เอแบคโพลล์: เสียงสะท้อนของผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนทั่วไปต่อนโยบายค่าแรง 300 บาท และเงินเดือน 15,000 บาท

ข่าวผลสำรวจ Thursday April 5, 2012 10:47 —เอแบคโพลล์

นายวีรศักดิ์ อนุสนธิวงษ์ นายกสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs) เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยธุรกิจ เอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อนของผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนต่อนโยบายค่าแรง 300 บาท และเงินเดือน 15,000 บาท กรณีศึกษาตัวอย่างผู้ประกอบการ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และประชาชนใน 7 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และภูเก็ต จำนวน 715 บริษัท และประชาชนทั่วไปจำนวน 1,249 ตัวอย่าง ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ ร้อยละ 7 ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 มีนาคม — 4 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา

ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างกลุ่ม SMEs เกือบทั้งหมดหรือร้อยละ 94.0 ระบุรับทราบข่าวนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 6.0 ระบุไม่ทราบข่าวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนี้ นอกจากนี้สถานประกอบการขนาดเล็กหรือธุรกิจ SMEs ส่วนมากหรือร้อยละ 86.7 ระบุได้รับผลกระทบมากจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีเพียงร้อยละ 13.3 เท่านั้นที่ระบุได้รับผลกระทบน้อย

ประเด็นที่น่าพิจารณาคือตัวอย่าง SMEs จำนวนมากหรือร้อยละ 85.5 ระบุรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลต่อสถานประกอบการขนาดเล็กหรือธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.0 คิดว่านโยบายนี้เป็นนโยบายประชานิยมที่มุ่งหาเสียงหรือคะแนนนิยมมากจนเกินไป

นอกจากนี้ ผลการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า กลุ่ม SMEs จำนวนมากมีความเคลือบแคลงสงสัยในนโยบายของรัฐบาลว่านโยบายดังกล่าวนี้กำลังเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทุนบริษัทขนาดใหญ่แต่ละเลยกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่สามารถอยู่รอดได้

เมื่อสอบถามกลุ่มประชาชนทั่วไป ต่อผลกระทบที่ได้รับจากนโยบายค่าแรง 300 บาท และเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.5 ระบุราคาสินค้าและบริการได้เพิ่มสูงขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว รองลงมาร้อยละ 65.6 ระบุต้นทุนนายจ้างเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 60.8 ระบุคนงานถูกเลิกจ้าง ร้อยละ 59.9 ระบุปรับปรุงคุณภาพการทำงาน ร้อยละ 55.8 ระบุบริษัทและโรงงานขนาดเล็กจะปิดตัวลง และร้อยละ 1.5 ระบุต้องทำงานให้ได้มากขึ้น ตามลำดับ

ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับความช่วยเหลือที่ประชาชนอยากได้จากรัฐบาลมากที่สุด พบว่าตัวอย่างเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.5 ระบุการควบคุมราคาสินค้าและบริการ รองลงมาร้อยละ 16.3 ระบุการประกันสุขภาพ ร้อยละ 9.8 ระบุอยากให้ช่วยเหลือในเรื่องที่ทำกิน ส่งเสริมการประกอบอาชีพและธุรกิจ นอกจากนี้ประเด็นอื่นๆ ที่ประชาชนระบุเพิ่มเติม ได้แก่ นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันและเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน การช่วยเหลือด้านการศึกษาของบุตรหลาน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการดูแลปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เพิ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรีต่อความกังวลว่าจะตกงานจากนโยบายเงินเดือน 15,000 บาท พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 62.8 ระบุรู้สึกวิตกกังวลว่าจะตกงาน ในขณะที่ร้อยละ 37.2 ระบุไม่กังวล

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 62.0 ประกอบธุรกิจผลิต/อุตสาหกรรม ร้อยละ 16.2 ระบุธุรกิจค้าส่ง ร้อยละ 16.0 ระบุธุรกิจบริการ และร้อยละ 5.8 ระบุธุรกิจค้าปลีก และเมื่อจำแนกตามจำนวนพนักงาน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.8 ระบุไม่เกิน 50 คน ร้อยละ 34.6 ระบุ 51-200 คน ร้อยละ 25.6 ระบุ 201 คนขึ้นไป สำหรับตำแหน่งงานในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 43.7 ระบุระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 34.5 ระบุหัวหน้า ร้อยละ 11.9 ระบุผู้บริหารระดับสูง ร้อยละ 9.9 ระบุเจ้าของกิจการ

          จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง        ร้อยละ 47.2 เป็นชาย

ร้อยละ 52.8 เป็นหญิง

                                              ตัวอย่าง        ร้อยละ 4.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี

ร้อยละ 19.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี

ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี

และร้อยละ 34.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป

                                             ตัวอย่าง         ร้อยละ 64.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 30.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

                                             ตัวอย่าง         ร้อยละ 33.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 9.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน

ร้อยละ 9.3 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.6 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 8.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 3.3 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

เสียงสะท้อนของกลุ่ม SMEs

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง SME ที่ระบุการรับทราบข่าวนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน
ลำดับที่          การรับรู้/รับทราบของกลุ่ม SMEs        ค่าร้อยละ
1          ทราบข่าว                               94.0
2          ไม่ทราบข่าว                              6.0
          รวมทั้งสิ้น                               100.0


ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง SMEs ที่ระบุระดับผลกระทบต่อสถานประกอบการขนาดเล็ก หรือธุรกิจ SMEs

จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ลำดับที่          ความคิดเห็นของกลุ่ม  SMEs       ค่าร้อยละ
1          ได้รับผลกระทบมาก                    86.7
2          ได้รับผลกระทบน้อย                    13.3
          รวมทั้งสิ้น                           100.0


ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง SMEs ที่ระบุ ความชัดเจนในมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลต่อสถานประการขนาดเล็ก
หรือธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
ลำดับที่          ความคิดเห็นของกลุ่ม SMEs          ค่าร้อยละ
1          ยังไม่ชัดเจน                          85.5
2          ชัดเจนดีแล้ว                          14.5
          รวมทั้งสิ้น                            100.0


ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง SMEs ที่ระบุ นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันของรัฐบาล
เป็นนโยบายประชานิยมที่มุ่งหาเสียงหรือคะแนนนิยมมากจนเกินไป
ลำดับที่          ความคิดเห็นของกลุ่ม SMEs              ค่าร้อยละ
1          คิดว่าเป็นนโยบายประชานิยมมากเกินไป          78.0
2          คิดว่าไม่ใช่                               22.0
          รวมทั้งสิ้น                                100.0

เสียงสะท้อนของประชาชนทั่วไป

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากนโยบายค่าแรง 300 บาทและเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ผลกระทบที่ประชาชนได้รับ                     ค่าร้อยละ
1          ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นไปก่อน                 90.5
2          ต้นทุนนายจ้างเพิ่มสูงขึ้น                            65.6
3          คนงานถูกเลิกจ้างงาน                             60.8
4          ปรับปรุงคุณภาพการทำงานของตน                     59.9
5          บริษัทและโรงงานขนาดเล็กจะปิดตัวลง                 55.8
6          ต้องทำงานให้ได้มากขึ้น                             1.5

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความช่วยเหลือที่ประชาชนอยากได้จากรัฐบาลมากที่สุด
ลำดับที่          ความต้องการของประชาชนทั่วไป                                   ค่าร้อยละ
1          ควบคุมราคาสินค้าและบริการ                                           47.5
2          ประกันสุขภาพ                                                      16.3
3          ช่วยเหลือเรื่องที่ทำกิน ส่งเสริมการประกอบอาชีพและทำธุรกิจ                    9.8
4          นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน   8.0
5          ช่วยด้านการศึกษาของบุตรหลาน                                          7.1
6          ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                                         6.2
7          มลพิษ สิ่งแวดล้อม                                                    3.3
8          ไม่ระบุ                                                            1.8
          รวมทั้งสิ้น                                                         100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่เพิ่งจบปริญญาตรี ระบุความกังวลจะตกงาน จากนโยบายเงินเดือน 15,000 บาท
ลำดับที่          ความกังวลของคนที่เพิ่งจบปริญญาตรี            ค่าร้อยละ
1          กังวล                                        62.8
2          ไม่กังวล                                      37.2
          รวมทั้งสิ้น                                     100.0

--เอแบคโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