ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง แผนป้องกันน้ำท่วมปีนี้และการปรับคณะรัฐมนตรีในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่เคยประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ลพบุรี ชัยนาท ปทุมธานี สระบุรี นนทบุรี นครพนม นครราชสีมา กาฬสินธุ์นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ กระบี่ สุราษฎร์ธานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,074 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 -16 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา โดย
เมื่อถามถึง ความชัดเจนเรื่องแผนการรับมือน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ที่ปรากฎจากข่าวสารที่ประชาชนติดตาม พบว่า ร้อยละ 43.9 ระบุชัดเจนค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.1 ระบุชัดเจนค่อนข้างน้อยถึงยังไม่ชัดเจนเลย เมื่อถามถึงการคาดการณ์ของประชาชนต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วมในปีนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.7 คิดว่าน้ำจะท่วมอีก อย่างไรก็ตาม เกินครึ่งเพียงเล็กน้อยหรือร้อยละ 53.3 ที่กังวลเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นอีกในปีนี้ แต่ร้อยละ 46.7 ไม่กังวล
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.0 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย ถึงไม่เชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะสามารถรับมือแก้ปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในปีนี้ ในขณะที่ร้อยละ 44.0 เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ยังได้สอบถามถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปรับคณะรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.4 ระบุว่าเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้วในการปรับคณะรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 25.4 ระบุเร็วเกินไป และร้อยละ 18.2 ระบุช้าเกินไป โดยกระทรวงที่ประชาชนระบุควรปรับคณะรัฐมนตรี เรียงลำดับดังนี้ ร้อยละ 29.2 ระบุกระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 25.4 ระบุกระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 23.3 ระบุกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 23.1 ระบุกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 17.6 ระบุกระทรวงคมนาคม และรองๆ ลงไป คือ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกลุ่มประชาชนที่ระบุถึงเหตุผลของการปรับคณะรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ว่า เหตุผลส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาความเดือดร้อนจากภาระค่าใช้จ่ายราคาสินค้าและปัญหาปากท้องของประชาชน นอกจากนี้ยังมีเรื่องปัญหานโยบายแท็ปเลต ปัญหายาเสพติดในสถาบันการศึกษา ปัญหาเด็กนักเรียน เยาวชนตีกัน ใช้ความรุนแรง ปัญหาการให้บริการทางเพศของนักเรียนนักศึกษา และปัญหาแป๊ะเจี้ยะที่ทำให้เด็กนักเรียนต้องออกมาประท้วงด้วยการอดอาหาร เป็นต้น
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงสาเหตุที่จะทำให้รัฐบาลไม่มั่นคงมากที่สุด พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 30.5 ระบุประเด็น พ.ร.บ. ปรองดอง รองลงมาคือร้อยละ 20.8 ระบุ การทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 18.2 ระบุพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักการเมือง ร้อยละ 14.9 ระบุความเดือดร้อนจากปัญหาปากท้องของประชาชน ร้อยละ 14.0 ระบุประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเพียงร้อยละ 1.6 ที่ระบุเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี ตามลำดับ
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาที่สาธารณชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมชาติที่รัฐบาลคงไม่สามารถทำอะไรได้ แต่รัฐบาลสามารถกำหนดนโยบายสาธารณะอย่างน้อยสองเรื่อง ได้แก่ ประการแรก การเตรียมความพร้อมรับมือเยียวยาผลกระทบจาก ภัยธรรมชาติ และเรื่องที่สอง คือ การป้องกันและลดผลกระทบความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากภัยน้ำท่วมต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั่วไป การดำเนินธุรกิจของบริษัทเอกชนและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
“โดยสิ่งที่รัฐบาลต้องระมัดระวัง คือ ความผิดหวังซ้ำซากของสาธารณชน เพราะประชาชนมีความหวังว่ารัฐบาลจะสามารถนำบทเรียนในอดีตมากำหนดทิศทางป้องกันแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Effectiveness) มีความคุ้มค่าคุ้มทุนต่อมาตรการป้องกันแก้ไข คือ งบประมาณที่รัฐบาลใช้ไม่เกินไปกว่าที่มันควรจะเป็น (Efficiency) และมีการบริการจัดการที่ดี คือ กำหนดวางตัวบุคคลที่มีความเป็นผู้นำในการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (Accountability) ในเวลาเดียวกันก็ต้องถ่วงดุลการใช้อำนาจหน้าที่ในการใช้จ่ายงบประมาณที่อาจถูกบิดเบือนเพื่อคนเฉพาะกลุ่มได้ด้วย เหตุเพราะปัจจัยเหล่านี้คือรากฐานสำคัญของระบบราชการในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและรัฐบาลอาจจะอยู่ยากลำบากมากยิ่งขึ้นถ้าหากรัฐบาลทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยต่อประเด็นสำคัญทั้งสามดังกล่าวข้างต้นในหมู่ประชาชน” ดร.นพดล กรรณิกา กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.2 เป็นชาย ร้อยละ 52.8 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 2.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 19.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 18.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 36.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 59.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 33.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ ร้อยละ 6.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 29.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 27.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 12.0 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.7 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 10.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.6 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ความชัดเจน ค่าร้อยละ 1 ชัดเจนค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด 43.9 2 ค่อนข้างน้อยถึง ยังไม่ชัดเจนเลย 56.1 รวมทั้งสิ้น 99.9 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการคาดการณ์การเกิดปัญหาน้ำท่วมในปี้นี้ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าน้ำจะท่วมอีก 70.7 2 คิดว่าน้ำจะไม่ท่วมอีก 29.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวัลเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในปีนี้ ลำดับที่ ความกังวล ค่าร้อยละ 1 กังวล 53.3 2 ไม่กังวล 46.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลว่าจะเอาอยู่และสามารถรับมือแก้ปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในปีนี้ ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด 44.0 2 ค่อนข้างน้อย ถึง ไม่เชื่อมั่นเลย 56.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่าต่อช่วงเวลาที่เหมาะสมที่รัฐบาลควรประกาศการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งใหม่ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เร็วเกินไป 25.4 2 เหมาะสมแล้ว 56.4 3 ช้าเกินไป 18.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกระทรวงที่ควรปรับเมื่อมีการปรับ ครม. เกิดขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ กระทรวงที่ควรปรับ ควรปรับค่าร้อยละ 1 กระทรวงพาณิชย์ 29.2 2 กระทรวงศึกษาธิการ 25.4 3 กระทรวงมหาดไทย 23.3 4 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 23.1 5 กระทรวงคมนาคม 17.6 6 กระทรวงแรงงาน 17.1 7 กระทรวงการคลัง 15.0 8 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 14.0 9 กระทรวงกลาโหม 12.7 10 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 11.8 11 กระทรวงยุติธรรม 10.7 12 กระทรวงวัฒนธรรม 10.7 13 กระทรวงสาธารณสุข 10.1 14 กระทรวงการต่างประเทศ 9.4 15 กระทรวงอุตสาหกรรม 9.0 16 กระทรวงพลังงาน 8.9 17 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 8.8 18 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศน์ 8.5 19 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8.2 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุที่จะทำให้รัฐบาลไม่มั่นคง มากที่สุด ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ประเด็น พ.ร.บ. ปรองดอง 30.5 2 การทุจริตคอรัปชั่น 20.8 3 พฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักการเมือง 18.2 4 ความเดือดร้อนจากปัญหาปากท้องของประชาชน 14.9 5 ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 14.0 6 การปรับคณะรัฐมนตรี 1.6 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--