ที่มาของโครงการ
หลังจากที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้พยายามทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองแบบก้าวกระโดด ซึ่งกลุ่มนักธุรกิจและนักลงทุนต่างชาติเป็นกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสียงสะท้อนมายังรัฐบาล เนื่องจาก การลงทุนของนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติในประเทศต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ถ้าประเทศไทยมีนักธุรกิจนักลงทุนต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ผลที่ตามมาก็คือ ความเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและความกินดีอยู่ดี ของประชาชนทั้งประเทศ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจสอบถามนักธุรกิจ- นักลงทุนต่างชาติต่อปัจจัยต่างๆ ด้านการลงทุนในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้รวบรวมประเทศจีนเข้ามาศึกษาด้วยเพราะประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อใกล้กับประเทศไทย และเป็นประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่งที่ควรได้รับการศึกษา สำนักวิจัยฯจึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติต่อความเป็นเลิศและอุปสรรคในปัจจัยด้านสังคม การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
2. เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงในทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติ ต่อปัจจันด้านสังคม การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นแนวทางหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประกอบการพิจารณาตัดสินใจของกลุ่มบุคคลแกนนำในสถาบันทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับกลุ่มประเทศต่างๆ ที่มีเสถียรภาพและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจแล้ว
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง "ประเทศไทยยุครัฐบาลทักษิณก้าวกระโดดหรือถดถอยในสายตานักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 3 มิถุนายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Sampling
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ 621 ตัวอย่าง
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error) +/- ร้อยละ 4.78 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณสนับสนุนโครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 77.4 ระบุเป็นชาย ในขณะที่ร้อยละ 22.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 42.9 ระบุเป็นชาวเอเชีย ร้อยละ 37.1 ระบุเป็นชาวยุโรป ร้อยละ 11.2 ระบุเป็นชาวอเมริกัน และร้อยละ 8.8 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ แอฟริกา ในขณะที่ร้อยละ 51.3 ระบุอาศัยอยู่ในเอเชีย ร้อยละ 32.9 ระบุอาศัยอยู่ในยุโรป ร้อยละ 8.6 ระบุอาศัยอยู่ในอเมริกา และร้อยละ 7.2 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกา ส่วนระดับการศึกษาของกลุ่ม ตัวอย่าง ร้อยละ 47.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 43.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ ร้อยละ 9.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 ผลการสำรวจภาพลักษณ์ด้านต่างๆ ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
เปรียบเทียบผลสำรวจในปี เมษายน พ.ศ. 2545 กับ ผลสำรวจครั้งล่าสุด (พฤษภาคม 2547)
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติที่ระบุประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ เปรียบเทียบ
ผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
สาธารณรัฐประชาชนจีน 37.6 1 39.2 1
ประเทศเวียดนาม 6.8 6 15.3 2
ประเทศไทย 19.6 2 14.8 3
ประเทศมาเลเซีย 9.4 4 8.7 4
ประเทศสิงคโปร์ 7.8 5 6.9 5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น
เปรียบเทียบผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
สาธารณรัฐประชาชนจีน 45.3 1 44.6 1
ประเทศเวียดนาม 4.1 5 19.7 2
ประเทศไทย 23.1 2 16.4 3
ประเทศฟิลิปปินส์ 6.2 3 7.1 4
ประเทศอินโดนีเชีย 5.1 4 4.3 5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านคุณภาพแรงงาน เปรียบเทียบผลสำรวจ
เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศด้านคุณภาพแรงงาน เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศสิงคโปร์ 29.8 2 26.4 1
สาธารณรัฐประชาชนจีน 16.5 3 19.8 2
ประเทศไทย 33.9 1 19.3 3
ประเทศเวียดนาม 5.1 6 17.8 4
ประเทศมาเลเซีย 5.9 4 6.8 5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในโอกาสการเติบโตทางการตลาด เปรียบเทียบ
ผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศในโอกาสการเติบโตทางการตลาด เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
สาธารณรัฐประชาชนจีน 57.3 1 53.1 1
ประเทศเวียดนาม 2.7 5 18.9 2
ประเทศไทย 16.0 2 14.3 3
ประเทศสิงคโปร์ 14.0 3 13.2 4
ประเทศมาเลเซีย 4.9 4 6.7 5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถบริหารจัดการธุรกิจ
เปรียบเทียบผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศในความสามารถบริหารจัดการธุรกิจ เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศสิงคโปร์ 64.8 1 59.8 1
ประเทศไทย 11.9 2 14.6 2
ประเทศมาเลเซีย 8.4 3 8.9 3
สาธารณรัฐประชาชนจีน 6.8 4 7.2 4
ประเทศฟิลิปปินส์ 2.8 5 3.9 5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนด้านการลงทุน เปรียบเทียบ
ผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศในผลตอบแทนด้านการลงทุน เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศสิงคโปร์ 30.1 1 28.9 1
สาธารณรัฐประชาชนจีน 26.8 2 27.4 2
ประเทศเวียดนาม 4.4 6 19.6 3
ประเทศไทย 20.2 3 18.7 4
ประเทศมาเลเซีย 8.7 4 8.4 5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีปัญหาคอรัปชั่น เปรียบเทียบผลสำรวจ
เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่มีปัญหาคอรัปชั่น เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศอินโดนีเซีย 30.6 1 34.8 1
ประเทศไทย 18.8 2 23.2 2
ประเทศฟิลิปปินส์ 12.4 3 12.7 3
ประเทศกัมพูชา 10.7 4 10.9 4
ประเทศเวียดนาม 7.8 6 10.4 5
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีปัญหาจราจร เปรียบเทียบผลสำรวจ
เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่มีปัญหาจราจร เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศไทย 72.1 1 70.4 1
ประเทศฟิลิปปินส์ 9.3 2 7.9 2
ประเทศเวียดนาม 2.6 6 7.7 3
ประเทศอินโดนีเซีย 4.1 4 3.6 4
ประเทศสิงคโปร์ 2.7 5 2.2 5
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เปรียบเทียบผลสำรวจ
เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศไทย 5.1 6 33.1 1
ประเทศอินโดนีเซีย 42.2 1 32.9 2
ประเทศฟิลิปปินส์ 17.4 2 16.8 3
ประเทศกัมพูชา 13.4 3 14.0 4
ประเทศพม่า 5.8 5 7.7 5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เปรียบเทียบผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศสิงคโปร์ 65.3 1 62.8 1
ประเทศมาเลเซีย 3.3 5 7.9 2
สาธารณรัฐประชาชนจีน 4.9 3 6.6 3
ประเทศบรูไน 4.0 4 6.1 4
ประเทศเวียดนาม 3.6 6 5.6 5
ประเทศไทย 18.4 2 4.6 6
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่เป็นเลิศด้านนโยบายส่งเสริมการลงทุน เปรียบเทียบ
ผลสำรวจเมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศด้านนโยบายส่งเสริมการลงทุน เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศไทย 31.7 1 32.4 1
ประเทศสิงคโปร์ 25.2 2 24.3 2
สาธารณรัฐประชาชนจีน 22.0 3 23.9 3
ประเทศมาเลเซีย 11.0 4 12.6 4
ประเทศเวียดนาม 2.0 6 6.0 5
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่สนใจจะลงทุนในอนาคต
