ที่มาของโครงการ
ข่าวทนายความชื่อดัง นายสมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ซึ่งหายตัวไปตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ได้รับความสนใจและเป็นที่จับตามองจากหลายๆ ฝ่ายว่าในที่สุดแล้วภาครัฐจะสามารถดำเนินงานเพื่อคลี่คลายคดีดังกล่าวได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีกระแสการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างต่อเนื่องถึงประเด็นที่ทำให้ทนายสมชายถูกลักพาตัวว่า อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้
แม้ว่าที่ผ่านมาคณะทำงานติดตามสอบสวนคลี่คลายคดีดังกล่าว จะได้ออกมาเปิดเผยอยู่เสมอถึงความคืบหน้าในการทำงาน ทั้งการรวบรวมพยานหลักฐาน และการสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่ทว่าถึงวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังไม่สามารถดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ต้องหา ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นและปิดบังซ่อนเร้นทำลายศพได้ เพราะว่ายังไม่พบศพของทนายสมชายและยิ่งนานวันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยิ่งสั่นคลอนความมั่นใจของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่รัฐในการรับผิดชอบดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมากยิ่งขึ้นทุกขณะ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและตัวแทนจังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศรวม 17 จังหวัด ถึงประเด็นความคิดเห็นและความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจสถานการณ์ปัญหา และประสบการณ์เกี่ยวกับการถูกลักพาตัว
2.เพื่อสำรวจความวิตกกังวลของประชาชนต่อปัญหาการลักพาตัว
3.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติการลักพาตัวโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
4.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางการแก้ปัญหาการลักพาตัวโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ความวิตกกังวลต่อปัญหาการลักพาตัว: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 12 -28 เมษายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา อุบลราชธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี อ่างทอง สระแก้ว ปัตตานี ยะลา ตรัง และนครศรีธรรมราชเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น จำนวน 2,014 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง+/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.8 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.2 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 25.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี และร้อยละ 6.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 70.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 24.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 28.5 ระบุอาชีพค้าขาย /อาชีพอิสระ ร้อยละ 19.6 เป็นพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 16.0 ระบุอาชีพ เกษตรกร/ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 13.4 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.2 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 8.8 เป็นแม่บ้าน / เกษียณอายุ ในขณะที่ ร้อยละ 2.5 ไม่ได้ประกอบอาชีพ /ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการลักพาตัว "ทนายสมชาย นีละไพจิตร
(ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม)"
ลำดับที่ การติดตามข่าว "การลักพาตัวทนายสมชาย" ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 18.0
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 69.2
3 ไม่ได้ติดตาม 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวว่า "มีเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวคนในจังหวัด
ของตน ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา"
ลำดับที่ การรับทราบข่าวว่า "มีเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวคนในจังหวัดของตนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา" ค่าร้อยละ
1 เคยทราบข่าวว่ามี 7.7
2 ไม่เคยทราบข่าว 89.0
3 ไม่แน่ใจ 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลต่อปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวประชาชน
ลำดับที่ ความกังวลต่อปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวประชาชน ค่าร้อยละ
1 น่ากังวล 81.9
2 ไม่น่ากังวล 11.7
3 ไม่มีความเห็น 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวประชาชนเป็นเรื่องที่ "น่ากังวล"ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.จะทำให้ประชาชนไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ของรัฐ /ทำให้ประชาชนขาดที่พึ่ง(ร้อยละ 40.5)
2.ทำให้เกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน /ทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย (ร้อยละ 27.4)
3.เป็นการใช้อำนาจในทางมิชอบ (ร้อยละ 23.6)
4.อื่นๆ อาทิ เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน /ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม/กลัวต้องเป็นแพะรับบาป ฯลฯ (ร้อยละ 8.5)
สำหรับตัวอย่างที่ระบุปัญหาเจ้าหน้าที่รัฐลักพาตัวประชาชนเป็นเรื่องที่ "ไม่น่ากังวล" ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.คิดว่าเรื่องแบบนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ (ร้อยละ 37.5)
2.ตนเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องความขัดแย้ง /ไม่เคยมีปัญหากับใคร (ร้อยละ22.9 )
3.ไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตราย /อยู่ในที่ปลอดภัย (ร้อยละ 16.0)
4.เชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐคงจะไม่ทำแบบนี้แน่นอน (ร้อยละ12.5 )
5.อื่น ๆ อาทิ เป็นเรื่องไกลตัว /เป็นเรื่องของการเมืองมากกว่า ฯลฯ (ร้อยละ 11.1)
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกรณี ถ้าหากสมมติว่า "ตัวท่านหรือคนใกล้ชิดถูกลัก
พาตัว ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าจะมีคนช่วยเหลือท่านได้"
ถ้าหากเกิดกรณีถูกลักพาตัว/จับตัว มั่นใจว่าจะมีคนช่วยเหลือได้ ไม่มั่นใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
โดย….
