ที่มาของโครงการ
สังคมไทยไม่ได้เป็นเพียงสังคมเกษตรกรรมหรือสังคมอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่สังคมไทยยังเป็นสังคมข้อมูลข่าวสารอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้ความสนใจต่อข่าวสารต่างๆ ที่ปรากฎในสื่อมวลชน และติดตามอย่างใกล้ชิดในสถานการณ์ข่าวที่ใกล้ตัวซึ่งมีทั้งข่าวดีและข่าวร้ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและส่งผลกระทบไปยังความนิยมต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อาสาเข้ามารับใช้ประชาชนสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงให้ความสำคัญกับการรับรู้ของประชาชนต่อข้อมูลข่าวสารจากสื่อในเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิด ความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อนายก รัฐมนตรีและพรรคไทยรักไทยซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ โดยได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อข่าวสารที่ปรากฎในสื่อมวลชน
2.เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อนายกรัฐมนตรีและพรรคไทยรักไทย
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "การรับรู้ข่าวดี-ข่าวร้ายผ่านสื่อมวลชนของประชาชนที่มีผลกระทบต่อความนิยมของนายกรัฐมนตรีและพรรคไทยรักไทย: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 13 - 15 พฤษภาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการเข้าถึงตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,186 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.4 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 34.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 18.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 16.2 อายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 7.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 74.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 20.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 5.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 30.7 ค้าขาย /อาชีพอิสระ ร้อยละ 23.9 รับจ้างทั่วไป ตัวอย่างร้อยละ 19.1 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.9 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.3 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 7.1 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน เกษียณอายุ ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชน
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวสาร ร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำทุกวัน 43.2
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 53.7
3 ไม่ได้ติดตามเลย 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สื่อที่ใช้ในการติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่ใช้ในการติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคม ร้อยละ
1 โทรทัศน์ 94.2
2 หนังสือพิมพ์ 57.9
3 วิทยุ 44.0
4 อินเตอร์เนต 21.4
ตารางที่ 3 แสดงการจัด 10 อันดับประเด็นข่าวการเมืองและสังคมที่ประชาชนสนใจติดตาม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ประเด็นข่าวการเมืองและสังคมที่ประชาชนสนใจติดตาม ร้อยละ
1 ข่าวนายกรัฐมนตรีซื้อหุ้น "ลิเวอร์พูล" 83.4
2 ข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 64.6
3 ข่าวปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ 62.3
4 ข่าวสินค้าราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมัน และอาหาร เป็นต้น 61.1
5 ข่าวการปราบปรามยาเสพติด เช่น ดารามั่วยาเสพติด ปาร์ตี้ยาอี 60.9
6 ข่าวเลือกตั้งผู้ว่า กทม. 59.3
7 ข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว 58.0
8 ข่าวคดีลักพาตัวทนายสมชาย 56.8
9 ข่าวการแปรรูป การไฟฟ้า การประปา ฯลฯ 52.9
10 ข่าวความขัดแย้งระหว่าง ดร.ปุระชัย กับกลุ่มนายแพทย์ สสส. 47.8
ตารางที่ 4 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวที่ประชาชนคิดว่าจะเป็นผลดีต่อความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี
พรรคไทยรักไทย และพรรคร่วมรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ข่าวที่เป็นผลดีต่อความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พรรคไทยรักไทย และพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ
1 ข่าวนายกรัฐมนตรีไม่ใช้เงินภาษีของประชาชนซื้อหุ้น "ลิเวอร์พูล" 72.9
2 ข่าวผลงานรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติด 70.4
3 ข่าวผลงานโครงการเอื้ออาทรต่างๆ ของรัฐบาล เช่น บ้าน คอมพิวเตอร์ 70.1
4 ข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 62.0
5 ข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 54.8
6 ข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 53.3
7 ข่าวผลงานรัฐบาลในเรื่องความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน 52.8
8 ข่าวความขัดแย้งกันเองของ ส.ส. ฝ่ายค้าน 44.6
