กรณีศึกษาตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร
นางสาว ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยธุรกิจ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผลผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง ความกังวลรับเปิดเทอมของกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองว่าด้วยการเตรียมค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานเทอมแรกของปีการศึกษา 2555 กรณีศึกษาตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,214 ตัวอย่าง ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 17 — 25 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 กังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของบุตรหลานช่วงเปิดเทอมนี้ และที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มตัวอย่างพ่อแม่ผู้ปกครองมีเรื่องที่กังวลเกี่ยวกับบุตรหลานอันดับแรกหรือร้อยละ 51.1 ระบุเป็นปัญหาการคบเพื่อน รองลงมาอันดับที่สองได้แก่ร้อยละ 50.3 ระบุเป็นปัญหายาเสพติด และอันดับสามหรือร้อยละ 47.8 ระบุค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ในขณะที่รองๆ ลงไปคือ ปัญหาการมั่วสุมของเด็กๆ ปัญหาการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ปัญหาการจราจร ปัญหาคุณภาพการศึกษาไม่ได้มาตรฐาน และปัญหาการปรับตัวของบุตรหลาน ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ อาจกล่าวได้ว่า กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองกำลังกระเป๋าฉีกรับเปิดเทอม เตรียมเงินด้านการศึกษาไว้ให้ลูกหลาน เช่น ค่าเทอม ค่าเล่าเรียน ค่าเรียนพิเศษ และเงินแป๊ะเจี้ยะ โดยเฉลี่ยกว่า 4 หมื่นบาท โดยกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กนักเรียนภาคเอกชน เตรียมเงินไว้เฉลี่ย 5 หมื่นบาท ซึ่งมากกว่า กลุ่มผู้ปกครองที่ต้องเตรียมเงินไว้สำหรับลูกหลานในสถาบันการศึกษาภาครัฐประมาณ 3.5 หมื่นบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ปกครองบางรายที่ต้องการให้ลูกหลานเข้าโรงเรียนแห่งใหม่ต้องจ่ายเงินให้กับโรงเรียนเพื่อผลักดันให้ลูกหลานได้เข้าเรียนด้วยวงเงินสูงสุดกว่าสี่แสนบาทเลยทีเดียว และมองว่านโยบายเรียนฟรี 15 ปีช่วยแบ่งเบาภาระได้บ้าง แต่ไม่ได้มากนัก
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า หมวดค่าใช้จ่ายสำหรับเทอมแรกของปีการศึกษา 2555 ให้กับบุตรหลานที่มีสัดส่วนสูงที่สุดได้แก่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.8 ระบุเป็นค่าเครื่องแต่งกายชุดนักเรียน นักศึกษา รองลงมาคือร้อยละ 77.3 ระบุเป็นค่าอาหาร ค่าเดินทาง และร้อยละ 68.0 ระบุเป็นค่าอุปกรณ์การเรียน ตำราเรียน และรองๆ ลงไปคือ ค่าเทอม ค่าเล่าเรียน ค่ากิจกรรมเสริมหลักสูตร ค่าบำรุงโรงเรียน หรือแป๊ะเจี๊ยะ และค่าหอพัก ตามลำดับ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 54.3 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 45.7 เป็นเพศชาย ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงอายุพบว่า ร้อยละ 30.3 ระบุอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 30.8 ระบุอายุ 40-49 ปี ร้อยละ 22.3 ระบุอายุ 50-59 ปี และร้อยละ 16.6 ระบุอายุ 60 ปีขึ่นไป ตัวอย่างร้อยละ 68.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 30.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป นอกจากนี้ ร้อยละ 38.7 ระบุอาชีพค้าขายอิสระ/ส่วนตัว ร้อยละ 20.6 ผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 14.9 พนักงานบริษัท ร้อยละ 8.0 ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ ร้อยละ 6.0 ข้าราชการรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.9 ลูกจ้าโรงงาน/สถานประกอบการ ร้อยละ 3.1 ว่างงาน และร้อยละ 2.8 ระบุอื่นๆ
ลำดับที่ ความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของบุตรหลาน ค่าร้อยละ 1 กังวล 69.4 2 ไม่กังวล 30.6 รวมทั้งสิ้น 100 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่กังวลเกี่ยวกับบุตรหลาน จำแนกตามประเภทของสถาบันการศึกษา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ เรื่องที่กังวลเกี่ยวกับบุตรหลาน ร้อยละ 1 ปัญหาการคบเพื่อน 51.1 2 ปัญหายาเสพติด 50.3 3 ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา 47.8 4 ปัญหาการมั่วสุมของเด็กๆ 32.9 5 ปัญหาการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย 28.5 6 ปัญหาการจราจร 22.3 7 ปัญหาคุณภาพการศึกษาไม่ได้มาตรฐาน 20.9 8 ปัญหาการปรับตัวของบุตรหลาน 18 ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่ต้องเตรียมไว้สำหรับบุตรหลานในช่วงเปิดเทอมแรก ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา เช่น ค่าเทอม/ค่าเล่าเรียน ค่าเรียนพิเศษ ค่าแป๊ะเจี๊ยะ ค่าใช้จ่าย (บาท) ภาพรวม 42,061.81 ภาครัฐ 35,886.15 ภาคเอกชน 50,049.01 ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานสำหรับเทอมแรกของปีการศึกษา 2555 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ค่าใช้จ่าย ร้อยละ 1 ค่าเครื่องแต่งกายชุดนักเรียน / นักศึกษา 77.8 2 ค่าอาหาร / ค่าเดินทาง 77.3 3 ค่าอุปกรณ์การเรียน - ตำราเรียน 68 4 ค่าเทอม / ค่าเล่าเรียน 54 5 ค่ากิจกรรมเสริมหลักสูตร / เรียนพิเศษ 34.2 6 ค่าบำรุงโรงเรียน / แป๊ะเจี๊ยะ 14.5 7 ค่าหอพัก 12.3 8 อื่น ๆ อาทิ ค่าอุปกรณ์การกีฬา ค่ากิจกรรมของเด็ก 1.1
--เอแบคโพลล์--