โจรผู้ร้าย 31.6 64.3 4.1 100.0
เจ้าพ่อ/ผู้มีอิทธิพล 15.1 80.4 4.5 100.0
เจ้าหน้าที่รัฐ 16.3 78.6 5.1 100.0
นักการเมือง 14.1 80.0 5.9 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี หากเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้วิธีการแก้ปัญหา
ความไม่สงบในภาคใต้ด้วยวิธี "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง"
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณี หากเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้วิธีการแก้ปัญหา ค่าร้อยละ
ความไม่สงบในภาคใต้ด้วยวิธี "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง"
1 ตำหนิการกระทำดังกล่าว 80.4
2 ไม่ตำหนิ 9.5
3 ไม่มีความเห็น 10.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุ "ตำหนิ" การกระทำดังกล่าว ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง /น่าจะมีทางออกที่ดีกว่านี้ (ร้อยละ 60.1)
2.เป็นวิธีการที่ป่าเถื่อน /ไม่มีมนุษยธรรม /เป็นวิธีที่รุนแรงเกินไป (ร้อยละ 17.2)
3.ทำให้ประชาชนไม่มั่นใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ (ร้อยละ 8.1)
4.เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต/ใช้อำนาจในทางมิชอบ (ร้อยละ 7.3)
5.อื่นๆอาทิ เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล /อาจจะมีการจับแพะ/ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ฯลฯ (ร้อยละ 7.3 )
ตัวอย่างที่ระบุ "ไม่ตำหนิ" การกระทำดังกล่าว ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.เป็นวิธีที่ยอมรับได้ถ้าปฏิบัติต่อคนทำผิดจริงๆ (ร้อยละ 85.4)
2.เป็นวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลตามหน้าที่ (ร้อยละ 7.8)
3.ไม่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่จะตั้งใจทำอย่างนั้น (ร้อยละ 5.8)
4.จะได้กำจัดผู้มีอิทธิพลให้หมดไป (ร้อยละ 1.0)
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี หากภาครัฐใช้วิธีการ "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง"
ในการทำงานท่านเชื่อว่าปัญหาความไม่สงบในภาคใต้จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ลำดับที่ หากภาครัฐใช้วิธีการ "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง" ในการทำงานท่านเชื่อว่าปัญหา ค่าร้อยละ
ความไม่สงบในภาคใต้จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
1 เชื่อว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลง 71.7
2 เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น 7.0
3 เหมือนเดิม 7.8
4 ไม่แน่ใจ 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อผลงานของรัฐบาลในเรื่องการแก้ปัญหา
ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 34.2
2 ไม่พอใจ 52.0
3 ไม่มีความเห็น 13.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุ "พอใจ" ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างเต็มที่แล้ว /เจ้าหน้าที่ตั้งใจทำงานแล้ว (ร้อยละ 55.4)
2.เหตุการณ์เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น (ร้อยละ32.1)
3.นายกรัฐมนตรีลงไปตรวจสอบสถานการณ์ และสั่งงานด้วยตนเองแล้ว (ร้อยละ 7.6)
4.รัฐบาลใช้มาตรการเด็ดขาดในการทำงาน (ร้อยละ 2.9)
5.อื่นๆอาทิ มั่นใจในการทำงานของรัฐบาล /อยากให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป (ร้อยละ 2.0)
ตัวอย่างที่ระบุ "ไม่พอใจ" ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.แก้ปัญหาไม่ถูกจุด/ไม่สามารถทำให้สถานการณ์คลี่คลายลงได้ (ร้อยละ 66.3)
2.ยังไม่สามารถจับตัวคนผิดมาลงโทษได้ ทั้งๆที่เหตุการณ์เกิดขึ้นมานานแล้ว (ร้อยละ 9.4)
3.รัฐบาลยังทำงานไม่เต็มที่ (ร้อยละ 4.8)
4.มาตรการดำเนินงานยังไม่เด็ดขาดจริงจัง (ร้อยละ 4.5)
5.อื่นๆอาทิ การทำงานของรัฐไม่โปร่งใส /ไม่เชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ /เจ้าหน้าที่รัฐเกิดความแตกแยก /เจ้าหน้าที่รัฐดูแลไม่ทั่วถึง ฯลฯ (ร้อยละ 15.0)
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยมีบุคคลใกล้ชิดถูกลักพาตัวหรือถูกบังคับจับตัวไปสอบสวน/ข่มขู่/คุกคาม
ลำดับที่ การเคยมีบุคคลใกล้ชิดถูกลักพาตัวหรือถูกบังคับจับตัวไปสอบสวน/ข่มขู่/คุกคาม ค่าร้อยละ
1 เคย 3.0
2 ไม่เคย 96.9
3 ไม่แน่ใจ 0.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานภาพในปัจจุบันของบุคคลใกล้ชิดที่ถูกลักพาตัวไป
(เฉพาะตัวอย่างที่ระบุมีบุคคลใกล้ชิดถูกลักพาตัวไป)
ลำดับที่ สถานภาพในปัจจุบันของบุคคลใกล้ชิดที่ถูกลักพาตัวไป ค่าร้อยละ
1 ถูกปล่อยตัวกลับมา 63.8
2 หายสาบสูญ 22.4
3 พบว่าถูกฆ่า หรือเสียชีวิต 6.9
4 ถูกกักขัง/ควบคุมตัว 5.2
5 ยังสรุปไม่ได้ /รอฟังผล 1.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหวาดระแวงว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดจะถูกลักพาตัว
