ที่มาของโครงการ
การที่รัฐบาลกำหนดให้มีวันแรงงานแห่งชาติ (วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี) แสดงให้เห็นว่าภาครัฐให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงานเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้แรงงานทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนผลักดันเศรษฐกิจของประเทศถึงแม้ว่าในปัจจุบันมีสวัสดิการด้านการประกันสังคมโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นหลักประกัน และคุ้มครองความเป็นอยู่ของแรงงาน ให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต แต่กลับพบว่าคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยในด้านอื่นๆยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ทั้งในด้านความปลอดภัยในการทำงาน การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ และสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม
ในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติประจำปี 2547 นี้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มผู้ใช้แรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับสวัสดิการด้านการประกันสังคมของรัฐบาล และปัญหาที่ผู้ใช้แรงงานประสบ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย1.เพื่อสำรวจปัญหาที่ผู้ใช้แรงงานประสบจากการทำงาน2.เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านการประกันสังคมของรัฐบาล 3.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านการประกันสังคมของผู้ใช้แรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 21-28 เมษายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่มีบัตรประกันสังคมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,228 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.9 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 44.1 ระบุเป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 36.8 อายุระหว่าง 21-25 ปี ร้อยละ 27.8 อายุระหว่าง 26-30 ปี ร้อยละ 14.1 อายุระหว่าง 31-35 ปี ร้อยละ 13.2 อายุ 36 ปีขึ้นไป และร้อยละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ 35.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ ปวช. ร้อยละ 25.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 22.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 13.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา และร้อยละ 3.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี โดยที่ตัวอย่างร้อยละ 46.4 มีประสบการณ์ในการทำงาน 2-5 ปี ร้อยละ 24.3 มีประสบการณ์ในการทำงาน 6-10 ปี ร้อยละ 16.8 มีประสบการณ์ในการทำงานไม่เกิน 1 ปี และร้อยละ 12.5 มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10 ปี ซึ่งร้อยละ 55.9 มีรายได้ 5,001 - 10,000 บาท / เดือน ร้อยละ 26.9 มีรายได้ ไม่เกิน 5,000 บาท / เดือน และร้อยละ 17.2 มีรายได้ เกิน 10,000 บาท / เดือน ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลต่างๆ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ การเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ
1 เคย 76.5
2 ไม่เคย 23.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้บัตรประกันสังคมในการรักษาพยาบาล (เฉพาะผู้ที่เคยเจ็บป่วย)
ลำดับที่ การใช้บัตรประกันสังคมในการรักษาพยาบาล ร้อยละ
1 ใช้บัตรประกันสังคมในการรักษาทุกครั้ง 58.7
2 ใช้บัตรประกันสังคมเป็นบางครั้ง 26.3
3 ไม่เคยใช้บัตรประกันสังคมเลย 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการให้บริการรักษาของสถานพยาบาล
(เฉพาะผู้ที่เคยใช้บัตรประกันสังคม)
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการให้บริการรักษาของสถานพยาบาล ร้อยละ
1 พอใจ 49.0
2 ไม่พอใจ 51.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ประเภท / ขอบข่าย ที่ประกันสังคมให้ความคุ้มครอง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การรับรู้ประเภท / ขอบข่าย ที่ประกันสังคมให้ความคุ้มครอง ร้อยละ
1 ประกันการเจ็บป่วย 89.6
2 ประกันการคลอดบุตร 64.8
3 ประกันอุบัติเหตุ / โรคอันเกิดจากการทำงาน 55.8
4 ประกันการสงเคราะห์บุตร 43.2
5 ประกันการว่างงาน 36.4
6 ประกันการเสียชีวิต 36.2
7 ประกันทุพพลภาพ / พิการ 29.2
8 ประกันชราภาพ 18.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการประกันสังคม
ลำดับที่ การมีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการประกันสังคม ร้อยละ
1 มีความรู้อย่างเพียงพอแล้ว 22.3
2 ยังไม่เพียงพอ 77.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่มีความรู้เกี่ยวกับการประกันสังคมไม่เพียงพอ ต้องการรู้เพิ่มเติมในเรื่อง......( ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
1) ประเภท / ขอบข่าย ที่บัตรประกันสังคมคุ้มครอง ร้อยละ 73.1
2) ขั้นตอนในการชำระเงินสบทบประกันสังคม ร้อยละ 36.8
3) ขั้นตอนการใช้บริการประกันสังคม ร้อยละ 33.6
4) ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนประกันสังคม ร้อยละ 21.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้รับข้อมูล/ ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม
ลำดับที่ การได้รับข้อมูล/ ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม ร้อยละ
1 ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอแล้ว 15.2
2 ยังไม่เพียงพอ 84.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการรับทราบข้อมูล/ ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
กองทุนประกันสังคม
ลำดับที่ ความต้องการรับทราบข้อมูล/ ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม ร้อยละ
1 ต้องการ 93.8
2 ไม่ต้องการ 6.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีที่จะมีการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีที่จะมีการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 19.1
2 ไม่เห็นด้วย 42.3
3 ไม่มีความเห็น 38.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความโปร่งใสในกรณีที่จะมีการนำเงินกองทุน
ประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อความโปร่งใสในกรณีที่จะมีการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ
1 มั่นใจ 10.4
2 ไม่มั่นใจ 55.7
3 ไม่มีความเห็น 34.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีความคุ้มค่าของเงินประกันสังคมที่ต้องจ่ายทุกๆ เดือน
ลำดับที่ ความคุ้มค่าของเงินประกันสังคมที่ต้องจ่ายทุกๆ เดือน ร้อยละ
1 คุ้มค่า 20.5
2 ไม่คุ้มค่า 68.2
3 ไม่มีความเห็น 11.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านการประกันสังคมของรัฐบาลในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านการประกันสังคมของรัฐบาลในปัจจุบัน ร้อยละ
1 พอใจ 29.3
2 ไม่พอใจ 54.7
3 ไม่มีความเห็น 16.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อสวัสดิการต่างๆ จากนายจ้างในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อสวัสดิการต่าง ๆ จากนายจ้างในปัจจุบัน ร้อยละ
1 พอใจ 33.2
2 ไม่พอใจ 54.9
3 ไม่มีความเห็น 11.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่เคยประสบจากการทำงาน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่เคยประสบจากการทำงาน ร้อยละ
1 สภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม (อากาศ /แสง / เสียง / สารเคมี) 22.9
2 ให้ทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมงโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม 11.0
3 ไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน 9.8
4 ได้รับอุบัติเหตุ / เจ็บป่วยจากการทำงาน 8.3
5 ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 8.5
6 ให้ทำงานในลักษณะ / สถานที่ ที่เสี่ยงอันตราย 5.2
7 ให้ทำงานโดยไม่มีวันหยุด 4.0
8 ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม 3.0
9 อื่นๆ เช่น มีการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย,
ถูกนายจ้างทุบตีทำร้ายร่างกาย , ถูกนายจ้างลวน
ลามล่วงเกินทางเพศ , จ้างเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีเข้าทำงาน 6.6
10 ไม่เคยประสบปัญหาเรื่องใดเลย 55.8
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ การเคยร้องทุกข์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะตัวอย่างที่เคยประสบปัญหาในการทำงาน)
ลำดับที่ ประสบการณ์ การเคยร้องทุกข์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ
1 เคย 7.6
2 ไม่เคย 92.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เคยร้องทุกข์ได้เข้าร้องทุกข์กับ……..
หัวหน้างาน / ผู้บังคับบัญชา, กระทรวงแรงงานฯ , รัฐสภา, หน่วยงานมาตรฐาน ISO
ตัวอย่างที่ไม่เคยร้องทุกข์ ให้เหตุผลที่ไม่ร้องทุกข์ เพราะ.....
