ที่มาของโครงการ
ข่าวผลการตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีมติว่า คณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ทั้ง 9 คนมีความผิดกรณีการออกระเบียบเพิ่มค่าตอบแทนให้ตนเอง
และมีโทษจำคุกคนละ 2 ปี โดยให้รอลงอาญานั้น เป็นข่าวที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและประชาชนผู้ที่สนใจ
ติดตามอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีคำพิพากษาตัดสินออกมาอย่างชัดเจน แต่กลับพบว่า มีปัญหาที่ยัง
ไม่สามารถหาข้อยุติได้เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ปปช. ชุดนี้ ถึงแม้ว่าจะมีคณะกรรมการ ปปช.ยื่น
ใบลาออกไปแล้ว 1 คน ก็ตาม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญดัง
กล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการ
ด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีศาลตัดสินสั่งจำคุกคณะกรรมการ ปปช. ที่เสนอขึ้นเงิน
เดือนตัวเอง
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความโปร่งใสในการแต่งตั้งคณะกรรมการ ปปช.
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความมีอิสระในการทำงานของ คณะกรรมการ ปปช.
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “คณะกรรมการ
ปปช. หลังศาลพิพากษาในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่ง
ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการ
ทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,530 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 19.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 7.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.7 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
และร้อยละ 2.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างออกตามอาชีพประจำที่ทำอยู่นั้นพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
รองลงมาคือ ร้อยละ 19.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.0 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.1 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผล
สำรวจเรื่อง “คณะกรรมการ ปปช. หลังศาลพิพากษาในสายตาประชาชน” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็น
จาก ตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 2,530 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงกรณีการรับทราบข่าวคณะกรรมการ ปปช. เสนอขึ้นเงินเดือนให้ ตน
เองนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 73.4 ระบุรับทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 26.6 ระบุไม่ทราบ และเมื่อคณะผู้
วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงการรับทราบข่าวที่ศาลตัดสินให้จำคุกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เสนอขึ้นเงินเดือนให้ตนเองนั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 66.0 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 34.0 ระบุไม่ทราบ
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความพึงพอใจต่อผลการตัดสินของศาลที่ตัดสินชี้ให้เห็นถึงความผิดของคณะ
กรรมการ ปปช. ดังกล่าวนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.5 ระบุพอใจในผลการตัดสินดังกล่าว ร้อยละ 18.4 ระบุ
ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 5.8 ระบุไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 3.0 ระบุไม่พอใจ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 28.3 ไม่
ระบุความคิดเห็น โดยตัวอย่างร้อยละ 68.0 ระบุว่าคณะกรรมการ ปปช. ชุดนี้ควรลาออก ในขณะที่ร้อยละ
5.6 ระบุไม่ควรลาออก และร้อยละ 26.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ คือ ความคิดเห็นของตัวอย่าง
กรณีที่ว่าจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้ง คณะกรรมการ ปปช. (ถ้าคณะกรรมการ ปปช. ชุดปัจจุบันลา
ออก) ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 41.7 ระบุเชื่อว่าจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงอย่างแน่นอน ในขณะที่ร้อยละ 28.6
ระบุเชื่อว่าคงจะเข้ามาแทรกแซงบ้าง ร้อยละ 5.8 ระบุไม่เชื่อว่าจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซง และร้อยละ
23.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีความเป็นอิสระในการทำงานของคณะกรรมการ
ปปช. นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 14.0 ระบุเชื่อว่าคณะกรรมการ ปปช. จะสามารถทำงานได้อย่างอิสระ ในขณะที่
ร้อยละ 61.0 ระบุไม่เชื่อ และร้อยละ 25.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ได้แก่ บุคคลที่ตัวอย่างระบุว่ามีความไว้
วางใจให้มาทำหน้าที่ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 26.6 ระบุว่าบุคคลที่มี
ความไว้วางใจให้มาทำหน้าที่ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 13.3 ระบุ พล
ตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ร้อยละ 11.8 ระบุ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 11.7 ระบุนาย
อานันท์ ปันยารชุน ร้อยละ 7.5 ระบุคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา และร้อยละ 6.3 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวคณะกรรมการ ปปช. เสนอขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่างกรณีคณะกรรมการ ปปช. ค่าร้อยละ
เสนอขึ้นเงินเดือนให้กับตัวเอง
1 ทราบ 73.4
2 ไม่ทราบ 26.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวที่ศาลตัดสินจำคุกคณะกรรมการ ปปช.
