เอแบคโพลล์: เสียงของประชาชนต่อการช่วยเหลือผู้สูงอายุในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ

ข่าวผลสำรวจ Thursday April 12, 2012 09:02 —เอแบคโพลล์

นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย เรื่อง เสียงของประชาชนต่อการช่วยเหลือผู้สูงอายุในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ลพบุรี ปทุมธานี ชลบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ มุกดาหาร หนองคาย ชัยภูมิ สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,340 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8 — 10 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.2 ไม่ทราบว่าวันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุ ที่ทราบมีเพียงร้อยละ 26.8 เท่านั้น

นอกจากนี้ตัวอย่างกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.8 ระบุไม่มีผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ด้วยในบ้าน ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 63.2 ระบุว่ามีผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการเพิ่มสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.2 ระบุว่าควรเพิ่มให้มากขึ้น ร้อยละ 7.6 ระบุไม่ควร และร้อยละ 5.2 ไม่มีความเห็น

ที่น่าสนใจคือประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 มองว่าผู้สูงอายุไม่ได้เป็นภาระของสังคมไทย ในขณะที่ร้อยละ 14.4 มองว่าเป็นภาระของสังคม และร้อยละ 1.0 ไม่มีความเห็น

ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนเกือบ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 62.2 ยินดีจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อทำให้สวัสดิการของผู้สูงอายุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 22.6 ไม่ยินดีที่จะจ่าย และร้อยละ 15.2 ไม่มีความเห็น

อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงประสบการณ์ในการไปทำบุญให้กับผู้สูงอายุที่สถานสงเคราะห์หรือบ้านพักคนชรา พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 57.5 ไม่เคยไปทำบุญให้กับผู้สูงอายุ และร้อยละ 42.5 เคยไป

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 48.1 เป็นชาย

ร้อยละ 51.9 เป็นหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.5 อายุน้อยกว่า 20 ปี

ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี

ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี

ร้อยละ 18.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี

และร้อยละ 31.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 63.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 31.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

ร้อยละ 5.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 31.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 29.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 8.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน

ร้อยละ 10.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 8.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 9.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 3.2 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบต่อวันผู้สูงอายุ
ลำดับที่          การรับทราบวันผู้สูงอายุ                    ค่าร้อยละ
1          ทราบว่าตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี           26.8
2          ไม่ทราบ                                    73.2
          รวมทั้งสิ้น                                   100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ด้วย (ผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
ลำดับที่          ผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ด้วย                   ค่าร้อยละ
1          มี                                         63.2
2          ไม่มี                                       37.8
          รวมทั้งสิ้น                                   100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเพิ่มสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นกว่าปัจจุบัน
ลำดับที่          ความคิดเห็นกรณีการเพิ่มสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นกว่าปัจจุบัน        ค่าร้อยละ
1          ควรเพิ่มให้มากขึ้น                                                  87.2
2          ไม่ควร                                                           7.6
3          ไม่มีความเห็น                                                      5.2
          รวมทั้งสิ้น                                                        100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีผู้สูงอายุเป็นภาระของสังคมไทย
ลำดับที่          ความคิดเห็นกรณีผู้สูงอายุเป็นภาระของสังคมไทย          ค่าร้อยละ
1          เป็นภาระของสังคมไทย                                 14.4
2          ไม่เป็นภาระ                                         84.6
3          ไม่มีความเห็น                                         1.0
          รวมทั้งสิ้น                                           100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยินดีจ่ายภาษีเพิ่มเพื่อทำให้สวัสดิการของผู้สูงอายุดีขึ้น
ลำดับที่          การยินดีจ่ายภาษีเพิ่มเพื่อทำให้สวัสดิการของผู้สูงอายุดีขึ้น          ค่าร้อยละ
1          ยินดีจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น                                           62.2
2          ไม่ยินดีจ่าย                                                 22.6
3          ไม่มีความเห็น                                               15.2
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ในการเดินทางไปทำบุญให้กับผู้สูงอายุที่สถานสงเคราะห์/บ้านพักคนชรา
ลำดับที่          การเดินทางไปทำบุญให้กับผู้สูงอายุที่สถานสงเคราะห์/บ้านพักคนชรา          ค่าร้อยละ
1          เคยไป                                                            42.5
2          ไม่เคยไป                                                          57.5
          รวมทั้งสิ้น                                                          100.0

--เอแบคโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