ลำดับที่ ประเทศที่ตัวอย่างสนใจจะลงทุนในอนาคต ร้อยละ
1 สาธารณรัฐประชาชนจีน 30.8
2 ประเทศเวียดนาม 26.7
3 ประเทศสิงคโปร์ 23.9
4 ประเทศไทย 18.2
5 ประเทศมาเลเซีย 14.4
ตอนที่ 2 ผลสำรวจภาพลักษณ์เฉพาะของประเทศไทยในความพอใจและไม่พอใจของกลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ
ตารางแสดงค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุความพอใจและไม่พอใจต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย
ภาพลักษณ์ของประเทศไทย พอใจ ค่อนข้างพอใจ ไม่ค่อยพอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. อาหารไทย 67.9 20.3 5.2 1.0 5.6 100.0
2. คุณภาพชีวิตของประชาชน 20.4 47.9 14.6 4.1 13.0 100.0
3. เพื่อนร่วมงานคนไทย 27.3 44.6 13.9 2.3 11.9 100.0
4. เสรีภาพของประชาชน 12.8 33.1 34.4 6.3 13.4 100.0
5. สิทธิมนุษยชน 7.3 22.6 39.8 21.5 8.8 100.0
6. เสถียรภาพทางการเมือง 9.9 35.2 24.7 11.4 18.8 100.0
7. การแทรกแซงการทำงาน
ของสื่อมวลชน 6.4 21.1 40.7 17.9 13.9 100.0
8. อัตราภาษี 12.6 34.2 26.8 8.3 18.1 100.0
9. ข้อบังคับของสัญญาลงทุน 6.9 34.9 26.1 8.9 23.2 100.0
10. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 14.0 44.6 28.1 5.7 7.6 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ประเทศไทยยุครัฐบาลทักษิณก้าวกระโดดหรือถดถอยในสายตานักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 3 มิถุนายน 2547 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 621 ตัวอย่าง ความคลาดเคลื่อนจากการกำหดนขนาดตัวอย่าง (Margin of error) +/- ร้อยละ 4.78 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลสำรวจที่ค้นพบมีดังนี้
ตอนที่ 1 เป็นการสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติต่อ ภาพลักษณ์ด้านต่างๆ ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน โดยเปรียบเทียบผลสำรวจในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 กับผลสำรวจในเดือน พฤษภาคม 2547 ซึ่งผลสำรวจพบว่า
ประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพออันดับที่ 1 ในสายตานักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน (ร้อยละ 37.6 ของตัวอย่างทั้งหมดในเดือนเมษายน ปี 2545 และร้อยละ 39.2 ในเดือน พฤษภาคม ปี 2547) รองลงมาคือ ร้อยละ 15.3 ระบุประเทศเวียดนาม (ซึ่งการสำรวจครั้งก่อน ประเทศเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 6) ในขณะที่ประเทศไทยตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 3 ในการสำรวจครั้งล่าสุด (ดูตารางที่1)
ประเทศที่เป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่นอันดับที่ 1 ในสายตานักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน (ร้อยละ 45.3 ในเดือนเมษายน ปี 2545 และร้อยละ 44.6 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2547) รองลงมาคือร้อยละ 19.7 ระบุ ประเทศเวียดนาม (ซึ่งการสำรวจครั้งก่อนประเทศเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 5) ในขณะที่ประเทศไทยลงไปอยู่ในอันดับที่ 3 ในการสำรวจครั้งล่าสุด (ดูตารางที่ 2)
ประเทศที่เป็นเลิศด้านคุณภาพแรงงานอันดับที่ 1 ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศไทยเคยอยู่ในอันดับที่ 1 ในการสำรวจครั้งก่อน ได้ตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 3 ในการสำรวจครั้งล่าสุด (ดูตารางที่ 3)
ประเทศที่มีโอกาศเติบโตทางการตลาดอันดับที่ 1 ยังคงเป็น สาธารณรัฐประชาชนจีน (ร้อยละ 57.3 ของตัวอย่างทั้งหมดในการสำรวจเดือนเมษายน ปี 2545 และร้อยละ 53.1 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2547) รองลงมาคือ ประเทศเวียดนาม ร้อยละ 18.9 ซึ่งเคยอยู่ในอันดับที่ 5 จากการสำรวจครั้งก่อน ในขณะที่ประเทศไทยเคยอยู่ในอันดับที่ 2 ลดลงไปอยู่ในอันดับที่ 3 ในการสำรวจครั้งล่าสุด (ดูตารางที่ 4)