ที่เสนอขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่างกรณีที่ศาลตัดสินจำคุก ค่าร้อยละ
คณะกรรมการ ปปช. ที่เสนอขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง
1 ทราบ 66.0
2 ไม่ทราบ 34.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจกรณีที่ศาลตัดสินชี้ให้เห็นถึงความผิดของ
คณะกรรมการ ปปช.
ลำดับที่ ความพึงพอใจของตัวอย่างกรณีศาลตัดสินชี้ให้เห็นถึง ค่าร้อยละ
ความผิดของคณะกรรมการ ปปช.
1 พอใจ 44.5
2 ค่อนข้างพอใจ 18.4
3 ไม่ค่อยพอใจ 5.8
4 ไม่พอใจ 3.0
5 ไม่มีความเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีการลาออกของคณะกรรมการ ปปช.
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีการลาออกของคณะกรรมการ ปปช. ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก 68.0
2 ไม่ควรลาออก 5.6
3 ไม่มีความเห็น 26.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเมืองจะเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้ง
คณะกรรมการ ปปช. (ถ้าคณะกรรมการ ปปช.ชุดปัจจุบันลาออก)
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการเมืองจะเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้ง ค่าร้อยละ
คณะกรรมการ ปปช.
1 เชื่อว่าการเมืองจะเข้ามาแทรกแซงอย่างแน่นอน 41.7
2 เชื่อว่าคงเข้ามาแทรกแซงบ้าง 28.6
3 ไม่เชื่อว่าการเมืองจะเข้ามาแทรกแซง 5.8
4 ไม่มีความเห็น 23.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นอิสระใการทำงานของ
คณะกรรมการ ปปช.
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อความเป็นอิสระใการทำงานของ ค่าร้อยละ
คณะกรรมการ ปปช.
1 เชื่อในความเป็นอิสระของการทำงาน 14.0
2 ไม่เชื่อ 61.0
3 ไม่มีความเห็น 25.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุบุคคลที่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 26.6
2 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส 13.3
3 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 11.8
4 นายอานันท์ ปันยารชุน 11.7
5 คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา 7.5
6 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 6.3
7 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 6.0
8 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 5.7
9 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 5.9
7 อื่นๆ อาทิ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ / นายชวน หลีกภัย/
นายกล้าณรงค์ จันทิก/คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์/
พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นต้น 14.7
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ข่าวผลการตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีมติว่า คณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ทั้ง 9 คนมีความผิดกรณีการออกระเบียบเพิ่มค่าตอบแทนให้ตนเอง
และมีโทษจำคุกคนละ 2 ปี โดยให้รอลงอาญานั้น เป็นข่าวที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและประชาชนผู้ที่สนใจ
ติดตามอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีคำพิพากษาตัดสินออกมาอย่างชัดเจน แต่กลับพบว่า มีปัญหาที่ยัง
ไม่สามารถหาข้อยุติได้เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ปปช. ชุดนี้ ถึงแม้ว่าจะมีคณะกรรมการ ปปช.ยื่น
ใบลาออกไปแล้ว 1 คน ก็ตาม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญดัง
กล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการ
ด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีศาลตัดสินสั่งจำคุกคณะกรรมการ ปปช. ที่เสนอขึ้นเงิน
เดือนตัวเอง
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความโปร่งใสในการแต่งตั้งคณะกรรมการ ปปช.
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความมีอิสระในการทำงานของ คณะกรรมการ ปปช.
