สำรวจสถานการณ์การเล่นทายพนันบอล ผลประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันบอลและวงเงินหมุนเวียนในช่วงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2004) : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ
ที่มาของโครงการ
การนำเสนอผลสำรวจเกี่ยวกับ "การประมาณจำนวนผู้สนใจติดตามชมการถ่ายทอดสด และความคิดเห็นต่อการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2004)" ที่ผ่านไปของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ถือได้ว่าเป็นการสะท้อนภาพความสนใจในเชิงกีฬา อย่างไรก็ตามปัญหาหนึ่งที่มักมีการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญๆ ก็คือ "การเล่นทายพนันบอล" ประเด็นดังกล่าวถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนให้ความสนใจ ขณะที่สำนักวิจัยเองถือเป็นภารกิจสำคัญที่มีการสำรวจ และนำเสนอผลอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
เช่นเดียวกับทุกครั้งที่ผ่านมา สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจเพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ด้านการเล่นทายพนันบอล รวมถึงประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันบอล และวงเงินหมุนเวียน สำหรับรายการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2004) ในครั้งนี้ โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่างๆ รวม 27 จังหวัดทั่วประเทศ ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการสำรวจ
1. เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ด้านการเล่นทายพนันบอลในปัจจุบัน
2. เพื่อประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันบอลและจำนวนเงินหมุนเวียนในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
3. เพื่อสำรวจถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบถึงสถานการณ์การเล่นทายพนันบอลช่วงฤดูการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
2. ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ของการเล่นทายพนันบอลในลักษณะต่างๆ
3. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการใด ๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเล่นทายพนันบอล
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง "สำรวจ สถานการณ์การเล่นทายพนันบอล ผลประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันบอล และวงเงินหมุนเวียนในช่วงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2004) : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม - 8 มิถุนายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง โครงการสำรวจนี้ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างคือ การสุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร กาฬสินธุ์ อุดรธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองคาย อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พัทลุง สงขลา และตรัง และใช้วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยคำนึงถึงสัดส่วนที่แท้จริงของประชากร (Probability Proportionate to Size Sampling ) จากนั้นเข้าถึงตัวอย่างตามคุณลักษณะและสัดส่วนที่กำหนด
ขนาดตัวอย่าง 3,039 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละฑ 1.73
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ผู้ตอบเป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
ตัวอย่างร้อยละ 52.8 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 47.2 เป็นเพศชาย นอกจากนี้ร้อยละ 25.8 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 15.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 13.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี ด้านระดับการศึกษาตัวอย่างร้อยละ 39.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้น หรือต่ำกว่า ร้อยละ 25.3 สำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย / ปวช. ร้อยละ 14.3 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา ร้อยละ 12.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 1.5 สำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี และร้อยละ 6.2 ไม่ระบุระดับการศึกษาเมื่อสอบถามถึงรายได้ส่วนบุคคล ตัวอย่างร้อยละ 38.6 ระบุรายได้ไม่เกิน 50,000 บาท / เดือน ขณะที่ ร้อยละ 27.5 ระบุรายได้ 5,001-10,000 บาท / เดือน ร้อยละ 12.0 ระบุรายได้ระหว่าง 10,001-15,000 บาท / เดือน ร้อยละ 4.2 ระบุรายได้ระหว่าง 15,001 - 20,000 บาท / เดือน และร้อยละ 7.9 มีรายได้มากกว่า 20,000 บาท ส่วนผู้ที่ไม่ระบุรายได้มีอยู่ร้อยละ 9.8 ส่วนอาชีพของตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุอาชีพค้าขาย /อิสระ ร้อยละ 23.5 รับจ้าง ทั่วไป ร้อยละ 22.9 ระบุระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน ส่วนที่ระบุอาชีพอื่นๆ เช่นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พ่อบ้าน เกษียณมีอยู่ร้อยละ 18.1
