ที่มาของโครงการ
ในปัจจุบัน มีข่าวปัญหาความวุ่นวายต่างๆ เกิดขึ้นในสังคมไทยไม่เว้นแต่ละวัน และนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ทั้งปัญหาการกลับมาของยาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การยกพวกตีกันของกลุ่มวัยรุ่น/ นักเรียน/นักศึกษา การล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาการลักพาตัว รวมถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาเหล่านี้เป็นดัชนีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในสังคมไทยทุกวันนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในสังคมไทยปัจจุบัน
2.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเรื่อง "ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน:กรณีศึกษาประชาชนที่เคยประสบเหตุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25 มีนาคม - 1 พฤษภาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้ประสบเหตุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,573 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 58.5 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 41.5 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 23.4 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 23.3 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 22.0 ระบุ อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 21.3 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 10.0 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 73.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 26.1 ระบุมีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 17.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/ เกษียณอายุ ร้อยละ 17.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 17.3 ระบุพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.7 ระบุอาชีพข้าราชการ /พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
ตัวอย่างร้อยละ 51.4 ระบุสถานที่ตั้งที่พักอาศัยของตนเองในปัจจุบัน อยู่ติดถนนในซอย ร้อยละ 24.9 ระบุอยู่ในซอยแต่ไม่ได้ติดถนน ร้อยละ 14.0 ระบุอยู่ติดถนนใหญ่ และร้อยละ 9.7 ระบุอยู่ในซอยลึก
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน ร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 41.4
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 53.6
3 ไม่ได้ติดตามเลย 5.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่ตนเองหรือสมาชิกใน
ครอบครัวเคยพบเห็น/ประสบเหตุ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่ตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวเคยพบเห็น / ร้อยละ
ประสบเหตุ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
1 การเกิดอุบัติเหตุขณะโดยสารรถประจำทาง 28.5
2 การล่วงละเมิดทางเพศ / การคุกคามทางเพศ 25.7
3 การลักทรัพย์ 20.6
4 การล้วงกระเป๋า 15.5
5 การยักยอกทรัพย์/การฉ้อโกงทรัพย์ 14.2
6 การโจรกรรมยานพาหนะ 13.1
7 การยกพวกตีกันของกลุ่มเยาวชน/นักเรียน/นักศึกษา 10.0
8 การพยายามฆ่าหรือการฆาตกรรม 9.3
9 อื่นๆ อาทิ การทำร้ายร่างกาย /การลวงไปค้าประเวณี ฯลฯ 13.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานที่ ที่เคยพบเห็น/ประสบเหตุ การเกิดเหตุความไม่ปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สินในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานที่ ที่เคยพบเห็น /ประสบเหตุการเกิดเหตุความไม่ ร้อยละ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
1 ในชุมชนที่พักอาศัย 24.9
2 ตลาด /แหล่งชุมชนทั่วไป 23.7
3 บริเวณสะพานลอย 21.6
4 ป้ายหยุดรถประจำทาง 20.8
5 ในห้างสรรพสินค้า 12.4
6 ประสบเหตุขณะเดินทาง/ขณะโดยสารรถประจำทาง 7.5
7 สถานที่ทำงาน 4.6
8 สถานศึกษา 4.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกหวาดกลัวต่อปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ลำดับที่ ความรู้สึกหวาดกลัวต่อปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ
1 หวาดกลัว 16.4
2 ค่อนข้างหวาดกลัว 39.7
3 ไม่ค่อยหวาดกลัว 28.6
4 ไม่หวาดกลัว 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลต่อการก่อวินาศกรรมภายหลังเกิดความไม่สงบขึ้นในภาคใต้
ลำดับที่ ความกังวลต่อการก่อวินาศกรรม ร้อยละ
1 กังวล 67.2
2 ไม่กังวล 32.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ประเมินการเข้าถึงที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในเหตุการณ์ที่เคยประสบ
ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การประเมินการเข้าถึงที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ
1 รวดเร็วมาก 8.1
2 ค่อนข้างเร็ว 28.5
3 ค่อนข้างช้า 47.2
4 ช้ามาก 16.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบปราม
ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบปราม ร้อยละ
ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
1 มั่นใจ 15.3
2 ค่อนข้างมั่นใจ 27.9
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 43.2
