ดร.นพดล กรรณิกาผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ผู้ช่วยนักวิจัย สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา
ผู้เขียนทราบข่าวจากเว็ปไซด์ของสำนักข่าวต่างๆ ในขณะที่อยู่ต่างประเทศว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ประกาศห้ามทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้ง และมีการรวมตัวกันของนักทำโพลล์เดินทางไปพบ กกต.
แต่ผู้เขียนไม่สามารถเดินทางไปพบได้ จึงขอแสดงจุดยืนในข้อคิดเห็นทางวิชาการผ่านทางสื่อมวลชนแทน
เมื่อกล่าวถึง "โพลล์" หรือการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ดูเหมือนว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งในประเทศไทยได้รับความสำคัญและถูกนำไปใช้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อผลโพลล์ถูกเผยแพร่และขยายผลผ่านสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง ผลโพลล์เหล่านั้นก็ได้รับความสนใจจากกลุ่มนักการเมืองและประชาชนคนชั้นกลาง อย่างไรก็ตาม ถ้าผลโพลล์ที่ออกมาไม่เป็นที่ถูกใจบุคคลบางกลุ่มในฝ่ายการเมืองก็ทำให้บุคคลเหล่านั้นโกรธและไม่พอใจต่อผลสำรวจที่ค้นพบ
ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2545 ได้มีกลุ่มบุคคลเชิงอนุรักษ์นิยมออกมาวิพากษ์วิจารณ์ผลโพลล์การเมืองอย่างหนัก เมื่อผลโพลล์เหล่านั้นสะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์ที่ควรแก้ไขปรับปรุงของนักการเมืองหรือบุคคลสำคัญในฝ่ายการเมือง ถ้ายังจำกันได้ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2545 ได้มีเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมประชาธิปไตยของประเทศไทยคือ การที่รัฐบาลส่งนายทหารและนายตำรวจไปยังสำนักวิจัยเอแบคโพลล์เพื่อตรวจสอบการทำโพลล์จนเป็นข่าวเสื่อมเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไปทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยถูกมองว่าเป็นประเทศที่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพแม้กระทั่งสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ การแทรกแซงและล่วงละเมิดบทบาทหน้าที่ของการทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในสังคมประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้สิทธิเสรีภาพอย่างมากแก่ประชาชนทั้งประเทศในการเผยแพร่และรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งในความเป็นจริงคือ มีประชาชนบางส่วนมีเหตุมีผลในการคิดและตัดสินใจทางการเมือง (rational choice people) แต่ก็ยังมีประชาชนบางส่วนไม่ได้ใช้เหตุผลในการไตร่ตรองและตัดสินใจทางการเมืองโดยตัดสินใจกระทำไปตามกระแสข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏในสื่อมวลชนเท่านั้น ดังนั้น ถ้ามีการทำโพลล์เลือกตั้ง และผลสำรวจโพลล์ที่ระบุคะแนนนิยมของผู้สมัคร ถูกนำไปใช้และขยายผลผ่านสื่อมวลชนจนเกินขอบเขตทำให้เกิดการซื้อสิทธิขายเสียง และทุจริตการเลือกตั้ง ผลโพลล์เลือกตั้งนั้นๆ เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
ด้วยเหตุนี้ หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาเห็นว่ามีกฎหมายห้ามทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งและออกประกาศให้ทราบโดยทั่วกันไปแล้วนั้น คณะผู้วิจัยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและถ่ายทอดความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศมาร่วมสิบปี จึงมีแนวคิดและจุดยืนทางวิชาการในการแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัด และความสำคัญของโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้ง
เมื่อพิจารณาข้อจำกัดหรือปัญหาของโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งในประเทศไทยแล้วพบว่า ในช่วงการเลือกตั้ง ส.ส. 500 ที่นั่งในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการทำโพลล์ทำนายผลการเลือกตั้งโดยสำนักโพลล์ต่างๆ จำนวนมาก ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ทำให้กลุ่มนักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ถกเถียงและวิจารณ์การทำโพลล์ของสำนักต่างๆ ที่ดำเนินการสำรวจคลาดเคลื่อนไปจากหลักวิชาการ
ยกตัวอย่าง มีการประกาศเชิญชวนให้ประชาชนโทรเข้าไปยังสำนักวิจัย (phone-in) เพื่อโหวตเลือกผู้สมัครที่ประชาชนคิดว่าจะเลือก การทำสำรวจเช่นนี้ ไม่ได้เป็นการสุ่มตัวอย่างแต่เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชน "เสนอตัวให้ถูกเลือก" ซึ่งถือว่าผิดหลักวิชาการสำรวจ ก่อให้เกิดอคติและความคลาดเคลื่อนที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงอย่างมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น ทุกวันนี้เรายังสามารถพบการทำโพลล์เช่นนี้ตามเว็ปไซด์ต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งคณะผู้จัดทำสำรวจนั้นควรประกาศให้ชัดเจนว่า ผลสำรวจที่ค้นพบไม่สามารถนำไปอ้างอิงได้ เพราะไม่ได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ และเป็นการทำสำรวจที่ไม่ได้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายอย่างแท้จริง (Non-Coverage Errors)
ตัวอย่างที่สอง มีการตั้งคำถาม ถามประชาชนว่า "ท่านคิดว่าใครจะได้รับการเลือกตั้ง" การถามเช่นนี้ทำให้ได้คำตอบที่อาจไม่ใช่คำตอบของผู้ตอบอย่างแท้จริง ผู้ตอบอาจตอบไปตามกระแสสังคมไม่ใช่ความตั้งใจหรือพฤติกรรมของผู้ตอบ นอกจากนี้ ยังมีการตั้งคำถามและจัดทำตัวเลือกผู้สมัครที่เรียงลำดับก่อนอย่างมีอคติ (primacy effects) ทำให้ผู้สมัครที่อยู่ในอันดับต้นๆ มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับการโหวตเป็นอันดับหนึ่งในโพลล์ แต่ไม่ตรงกับผลการเลือกตั้งจริงที่ออกมา
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างแบบสอบถามโดยชี้นำด้วยลำดับข้อคำถาม (Order effects) ยกตัวอย่างเช่น มีการถามคำถามหลายข้อ ที่ทำให้คนตอบแบบสอบถามมีภาพลักษณ์ที่ดีเกิดขึ้นในใจต่อพรรคการเมืองพรรคหนึ่งก่อน จากนั้นจึงถามว่า ท่านตั้งใจจะไปเลือกใคร ผลสำรวจที่ได้มักจะออกมาว่า ผู้สมัครของพรรคการเมืองที่ถูกกล่าวถึงในข้อคำถามก่อนหน้านั้นจะได้รับการโหวตเป็นอันดับหนึ่ง หรือได้คะแนนนิยมมากกว่าความเป็นจริง ซึ่งทั้งตัวอย่างที่สองและสามนี้ เป็นการทำโพลล์ที่สร้างความคลาดเคลื่อนในเครื่องมือวัด (Measurement Errors)
