ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความสุขมวลรวม ของคนไทยกับเทศกาลสงกรานต์และความปรองดองของคนในชาติ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ 17 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี พะเยา เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ นครพนม สกลนคร สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา กระบี่ นราธิวาส และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,319 ตัวอย่าง โดยดำเนินการสำรวจในระหว่างวันที่ 2 — 7 เมษายน 2555 ที่ผ่าน มา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกเขต/อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับ ครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
แนวโน้มความสุขมวลรวมของคนไทยยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 7.55 ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 6.66 ในเดือนมกราคมปี นี้ ลดลงมาอยู่ที่ 6.42 ในเดือนกุมภาพันธ์ และเหลือ 6.18 ในเดือนมีนาคม โดยมีปัจจัยลบที่ฉุดความสุขมวลรวมของคนไทยลดลงอยู่ที่ปัญหาด้าน เศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น รายได้เท่าเดิมหรือลดลง ปัญหาความขัดแย้งแตกแยกทางการเมือง และปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงแม้ว่าจะมีงานรื่นเริง เทศกาลสงกรานต์ในอีกไม่กี่วันข้างหน้าก็ยังไม่สามารถทำให้คนไทยมีความสุขมวลรวมเพิ่มสูง ขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงการให้ความสำคัญกับวันสงกรานต์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.8 ให้ความสำคัญโดยตั้งใจจะทำบุญตัก บาตร ไปวัดทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส และจะถือเป็นวันรวมญาติอีกด้วย แต่ปัญหาที่เคยพบเห็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.2 เคยพบเห็นอุบัติเหตุถึงขั้นมีคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ในขณะที่ร้อยละ 50.3 เคยพบเห็นการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 44.8 พบ เจอปัญหาจราจรติดขัด และที่น่าเป็นห่วงคือ เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 38.2 พบเห็นการลวนลามทางเพศ กระทำอนาจาร และร้อยละ 34.7 พบเห็นคนเมาก่อความเดือดร้อนรำคาญ ในขณะที่รองๆ ลงไปคือ การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราว โรคภัยที่มาจากการเล่นน้ำสกปรก การใช้ก้อนน้ำแข็ง สาดปนกับน้ำ การสาดน้ำบนท้องถนนที่เสี่ยงอันตราย และการใช้สารเคมีหรือแป้งที่เป็นอันตราย เป็นต้น
นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.7 คิดว่าเป็นไปได้ที่จะเกิดการก่อวินาศกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์อีกและยังไม่มั่นใจ ในมาตรการป้องกันของหน่วยงานรัฐ ในขณะที่ร้อยละ 38.3 คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้อีก โดยเสนอให้มีการเพิ่มความเข้มงวด ตั้งด่าน มีรถยนต์ สายตรวจลาดตระเวน เปิดสัญญาณไฟ สายตรวจเดินเท้า สุนัขดมกลิ่น อุปกรณ์ตรวจวัตถุระเบิด มีการนำรถดับเพลิง รถพยาบาล เตรียมพร้อมในที่ สาธารณะ และจุดล่อแหลมต่างๆ เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงบรรยากาศความขัดแย้งแตกแยกในเรื่องการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ระบุว่าบรรยากาศ ความขัดแย้งแตกแยกในเรื่องการเมืองเวลานี้อยู่ในระดับค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด แต่เมื่อถามถึงความขัดแย้งระหว่างตนเองกับคนอื่นในเรื่อง การเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.4 ระบุขัดแย้งค่อนข้างน้อยถึงไม่มีเลย นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.9 เห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่จะใช้โอกาสที่ดีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้คนไทยหันหน้ามาปรองดองและสามัคคีเกื้อกูลกัน
โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.3 เห็นว่า กระบวนการยุติธรรมจะเป็นทางออกช่วยทำให้เกิดความปรองดองขึ้นในสังคมไทย และส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 58.5 เห็นด้วยว่า การอาศัยกฎหมายนิรโทษกรรมคือการให้อภัยในคดีความทางการเมืองเป็นทางออก และเกินครึ่งหรือร้อยละ 53.7 เห็นด้วยว่าการอาศัยสถาบันที่เป็นกลไกของรัฐ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เป็นทางออก และร้อยละ 52.3 เห็นด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเป็นทางออกเช่นกัน นอกจากนี้ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.9 คิดว่า การเมืองในระบอบประชาธิปไตยยังช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชนต่อไปได้
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสังคมใดๆ เรียกร้องเรื่อง “ความปรองดอง” แสดงว่าสังคมนั้นๆ กำลังมีความซับซ้อนในเชิงผลประโยชน์ และมีปัญหาขั้นพื้นฐานเรื่องการเมืองการปกครองแต่เป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่พอมีความหวังว่าจะแก้ไขได้จึงยังคงคิดถึงเรื่องความปรองดอง และนี่คือ โอกาสทองของฝ่ายการเมืองที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาในหมู่ประชาชนและขอเพียงอย่างเดียวคือ อย่ามีขบวนการใดๆ ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่า “การ เมืองไม่มีประสิทธิภาพ” และ “อำนาจรัฐถูกทำลาย” เพราะมันจะกลายเป็นช่องโหว่ให้อำนาจพิเศษเข้ามาแทรกแซงและการพัฒนาประเทศจะหยุด ชะงัก
ผอ.เอแบคโพลล์กล่าวต่อว่า ทุกพรรคการเมืองต้องหันหน้ามาร่วมกันแก้ปัญหาทำให้ความปรองดองของคนในชาติเกิดขึ้นอย่างแท้จริงหรือ อย่างน้อยให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้ในท่ามกลางความแตกต่างในเรื่องความเชื่อ ความศรัทธา ความชอบ ทัศนคติ และทุกสถานภาพทางสังคม เพราะ การมุ่งขจัด “ตัวบุคคล” ออกไปจะไม่มีวันแก้ปัญหาความขัดแย้งแตกแยกได้แต่ต้องมุ่งที่ “ตัวปัญหา” จึงเสนอให้ลองพิจารณาแนวทางออกเพื่อนำไปสู่ ความปรองดองได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างน้อยสามประการ ดังนี้
ประการแรก ให้ทั้งสองฝ่ายที่เห็นต่างแบบสุดขั้ว มีกติการ่วมกันทำคล้ายๆ กับว่า ให้ฝ่ายหนึ่งมีสิทธิในการแบ่งที่ดิน แต่ให้อีกฝ่ายหนึ่งมี สิทธิก่อนที่จะเลือกที่ดินที่ถูกตัดแบ่งนั้น เพราะการจะยึดครองสิทธิต่างๆ ไว้ทั้งหมดเพียงฝ่ายเดียวนั้นจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกกันไม่จบสิ้น และข้อตกลงที่เป็นแนวร่วมเดียวกัน (Collective Agreement) สู่ความปรองดองเป็นไปได้ยาก จึงจำเป็นต้องมีกติกาที่เห็นพ้องต้องกันมุ่งสู่ความ ปรองดอง
ประการที่สอง องค์กรและหน่วยงานสำคัญของรัฐที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญน่าจะให้คงอยู่ต่อไปตราบใดที่ไม่ทำให้ประเทศชาติเสียหายและ ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกรอบใหม่ เนื่องจากองค์กรและหน่วยงานของรัฐเป็นเรื่องของสิทธิอำนาจที่มอบให้กับสถาบันไม่ใช่เรื่องของตัวบุคคล ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสถาบันมักจะส่งผลกระทบต่อสังคมระดับกว้าง แต่ถ้าหากยังต้องการการเปลี่ยนแปลงก็จำเป็นต้องหาทางเลือกอื่นที่ดี กว่าและทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งแตกแยกไม่เลวร้ายไปกว่านี้
ประการที่สาม การเมืองการปกครองที่จะไปรอดได้อย่างยั่งยืนจำเป็นต้องถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการหรือความชอบที่ หลากหลายและความแตกต่างของคนในชาติ จะไปบังคับขู่เข็นให้คนในชาติเห็นเรื่องการเมืองการปกครองไปในทิศทางเดียวกันจึงเป็นเรื่องที่ยากและ ประเทศไทยก็เดินทางมาไกลเกินกว่าแนวทางนั้นมาก
กล่าวโดยสรุป ทุกฝ่ายเลิกใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบในเรื่องการเมืองการปกครองแต่น่าจะหันมาแข่งขันกันเอาชนะใจประชาชนด้วยการ ทำงานหนักพากเพียรแก้ปัญหาเดือดร้อนของชาวบ้านที่จะทำให้สาธารณชนเกิดความตระหนัก เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาต่อกลไกของรัฐในการเมืองการ ปกครองน่าจะดีกว่า และเรื่องแบบนี้ต้องทำอย่างต่อเนื่องไม่ใช่เพียงบางช่วงบางเวลาเท่านั้น ที่บางหน่วยงานของรัฐมักจะมีปรัชญาการทำงานเพียง แค่ให้เสร็จสิ้นภารกิจแล้วก็จรจากชาวบ้านไปเหมือนไม่เคยลงพื้นที่เหล่านั้นมาก่อน ดังนั้นจึงต้องยึดหลัก “จริงจังต่อเนื่อง” เป็นแนวทางสู่ความสำเร็จ ของการได้ใจประชาชน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.5 เป็นชาย ร้อยละ 51.5 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.8 อายุ น้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 17.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อย ละ 34.