นางสาว ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจความสุขของข้าราชการตำรวจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษาตัวอย่างข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร และระดับประทวน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ระดับสถานีตำรวจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้การเลือกตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อของสถานีตำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 434 นาย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9 เมษายน — 9 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.5 รู้สึกเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 แต่งงานแล้ว แต่จำนวนมากหรือร้อยละ 46.9 ไม่ได้พักอาศัยอยู่กับครอบครัว ในขณะที่ร้อยละ 53.1 พักอยู่ด้วยกัน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ตำรวจสามจังหวัดชายแดนใต้เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.5 มีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยถึงไม่มีเลย
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ จำนวนมากหรือร้อยละ 47.1 สงสัยว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับค่าตอบแทน เช่น ถูกกักเก็บค่าตอบแทนไว้กับผู้บังคับบัญชาหรือไม่ได้รับตามจำนวนและตามเวลาที่กำหนด
ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.6 ระบุผู้บังคับบัญชาระดับสูงจากส่วนกลางดูแลเอาใจใส่น้อยถึงไม่ดูแลเลย ในขณะที่ร้อยละ 28.3 ระบุดูแลระดับปานกลาง และร้อยละ 24.1 ดูแลมากถึงมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ที่น่าดีใจคือ ในท่ามกลางปัญหาและความเสียสละของข้าราชการตำรวจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.1 ระบุแรงบันดาลใจในการทำงานคือ “ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” รองลงมาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.2 ระบุเพื่อเสียสละชีวิตในการปกป้องรักษาผืนแผ่นดินไทย และร้อยละ 83.7 เพื่อความก้าวหน้ามั่นคงของตนเองและประชาชนทุกคน
นางสาว ปุณฑรีก์ กล่าวต่อว่า เมื่อวัดความสุขของข้าราชการตำรวจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ล่าสุด พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.6 มีความสุขมากถึงมากที่สุด และจากการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า สิ่งที่ทำให้มีความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คือ พระมหากรุณาธิคุณของบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ และการระลึกถึงบุญคุณแผ่นดิน และอุดมการณ์ของตำรวจไทย อย่างไรก็ตาม สาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นทุกข์ คือ สถานการณ์แวดล้อม ความกดดัน สังคมเพื่อนฝูง ผู้บังคับบัญชา และประชาชนในพื้นที่ จึงเรียกร้องให้ประชาชนทุกคนในทุกภูมิภาคช่วยกันรักษาผืนแผ่นดินนี้ไว้ “ไม่ทอดทิ้งกัน” ขอให้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมสร้างขวัญกำลังใจให้กันอย่างสม่ำเสมอ และหากคนไทยไม่แตกแยกกันเอง ก็จะไม่มีใครมาแบ่งแยกคนไทยด้วยกันออกไปได้ นอกจากนี้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงจากส่วนกลางต้องดูแลใกล้ชิด ไม่สร้างภาพ และมักจะลงพื้นที่แบบฉาบฉวยเกินไป อยากให้มาสัมผัสชีวิตแท้จริงของตำรวจชั้นผู้น้อยด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
ที่น่าพิจารณาคือ สิ่งที่ตำรวจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยากได้จากนายกรัฐมนตรี ได้แก่ อันดับแรกหรือร้อยละ 52.9 ระบุดูแลสถานศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ให้ทั่วถึง ร้อยละ 17.6 ระบุทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมแก้ปัญหา ร้อยละ 14.7 ระบุแก้ปัญหาอย่างจริงจังต่อเนื่อง และรองๆ ลงไปคือ แก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น เงินตอบแทนและชดเชยต่างๆ ดูแลสวัสดิการตรวจสอบความเป็นอยู่ ส่งกำลังใจ เพิ่มกำลังตำรวจ ส่งเสริมการประกอบอาชีพของเยาวชนในพื้นที่ เคารพวิถีการดำเนินชีวิต ผู้บังคับบัญชาไม่แตกแยกกัน และให้คนในพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่กันเอง ตามลำดับ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตำรวจ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 98.3 เป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 1.7 เป็นหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 26.5 อายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 41.2 อายุ 31 — 39 ปี
