ที่มาของโครงการ
การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นกระบวนการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลที่สำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย เป็นการเปิดโอกาสให้ ส.ส.ฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ได้อภิปรายกล่าวหาและชี้แจงอย่างโปร่งใส ซึ่งประชาชนโดยทั่วไปได้รับข้อมูลทั้งสองฝ่ายผ่านสื่อมวลชน
ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งล่าสุด มีการอภิปรายรัฐมนตรีในเนื้อหาสาระสำคัญหลายประการ เช่น รัฐมนตรีเอื้ออำนวยหรือไม่เอื้ออำนวยให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี ความร่ำรวยผิดปกติหรือ ไม่ผิดปกติของรัฐมนตรี การบริหารราชการแผ่นดินที่โปร่งใสหรือไม่โปร่งใสของรัฐมนตรี เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปราย ไม่ไว้วางใจครั้งนี้ โดยได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
2.เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี
3.เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรีหลังศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 22 - 23 พฤษภาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างและใช้วิธีการเข้าถึงตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,247 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 30.7 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 14.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 10.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 72.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 20.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 7.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 34.3 ค้าขาย / อาชีพอิสระ ร้อยละ 21.8 รับจ้างทั่วไป ตัวอย่างร้อยละ 20.5 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.6 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.0 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 5.8 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน เกษียณอายุ ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจ ร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่องทุกประเด็น 17.8
2 ติดตามบ้าง 73.9
3 ไม่ได้ติดตามเลย 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจต่อการชี้แจงของรัฐมนตรีในประเด็นสำคัญ
ของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จำแนกตามกลุ่มผู้ติดตามอย่างต่อเนื่องกับกลุ่มผู้ติดตามบ้าง
ลำดับที่ ประเด็นสำคัญของการอภิปราย กลุ่มผู้ติดตามอย่างต่อเนื่อง กลุ่มผู้ติดตามข่าวบ้าง
พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 รัฐมนตรีเอื้อประโยชน์ให้บุคคลใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี 38.4 52.5 9.1 34.7 39.2 26.1
2 กรณีข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว 32.7 62.8 4.5 38.7 45.2 16.1
3 ความร่ำรวยผิดปกติของรัฐมนตรี 39.7 41.8 18.5 35.0 33.2 31.8
4 รัฐมนตรีเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง 31.0 58.3 10.7 37.3 43.1 19.6
5 ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.9 46.3 17.8 30.4 35.9 33.7
6 ปัญหาราคาสินค้าสูงขึ้น 44.8 51.4 3.8 34.1 40.3 25.6
7 ปัญหาการนำเข้าข้าว 51.2 36.1 12.7 42.9 27.7 29.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจต่อการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
ลำดับที่ ผู้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 นายอุทัย พิมพ์ใจชน 51.2 36.8 12.0 100.0
2 นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล 54.9 34.2 10.9 100.0
3 นายสุชาติ ตันเจริญ 47.1 39.4 13.5 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจภาพรวมในพฤติกรรมการอภิปรายของส.ส. ในสภาฯ
ลำดับที่ ความพอใจหรือไม่พอใจของประชาชน ร้อยละ
1 พอใจ 54.0
2 ไม่พอใจ 32.9
3 ไม่มีความเห็น 13.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจในพฤติกรรมการอภิปรายของส.ส. ฝ่ายค้านโดยภาพรวม
ลำดับที่ ความพอใจหรือไม่พอใจของประชาชน ร้อยละ
1 พอใจ 56.2
2 ไม่พอใจ 34.0
3 ไม่มีความเห็น 9.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจในพฤติกรรมการอภิปรายของส.ส. ฝ่ายรัฐบาลโดยภาพรวม
ลำดับที่ ความพอใจหรือไม่พอใจของประชาชน ร้อยละ
1 พอใจ 52.8
2 ไม่พอใจ 36.7
3 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อข้อคำถาม "ท่านนิยมชอบ นักการเมืองคนใดมากกว่ากัน
ระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กับ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน" เปรียบเทียบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์