ยิ่งไปกว่านั้น มีการสุ่มตัวอย่างโดยให้พนักงานสัมภาษณ์ไปสุ่มเก็บข้อมูลตามปั๊มน้ำมัน ป้ายรถเมล์ และหน้าห้างสรรพสินค้า และสุ่มถามใครก็ได้ที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งการสุ่มตัวอย่างเช่นนี้ไม่ได้สุ่มขึ้นมาจากกรอบประชากรเป้าหมายที่ถูกสนใจศึกษา แต่เป็นการสุ่มตัวอย่างที่กระทำไปตามความสะดวกและราคาถูก ผลสำรวจที่ได้จึงมีคุณค่าเป็นเพียง "การคาดเดา" เท่านั้น ไม่ได้เป็นข้อมูลที่นักวิจัยสามารถรับรองความถูกต้องเที่ยงตรงตามทฤษฎีความน่าจะเป็นทางสถิติในการสุ่มตัวอย่าง ดังนั้นผลสำรวจที่ได้อาจจะแม่นยำหรือไม่แม่นยำก็ได้โดยไม่มีหลักวิชาการทางสถิติรับประกันผลสำรวจดังกล่าว นี่เป็นความผิดพลาดเกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Errors)
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงบางตัวอย่างเท่านั้นที่ชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดอย่างน่าเป็นห่วงของการทำโพลล์เลือกตั้ง ซึ่งได้เกิดขึ้นในประเทศไทย นักทำโพลล์เองต้องเริ่มหันมาพิจารณาตัวเองและปรับปรุงคุณภาพการทำโพลล์ให้ดีขึ้น ปัญหาของการทำโพลล์เช่นนี้ยังได้เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะในการปกครองแบบนี้ สังคมต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสาร และสื่อมวลชนก็ต้องการความรวดเร็วในการแข่งขันกัน เพื่อ "ทำ" ข่าว และ "รายงาน" ข่าว
สำนักโพลล์หลายสำนักจึงทำงานเหมือนกับเป็นสำนักข่าว โดย "ทำ" โพลล์ มากกว่า "รายงาน" ผลสำรวจคือ ทำโพลล์ออกมาทุกวัน ด้วยการเฝ้าดูว่าจังหวะที่กระแสข่าวและประเด็นข่าวใดมาแรง ก็จะรีบๆ ดำเนินการแล้วรายงานผลทันที ซึ่งละเลยความเคร่งครัดในระเบียบวิธีวิจัยที่ต้องการข้อมูลผลสำรวจอย่างมีคุณภาพ ในเรื่องการสร้างแบบสอบถาม การสุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือถ้าผลสำรวจที่ได้จากการเร่งทำเช่นนี้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดของบรรณาธิการข่าวประจำสำนักข่าวต่างๆ ก็จะได้รับการพาดหัวข่าวใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงว่าผลสำรวจนั้นเป็น "ตัวแทน" ความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่หรือไม่ ผลที่ตามมาก็คือ "โพลล์รายวัน" คือทำทุกวันเช่นนี้ไม่ได้ส่งเสริมสังคมประชาธิปไตย แต่กลับเป็นผลร้ายเบี่ยงเบนและชี้นำสังคมให้เดินหลงทางตามผลสำรวจอีกด้วย ซึ่งนักทำโพลล์เหล่านั้นอาจไม่ได้ตั้งใจหรืออาจเป็นเพราะความไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบของข้อมูลจากการสำรวจที่เสนอไปผ่านทางสื่อมวลชน
ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะมีสาเหตุหลักอย่างน้อยสองประการได้แก่ ประการแรกบรรณาธิการข่าวและฝ่ายผลิตของสำนักข่าวต่างๆ ต้องการรายงานข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงทางธุรกิจสื่อมวลชน และประการที่สองคือ บรรณาธิการอาจไม่ได้สนใจว่าข้อมูลข่าวสารที่มาจากการสำรวจโพลล์มีความแม่นยำถูกต้องตามหลักวิชาการมากน้อยเพียงไร เพราะมีความไว้วางใจความน่าเชื่อถือของสำนักโพลล์ ดังนั้นแนวทางแก้ไขที่ต่างประเทศนิยมใช้กันคือ สำนักข่าวต่างๆ ส่งบุคลากรเข้าอบรมเรื่องระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้น หรือส่งบุคลากรไปศึกษาดูงานที่สำนักโพลล์เพื่อให้บุคลากรของสำนักข่าวมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานว่า ผลสำรวจที่กำลังจะถูกนำเสนอต่อสังคมและประชาชนทั่วไปนั้นมีที่มาอย่างไร ถูกต้องเป็นวิทยาศาสตร์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าการศึกษาดูงานตามสำนักโพลล์ต่างๆ ในประเทศไทย ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการเข้าศึกษาดูงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับคือการ "รายงาน" ข่าวและข้อมูลผลสำรวจโดยสำนักข่าวนั้นๆ สมควรจะได้เป็นที่ยอมรับและมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นจากสังคม
ความน่าเชื่อถือและการยอมรับต่อการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน หรือ โพลล์นี้ ปรากฎเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชาชนในประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และ ญี่ปุ่น เป็นต้น เนื่องจากผลสำรวจที่ผ่านการดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ทำให้กลายเป็น "กระจก" สะท้อนความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของประชาชนได้ "ใกล้เคียง" กับความเป็นจริงมากที่สุด และทุกครั้งที่นักวิจัยดำเนินการออกแบบสำรวจก็จำเป็นต้องใส่ค่าความคลาดเคลื่อนลงไปในการออกแบบนั้นด้วย เพื่อให้ผู้ที่อ่านผลสำรวจมีค่าบวกและค่าลบในการอ่านผลสำรวจแต่ละครั้ง การดำเนินการสำรวจที่เคร่งครัดเช่นนี้ จึงกลายเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีคุณค่า ซึ่งรวมไปถึงการทำโพลล์เลือกตั้งด้วย
การทำโพลล์เลือกตั้งมีความสำคัญและสามารถช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสังคมประชาธิปไตยได้โดยผ่านวิธีการต่างๆ เช่น
ประการแรก การทำโพลล์เลือกตั้งอย่างต่อเนื่องที่ทำถูกต้องตามหลักระเบียบวิธีวิจัยได้ทำหน้าที่ส่ง "ข้อมูลข่าวสารเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง" ที่มีความหมายว่า ความคิดเห็น ความต้องการ ทัศนคติ ความคาดหวัง และความตั้งใจไปเลือกตั้งของประชาชน "ทุกชนชั้น" เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็น "ตัวแทน" ของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่เปิดโอกาสให้เฉพาะประชาชน "บางชนชั้น" ที่เป็นชนชั้นนำ (elite) เช่น นักการเมือง นักธุรกิจ นักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน และกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมต่างๆ เท่านั้นที่มี "สิทธิพิเศษ" ในการแสดงความคิดเห็น และความต้องการในสังคม เพราะประชาชนทุกชนชั้นควรได้รับสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น
ซึ่งการทำโพลล์เลือกตั้งที่ถูกต้องตามหลักวิชาการสุ่มตัวอย่างสามารถค้นพบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น "ตัวแทน" สะท้อนความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของสาธารณชนได้
ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีการทำโพลล์คะแนนนิยมมการเลือกตั้ง เพราะกฎหมายตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งระบุในข่าว ผลที่ตามมาก็คือ อาจเปิดทางให้กลุ่มชนชั้นนำทางสังคมมี "สิทธิพิเศษ" สามารถ "สร้างภาพ" เอาเปรียบคู่แข่งหรือบุคคลที่กลุ่มของตนไม่สนับสนุน ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในกระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น สื่อโทรทัศน์เสนอภาพข่าวที่แสดงให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่า ผู้สมัครคนหนึ่งได้รับความนิยมจากประชาชนมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ โดยภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นประชาชนจำนวนมากห้อมล้อมจับมือจับแขน ส่งดอกไม้ให้ผู้สมัคร และสื่อโทรทัศน์แห่งเดียวกันนี้เสนออีกภาพหนึ่งเป็นภาพของผู้สมัครคนอื่นๆ ที่ไม่มีประชาชนห้อมล้อมเลย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ผู้สมัครคนอื่นๆ อาจได้รับความนิยมและการยอมรับจากประชาชนมากกว่า
