สำรวจประเด็นสำคัญทางการเมืองในทรรศนะของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
ที่มาของโครงการ
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ข่าวสารที่ปรากฏผ่านทางสื่อมวลชนแสดงให้เห็นว่า มีประเด็นสำคัญทางสังคม และการเมืองของประเทศเกิดขึ้นหลากหลาย และอยู่ในความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เช่น ปัญหาของสถานี โทรทัศน์ช่อง 5 และช่อง 11 ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหายาเสพติดที่กลับมาแพร่ระบาด ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนักวิชาการ และปัญหาอื่นๆ เป็นต้น
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้เชื่อมโยงไปยังภาพลักษณ์ของรัฐบาลและส่งผลกระทบในทางลบต่อความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นปัญหาสำคัญทางการเมือง
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจประเด็นสำคัญทางการเมืองในทรรศนะของประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในระดับครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,426 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 54.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 23.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
และร้อยละ 13.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.2 ประกอบอาชีพค้าขาย / อิสระ
ร้อยละ 20.7 ระบุอาชีพเกษตรกร /รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.6 ระบุอาชีพแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 17.3 ระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.7 ระบุอาชีพข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.5 ระบุเป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 4.0 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการเมือง
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการเมือง ร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำทุกวัน 39.7
2 ติดตามบ้าง 52.8
3 ไม่ได้ติดตามเลย 7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาสำคัญทางการเมืองที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญทางการเมืองที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ร้อยละ
1 ปัญหาคอรัปชั่นโดยกลุ่มนักการเมืองและผลประโยชน์ซับซ้อน 62.4
2 ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ 57.3
3 ไม่สามารถทำตามนโยบายบางอย่างที่ประกาศไว้ได้ 56.9
4 การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา อาทิ การปราบปราม
กลุ่มเยาวชนในภาคใต้ และการฆ่าตัดตอนปัญหาต่างๆ 50.9
5 คดีสังหาร / อุ้มฆ่ากลุ่มแกนนำที่ทำงานเพื่อสังคม 47.2
6 ความไม่จริงใจของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความเดือดร้อน
ของประชาชน 45.0
7 ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาความยากจนและเศรษฐกิจ 42.1
8 การละเมิดสิทธิเสรีภาพ และการแทรกแซงการทำงาน
ของสื่อมวลชน 40.8
9 การตอบโต้ระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนักวิชาการ 33.9
10 อื่นๆ อาทิ การใช้เงินซื้อตัว ส.ส. / ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
/การซื้อเสียง เป็นต้น 21.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ร้อยละ
1 การทุ่มเททำงานหนักของนายกรัฐมนตรี 56.8
2 โครงการเอื้ออาทรของรัฐบาล 54.7
3 นโยบายของรัฐบาลด้านการปราบปรามยาเสพติด 50.2
4 การลงพื้นที่แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 43.3
5 ความทันสมัยในการพัฒนาประเทศด้วยระบบเทคโนโลยี 41.3
6 นโยบายแก้ปัญหาความยากจนและเศรษฐกิจ 40.1
7 ความรวดเร็วในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 36.2
8 การให้ความเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติในการขจัด
ความเดือดร้อนของประชาชนทุกชนชั้น 33.0
9 นโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพล 21.1
10 อื่นๆ อาทิ การทุ่มเทงบประมาณพัฒนาประเทศ ความสามัคคี
ภายในรัฐบาล เป็นต้น 13.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ต่อข่าวดีและข่าวไม่ดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล
ลำดับที่ การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ
1 รับรู้ข่าวดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล 32.4
2 รับรู้ข่าวที่ไม่ดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล 43.8
3 ไม่มีความเห็น 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลประโยชน์ที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของผลประโยชน์ที่กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาล ร้อยละ