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็น / รับรู้ถึงการเล่นทายพนันบอลของคนที่รู้จัก
ลำดับที่ การพบเห็น / รับรู้ถึงการเล่นทายพนันบอลของคนที่รู้จัก ร้อยละ
1 พบเห็น / รับรู้ว่าคนที่รู้จักมีการเล่นทายพนันบอล 53.9
2 ไม่เคยพบเห็น / รับรู้ว่าคนที่รู้จักมีการเล่นทายพนันบอล 46.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ลักษณะการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเล่นทายพนันบอลของเจ้าหน้าที่รัฐ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะการเข้าไปเกี่ยวข้องของเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ
1 เป็นผู้เล่นทายพนันบอล 45.6
2 รับส่วย (เงินสินบน) 37.5
3 ตรวจสอบเพื่อจับกุมผู้กระทำผิด (ผู้เล่น / ผู้รับแทง / โต๊ะบอล) 27.8
4 เป็นผู้รับแทงรายย่อย 26.5
5 เป็นโต๊ะบอล 23.2
ตารางที่ 3 แสดงผลการประมาณการผู้เคยมีประสบการณ์เล่นทายพนันบอล
ประมาณการจำนวนผู้ที่เคยเล่นทายพนันบอล (ปัจจุบันเลิกเล่นแล้ว) ประมาณการจำนวนผู้ที่เล่นทายพนันบอลในปัจจุบัน
5,862,517 คน 3,544,967 คน
หมายเหตุ ประมาณการจากฐานข้อมูลประชากรตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ธันวาคม 2545)
รวมจำนวน 44,129,354 คน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เล่นทายพนันบอลด้วย (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ยังเล่นทาย
พนันบอลในปัจจุบัน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่เล่นทายพนันบอลด้วย ร้อยละ
1 เล่นผ่านคนเดินโพย / โต๊ะบอล 57.1
2 เพื่อน / คนรู้จัก 54.7
3 ญาติ / พี่น้อง 11.5
4 เล่นทางอินเตอร์เนต 4.8
5 อื่นๆ อาทิ คนที่รู้จักในสถานบันเทิง /
คนที่รู้จักในสถานที่ชมฟุตบอล 1.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปรียบเทียบวงเงินเล่นทายพนันบอลในช่วงเดียวกันของปี 2547
กับปี 2546 (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ยังเล่นทายพนันบอลในปัจจุบัน)
ลำดับที่ เปรียบเทียบวงเงินที่เล่นทายพนันบอล ร้อยละ
ในช่วงเดียวกันของปี 2547 กับปี 2546
1 ปี 2547 ลดลง 24.0
2 เท่าเดิม 36.9
3 ปี 2547 เพิ่มขึ้น 33.8
4 ไม่ระบุ 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ นักเล่นทายพนันบอลประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.8 ได้เตรียมวงเงินเล่นทายพนันบอลเพิ่มมากขึ้นกว่า
การเล่นทายพนันบอลปีก่อน
ตารางที่ 6 แสดงผลการประมาณการผู้มีหนี้สินจากการเล่นพนันบอล และวงเงินหนี้สินในปัจจุบัน
ประมาณการจำนวนผู้ที่มีหนี้สินจากการเล่นทายพนันบอล ประมาณการวงเงินหนี้สินจากการทายพนันบอล
446,712 คน 9,338,764,167 บาท
หมายเหตุ ประมาณการจากฐานข้อมูลประชากรตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ธันวาคม 2545)
รวมจำนวน 44,129,354 คน
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาจากการเล่นทายพนันบอล (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ยังเล่นทาย
พนันบอลในปัจจุบัน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาจากการเล่นทายพนันบอล ร้อยละ
1 เงินไม่พอใช้ / หมุนเงินไม่ทัน 35.9
2 โดนโต๊ะบอลลดจำนวนเงินที่ได้ / โดนโกง / ไม่ได้เงิน 29.3
3 หมดตัว / เป็นหนี้สิน 20.7
4 โต๊ะ / คนรับแทงตั้งอัตราต่อรองสูงทำให้ตัดสินใจยาก 17.4
5 เจ้ามือจ่ายเงินช้า / จ่ายยาก 13.0
6 แทงไม่ถูก 10.9
7 อดนอน / เสียสุขภาพ 9.8
8 ถูกผู้ปกครองว่ากล่าว / เกิดปัญหาครอบครัว / ทะเลาะกับครอบครัว 7.6
9 สูญเสียเพื่อน / คนรัก 5.4
10 โดนตำรวจจับ 2.2
11 อื่นๆ อาทิ ถูกข่มขู่ / การเรียนตกต่ำ / ทำงานได้ไม่เต็มที่ 5.4
ตารางที่ 8 แสดงผลการประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
และวงเงินหมุนเวียน
ประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันฟุตบอลยูโร 2004 วงเงินหมุนเวียนในการเล่นทายพนันฟุตบอลยูโร 2004
1,601,536 คน 30,451,123,760 บาท
หมายเหตุ ประมาณการจากฐานข้อมูลประชากรตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ธันวาคม 2545)
รวมจำนวน 44,129,354 คน
ตารางที่ 9 แสดงผลการประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 จำแนกตามเพศ
เพศ จำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันฟุตบอลในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
ชาย 1,416,233
หญิง 185,303
รวม 1,601,536 คน
หมายเหตุ ประมาณการจากฐานข้อมูลประชากรตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ธันวาคม 2545)
รวมจำนวน 44,129,354 คน
ตารางที่ 10 แสดงผลการประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
จำแนกตามอาชีพ
อาชีพ จำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันฟุตบอลในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ 101,266 คน
พนักงานบริษัท 361,910 คน
ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 425,226 คน
นักเรียน / นักศึกษา 316,533 คน
อาชีพอื่นๆ เช่นรับจ้างทั่วไป แม่บ้าน เกษตรกร เป็นต้น 168,837 คน
ไม่ระบุอาชีพ 227,764 คน
รวม 1,601,536 คน
หมายเหตุ ประมาณการจากฐานข้อมูลประชากรตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ธันวาคม 2545)
รวมจำนวน 44,129,354 คน
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะกู้ยืมเงินหากเงินที่เตรียมไว้เล่นทายพนันหมด / ไม่พอ
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุว่าตั้งใจจะเล่นทายพนันบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป )
ลำดับที่ ตั้งใจที่จะกู้ยืมเงินหากเงินที่เตรียมไว้เล่นทายพนันหมด / ไม่พอ ร้อยละ
1 จะกู้ยืมเพิ่มเติม 8.1
2 ไม่กู้ยืม 59.2
3 ยังไม่แน่ 32.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลใจที่จะถูกจับ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุว่าตั้งใจจะ
เล่นทายพนันบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป )
ลำดับที่ ความกังวลใจที่จะถูกจับ ร้อยละ
1 กังวลใจ 46.0
2 ไม่กังวลใจ 54.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มที่ไม่กังวลใจระบุเหตุผลว่า
1. เล่นกับเพื่อน / ไม่ได้เล่นกับโต๊ะบอล 2. ไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร
3. เจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบเล่นเอง 4. เจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบไม่เอาจริงในการจับกุม
5. ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง 6. เล่นกับผู้มีอิทธิพล
7. ฝากผู้อื่นเล่น / แทงให้
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "สำรวจสถานการณ์การเล่นทายพนันบอล ผลประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันบอล และวงเงินหมุนเวียนในช่วงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2004)" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ตัวอย่างประชาชนทั่วไปจาก 29 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร กาฬสินธุ์ อุดรธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองคาย อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พัทลุง สงขลา และตรัง ระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม - 8 มิถุนายน 2547 จำนวนตัวอย่างที่สุ่มมาเพื่อใช้ประมาณการ 3,039 ตัวอย่าง ผลการสำรวจพบประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้
ด้านสถานการณ์ทั่วไปของการเล่นทายพนันบอล ตัวอย่างที่สำรวจร้อยละ 53.9 ระบุพบเห็น / รับรู้ว่าคนที่ รู้จักมีการเล่นทายพนันบอล และเมื่อให้เปรียบเทียบจำนวนคนรู้จักที่เล่นทายพนันบอล ในปี 2547 กับปีที่ผ่านมาคือ 2546 ร้อยละ 49.8 ระบุว่าจำนวนคนรู้จักที่เล่นทายพนันบอลเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 25.3 ระบุว่าเท่าเดิม และร้อยละ 21.8 ระบุว่าลดลง ผลสำรวจยังพบลักษณะการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเล่นทายพนันบอลของเจ้าหน้าที่รัฐจากการ รับรู้ของตัวอย่าง ซึ่งพบว่า ร้อยละ 45.6 ระบุเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้เล่นทายพนันบอล ร้อยละ 37.5 ระบุเป็นผู้รับส่วย (เงินสินบน) ร้อยละ 27.8 ระบุเป็นผู้ตรวจสอบหรือสืบสวนเพื่อจับกุมผู้กระทำผิด ร้อยละ 26.5 ระบุเป็นผู้รับแทง รายย่อย และร้อยละ 23.2 ระบุเป็นโต๊ะบอลเสียเอง
