ที่มาของโครงการ
การเลือกตั้งเป็นกระบวนการหนึ่งในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเพื่อให้อำนาจแก่ประชาชนเลือกตัวแทนของตนขึ้นทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของกรุงเทพมหานครได้เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการ ทำหน้าที่บริหารราชการกรุงเทพมหานครสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ตระหนักถึงทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาโดยตลอด โดยได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่ประชาชนจะใช้สิทธิเลือกตั้ง และประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการให้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบริสุทธิ์ยุติธรรมได้ตัวแทนของ ประชาชนอย่างแท้จริง สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และความตั้งใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมและความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่า กทม: กรณีศึกษาประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15 - 19 มิถุนายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่เขตการปกครองตัวอย่างจำนวน 20 เขต ได้แก่ เขตพระนคร ปทุมวัน บางคอแหลม พญาไท ห้วยขวาง คลองเตย สวนหลวง สายไหม หลักสี่ บางกะปิ สะพานสูง ธนบุรี คลองสาน บางกอกน้อย บางพลัด ภาษีเจริญ บางแค ทวีวัฒนา ทุ่งครุ และบางขุนเทียน จากนั้นทำการเลือกตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควต้า (quota sampling) โดยกำหนดให้มีลักษณะสอดคล้องกับลักษณะขอบประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,471 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 26.1 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 18.9 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
และร้อยละ 11.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.9 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ
ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.8 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 5.8 ระบุอื่นๆ อาทิ เกษตรกร / ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้วันเลือกตั้ง
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่างต่อวันเลือกตั้ง ร้อยละ
1 ตอบว่ารู้ แต่บอกวันที่ผิด 12.4
2 ตอบว่ารู้ และบอกวันที่ถูกต้อง คือ 29 สิงหาคม 25.7
3 ตอบว่า ไม่รู้ 61.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเพียงพอในการประชาสัมพันธ์วันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
ลำดับที่ ความเพียงพอในการประชาสัมพันธ์วันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ร้อยละ
1 เพียงพอแล้ว 35.1
2 ยังไม่เพียงพอ 64.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่ เป็นหน้าที่ของประชาชน
ทุกคนที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ลำดับที่ ทัศนคติของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เห็นด้วย 75.2
2 ไม่เห็นด้วย 4.7
3 ไม่มีความเห็น 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า เห็นด้วยหรือไม่ สำหรับคนที่ไม่ไปเลือกตั้ง
ควรได้รับการตำหนิจากสังคม
ลำดับที่ ทัศนคติของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เห็นด้วย 40.2
2 ไม่เห็นด้วย 49.7
3 ไม่มีความเห็น 10.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เวลาที่คาดว่าจะใช้ในการเดินทางไปและกลับในการใช้สิทธิเลือกตั้ง
ลำดับที่ เวลาที่คาดว่าจะใช้ในการเดินทางไปและกลับในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ
1 น้อยกว่า 30 นาที 28.3
2 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 36.1
3 1 ชั่วโมง ถึง 1ชั่วโมงครึ่ง 16.7
4 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 2 ชั่วโมง 8.9
5 มากกว่า 2 ชั่วโมง 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า โดยส่วนตัว คุณคิดว่า คุณมีความยากลำบาก
ในการเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่
ลำดับที่ ความยากลำบากในการเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ
1 ยากลำบากในการเดินทาง 44.8
2 ไม่ยากลำบาก 55.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่ายากลำบาก ให้เหตุผลว่า 1) ถ้าฝนตกน้ำท่วม 2) อยู่ในซอย 3) รถติด 4) ต้องทำงาน 5) ระบุอื่นๆ อาทิ ไม่มีคนเฝ้าบ้าน ต้องดูแลทำงานบ้าน ต้องเสียค่าเดินทางไปเลือกตั้ง เป็นต้น
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า เคยคิดที่จะไม่ไปเลือกตั้งหรือไม่
ลำดับที่ คำตอบต่อคำถามที่ว่าเคยคิดจะไม่ไปเลือกตั้งหรือไม่ ร้อยละ
1 เคยคิด 76.2
2 ไม่เคยคิด 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกผิดเมื่อไม่ไปเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความรู้สึกผิดเมื่อไม่ไปเลือกตั้ง ร้อยละ
1 รู้สึกผิด 43.2
2 ไม่รู้สึกผิด เพราะมีเหตุผล เช่นติดธุระ ต้องทำงาน ฝนตก ไม่สบาย ลำบากในการเดินทาง เบื่อนักการเมือง
ผิดหวังกับคนที่เคยเลือกไป เป็นต้น 56.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกลัวหรือไม่กลัวต่อการตัดสิทธิต่างๆ ถ้าไม่ไปเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความกลัวหรือไม่กลัวของตัวอย่าง ร้อยละ
1 กลัวการตัดสิทธิ 40.8