ลำดับที่ ความหวาดระแวงว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดจะถูกลักพาตัว ค่าร้อยละ
1 หวาดระแวง 12.7
2 ไม่หวาดระแวง 86.8
3 ไม่แน่ใจ 0.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุว่ามีความหวาดระแวง ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.สังคมไทยทุกวันนี้ไม่น่าไว้วางใจ /ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 49.4)
2.กลัวบุตรหลานถูกลักพาตัว /เป็นห่วงบุตรหลาน (ร้อยละ 14.1)
3.ผู้มีอิทธิพลมีจำนวนมากเกินไป (ร้อยละ 10.4)
4.สถานการณ์ภาคใต้ยังไม่สงบ /เหตุการณ์ความวุ่นวายยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ (ร้อยละ 9.4)
5.เจ้าหน้าที่ของรัฐดูแลไม่ทั่วถึง /ไม่มั่นใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ (ร้อยละ 6.8)
6.อื่นๆ ได้แก่ มีอาชีพที่เสี่ยงต่อการลักตัว /ต้องเดินทางตอนกลางคืน มีญาติหรือบุคคลใกล้ชิดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง (ร้อยละ 9.9)
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลในการคุ้มครองดูแลสวัสดิภาพ
และความปลอดภัยของประชาชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลในการคุ้มครองดูแลสวัสดิภาพ ค่าร้อยละ
และความปลอดภัยของประชาชน
1 ควรมีมาตรการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน/ควรปรับปรุงให้มาตรการปรากฏผลอย่างจริงจัง 31.4
2 ควรดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้มากกว่านี้ 24.6
3 เจ้าหน้าที่ตำรวจควรตั้งใจทำงานมากกว่านี้ /จริงใจในการทำงานมากกว่านี้ 19.4
4 เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ในหมู่บ้าน/ชุมชนต่าง ๆ ให้มากขึ้น 11.2
5 รัฐควรให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 8.7
6 รัฐบาลควรทำงานด้วยความโปร่งใส 7.0
7 ควรแก้ปัญหากลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ให้ได้ 4.0
8 อื่นๆอาทิ เร่งแก้ปัญหายาเสพติดให้สำเร็จ /ตั้งศูนย์บรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่
เดือดร้อน /ควรเพิ่มสวัสดิการให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ฯลฯ 6.3
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ความวิตกกังวลต่อปัญหาการลักพาตัว:กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ" ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา อุบลราชธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี อ่างทอง สระแก้ว ปัตตานี ยะลา ตรัง และนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 12-28 เมษายน 2547 มีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 2,014 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์กรณีการติดตามข่าวการลักพาตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 18.0 ระบุติดตามข่าวอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 69.2 ระบุติดตามเป็นบางครั้ง และร้อยละ 12.8 ระบุ ไม่ได้ติดตามข่าวดังกล่าวเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างต่อไปถึง การทราบข่าวว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวคนในจังหวัดของตนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 89.0 ระบุไม่เคยทราบข่าวว่ามีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 7.7 ระบุเคยทราบข่าวว่ามี และร้อยละ 3.3 ระบุไม่แน่ใจ ซึ่งเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความกังวลต่อปัญหาเจ้าหน้าที่รัฐลักพาตัวประชาชนนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 81.9 ระบุปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่ากังวล ในขณะที่ร้อยละ 11.7 ระบุไม่น่ากังวล และร้อยละ 6.4 ไม่ระบุความเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ยังพบว่าความมั่นใจของตัวอย่างว่าจะมีผู้ช่วยเหลือได้ หากเกิดกรณีถูกบุคคลต่างๆลักพาตัว เป็นดังนี้
-หากเกิดกรณีถูกเจ้าพ่อ/ผู้มีอิทธิพลลักพาตัว ตัวอย่างร้อยละ 80.4 ระบุไม่มั่นใจว่า
จะมีผู้ช่วยเหลือได้ ร้อยละ 15.1 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 4.5 ไม่มีความคิดเห็น
-หากเกิดกรณีถูกนักการเมืองลักพาตัว ร้อยละ 80.0 ระบุไม่มั่นใจว่าจะมีผู้ช่วยเหลือได้
ในขณะที่ร้อยละ 14.1 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 5.9 ไม่มีความคิดเห็น
-หากเกิดกรณีถูกเจ้าหน้าที่รัฐลักพาตัว ตัวอย่างร้อยละ 78.6 ระบุไม่มั่นใจว่าจะมีผู้ช่วยเหลือได้
ร้อยละ 16.3 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 5.1 ไม่มีความคิดเห็น
-หากเกิดกรณีถูกโจรผู้ร้ายลักพาตัว ตัวอย่างร้อยละ 64.3 ระบุไม่มั่นใจว่าจะมีผู้ช่วยเหลือ