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ จำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเล่นทายพนันบอล ซึ่งผลวิจัยเพื่อประมาณการพบว่าปัจจุบันยังมีผู้เล่นทายพนันบอลสูงถึง 3,544,967 คน ขณะที่ประมาณ 5,862,517 เคยมีประสบการณ์ในการเล่นพนันบอลแต่ปัจจุบันเลิกเล่นแล้ว ด้านช่องทางการเล่นพนันพบว่ามีอยู่ 2 ช่องทางสำคัญคือโต๊ะบอล และกลุ่มเพื่อน โดยตัวอย่างที่ยังเล่นพนันในปัจจุบันร้อยละ 57.1 ระบุว่าเล่นผ่านคนเดินโพย หรือที่โต๊ะบอล รองลงมาร้อยละ 54.7 เล่นกับเพื่อนหรือคนรู้จัก เมื่อให้ตัวอย่างกลุ่มดังกล่าวเปรียบเทียบวงเงินที่ใช้เล่นทายพนันบอลระหว่างปี 2546 กับ ช่วงเดียวกันในปี 2547 พบว่า ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.8 ระบุว่าเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 36.9 ระบุเท่าเดิม
เมื่อเจาะลึกลงไปถึงปัญหาด้านหนี้สิน ผลวิจัยเพื่อประมาณการพบว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ที่มีหนี้สินจากการเล่นทายพนันบอลถึงประมาณ 446,712 คน โดยวงเงินหนี้สินที่ประมาณการได้มีสูงถึง 9,338,764,167 บาท (เก้าพันสามร้อยสามสิบแปดล้านบาท)ด้านปัญหาที่เกิดจากการเล่นทายพนันบอลพบว่ามีหลายปัญหา โดยเฉพาะปัญหาด้านการเงิน และปัญหาที่เกิดจากโต๊ะบอล โดยร้อยละ 35.9 ระบุว่าเงินไม่พอใช้ / หมุนเงินไม่ทัน ขณะที่ร้อยละ 29.3 ระบุว่าโดนโต๊ะบอล ลดจำนวนเงินที่ได้ / โดนโกง / ไม่ได้เงิน ขณะที่ร้อยละ 20.7 ระบุว่าหมดตัว / เป็นหนี้สิน นอกจากนี้ตัวอย่างที่ประสบปัญหายังระบุถึงปัญหาอีกหลายประการอาทิ การเกิดปัญหาในครอบครัว เสียสุขภาพ การเรียนตกต่ำ / ทำงานได้ ไม่เต็มที่ เป็นต้น
สำหรับการคาดการณ์ถึงสถานการณ์ในการเล่นทายพนันฟุตบอลในรายการชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2004) ที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 12 มิ.ย. นี้ ผลการสำรวจสามารถประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันบอลทั่วประเทศได้ว่าจะมีสูงถึง 1,601,536 คน ขณะที่วงเงินหมุนเวียนคาดว่าจะอยู่ที่ 30,451,123,760 บาท (สามหมื่นสี่ร้อยห้าสิบเอ็ดล้านบาท) ซึ่งผู้เล่นทายพนันบอลโดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย การกระจายไปในหลายกลุ่มอาชีพ แต่ที่มีจำนวนค่อนข้างสูงอยู่ใน 3 กลุ่มอาชีพคือค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว พนักงานบริษัท และนักเรียน / นักศึกษาโดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนนักศึกษาคาดว่ามีจำนวนสูงถึงประมาณ 316,533 คน
ประเด็นที่น่าพิจารณาอีกประการคือ ตัวอย่างที่ระบุว่าตั้งใจจะเล่นทายพนันฟุตบอลยูโร 2004 ร้อยละ 8.1 ยังระบุว่าตั้งใจจะกู้ยืมเงินเพิ่มเติมหากเงินที่เตรียมไว้เล่นหมด หรือไม่พอเล่น ขณะที่ร้อยละ 32.7 ยังไม่แน่ว่าจะกู้ยืมหรือไม่
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญสุดท้ายเกี่ยวข้องกับความกังวลใจต่อการถูกจับกุม ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าเกินกว่าครึ่งคือร้อยละ 54.0 ระบุว่าไม่รู้สึกกังวลใจว่าจะถูกจับ โดยกลุ่มดังกล่าวให้เหตุผลไว้หลายประการอาทิ เล่นกับเพื่อนกัน ไม่ได้เล่นกับโต๊ะบอล ไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้บางกลุ่มยังระบุเหตุผลเชื่อมโยงไปยังเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบอีกด้วยว่าเป็นผู้เล่นเอง และไม่เอาจริงเอาจังในการตรวจจับ
กล่าวโดยสรุป คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า รัฐบาลและสังคมโดยทั่วไปควรร่วมมือกันปกป้องรักษาคุณภาพของประชาชนโดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาและเยาวชนของชาติที่กำลังหมกมุ่นอยู่กับการพนัน และจะเป็นสาเหตุของปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาการค้ายาเสพติด ปัญหาการจี้ปล้น ปัญหาโสเภณี ที่จะทำให้การพัฒนาประเทศและคุณภาพของคนในประเทศด้อยลงไป
สื่อมวลชนและประชาชนโดยทั่วไปควรต้องช่วยเหลือรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐในการรักษาคุณภาพของเยาวชนไทยให้พ้นภัยจากขบวนการมิจฉาชีพทั้งหลาย เพราะลำพังรัฐบาลแต่ฝ่ายเดียวคงไม่สามารถทำได้สำเร็จเนื่องจาก ขณะนี้รัฐบาลกำลังถูกมองว่าอยู่ในช่วงขาลงและประสบกับปัจจัยด้านลบหลายด้าน อาทิ ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ปัญหาข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว ปัญหายาเสพติดกำลังกลับมา และปัญหาการเมืองอื่นๆ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ที่มาของโครงการ