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถบริหารจัดการธุรกิจ ประเทศไทยยังคงอยู่ในอันดับที่ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์ในการสำรวจทั้งสองครั้ง (ดูตารางที่ 5)
เมื่อสอบถามประเทศที่มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนด้านการลงทุน ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติร้อยละ 30.1 ในการสำรวจครั้งก่อน และร้อยละ 28.9 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ระบุเป็นประเทศสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 รองจากประเทศเวียดนาม (ดูตารางที่ 6)
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ นักธุรกิจนักลงทุนต่างชาติยังคงระบุประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาคอรัปชั่นรองจากประเทศอินโดนีเซียในการสำรวจทั้งสองครั้ง (ดูตารางที่ 7)
นอกจากนี้ ตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติยังระบุว่าประเทศไทยยังคงมีปัญหาจราจรเป็นอันดับที่ 1 ในการสำรวจทั้งสองครั้ง (ร้อยละ 72.1 ของตัวอย่างทั้งหมดในเดือนเมษายน ปี 2545 และร้อยละ 70.4 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2547) ดูตารางที่ 8
เมื่อสอบถามประเทศที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา พบประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ประเทศไทยเคยอยู่ในอันดับที่ 6 จากการสำรวจครั้งก่อน แต่การสำรวจครั้งล่าสุด พบว่า กลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุน ต่างชาติ ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.1 ระบุประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ซึ่งมีสัดส่วน ตัวอย่างไม่แตกต่างไปจากประเทศอินโดนีเซีย ที่มีตัวอย่างร้อยละ 32.9 ระบุว่าเป็นประเทศที่ใช้ความ รุนแรงแก้ปัญหา (ดูตารางที่ 9)
สำหรับประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผลสำรวจพบว่าประเทศ สิงคโปร์ได้อันดับที่ 1 ในการสำรวจทั้งสองครั้ง กล่าวคือร้อยละ 65.3 ของตัวอย่างทั้งหมดในการสำรวจปี 2545 และร้อยละ 62.8 ในการสำรวจครั้งนี้ ในขณะที่ประเทศไทยตกจากอันดับที่ 2 ในการสำรวจครั้งก่อน อยู่ในอันดับที่ 6 จากการสำรวจครั้งล่าสุด (ดูตารางที่ 10)
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังได้รับการยอมรับจากนักธุรกิจนักลงทุนต่างชาติว่าเป็นประเทศที่มีความ เป็นเลิศด้านนโยบายส่งเสริมการลงทุน จากการสำรวจทั้งสองครั้ง คือร้อยละ 31.7 ในเดือนเมษายนปี 2545 และร้อยละ 32.4 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2547 (ดูตารางที่ 11)
ประเด็นที่รัฐบาลไทยต้องรีบเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงในการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติคือ ประเทศที่กำลังได้รับความสนใจจะลงทุนในอนาคต ซึ่งผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 30.8 ระบุสาธารณรัฐประชาชนจีน รองลงมาคือร้อยละ 26.7 ระบุประเทศเวียดนาม ร้อยละ 23.9 ระบุประเทศสิงคโปร์ ร้อยละ 18.2 ระบุประเทศไทย และร้อยละ 14.4 ระบุประเทศมาเลเซีย ตามลำดับ (ดูตารางที่ 12)
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติต่อภาพลักษณ์ด้านต่างๆ เฉพาะของประเทศไทย ผลสำรวจพบว่า นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 พอใจอาหารไทย ร้อยละ 47.9 ระบุค่อนข้างพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทย ร้อยละ 44.6 ค่อนข้างพอใจเพื่อนร่วมงานคนไทย
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 34.4 ยังไม่ค่อยพอใจต่อเสรีภาพของประชาชน ร้อยละ 39.8 ยังไม่ค่อยพอใจต่อ สิทธิมนุษยชนของคนไทย และร้อยละ 58.6 ระบุไปในทิศทางไม่พอใจต่อการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน (ดูรายละเอียดตารางตอนที่ 2 หน้า 7)
--เอแบคโพลล์--
-พห-