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 65.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 31.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 30.3 ระบุเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 30.0 ระบุธุกิจส่วนตัว ค้าชาย ร้อยละ 6.1 ระบุ อาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นพนักงานบริษัท ร้อยละ 13.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 9.5 ระบุแม่บ้าน พ่อบ้าน เกษียณ อายุ ร้อยละ 3.1 ระบุว่างงาน ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ม.ค.53 ก.ค.53 ก.ย.53 พ.ย.53 ธ.ค.53 ม.ค.54 มี.ค.54 ก.ค.54 ม.ค.55 ก.พ.55 มี.ค.55 ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม ของคนไทยภายในประเทศ
(Gross Domestic Happiness) 6.52 6.77 6.57 5.42 8.37 5.28 6.61 7.55 6.66 6.42 6.18
หมายเหตุ จากฐานข้อมูลรายงานความสุขมวลรวมของคนไทย โดยศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ลำดับที่ การให้ความสำคัญกับวันสงกรานต์ ค่าร้อยละ 1 ให้ความสำคัญ 75.8 2 ไม่ให้ความสำคัญ/เฉยๆ 20.2 3 ไม่มีความเห็น 4.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่เคยพบเห็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัญหาที่เคยพบเห็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ 1 อุบัติเหตุถึงขั้นมีคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต 75.2 2 การทะเลาะวิวาท/ทำร้ายร่างกาย 50.3 3 ปัญหาการจราจรติดขัด 44.8 4 มีการลวนลามทางเพศ/กระทำอนาจาร 38.2 5 คนเมาก่อความรำคาญ 34.7 6 การลักขโมย/ฉกชิงวิ่งราว 33.1 7 โรคภัยที่มาจากการเล่นน้ำสกปรก 30.3 8 มีการใช้ก้อนน้ำแข็งสาดปนกับน้ำ 29.3 9 มีการใช้อุปกรณ์ฉีดน้ำที่แรงเกินไป 28.9 10 มีการเล่นสาดน้ำบนท้องถนนอย่างเสี่ยงอันตราย 27.3 11 มีการใช้สารเคมีหรือแป้งที่อันตราย 24.3 12 อื่นๆ อาทิ ถูกเจ้าหน้าที่เรียกรับสินบน /อัคคีภัย/ไฟไหม้ /การลักพาตัวเด็ก 25.2 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการก่อวินาศกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เป็นไปได้และยังไม่มั่นใจในมาตรการป้องกันของหน่วยงานรัฐ 61.7 2 ไม่น่าจะเป็นไปได้ 38.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บรรยากาศความขัดแย้งแตกแยกในเรื่องการเมืองเวลานี้ ลำดับที่ บรรยากาศความขัดแย้งแตกแยกในเรื่องการเมืองเวลานี้ ค่าร้อยละ 1 ค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด 81.4 2 ค่อนข้างน้อย ถึง ไม่มีเลย 18.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความขัดแย้งระหว่างตนเองกับคนอื่นในเรื่องการเมือง ลำดับที่ ระดับความขัดแย้งของตนเองกับคนอื่น ค่าร้อยละ 1 ค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด 4.6 2 ค่อนข้างน้อย ถึง ไม่มีเลย 95.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการใช้โอกาสที่ดีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้คนไทยหันหน้ามา
ปรองดอง และสามัคคีเกื้อกูลกัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย ถึง เห็นด้วยอย่างยิ่ง 85.9 2 เฉยๆ 10.2 3 ไม่เห็นด้วย ถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 3.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางที่คิดว่าจะช่วยทำให้เกิดความปรองดองขึ้นในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ แนวทางที่คิดว่าจะช่วยทำให้เกิดความปรองดองขึ้นในสังคมไทย เป็นทางออก ไม่เป็น รวมทั้งสิ้นค่าร้อยละ 1 กระบวนการยุติธรรม 65.3 34.7 100.0 2 อาศัยกฎหมายนิรโทษกรรม คือการให้อภัยในคดีความทางการเมือง 58.5 41.5 100.0 3 สถาบันกลไกของรัฐ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง 53.7 46.3 100.0 4 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 52.3 47.7 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเมืองในระบอบประชาธิปไตยยังสามารถทำงานช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนต่อไปได้ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่า การเมืองในระบอบประชาธิปไตยยังช่วยแก้ปัญหาได้ 80.9 2 ไม่คิดว่า การเมืองจะช่วยแก้ปัญหาได้ 19.1 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--