ยิ่งไปกว่านั้น การประกาศของ กกต. ยังอาจเอื้ออำนวยให้นักการเมือง นักธุรกิจ นักวิชาการ "บางคน" แสดงความคิดเห็นสนับสนุนนโยบายและโจมตีนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ โดยไม่มีหลักประกันใดๆ เลยว่า ท่าทีสนับสนุนหรือโจมตีนโยบายของผู้สมัครโดยชนชั้นนำ "บางคน" เหล่านั้นเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งหมด การออกประกาศห้ามการทำโพลล์เลือกตั้งที่ทำหน้าที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการและความนิยมของประชาชน "ทุกชนชั้น" ต่อตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงอาจมีผลทำให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำลังเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติ (discrimination) ละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ ละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทุกชนชั้น และอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญได้
ประการที่สอง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศห้ามการทำโพลล์เลือกตั้ง อาจไม่ได้แก้ปัญหาการชี้นำ ตรงกันข้าม กลับจะยิ่งส่งเสริมทำให้เกิดการชี้นำมากขึ้นไปอีก เพราะการทำโพลล์เลือกตั้งที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์และสถิติศาสตร์สะท้อนถึงความเป็นจริงในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนส่วนใหญ่ได้ จึงเป็นข้อมูลเชิงวัตถุวิสัย (objective) ซึ่งสามารถนำข้อมูลผลสำรวจไปถ่วงดุลกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มาจากการตัดสินใจของบรรณาธิการในสำนักข่าวต่างๆ ที่อาจเลือกนำเสนอข่าวเฉพาะผู้สมัครบางคนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อ โดยนำเสนอภาพดีๆ ถ้อยคำพูดที่ถูกใจประชาชน ให้เวลานานๆ และให้พื้นที่ในหน้าหนังสือพิมพ์ที่มากกว่า แต่ผู้สมัครที่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน หรือไม่มีทุนทรัพย์ ก็ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการนำเสนอนโยบาย ผลงานหรือภาพลักษณ์ที่ดีของตนเอง การนำเสนอข่าวสารแบบนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงอัตวิสัย (subjective) การชี้นำโดยบรรณาธิการและฝ่ายผลิตของสำนักข่าวต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นและส่งผลเสียต่อการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเรามีความเชื่อมั่นว่าสื่อมวลชนในประเทศไทยมีความเป็นกลางอย่างแท้จริง การทำโพลล์เลือกตั้งอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญอะไร
ประเด็นคำถามที่น่าพิจารณาคือ การทำโพลล์เลือกตั้งมีความสำคัญอย่างไรต่อสังคมประชาธิปไตย คำตอบที่เป็นไปได้คือ
การทำโพลล์เลือกตั้งสะท้อนความต้องการและความนิยมชอบหรือไม่ชอบของประชาชนที่มีต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งนักการเมืองทั้งที่สังกัดพรรคการเมืองและไม่สังกัดพรรคการเมืองสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงนโยบายเชิงสาธารณะ ปรับปรุงภาพลักษณ์ และกลยุทธ์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนการนำผลโพลล์ไปใช้ใน "ทางที่ผิด" จนทำให้เกิดการพนัน การซื้อสิทธิขายเสียง และการทุจริตการเลือกตั้งนั้นไม่ใช่หน้าที่ของนักทำโพลล์ แต่เป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครองบ้านเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องเข้าไปปราบปรามแก้ไข
การทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งทำให้สื่อมวลชนสามารถพูดและรายงานข้อมูลข่าวสารในฐานะที่เป็นตัวแทนของสาธารณชนในสังคมได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์และสถิติศาสตร์ ผลที่ตามมาก็คือ ประชาชนบางส่วนที่กำลังจะตัดสินใจเลือกตั้งแต่ไม่รู้ข่าวสาร หรือมีข้อมูลไม่เพียงพอ (uninformed voters) ก็จะได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีการลดทอน "อคติ" ลงไปบางส่วนที่เพียงพอใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกตั้งด้วยตนเอง (informed voters) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การมีผลโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งจะทำให้ประชาชนมีทางเลือกและสิทธิในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น ไม่ได้ถูกชี้นำโดยหัวคะแนนและกระแสสังคมเท่านั้น ส่วนประชาชนจะเชื่อหรือไม่เชื่อในผลสำรวจโพลล์ก็ต้องเคารพดุลพินิจของประชาชน
นอกจากนี้ การทำโพลล์เลือกตั้งยังมีส่วนทำให้สาธารณชนสนใจการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัคร ซึ่งฝ่ายการเมืองเองก็จะได้ข้อมูลทางสถิติไปค้นหาแนวทางพัฒนาปรับปรุงการรณรงค์หาคะแนนนิยมจากประชาชนในทางที่สร้างสรรประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการรายงานผลโพลล์เลือกตั้งที่ถี่และมากเกินไปอาจจะทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการเลือกตั้งก็ตาม แต่นั่นคือสังคมสื่อมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าวสารต้องร่วมกันพิจารณาพยายามรายงานข้อมูลข่าวสารในปริมาณและจังหวะที่เหมาะสมให้กับประชาชน
กล่าวโดยสรุป มีกลุ่มบุคคลสำคัญที่ควรร่วมกันพิจารณา คือ กลุ่มนักทำโพลล์ นักสื่อสารมวลชน นักการเมือง นักกฎหมาย คณะกรรมการการเลือกตั้งผู้คุมกติกา และประชาชนทั่วไป กลุ่มบุคคลเหล่านี้ควรร่วมกันศึกษาข้อดีและข้อเสียอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยศึกษาผลกระทบจากการประกาศห้ามทำโพลล์เลือกตั้ง ต่อบรรยากาศการเลือกตั้ง พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน และสิทธิเสรีภาพโดยภาพรวมของประชาชน ดังนั้น กฏกติกาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งออกมานั้นควรอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลวิจัยอย่างเป็นระบบและเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม นักทำโพลล์และบุคคลในสถาบันสื่อมวลชนก็ควรเคารพและอยู่ในกติกา ถ้าหากว่ากติกาดังกล่าวนั้นมีผลดีต่อการเลือกตั้งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการและไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพการแสดงความรู้สึกนึกคิดของประชาชนทุกชนชั้นในสังคม
เอแบคโพลล์พร้อมร่วมมือกับสื่อมวลชนทุกสังกัดในการทำโพลล์ผู้ว่ากทม.