ได้ ในขณะที่ร้อยละ 31.6 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 4.1 ไม่มีความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่คณะผู้วิจัยค้นพบก็คือ ความคิดเห็นต่อกรณี หากเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้วิธีแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ด้วยวิธี "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง" ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 80.4 ระบุตำหนิการกระทำดังกล่าว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 9.5 ที่ไม่ตำหนิ และร้อยละ 10.1 ไม่มีความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความคิดเห็นกรณี หากภาครัฐใช้วิธีการ "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง" ในการทำงานแล้วสถานการณ์ในภาคใต้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 71.7 ระบุเชื่อว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลง ในขณะที่ร้อยละ 7.0 ระบุเชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ร้อยละ 7.8 เชื่อว่าสถานการณ์จะเหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ 13.5 ระบุไม่แน่ใจว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งในการนี้ตัวอย่างร้อยละ 34.2 ระบุพอใจต่อผลงานของรัฐบาลในเรื่องการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ในขณะที่ตัวอย่างถึงร้อยละ 52.0 ที่ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 13.8 ไม่มีความคิดเห็นตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการเคยมีบุคคลใกล้ชิดถูกลักพาตัวหรือถูกบังคับ จับตัวไปสอบสวน/ข่มขู่/คุกคาม พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 96.9 ระบุไม่เคยมี ร้อยละ 3.0 ระบุเคยมี และร้อยละ 0.1 ไม่แน่ใจ สำหรับตัวอย่างที่ระบุว่าเคยมีบุคคลใกล้ชิดถูกลักพาตัวนั้น ร้อยละ 63.8 ระบุบุคคลใกล้ชิดถูกปล่อย ตัวกลับมา ร้อยละ 22.4 ระบุหายสาบสูญไป ร้อยละ 6.9 ระบุพบว่าถูกฆ่า หรือเสียชีวิตแล้ว ร้อยละ 5.2 ระบุพบว่าถูกกักขัง /ควบคุมตัว และร้อยละ 1.7 ระบุว่า ยังไม่ได้ข้อสรุป/รอฟังผล
ทั้งนี้เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความหวาดระแวงว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดจะถูกลักพาตัวหรือไม่นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 12.7 ระบุรู้สึกหวาดระแวง ในขณะที่ร้อยละ 86.8 ระบุไม่รู้สึกหวาดระแวง และร้อยละ 0.5 ระบุ ไม่แน่ใจ
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่คณะผู้วิจัยค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้คือ ข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลในการคุ้มครองดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.4 ระบุรัฐบาลควรมี มาตรการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน ร้อยละ 24.6 ระบุควรดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ให้มากกว่านี้ ร้อยละ 19.4 ระบุ เจ้าหน้าที่ตำรวจควรตั้งใจทำงานมากกว่านี้ ร้อยละ 11.2 ระบุควรเพิ่มจำนวน เจ้าหน้าที่ในหมู่บ้าน/ ชุมชนต่างๆให้มากขึ้นกว่าเดิม ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
ข่าวทนายความชื่อดัง นายสมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ซึ่งหายตัวไปตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ได้รับความสนใจและเป็นที่จับตามองจากหลายๆ ฝ่ายว่าในที่สุดแล้วภาครัฐจะสามารถดำเนินงานเพื่อคลี่คลายคดีดังกล่าวได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีกระแสการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างต่อเนื่องถึงประเด็นที่ทำให้ทนายสมชายถูกลักพาตัวว่า อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้
แม้ว่าที่ผ่านมาคณะทำงานติดตามสอบสวนคลี่คลายคดีดังกล่าว จะได้ออกมาเปิดเผยอยู่เสมอถึงความคืบหน้าในการทำงาน ทั้งการรวบรวมพยานหลักฐาน และการสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่ทว่าถึงวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังไม่สามารถดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ต้องหา ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นและปิดบังซ่อนเร้นทำลายศพได้ เพราะว่ายังไม่พบศพของทนายสมชายและยิ่งนานวันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยิ่งสั่นคลอนความมั่นใจของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่รัฐในการรับผิดชอบดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมากยิ่งขึ้นทุกขณะ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและตัวแทนจังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศรวม 17 จังหวัด ถึงประเด็นความคิดเห็นและความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจสถานการณ์ปัญหา และประสบการณ์เกี่ยวกับการถูกลักพาตัว