กับเดือนพฤษภาคมก่อน - หลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อันดับที่ นักการเมือง กุมภาพันธ์ พฤษภาคมก่อนอภิปราย พฤษภาคมหลังอภิปราย
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 58.8 64.4 56.9
2 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน 8.5 9.2 10.7
3 ไม่มีความเห็น 32.7 26.4 32.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้รัฐบาลทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความต้องการของประชาชน ร้อยละ
1 ต้องการ 57.3
2 ไม่ต้องการ 32.1
3 ไม่มีความเห็น 10.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "สำรวจคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรีหลังศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 22 - 23 พฤษภาคม 2547 รวมจำนวนตัวอย่าง ประชาชนที่ถูกสำรวจทั้งสิ้น 1,247 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.9 ติดตามข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจบ้าง ในขณะที่ร้อยละ 17.8 ติดตามอย่างต่อเนื่องทุกประเด็น และร้อยละ 8.3 ไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงความพอใจหรือไม่พอใจในการชี้แจงของรัฐมนตรีโดยภาพรวมในประเด็นสำคัญของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ติดตามอย่างต่อเนื่องทุกประเด็นและกลุ่มผู้ติดตามข่าวอภิปรายบ้าง ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวอภิปรายอย่างต่อเนื่องทุกประเด็นเกินกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 52.5 ไม่พอใจต่อการชี้แจงของรัฐมนตรีต่างๆ กรณีเอื้อประโยชน์ให้บุคคลใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 38.4 พอใจ และร้อยละ 9.1 ไม่มีความเห็น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวอภิปรายบ้าง อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของผู้ที่ไม่พอใจลดลงเหลือร้อยละ 39.2
นอกจากนี้ ต่อกรณีข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 ไม่พอใจต่อการชี้แจง ในขณะที่ร้อยละ 32.7 พอใจและร้อยละ 4.5 ไม่มีความเห็น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวอภิปรายบ้าง อย่างไรก็ตามสัดส่วนของผู้ที่ไม่พอใจลดลงเหลือร้อยละ 45.2
นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่ค้นพบอีก โปรดพิจารณาในตารางที่ 3
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความพอใจของประชาชนต่อการทำหน้าที่ประธานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.2 พอใจการทำหน้าที่ประชุมสภาของ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ในขณะที่ร้อยละ 36.8 ไม่พอใจ และร้อยละ 12.0 ไม่มีความเห็น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.9 พอใจนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ในขณะที่ร้อยละ 34.2 ไม่พอใจ และร้อยละ 10.9 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.1 พอใจนายสุชาติ ตันเจริญ ในขณะที่ร้อยละ 39.4 ไม่พอใจ และร้อยละ 13.5 ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินกว่างครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.0 พอใจภาพรวมในพฤติกรรมการอภิปรายของ ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎร ในขณะที่ร้อยละ 32.9 ไม่พอใจ และร้อยละ 13.1 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงความพอใจในภาพรวมของพฤติกรรมการอภิปรายโดย ส.ส. ฝ่ายค้าน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.2 พอใจ ในขณะที่ร้อยละ 34.0 ไม่พอใจ และร้อยละ 9.8 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความพอใจใน ภาพรวมของการชี้แจงโดย ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าขึ้นหรือร้อยละ 52.8 พอใจต่อ พฤติกรรมการอภิปรายของ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 36.7 ไม่พอใจ และร้อยละ 10.5 ไม่มีความเห็น
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจถึงความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีภายหลังศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งผลสำรวจพบว่า คะแนนนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีลดลงจากการสำรวจก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจจากร้อยละ 64.4 เหลือร้อยละ 56.9 อย่างไรก็ตามยังเป็นสัดส่วนของประชาชนโดยส่วนใหญ่ที่ให้ความนิยมชอบต่อนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 10.7 นิยมชอบผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ และร้อยละ 32.4 หรือประมาณ 1 ใน 3 ไม่มีความเห็น
สำหรับประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.3 ยังคงต้องการให้รัฐบาลทำงานต่อไปก่อน ในขณะที่ร้อยละ 32.1 ไม่ต้องการ และร้อยละ 10.6 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-
การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นกระบวนการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลที่สำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย เป็นการเปิดโอกาสให้ ส.ส.ฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ได้อภิปรายกล่าวหาและชี้แจงอย่างโปร่งใส ซึ่งประชาชนโดยทั่วไปได้รับข้อมูลทั้งสองฝ่ายผ่านสื่อมวลชน
ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งล่าสุด มีการอภิปรายรัฐมนตรีในเนื้อหาสาระสำคัญหลายประการ เช่น รัฐมนตรีเอื้ออำนวยหรือไม่เอื้ออำนวยให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี ความร่ำรวยผิดปกติหรือ ไม่ผิดปกติของรัฐมนตรี การบริหารราชการแผ่นดินที่โปร่งใสหรือไม่โปร่งใสของรัฐมนตรี เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปราย ไม่ไว้วางใจครั้งนี้ โดยได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1.เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
2.เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี
3.เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรีหลังศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 22 - 23 พฤษภาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างและใช้วิธีการเข้าถึงตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,247 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 30.7 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 14.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 10.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 72.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 20.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 7.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 34.3 ค้าขาย / อาชีพอิสระ ร้อยละ 21.8 รับจ้างทั่วไป ตัวอย่างร้อยละ 20.5 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.6 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.0 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 5.8 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน เกษียณอายุ ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจ ร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่องทุกประเด็น 17.8
2 ติดตามบ้าง 73.9
3 ไม่ได้ติดตามเลย 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจต่อการชี้แจงของรัฐมนตรีในประเด็นสำคัญ
ของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จำแนกตามกลุ่มผู้ติดตามอย่างต่อเนื่องกับกลุ่มผู้ติดตามบ้าง
ลำดับที่ ประเด็นสำคัญของการอภิปราย กลุ่มผู้ติดตามอย่างต่อเนื่อง กลุ่มผู้ติดตามข่าวบ้าง
พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
1 รัฐมนตรีเอื้อประโยชน์ให้บุคคลใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี 38.4 52.5 9.1 34.7 39.2 26.1
2 กรณีข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว 32.7 62.8 4.5 38.7 45.2 16.1
3 ความร่ำรวยผิดปกติของรัฐมนตรี 39.7 41.8 18.5 35.0 33.2 31.8
4 รัฐมนตรีเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง 31.0 58.3 10.7 37.3 43.1 19.6
5 ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.9 46.3 17.8 30.4 35.9 33.7
6 ปัญหาราคาสินค้าสูงขึ้น 44.8 51.4 3.8 34.1 40.3 25.6
7 ปัญหาการนำเข้าข้าว 51.2 36.1 12.7 42.9 27.7 29.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจต่อการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
ลำดับที่ ผู้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 นายอุทัย พิมพ์ใจชน 51.2 36.8 12.0 100.0
2 นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล 54.9 34.2 10.9 100.0
3 นายสุชาติ ตันเจริญ 47.1 39.4 13.5 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจภาพรวมในพฤติกรรมการอภิปรายของส.ส. ในสภาฯ
ลำดับที่ ความพอใจหรือไม่พอใจของประชาชน ร้อยละ
1 พอใจ 54.0
2 ไม่พอใจ 32.9
3 ไม่มีความเห็น 13.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจในพฤติกรรมการอภิปรายของส.ส. ฝ่ายค้านโดยภาพรวม
ลำดับที่ ความพอใจหรือไม่พอใจของประชาชน ร้อยละ
1 พอใจ 56.2
2 ไม่พอใจ 34.0
3 ไม่มีความเห็น 9.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจหรือไม่พอใจในพฤติกรรมการอภิปรายของส.ส. ฝ่ายรัฐบาลโดยภาพรวม
ลำดับที่ ความพอใจหรือไม่พอใจของประชาชน ร้อยละ
1 พอใจ 52.8
2 ไม่พอใจ 36.7
3 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อข้อคำถาม "ท่านนิยมชอบ นักการเมืองคนใดมากกว่ากัน
ระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กับ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน" เปรียบเทียบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์