1) ไม่ทราบว่าจะร้องทุกข์กับใคร ที่ไหน อย่างไร ร้อยละ 40.2
2) เสียเวลาเปล่าประโยชน์ / ร้องทุกข์ไปก็ไม่ได้รับการแก้ไข ร้อยละ 26.4
3) ไม่กล้าที่จะร้องทุกข์ / กลัวเดือดร้อน / ไม่อยากมีปัญหากับนายจ้าง ร้อยละ 15.2
4) เป็นปัญหาเล็กน้อยไม่หนักหนาอะไร ร้อยละ 9.8
5) อื่นๆ เช่น ไม่ทราบกฎหมายแรงงาน, ไม่มีเวลา, สามารถแก้ปัญหาเองได้ ร้อยละ 8.4
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเพียงพอของรายได้ต่อค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
ลำดับที่ ความเพียงพอของรายต่อค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ร้อยละ
1 เพียงพอ 40.0
2 ไม่เพียงพอ 60.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่มีรายได้ไม่เพียงพอ แก้ปัญหาโดย......
1) กู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ 32.1
2) หาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ร้อยละ 30.5
3) ใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด ร้อยละ 25.9
4) ทำงานล่วงเวลา / ทำงานในวันหยุด ร้อยละ 8.6
5) อื่นๆ เช่น กู้เงินจากธนาคาร, พยายามหางานทำใหม่ที่ดีกว่าเดิม ร้อยละ 2.9
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมในปัจจุบัน ร้อยละ
1 พอใจ 30.6
2 ไม่พอใจ 39.7
3 ไม่มีความเห็น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่ต้องการให้กรมแรงงานและสวัสดิการสังคมเข้ามาดูแล /
แก้ไขปัญหาแรงงาน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่ต้องการให้กรมแรงงานและสวัสดิการสังคมเข้ามาดูแล / แก้ไขปัญหาแรงงาน ร้อยละ
1 เพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำ / เงินเดือน / ค่าครองชีพ 59.1
2 จัดเก็บเงินค่าประกันสังคมในอัตราที่ต่ำกว่าปัจจุบัน 25.9
3 ควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัย / สภาพแวดล้อมในการทำงาน 20.2
4 จัดหางานให้กับผู้ว่างงาน 17.6
5 ปรับปรุงการให้บริการของสถานพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม 12.8
6 ควบคุมเรื่องวันหยุดประจำปีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 8.8
7 ควบคุม ดูแล เรื่องการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง 6.0
8 อื่นๆ เช่น สงเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน / จัดหาอาชีพเสริม,
ดูแลสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน, ควบคุมแรงงาน
ต่างด้าวที่เข้ามาแย่งงานคนไทย 13.9
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านการประกันสังคมของผู้ใช้แรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 21-28 เมษายน 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,228 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.5 เคยเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 23.5 ไม่เคยเจ็บป่วย โดยผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ร้อยละ 58.7 ใช้บัตรประกันสังคมทุกครั้ง ร้อยละ 26.3 ใช้บัตรประกันสังคมเป็นบางครั้ง ร้อยละ 15.0ไม่เคยใช้บัตรประกันสังคมเลย โดยผู้ที่เคยใช้บัตรประกันสังคมถึง ร้อยละ 51.0 ไม่พอใจต่อการให้บริการของสถานพยาบาลที่ให้การรักษา ร้อยละ 49.0 พอใจ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 77.7 ยังไม่มีความรู้ / เข้าใจเกี่ยวกับการประกันสังคมเพียงพอ มีเพียงร้อยละ 22.3 เท่านั้นที่มีความรู้และเข้าใจเพียงพอ นอกจากนี้ตัวอย่างถึงร้อยละ 84.8 ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมเพียงพอ มีเพียงร้อยละ 15.2 ที่รับรู้ข่าวสารดังกล่าว ซึ่งร้อยละ 93.8 ต้องการรับทราบข้อมูล / ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม และร้อยละ 6.2 ไม่ต้องการรับทราบการบริหารจัดการกองทุนฯ โดยตัวอย่างร้อยละ 42.3 ไม่เห็นด้วยที่จะมีการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ 19.1 เห็นด้วย และ ร้อยละ 38.6 ไม่มีความเห็น ในขณะที่ร้อยละ 55.7 ไม่มั่นใจต่อความโปร่งใสในกรณีที่จะมีการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ 10.4 มั่นใจ และ ร้อยละ 34.9 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามว่า "คุ้มค่าหรือไม่กับเงินประกันสังคมที่ตนเองต้องจ่ายทุกๆเดือน" ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 68.2 เห็นว่าไม่คุ้มค่า ร้อยละ 20.5 เห็นว่าคุ้มค่า และร้อยละ 11.3 ไม่มีความเห็น โดยตัวอย่างถึงร้อยละ 54.7 ไม่พอใจต่อ สวัสดิการด้านการประกันสังคมของรัฐบาลในปัจจุบัน ร้อยละ 29.3 พอใจ และร้อยละ 16.0 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 54.9 ไม่พอใจต่อสวัสดิการต่างๆ จากนายจ้างในปัจจุบัน ร้อยละ 33.2 พอใจ และ ร้อยละ 11.9 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาอีกประเด็นคือ ผู้ใช้แรงงานถึง ร้อยละ 22.9 ประสบปัญหาสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม (อากาศ / แสง / เสียง / สารเคมี) ร้อยละ 11.0 ประสบปัญหานายจ้างให้ทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม ร้อยละ 9.8 ระบุไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ตามลำดับ ซึ่งผู้ใช้แรงงานที่เคยประสบปัญหาต่างๆ ถึงร้อยละ 92.4 ไม่เคยร้องทุกข์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเพียงร้อยละ 7.6 เท่านั้นที่เคยร้องทุกข์
เมื่อสอบถามถึงรายได้ในปัจจุบันว่าเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหรือไม่ พบว่า ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 60.0 ระบุมีรายได้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 40.0 ระบุมีรายได้เพียงพอ โดยร้อยละ 39.7 ไม่พอใจต่อบทบาทการทำงานของกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคมในปัจจุบัน ร้อยละ 30.6 พอใจ และร้อยละ 29.7 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ผู้ใช้แรงงานยังต้องการให้กรมแรงงานและสวัสดิการสังคมช่วยเหลือในเรื่อง การเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ / จัดเก็บเงินค่าประกันสังคมในอัตราที่ต่ำกว่าปัจจุบัน / ควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัย / สภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
การที่รัฐบาลกำหนดให้มีวันแรงงานแห่งชาติ (วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี) แสดงให้เห็นว่าภาครัฐให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงานเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้แรงงานทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนผลักดันเศรษฐกิจของประเทศถึงแม้ว่าในปัจจุบันมีสวัสดิการด้านการประกันสังคมโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นหลักประกัน และคุ้มครองความเป็นอยู่ของแรงงาน ให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต แต่กลับพบว่าคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยในด้านอื่นๆยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ทั้งในด้านความปลอดภัยในการทำงาน การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ และสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม
ในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติประจำปี 2547 นี้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มผู้ใช้แรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับสวัสดิการด้านการประกันสังคมของรัฐบาล และปัญหาที่ผู้ใช้แรงงานประสบ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย1.เพื่อสำรวจปัญหาที่ผู้ใช้แรงงานประสบจากการทำงาน2.เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านการประกันสังคมของรัฐบาล 3.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านการประกันสังคมของผู้ใช้แรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 21-28 เมษายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่มีบัตรประกันสังคมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,228 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.9 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 44.1 ระบุเป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 36.8 อายุระหว่าง 21-25 ปี ร้อยละ 27.8 อายุระหว่าง 26-30 ปี ร้อยละ 14.1 อายุระหว่าง 31-35 ปี ร้อยละ 13.2 อายุ 36 ปีขึ้นไป และร้อยละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ 35.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ ปวช. ร้อยละ 25.