ที่มาของโครงการ
จากสภาวะเศรษฐกิจไทยซึ่งหลายฝ่ายลงความเห็นว่ามีระดับการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มดี ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากโรคซาร์ส และการระบาดของโรคไข้หวัดนกก็ตาม สภาวะเศรษฐกิจไทยก็ยังสามารถรักษาระดับการเจริญเติบโตได้ในระดับที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 - 2 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีปัจจัยที่เป็นแรงกดดันเศรษฐกิจไทย อาทิ เช่น สถานการณ์ทางภาคใต้ ราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น (ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.5%) ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาสูงขึ้น รวมถึงภาระในด้านค่าใช้จ่ายของประชาชนโดยทั่วไปก็สูงขึ้นตามไปด้วย สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ได้มีการสำรวจสภาวะค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินของครัวเรือนอยู่สม่ำเสมอในแต่ละช่วงเวลา เนื่องจากครัวเรือนเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่เล็กที่สุด และเป็นส่วนที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงเปิดเทอมใหม่นี้ จะพบว่าแต่ละ ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็คือค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน นั่นเอง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานในแต่ละครัวเรือนในช่วงเปิดเทอมใหม่ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานในช่วงเปิดเทอม
2.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ค่าใช้จ่ายของ ผู้ปกครองในช่วงเปิดภาคเรียน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึง ตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,194 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 65.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 34.9 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 9.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 35.6 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 39.4 อายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 15.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 79.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 19.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เมื่อพิจารณาถึงรายได้ต่อเดือนของครัวเรือนพบว่า ร้อยละ 11.4 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 32.8 ระบุรายได้ 5,001 - 10,000 บาท ร้อยละ 15.6 ระบุรายได้ 10,001 - 15,000 บาท ร้อยละ 15.1 ระบุ รายได้ระหว่าง15,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 3.1 ระบุรายได้ระหว่าง 20,001 - 25,000 บาท ร้อยละ 8.7 ระบุรายได้ 25,001 - 30,000 บาท ขณะที่ร้อยละ 13.3 ระบุรายได้มากกว่า 30,000 บาท
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับการศึกษาของบุตรหลานที่กำลังศึกษาอยู่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ระดับการศึกษาของบุตรหลาน ค่าร้อยละ
1 อนุบาล / ประถมศึกษา 61.7
2 มัธยมศึกษา 39.9
3 อนุปริญญา ( ปวช. / ปวส. ) 14.9
4 ปริญญาตรี 19.2
5 สูงกว่าปริญญาตรี 0.6
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของสถานศึกษาที่บุตรหลานกำลังศึกษาอยู่
ลำดับที่ ประเภทของสถานศึกษา ค่าร้อยละ
1 สถานศึกษาภาครัฐบาล 57.6
2 สถานศึกษาภาคเอกชน 28.9
3 ทั้งภาครัฐและเอกชน 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน ( ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน ค่าร้อยละ
1 เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง 62.7
2 สามี / ภรรยา เป็นผู้รับผิดชอบ 50.4
3 ญาติสนิท 6.6
4 ทุนการศึกษาจากองค์กรของภาครัฐ 6.5
5 บุตรหลานที่สำเร็จการศึกษาแล้ว 3.1
6 ทุนการศึกษาจากองค์กรของภาคเอกชน 0.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประสบปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา
ของบุตรหลาน
ลำดับที่ การประสบปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน ค่าร้อยละ
1 เดือดร้อน 53.4
2 ไม่เดือดร้อน 46.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการแก้ปัญหาความเดือดร้อนด้านค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา
ของบุตรหลาน (เฉพาะตัวอย่างที่ระบุเดือดร้อน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ วิธีการแก้ปัญหาความเดือดร้อน ค่าร้อยละ
1 จากการกู้ยืมเงิน 45.7
2 หารายได้เสริม 44.3
3 นำเงินที่เก็บออมไว้มาใช้จ่าย 23.9
4 จากการขาย / จำนำทรัพย์สินมีค่า 21.3
5 จากการเล่นแชร์ 14.1
6 จากการเสี่ยงโชค / การพนัน 8.9
7 รายได้พิเศษของบุตรหลาน 5.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งกู้ยืมเมื่อประสบปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้าน