หลังจากที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้พยายามทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองแบบก้าวกระโดด ซึ่งกลุ่มนักธุรกิจและนักลงทุนต่างชาติเป็นกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสียงสะท้อนมายังรัฐบาล เนื่องจาก การลงทุนของนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติในประเทศต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ถ้าประเทศไทยมีนักธุรกิจนักลงทุนต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ผลที่ตามมาก็คือ ความเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและความกินดีอยู่ดี ของประชาชนทั้งประเทศ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจสอบถามนักธุรกิจ- นักลงทุนต่างชาติต่อปัจจัยต่างๆ ด้านการลงทุนในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้รวบรวมประเทศจีนเข้ามาศึกษาด้วยเพราะประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อใกล้กับประเทศไทย และเป็นประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่งที่ควรได้รับการศึกษา สำนักวิจัยฯจึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติต่อความเป็นเลิศและอุปสรรคในปัจจัยด้านสังคม การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
2. เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงในทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติ ต่อปัจจันด้านสังคม การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นแนวทางหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประกอบการพิจารณาตัดสินใจของกลุ่มบุคคลแกนนำในสถาบันทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับกลุ่มประเทศต่างๆ ที่มีเสถียรภาพและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจแล้ว
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง "ประเทศไทยยุครัฐบาลทักษิณก้าวกระโดดหรือถดถอยในสายตานักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 3 มิถุนายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Sampling
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ 621 ตัวอย่าง
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error) +/- ร้อยละ 4.78 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณสนับสนุนโครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 77.4 ระบุเป็นชาย ในขณะที่ร้อยละ 22.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 42.9 ระบุเป็นชาวเอเชีย ร้อยละ 37.1 ระบุเป็นชาวยุโรป ร้อยละ 11.2 ระบุเป็นชาวอเมริกัน และร้อยละ 8.8 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ แอฟริกา ในขณะที่ร้อยละ 51.3 ระบุอาศัยอยู่ในเอเชีย ร้อยละ 32.9 ระบุอาศัยอยู่ในยุโรป ร้อยละ 8.6 ระบุอาศัยอยู่ในอเมริกา และร้อยละ 7.2 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกา ส่วนระดับการศึกษาของกลุ่ม ตัวอย่าง ร้อยละ 47.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 43.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ ร้อยละ 9.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 ผลการสำรวจภาพลักษณ์ด้านต่างๆ ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
เปรียบเทียบผลสำรวจในปี เมษายน พ.ศ. 2545 กับ ผลสำรวจครั้งล่าสุด (พฤษภาคม 2547)
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติที่ระบุประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ เปรียบเทียบ
ผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
สาธารณรัฐประชาชนจีน 37.6 1 39.2 1
ประเทศเวียดนาม 6.8 6 15.3 2
ประเทศไทย 19.6 2 14.8 3
ประเทศมาเลเซีย 9.4 4 8.7 4
ประเทศสิงคโปร์ 7.8 5 6.9 5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น
เปรียบเทียบผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