1 งบประมาณลงทุนโครงการขนาดใหญ่ อาทิ สนามบิน ถนน สะพาน 54.3
2 การซื้อขายหุ้นกิจการสาธารณูปโภค อาทิ การไฟฟ้า น้ำประปา 50.7
3 ผลประโยชน์ในตลาดหลักทรัพย์ 36.5
4 ผลประโยชน์ในสถานีโทรทัศน์ 32.8
5 การก่อสร้างโรงไฟฟ้า และพลังงานด้านต่างๆ 31.7
6 อื่นๆ อาทิ การใช้งบประมาณในนโยบายของรัฐ การโยกย้ายตำแหน่ง
สำคัญของข้าราชการ 17.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า เชื่อหรือไม่ว่ามีการถอนทุนคืนเพื่อนำไปใช้
หาเสียงเลือกตั้งครั้งต่อไปหรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 50.2
2 ไม่เชื่อว่ามี 38.9
3 ไม่มีความเห็น 10.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจ / ไม่พอใจต่อการทำงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรี
ชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความพอใจ / ไม่พอใจ ของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ
1 พอใจ 53.7
2 ไม่พอใจ 38.2
3 ไม่มีความเห็น 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนามเรื่อง "สำรวจประเด็นสำคัญทางการเมืองในทรรศนะของประชาชน" ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,426 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน -3 กรกฎาคม 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามพฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการเมืองของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.8 ระบุติดตามข่าวสารบ้างเป็นบางครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 39.7ระบุติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกวัน และร้อยละ 7.5 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงปัญหาสำคัญทางการเมืองที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของ รัฐบาล ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 62.4 ระบุปัญหาคอรัปชั่นโดยกลุ่มนักการเมืองและผลประโยชน์ซับซ้อน รองลงมาคือร้อยละ 57.3 ระบุความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 56.9 ระบุรัฐบาลไม่สามารถทำตามนโยบายบางอย่างที่ประกาศไว้ได้ ร้อยละ 50.9 ระบุ การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา อาทิ การปราบปรามกลุ่ม เยาวชนในภาคใต้ /การฆ่าตัดตอนต่างๆ และร้อยละ 47.2 ระบุปัญหาสำคัญทางการเมืองที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลคือ คดีสังหาร/อุ้มฆ่ากลุ่มแกนนำที่ทำงานเพื่อสังคม ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 56.8 ระบุ การทุ่มเททำงานหนักของนายกรัฐมนตรี คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล รองลงมาคือร้อยละ 54.7 ระบุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลคือ โครงการเอื้ออาทรต่างๆ ร้อยละ 50.2 ระบุนโยบายของรัฐด้านการปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 43.3 ระบุการลงพื้นที่แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และร้อยละ 41.3 ระบุความทันสมัยในการพัฒนาประเทศด้วยระบบเทคโนโลยี
นอกจากนี้ตัวอย่างได้ระบุความคิดเห็นกรณีการรับรู้ต่อข่าวดีและข่าวไม่ดีของรัฐบาลซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.8 ระบุรับรู้ข่าวที่ไม่ดีต่อผลงานของรัฐบาล ร้อยละ 32.4 ระบุรับรู้ข่าวดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 23.7 ไม่มีความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ ประเภทของผลประโยชน์ที่ตัวอย่างเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาล ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 54.3 ระบุงบประมาณลงทุนโครงการขนาดใหญ่ อาทิสนามบิน ถนน สะพาน คือ ผลประโยชน์ที่ตัวอย่างเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาล รองลงมาคือร้อยละ50.7 ระบุการซื้อขายหุ้นกิจการสาธารณูปโภค อาทิ การไฟฟ้า น้ำประปา ร้อยละ 36.5 ระบุผลประโยชน์ในตลาดหลักทรัพย์ และร้อยละ 32.8 ระบุ ผลประโยชน์ในสถานีโทรทัศน์ ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความเชื่อของตัวอย่างต่อกรณีการถอนทุนคืนเพื่อนำไปใช้หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.2 ระบุเชื่อว่ามีการถอนทุนคืน ในขณะที่ร้อยละ 38.9 ระบุไม่เชื่อว่ามีการถอนทุนคืน และร้อยละ 10.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้คือความพึงพอใจของตัวอย่างต่อการทำงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันภายใต้ การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.7 ระบุมีความพอใจต่อการทำงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 38.2 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 8.1 ไม่มีความคิดเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ที่มาของโครงการ