การนำเสนอผลสำรวจเกี่ยวกับ "การประมาณจำนวนผู้สนใจติดตามชมการถ่ายทอดสด และความคิดเห็นต่อการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2004)" ที่ผ่านไปของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ถือได้ว่าเป็นการสะท้อนภาพความสนใจในเชิงกีฬา อย่างไรก็ตามปัญหาหนึ่งที่มักมีการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญๆ ก็คือ "การเล่นทายพนันบอล" ประเด็นดังกล่าวถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนให้ความสนใจ ขณะที่สำนักวิจัยเองถือเป็นภารกิจสำคัญที่มีการสำรวจ และนำเสนอผลอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
เช่นเดียวกับทุกครั้งที่ผ่านมา สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจเพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ด้านการเล่นทายพนันบอล รวมถึงประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันบอล และวงเงินหมุนเวียน สำหรับรายการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2004) ในครั้งนี้ โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่างๆ รวม 27 จังหวัดทั่วประเทศ ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการสำรวจ
1. เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ด้านการเล่นทายพนันบอลในปัจจุบัน
2. เพื่อประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันบอลและจำนวนเงินหมุนเวียนในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
3. เพื่อสำรวจถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบถึงสถานการณ์การเล่นทายพนันบอลช่วงฤดูการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
2. ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ของการเล่นทายพนันบอลในลักษณะต่างๆ
3. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการใด ๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเล่นทายพนันบอล
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง "สำรวจ สถานการณ์การเล่นทายพนันบอล ผลประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันบอล และวงเงินหมุนเวียนในช่วงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2004) : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม - 8 มิถุนายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง โครงการสำรวจนี้ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างคือ การสุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร กาฬสินธุ์ อุดรธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองคาย อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พัทลุง สงขลา และตรัง และใช้วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยคำนึงถึงสัดส่วนที่แท้จริงของประชากร (Probability Proportionate to Size Sampling ) จากนั้นเข้าถึงตัวอย่างตามคุณลักษณะและสัดส่วนที่กำหนด
ขนาดตัวอย่าง 3,039 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละฑ 1.73
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ผู้ตอบเป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
ตัวอย่างร้อยละ 52.8 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 47.2 เป็นเพศชาย นอกจากนี้ร้อยละ 25.8 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 15.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 13.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี ด้านระดับการศึกษาตัวอย่างร้อยละ 39.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้น หรือต่ำกว่า ร้อยละ 25.3 สำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลาย / ปวช. ร้อยละ 14.3 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา ร้อยละ 12.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 1.5 สำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี และร้อยละ 6.2 ไม่ระบุระดับการศึกษาเมื่อสอบถามถึงรายได้ส่วนบุคคล ตัวอย่างร้อยละ 38.6 ระบุรายได้ไม่เกิน 50,000 บาท / เดือน ขณะที่ ร้อยละ 27.5 ระบุรายได้ 5,001-10,000 บาท / เดือน ร้อยละ 12.0 ระบุรายได้ระหว่าง 10,001-15,000 บาท / เดือน ร้อยละ 4.2 ระบุรายได้ระหว่าง 15,001 - 20,000 บาท / เดือน และร้อยละ 7.9 มีรายได้มากกว่า 20,000 บาท ส่วนผู้ที่ไม่ระบุรายได้มีอยู่ร้อยละ 9.8 ส่วนอาชีพของตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุอาชีพค้าขาย /อิสระ ร้อยละ 23.5 รับจ้าง ทั่วไป ร้อยละ 22.9 ระบุระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน ส่วนที่ระบุอาชีพอื่นๆ เช่นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พ่อบ้าน เกษียณมีอยู่ร้อยละ 18.1