สำหรับการทำโพลล์เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์นั้น ทางสำนักวิจัยฯ จะรอฟังความชัดเจนจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนว่าสามารถทำโพลล์สำรวจคะแนนนิยมเลือกตั้งได้หรือไม่ ซึ่งทราบจากสื่อมวลชนว่า กกต. จะมีการประชุมเพื่อแสดงความชัดเจนอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคมนี้ ถ้ามีการอนุโลมให้ทำโพลล์ได้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจะเปิดศูนย์วิจัยโพลล์เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้น
ศูนย์วิจัยโพลล์เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตั้งอยู่ที่ตึกอัสสัมชัญชั้น 5 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก และตึก CL ชั้น 15 ที่วิทยาเขตบางนา ศูนย์วิจัยฯ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) เพื่อร่วมมือกับสื่อมวลชนทุกแขนงในการเผยแพร่ข้อมูลผลสำรวจความสุข ความพอใจความเดือดร้อน ความต้องการและความนิยมของประชาชนคนกรุงเทพมหานครต่อนโยบายและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
2) เพื่อศึกษาเกาะติดความเปลี่ยนแปลงในความนิยมของประชาชนต่อนโยบายและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
3) เพื่อศึกษาผลกระทบของผลสำรวจโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งต่อบรรยากาศและพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน
4) เพื่อร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเลือกตั้ง ในการศึกษาวิจัยกลไกทางสังคมประชาธิปไตยที่เอื้อต่อการบริหารจัดการการเลือกตั้งอย่างมีประสิทธิภาพ
5) เพื่อศึกษาวิจัยด้านระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจในการทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้ง
เอแบคส่งบุคลากรศึกษาเรื่องโพลล์ที่มิชิแกนก่อนกลับมาทำโพลล์ผู้ว่า กทม.
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญตระหนักถึงความแม่นยำและเชื่อถือได้ของการทำโพลล์ จึงให้ทุนการศึกษาแก่ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ศึกษาเรื่องการทำโพลล์ ณ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐมิชิแกน (The University of Michigan) ทำให้ ดร.นพดล มีโอกาสพบและเรียนรู้การทำโพลล์จาก Mr. Jim Clifton ประธาน CEO ของสถาบันวิจัยแกลลัพโพลล์ซึ่งเป็นสำนักโพลล์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ มหาวิทยาลัย ยังอนุมัติให้นักวิจัยของเอแบคโพลล์อีกจำนวนหนึ่งเดินทางไปศึกษาเรื่องการทำโพลล์ ณ มหาวิทยาลัยเดียวกันก่อนกลับมาทำโพลล์คะแนนนิยมเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในเดือนสิงหาคมนี้
แนวทางการทำงาน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จะทำโพลล์โดยอิสระ เพื่อบริการผลสำรวจให้กับสำนักข่าวทุกสำนักโดยจะดำเนินโครงการสำรวจทุกสัปดาห์ในการเกาะติดบรรยากาศการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. และคะแนนนิยมของประชาชนต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง จากนั้นรายงานผลสำรวจต่อสื่อมวลชนทุกแขนง สำหรับการทำโพลล์ครั้งนี้แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ โพลล์ก่อนการเลือกตั้ง และ Exit Poll
ผลงานความแม่นยำในการเลือกตั้งที่ผ่านมา
เอแบคโพลล์เริ่มทำโพลล์ทำนายผลการเลือกตั้งสมัยที่ ดร.พิจิตต รัตตกุล ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่า กทม. ซึ่งเป็นสำนักโพลล์แห่งแรกที่ทำนายว่า ดร.พิจิตต ได้รับการเลือกตั้ง
ต่อมาในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งที่ผ่านมา เป็นสำนักโพลล์แห่งเดียวที่ประกาศคะแนนนิยมของ นายสมัคร สุนทรเวช ว่าได้รับคะแนนเลือกตั้งเกินหนึ่งล้านคะแนน ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. และเครือข่ายวิทยุของสำนักข่าวไทย ในขณะที่โพลล์สำนักอื่นๆ ประกาศว่านายสมัคร สุนทรเวชได้เพียง 7 - 8 แสนคะแนนเท่านั้น
ตารางเปรียบเทียบความถูกต้องเที่ยงตรงของเอแบคโพลล์ในการทำนายผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ผ่านมา
ผลโพลล์ก่อนวันเลือกตั้ง
นายสมัคร นางสุดารัตน์ นายธวัชชัย นายวินัย คุณหญิงกัลยา คุณปวีณา ผู้สมัครอื่นๆ
เอแบคโพลล์ 30.7 10.3 6.3 2.2 4.9 4.2 1.1
ผลนับคะแนน 26.6 13.7 6.5 3.8 3.5 3.1 1.0
จากประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3,817,456 ในช่วงความคลาดเคลื่อน +/-5%
ผลโพลล์หลังปิดหีบเลือกตั้ง (Exit Poll)
นายสมัคร นางสุดารัตน์ นายธวัชชัย นายวินัย คุณหญิงกัลยา คุณปวีณา ผู้สมัครอื่นๆ
เอแบคโพลล์ 45.8 25.2 10.2 5.8 5.9 5.7 1.4
ผลนับคะแนน 45.9 23.5 11.2 6.6 6.0 5.3 1.5
จากประชากรผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 2,216,361 ในช่วงความคลาดเคลื่อน +/-3%
หมายเหตุ: แถลงผลสำรวจผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และเครือข่ายวิทยุของสำนักข่าวไทยนอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาความแม่นยำในการทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งโดยเอแบคโพลล์อื่นๆ เช่น การทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้ง ส.ส. 500 ที่นั่งได้จาก www.abacpoll.com
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ศูนย์วิจัยโพลล์เลือกตั้งของเอแบคโพลล์มีระยะเวลาดำเนินงานระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม โดยจะเปิดศูนย์วิจัยฯ ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้
งบประมาณ
งบประมาณหลักเป็นของมหาวิทยาลัยและสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ไม่มีการรับงบประมาณสนับสนุนจากฝ่ายการเมือง
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
ผู้เขียนทราบข่าวจากเว็ปไซด์ของสำนักข่าวต่างๆ ในขณะที่อยู่ต่างประเทศว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ประกาศห้ามทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้ง และมีการรวมตัวกันของนักทำโพลล์เดินทางไปพบ กกต.