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 22.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 13.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา และร้อยละ 3.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี โดยที่ตัวอย่างร้อยละ 46.4 มีประสบการณ์ในการทำงาน 2-5 ปี ร้อยละ 24.3 มีประสบการณ์ในการทำงาน 6-10 ปี ร้อยละ 16.8 มีประสบการณ์ในการทำงานไม่เกิน 1 ปี และร้อยละ 12.5 มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10 ปี ซึ่งร้อยละ 55.9 มีรายได้ 5,001 - 10,000 บาท / เดือน ร้อยละ 26.9 มีรายได้ ไม่เกิน 5,000 บาท / เดือน และร้อยละ 17.2 มีรายได้ เกิน 10,000 บาท / เดือน ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลต่างๆ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ การเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ
1 เคย 76.5
2 ไม่เคย 23.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้บัตรประกันสังคมในการรักษาพยาบาล (เฉพาะผู้ที่เคยเจ็บป่วย)
ลำดับที่ การใช้บัตรประกันสังคมในการรักษาพยาบาล ร้อยละ
1 ใช้บัตรประกันสังคมในการรักษาทุกครั้ง 58.7
2 ใช้บัตรประกันสังคมเป็นบางครั้ง 26.3
3 ไม่เคยใช้บัตรประกันสังคมเลย 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการให้บริการรักษาของสถานพยาบาล
(เฉพาะผู้ที่เคยใช้บัตรประกันสังคม)
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการให้บริการรักษาของสถานพยาบาล ร้อยละ
1 พอใจ 49.0
2 ไม่พอใจ 51.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ประเภท / ขอบข่าย ที่ประกันสังคมให้ความคุ้มครอง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การรับรู้ประเภท / ขอบข่าย ที่ประกันสังคมให้ความคุ้มครอง ร้อยละ
1 ประกันการเจ็บป่วย 89.6
2 ประกันการคลอดบุตร 64.8
3 ประกันอุบัติเหตุ / โรคอันเกิดจากการทำงาน 55.8
4 ประกันการสงเคราะห์บุตร 43.2
5 ประกันการว่างงาน 36.4
6 ประกันการเสียชีวิต 36.2
7 ประกันทุพพลภาพ / พิการ 29.2
8 ประกันชราภาพ 18.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการประกันสังคม
ลำดับที่ การมีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการประกันสังคม ร้อยละ
1 มีความรู้อย่างเพียงพอแล้ว 22.3
2 ยังไม่เพียงพอ 77.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่มีความรู้เกี่ยวกับการประกันสังคมไม่เพียงพอ ต้องการรู้เพิ่มเติมในเรื่อง......( ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
1) ประเภท / ขอบข่าย ที่บัตรประกันสังคมคุ้มครอง ร้อยละ 73.1
2) ขั้นตอนในการชำระเงินสบทบประกันสังคม ร้อยละ 36.8
3) ขั้นตอนการใช้บริการประกันสังคม ร้อยละ 33.6
4) ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนประกันสังคม ร้อยละ 21.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้รับข้อมูล/ ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม
ลำดับที่ การได้รับข้อมูล/ ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม ร้อยละ
1 ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอแล้ว 15.2
2 ยังไม่เพียงพอ 84.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการรับทราบข้อมูล/ ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
กองทุนประกันสังคม
ลำดับที่ ความต้องการรับทราบข้อมูล/ ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม ร้อยละ
1 ต้องการ 93.8
2 ไม่ต้องการ 6.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีที่จะมีการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีที่จะมีการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 19.1
2 ไม่เห็นด้วย 42.3
3 ไม่มีความเห็น 38.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความโปร่งใสในกรณีที่จะมีการนำเงินกองทุน
ประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อความโปร่งใสในกรณีที่จะมีการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ
1 มั่นใจ 10.4
2 ไม่มั่นใจ 55.7
3 ไม่มีความเห็น 34.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีความคุ้มค่าของเงินประกันสังคมที่ต้องจ่ายทุกๆ เดือน
