ในโอกาสที่ช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ไทยเป็นโอกาสของวันครอบครัวของคนไทยด้วยเช่นกัน นางสาว ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง อะไรทำให้ครอบครัวอบอุ่น อะไรทำให้ครอบครัวแตกแยก กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ลพบุรี ปทุมธานี ชลบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ มุกดาหาร หนองคาย ชัยภูมิ สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,340 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8 — 12 เมษายน ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
ตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 62.0 ไม่ทราบว่าวันที่ 14 เมษายนของทุกปีเป็นวันครอบครัว มีเพียงร้อยละ 38.0 เท่านั้นที่ทราบและระบุวันได้ถูกต้อง
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงปัจจัยที่เป็นรากฐานที่นำมาสู่การสร้างครอบครัวที่ดี ครอบครัวที่อบอุ่นและรับผิดชอบต่อสังคม พบว่า อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 96.4 ระบุการมีหลักธรรม/คุณธรรมประจำใจเป็นรากฐานที่นำไปสู่ครอบครัวที่ดี รองลงมา ร้อยละ 89.6 ระบุความมั่นคงในหน้าที่การงาน ร้อยละ 85.6 ระบุสภาพแวดล้อมในสังคม ร้อยละ 84.6 ระบุสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ ร้อยละ 79.8 ระบุความพร้อมทางการเงิน ร้อยละ 73.8 ระบุพื้นฐานทางการศึกษาที่ดี ร้อยละ 73.4 ระบุความพร้อมทางวัยวุฒิ และร้อยละ 32.3 ระบุเรื่องชาติกำเนิด/ วงศ์ตระกูล
นอกจากนี้เมื่อถามถึงพฤติกรรมจากคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้ จนนำมาสู่การแยกทางกัน 5 อันดับแรก พบว่า อันดับที่หนึ่ง หรือร้อยละ 90.8 ระบุการมีกิ๊ก/นอกใจคู่รักของตนเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้ อันดับที่สองหรือร้อยละ 90.3 ระบุการไม่รับผิดชอบต่อครอบครัวเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้ อันดับที่สามหรือร้อยละ 88.9 การทำร้ายร่างกายเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้ อันดับที่สี่หรือร้อยละ 87.1 ระบุการติดยาเสพติดเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้ และอันดับที่ห้าหรือร้อยละ 87.1 ระบุการติดการพนันเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้
อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.7 ระบุการทำกิจกรรมร่วมกันในเวลาว่าง รองลงมาร้อยละ 91.0 ระบุการถามไถ่สารทุกข์สุกดิบระหว่างกันอยู่เสมอ ร้อยละ 88.2 ระบุการพบปะสังสรรค์กันในหมู่ญาติพี่น้อง ร้อยละ 83.3 ระบุการร่วมทุกข์ ร่วมสุขกัน ร้อยละ 75.5 ระบุการแสดงความรักต่อกัน (โอบกอดกัน) และร้อยละ 68.1 ระบุการมอบของให้แก่กันในวันสำคัญ
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.0 ตั้งใจที่จะอยู่ร่วมทำกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 6.3 ไม่อยู่ทำกิจกรรมร่วมกัน / ไม่ว่าง และร้อยละ 2.7 ไม่แน่ใจ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.1 เป็นชาย ร้อยละ 51.9 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.5 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 18.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 31.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 63.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 31.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 5.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 31.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 29.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 10.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 9.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.2 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ การรับทราบวันครอบครัวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ 1 รับทราบวันครอบครัวตรงวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี 38.0 2 ไม่ทราบ 62.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยที่เป็นรากฐานที่นำมาสู่การสร้างครอบครัวที่ดีครอบครัวที่อบอุ่น และรับผิดชอบต่อสังคม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่เป็นรากฐานที่นำมาสู่การสร้างครอบครัวที่ดี ค่าร้อยละ 1 การมีหลักธรรม/คุณธรรมประจำใจ 96.4 2 ความมั่นคงในหน้าที่การงาน 89.6 3 สภาพแวดล้อมในสังคม 85.6 4 สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ 84.6 5 ความพร้อมทางการเงิน 79.8 6 พื้นฐานทางการศึกษาที่ดี 73.8 7 ความพร้อมทางวัยวุฒิ 73.4 8 ชาติกำเนิด/วงศ์ตระกูล 32.3 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมจากคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้ จนนำมาสู่การแยกทางกัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ พฤติกรรมจากคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้จนนำมาสู่การแยกทางกัน ค่าร้อยละ 1 มีกิ๊ก/นอกใจคู่รักของตน 90.8 2 ไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว 90.3 3 ทำร้ายร่างกาย 88.9 4 ติดยาเสพติด 87.1 5 ติดการพนัน 87.1 6 ติดสุรา/เมาอาละวาด 85.2 7 เที่ยวกลางคืน (ซื้อบริการทางเพศ) 80.0 8 หมดความรักต่อกัน 75.5 9 ติดเพื่อน/เที่ยวเตร่ 66.2 10 หึงหวง/ไม่ไว้วางใจกัน 62.1 11 มีอาการผิดปกติทางเพศ 60.8 12 เจ้าอารมณ์/หงุดหงิด โมโหง่าย 57.3 13 ขี้บ่น/จู้จี้จุกจิก 48.8 14 ขี้งอน/ไม่มีเหตุผล 47.9 15 ติดบุหรี่ 43.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว ค่าร้อยละ 1 ทำกิจกรรมร่วมกันในเวลาว่าง 92.7 2 ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันอยู่เสมอ 91.0 3 พบปะสังสรรค์กันในหมู่ญาติพี่น้อง 88.2 4 ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน 83.3 5 แสดงความรักต่อกัน (โอบกอดกัน) 75.5 6 มอบของให้แก่กันในวันสำคัญ 68.1 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะอยู่ร่วมทำกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ 1 ตั้งใจที่จะอยู่ร่วมทำกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัว 91.0 2 ไม่อยู่ทำกิจกรรมร่วมกัน/ไม่ว่าง 6.3 3 ไม่แน่ใจ 2.7 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--