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็น / รับรู้ถึงการเล่นทายพนันบอลของคนที่รู้จัก
ลำดับที่ การพบเห็น / รับรู้ถึงการเล่นทายพนันบอลของคนที่รู้จัก ร้อยละ
1 พบเห็น / รับรู้ว่าคนที่รู้จักมีการเล่นทายพนันบอล 53.9
2 ไม่เคยพบเห็น / รับรู้ว่าคนที่รู้จักมีการเล่นทายพนันบอล 46.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ลักษณะการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเล่นทายพนันบอลของเจ้าหน้าที่รัฐ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะการเข้าไปเกี่ยวข้องของเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ
1 เป็นผู้เล่นทายพนันบอล 45.6
2 รับส่วย (เงินสินบน) 37.5
3 ตรวจสอบเพื่อจับกุมผู้กระทำผิด (ผู้เล่น / ผู้รับแทง / โต๊ะบอล) 27.8
4 เป็นผู้รับแทงรายย่อย 26.5
5 เป็นโต๊ะบอล 23.2
ตารางที่ 3 แสดงผลการประมาณการผู้เคยมีประสบการณ์เล่นทายพนันบอล
ประมาณการจำนวนผู้ที่เคยเล่นทายพนันบอล (ปัจจุบันเลิกเล่นแล้ว) ประมาณการจำนวนผู้ที่เล่นทายพนันบอลในปัจจุบัน
5,862,517 คน 3,544,967 คน
หมายเหตุ ประมาณการจากฐานข้อมูลประชากรตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ธันวาคม 2545)
รวมจำนวน 44,129,354 คน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เล่นทายพนันบอลด้วย (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ยังเล่นทาย
พนันบอลในปัจจุบัน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่เล่นทายพนันบอลด้วย ร้อยละ
1 เล่นผ่านคนเดินโพย / โต๊ะบอล 57.1
2 เพื่อน / คนรู้จัก 54.7
3 ญาติ / พี่น้อง 11.5
4 เล่นทางอินเตอร์เนต 4.8
5 อื่นๆ อาทิ คนที่รู้จักในสถานบันเทิง /
คนที่รู้จักในสถานที่ชมฟุตบอล 1.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปรียบเทียบวงเงินเล่นทายพนันบอลในช่วงเดียวกันของปี 2547
กับปี 2546 (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ยังเล่นทายพนันบอลในปัจจุบัน)
ลำดับที่ เปรียบเทียบวงเงินที่เล่นทายพนันบอล ร้อยละ
ในช่วงเดียวกันของปี 2547 กับปี 2546
1 ปี 2547 ลดลง 24.0
2 เท่าเดิม 36.9
3 ปี 2547 เพิ่มขึ้น 33.8
4 ไม่ระบุ 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ นักเล่นทายพนันบอลประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.8 ได้เตรียมวงเงินเล่นทายพนันบอลเพิ่มมากขึ้นกว่า
การเล่นทายพนันบอลปีก่อน
ตารางที่ 6 แสดงผลการประมาณการผู้มีหนี้สินจากการเล่นพนันบอล และวงเงินหนี้สินในปัจจุบัน
ประมาณการจำนวนผู้ที่มีหนี้สินจากการเล่นทายพนันบอล ประมาณการวงเงินหนี้สินจากการทายพนันบอล
446,712 คน 9,338,764,167 บาท
หมายเหตุ ประมาณการจากฐานข้อมูลประชากรตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ธันวาคม 2545)
รวมจำนวน 44,129,354 คน
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาจากการเล่นทายพนันบอล (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ยังเล่นทาย
พนันบอลในปัจจุบัน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาจากการเล่นทายพนันบอล ร้อยละ
1 เงินไม่พอใช้ / หมุนเงินไม่ทัน 35.9
2 โดนโต๊ะบอลลดจำนวนเงินที่ได้ / โดนโกง / ไม่ได้เงิน 29.3
3 หมดตัว / เป็นหนี้สิน 20.7
4 โต๊ะ / คนรับแทงตั้งอัตราต่อรองสูงทำให้ตัดสินใจยาก 17.4
5 เจ้ามือจ่ายเงินช้า / จ่ายยาก 13.0
6 แทงไม่ถูก 10.9
7 อดนอน / เสียสุขภาพ 9.8
8 ถูกผู้ปกครองว่ากล่าว / เกิดปัญหาครอบครัว / ทะเลาะกับครอบครัว 7.6
9 สูญเสียเพื่อน / คนรัก 5.4
10 โดนตำรวจจับ 2.2
11 อื่นๆ อาทิ ถูกข่มขู่ / การเรียนตกต่ำ / ทำงานได้ไม่เต็มที่ 5.4
ตารางที่ 8 แสดงผลการประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
และวงเงินหมุนเวียน
ประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันฟุตบอลยูโร 2004 วงเงินหมุนเวียนในการเล่นทายพนันฟุตบอลยูโร 2004
1,601,536 คน 30,451,123,760 บาท