9 ข่าวผลงานรัฐบาลในการพักชำระหนี้เกษตรกร 39.5
10 ข่าวการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 38.1
ตารางที่ 5 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวที่ประชาชนกังวลว่าจะเป็นผลเสียต่อความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี
พรรคไทยรักไทย และพรรคร่วมรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ข่าวที่เป็นผลเสียต่อความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีพรรคไทยรักไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ
1 ข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว 70.9
2 ข่าวรัฐมนตรีรีดไถหาเงินเข้าพรรค / คอรัปชั่น 61.2
3 ข่าวปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ 60.6
4 ข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 58.1
5 ข่าวสินค้าราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมัน และอาหาร เป็นต้น 56.5
6 ข่าวการแปรรูป การไฟฟ้า การประปา 52.0
7 ข่าวการกลับมาของขบวนการค้ายาเสพติด 51.9
8 ข่าวพรรคไทยรักไทยไม่มีความชัดเจนในการส่งผู้สมัคร ผู้ว่ากทม. 43.1
9 ข่าวการลักพาตัวทนายสมชาย 40.1
10 ข่าวความขัดแย้งระหว่าง ดร.ปุระชัย กับกลุ่มนายแพทย์ สสส. 37.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อข้อคำถาม "ท่านนิยมชอบพรรคการเมืองใดมากกว่ากันระหว่าง พรรคไทยรักไทย กับพรรคประ ชาธิปัตย์" เปรียบเทียบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ กับเดือน พฤษภาคม
ลำดับที่ พรรคการเมือง กุมภาพันธ์ พฤษภาคม
1 ไทยรักไทย 51.3 48.9
2 ประชาธิปัตย์ 19.8 15.7
3 ไม่มีความเห็น 28.9 35.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
จากการสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติมถึงความรู้สึกระหว่างสองพรรคการเมือง พบว่า ความขัดแย้งระหว่าง ส.ส. ภายในแต่ละพรรคเป็นสาเหตุทำให้ความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคลดต่ำลง สาเหตุรองลงมาคือ พฤติกรส่วนตัวที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม เช่น การรีดไถเงิน การแสดงอำนาจข่มขู่ประชาชน การประพฤติผิดศีลธรรม และจารีตประเพณีของ ส.ส. และคนใกล้ชิดภายในแต่ละพรรค เป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนหมดความนิยมต่อพรรคการเมือง
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อข้อคำถาม "ท่านนิยมชอบนักการเมืองคนใดมากกว่ากันระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กับ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน" เปรียบเทียบระหว่างเดือนเมษายน กับเดือนพฤษภาคม
ลำดับที่ นักการเมือง เมษายน พฤษภาคม
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 58.8 64.4
2 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน 7.2 9.2
3 ไม่มีความเห็น 34.0 26.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
จากการสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ประชาชนยังนิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อยู่เพราะเห็นว่า เป็นนายกรัฐมนตรีที่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ของประเทศหลายอย่างให้ลดลงไปได้ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติด ปัญหาภาระหนี้สินกับต่างประเทศ และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากให้เหตุผลประกอบว่า ในขณะนี้ยังไม่สามารถมีนักการเมืองคนใดที่จะเหมาะสมกว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และประชาชนก็ยังเป็นห่วงในเรื่องของราคาสินค้า และปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาระบาดอีกครั้งบทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "การรับรู้ข่าวดี-ข่าวร้ายผ่านสื่อมวลชนของประชาชนที่มีผลกระทบต่อความนิยมของนายกรัฐมนตรีและพรรคไทยรักไทย: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 13 - 15 พฤษภาคม 2547 รวมจำนวนตัวอย่างประชาชนที่ถูกสำรวจทั้งสิ้น 1,186 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 43.2 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 53.7 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง และร้อยละ 3.1 ไม่ได้ติดตามเลย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.2 ติดตามผ่านทางโทรทัศน์ รองลงมาคือ ร้อยละ 57.9 ติดตามผ่านทางหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 44.0 ติดตามผ่านทางวิทยุ ร้อยละ 21.4 ติดตามผ่านทางอินเตอร์เนต
เมื่อสอบถามความสนใจของประชาชนต่อประเด็นข่าวการเมืองและสังคม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 สนใจติดตามข่าวนายกรัฐมนตรีซื้อหุ้น "ลิเวอร์พูล" รองลงมาคือ ร้อยละ 64.6 สนใจติดตามข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ร้อยละ 62.3 สนใจติดตามข่าวปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 61.1 สนใจติดตามข่าวสินค้าราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมัน และอาหาร เป็นต้น ร้อยละ 60.9 สนใจข่าวปราบปรามยาเสพติด เช่น ดารามั่วยาเสพติด ปาร์ตี้ยาอี ร้อยละ 59.3 สนใจข่าวเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ร้อยละ 58.0 สนใจข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตารางที่ 3)