2.เพื่อสำรวจความวิตกกังวลของประชาชนต่อปัญหาการลักพาตัว
3.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติการลักพาตัวโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
4.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางการแก้ปัญหาการลักพาตัวโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ความวิตกกังวลต่อปัญหาการลักพาตัว: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 12 -28 เมษายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา อุบลราชธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี อ่างทอง สระแก้ว ปัตตานี ยะลา ตรัง และนครศรีธรรมราชเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น จำนวน 2,014 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง+/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.8 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.2 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 25.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี และร้อยละ 6.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 70.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 24.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 28.5 ระบุอาชีพค้าขาย /อาชีพอิสระ ร้อยละ 19.6 เป็นพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 16.0 ระบุอาชีพ เกษตรกร/ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 13.4 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.2 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 8.8 เป็นแม่บ้าน / เกษียณอายุ ในขณะที่ ร้อยละ 2.5 ไม่ได้ประกอบอาชีพ /ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการลักพาตัว "ทนายสมชาย นีละไพจิตร
(ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม)"
ลำดับที่ การติดตามข่าว "การลักพาตัวทนายสมชาย" ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 18.0
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 69.2
3 ไม่ได้ติดตาม 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวว่า "มีเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวคนในจังหวัด
ของตน ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา"
ลำดับที่ การรับทราบข่าวว่า "มีเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวคนในจังหวัดของตนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา" ค่าร้อยละ
1 เคยทราบข่าวว่ามี 7.7
2 ไม่เคยทราบข่าว 89.0
3 ไม่แน่ใจ 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลต่อปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวประชาชน
ลำดับที่ ความกังวลต่อปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวประชาชน ค่าร้อยละ
1 น่ากังวล 81.9
2 ไม่น่ากังวล 11.7
3 ไม่มีความเห็น 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวประชาชนเป็นเรื่องที่ "น่ากังวล"ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.จะทำให้ประชาชนไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ของรัฐ /ทำให้ประชาชนขาดที่พึ่ง(ร้อยละ 40.5)
2.ทำให้เกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน /ทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย (ร้อยละ 27.4)
3.เป็นการใช้อำนาจในทางมิชอบ (ร้อยละ 23.6)
4.อื่นๆ อาทิ เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน /ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม/กลัวต้องเป็นแพะรับบาป ฯลฯ (ร้อยละ 8.5)
สำหรับตัวอย่างที่ระบุปัญหาเจ้าหน้าที่รัฐลักพาตัวประชาชนเป็นเรื่องที่ "ไม่น่ากังวล" ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.คิดว่าเรื่องแบบนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ (ร้อยละ 37.5)
2.ตนเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องความขัดแย้ง /ไม่เคยมีปัญหากับใคร (ร้อยละ22.9 )
3.ไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตราย /อยู่ในที่ปลอดภัย (ร้อยละ 16.0)
4.เชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐคงจะไม่ทำแบบนี้แน่นอน (ร้อยละ12.5 )
5.อื่น ๆ อาทิ เป็นเรื่องไกลตัว /เป็นเรื่องของการเมืองมากกว่า ฯลฯ (ร้อยละ 11.1)
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกรณี ถ้าหากสมมติว่า "ตัวท่านหรือคนใกล้ชิดถูกลัก
พาตัว ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าจะมีคนช่วยเหลือท่านได้"
ถ้าหากเกิดกรณีถูกลักพาตัว/จับตัว มั่นใจว่าจะมีคนช่วยเหลือได้ ไม่มั่นใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
โดย….