4 ไม่มั่นใจ 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน:กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่เคยประสบเหตุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในระหว่างวันที่ 25 มีนาคม - 1 พฤษภาคม 2547 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,573 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 41.4 ระบุติดตามข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมเป็นประจำ ร้อยละ 53.6 ระบุติดตามบ้างเป็นบางครั้ง และร้อยละ 5.0 ระบุไม่ได้ติดตามเลย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ถูกศึกษาครั้งนี้ได้ระบุเหตุการณ์ที่เคยประสบเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินดังนี้ ร้อยละ 28.5 ระบุเคยพบเห็น / ประสบเหตุการเกิดอุบัติเหตุขณะโดยสารรถประจำทาง ร้อยละ 25.7 ระบุเคยพบเห็น/ประสบเหตุ การล่วงละเมิดทางเพศ/การคุกคามทางเพศ ร้อยละ 20.6 ระบุเคยพบเห็น/ ประสบเหตุ การลักทรัพย์ ร้อยละ 15.5 ระบุเคยพบเห็น/ประสบเหตุ การล้วงกระเป๋า และร้อยละ 14.2 ระบุเคยพบเห็น/ ประสบเหตุ การยักยอกทรัพย์/การฉ้อโกงทรัพย์ และร้อยละ 13.1 ระบุเคยประสบเหตุการโจรกรรมยานพาหนะ
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึง สถานที่ที่เคยพบเห็น/ประสบเหตุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 24.9 ระบุเคยพบเห็น/ประสบเหตุดังกล่าวในบริเวณชุมชนที่พักอาศัยของตน ร้อยละ 23.7 ระบุ บริเวณตลาดหรือย่านชุมชนทั่วไป ร้อยละ 21.6 ระบุบริเวณสะพานลอย ร้อยละ 20.8 ระบุบริเวณป้ายหยุดรถประจำทาง และร้อยละ 12.4 ระบุในห้างสรรพสินค้า ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความหวาดกลัวต่อปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 56.1 ระบุ รู้สึกหวาดกลัว/ค่อนข้างหวาดกลัวต่อปัญหาดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ระบุไม่ค่อยหวาดกลัว และ ร้อยละ 15.3 ระบุไม่รู้สึกหวาดกลัว นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 รู้สึกกังวลต่อการก่อวินาศกรรมภายหลังเกิดความไม่สงบขึ้นในภาคใต้ ในขณะที่ร้อยละ 32.8 ไม่กังวล
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจ และเป็นประเด็นที่หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งก็คือ ความคิดเห็นของตัวอย่างในการประเมินการเข้าถึงที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งพบว่า ตัวอย่าง 63.4 ระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ ค่อนข้างช้า / ช้ามาก ในขณะที่ร้อยละ 28.5 ระบุเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงค่อนข้างเร็ว และร้อยละ 8.1 ระบุมาถึงเร็วมาก ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 56.8 ระบุไม่มั่นใจ/ไม่ค่อยมั่นใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบปรามปัญหาด้าน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 27.9 ระบุค่อนข้างมั่นใจ และร้อยละ 15.3 ระบุมั่นใจ ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
ในปัจจุบัน มีข่าวปัญหาความวุ่นวายต่างๆ เกิดขึ้นในสังคมไทยไม่เว้นแต่ละวัน และนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ทั้งปัญหาการกลับมาของยาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การยกพวกตีกันของกลุ่มวัยรุ่น/ นักเรียน/นักศึกษา การล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาการลักพาตัว รวมถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาเหล่านี้เป็นดัชนีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในสังคมไทยทุกวันนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในสังคมไทยปัจจุบัน
2.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเรื่อง "ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน:กรณีศึกษาประชาชนที่เคยประสบเหตุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25 มีนาคม - 1 พฤษภาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้ประสบเหตุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,573 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 58.5 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 41.5 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 23.4 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 23.3 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 22.0 ระบุ อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 21.3 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 10.0 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 73.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 26.1 ระบุมีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 17.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/ เกษียณอายุ ร้อยละ 17.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 17.3 ระบุพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.7 ระบุอาชีพข้าราชการ /พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
ตัวอย่างร้อยละ 51.4 ระบุสถานที่ตั้งที่พักอาศัยของตนเองในปัจจุบัน อยู่ติดถนนในซอย ร้อยละ 24.9 ระบุอยู่ในซอยแต่ไม่ได้ติดถนน ร้อยละ 14.0 ระบุอยู่ติดถนนใหญ่ และร้อยละ 9.7 ระบุอยู่ในซอยลึก
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน ร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 41.4
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 53.6
3 ไม่ได้ติดตามเลย 5.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่ตนเองหรือสมาชิกใน
ครอบครัวเคยพบเห็น/ประสบเหตุ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่ตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวเคยพบเห็น / ร้อยละ