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึงข่าวดีที่มีผลต่อคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พรรคไทยรักไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.9 ระบุข่าวนายกรัฐมนตรีไม่ใช้เงินภาษีของประชาชนซื้อหุ้น "ลิเวอร์พูล" รองลงมาคือร้อยละ 70.4 ข่าวผลงานรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 70.1 ระบุข่าวโครงการเอื้ออาทรต่างๆ ของรัฐบาล เช่น บ้าน คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 62.0 ระบุข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 54.8 ระบุข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 53.3 ระบุข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และร้อยละ 52.8 ระบุข่าวผลงานรัฐบาลในเรื่องความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตารางที่ 4)
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างยังได้ระบุข่าวร้ายที่มีผลต่อคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พรรคไทยรักไทยและพรรคร่วมรัฐบาลด้วย ซึ่งผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.9 ระบุข่าวร้ายคือข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว รองลงมาคือ ร้อยละ 61.2 ข่าวรัฐมนตรีรีดไถหาเงินเข้าพรรค / คอรัปชั่น ร้อยละ 60.6 ระบุข่าวปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 58.1 ระบุข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ร้อยละ 56.5 ระบุข่าวสินค้าราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมัน และอาหาร เป็นต้น ร้อยละ 52.0 ระบุข่าวการแปรรูปการไฟฟ้า การประปา และร้อยละ 51.9 ระบุข่าวการกลับมาของขบวนการค้ายาเสพติด เป็นต้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตารางที่ 5)
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมือง เปรียบเทียบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์กับเดือนพฤษภาคม ผลสำรวจพบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.3 ระบุนิยมพรรคไทยรักไทย อย่างไรก็ตามผลสำรวจเดือนพฤษภาคม พบว่า ร้อยละ 48.9 นิยมพรรคไทยรักไทย ซึ่งลดลงเล็กน้อยแต่อยู่ในขอบเขตความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5 ในขณะที่ผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อพรรคประชาธิปัตย์ในเดือนกุมภาพันธ์มีอยู่ร้อยละ 19.8 ซึ่งได้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 15.7 จากการสำรวจเดือนพฤษภาคม ซึ่งจากการสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติมถึงความรู้สึกระหว่างสองพรรคการเมือง พบว่า ความขัดแย้งระหว่าง ส.ส. ภายในแต่ละพรรคเป็นสาเหตุทำให้ความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคลดต่ำลง สาเหตุรองลงมาคือ พฤติกรรมส่วนตัวที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม เช่น การรีดไถเงิน การแสดงอำนาจข่มขู่ประชาชน การประพฤติผิดศีลธรรม และจารีตประเพณีของ ส.ส. และคนใกล้ชิดภายในแต่ละพรรค เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนหมดความนิยมต่อพรรคการเมือง
นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีเปรียบเทียบระหว่างเดือนเมษายนกับเดือนพฤษภาคม ผลสำรวจพบว่า ในเดือนเมษายน กลุ่มตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 58.8 นิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งผลสำรวจล่าสุดในเดือนพฤษภาคม พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.4 นิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ โดยมีสัดส่วนของตัวอย่างเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ ประชาชนยังนิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อยู่เพราะเห็นว่า เป็นนายกรัฐมนตรีที่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ของประเทศหลายอย่างให้ลดลงไปได้ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติด ปัญหาภาระหนี้สินกับต่างประเทศ และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากให้เหตุผลประกอบว่า ในขณะนี้ยังไม่สามารถมีนักการเมืองคนใดที่จะเหมาะสมกว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และประชาชนก็ยังเป็นห่วงในเรื่องของราคาสินค้า และปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาระบาดอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม คะแนนนิยมต่อนายกรัฐมนตรี และพรรคไทยรักไทย อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ หลังจาก ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารในช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และการแถลงผลงานของรัฐบาลที่กำลังจะมาถึงนี้ จากนั้นการสำรวจวิจัยความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาลเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและประชาชนผู้ติดตามข่าวสารทางการเมืองต่อไป
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
