เอแบคโพลล์: คนไทยหัวใจประชาธิปไตย กับการยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย

ข่าวผลสำรวจ Monday June 11, 2012 07:32 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยหัวใจ ประชาธิปไตย กับการยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 12 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ อุดรธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ภูเก็ต และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,142 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 9 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่ง กลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาด เคลื่อนบวกลบร้อยละ 7

ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงระดับความรักของประชาชนที่มีต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 76.1 ตอบว่ารักค่อนข้างมากถึงมากที่สุด เพราะ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีเสรีภาพ มีโอกาสแสดงออก เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ถึงจะเห็นต่าง แต่ก็อยู่ร่วมกันได้ มีโอกาสเกิดความเป็นธรรมในสังคมได้มากกว่า และเสียงของประชาชนมีความสำคัญมากกว่า เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 23.9 รัก ค่อนข้างน้อยถึงไม่รักเลย เพราะ มีแต่ความวุ่นวาย แตกแยก บ้านเมืองไม่สงบ มีแต่การแทรกแซง เอารัดเอาเปรียบ และแก่งแย่งชิงอำนาจกันอย่าง น่ารังเกียจ เป็นต้น

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.2 ยังคงเห็นว่า เหตุการณ์ความวุ่นวายในสภาและนอกสภาในขณะนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาของ ประชาธิปไตย ในขณะที่ ร้อยละ 40.8 เห็นว่า ไม่ปกติธรรมดา

เมื่อถามถึงระดับความพอใจของประชาชนต่อบทบาทการวางตัวของกองทัพในเวลานี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.7 พอใจค่อนข้าง มากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 31.3 พอใจค่อนข้างน้อยถึงไม่พอใจเลย

ที่สำคัญคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.5 ไม่เห็นด้วยต่อการยึดอำนาจ ถึงแม้เกิดความวุ่นวายรุนแรงยิ่งขึ้นในบ้านเมือง เพราะ ไม่ช่วยแก้ปัญหา จะวุ่นวายหนักกว่าเดิม ควรปล่อยให้คนไทยเรียนรู้พัฒนาประชาธิปไตยกันไป อำนาจพิเศษไม่ช่วยอะไร บ้านเมืองเสียหาย กลัวจะ พัฒนาแพ้ประเทศเพื่อนบ้าน ธุรกิจพัง นานาชาติไม่ยอมรับ ทำลายสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่เคารพประชาชน ไม่ช่วยแก้ปัญหาอะไร กลุ่มคนยึด อำนาจไปก็ไปกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องเฉพาะกลุ่มอีก และจากประสบการณ์ยึดอำนาจที่ผ่านมาไม่ได้แก้ปัญหา เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 28.5 เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ เพราะ บ้านเมืองจะได้สงบ ตอนนี้มีแต่ความวุ่นวายจะได้ช่วยยุติความวุ่นวายต่างๆ ได้ เป็นต้น

ที่น่าเป็นห่วงคือ แนวโน้มของคนไทยที่มีทัศนคติอันตรายต่อการยอมรับรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วยยังไม่มีแนว โน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ล่าสุดยังคงอยู่ที่ร้อยละ 63.4 ในการสำรวจครั้งล่าสุด โดยเคยค้นพบในช่วงเดือนมกราคมปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 64.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 64.6 เดือนพฤศจิกายน ปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 64.7 เดือนมกราคมปี 55 และล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 63.4 เดือนมิถุนายนปี 55

โดยกลุ่มผู้ชายยอมรับรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่นมากกว่ากลุ่มผู้หญิงคือร้อยละ 66.0 ในกลุ่มผู้ชายและร้อยละ 62.5 ในกลุ่มผู้หญิง และที่น่า เป็นห่วงอย่างยิ่งคือ กลุ่มเยาวชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 68.2 ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 66.4 ที่มีอายุระหว่าง 20 — 29 ปีมีทัศนคติอันตราย ยอมรับได้รัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย โดยกลุ่มอาชีพสำคัญคือ กลุ่มพ่อค้าส่วนใหญ่ร้อยละ 66.7 มีทัศนคติอันตรายมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 67.1