ลำดับที่ ความคุ้มค่าของเงินประกันสังคมที่ต้องจ่ายทุกๆ เดือน ร้อยละ
1 คุ้มค่า 20.5
2 ไม่คุ้มค่า 68.2
3 ไม่มีความเห็น 11.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านการประกันสังคมของรัฐบาลในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านการประกันสังคมของรัฐบาลในปัจจุบัน ร้อยละ
1 พอใจ 29.3
2 ไม่พอใจ 54.7
3 ไม่มีความเห็น 16.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อสวัสดิการต่างๆ จากนายจ้างในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อสวัสดิการต่าง ๆ จากนายจ้างในปัจจุบัน ร้อยละ
1 พอใจ 33.2
2 ไม่พอใจ 54.9
3 ไม่มีความเห็น 11.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่เคยประสบจากการทำงาน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่เคยประสบจากการทำงาน ร้อยละ
1 สภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม (อากาศ /แสง / เสียง / สารเคมี) 22.9
2 ให้ทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมงโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม 11.0
3 ไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน 9.8
4 ได้รับอุบัติเหตุ / เจ็บป่วยจากการทำงาน 8.3
5 ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 8.5
6 ให้ทำงานในลักษณะ / สถานที่ ที่เสี่ยงอันตราย 5.2
7 ให้ทำงานโดยไม่มีวันหยุด 4.0
8 ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม 3.0
9 อื่นๆ เช่น มีการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย,
ถูกนายจ้างทุบตีทำร้ายร่างกาย , ถูกนายจ้างลวน
ลามล่วงเกินทางเพศ , จ้างเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีเข้าทำงาน 6.6
10 ไม่เคยประสบปัญหาเรื่องใดเลย 55.8
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ การเคยร้องทุกข์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(เฉพาะตัวอย่างที่เคยประสบปัญหาในการทำงาน)
ลำดับที่ ประสบการณ์ การเคยร้องทุกข์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ
1 เคย 7.6
2 ไม่เคย 92.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่เคยร้องทุกข์ได้เข้าร้องทุกข์กับ……..
หัวหน้างาน / ผู้บังคับบัญชา, กระทรวงแรงงานฯ , รัฐสภา, หน่วยงานมาตรฐาน ISO
ตัวอย่างที่ไม่เคยร้องทุกข์ ให้เหตุผลที่ไม่ร้องทุกข์ เพราะ.....
1) ไม่ทราบว่าจะร้องทุกข์กับใคร ที่ไหน อย่างไร ร้อยละ 40.2
2) เสียเวลาเปล่าประโยชน์ / ร้องทุกข์ไปก็ไม่ได้รับการแก้ไข ร้อยละ 26.4
3) ไม่กล้าที่จะร้องทุกข์ / กลัวเดือดร้อน / ไม่อยากมีปัญหากับนายจ้าง ร้อยละ 15.2
4) เป็นปัญหาเล็กน้อยไม่หนักหนาอะไร ร้อยละ 9.8
5) อื่นๆ เช่น ไม่ทราบกฎหมายแรงงาน, ไม่มีเวลา, สามารถแก้ปัญหาเองได้ ร้อยละ 8.4
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเพียงพอของรายได้ต่อค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
ลำดับที่ ความเพียงพอของรายต่อค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ร้อยละ
1 เพียงพอ 40.0
2 ไม่เพียงพอ 60.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่มีรายได้ไม่เพียงพอ แก้ปัญหาโดย......
1) กู้ยืมเงินนอกระบบ ร้อยละ 32.1
2) หาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ร้อยละ 30.5
3) ใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด ร้อยละ 25.9
4) ทำงานล่วงเวลา / ทำงานในวันหยุด ร้อยละ 8.6
5) อื่นๆ เช่น กู้เงินจากธนาคาร, พยายามหางานทำใหม่ที่ดีกว่าเดิม ร้อยละ 2.9
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมในปัจจุบัน ร้อยละ
1 พอใจ 30.6
2 ไม่พอใจ 39.7
3 ไม่มีความเห็น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่ต้องการให้กรมแรงงานและสวัสดิการสังคมเข้ามาดูแล /
แก้ไขปัญหาแรงงาน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่ต้องการให้กรมแรงงานและสวัสดิการสังคมเข้ามาดูแล / แก้ไขปัญหาแรงงาน ร้อยละ
1 เพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำ / เงินเดือน / ค่าครองชีพ 59.1
2 จัดเก็บเงินค่าประกันสังคมในอัตราที่ต่ำกว่าปัจจุบัน 25.9
3 ควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัย / สภาพแวดล้อมในการทำงาน 20.2
4 จัดหางานให้กับผู้ว่างงาน 17.6