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “คณะกรรมการ
ปปช. หลังศาลพิพากษาในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่ง
ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการ
ทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,530 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 19.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 7.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.7 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
และร้อยละ 2.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างออกตามอาชีพประจำที่ทำอยู่นั้นพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
รองลงมาคือ ร้อยละ 19.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.0 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.1 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผล
สำรวจเรื่อง “คณะกรรมการ ปปช. หลังศาลพิพากษาในสายตาประชาชน” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็น
จาก ตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 2,530 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงกรณีการรับทราบข่าวคณะกรรมการ ปปช. เสนอขึ้นเงินเดือนให้ ตน
เองนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 73.4 ระบุรับทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 26.6 ระบุไม่ทราบ และเมื่อคณะผู้
วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงการรับทราบข่าวที่ศาลตัดสินให้จำคุกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เสนอขึ้นเงินเดือนให้ตนเองนั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 66.0 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 34.0 ระบุไม่ทราบ
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความพึงพอใจต่อผลการตัดสินของศาลที่ตัดสินชี้ให้เห็นถึงความผิดของคณะ
กรรมการ ปปช. ดังกล่าวนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.5 ระบุพอใจในผลการตัดสินดังกล่าว ร้อยละ 18.4 ระบุ
ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 5.8 ระบุไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 3.0 ระบุไม่พอใจ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 28.3 ไม่
ระบุความคิดเห็น โดยตัวอย่างร้อยละ 68.0 ระบุว่าคณะกรรมการ ปปช. ชุดนี้ควรลาออก ในขณะที่ร้อยละ
5.6 ระบุไม่ควรลาออก และร้อยละ 26.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ คือ ความคิดเห็นของตัวอย่าง
กรณีที่ว่าจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้ง คณะกรรมการ ปปช. (ถ้าคณะกรรมการ ปปช. ชุดปัจจุบันลา
ออก) ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 41.7 ระบุเชื่อว่าจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงอย่างแน่นอน ในขณะที่ร้อยละ 28.6
ระบุเชื่อว่าคงจะเข้ามาแทรกแซงบ้าง ร้อยละ 5.8 ระบุไม่เชื่อว่าจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซง และร้อยละ
23.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีความเป็นอิสระในการทำงานของคณะกรรมการ
ปปช. นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 14.0 ระบุเชื่อว่าคณะกรรมการ ปปช. จะสามารถทำงานได้อย่างอิสระ ในขณะที่
ร้อยละ 61.0 ระบุไม่เชื่อ และร้อยละ 25.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ได้แก่ บุคคลที่ตัวอย่างระบุว่ามีความไว้
วางใจให้มาทำหน้าที่ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 26.6 ระบุว่าบุคคลที่มี
ความไว้วางใจให้มาทำหน้าที่ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 13.3 ระบุ พล
ตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ร้อยละ 11.8 ระบุ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 11.7 ระบุนาย
อานันท์ ปันยารชุน ร้อยละ 7.5 ระบุคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา และร้อยละ 6.3 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวคณะกรรมการ ปปช. เสนอขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่างกรณีคณะกรรมการ ปปช. ค่าร้อยละ
เสนอขึ้นเงินเดือนให้กับตัวเอง
1 ทราบ 73.4
2 ไม่ทราบ 26.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวที่ศาลตัดสินจำคุกคณะกรรมการ ปปช.
ที่เสนอขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่างกรณีที่ศาลตัดสินจำคุก ค่าร้อยละ
คณะกรรมการ ปปช. ที่เสนอขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง
1 ทราบ 66.0
2 ไม่ทราบ 34.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจกรณีที่ศาลตัดสินชี้ให้เห็นถึงความผิดของ
คณะกรรมการ ปปช.
ลำดับที่ ความพึงพอใจของตัวอย่างกรณีศาลตัดสินชี้ให้เห็นถึง ค่าร้อยละ
ความผิดของคณะกรรมการ ปปช.
1 พอใจ 44.5
2 ค่อนข้างพอใจ 18.4
3 ไม่ค่อยพอใจ 5.8
4 ไม่พอใจ 3.0
5 ไม่มีความเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีการลาออกของคณะกรรมการ ปปช.
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีการลาออกของคณะกรรมการ ปปช. ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก 68.0
2 ไม่ควรลาออก 5.6
3 ไม่มีความเห็น 26.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเมืองจะเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้ง
คณะกรรมการ ปปช. (ถ้าคณะกรรมการ ปปช.ชุดปัจจุบันลาออก)
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการเมืองจะเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้ง ค่าร้อยละ
คณะกรรมการ ปปช.
1 เชื่อว่าการเมืองจะเข้ามาแทรกแซงอย่างแน่นอน 41.7
2 เชื่อว่าคงเข้ามาแทรกแซงบ้าง 28.6
3 ไม่เชื่อว่าการเมืองจะเข้ามาแทรกแซง 5.8
4 ไม่มีความเห็น 23.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นอิสระใการทำงานของ
คณะกรรมการ ปปช.
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อความเป็นอิสระใการทำงานของ ค่าร้อยละ
คณะกรรมการ ปปช.
1 เชื่อในความเป็นอิสระของการทำงาน 14.0
2 ไม่เชื่อ 61.0
3 ไม่มีความเห็น 25.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุบุคคลที่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 26.6
2 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส 13.3
3 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 11.8
4 นายอานันท์ ปันยารชุน 11.7
5 คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา 7.5
6 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 6.3
7 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 6.0
8 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 5.7
9 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 5.9
7 อื่นๆ อาทิ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ / นายชวน หลีกภัย/
นายกล้าณรงค์ จันทิก/คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์/
พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นต้น 14.7
--เอแบคโพลล์--
-พห-