แต่ผู้เขียนไม่สามารถเดินทางไปพบได้ จึงขอแสดงจุดยืนในข้อคิดเห็นทางวิชาการผ่านทางสื่อมวลชนแทน
เมื่อกล่าวถึง "โพลล์" หรือการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ดูเหมือนว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งในประเทศไทยได้รับความสำคัญและถูกนำไปใช้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อผลโพลล์ถูกเผยแพร่และขยายผลผ่านสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง ผลโพลล์เหล่านั้นก็ได้รับความสนใจจากกลุ่มนักการเมืองและประชาชนคนชั้นกลาง อย่างไรก็ตาม ถ้าผลโพลล์ที่ออกมาไม่เป็นที่ถูกใจบุคคลบางกลุ่มในฝ่ายการเมืองก็ทำให้บุคคลเหล่านั้นโกรธและไม่พอใจต่อผลสำรวจที่ค้นพบ
ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2545 ได้มีกลุ่มบุคคลเชิงอนุรักษ์นิยมออกมาวิพากษ์วิจารณ์ผลโพลล์การเมืองอย่างหนัก เมื่อผลโพลล์เหล่านั้นสะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์ที่ควรแก้ไขปรับปรุงของนักการเมืองหรือบุคคลสำคัญในฝ่ายการเมือง ถ้ายังจำกันได้ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2545 ได้มีเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมประชาธิปไตยของประเทศไทยคือ การที่รัฐบาลส่งนายทหารและนายตำรวจไปยังสำนักวิจัยเอแบคโพลล์เพื่อตรวจสอบการทำโพลล์จนเป็นข่าวเสื่อมเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไปทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยถูกมองว่าเป็นประเทศที่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพแม้กระทั่งสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ การแทรกแซงและล่วงละเมิดบทบาทหน้าที่ของการทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในสังคมประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้สิทธิเสรีภาพอย่างมากแก่ประชาชนทั้งประเทศในการเผยแพร่และรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งในความเป็นจริงคือ มีประชาชนบางส่วนมีเหตุมีผลในการคิดและตัดสินใจทางการเมือง (rational choice people) แต่ก็ยังมีประชาชนบางส่วนไม่ได้ใช้เหตุผลในการไตร่ตรองและตัดสินใจทางการเมืองโดยตัดสินใจกระทำไปตามกระแสข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏในสื่อมวลชนเท่านั้น ดังนั้น ถ้ามีการทำโพลล์เลือกตั้ง และผลสำรวจโพลล์ที่ระบุคะแนนนิยมของผู้สมัคร ถูกนำไปใช้และขยายผลผ่านสื่อมวลชนจนเกินขอบเขตทำให้เกิดการซื้อสิทธิขายเสียง และทุจริตการเลือกตั้ง ผลโพลล์เลือกตั้งนั้นๆ เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
ด้วยเหตุนี้ หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาเห็นว่ามีกฎหมายห้ามทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งและออกประกาศให้ทราบโดยทั่วกันไปแล้วนั้น คณะผู้วิจัยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและถ่ายทอดความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศมาร่วมสิบปี จึงมีแนวคิดและจุดยืนทางวิชาการในการแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัด และความสำคัญของโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้ง
เมื่อพิจารณาข้อจำกัดหรือปัญหาของโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งในประเทศไทยแล้วพบว่า ในช่วงการเลือกตั้ง ส.ส. 500 ที่นั่งในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการทำโพลล์ทำนายผลการเลือกตั้งโดยสำนักโพลล์ต่างๆ จำนวนมาก ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ทำให้กลุ่มนักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ถกเถียงและวิจารณ์การทำโพลล์ของสำนักต่างๆ ที่ดำเนินการสำรวจคลาดเคลื่อนไปจากหลักวิชาการ
ยกตัวอย่าง มีการประกาศเชิญชวนให้ประชาชนโทรเข้าไปยังสำนักวิจัย (phone-in) เพื่อโหวตเลือกผู้สมัครที่ประชาชนคิดว่าจะเลือก การทำสำรวจเช่นนี้ ไม่ได้เป็นการสุ่มตัวอย่างแต่เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชน "เสนอตัวให้ถูกเลือก" ซึ่งถือว่าผิดหลักวิชาการสำรวจ ก่อให้เกิดอคติและความคลาดเคลื่อนที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงอย่างมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น ทุกวันนี้เรายังสามารถพบการทำโพลล์เช่นนี้ตามเว็ปไซด์ต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งคณะผู้จัดทำสำรวจนั้นควรประกาศให้ชัดเจนว่า ผลสำรวจที่ค้นพบไม่สามารถนำไปอ้างอิงได้ เพราะไม่ได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ และเป็นการทำสำรวจที่ไม่ได้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายอย่างแท้จริง (Non-Coverage Errors)
ตัวอย่างที่สอง มีการตั้งคำถาม ถามประชาชนว่า "ท่านคิดว่าใครจะได้รับการเลือกตั้ง" การถามเช่นนี้ทำให้ได้คำตอบที่อาจไม่ใช่คำตอบของผู้ตอบอย่างแท้จริง ผู้ตอบอาจตอบไปตามกระแสสังคมไม่ใช่ความตั้งใจหรือพฤติกรรมของผู้ตอบ นอกจากนี้ ยังมีการตั้งคำถามและจัดทำตัวเลือกผู้สมัครที่เรียงลำดับก่อนอย่างมีอคติ (primacy effects) ทำให้ผู้สมัครที่อยู่ในอันดับต้นๆ มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับการโหวตเป็นอันดับหนึ่งในโพลล์ แต่ไม่ตรงกับผลการเลือกตั้งจริงที่ออกมา
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างแบบสอบถามโดยชี้นำด้วยลำดับข้อคำถาม (Order effects) ยกตัวอย่างเช่น มีการถามคำถามหลายข้อ ที่ทำให้คนตอบแบบสอบถามมีภาพลักษณ์ที่ดีเกิดขึ้นในใจต่อพรรคการเมืองพรรคหนึ่งก่อน จากนั้นจึงถามว่า ท่านตั้งใจจะไปเลือกใคร ผลสำรวจที่ได้มักจะออกมาว่า ผู้สมัครของพรรคการเมืองที่ถูกกล่าวถึงในข้อคำถามก่อนหน้านั้นจะได้รับการโหวตเป็นอันดับหนึ่ง หรือได้คะแนนนิยมมากกว่าความเป็นจริง ซึ่งทั้งตัวอย่างที่สองและสามนี้ เป็นการทำโพลล์ที่สร้างความคลาดเคลื่อนในเครื่องมือวัด (Measurement Errors)
ยิ่งไปกว่านั้น มีการสุ่มตัวอย่างโดยให้พนักงานสัมภาษณ์ไปสุ่มเก็บข้อมูลตามปั๊มน้ำมัน ป้ายรถเมล์ และหน้าห้างสรรพสินค้า และสุ่มถามใครก็ได้ที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งการสุ่มตัวอย่างเช่นนี้ไม่ได้สุ่มขึ้นมาจากกรอบประชากรเป้าหมายที่ถูกสนใจศึกษา แต่เป็นการสุ่มตัวอย่างที่กระทำไปตามความสะดวกและราคาถูก ผลสำรวจที่ได้จึงมีคุณค่าเป็นเพียง "การคาดเดา" เท่านั้น ไม่ได้เป็นข้อมูลที่นักวิจัยสามารถรับรองความถูกต้องเที่ยงตรงตามทฤษฎีความน่าจะเป็นทางสถิติในการสุ่มตัวอย่าง ดังนั้นผลสำรวจที่ได้อาจจะแม่นยำหรือไม่แม่นยำก็ได้โดยไม่มีหลักวิชาการทางสถิติรับประกันผลสำรวจดังกล่าว นี่เป็นความผิดพลาดเกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Errors)