สาธารณรัฐประชาชนจีน 45.3 1 44.6 1
ประเทศเวียดนาม 4.1 5 19.7 2
ประเทศไทย 23.1 2 16.4 3
ประเทศฟิลิปปินส์ 6.2 3 7.1 4
ประเทศอินโดนีเชีย 5.1 4 4.3 5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านคุณภาพแรงงาน เปรียบเทียบผลสำรวจ
เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศด้านคุณภาพแรงงาน เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศสิงคโปร์ 29.8 2 26.4 1
สาธารณรัฐประชาชนจีน 16.5 3 19.8 2
ประเทศไทย 33.9 1 19.3 3
ประเทศเวียดนาม 5.1 6 17.8 4
ประเทศมาเลเซีย 5.9 4 6.8 5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในโอกาสการเติบโตทางการตลาด เปรียบเทียบ
ผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศในโอกาสการเติบโตทางการตลาด เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
สาธารณรัฐประชาชนจีน 57.3 1 53.1 1
ประเทศเวียดนาม 2.7 5 18.9 2
ประเทศไทย 16.0 2 14.3 3
ประเทศสิงคโปร์ 14.0 3 13.2 4
ประเทศมาเลเซีย 4.9 4 6.7 5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถบริหารจัดการธุรกิจ
เปรียบเทียบผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศในความสามารถบริหารจัดการธุรกิจ เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศสิงคโปร์ 64.8 1 59.8 1
ประเทศไทย 11.9 2 14.6 2
ประเทศมาเลเซีย 8.4 3 8.9 3
สาธารณรัฐประชาชนจีน 6.8 4 7.2 4
ประเทศฟิลิปปินส์ 2.8 5 3.9 5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนด้านการลงทุน เปรียบเทียบ
ผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศในผลตอบแทนด้านการลงทุน เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศสิงคโปร์ 30.1 1 28.9 1
สาธารณรัฐประชาชนจีน 26.8 2 27.4 2
ประเทศเวียดนาม 4.4 6 19.6 3
ประเทศไทย 20.2 3 18.7 4
ประเทศมาเลเซีย 8.7 4 8.4 5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีปัญหาคอรัปชั่น เปรียบเทียบผลสำรวจ
เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่มีปัญหาคอรัปชั่น เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศอินโดนีเซีย 30.6 1 34.8 1
ประเทศไทย 18.8 2 23.2 2
ประเทศฟิลิปปินส์ 12.4 3 12.7 3
ประเทศกัมพูชา 10.7 4 10.9 4
ประเทศเวียดนาม 7.8 6 10.4 5
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีปัญหาจราจร เปรียบเทียบผลสำรวจ
เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่มีปัญหาจราจร เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศไทย 72.1 1 70.4 1
ประเทศฟิลิปปินส์ 9.3 2 7.9 2
ประเทศเวียดนาม 2.6 6 7.7 3
ประเทศอินโดนีเซีย 4.1 4 3.6 4
ประเทศสิงคโปร์ 2.7 5 2.2 5
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เปรียบเทียบผลสำรวจ
เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศไทย 5.1 6 33.1 1
ประเทศอินโดนีเซีย 42.2 1 32.9 2
ประเทศฟิลิปปินส์ 17.4 2 16.8 3
ประเทศกัมพูชา 13.4 3 14.0 4
ประเทศพม่า 5.8 5 7.7 5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เปรียบเทียบผลสำรวจ เมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศสิงคโปร์ 65.3 1 62.8 1
ประเทศมาเลเซีย 3.3 5 7.9 2
สาธารณรัฐประชาชนจีน 4.9 3 6.6 3
ประเทศบรูไน 4.0 4 6.1 4
ประเทศเวียดนาม 3.6 6 5.6 5
ประเทศไทย 18.4 2 4.6 6
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่เป็นเลิศด้านนโยบายส่งเสริมการลงทุน เปรียบเทียบ
ผลสำรวจเมษายน 2545 กับ พฤษภาคม 2547
ประเทศที่เป็นเลิศด้านนโยบายส่งเสริมการลงทุน เมษายน พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
% อันดับที่ครั้งก่อน % อันดับที่ล่าสุด
ประเทศไทย 31.7 1 32.4 1
ประเทศสิงคโปร์ 25.2 2 24.3 2
สาธารณรัฐประชาชนจีน 22.0 3 23.9 3
ประเทศมาเลเซีย 11.0 4 12.6 4
ประเทศเวียดนาม 2.0 6 6.0 5
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่สนใจจะลงทุนในอนาคต