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ข่าวสารที่ปรากฏผ่านทางสื่อมวลชนแสดงให้เห็นว่า มีประเด็นสำคัญทางสังคม และการเมืองของประเทศเกิดขึ้นหลากหลาย และอยู่ในความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เช่น ปัญหาของสถานี โทรทัศน์ช่อง 5 และช่อง 11 ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหายาเสพติดที่กลับมาแพร่ระบาด ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนักวิชาการ และปัญหาอื่นๆ เป็นต้น
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้เชื่อมโยงไปยังภาพลักษณ์ของรัฐบาลและส่งผลกระทบในทางลบต่อความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นปัญหาสำคัญทางการเมือง
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจประเด็นสำคัญทางการเมืองในทรรศนะของประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในระดับครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,426 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 54.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 23.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
และร้อยละ 13.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.2 ประกอบอาชีพค้าขาย / อิสระ
ร้อยละ 20.7 ระบุอาชีพเกษตรกร /รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.6 ระบุอาชีพแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 17.3 ระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.7 ระบุอาชีพข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.5 ระบุเป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 4.0 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการเมือง
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการเมือง ร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำทุกวัน 39.7
2 ติดตามบ้าง 52.8
3 ไม่ได้ติดตามเลย 7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาสำคัญทางการเมืองที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญทางการเมืองที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ร้อยละ
1 ปัญหาคอรัปชั่นโดยกลุ่มนักการเมืองและผลประโยชน์ซับซ้อน 62.4
2 ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ 57.3
3 ไม่สามารถทำตามนโยบายบางอย่างที่ประกาศไว้ได้ 56.9
4 การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา อาทิ การปราบปราม
กลุ่มเยาวชนในภาคใต้ และการฆ่าตัดตอนปัญหาต่างๆ 50.9
5 คดีสังหาร / อุ้มฆ่ากลุ่มแกนนำที่ทำงานเพื่อสังคม 47.2
6 ความไม่จริงใจของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความเดือดร้อน
ของประชาชน 45.0
7 ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาความยากจนและเศรษฐกิจ 42.1
8 การละเมิดสิทธิเสรีภาพ และการแทรกแซงการทำงาน
ของสื่อมวลชน 40.8
9 การตอบโต้ระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนักวิชาการ 33.9
10 อื่นๆ อาทิ การใช้เงินซื้อตัว ส.ส. / ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
/การซื้อเสียง เป็นต้น 21.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ร้อยละ
1 การทุ่มเททำงานหนักของนายกรัฐมนตรี 56.8
2 โครงการเอื้ออาทรของรัฐบาล 54.7
3 นโยบายของรัฐบาลด้านการปราบปรามยาเสพติด 50.2
4 การลงพื้นที่แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 43.3
5 ความทันสมัยในการพัฒนาประเทศด้วยระบบเทคโนโลยี 41.3
6 นโยบายแก้ปัญหาความยากจนและเศรษฐกิจ 40.1
7 ความรวดเร็วในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 36.2
8 การให้ความเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติในการขจัด
ความเดือดร้อนของประชาชนทุกชนชั้น 33.0
9 นโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพล 21.1
10 อื่นๆ อาทิ การทุ่มเทงบประมาณพัฒนาประเทศ ความสามัคคี
ภายในรัฐบาล เป็นต้น 13.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ต่อข่าวดีและข่าวไม่ดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล
ลำดับที่ การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ
1 รับรู้ข่าวดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล 32.4
2 รับรู้ข่าวที่ไม่ดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล 43.8
3 ไม่มีความเห็น 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลประโยชน์ที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของผลประโยชน์ที่กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาล ร้อยละ