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงระดับความวางใจต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันพบว่า เกินกว่าครึ่งหนึ่งเพียงเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.8 วางใจค่อนข้าง มาก ถึงมากที่สุดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันที่นำโดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะไม่มีการทุจริตคอรัปชั่น เพราะ เชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรี ว่าจะไม่ยอมให้เกิดขึ้น รัฐบาลกลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย และยังไม่เห็นข่าว ยังไม่เห็นความผิดปกติชัดเจน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เกือบครึ่งหรือร้อย ละ 48.2 วางใจค่อนข้างน้อยถึงไม่วางใจเลย เพราะ รัฐบาลยังไม่มีระบบแจกแจงความโปร่งใสในการใช้งบประมาณที่ชัดเจน ไม่เปิดโอกาสให้แกะ รอยตรวจสอบรัฐบาลได้ บรรดารัฐมนตรี คณะที่ปรึกษารัฐมนตรี ผู้ติดตาม กลุ่มคนใกล้ชิดมักแสวงหาผลประโยชน์จากตำแหน่งและอำนาจ รัฐบาลปัจจุบัน ก็เหมือนๆ กับรัฐบาลเก่าๆ ทุกรัฐบาล นายกรัฐมนตรีลอยตัวเกินไปไม่น่าจะรู้ทันกลุ่มนักการเมืองรอบตัว และอำนาจเงิน ผลประโยชน์ซื้อได้ทุกอย่าง เป็นต้น

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า เมื่อผลสำรวจพบว่า คนไทยส่วนใหญ่มีหัวใจรักประชาธิปไตยแล้วก็คงต้องปล่อยให้ทุกคนร่วมเรียนรู้พัฒนา ประชาธิปไตยกันไป โดยไม่ยอมให้มีอำนาจพิเศษใดๆ เข้ามาหยุดยั้งการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศได้เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้คนไทยพบ ว่า คนที่ได้อำนาจไปก็มักจะกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องเป็นสำคัญมากกว่าการดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม ถ้าทุกคนในบ้านเมืองมีโอกาสศึกษาเรียนรู้ระบบการปกครองของประเทศไทยเราอย่างลึกซึ้งจะพบว่า สังคมไทยจำเป็นต้องมีระบบการ ตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบันไม่เช่นนั้น คนการเมืองที่เข้ามามีอำนาจก็มีโอกาสสูงที่จะใช้อำนาจนั้น เพื่อตัวเอง ครอบครัว เครือญาติและพวกพ้องมากกว่า ดูแลสุขของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง

ดร.นพดล ระบุ ผลสำรวจล่าสุดยังคงพบทัศนคติอันตรายต่อการยอมรับรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น แต่ทำให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย โดย ทัศนคติดังกล่าวยังไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ คนส่วนใหญ่ยังยอมรับได้ต่อรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย เพราะมอง ว่า ทุกรัฐบาลก็มีทุจริตคอรัปชั่นด้วยกันทั้งนั้น และในเวลานี้ใครให้เงินให้ผลประโยชน์เพื่อความอยู่รอดก็เอาไว้ก่อน เหล่านี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องหันมา เอาจริงเอาจังในทุกหน่วยงานราชการและองค์กรเอกชน