ประสบเหตุ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
1 การเกิดอุบัติเหตุขณะโดยสารรถประจำทาง 28.5
2 การล่วงละเมิดทางเพศ / การคุกคามทางเพศ 25.7
3 การลักทรัพย์ 20.6
4 การล้วงกระเป๋า 15.5
5 การยักยอกทรัพย์/การฉ้อโกงทรัพย์ 14.2
6 การโจรกรรมยานพาหนะ 13.1
7 การยกพวกตีกันของกลุ่มเยาวชน/นักเรียน/นักศึกษา 10.0
8 การพยายามฆ่าหรือการฆาตกรรม 9.3
9 อื่นๆ อาทิ การทำร้ายร่างกาย /การลวงไปค้าประเวณี ฯลฯ 13.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานที่ ที่เคยพบเห็น/ประสบเหตุ การเกิดเหตุความไม่ปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สินในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานที่ ที่เคยพบเห็น /ประสบเหตุการเกิดเหตุความไม่ ร้อยละ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
1 ในชุมชนที่พักอาศัย 24.9
2 ตลาด /แหล่งชุมชนทั่วไป 23.7
3 บริเวณสะพานลอย 21.6
4 ป้ายหยุดรถประจำทาง 20.8
5 ในห้างสรรพสินค้า 12.4
6 ประสบเหตุขณะเดินทาง/ขณะโดยสารรถประจำทาง 7.5
7 สถานที่ทำงาน 4.6
8 สถานศึกษา 4.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกหวาดกลัวต่อปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ลำดับที่ ความรู้สึกหวาดกลัวต่อปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ
1 หวาดกลัว 16.4
2 ค่อนข้างหวาดกลัว 39.7
3 ไม่ค่อยหวาดกลัว 28.6
4 ไม่หวาดกลัว 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลต่อการก่อวินาศกรรมภายหลังเกิดความไม่สงบขึ้นในภาคใต้
ลำดับที่ ความกังวลต่อการก่อวินาศกรรม ร้อยละ
1 กังวล 67.2
2 ไม่กังวล 32.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ประเมินการเข้าถึงที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในเหตุการณ์ที่เคยประสบ
ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การประเมินการเข้าถึงที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ
1 รวดเร็วมาก 8.1
2 ค่อนข้างเร็ว 28.5
3 ค่อนข้างช้า 47.2
4 ช้ามาก 16.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบปราม
ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบปราม ร้อยละ
ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
1 มั่นใจ 15.3
2 ค่อนข้างมั่นใจ 27.9
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 43.2
4 ไม่มั่นใจ 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน:กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่เคยประสบเหตุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในระหว่างวันที่ 25 มีนาคม - 1 พฤษภาคม 2547 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,573 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 41.4 ระบุติดตามข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมเป็นประจำ ร้อยละ 53.6 ระบุติดตามบ้างเป็นบางครั้ง และร้อยละ 5.0 ระบุไม่ได้ติดตามเลย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ถูกศึกษาครั้งนี้ได้ระบุเหตุการณ์ที่เคยประสบเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินดังนี้ ร้อยละ 28.5 ระบุเคยพบเห็น / ประสบเหตุการเกิดอุบัติเหตุขณะโดยสารรถประจำทาง ร้อยละ 25.7 ระบุเคยพบเห็น/ประสบเหตุ การล่วงละเมิดทางเพศ/การคุกคามทางเพศ ร้อยละ 20.6 ระบุเคยพบเห็น/ ประสบเหตุ การลักทรัพย์ ร้อยละ 15.5 ระบุเคยพบเห็น/ประสบเหตุ การล้วงกระเป๋า และร้อยละ 14.2 ระบุเคยพบเห็น/ ประสบเหตุ การยักยอกทรัพย์/การฉ้อโกงทรัพย์ และร้อยละ 13.1 ระบุเคยประสบเหตุการโจรกรรมยานพาหนะ
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึง สถานที่ที่เคยพบเห็น/ประสบเหตุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 24.9 ระบุเคยพบเห็น/ประสบเหตุดังกล่าวในบริเวณชุมชนที่พักอาศัยของตน ร้อยละ 23.7 ระบุ บริเวณตลาดหรือย่านชุมชนทั่วไป ร้อยละ 21.6 ระบุบริเวณสะพานลอย ร้อยละ 20.8 ระบุบริเวณป้ายหยุดรถประจำทาง และร้อยละ 12.4 ระบุในห้างสรรพสินค้า ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความหวาดกลัวต่อปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 56.1 ระบุ รู้สึกหวาดกลัว/ค่อนข้างหวาดกลัวต่อปัญหาดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ระบุไม่ค่อยหวาดกลัว และ ร้อยละ 15.3 ระบุไม่รู้สึกหวาดกลัว นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 รู้สึกกังวลต่อการก่อวินาศกรรมภายหลังเกิดความไม่สงบขึ้นในภาคใต้ ในขณะที่ร้อยละ 32.8 ไม่กังวล
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจ และเป็นประเด็นที่หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งก็คือ ความคิดเห็นของตัวอย่างในการประเมินการเข้าถึงที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งพบว่า ตัวอย่าง 63.4 ระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ ค่อนข้างช้า / ช้ามาก ในขณะที่ร้อยละ 28.5 ระบุเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงค่อนข้างเร็ว และร้อยละ 8.1 ระบุมาถึงเร็วมาก ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 56.8 ระบุไม่มั่นใจ/ไม่ค่อยมั่นใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบปรามปัญหาด้าน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 27.9 ระบุค่อนข้างมั่นใจ และร้อยละ 15.3 ระบุมั่นใจ ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-