หมายเหตุ ประมาณการจากฐานข้อมูลประชากรตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ธันวาคม 2545)
รวมจำนวน 44,129,354 คน
ตารางที่ 9 แสดงผลการประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 จำแนกตามเพศ
เพศ จำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันฟุตบอลในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
ชาย 1,416,233
หญิง 185,303
รวม 1,601,536 คน
หมายเหตุ ประมาณการจากฐานข้อมูลประชากรตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ธันวาคม 2545)
รวมจำนวน 44,129,354 คน
ตารางที่ 10 แสดงผลการประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
จำแนกตามอาชีพ
อาชีพ จำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันฟุตบอลในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004
ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ 101,266 คน
พนักงานบริษัท 361,910 คน
ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 425,226 คน
นักเรียน / นักศึกษา 316,533 คน
อาชีพอื่นๆ เช่นรับจ้างทั่วไป แม่บ้าน เกษตรกร เป็นต้น 168,837 คน
ไม่ระบุอาชีพ 227,764 คน
รวม 1,601,536 คน
หมายเหตุ ประมาณการจากฐานข้อมูลประชากรตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ธันวาคม 2545)
รวมจำนวน 44,129,354 คน
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะกู้ยืมเงินหากเงินที่เตรียมไว้เล่นทายพนันหมด / ไม่พอ
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุว่าตั้งใจจะเล่นทายพนันบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป )
ลำดับที่ ตั้งใจที่จะกู้ยืมเงินหากเงินที่เตรียมไว้เล่นทายพนันหมด / ไม่พอ ร้อยละ
1 จะกู้ยืมเพิ่มเติม 8.1
2 ไม่กู้ยืม 59.2
3 ยังไม่แน่ 32.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลใจที่จะถูกจับ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุว่าตั้งใจจะ
เล่นทายพนันบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป )
ลำดับที่ ความกังวลใจที่จะถูกจับ ร้อยละ
1 กังวลใจ 46.0
2 ไม่กังวลใจ 54.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มที่ไม่กังวลใจระบุเหตุผลว่า
1. เล่นกับเพื่อน / ไม่ได้เล่นกับโต๊ะบอล 2. ไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร
3. เจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบเล่นเอง 4. เจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบไม่เอาจริงในการจับกุม
5. ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง 6. เล่นกับผู้มีอิทธิพล
7. ฝากผู้อื่นเล่น / แทงให้
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "สำรวจสถานการณ์การเล่นทายพนันบอล ผลประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันบอล และวงเงินหมุนเวียนในช่วงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2004)" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ตัวอย่างประชาชนทั่วไปจาก 29 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร กาฬสินธุ์ อุดรธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองคาย อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พัทลุง สงขลา และตรัง ระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม - 8 มิถุนายน 2547 จำนวนตัวอย่างที่สุ่มมาเพื่อใช้ประมาณการ 3,039 ตัวอย่าง ผลการสำรวจพบประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้
ด้านสถานการณ์ทั่วไปของการเล่นทายพนันบอล ตัวอย่างที่สำรวจร้อยละ 53.9 ระบุพบเห็น / รับรู้ว่าคนที่ รู้จักมีการเล่นทายพนันบอล และเมื่อให้เปรียบเทียบจำนวนคนรู้จักที่เล่นทายพนันบอล ในปี 2547 กับปีที่ผ่านมาคือ 2546 ร้อยละ 49.8 ระบุว่าจำนวนคนรู้จักที่เล่นทายพนันบอลเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 25.3 ระบุว่าเท่าเดิม และร้อยละ 21.8 ระบุว่าลดลง ผลสำรวจยังพบลักษณะการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเล่นทายพนันบอลของเจ้าหน้าที่รัฐจากการ รับรู้ของตัวอย่าง ซึ่งพบว่า ร้อยละ 45.6 ระบุเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้เล่นทายพนันบอล ร้อยละ 37.5 ระบุเป็นผู้รับส่วย (เงินสินบน) ร้อยละ 27.8 ระบุเป็นผู้ตรวจสอบหรือสืบสวนเพื่อจับกุมผู้กระทำผิด ร้อยละ 26.5 ระบุเป็นผู้รับแทง รายย่อย และร้อยละ 23.2 ระบุเป็นโต๊ะบอลเสียเอง