“เพื่อปิดช่องทางไม่ให้มีเงื่อนไขครบองค์ประกอบของการยึดอำนาจโดยอ้างการทุจริตคอรัปชั่นมาสร้างความชอบธรรมของการปฏิวัติยึด อำนาจ จึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องทำมากกว่าการแถลงข่าวออกสื่อว่าต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น โดยหันมาเอาจริงเอาจังมากกว่าการปลุกกระแสอย่าง เดียว โดยต้องเริ่มจากระดับสูงสุดลงมาและจากระดับรากฐานของสังคมคือ ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มจากครอบครัวขึ้นไปสู่ ชุมชน และสังคมโดยรวมของ ประเทศ กล่าวคือ คนในครอบครัวก็ต้องซื่อสัตย์ต่อกันและกัน การอบรมหล่อหลอมบุตรหลานในครอบครัวให้เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต น่าจะเป็นแนวทางช่วย ลดปัญหาได้อย่างสำคัญ ในขณะที่ กลไกของรัฐ หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชนก็ต้องมีมาตรการที่ไม่ก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมคด โกง ทุจริตคอรัปชั่นกันเป็นลูกโซ่ต่อไปได้ จึงเสนอให้รัฐบาลเป็นต้นแบบที่ดีนำข้อมูลเส้นทางการใช้จ่ายงบประมาณทุกอย่างจนถึงมือประชาชนระดับท้อง ถิ่นท้องที่ขึ้นเผยแพร่เว็บไซต์ให้สาธารณชน สื่อมวลชนตรวจสอบได้อย่างน่าเชื่อถือศรัทธา” ดร.นพดล กรรณิกา กล่าว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.6 เป็นชาย ร้อยละ 52.4 เป็นหญิง ร้อยละ 5.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 29.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 82.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 15.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.1 สำเร็จ การศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 33.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.1 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.3 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 8.5 เป็นแม่บ้าน/ พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 3.1 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความรักที่มีต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
ลำดับที่          ระดับความรักที่มีต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย                                        ค่าร้อยละ
1          รักค่อนข้างมากถึงมากที่สุด เพราะ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีเสรีภาพ มีโอกาสแสดงออก

เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ถึงจะเห็นต่างแต่ก็อยู่ร่วมกันได้ มีโอกาสเกิดความเป็นธรรมในสังคมได้มากกว่า

           และเสียงของประชาชนมีความสำคัญมากกว่า เป็นต้น                                            76.1
2          ค่อนข้างน้อยถึงไม่รักเลย เพราะ มีแต่ความวุ่นวาย แตกแยก บ้านเมืองไม่สงบ มีแต่การแทรกแซง
           เอารัดเอาเปรียบ และแก่งแย่งชิงอำนาจกันอย่างน่ารังเกียจ เป็นต้น                                23.9
          รวมทั้งสิ้น                                                                           100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ เหตุการณ์วุ่นวายในสภา และนอกสภา ในขณะนี้
ลำดับที่          ระดับความคิดเห็น                    ค่าร้อยละ
1          เป็นเรื่องปกติธรรมดาของประชาธิปไตย          59.2
2          ไม่ปกติธรรมดา                            40.8
                    รวมทั้งสิ้น                      100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความพอใจต่อบทบาทการวางตัวของกองทัพในเวลานี้
ลำดับที่          ระดับความพอใจ                     ค่าร้อยละ
1          ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                      68.7
2          ค่อนข้างน้อยถึงไม่พอใจเลย                   31.3
          รวมทั้งสิ้น                                100.0


ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการยึดอำนาจ ถ้าหากเกิดความวุ่นวายรุนแรงยิ่งขึ้นในบ้านเมือง
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                                                         ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ เพราะ บ้านเมืองจะได้สงบ ตอนนี้มีแต่ความวุ่นวาย จะได้ช่วยยุติความวุ่นวายต่างๆ เป็นต้น   28.5
2          ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่ช่วยแก้ปัญหา จะวุ่นวายหนักกว่าเดิม ควรปล่อยให้คนไทยเรียนรู้พัฒนาประชาธิปไตยกันไป

อำนาจพิเศษไม่ช่วยอะไร บ้านเมืองเสียหาย กลัวจะพัฒนาแพ้ประเทศเพื่อนบ้าน ธุรกิจพัง นานาชาติไม่ยอมรับ

ทำลายสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่เคารพประชาชน ไม่ช่วยแก้ปัญหาอะไร กลุ่มคนยึดอำนาจไปก็ไปกอบโกย

           ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องเฉพาะกลุ่มอีก และประสบการณ์ยึดอำนาจที่ผ่านมาไม่ได้แก้ปัญหา เป็นต้น             71.5
          รวมทั้งสิ้น                                                                                 100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย เปรียบเทียบจากการสำรวจในช่วงเดือนมกราคม 2554— มิถุนายน 2555
ลำดับที่          ทัศนคติ                                        ม.ค.54ค่าร้อยละ   พ.ย.54ค่าร้อยละ    ม.ค.55ค่าร้อยละ   มิ.ย.55ค่าร้อยละ
1          ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย     64.0            64.6            64.7          63.4
2          ไม่คิดเช่นนั้น                                             36.0            35.4            35.3            36.6
          รวมทั้งสิ้น                                               100.0           100.0           100.0           100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย จำแนกตามเพศ
ลำดับที่          ทัศนคติ                                          เพศชายค่าร้อยละ   เพศหญิงค่าร้อยละ
1          ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย       66.0            62.5
2          ไม่คิดเช่นนั้น                                               34.0            37.5
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0           100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย จำแนกตามอายุ
ลำดับที่          ทัศนคติ                                        ต่ำกว่า 20 ปีค่าร้อยละ    20-29ปีค่าร้อยละ   30-39ปีค่าร้อยละ   40-49 ปีค่าร้อยละ   50ปีขึ้นไปค่าร้อยละ
1          ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย       68.2              66.4             62.9            61.5             62.2
2          ไม่คิดเช่นนั้น                                               31.8              33.6             37.1              38.5           37.8
         รวมทั้งสิ้น                                                  100.0             100.0            100.0             100.0          100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย จำแนกตามอาชีพ
ลำดับที่          ทัศนคติ                                        ข้าราชการรัฐวิสาหกิจ    พนักงานเอกชน    ค้าขายส่วนตัว   นักเรียนนักศึกษา  รับจ้างเกษตรกร   แม่บ้านเกษียณอายุ
1          ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย      54.5             62.0            66.7          67.1          62.2          65.7
2          ไม่คิดเช่นนั้น                                              45.5             38.0            33.3          32.9          37.8          34.3
          รวมทั้งสิ้น                                                100.0            100.0           100.0         100.0         100.0         100.0

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความวางใจต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันว่าจะไม่มีการทุจริต คอรัปชั่น
ลำดับที่          ระดับความวางใจ                                                                      ค่าร้อยละ
1          ค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด เพราะเชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรีว่าจะไม่ยอมให้เกิดขึ้น รัฐบาลกลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย
           ยังไม่เห็นข่าว ยังไม่เห็นความผิดปกติชัดเจน เป็นต้น                                                   51.8
2          ค่อนข้างน้อย ถึงไม่วางใจเลย เพราะ ยังไม่มีระบบแจกแจงความโปร่งใสในการใช้งบประมาณที่ชัดเจน

ไม่เปิดโอกาสให้แกะรอยตรวจสอบรัฐบาลได้ บรรดารัฐมนตรี คณะที่ปรึกษารัฐมนตรี ผู้ติดตาม กลุ่มคนใกล้ชิด

มักแสวงหาผลประโยชน์จากตำแหน่งและอำนาจ รัฐบาลปัจจุบันก็เหมือนๆ กับรัฐบาลเก่าๆ ทุกรัฐบาล นายกรัฐมนตรี

           ลอยตัวเกินไปจนไม่น่าจะรู้ทันกลุ่มนักการเมืองรอบตัว และอำนาจเงิน ผลประโยชน์ซื้อได้ทุกอย่าง เป็นต้น             48.2
          รวมทั้งสิ้น                                                                                  100.0

--เอแบคโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