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงบางตัวอย่างเท่านั้นที่ชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดอย่างน่าเป็นห่วงของการทำโพลล์เลือกตั้ง ซึ่งได้เกิดขึ้นในประเทศไทย นักทำโพลล์เองต้องเริ่มหันมาพิจารณาตัวเองและปรับปรุงคุณภาพการทำโพลล์ให้ดีขึ้น ปัญหาของการทำโพลล์เช่นนี้ยังได้เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะในการปกครองแบบนี้ สังคมต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสาร และสื่อมวลชนก็ต้องการความรวดเร็วในการแข่งขันกัน เพื่อ "ทำ" ข่าว และ "รายงาน" ข่าว
สำนักโพลล์หลายสำนักจึงทำงานเหมือนกับเป็นสำนักข่าว โดย "ทำ" โพลล์ มากกว่า "รายงาน" ผลสำรวจคือ ทำโพลล์ออกมาทุกวัน ด้วยการเฝ้าดูว่าจังหวะที่กระแสข่าวและประเด็นข่าวใดมาแรง ก็จะรีบๆ ดำเนินการแล้วรายงานผลทันที ซึ่งละเลยความเคร่งครัดในระเบียบวิธีวิจัยที่ต้องการข้อมูลผลสำรวจอย่างมีคุณภาพ ในเรื่องการสร้างแบบสอบถาม การสุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือถ้าผลสำรวจที่ได้จากการเร่งทำเช่นนี้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดของบรรณาธิการข่าวประจำสำนักข่าวต่างๆ ก็จะได้รับการพาดหัวข่าวใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงว่าผลสำรวจนั้นเป็น "ตัวแทน" ความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่หรือไม่ ผลที่ตามมาก็คือ "โพลล์รายวัน" คือทำทุกวันเช่นนี้ไม่ได้ส่งเสริมสังคมประชาธิปไตย แต่กลับเป็นผลร้ายเบี่ยงเบนและชี้นำสังคมให้เดินหลงทางตามผลสำรวจอีกด้วย ซึ่งนักทำโพลล์เหล่านั้นอาจไม่ได้ตั้งใจหรืออาจเป็นเพราะความไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบของข้อมูลจากการสำรวจที่เสนอไปผ่านทางสื่อมวลชน
ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะมีสาเหตุหลักอย่างน้อยสองประการได้แก่ ประการแรกบรรณาธิการข่าวและฝ่ายผลิตของสำนักข่าวต่างๆ ต้องการรายงานข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงทางธุรกิจสื่อมวลชน และประการที่สองคือ บรรณาธิการอาจไม่ได้สนใจว่าข้อมูลข่าวสารที่มาจากการสำรวจโพลล์มีความแม่นยำถูกต้องตามหลักวิชาการมากน้อยเพียงไร เพราะมีความไว้วางใจความน่าเชื่อถือของสำนักโพลล์ ดังนั้นแนวทางแก้ไขที่ต่างประเทศนิยมใช้กันคือ สำนักข่าวต่างๆ ส่งบุคลากรเข้าอบรมเรื่องระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้น หรือส่งบุคลากรไปศึกษาดูงานที่สำนักโพลล์เพื่อให้บุคลากรของสำนักข่าวมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานว่า ผลสำรวจที่กำลังจะถูกนำเสนอต่อสังคมและประชาชนทั่วไปนั้นมีที่มาอย่างไร ถูกต้องเป็นวิทยาศาสตร์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าการศึกษาดูงานตามสำนักโพลล์ต่างๆ ในประเทศไทย ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการเข้าศึกษาดูงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับคือการ "รายงาน" ข่าวและข้อมูลผลสำรวจโดยสำนักข่าวนั้นๆ สมควรจะได้เป็นที่ยอมรับและมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นจากสังคม
ความน่าเชื่อถือและการยอมรับต่อการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน หรือ โพลล์นี้ ปรากฎเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชาชนในประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และ ญี่ปุ่น เป็นต้น เนื่องจากผลสำรวจที่ผ่านการดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ทำให้กลายเป็น "กระจก" สะท้อนความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของประชาชนได้ "ใกล้เคียง" กับความเป็นจริงมากที่สุด และทุกครั้งที่นักวิจัยดำเนินการออกแบบสำรวจก็จำเป็นต้องใส่ค่าความคลาดเคลื่อนลงไปในการออกแบบนั้นด้วย เพื่อให้ผู้ที่อ่านผลสำรวจมีค่าบวกและค่าลบในการอ่านผลสำรวจแต่ละครั้ง การดำเนินการสำรวจที่เคร่งครัดเช่นนี้ จึงกลายเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีคุณค่า ซึ่งรวมไปถึงการทำโพลล์เลือกตั้งด้วย
การทำโพลล์เลือกตั้งมีความสำคัญและสามารถช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสังคมประชาธิปไตยได้โดยผ่านวิธีการต่างๆ เช่น
ประการแรก การทำโพลล์เลือกตั้งอย่างต่อเนื่องที่ทำถูกต้องตามหลักระเบียบวิธีวิจัยได้ทำหน้าที่ส่ง "ข้อมูลข่าวสารเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง" ที่มีความหมายว่า ความคิดเห็น ความต้องการ ทัศนคติ ความคาดหวัง และความตั้งใจไปเลือกตั้งของประชาชน "ทุกชนชั้น" เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็น "ตัวแทน" ของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่เปิดโอกาสให้เฉพาะประชาชน "บางชนชั้น" ที่เป็นชนชั้นนำ (elite) เช่น นักการเมือง นักธุรกิจ นักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน และกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมต่างๆ เท่านั้นที่มี "สิทธิพิเศษ" ในการแสดงความคิดเห็น และความต้องการในสังคม เพราะประชาชนทุกชนชั้นควรได้รับสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น
ซึ่งการทำโพลล์เลือกตั้งที่ถูกต้องตามหลักวิชาการสุ่มตัวอย่างสามารถค้นพบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น "ตัวแทน" สะท้อนความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของสาธารณชนได้
ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีการทำโพลล์คะแนนนิยมมการเลือกตั้ง เพราะกฎหมายตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งระบุในข่าว ผลที่ตามมาก็คือ อาจเปิดทางให้กลุ่มชนชั้นนำทางสังคมมี "สิทธิพิเศษ" สามารถ "สร้างภาพ" เอาเปรียบคู่แข่งหรือบุคคลที่กลุ่มของตนไม่สนับสนุน ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในกระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น สื่อโทรทัศน์เสนอภาพข่าวที่แสดงให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่า ผู้สมัครคนหนึ่งได้รับความนิยมจากประชาชนมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ โดยภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นประชาชนจำนวนมากห้อมล้อมจับมือจับแขน ส่งดอกไม้ให้ผู้สมัคร และสื่อโทรทัศน์แห่งเดียวกันนี้เสนออีกภาพหนึ่งเป็นภาพของผู้สมัครคนอื่นๆ ที่ไม่มีประชาชนห้อมล้อมเลย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ผู้สมัครคนอื่นๆ อาจได้รับความนิยมและการยอมรับจากประชาชนมากกว่า