ลำดับที่ ประเทศที่ตัวอย่างสนใจจะลงทุนในอนาคต ร้อยละ
1 สาธารณรัฐประชาชนจีน 30.8
2 ประเทศเวียดนาม 26.7
3 ประเทศสิงคโปร์ 23.9
4 ประเทศไทย 18.2
5 ประเทศมาเลเซีย 14.4
ตอนที่ 2 ผลสำรวจภาพลักษณ์เฉพาะของประเทศไทยในความพอใจและไม่พอใจของกลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ
ตารางแสดงค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุความพอใจและไม่พอใจต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย
ภาพลักษณ์ของประเทศไทย พอใจ ค่อนข้างพอใจ ไม่ค่อยพอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. อาหารไทย 67.9 20.3 5.2 1.0 5.6 100.0
2. คุณภาพชีวิตของประชาชน 20.4 47.9 14.6 4.1 13.0 100.0
3. เพื่อนร่วมงานคนไทย 27.3 44.6 13.9 2.3 11.9 100.0
4. เสรีภาพของประชาชน 12.8 33.1 34.4 6.3 13.4 100.0
5. สิทธิมนุษยชน 7.3 22.6 39.8 21.5 8.8 100.0
6. เสถียรภาพทางการเมือง 9.9 35.2 24.7 11.4 18.8 100.0
7. การแทรกแซงการทำงาน
ของสื่อมวลชน 6.4 21.1 40.7 17.9 13.9 100.0
8. อัตราภาษี 12.6 34.2 26.8 8.3 18.1 100.0
9. ข้อบังคับของสัญญาลงทุน 6.9 34.9 26.1 8.9 23.2 100.0
10. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 14.0 44.6 28.1 5.7 7.6 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ประเทศไทยยุครัฐบาลทักษิณก้าวกระโดดหรือถดถอยในสายตานักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติ" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 3 มิถุนายน 2547 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 621 ตัวอย่าง ความคลาดเคลื่อนจากการกำหดนขนาดตัวอย่าง (Margin of error) +/- ร้อยละ 4.78 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลสำรวจที่ค้นพบมีดังนี้
ตอนที่ 1 เป็นการสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติต่อ ภาพลักษณ์ด้านต่างๆ ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน โดยเปรียบเทียบผลสำรวจในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 กับผลสำรวจในเดือน พฤษภาคม 2547 ซึ่งผลสำรวจพบว่า
ประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพออันดับที่ 1 ในสายตานักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน (ร้อยละ 37.6 ของตัวอย่างทั้งหมดในเดือนเมษายน ปี 2545 และร้อยละ 39.2 ในเดือน พฤษภาคม ปี 2547) รองลงมาคือ ร้อยละ 15.3 ระบุประเทศเวียดนาม (ซึ่งการสำรวจครั้งก่อน ประเทศเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 6) ในขณะที่ประเทศไทยตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 3 ในการสำรวจครั้งล่าสุด (ดูตารางที่1)
ประเทศที่เป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่นอันดับที่ 1 ในสายตานักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน (ร้อยละ 45.3 ในเดือนเมษายน ปี 2545 และร้อยละ 44.6 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2547) รองลงมาคือร้อยละ 19.7 ระบุ ประเทศเวียดนาม (ซึ่งการสำรวจครั้งก่อนประเทศเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 5) ในขณะที่ประเทศไทยลงไปอยู่ในอันดับที่ 3 ในการสำรวจครั้งล่าสุด (ดูตารางที่ 2)
ประเทศที่เป็นเลิศด้านคุณภาพแรงงานอันดับที่ 1 ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศไทยเคยอยู่ในอันดับที่ 1 ในการสำรวจครั้งก่อน ได้ตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 3 ในการสำรวจครั้งล่าสุด (ดูตารางที่ 3)
ประเทศที่มีโอกาศเติบโตทางการตลาดอันดับที่ 1 ยังคงเป็น สาธารณรัฐประชาชนจีน (ร้อยละ 57.3 ของตัวอย่างทั้งหมดในการสำรวจเดือนเมษายน ปี 2545 และร้อยละ 53.1 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2547) รองลงมาคือ ประเทศเวียดนาม ร้อยละ 18.9 ซึ่งเคยอยู่ในอันดับที่ 5 จากการสำรวจครั้งก่อน ในขณะที่ประเทศไทยเคยอยู่ในอันดับที่ 2 ลดลงไปอยู่ในอันดับที่ 3 ในการสำรวจครั้งล่าสุด (ดูตารางที่ 4)