กับเดือนพฤษภาคมก่อน - หลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อันดับที่ นักการเมือง กุมภาพันธ์ พฤษภาคมก่อนอภิปราย พฤษภาคมหลังอภิปราย
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 58.8 64.4 56.9
2 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน 8.5 9.2 10.7
3 ไม่มีความเห็น 32.7 26.4 32.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้รัฐบาลทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความต้องการของประชาชน ร้อยละ
1 ต้องการ 57.3
2 ไม่ต้องการ 32.1
3 ไม่มีความเห็น 10.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "สำรวจคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรีหลังศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 22 - 23 พฤษภาคม 2547 รวมจำนวนตัวอย่าง ประชาชนที่ถูกสำรวจทั้งสิ้น 1,247 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.9 ติดตามข่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจบ้าง ในขณะที่ร้อยละ 17.8 ติดตามอย่างต่อเนื่องทุกประเด็น และร้อยละ 8.3 ไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงความพอใจหรือไม่พอใจในการชี้แจงของรัฐมนตรีโดยภาพรวมในประเด็นสำคัญของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ติดตามอย่างต่อเนื่องทุกประเด็นและกลุ่มผู้ติดตามข่าวอภิปรายบ้าง ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวอภิปรายอย่างต่อเนื่องทุกประเด็นเกินกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 52.5 ไม่พอใจต่อการชี้แจงของรัฐมนตรีต่างๆ กรณีเอื้อประโยชน์ให้บุคคลใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 38.4 พอใจ และร้อยละ 9.1 ไม่มีความเห็น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวอภิปรายบ้าง อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของผู้ที่ไม่พอใจลดลงเหลือร้อยละ 39.2
นอกจากนี้ ต่อกรณีข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 ไม่พอใจต่อการชี้แจง ในขณะที่ร้อยละ 32.7 พอใจและร้อยละ 4.5 ไม่มีความเห็น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวอภิปรายบ้าง อย่างไรก็ตามสัดส่วนของผู้ที่ไม่พอใจลดลงเหลือร้อยละ 45.2
นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่ค้นพบอีก โปรดพิจารณาในตารางที่ 3
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความพอใจของประชาชนต่อการทำหน้าที่ประธานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.2 พอใจการทำหน้าที่ประชุมสภาของ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ในขณะที่ร้อยละ 36.8 ไม่พอใจ และร้อยละ 12.0 ไม่มีความเห็น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.9 พอใจนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ในขณะที่ร้อยละ 34.2 ไม่พอใจ และร้อยละ 10.9 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.1 พอใจนายสุชาติ ตันเจริญ ในขณะที่ร้อยละ 39.4 ไม่พอใจ และร้อยละ 13.5 ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินกว่างครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.0 พอใจภาพรวมในพฤติกรรมการอภิปรายของ ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎร ในขณะที่ร้อยละ 32.9 ไม่พอใจ และร้อยละ 13.1 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงความพอใจในภาพรวมของพฤติกรรมการอภิปรายโดย ส.ส. ฝ่ายค้าน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.2 พอใจ ในขณะที่ร้อยละ 34.0 ไม่พอใจ และร้อยละ 9.8 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความพอใจใน ภาพรวมของการชี้แจงโดย ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าขึ้นหรือร้อยละ 52.8 พอใจต่อ พฤติกรรมการอภิปรายของ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 36.7 ไม่พอใจ และร้อยละ 10.5 ไม่มีความเห็น
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจถึงความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีภายหลังศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งผลสำรวจพบว่า คะแนนนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีลดลงจากการสำรวจก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจจากร้อยละ 64.4 เหลือร้อยละ 56.9 อย่างไรก็ตามยังเป็นสัดส่วนของประชาชนโดยส่วนใหญ่ที่ให้ความนิยมชอบต่อนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 10.7 นิยมชอบผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ และร้อยละ 32.4 หรือประมาณ 1 ใน 3 ไม่มีความเห็น
สำหรับประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.3 ยังคงต้องการให้รัฐบาลทำงานต่อไปก่อน ในขณะที่ร้อยละ 32.1 ไม่ต้องการ และร้อยละ 10.6 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-ลจ-