ยิ่งไปกว่านั้น การประกาศของ กกต. ยังอาจเอื้ออำนวยให้นักการเมือง นักธุรกิจ นักวิชาการ "บางคน" แสดงความคิดเห็นสนับสนุนนโยบายและโจมตีนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ โดยไม่มีหลักประกันใดๆ เลยว่า ท่าทีสนับสนุนหรือโจมตีนโยบายของผู้สมัครโดยชนชั้นนำ "บางคน" เหล่านั้นเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งหมด การออกประกาศห้ามการทำโพลล์เลือกตั้งที่ทำหน้าที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการและความนิยมของประชาชน "ทุกชนชั้น" ต่อตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงอาจมีผลทำให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำลังเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติ (discrimination) ละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ ละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทุกชนชั้น และอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญได้
ประการที่สอง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศห้ามการทำโพลล์เลือกตั้ง อาจไม่ได้แก้ปัญหาการชี้นำ ตรงกันข้าม กลับจะยิ่งส่งเสริมทำให้เกิดการชี้นำมากขึ้นไปอีก เพราะการทำโพลล์เลือกตั้งที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์และสถิติศาสตร์สะท้อนถึงความเป็นจริงในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนส่วนใหญ่ได้ จึงเป็นข้อมูลเชิงวัตถุวิสัย (objective) ซึ่งสามารถนำข้อมูลผลสำรวจไปถ่วงดุลกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มาจากการตัดสินใจของบรรณาธิการในสำนักข่าวต่างๆ ที่อาจเลือกนำเสนอข่าวเฉพาะผู้สมัครบางคนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อ โดยนำเสนอภาพดีๆ ถ้อยคำพูดที่ถูกใจประชาชน ให้เวลานานๆ และให้พื้นที่ในหน้าหนังสือพิมพ์ที่มากกว่า แต่ผู้สมัครที่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน หรือไม่มีทุนทรัพย์ ก็ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการนำเสนอนโยบาย ผลงานหรือภาพลักษณ์ที่ดีของตนเอง การนำเสนอข่าวสารแบบนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงอัตวิสัย (subjective) การชี้นำโดยบรรณาธิการและฝ่ายผลิตของสำนักข่าวต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นและส่งผลเสียต่อการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเรามีความเชื่อมั่นว่าสื่อมวลชนในประเทศไทยมีความเป็นกลางอย่างแท้จริง การทำโพลล์เลือกตั้งอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญอะไร
ประเด็นคำถามที่น่าพิจารณาคือ การทำโพลล์เลือกตั้งมีความสำคัญอย่างไรต่อสังคมประชาธิปไตย คำตอบที่เป็นไปได้คือ
การทำโพลล์เลือกตั้งสะท้อนความต้องการและความนิยมชอบหรือไม่ชอบของประชาชนที่มีต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งนักการเมืองทั้งที่สังกัดพรรคการเมืองและไม่สังกัดพรรคการเมืองสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงนโยบายเชิงสาธารณะ ปรับปรุงภาพลักษณ์ และกลยุทธ์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนการนำผลโพลล์ไปใช้ใน "ทางที่ผิด" จนทำให้เกิดการพนัน การซื้อสิทธิขายเสียง และการทุจริตการเลือกตั้งนั้นไม่ใช่หน้าที่ของนักทำโพลล์ แต่เป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครองบ้านเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องเข้าไปปราบปรามแก้ไข
การทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งทำให้สื่อมวลชนสามารถพูดและรายงานข้อมูลข่าวสารในฐานะที่เป็นตัวแทนของสาธารณชนในสังคมได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์และสถิติศาสตร์ ผลที่ตามมาก็คือ ประชาชนบางส่วนที่กำลังจะตัดสินใจเลือกตั้งแต่ไม่รู้ข่าวสาร หรือมีข้อมูลไม่เพียงพอ (uninformed voters) ก็จะได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีการลดทอน "อคติ" ลงไปบางส่วนที่เพียงพอใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกตั้งด้วยตนเอง (informed voters) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การมีผลโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งจะทำให้ประชาชนมีทางเลือกและสิทธิในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น ไม่ได้ถูกชี้นำโดยหัวคะแนนและกระแสสังคมเท่านั้น ส่วนประชาชนจะเชื่อหรือไม่เชื่อในผลสำรวจโพลล์ก็ต้องเคารพดุลพินิจของประชาชน
นอกจากนี้ การทำโพลล์เลือกตั้งยังมีส่วนทำให้สาธารณชนสนใจการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัคร ซึ่งฝ่ายการเมืองเองก็จะได้ข้อมูลทางสถิติไปค้นหาแนวทางพัฒนาปรับปรุงการรณรงค์หาคะแนนนิยมจากประชาชนในทางที่สร้างสรรประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการรายงานผลโพลล์เลือกตั้งที่ถี่และมากเกินไปอาจจะทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการเลือกตั้งก็ตาม แต่นั่นคือสังคมสื่อมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าวสารต้องร่วมกันพิจารณาพยายามรายงานข้อมูลข่าวสารในปริมาณและจังหวะที่เหมาะสมให้กับประชาชน
กล่าวโดยสรุป มีกลุ่มบุคคลสำคัญที่ควรร่วมกันพิจารณา คือ กลุ่มนักทำโพลล์ นักสื่อสารมวลชน นักการเมือง นักกฎหมาย คณะกรรมการการเลือกตั้งผู้คุมกติกา และประชาชนทั่วไป กลุ่มบุคคลเหล่านี้ควรร่วมกันศึกษาข้อดีและข้อเสียอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยศึกษาผลกระทบจากการประกาศห้ามทำโพลล์เลือกตั้ง ต่อบรรยากาศการเลือกตั้ง พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน และสิทธิเสรีภาพโดยภาพรวมของประชาชน ดังนั้น กฏกติกาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งออกมานั้นควรอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลวิจัยอย่างเป็นระบบและเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม นักทำโพลล์และบุคคลในสถาบันสื่อมวลชนก็ควรเคารพและอยู่ในกติกา ถ้าหากว่ากติกาดังกล่าวนั้นมีผลดีต่อการเลือกตั้งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการและไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพการแสดงความรู้สึกนึกคิดของประชาชนทุกชนชั้นในสังคม
เอแบคโพลล์พร้อมร่วมมือกับสื่อมวลชนทุกสังกัดในการทำโพลล์ผู้ว่ากทม.