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถบริหารจัดการธุรกิจ ประเทศไทยยังคงอยู่ในอันดับที่ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์ในการสำรวจทั้งสองครั้ง (ดูตารางที่ 5)
เมื่อสอบถามประเทศที่มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนด้านการลงทุน ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติร้อยละ 30.1 ในการสำรวจครั้งก่อน และร้อยละ 28.9 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ระบุเป็นประเทศสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 รองจากประเทศเวียดนาม (ดูตารางที่ 6)
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ นักธุรกิจนักลงทุนต่างชาติยังคงระบุประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาคอรัปชั่นรองจากประเทศอินโดนีเซียในการสำรวจทั้งสองครั้ง (ดูตารางที่ 7)
นอกจากนี้ ตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติยังระบุว่าประเทศไทยยังคงมีปัญหาจราจรเป็นอันดับที่ 1 ในการสำรวจทั้งสองครั้ง (ร้อยละ 72.1 ของตัวอย่างทั้งหมดในเดือนเมษายน ปี 2545 และร้อยละ 70.4 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2547) ดูตารางที่ 8
เมื่อสอบถามประเทศที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา พบประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ประเทศไทยเคยอยู่ในอันดับที่ 6 จากการสำรวจครั้งก่อน แต่การสำรวจครั้งล่าสุด พบว่า กลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุน ต่างชาติ ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.1 ระบุประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ซึ่งมีสัดส่วน ตัวอย่างไม่แตกต่างไปจากประเทศอินโดนีเซีย ที่มีตัวอย่างร้อยละ 32.9 ระบุว่าเป็นประเทศที่ใช้ความ รุนแรงแก้ปัญหา (ดูตารางที่ 9)
สำหรับประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผลสำรวจพบว่าประเทศ สิงคโปร์ได้อันดับที่ 1 ในการสำรวจทั้งสองครั้ง กล่าวคือร้อยละ 65.3 ของตัวอย่างทั้งหมดในการสำรวจปี 2545 และร้อยละ 62.8 ในการสำรวจครั้งนี้ ในขณะที่ประเทศไทยตกจากอันดับที่ 2 ในการสำรวจครั้งก่อน อยู่ในอันดับที่ 6 จากการสำรวจครั้งล่าสุด (ดูตารางที่ 10)
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังได้รับการยอมรับจากนักธุรกิจนักลงทุนต่างชาติว่าเป็นประเทศที่มีความ เป็นเลิศด้านนโยบายส่งเสริมการลงทุน จากการสำรวจทั้งสองครั้ง คือร้อยละ 31.7 ในเดือนเมษายนปี 2545 และร้อยละ 32.4 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2547 (ดูตารางที่ 11)
ประเด็นที่รัฐบาลไทยต้องรีบเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงในการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติคือ ประเทศที่กำลังได้รับความสนใจจะลงทุนในอนาคต ซึ่งผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 30.8 ระบุสาธารณรัฐประชาชนจีน รองลงมาคือร้อยละ 26.7 ระบุประเทศเวียดนาม ร้อยละ 23.9 ระบุประเทศสิงคโปร์ ร้อยละ 18.2 ระบุประเทศไทย และร้อยละ 14.4 ระบุประเทศมาเลเซีย ตามลำดับ (ดูตารางที่ 12)
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติต่อภาพลักษณ์ด้านต่างๆ เฉพาะของประเทศไทย ผลสำรวจพบว่า นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 พอใจอาหารไทย ร้อยละ 47.9 ระบุค่อนข้างพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทย ร้อยละ 44.6 ค่อนข้างพอใจเพื่อนร่วมงานคนไทย
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 34.4 ยังไม่ค่อยพอใจต่อเสรีภาพของประชาชน ร้อยละ 39.8 ยังไม่ค่อยพอใจต่อ สิทธิมนุษยชนของคนไทย และร้อยละ 58.6 ระบุไปในทิศทางไม่พอใจต่อการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน (ดูรายละเอียดตารางตอนที่ 2 หน้า 7)
--เอแบคโพลล์--
-พห-