2 ไม่กลัวการตัดสิทธิ 59.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเดินทางไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้งของตัวอย่าง ร้อยละ
1 ตั้งใจจะไป 31.7
2 คิดว่าจะไม่ไป 36.8
3 ยังไม่แน่ 31.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำหรับตัวอย่างที่ระบุว่า คิดว่าจะไม่ไป ให้เหตุผลว่า 1) ติดธุระ ต้องทำงาน 2) ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 3) ผิดหวังกับคนที่เคยเลือกตั้งไป 4) รถติด 5) เบื่อการเมือง 6) อื่นๆ อาทิ ไม่เห็นประโยชน์ สุขภาพไม่ดี เป็นต้น
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เชื่อว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเกิดขึ้นในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
หรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เชื่อว่าจะมี 67.9
2 ไม่เชื่อว่าจะมี 14.2
3 ไม่มีความเห็น 17.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า พร้อมจะร่วมมือกับ กกต. ในการให้เบาะแส
และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงหรือไม่
ลำดับที่ ความพร้อมของตัวอย่าง ร้อยละ
1 พร้อม 52.9
2 ไม่พร้อม 20.7
3 ไม่มีความเห็น 26.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "สำรวจการรับรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม." ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 2,471 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 - 19 มิถุนายน 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
การรับรู้ของตัวอย่างต่อวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า ร้อยละ 61.9 ระบุ ไม่ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งวันไหน ในขณะที่ ร้อยละ 25.7 ระบุทราบว่าวันที่เลือกตั้งคือวันที่ 29 สิงหาคม 2547 และร้อยละ 12.4 ระบุว่าทราบ แต่บอกวันที่ผิด ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความเพียงพอในการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.นั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 64.9 ระบุการประชาสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ ในขณะที่ร้อยละ 35.1 ระบุเพียงพอแล้ว
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีเห็นด้วยหรือไม่ที่เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 75.2 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 4.7 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.1 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 49.7 ระบุ ไม่เห็นด้วยต่อกรณีคนที่ไม่ไปเลือกตั้งควรจะได้รับการตำหนิจากสังคม ในขณะที่ ร้อยละ 40.2 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 10.1 ไม่ระบุความคิดเห็น ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 36.1 ระบุเวลาที่คาดว่าจะใช้ในการเดินทางไปและกลับในการใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ 30 นาที-1 ชั่วโมง รองลงมาคือร้อยละ 28.3 ระบุใช้คาดว่าจะใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที ร้อยละ 16.7 ระบุคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1ชั่วโมง -1ชั่วโมงครึ่ง และร้อยละ 10.0 ระบุคาดว่าจะใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมง ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 55.2 ระบุไม่มีความยากลำบากในการเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในขณะที่ ร้อยละ 44.8 ระบุมีความยากลำบาก
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดที่จะไม่ไปเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 76.2 เคยคิดที่จะไม่ไปเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 23.8 ระบุไม่เคยคิด อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 56.8 ระบุไม่มีความรู้สึกผิดเมื่อไม่ได้ไปเลือกตั้ง เพราะคิดว่าตนเองมีเหตุผลเพียงพอเช่น ติดธุระ ต้องทำงาน ฝนตก ไม่สบาย ลำบากในการเดินทาง เบื่อนักการเมือง ผิดหวังกับคนที่เคยเลือกไป เป็นต้น ในขณะที่เสียงส่วนน้อยหรือร้อยละ 43.2 ระบุรู้สึกผิดเมื่อไม่ไปเลือกตั้ง นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.2 ไม่กลัวต่อการตัดสิทธิต่างๆ ถ้าไม่ไปเลือกตั้ง ในขณะที่ ร้อยละ 40.8 กลัวการตัดสิทธิ สำหรับความตั้งใจของตัวอย่างต่อการไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ พบว่าประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36.8 ระบุ คิดว่าจะไม่ไป ในขณะที่ร้อยละ 31.7 ระบุตั้งใจจะไปเลือกตั้งในครั้งนี้ และร้อยละ 31.5 ระบุยังไม่แน่