การศึกษาของบุตรหลาน
ลำดับที่ แหล่งกู้ยืมเงิน ค่าร้อยละ
1 เงินกู้นอกระบบ 32.6
2 เพื่อน 21.9
3 ญาติ / พี่น้อง 14.9
4 ธนาคาร 12.8
5 กองทุนหมู่บ้าน 7.5
6 อื่น อาทิ สหกรณ์ /บัตรเครดิต /
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา /
ทุนการศึกษาจากบริษัทเอกชนต่างๆ เป็นต้น 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุใช้แหล่งเงินกู้นอกระบบ ต้องเสียอัตราดอกเบี้ย โดยเฉลี่ย ร้อยละ11.16 ต่อเดือน
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเสียค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน ในแต่ละเทอม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา ค่าร้อยละ
1 ค่าเทอม / ค่าเล่าเรียน 83.8
2 ค่าอุปกรณ์การเรียน - ตำราเรียน 79.7
3 ค่าเครื่องแต่งกายชุดนักเรียน / นักศึกษา 76.0
4 ค่าอาหาร / ค่าเดินทาง 74.0
5 ค่ากิจกรรมเสริมหลักสูตร / เรียนพิเศษ 46.3
6 ค่าบำรุงโรงเรียน / แป๊ะเจี๊ยะ / โสหุ้ย 18.6
7 ค่าหอพัก 9.5
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยต่อเทอมของค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน
ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา ค่าเฉลี่ย (บาท/เทอม)
1 ค่าเทอม / ค่าเล่าเรียน 9,408.35
2 ค่ากิจกรรมเสริมหลักสูตร / เรียนพิเศษ 5,681.49
3 ค่าหอพัก 3,794.95
4 ค่าบำรุงโรงเรียน / แป๊ะเจี๊ยะ / โสหุ้ย 2,556.29
5 ค่าเครื่องแต่งกายชุดนักเรียน / นักศึกษา 2,504.44
6 ค่าอุปกรณ์การเรียน - ตำราเรียน 2,237.26
7 ค่าอาหาร / ค่าเดินทาง 1,694.94
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "ค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดภาคเรียน" ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2547 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 1,194 ตัวอย่าง ซึ่งผลการสำรวจค้นพบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาดังต่อไปนี้
เมื่อพิจารณาค่าร้อยละของตัวอย่างจำแนกตาม ประเภทสถานศึกษาของบุตรหลานพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.6 ระบุมีบุตรหลานศึกษาอยู่ในสถานศึกษาของภาครัฐ ร้อยละ 28.9 ระบุมีบุตรหลานศึกษาอยู่ในสถานศึกษาภาคเอกชน และร้อยละ 13.5 ระบุมีบุตรหลานศึกษาอยู่ในสถานศึกษาทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัย ได้สอบถามต่อไปถึงการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 62.7 ระบุเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง ร้อยละ 50.4 ระบุสามี/ภรรยา เป็นผู้รับผิดชอบ ร้อยละ 6.6 ระบุ ญาติสนิท ร้อยละ 6.5 ระบุได้รับทุนการศึกษาจากองค์กรภาครัฐ ร้อยละ 3.1 ระบุบุตรหลานที่สำเร็จการศึกษาแล้ว และร้อยละ 0.8 ได้รับทุนการศึกษาจากภาคเอกชน ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจก็คือ ผลการสำรวจในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.4 ระบุมีปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน ในขณะที่ร้อยละ 46.6 ระบุไม่เดือดร้อน ซึ่งเมื่อคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาถึงวิธีการในการแก้ไขปัญหาเมื่อตัวอย่างประสบปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน จึงได้พบประเด็นที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างร้อยละ 45.7 ระบุแก้ปัญหาด้วยการกู้ยืมเงิน ร้อยละ 44.3 ระบุแก้ปัญหาด้วยการทำงานหารายได้เสริม ร้อยละ 23.9 ระบุแก้ปัญหาด้วยการนำเงินที่เก็บออมไว้มาใช้จ่าย ร้อยละ 21.3 ระบุแก้ปัญหาด้วยการขาย/จำนำทรัพย์สินมีค่า และร้อยละ 14.1 ระบุแก้ปัญหาด้วยการเล่นแชร์
ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ระบุว่าแก้ปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวด้วยการกู้ยืมเงินนั้น ได้ระบุว่าแหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่เป็นแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 11.16 ต่อเดือน อย่างไรก็ตามผลการสำรวจครั้งนี้พบว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ต้องจ่ายคือ ร้อยละ 20 ต่อเดือน
ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงขอเสนอให้รัฐบาลดำเนินการอย่างจริงจังในจัดการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึง และจัดการกับการให้กู้ยืมนอกระบบที่ลูกหนี้มักจะเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบเป็นปัญหาเร่งด่วนเพื่อลดปัญหาหนี้ในภาคครัวเรือนและเพื่อดูแลการกู้ยืมให้อยู่ในระบบ สามารถควบคุมได้ และมีความยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่สภาวะเศรษฐกิจได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกอย่างเช่น ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และมีผลทำให้ราคาสินค้าทั่วไปมีราคาสูงขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนสูงขึ้นอย่างเช่นปัจจุบัน
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