โจรผู้ร้าย 31.6 64.3 4.1 100.0
เจ้าพ่อ/ผู้มีอิทธิพล 15.1 80.4 4.5 100.0
เจ้าหน้าที่รัฐ 16.3 78.6 5.1 100.0
นักการเมือง 14.1 80.0 5.9 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี หากเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้วิธีการแก้ปัญหา
ความไม่สงบในภาคใต้ด้วยวิธี "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง"
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณี หากเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้วิธีการแก้ปัญหา ค่าร้อยละ
ความไม่สงบในภาคใต้ด้วยวิธี "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง"
1 ตำหนิการกระทำดังกล่าว 80.4
2 ไม่ตำหนิ 9.5
3 ไม่มีความเห็น 10.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุ "ตำหนิ" การกระทำดังกล่าว ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง /น่าจะมีทางออกที่ดีกว่านี้ (ร้อยละ 60.1)
2.เป็นวิธีการที่ป่าเถื่อน /ไม่มีมนุษยธรรม /เป็นวิธีที่รุนแรงเกินไป (ร้อยละ 17.2)
3.ทำให้ประชาชนไม่มั่นใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ (ร้อยละ 8.1)
4.เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต/ใช้อำนาจในทางมิชอบ (ร้อยละ 7.3)
5.อื่นๆอาทิ เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล /อาจจะมีการจับแพะ/ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ฯลฯ (ร้อยละ 7.3 )
ตัวอย่างที่ระบุ "ไม่ตำหนิ" การกระทำดังกล่าว ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.เป็นวิธีที่ยอมรับได้ถ้าปฏิบัติต่อคนทำผิดจริงๆ (ร้อยละ 85.4)
2.เป็นวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลตามหน้าที่ (ร้อยละ 7.8)
3.ไม่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่จะตั้งใจทำอย่างนั้น (ร้อยละ 5.8)
4.จะได้กำจัดผู้มีอิทธิพลให้หมดไป (ร้อยละ 1.0)
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี หากภาครัฐใช้วิธีการ "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง"
ในการทำงานท่านเชื่อว่าปัญหาความไม่สงบในภาคใต้จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ลำดับที่ หากภาครัฐใช้วิธีการ "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง" ในการทำงานท่านเชื่อว่าปัญหา ค่าร้อยละ
ความไม่สงบในภาคใต้จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
1 เชื่อว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลง 71.7
2 เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น 7.0
3 เหมือนเดิม 7.8
4 ไม่แน่ใจ 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อผลงานของรัฐบาลในเรื่องการแก้ปัญหา
ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 34.2
2 ไม่พอใจ 52.0
3 ไม่มีความเห็น 13.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุ "พอใจ" ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างเต็มที่แล้ว /เจ้าหน้าที่ตั้งใจทำงานแล้ว (ร้อยละ 55.4)
2.เหตุการณ์เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น (ร้อยละ32.1)
3.นายกรัฐมนตรีลงไปตรวจสอบสถานการณ์ และสั่งงานด้วยตนเองแล้ว (ร้อยละ 7.6)
4.รัฐบาลใช้มาตรการเด็ดขาดในการทำงาน (ร้อยละ 2.9)
5.อื่นๆอาทิ มั่นใจในการทำงานของรัฐบาล /อยากให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป (ร้อยละ 2.0)
ตัวอย่างที่ระบุ "ไม่พอใจ" ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.แก้ปัญหาไม่ถูกจุด/ไม่สามารถทำให้สถานการณ์คลี่คลายลงได้ (ร้อยละ 66.3)
2.ยังไม่สามารถจับตัวคนผิดมาลงโทษได้ ทั้งๆที่เหตุการณ์เกิดขึ้นมานานแล้ว (ร้อยละ 9.4)
3.รัฐบาลยังทำงานไม่เต็มที่ (ร้อยละ 4.8)
4.มาตรการดำเนินงานยังไม่เด็ดขาดจริงจัง (ร้อยละ 4.5)
5.อื่นๆอาทิ การทำงานของรัฐไม่โปร่งใส /ไม่เชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ /เจ้าหน้าที่รัฐเกิดความแตกแยก /เจ้าหน้าที่รัฐดูแลไม่ทั่วถึง ฯลฯ (ร้อยละ 15.0)
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยมีบุคคลใกล้ชิดถูกลักพาตัวหรือถูกบังคับจับตัวไปสอบสวน/ข่มขู่/คุกคาม
ลำดับที่ การเคยมีบุคคลใกล้ชิดถูกลักพาตัวหรือถูกบังคับจับตัวไปสอบสวน/ข่มขู่/คุกคาม ค่าร้อยละ