สังคมไทยไม่ได้เป็นเพียงสังคมเกษตรกรรมหรือสังคมอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่สังคมไทยยังเป็นสังคมข้อมูลข่าวสารอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้ความสนใจต่อข่าวสารต่างๆ ที่ปรากฎในสื่อมวลชน และติดตามอย่างใกล้ชิดในสถานการณ์ข่าวที่ใกล้ตัวซึ่งมีทั้งข่าวดีและข่าวร้ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและส่งผลกระทบไปยังความนิยมต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อาสาเข้ามารับใช้ประชาชนสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงให้ความสำคัญกับการรับรู้ของประชาชนต่อข้อมูลข่าวสารจากสื่อในเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิด ความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อนายก รัฐมนตรีและพรรคไทยรักไทยซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ โดยได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อข่าวสารที่ปรากฎในสื่อมวลชน
2.เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อนายกรัฐมนตรีและพรรคไทยรักไทย
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "การรับรู้ข่าวดี-ข่าวร้ายผ่านสื่อมวลชนของประชาชนที่มีผลกระทบต่อความนิยมของนายกรัฐมนตรีและพรรคไทยรักไทย: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 13 - 15 พฤษภาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการเข้าถึงตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,186 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.4 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 34.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 18.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 16.2 อายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 7.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 74.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 20.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 5.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 30.7 ค้าขาย /อาชีพอิสระ ร้อยละ 23.9 รับจ้างทั่วไป ตัวอย่างร้อยละ 19.1 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.9 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.3 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 7.1 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน เกษียณอายุ ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชน
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวสาร ร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำทุกวัน 43.2
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 53.7
3 ไม่ได้ติดตามเลย 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สื่อที่ใช้ในการติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่ใช้ในการติดตามข่าวประเด็นสำคัญทางการเมืองและสังคม ร้อยละ
1 โทรทัศน์ 94.2
2 หนังสือพิมพ์ 57.9
3 วิทยุ 44.0
4 อินเตอร์เนต 21.4
ตารางที่ 3 แสดงการจัด 10 อันดับประเด็นข่าวการเมืองและสังคมที่ประชาชนสนใจติดตาม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ประเด็นข่าวการเมืองและสังคมที่ประชาชนสนใจติดตาม ร้อยละ
1 ข่าวนายกรัฐมนตรีซื้อหุ้น "ลิเวอร์พูล" 83.4
2 ข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 64.6
3 ข่าวปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ 62.3
4 ข่าวสินค้าราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมัน และอาหาร เป็นต้น 61.1
5 ข่าวการปราบปรามยาเสพติด เช่น ดารามั่วยาเสพติด ปาร์ตี้ยาอี 60.9
6 ข่าวเลือกตั้งผู้ว่า กทม. 59.3
7 ข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว 58.0
8 ข่าวคดีลักพาตัวทนายสมชาย 56.8
9 ข่าวการแปรรูป การไฟฟ้า การประปา ฯลฯ 52.9
10 ข่าวความขัดแย้งระหว่าง ดร.ปุระชัย กับกลุ่มนายแพทย์ สสส. 47.8
ตารางที่ 4 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวที่ประชาชนคิดว่าจะเป็นผลดีต่อความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี
พรรคไทยรักไทย และพรรคร่วมรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ข่าวที่เป็นผลดีต่อความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พรรคไทยรักไทย และพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ
1 ข่าวนายกรัฐมนตรีไม่ใช้เงินภาษีของประชาชนซื้อหุ้น "ลิเวอร์พูล" 72.9
2 ข่าวผลงานรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติด 70.4
3 ข่าวผลงานโครงการเอื้ออาทรต่างๆ ของรัฐบาล เช่น บ้าน คอมพิวเตอร์ 70.1
4 ข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 62.0
5 ข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 54.8
6 ข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 53.3
7 ข่าวผลงานรัฐบาลในเรื่องความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน 52.8
8 ข่าวความขัดแย้งกันเองของ ส.ส. ฝ่ายค้าน 44.6
9 ข่าวผลงานรัฐบาลในการพักชำระหนี้เกษตรกร 39.5