จากสภาวะเศรษฐกิจไทยซึ่งหลายฝ่ายลงความเห็นว่ามีระดับการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มดี ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากโรคซาร์ส และการระบาดของโรคไข้หวัดนกก็ตาม สภาวะเศรษฐกิจไทยก็ยังสามารถรักษาระดับการเจริญเติบโตได้ในระดับที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 - 2 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีปัจจัยที่เป็นแรงกดดันเศรษฐกิจไทย อาทิ เช่น สถานการณ์ทางภาคใต้ ราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น (ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.5%) ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาสูงขึ้น รวมถึงภาระในด้านค่าใช้จ่ายของประชาชนโดยทั่วไปก็สูงขึ้นตามไปด้วย สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ได้มีการสำรวจสภาวะค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินของครัวเรือนอยู่สม่ำเสมอในแต่ละช่วงเวลา เนื่องจากครัวเรือนเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่เล็กที่สุด และเป็นส่วนที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงเปิดเทอมใหม่นี้ จะพบว่าแต่ละ ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็คือค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน นั่นเอง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานในแต่ละครัวเรือนในช่วงเปิดเทอมใหม่ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานในช่วงเปิดเทอม
2.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ค่าใช้จ่ายของ ผู้ปกครองในช่วงเปิดภาคเรียน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึง ตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,194 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 65.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 34.9 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 9.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 35.6 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 39.4 อายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 15.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 79.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 19.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เมื่อพิจารณาถึงรายได้ต่อเดือนของครัวเรือนพบว่า ร้อยละ 11.4 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 32.8 ระบุรายได้ 5,001 - 10,000 บาท ร้อยละ 15.6 ระบุรายได้ 10,001 - 15,000 บาท ร้อยละ 15.1 ระบุ รายได้ระหว่าง15,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 3.1 ระบุรายได้ระหว่าง 20,001 - 25,000 บาท ร้อยละ 8.7 ระบุรายได้ 25,001 - 30,000 บาท ขณะที่ร้อยละ 13.3 ระบุรายได้มากกว่า 30,000 บาท
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับการศึกษาของบุตรหลานที่กำลังศึกษาอยู่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ระดับการศึกษาของบุตรหลาน ค่าร้อยละ
1 อนุบาล / ประถมศึกษา 61.7
2 มัธยมศึกษา 39.9
3 อนุปริญญา ( ปวช. / ปวส. ) 14.9
4 ปริญญาตรี 19.2
5 สูงกว่าปริญญาตรี 0.6
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของสถานศึกษาที่บุตรหลานกำลังศึกษาอยู่
ลำดับที่ ประเภทของสถานศึกษา ค่าร้อยละ
1 สถานศึกษาภาครัฐบาล 57.6
2 สถานศึกษาภาคเอกชน 28.9
3 ทั้งภาครัฐและเอกชน 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน ( ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน ค่าร้อยละ
1 เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง 62.7
2 สามี / ภรรยา เป็นผู้รับผิดชอบ 50.4
3 ญาติสนิท 6.6
4 ทุนการศึกษาจากองค์กรของภาครัฐ 6.5
5 บุตรหลานที่สำเร็จการศึกษาแล้ว 3.1
6 ทุนการศึกษาจากองค์กรของภาคเอกชน 0.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประสบปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา
ของบุตรหลาน
ลำดับที่ การประสบปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน ค่าร้อยละ
1 เดือดร้อน 53.4
2 ไม่เดือดร้อน 46.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการแก้ปัญหาความเดือดร้อนด้านค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา
ของบุตรหลาน (เฉพาะตัวอย่างที่ระบุเดือดร้อน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ วิธีการแก้ปัญหาความเดือดร้อน ค่าร้อยละ
1 จากการกู้ยืมเงิน 45.7
2 หารายได้เสริม 44.3
3 นำเงินที่เก็บออมไว้มาใช้จ่าย 23.9
4 จากการขาย / จำนำทรัพย์สินมีค่า 21.3
5 จากการเล่นแชร์ 14.1
6 จากการเสี่ยงโชค / การพนัน 8.9
7 รายได้พิเศษของบุตรหลาน 5.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งกู้ยืมเมื่อประสบปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้าน
