหตุผลที่สำคัญดังต่อไปนี้ ต้องการให้ปฏิบัติภารกิจให้เสร็จสิ้นก่อน / ควรอยู่ช่วยฟื้นฟูประเทศอิรัก / ควรคำนึงถึงมนุษยธรรม / ถือว่าเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ / เป็นความสมัครใจของทหารที่จะไปประเทศอิรัก / เป็นการช่วยเหลือสหประชาชาติ ตามลำดับ
สำหรับสิ่งที่ตัวอย่างต้องการสื่อไปยังกองทัพไทยในประเทศอิรัก ถ้ารัฐบาลไม่ดำเนินการถอนกำลังกลับมายังประเทศนั้น ตัวอย่างร้อยละ 85.1 ต้องการส่งกำลังใจและขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้ปลอดภัย ร้อยละ 76.8 ต้องการให้ทหารไทยทำหน้าที่เพื่อมนุษยธรรมให้ดีที่สุด ร้อยละ 72.4 ต้องการให้บรรลุความสำเร็จในเป้าหมายที่กองทัพไทยกำหนดไว้ ร้อยละ 70.1 ต้องการให้ทหารไทยมีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-