ร้อยละ 20.5 อายุ 40 — 49 ปี
ร้อยละ 11.8 อายุ 50ขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 51.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 45.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 87.5 ระบุเป็นตำรวจชั้นประทวน
ร้อยละ 12.5 ระบุเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตร
ตัวอย่างร้อยละ 11.8 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานสืบสวน/สอบสวน
ร้อยละ 64.7 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานปราบปราม
ร้อยละ11.8 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานธุรการ
และร้อยละ 11.7ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานอื่น ๆ อาทิ ฝ่ายอำนวยการพนักงาน
วิทยุสื่อสาร ฝ่ายประชาสัมพันธ์ รักษาความมั่นคงภายใน
กองประวัติทะเบียนอาชญากร เป็นต้น
และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ปฏิบัติหน้าที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
มากว่า 5 ปีแล้ว
ลำดับที่ ความเสี่ยง ค่าร้อยละ 1 รู้สึกเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ 76.5 2 ไม่รู้สึกเสี่ยงอะไร 23.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างตำรวจที่ระบุสถานภาพการสมรส ลำดับที่ สถานภาพ ค่าร้อยละ 1 แต่งงานแล้ว 64.7 2 ยังไม่แต่งงาน 35.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพักอาศัยของครอบครัวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลำดับที่ ที่พักอาศัย ค่าร้อยละ 1 อยู่ในพื้นที่ 53.1 2 ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ 46.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างตำรวจที่ระบุการมีเวลาอยู่กับครอบครัว ลำดับที่ การมีเวลาอยู่กับครอบครัว ค่าร้อยละ 1 มีเวลามาก — มากที่สุด 18.2 2 ปานกลาง 27.3 3 มีเวลาน้อย — ไม่มีเลย 54.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างตำรวจที่ระบุปัญหาเกี่ยวกับค่าตอบแทน เช่น ถูกกักเก็บค่าตอบแทนไว้กับผู้บังคับบัญชา หรือไม่ได้รับตามจำนวนและตามเวลาที่กำหนด ลำดับที่ ปัญหาเรื่องค่าตอบแทน ค่าร้อยละ 1 สงสัยมีปัญหา 47.1 2 ไม่มีปัญหา 52.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการดูแลเอาใจใส่ของผู้บัญชาการระดับสูงจากส่วนกลาง ลำดับที่ การดูแลเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชาระดับสูงจากส่วนกลาง ค่าร้อยละ 1 มาก — มากที่สุด 24.1 2 ปานกลาง 28.3 3 น้อย — ไม่ดูแลเลย 47.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตำรวจที่ระบุแรงบันดาลใจในการทำงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลำดับที่ แรงบันดาลใจ ใช่ค่าร้อยละ ไม่ใช่ค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น 1 ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน 94.1 5.9 100.0 2 เพื่อเสียสละชีวิตในการปกป้องรักษาผืนแผ่นดินไทย 88.2 11.8 100.0 3 เพื่อความก้าวหน้ามั่นคงของตนเองและประชาชนทุกคน 83.7 16.3 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยความสุขโดยภาพรวมในการรับราชการตำรวจ ลำดับที่ ระดับความสุข ค่าร้อยละ 1 มีความสุขมาก — มากที่สุด 70.6 2 ปานกลาง 17.6 3 น้อย — ไม่มีความสุขเลย 11.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างตำรวจที่ระบุ สิ่งที่อยากได้จาก นายกรัฐมนตรี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่อยากได้จากนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ 1 ดูแลสถานศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ให้ทั่วถึง 52.9 2 ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมแก้ปัญหา 17.6 3 แก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง 14.7 4 แก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น เงินตอบแทนและชดเชยต่างๆ 14.7 5 ดูแลสวัสดิการ/ตรวจสอบความเป็นอยู่ 11.8 6 ส่งกำลังใจ/เพิ่มกำลังตำรวจ 8.8 7 ส่งเสริมการประกอบอาชีพของเยาวชนในพื้นที่ 8.8 8 เคารพวิถีการดำเนินชีวิต / แนวทางการดำเนินชีวิต 8.8 9 ผู้บังคับบัญชาไม่แตกแยกกัน 8.8 10 ให้คนในพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่กันเอง 5.9
--เอแบคโพลล์--