1 เคย 3.0
2 ไม่เคย 96.9
3 ไม่แน่ใจ 0.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานภาพในปัจจุบันของบุคคลใกล้ชิดที่ถูกลักพาตัวไป
(เฉพาะตัวอย่างที่ระบุมีบุคคลใกล้ชิดถูกลักพาตัวไป)
ลำดับที่ สถานภาพในปัจจุบันของบุคคลใกล้ชิดที่ถูกลักพาตัวไป ค่าร้อยละ
1 ถูกปล่อยตัวกลับมา 63.8
2 หายสาบสูญ 22.4
3 พบว่าถูกฆ่า หรือเสียชีวิต 6.9
4 ถูกกักขัง/ควบคุมตัว 5.2
5 ยังสรุปไม่ได้ /รอฟังผล 1.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหวาดระแวงว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดจะถูกลักพาตัว
ลำดับที่ ความหวาดระแวงว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดจะถูกลักพาตัว ค่าร้อยละ
1 หวาดระแวง 12.7
2 ไม่หวาดระแวง 86.8
3 ไม่แน่ใจ 0.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุว่ามีความหวาดระแวง ได้ให้เหตุผลดังนี้
1.สังคมไทยทุกวันนี้ไม่น่าไว้วางใจ /ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 49.4)
2.กลัวบุตรหลานถูกลักพาตัว /เป็นห่วงบุตรหลาน (ร้อยละ 14.1)
3.ผู้มีอิทธิพลมีจำนวนมากเกินไป (ร้อยละ 10.4)
4.สถานการณ์ภาคใต้ยังไม่สงบ /เหตุการณ์ความวุ่นวายยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ (ร้อยละ 9.4)
5.เจ้าหน้าที่ของรัฐดูแลไม่ทั่วถึง /ไม่มั่นใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ (ร้อยละ 6.8)
6.อื่นๆ ได้แก่ มีอาชีพที่เสี่ยงต่อการลักตัว /ต้องเดินทางตอนกลางคืน มีญาติหรือบุคคลใกล้ชิดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง (ร้อยละ 9.9)
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลในการคุ้มครองดูแลสวัสดิภาพ
และความปลอดภัยของประชาชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลในการคุ้มครองดูแลสวัสดิภาพ ค่าร้อยละ
และความปลอดภัยของประชาชน
1 ควรมีมาตรการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน/ควรปรับปรุงให้มาตรการปรากฏผลอย่างจริงจัง 31.4
2 ควรดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้มากกว่านี้ 24.6
3 เจ้าหน้าที่ตำรวจควรตั้งใจทำงานมากกว่านี้ /จริงใจในการทำงานมากกว่านี้ 19.4
4 เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ในหมู่บ้าน/ชุมชนต่าง ๆ ให้มากขึ้น 11.2
5 รัฐควรให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 8.7
6 รัฐบาลควรทำงานด้วยความโปร่งใส 7.0
7 ควรแก้ปัญหากลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ให้ได้ 4.0
8 อื่นๆอาทิ เร่งแก้ปัญหายาเสพติดให้สำเร็จ /ตั้งศูนย์บรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่
เดือดร้อน /ควรเพิ่มสวัสดิการให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ฯลฯ 6.3
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ความวิตกกังวลต่อปัญหาการลักพาตัว:กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ" ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา อุบลราชธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี อ่างทอง สระแก้ว ปัตตานี ยะลา ตรัง และนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 12-28 เมษายน 2547 มีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 2,014 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์กรณีการติดตามข่าวการลักพาตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 18.0 ระบุติดตามข่าวอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 69.2 ระบุติดตามเป็นบางครั้ง และร้อยละ 12.8 ระบุ ไม่ได้ติดตามข่าวดังกล่าวเลย
เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างต่อไปถึง การทราบข่าวว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐลักพาตัวคนในจังหวัดของตนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 89.0 ระบุไม่เคยทราบข่าวว่ามีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 7.7 ระบุเคยทราบข่าวว่ามี และร้อยละ 3.3 ระบุไม่แน่ใจ ซึ่งเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความกังวลต่อปัญหาเจ้าหน้าที่รัฐลักพาตัวประชาชนนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 81.9 ระบุปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่ากังวล ในขณะที่ร้อยละ 11.7 ระบุไม่น่ากังวล และร้อยละ 6.4 ไม่ระบุความเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ยังพบว่าความมั่นใจของตัวอย่างว่าจะมีผู้ช่วยเหลือได้ หากเกิดกรณีถูกบุคคลต่างๆลักพาตัว เป็นดังนี้