การศึกษาของบุตรหลาน
ลำดับที่ แหล่งกู้ยืมเงิน ค่าร้อยละ
1 เงินกู้นอกระบบ 32.6
2 เพื่อน 21.9
3 ญาติ / พี่น้อง 14.9
4 ธนาคาร 12.8
5 กองทุนหมู่บ้าน 7.5
6 อื่น อาทิ สหกรณ์ /บัตรเครดิต /
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา /
ทุนการศึกษาจากบริษัทเอกชนต่างๆ เป็นต้น 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุใช้แหล่งเงินกู้นอกระบบ ต้องเสียอัตราดอกเบี้ย โดยเฉลี่ย ร้อยละ11.16 ต่อเดือน
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเสียค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน ในแต่ละเทอม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา ค่าร้อยละ
1 ค่าเทอม / ค่าเล่าเรียน 83.8
2 ค่าอุปกรณ์การเรียน - ตำราเรียน 79.7
3 ค่าเครื่องแต่งกายชุดนักเรียน / นักศึกษา 76.0
4 ค่าอาหาร / ค่าเดินทาง 74.0
5 ค่ากิจกรรมเสริมหลักสูตร / เรียนพิเศษ 46.3
6 ค่าบำรุงโรงเรียน / แป๊ะเจี๊ยะ / โสหุ้ย 18.6
7 ค่าหอพัก 9.5
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยต่อเทอมของค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน
ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา ค่าเฉลี่ย (บาท/เทอม)
1 ค่าเทอม / ค่าเล่าเรียน 9,408.35
2 ค่ากิจกรรมเสริมหลักสูตร / เรียนพิเศษ 5,681.49
3 ค่าหอพัก 3,794.95
4 ค่าบำรุงโรงเรียน / แป๊ะเจี๊ยะ / โสหุ้ย 2,556.29
5 ค่าเครื่องแต่งกายชุดนักเรียน / นักศึกษา 2,504.44
6 ค่าอุปกรณ์การเรียน - ตำราเรียน 2,237.26
7 ค่าอาหาร / ค่าเดินทาง 1,694.94
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "ค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดภาคเรียน" ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2547 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 1,194 ตัวอย่าง ซึ่งผลการสำรวจค้นพบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาดังต่อไปนี้
เมื่อพิจารณาค่าร้อยละของตัวอย่างจำแนกตาม ประเภทสถานศึกษาของบุตรหลานพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.6 ระบุมีบุตรหลานศึกษาอยู่ในสถานศึกษาของภาครัฐ ร้อยละ 28.9 ระบุมีบุตรหลานศึกษาอยู่ในสถานศึกษาภาคเอกชน และร้อยละ 13.5 ระบุมีบุตรหลานศึกษาอยู่ในสถานศึกษาทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัย ได้สอบถามต่อไปถึงการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 62.7 ระบุเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง ร้อยละ 50.4 ระบุสามี/ภรรยา เป็นผู้รับผิดชอบ ร้อยละ 6.6 ระบุ ญาติสนิท ร้อยละ 6.5 ระบุได้รับทุนการศึกษาจากองค์กรภาครัฐ ร้อยละ 3.1 ระบุบุตรหลานที่สำเร็จการศึกษาแล้ว และร้อยละ 0.8 ได้รับทุนการศึกษาจากภาคเอกชน ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจก็คือ ผลการสำรวจในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.4 ระบุมีปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน ในขณะที่ร้อยละ 46.6 ระบุไม่เดือดร้อน ซึ่งเมื่อคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาถึงวิธีการในการแก้ไขปัญหาเมื่อตัวอย่างประสบปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน จึงได้พบประเด็นที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างร้อยละ 45.7 ระบุแก้ปัญหาด้วยการกู้ยืมเงิน ร้อยละ 44.3 ระบุแก้ปัญหาด้วยการทำงานหารายได้เสริม ร้อยละ 23.9 ระบุแก้ปัญหาด้วยการนำเงินที่เก็บออมไว้มาใช้จ่าย ร้อยละ 21.3 ระบุแก้ปัญหาด้วยการขาย/จำนำทรัพย์สินมีค่า และร้อยละ 14.1 ระบุแก้ปัญหาด้วยการเล่นแชร์
ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ระบุว่าแก้ปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวด้วยการกู้ยืมเงินนั้น ได้ระบุว่าแหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่เป็นแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 11.16 ต่อเดือน อย่างไรก็ตามผลการสำรวจครั้งนี้พบว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ต้องจ่ายคือ ร้อยละ 20 ต่อเดือน
ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงขอเสนอให้รัฐบาลดำเนินการอย่างจริงจังในจัดการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึง และจัดการกับการให้กู้ยืมนอกระบบที่ลูกหนี้มักจะเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบเป็นปัญหาเร่งด่วนเพื่อลดปัญหาหนี้ในภาคครัวเรือนและเพื่อดูแลการกู้ยืมให้อยู่ในระบบ สามารถควบคุมได้ และมีความยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่สภาวะเศรษฐกิจได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกอย่างเช่น ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และมีผลทำให้ราคาสินค้าทั่วไปมีราคาสูงขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนสูงขึ้นอย่างเช่นปัจจุบัน
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-