สำหรับการทำโพลล์เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์นั้น ทางสำนักวิจัยฯ จะรอฟังความชัดเจนจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนว่าสามารถทำโพลล์สำรวจคะแนนนิยมเลือกตั้งได้หรือไม่ ซึ่งทราบจากสื่อมวลชนว่า กกต. จะมีการประชุมเพื่อแสดงความชัดเจนอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคมนี้ ถ้ามีการอนุโลมให้ทำโพลล์ได้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจะเปิดศูนย์วิจัยโพลล์เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้น
ศูนย์วิจัยโพลล์เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตั้งอยู่ที่ตึกอัสสัมชัญชั้น 5 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก และตึก CL ชั้น 15 ที่วิทยาเขตบางนา ศูนย์วิจัยฯ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) เพื่อร่วมมือกับสื่อมวลชนทุกแขนงในการเผยแพร่ข้อมูลผลสำรวจความสุข ความพอใจความเดือดร้อน ความต้องการและความนิยมของประชาชนคนกรุงเทพมหานครต่อนโยบายและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
2) เพื่อศึกษาเกาะติดความเปลี่ยนแปลงในความนิยมของประชาชนต่อนโยบายและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
3) เพื่อศึกษาผลกระทบของผลสำรวจโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งต่อบรรยากาศและพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน
4) เพื่อร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเลือกตั้ง ในการศึกษาวิจัยกลไกทางสังคมประชาธิปไตยที่เอื้อต่อการบริหารจัดการการเลือกตั้งอย่างมีประสิทธิภาพ
5) เพื่อศึกษาวิจัยด้านระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจในการทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้ง
เอแบคส่งบุคลากรศึกษาเรื่องโพลล์ที่มิชิแกนก่อนกลับมาทำโพลล์ผู้ว่า กทม.
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญตระหนักถึงความแม่นยำและเชื่อถือได้ของการทำโพลล์ จึงให้ทุนการศึกษาแก่ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ศึกษาเรื่องการทำโพลล์ ณ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐมิชิแกน (The University of Michigan) ทำให้ ดร.นพดล มีโอกาสพบและเรียนรู้การทำโพลล์จาก Mr. Jim Clifton ประธาน CEO ของสถาบันวิจัยแกลลัพโพลล์ซึ่งเป็นสำนักโพลล์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ มหาวิทยาลัย ยังอนุมัติให้นักวิจัยของเอแบคโพลล์อีกจำนวนหนึ่งเดินทางไปศึกษาเรื่องการทำโพลล์ ณ มหาวิทยาลัยเดียวกันก่อนกลับมาทำโพลล์คะแนนนิยมเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในเดือนสิงหาคมนี้
แนวทางการทำงาน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จะทำโพลล์โดยอิสระ เพื่อบริการผลสำรวจให้กับสำนักข่าวทุกสำนักโดยจะดำเนินโครงการสำรวจทุกสัปดาห์ในการเกาะติดบรรยากาศการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. และคะแนนนิยมของประชาชนต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง จากนั้นรายงานผลสำรวจต่อสื่อมวลชนทุกแขนง สำหรับการทำโพลล์ครั้งนี้แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ โพลล์ก่อนการเลือกตั้ง และ Exit Poll
ผลงานความแม่นยำในการเลือกตั้งที่ผ่านมา
เอแบคโพลล์เริ่มทำโพลล์ทำนายผลการเลือกตั้งสมัยที่ ดร.พิจิตต รัตตกุล ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่า กทม. ซึ่งเป็นสำนักโพลล์แห่งแรกที่ทำนายว่า ดร.พิจิตต ได้รับการเลือกตั้ง
ต่อมาในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งที่ผ่านมา เป็นสำนักโพลล์แห่งเดียวที่ประกาศคะแนนนิยมของ นายสมัคร สุนทรเวช ว่าได้รับคะแนนเลือกตั้งเกินหนึ่งล้านคะแนน ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. และเครือข่ายวิทยุของสำนักข่าวไทย ในขณะที่โพลล์สำนักอื่นๆ ประกาศว่านายสมัคร สุนทรเวชได้เพียง 7 - 8 แสนคะแนนเท่านั้น
ตารางเปรียบเทียบความถูกต้องเที่ยงตรงของเอแบคโพลล์ในการทำนายผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ผ่านมา
ผลโพลล์ก่อนวันเลือกตั้ง
นายสมัคร นางสุดารัตน์ นายธวัชชัย นายวินัย คุณหญิงกัลยา คุณปวีณา ผู้สมัครอื่นๆ
เอแบคโพลล์ 30.7 10.3 6.3 2.2 4.9 4.2 1.1
ผลนับคะแนน 26.6 13.7 6.5 3.8 3.5 3.1 1.0
จากประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3,817,456 ในช่วงความคลาดเคลื่อน +/-5%
ผลโพลล์หลังปิดหีบเลือกตั้ง (Exit Poll)
นายสมัคร นางสุดารัตน์ นายธวัชชัย นายวินัย คุณหญิงกัลยา คุณปวีณา ผู้สมัครอื่นๆ
เอแบคโพลล์ 45.8 25.2 10.2 5.8 5.9 5.7 1.4
ผลนับคะแนน 45.9 23.5 11.2 6.6 6.0 5.3 1.5
จากประชากรผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 2,216,361 ในช่วงความคลาดเคลื่อน +/-3%
หมายเหตุ: แถลงผลสำรวจผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และเครือข่ายวิทยุของสำนักข่าวไทยนอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาความแม่นยำในการทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งโดยเอแบคโพลล์อื่นๆ เช่น การทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้ง ส.ส. 500 ที่นั่งได้จาก www.abacpoll.com
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ศูนย์วิจัยโพลล์เลือกตั้งของเอแบคโพลล์มีระยะเวลาดำเนินงานระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม โดยจะเปิดศูนย์วิจัยฯ ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้
งบประมาณ
งบประมาณหลักเป็นของมหาวิทยาลัยและสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ไม่มีการรับงบประมาณสนับสนุนจากฝ่ายการเมือง
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-