1 งบประมาณลงทุนโครงการขนาดใหญ่ อาทิ สนามบิน ถนน สะพาน 54.3
2 การซื้อขายหุ้นกิจการสาธารณูปโภค อาทิ การไฟฟ้า น้ำประปา 50.7
3 ผลประโยชน์ในตลาดหลักทรัพย์ 36.5
4 ผลประโยชน์ในสถานีโทรทัศน์ 32.8
5 การก่อสร้างโรงไฟฟ้า และพลังงานด้านต่างๆ 31.7
6 อื่นๆ อาทิ การใช้งบประมาณในนโยบายของรัฐ การโยกย้ายตำแหน่ง
สำคัญของข้าราชการ 17.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า เชื่อหรือไม่ว่ามีการถอนทุนคืนเพื่อนำไปใช้
หาเสียงเลือกตั้งครั้งต่อไปหรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 50.2
2 ไม่เชื่อว่ามี 38.9
3 ไม่มีความเห็น 10.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจ / ไม่พอใจต่อการทำงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรี
ชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความพอใจ / ไม่พอใจ ของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ
1 พอใจ 53.7
2 ไม่พอใจ 38.2
3 ไม่มีความเห็น 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนามเรื่อง "สำรวจประเด็นสำคัญทางการเมืองในทรรศนะของประชาชน" ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,426 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน -3 กรกฎาคม 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามพฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการเมืองของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.8 ระบุติดตามข่าวสารบ้างเป็นบางครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 39.7ระบุติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกวัน และร้อยละ 7.5 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงปัญหาสำคัญทางการเมืองที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของ รัฐบาล ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 62.4 ระบุปัญหาคอรัปชั่นโดยกลุ่มนักการเมืองและผลประโยชน์ซับซ้อน รองลงมาคือร้อยละ 57.3 ระบุความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 56.9 ระบุรัฐบาลไม่สามารถทำตามนโยบายบางอย่างที่ประกาศไว้ได้ ร้อยละ 50.9 ระบุ การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา อาทิ การปราบปรามกลุ่ม เยาวชนในภาคใต้ /การฆ่าตัดตอนต่างๆ และร้อยละ 47.2 ระบุปัญหาสำคัญทางการเมืองที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลคือ คดีสังหาร/อุ้มฆ่ากลุ่มแกนนำที่ทำงานเพื่อสังคม ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 56.8 ระบุ การทุ่มเททำงานหนักของนายกรัฐมนตรี คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล รองลงมาคือร้อยละ 54.7 ระบุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลคือ โครงการเอื้ออาทรต่างๆ ร้อยละ 50.2 ระบุนโยบายของรัฐด้านการปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 43.3 ระบุการลงพื้นที่แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และร้อยละ 41.3 ระบุความทันสมัยในการพัฒนาประเทศด้วยระบบเทคโนโลยี
นอกจากนี้ตัวอย่างได้ระบุความคิดเห็นกรณีการรับรู้ต่อข่าวดีและข่าวไม่ดีของรัฐบาลซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.8 ระบุรับรู้ข่าวที่ไม่ดีต่อผลงานของรัฐบาล ร้อยละ 32.4 ระบุรับรู้ข่าวดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 23.7 ไม่มีความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ ประเภทของผลประโยชน์ที่ตัวอย่างเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาล ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 54.3 ระบุงบประมาณลงทุนโครงการขนาดใหญ่ อาทิสนามบิน ถนน สะพาน คือ ผลประโยชน์ที่ตัวอย่างเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาล รองลงมาคือร้อยละ50.7 ระบุการซื้อขายหุ้นกิจการสาธารณูปโภค อาทิ การไฟฟ้า น้ำประปา ร้อยละ 36.5 ระบุผลประโยชน์ในตลาดหลักทรัพย์ และร้อยละ 32.8 ระบุ ผลประโยชน์ในสถานีโทรทัศน์ ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความเชื่อของตัวอย่างต่อกรณีการถอนทุนคืนเพื่อนำไปใช้หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.2 ระบุเชื่อว่ามีการถอนทุนคืน ในขณะที่ร้อยละ 38.9 ระบุไม่เชื่อว่ามีการถอนทุนคืน และร้อยละ 10.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้คือความพึงพอใจของตัวอย่างต่อการทำงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันภายใต้ การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.7 ระบุมีความพอใจต่อการทำงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 38.2 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 8.1 ไม่มีความคิดเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-