10 ข่าวการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 38.1
ตารางที่ 5 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวที่ประชาชนกังวลว่าจะเป็นผลเสียต่อความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี
พรรคไทยรักไทย และพรรคร่วมรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ข่าวที่เป็นผลเสียต่อความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีพรรคไทยรักไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ
1 ข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว 70.9
2 ข่าวรัฐมนตรีรีดไถหาเงินเข้าพรรค / คอรัปชั่น 61.2
3 ข่าวปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ 60.6
4 ข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 58.1
5 ข่าวสินค้าราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมัน และอาหาร เป็นต้น 56.5
6 ข่าวการแปรรูป การไฟฟ้า การประปา 52.0
7 ข่าวการกลับมาของขบวนการค้ายาเสพติด 51.9
8 ข่าวพรรคไทยรักไทยไม่มีความชัดเจนในการส่งผู้สมัคร ผู้ว่ากทม. 43.1
9 ข่าวการลักพาตัวทนายสมชาย 40.1
10 ข่าวความขัดแย้งระหว่าง ดร.ปุระชัย กับกลุ่มนายแพทย์ สสส. 37.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อข้อคำถาม "ท่านนิยมชอบพรรคการเมืองใดมากกว่ากันระหว่าง พรรคไทยรักไทย กับพรรคประ ชาธิปัตย์" เปรียบเทียบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ กับเดือน พฤษภาคม
ลำดับที่ พรรคการเมือง กุมภาพันธ์ พฤษภาคม
1 ไทยรักไทย 51.3 48.9
2 ประชาธิปัตย์ 19.8 15.7
3 ไม่มีความเห็น 28.9 35.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
จากการสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติมถึงความรู้สึกระหว่างสองพรรคการเมือง พบว่า ความขัดแย้งระหว่าง ส.ส. ภายในแต่ละพรรคเป็นสาเหตุทำให้ความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคลดต่ำลง สาเหตุรองลงมาคือ พฤติกรส่วนตัวที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม เช่น การรีดไถเงิน การแสดงอำนาจข่มขู่ประชาชน การประพฤติผิดศีลธรรม และจารีตประเพณีของ ส.ส. และคนใกล้ชิดภายในแต่ละพรรค เป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนหมดความนิยมต่อพรรคการเมือง
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อข้อคำถาม "ท่านนิยมชอบนักการเมืองคนใดมากกว่ากันระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กับ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน" เปรียบเทียบระหว่างเดือนเมษายน กับเดือนพฤษภาคม
ลำดับที่ นักการเมือง เมษายน พฤษภาคม
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 58.8 64.4
2 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน 7.2 9.2
3 ไม่มีความเห็น 34.0 26.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
จากการสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ประชาชนยังนิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อยู่เพราะเห็นว่า เป็นนายกรัฐมนตรีที่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ของประเทศหลายอย่างให้ลดลงไปได้ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติด ปัญหาภาระหนี้สินกับต่างประเทศ และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากให้เหตุผลประกอบว่า ในขณะนี้ยังไม่สามารถมีนักการเมืองคนใดที่จะเหมาะสมกว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และประชาชนก็ยังเป็นห่วงในเรื่องของราคาสินค้า และปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาระบาดอีกครั้งบทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "การรับรู้ข่าวดี-ข่าวร้ายผ่านสื่อมวลชนของประชาชนที่มีผลกระทบต่อความนิยมของนายกรัฐมนตรีและพรรคไทยรักไทย: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 13 - 15 พฤษภาคม 2547 รวมจำนวนตัวอย่างประชาชนที่ถูกสำรวจทั้งสิ้น 1,186 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 43.2 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 53.7 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง และร้อยละ 3.1 ไม่ได้ติดตามเลย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.2 ติดตามผ่านทางโทรทัศน์ รองลงมาคือ ร้อยละ 57.9 ติดตามผ่านทางหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 44.0 ติดตามผ่านทางวิทยุ ร้อยละ 21.4 ติดตามผ่านทางอินเตอร์เนต
เมื่อสอบถามความสนใจของประชาชนต่อประเด็นข่าวการเมืองและสังคม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 สนใจติดตามข่าวนายกรัฐมนตรีซื้อหุ้น "ลิเวอร์พูล" รองลงมาคือ ร้อยละ 64.6 สนใจติดตามข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ร้อยละ 62.3 สนใจติดตามข่าวปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 61.1 สนใจติดตามข่าวสินค้าราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมัน และอาหาร เป็นต้น ร้อยละ 60.9 สนใจข่าวปราบปรามยาเสพติด เช่น ดารามั่วยาเสพติด ปาร์ตี้ยาอี ร้อยละ 59.3 สนใจข่าวเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ร้อยละ 58.0 สนใจข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตารางที่ 3)