5 ปรับปรุงการให้บริการของสถานพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม 12.8
6 ควบคุมเรื่องวันหยุดประจำปีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 8.8
7 ควบคุม ดูแล เรื่องการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง 6.0
8 อื่นๆ เช่น สงเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน / จัดหาอาชีพเสริม,
ดูแลสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน, ควบคุมแรงงาน
ต่างด้าวที่เข้ามาแย่งงานคนไทย 13.9
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านการประกันสังคมของผู้ใช้แรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 21-28 เมษายน 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,228 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.5 เคยเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 23.5 ไม่เคยเจ็บป่วย โดยผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ร้อยละ 58.7 ใช้บัตรประกันสังคมทุกครั้ง ร้อยละ 26.3 ใช้บัตรประกันสังคมเป็นบางครั้ง ร้อยละ 15.0ไม่เคยใช้บัตรประกันสังคมเลย โดยผู้ที่เคยใช้บัตรประกันสังคมถึง ร้อยละ 51.0 ไม่พอใจต่อการให้บริการของสถานพยาบาลที่ให้การรักษา ร้อยละ 49.0 พอใจ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 77.7 ยังไม่มีความรู้ / เข้าใจเกี่ยวกับการประกันสังคมเพียงพอ มีเพียงร้อยละ 22.3 เท่านั้นที่มีความรู้และเข้าใจเพียงพอ นอกจากนี้ตัวอย่างถึงร้อยละ 84.8 ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมเพียงพอ มีเพียงร้อยละ 15.2 ที่รับรู้ข่าวสารดังกล่าว ซึ่งร้อยละ 93.8 ต้องการรับทราบข้อมูล / ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม และร้อยละ 6.2 ไม่ต้องการรับทราบการบริหารจัดการกองทุนฯ โดยตัวอย่างร้อยละ 42.3 ไม่เห็นด้วยที่จะมีการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ 19.1 เห็นด้วย และ ร้อยละ 38.6 ไม่มีความเห็น ในขณะที่ร้อยละ 55.7 ไม่มั่นใจต่อความโปร่งใสในกรณีที่จะมีการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ 10.4 มั่นใจ และ ร้อยละ 34.9 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามว่า "คุ้มค่าหรือไม่กับเงินประกันสังคมที่ตนเองต้องจ่ายทุกๆเดือน" ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 68.2 เห็นว่าไม่คุ้มค่า ร้อยละ 20.5 เห็นว่าคุ้มค่า และร้อยละ 11.3 ไม่มีความเห็น โดยตัวอย่างถึงร้อยละ 54.7 ไม่พอใจต่อ สวัสดิการด้านการประกันสังคมของรัฐบาลในปัจจุบัน ร้อยละ 29.3 พอใจ และร้อยละ 16.0 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 54.9 ไม่พอใจต่อสวัสดิการต่างๆ จากนายจ้างในปัจจุบัน ร้อยละ 33.2 พอใจ และ ร้อยละ 11.9 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาอีกประเด็นคือ ผู้ใช้แรงงานถึง ร้อยละ 22.9 ประสบปัญหาสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม (อากาศ / แสง / เสียง / สารเคมี) ร้อยละ 11.0 ประสบปัญหานายจ้างให้ทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม ร้อยละ 9.8 ระบุไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ตามลำดับ ซึ่งผู้ใช้แรงงานที่เคยประสบปัญหาต่างๆ ถึงร้อยละ 92.4 ไม่เคยร้องทุกข์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเพียงร้อยละ 7.6 เท่านั้นที่เคยร้องทุกข์
เมื่อสอบถามถึงรายได้ในปัจจุบันว่าเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหรือไม่ พบว่า ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 60.0 ระบุมีรายได้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 40.0 ระบุมีรายได้เพียงพอ โดยร้อยละ 39.7 ไม่พอใจต่อบทบาทการทำงานของกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคมในปัจจุบัน ร้อยละ 30.6 พอใจ และร้อยละ 29.7 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ผู้ใช้แรงงานยังต้องการให้กรมแรงงานและสวัสดิการสังคมช่วยเหลือในเรื่อง การเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ / จัดเก็บเงินค่าประกันสังคมในอัตราที่ต่ำกว่าปัจจุบัน / ควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัย / สภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-