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ จำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเล่นทายพนันบอล ซึ่งผลวิจัยเพื่อประมาณการพบว่าปัจจุบันยังมีผู้เล่นทายพนันบอลสูงถึง 3,544,967 คน ขณะที่ประมาณ 5,862,517 เคยมีประสบการณ์ในการเล่นพนันบอลแต่ปัจจุบันเลิกเล่นแล้ว ด้านช่องทางการเล่นพนันพบว่ามีอยู่ 2 ช่องทางสำคัญคือโต๊ะบอล และกลุ่มเพื่อน โดยตัวอย่างที่ยังเล่นพนันในปัจจุบันร้อยละ 57.1 ระบุว่าเล่นผ่านคนเดินโพย หรือที่โต๊ะบอล รองลงมาร้อยละ 54.7 เล่นกับเพื่อนหรือคนรู้จัก เมื่อให้ตัวอย่างกลุ่มดังกล่าวเปรียบเทียบวงเงินที่ใช้เล่นทายพนันบอลระหว่างปี 2546 กับ ช่วงเดียวกันในปี 2547 พบว่า ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.8 ระบุว่าเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 36.9 ระบุเท่าเดิม
เมื่อเจาะลึกลงไปถึงปัญหาด้านหนี้สิน ผลวิจัยเพื่อประมาณการพบว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ที่มีหนี้สินจากการเล่นทายพนันบอลถึงประมาณ 446,712 คน โดยวงเงินหนี้สินที่ประมาณการได้มีสูงถึง 9,338,764,167 บาท (เก้าพันสามร้อยสามสิบแปดล้านบาท)ด้านปัญหาที่เกิดจากการเล่นทายพนันบอลพบว่ามีหลายปัญหา โดยเฉพาะปัญหาด้านการเงิน และปัญหาที่เกิดจากโต๊ะบอล โดยร้อยละ 35.9 ระบุว่าเงินไม่พอใช้ / หมุนเงินไม่ทัน ขณะที่ร้อยละ 29.3 ระบุว่าโดนโต๊ะบอล ลดจำนวนเงินที่ได้ / โดนโกง / ไม่ได้เงิน ขณะที่ร้อยละ 20.7 ระบุว่าหมดตัว / เป็นหนี้สิน นอกจากนี้ตัวอย่างที่ประสบปัญหายังระบุถึงปัญหาอีกหลายประการอาทิ การเกิดปัญหาในครอบครัว เสียสุขภาพ การเรียนตกต่ำ / ทำงานได้ ไม่เต็มที่ เป็นต้น
สำหรับการคาดการณ์ถึงสถานการณ์ในการเล่นทายพนันฟุตบอลในรายการชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2004) ที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 12 มิ.ย. นี้ ผลการสำรวจสามารถประมาณการจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเล่นทายพนันบอลทั่วประเทศได้ว่าจะมีสูงถึง 1,601,536 คน ขณะที่วงเงินหมุนเวียนคาดว่าจะอยู่ที่ 30,451,123,760 บาท (สามหมื่นสี่ร้อยห้าสิบเอ็ดล้านบาท) ซึ่งผู้เล่นทายพนันบอลโดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย การกระจายไปในหลายกลุ่มอาชีพ แต่ที่มีจำนวนค่อนข้างสูงอยู่ใน 3 กลุ่มอาชีพคือค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว พนักงานบริษัท และนักเรียน / นักศึกษาโดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนนักศึกษาคาดว่ามีจำนวนสูงถึงประมาณ 316,533 คน
ประเด็นที่น่าพิจารณาอีกประการคือ ตัวอย่างที่ระบุว่าตั้งใจจะเล่นทายพนันฟุตบอลยูโร 2004 ร้อยละ 8.1 ยังระบุว่าตั้งใจจะกู้ยืมเงินเพิ่มเติมหากเงินที่เตรียมไว้เล่นหมด หรือไม่พอเล่น ขณะที่ร้อยละ 32.7 ยังไม่แน่ว่าจะกู้ยืมหรือไม่
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญสุดท้ายเกี่ยวข้องกับความกังวลใจต่อการถูกจับกุม ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าเกินกว่าครึ่งคือร้อยละ 54.0 ระบุว่าไม่รู้สึกกังวลใจว่าจะถูกจับ โดยกลุ่มดังกล่าวให้เหตุผลไว้หลายประการอาทิ เล่นกับเพื่อนกัน ไม่ได้เล่นกับโต๊ะบอล ไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้บางกลุ่มยังระบุเหตุผลเชื่อมโยงไปยังเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบอีกด้วยว่าเป็นผู้เล่นเอง และไม่เอาจริงเอาจังในการตรวจจับ
กล่าวโดยสรุป คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า รัฐบาลและสังคมโดยทั่วไปควรร่วมมือกันปกป้องรักษาคุณภาพของประชาชนโดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาและเยาวชนของชาติที่กำลังหมกมุ่นอยู่กับการพนัน และจะเป็นสาเหตุของปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาการค้ายาเสพติด ปัญหาการจี้ปล้น ปัญหาโสเภณี ที่จะทำให้การพัฒนาประเทศและคุณภาพของคนในประเทศด้อยลงไป
สื่อมวลชนและประชาชนโดยทั่วไปควรต้องช่วยเหลือรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐในการรักษาคุณภาพของเยาวชนไทยให้พ้นภัยจากขบวนการมิจฉาชีพทั้งหลาย เพราะลำพังรัฐบาลแต่ฝ่ายเดียวคงไม่สามารถทำได้สำเร็จเนื่องจาก ขณะนี้รัฐบาลกำลังถูกมองว่าอยู่ในช่วงขาลงและประสบกับปัจจัยด้านลบหลายด้าน อาทิ ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ปัญหาข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว ปัญหายาเสพติดกำลังกลับมา และปัญหาการเมืองอื่นๆ
--เอแบคโพลล์--
-พห-