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างยิ่งก็คือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการซื้อสิทธิขายเสียงในการ เลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 67.9 ระบุเชื่อว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในครั้งนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 14.2 ระบุไม่เชื่อว่าจะมี และร้อยละ 17.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 52.9 ระบุพร้อมจะให้ความร่วมมือกับ กกต.ในการให้เบาะแสและแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ในขณะที่ ร้อยละ 20.7 ระบุ ไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ และร้อยละ 26.4 ไม่ระบุความคิดเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การเลือกตั้งเป็นกระบวนการหนึ่งในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเพื่อให้อำนาจแก่ประชาชนเลือกตัวแทนของตนขึ้นทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของกรุงเทพมหานครได้เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการ ทำหน้าที่บริหารราชการกรุงเทพมหานครสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ตระหนักถึงทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาโดยตลอด โดยได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่ประชาชนจะใช้สิทธิเลือกตั้ง และประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการให้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบริสุทธิ์ยุติธรรมได้ตัวแทนของ ประชาชนอย่างแท้จริง สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และความตั้งใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมและความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่า กทม: กรณีศึกษาประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15 - 19 มิถุนายน 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่เขตการปกครองตัวอย่างจำนวน 20 เขต ได้แก่ เขตพระนคร ปทุมวัน บางคอแหลม พญาไท ห้วยขวาง คลองเตย สวนหลวง สายไหม หลักสี่ บางกะปิ สะพานสูง ธนบุรี คลองสาน บางกอกน้อย บางพลัด ภาษีเจริญ บางแค ทวีวัฒนา ทุ่งครุ และบางขุนเทียน จากนั้นทำการเลือกตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควต้า (quota sampling) โดยกำหนดให้มีลักษณะสอดคล้องกับลักษณะขอบประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,471 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 26.1 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 18.9 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
และร้อยละ 11.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.9 ประกอบอาชีพค้าขาย/อิสระ
ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.8 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 5.8 ระบุอื่นๆ อาทิ เกษตรกร / ว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้วันเลือกตั้ง
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่างต่อวันเลือกตั้ง ร้อยละ
1 ตอบว่ารู้ แต่บอกวันที่ผิด 12.4
2 ตอบว่ารู้ และบอกวันที่ถูกต้อง คือ 29 สิงหาคม 25.7
3 ตอบว่า ไม่รู้ 61.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเพียงพอในการประชาสัมพันธ์วันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
ลำดับที่ ความเพียงพอในการประชาสัมพันธ์วันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ร้อยละ
1 เพียงพอแล้ว 35.1
2 ยังไม่เพียงพอ 64.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่ เป็นหน้าที่ของประชาชน
ทุกคนที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ลำดับที่ ทัศนคติของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เห็นด้วย 75.2
2 ไม่เห็นด้วย 4.7
3 ไม่มีความเห็น 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า เห็นด้วยหรือไม่ สำหรับคนที่ไม่ไปเลือกตั้ง
ควรได้รับการตำหนิจากสังคม
ลำดับที่ ทัศนคติของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เห็นด้วย 40.2
2 ไม่เห็นด้วย 49.7
3 ไม่มีความเห็น 10.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เวลาที่คาดว่าจะใช้ในการเดินทางไปและกลับในการใช้สิทธิเลือกตั้ง
ลำดับที่ เวลาที่คาดว่าจะใช้ในการเดินทางไปและกลับในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ
1 น้อยกว่า 30 นาที 28.3
2 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 36.1
3 1 ชั่วโมง ถึง 1ชั่วโมงครึ่ง 16.7
4 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 2 ชั่วโมง 8.9
5 มากกว่า 2 ชั่วโมง 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า โดยส่วนตัว คุณคิดว่า คุณมีความยากลำบาก
ในการเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่
ลำดับที่ ความยากลำบากในการเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ
1 ยากลำบากในการเดินทาง 44.8
2 ไม่ยากลำบาก 55.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่ายากลำบาก ให้เหตุผลว่า 1) ถ้าฝนตกน้ำท่วม 2) อยู่ในซอย 3) รถติด 4) ต้องทำงาน 5) ระบุอื่นๆ อาทิ ไม่มีคนเฝ้าบ้าน ต้องดูแลทำงานบ้าน ต้องเสียค่าเดินทางไปเลือกตั้ง เป็นต้น
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า เคยคิดที่จะไม่ไปเลือกตั้งหรือไม่
ลำดับที่ คำตอบต่อคำถามที่ว่าเคยคิดจะไม่ไปเลือกตั้งหรือไม่ ร้อยละ
1 เคยคิด 76.2
2 ไม่เคยคิด 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกผิดเมื่อไม่ไปเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความรู้สึกผิดเมื่อไม่ไปเลือกตั้ง ร้อยละ
1 รู้สึกผิด 43.2
2 ไม่รู้สึกผิด เพราะมีเหตุผล เช่นติดธุระ ต้องทำงาน ฝนตก ไม่สบาย ลำบากในการเดินทาง เบื่อนักการเมือง
ผิดหวังกับคนที่เคยเลือกไป เป็นต้น 56.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกลัวหรือไม่กลัวต่อการตัดสิทธิต่างๆ ถ้าไม่ไปเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความกลัวหรือไม่กลัวของตัวอย่าง ร้อยละ
1 กลัวการตัดสิทธิ 40.8