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึงข่าวดีที่มีผลต่อคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พรรคไทยรักไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.9 ระบุข่าวนายกรัฐมนตรีไม่ใช้เงินภาษีของประชาชนซื้อหุ้น "ลิเวอร์พูล" รองลงมาคือร้อยละ 70.4 ข่าวผลงานรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 70.1 ระบุข่าวโครงการเอื้ออาทรต่างๆ ของรัฐบาล เช่น บ้าน คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 62.0 ระบุข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 54.8 ระบุข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 53.3 ระบุข่าวผลงานรัฐบาลในโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และร้อยละ 52.8 ระบุข่าวผลงานรัฐบาลในเรื่องความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตารางที่ 4)
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างยังได้ระบุข่าวร้ายที่มีผลต่อคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พรรคไทยรักไทยและพรรคร่วมรัฐบาลด้วย ซึ่งผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.9 ระบุข่าวร้ายคือข่าวข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว รองลงมาคือ ร้อยละ 61.2 ข่าวรัฐมนตรีรีดไถหาเงินเข้าพรรค / คอรัปชั่น ร้อยละ 60.6 ระบุข่าวปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 58.1 ระบุข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ร้อยละ 56.5 ระบุข่าวสินค้าราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมัน และอาหาร เป็นต้น ร้อยละ 52.0 ระบุข่าวการแปรรูปการไฟฟ้า การประปา และร้อยละ 51.9 ระบุข่าวการกลับมาของขบวนการค้ายาเสพติด เป็นต้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตารางที่ 5)
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมือง เปรียบเทียบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์กับเดือนพฤษภาคม ผลสำรวจพบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.3 ระบุนิยมพรรคไทยรักไทย อย่างไรก็ตามผลสำรวจเดือนพฤษภาคม พบว่า ร้อยละ 48.9 นิยมพรรคไทยรักไทย ซึ่งลดลงเล็กน้อยแต่อยู่ในขอบเขตความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5 ในขณะที่ผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อพรรคประชาธิปัตย์ในเดือนกุมภาพันธ์มีอยู่ร้อยละ 19.8 ซึ่งได้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 15.7 จากการสำรวจเดือนพฤษภาคม ซึ่งจากการสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติมถึงความรู้สึกระหว่างสองพรรคการเมือง พบว่า ความขัดแย้งระหว่าง ส.ส. ภายในแต่ละพรรคเป็นสาเหตุทำให้ความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคลดต่ำลง สาเหตุรองลงมาคือ พฤติกรรมส่วนตัวที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม เช่น การรีดไถเงิน การแสดงอำนาจข่มขู่ประชาชน การประพฤติผิดศีลธรรม และจารีตประเพณีของ ส.ส. และคนใกล้ชิดภายในแต่ละพรรค เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนหมดความนิยมต่อพรรคการเมือง
นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีเปรียบเทียบระหว่างเดือนเมษายนกับเดือนพฤษภาคม ผลสำรวจพบว่า ในเดือนเมษายน กลุ่มตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 58.8 นิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งผลสำรวจล่าสุดในเดือนพฤษภาคม พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.4 นิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ โดยมีสัดส่วนของตัวอย่างเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ ประชาชนยังนิยมชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อยู่เพราะเห็นว่า เป็นนายกรัฐมนตรีที่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ของประเทศหลายอย่างให้ลดลงไปได้ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติด ปัญหาภาระหนี้สินกับต่างประเทศ และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากให้เหตุผลประกอบว่า ในขณะนี้ยังไม่สามารถมีนักการเมืองคนใดที่จะเหมาะสมกว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และประชาชนก็ยังเป็นห่วงในเรื่องของราคาสินค้า และปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาระบาดอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม คะแนนนิยมต่อนายกรัฐมนตรี และพรรคไทยรักไทย อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ หลังจาก ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารในช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และการแถลงผลงานของรัฐบาลที่กำลังจะมาถึงนี้ จากนั้นการสำรวจวิจัยความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาลเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและประชาชนผู้ติดตามข่าวสารทางการเมืองต่อไป
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-