-หากเกิดกรณีถูกเจ้าพ่อ/ผู้มีอิทธิพลลักพาตัว ตัวอย่างร้อยละ 80.4 ระบุไม่มั่นใจว่า
จะมีผู้ช่วยเหลือได้ ร้อยละ 15.1 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 4.5 ไม่มีความคิดเห็น
-หากเกิดกรณีถูกนักการเมืองลักพาตัว ร้อยละ 80.0 ระบุไม่มั่นใจว่าจะมีผู้ช่วยเหลือได้
ในขณะที่ร้อยละ 14.1 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 5.9 ไม่มีความคิดเห็น
-หากเกิดกรณีถูกเจ้าหน้าที่รัฐลักพาตัว ตัวอย่างร้อยละ 78.6 ระบุไม่มั่นใจว่าจะมีผู้ช่วยเหลือได้
ร้อยละ 16.3 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 5.1 ไม่มีความคิดเห็น
-หากเกิดกรณีถูกโจรผู้ร้ายลักพาตัว ตัวอย่างร้อยละ 64.3 ระบุไม่มั่นใจว่าจะมีผู้ช่วยเหลือ
ได้ ในขณะที่ร้อยละ 31.6 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 4.1 ไม่มีความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่คณะผู้วิจัยค้นพบก็คือ ความคิดเห็นต่อกรณี หากเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้วิธีแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ด้วยวิธี "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง" ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 80.4 ระบุตำหนิการกระทำดังกล่าว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 9.5 ที่ไม่ตำหนิ และร้อยละ 10.1 ไม่มีความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความคิดเห็นกรณี หากภาครัฐใช้วิธีการ "ลักพาตัวแล้วฆ่าทิ้ง" ในการทำงานแล้วสถานการณ์ในภาคใต้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 71.7 ระบุเชื่อว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลง ในขณะที่ร้อยละ 7.0 ระบุเชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ร้อยละ 7.8 เชื่อว่าสถานการณ์จะเหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ 13.5 ระบุไม่แน่ใจว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งในการนี้ตัวอย่างร้อยละ 34.2 ระบุพอใจต่อผลงานของรัฐบาลในเรื่องการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ในขณะที่ตัวอย่างถึงร้อยละ 52.0 ที่ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 13.8 ไม่มีความคิดเห็นตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการเคยมีบุคคลใกล้ชิดถูกลักพาตัวหรือถูกบังคับ จับตัวไปสอบสวน/ข่มขู่/คุกคาม พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 96.9 ระบุไม่เคยมี ร้อยละ 3.0 ระบุเคยมี และร้อยละ 0.1 ไม่แน่ใจ สำหรับตัวอย่างที่ระบุว่าเคยมีบุคคลใกล้ชิดถูกลักพาตัวนั้น ร้อยละ 63.8 ระบุบุคคลใกล้ชิดถูกปล่อย ตัวกลับมา ร้อยละ 22.4 ระบุหายสาบสูญไป ร้อยละ 6.9 ระบุพบว่าถูกฆ่า หรือเสียชีวิตแล้ว ร้อยละ 5.2 ระบุพบว่าถูกกักขัง /ควบคุมตัว และร้อยละ 1.7 ระบุว่า ยังไม่ได้ข้อสรุป/รอฟังผล
ทั้งนี้เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความหวาดระแวงว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดจะถูกลักพาตัวหรือไม่นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 12.7 ระบุรู้สึกหวาดระแวง ในขณะที่ร้อยละ 86.8 ระบุไม่รู้สึกหวาดระแวง และร้อยละ 0.5 ระบุ ไม่แน่ใจ
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่คณะผู้วิจัยค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้คือ ข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลในการคุ้มครองดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.4 ระบุรัฐบาลควรมี มาตรการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน ร้อยละ 24.6 ระบุควรดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ให้มากกว่านี้ ร้อยละ 19.4 ระบุ เจ้าหน้าที่ตำรวจควรตั้งใจทำงานมากกว่านี้ ร้อยละ 11.2 ระบุควรเพิ่มจำนวน เจ้าหน้าที่ในหมู่บ้าน/ ชุมชนต่างๆให้มากขึ้นกว่าเดิม ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-