2 ไม่กลัวการตัดสิทธิ 59.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะเดินทางไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้งของตัวอย่าง ร้อยละ
1 ตั้งใจจะไป 31.7
2 คิดว่าจะไม่ไป 36.8
3 ยังไม่แน่ 31.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำหรับตัวอย่างที่ระบุว่า คิดว่าจะไม่ไป ให้เหตุผลว่า 1) ติดธุระ ต้องทำงาน 2) ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 3) ผิดหวังกับคนที่เคยเลือกตั้งไป 4) รถติด 5) เบื่อการเมือง 6) อื่นๆ อาทิ ไม่เห็นประโยชน์ สุขภาพไม่ดี เป็นต้น
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เชื่อว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเกิดขึ้นในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
หรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เชื่อว่าจะมี 67.9
2 ไม่เชื่อว่าจะมี 14.2
3 ไม่มีความเห็น 17.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า พร้อมจะร่วมมือกับ กกต. ในการให้เบาะแส
และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงหรือไม่
ลำดับที่ ความพร้อมของตัวอย่าง ร้อยละ
1 พร้อม 52.9
2 ไม่พร้อม 20.7
3 ไม่มีความเห็น 26.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "สำรวจการรับรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม." ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 2,471 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 - 19 มิถุนายน 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
การรับรู้ของตัวอย่างต่อวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า ร้อยละ 61.9 ระบุ ไม่ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งวันไหน ในขณะที่ ร้อยละ 25.7 ระบุทราบว่าวันที่เลือกตั้งคือวันที่ 29 สิงหาคม 2547 และร้อยละ 12.4 ระบุว่าทราบ แต่บอกวันที่ผิด ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความเพียงพอในการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.นั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 64.9 ระบุการประชาสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ ในขณะที่ร้อยละ 35.1 ระบุเพียงพอแล้ว
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีเห็นด้วยหรือไม่ที่เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 75.2 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 4.7 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.1 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 49.7 ระบุ ไม่เห็นด้วยต่อกรณีคนที่ไม่ไปเลือกตั้งควรจะได้รับการตำหนิจากสังคม ในขณะที่ ร้อยละ 40.2 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 10.1 ไม่ระบุความคิดเห็น ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 36.1 ระบุเวลาที่คาดว่าจะใช้ในการเดินทางไปและกลับในการใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ 30 นาที-1 ชั่วโมง รองลงมาคือร้อยละ 28.3 ระบุใช้คาดว่าจะใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที ร้อยละ 16.7 ระบุคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1ชั่วโมง -1ชั่วโมงครึ่ง และร้อยละ 10.0 ระบุคาดว่าจะใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมง ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 55.2 ระบุไม่มีความยากลำบากในการเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในขณะที่ ร้อยละ 44.8 ระบุมีความยากลำบาก
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดที่จะไม่ไปเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 76.2 เคยคิดที่จะไม่ไปเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 23.8 ระบุไม่เคยคิด อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 56.8 ระบุไม่มีความรู้สึกผิดเมื่อไม่ได้ไปเลือกตั้ง เพราะคิดว่าตนเองมีเหตุผลเพียงพอเช่น ติดธุระ ต้องทำงาน ฝนตก ไม่สบาย ลำบากในการเดินทาง เบื่อนักการเมือง ผิดหวังกับคนที่เคยเลือกไป เป็นต้น ในขณะที่เสียงส่วนน้อยหรือร้อยละ 43.2 ระบุรู้สึกผิดเมื่อไม่ไปเลือกตั้ง นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.2 ไม่กลัวต่อการตัดสิทธิต่างๆ ถ้าไม่ไปเลือกตั้ง ในขณะที่ ร้อยละ 40.8 กลัวการตัดสิทธิ สำหรับความตั้งใจของตัวอย่างต่อการไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ พบว่าประชาชนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36.8 ระบุ คิดว่าจะไม่ไป ในขณะที่ร้อยละ 31.7 ระบุตั้งใจจะไปเลือกตั้งในครั้งนี้ และร้อยละ 31.5 ระบุยังไม่แน่
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างยิ่งก็คือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการซื้อสิทธิขายเสียงในการ เลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 67.9 ระบุเชื่อว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในครั้งนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 14.2 ระบุไม่เชื่อว่าจะมี และร้อยละ 17.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 52.9 ระบุพร้อมจะให้ความร่วมมือกับ กกต.ในการให้เบาะแสและแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ในขณะที่ ร้อยละ 20.7 ระบุ ไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ และร้อยละ 26.4 ไม่ระบุความคิดเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-