ที่มาของโครงการ
เหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น การตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ของประชาชนคนกรุงเทพมหานครก็จะเกิดขึ้นในวันที่ 29 สิงหาคมนี้ คนกรุงเทพมหานครจะเลือกใครมาบริหารราชการเพื่อแก้ปัญหาที่สะสมมา ยาวนาน ทั้งปัญหาจราจร ปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมของชุมชน และปัญหาคุณภาพชีวิตต่างๆ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงดำเนินโครงการวิจัยเพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครต่อคุณสมบัติของผู้สมัครผู้ว่า กทม. ในอุดมคติ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยในการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ปัจจัยต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่า กทม. : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในระดับครัวเรือน
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,218 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 27 เขต ได้แก่ ดุสิต บางรัก บางเขน ยานนาวา จตุจักร ราชเทวี ดอนเมือง ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท ประเวศ วัฒนา หนองจอก มีนบุรี ดินแดง คลองเตย ลาดพร้าว ลาดกระบัง สะพานสูง ภาษีเจริญ ราษฏร์บูรณะ บางกอกใหญ่ ธนบุรี จอมทอง ทวีวัฒนา ทุ่งครุ ตลิ่งชัน และ บางบอน
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 20.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 25.7 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
และร้อยละ 10.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.9 ประกอบอาชีพค้าขาย / อิสระ
ร้อยละ 19.6 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 22.8 ระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 ระบุอาชีพแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 2.4 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจข่าวเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความสนใจข่าวเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 สนใจ 48.2
2 ไม่ค่อยสนใจ 44.4
3 ไม่สนใจเลย 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เรื่องที่คนกรุงเทพมหานครยังไม่พอใจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่คนกรุงเทพมหานครยังไม่พอใจ ร้อยละ
1 จราจรติดขัด 74.3
2 มลพิษอากาศ และสิ่งแวดล้อม 69.8
3 แหล่งเสื่อมโทรม ชุมชนแออัด 57.2
4 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 51.6
5 สุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ 50.8
6 การแพร่ระบาดของยาเสพติด 47.1
7 ปัญหาอาชญากรรม 44.5
8 การบริการของหน่วยงานราชการ 39.2
9 พฤติกรรมคอรัปชั่นรีดไถของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 36.0
10 อื่นๆ เด็กเร่ร่อน แรงงานต่างด้าว การศึกษา
การส่งเสริมอาชีพ ศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ เป็นต้น 24.1
ตารางที่ 3 แสดงการจัด 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ร้อยละ
1 ผลงานที่ผ่านมาน่าประทับใจ 77.9
2 ภาพลักษณ์ซื่อสัตย์ ไม่โกงกิน 72.8
3 ทุ่มเททำงานหนักตลอดเวลา 70.3
4 ลงพื้นที่เข้าถึงปัญหา แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ 66.4
5 บุคคลแวดล้อมไม่เป็นพิษต่อสังคม 59.1
6 มีชื่อเสียงดี เป็นที่รู้จัก บุคลิกภาพน่าเลื่อมใสศรัทธา 54.0
7 การศึกษาดี มีวิสัยทัศน์ 46.2
8 ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองระดับชาติขนาดใหญ่เช่น
พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น 43.2
9 ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้ดี 32.8
10 อื่นๆ เช่น เคยบริหารงานราชการกรุงเทพมหานครมาก่อน
เคยเป็น ส.ส. มาก่อน เคยประสบความสำเร็จในชีวิตมาก่อน
เป็นต้น 8.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นหรือไม่จำเป็น ที่ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ต้องมีความสัมพันธ์
ที่ดีกับรัฐบาลในการทำงานแก้ปัญหา กทม.
ลำดับที่ ทรรศนะของตัวอย่าง ร้อยละ
1 จำเป็น เพราะ ปัญหา กทม เป็นปัญหาระดับชาติ ปัญหา กทม.
ต้องอาศัยงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล ต้องอาศัยความร่วมมือ
แก้ปัญหากับหน่วยราชการอื่นๆ ที่ไม่สังกัด กทม 45.5
2 ไม่จำเป็น 31.6
3 ไม่มีความเห็น 22.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีผลต่อการตัดสินใจ
ของคนกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่ตัวอย่างระบุมีผลต่อการตัดสินใจ ร้อยละ
ของคนกรุงเทพฯ ในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 53.8
2 ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 49.3
3 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 44.6
4 สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต 39.9
5 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ 32.2
6 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง 30.7
7 ไม่มีใครมีผลสำคัญต่อการตัดสินใจ 37.2
8 ไม่มีความเห็น 6.4
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกสับสนกับท่าทีของพรรคไทยรักไทยในการสนับสนุน
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม.
ลำดับที่ ความรู้สึกสับสนของตัวอย่าง ในการสนับสนุนผู้สมัคร ร้อยละ
1 สับสน 48.9
2 ไม่สับสน 36.5
3 ไม่มีความเห็น 14. 6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า ผู้สมัครประเภทใดที่มีความพร้อม
ในการทำงานแก้ปัญหาของกรุงเทพมหานครได้ดีที่สุด
ลำดับที่ ประเภทของผู้สมัคร ร้อยละ
1 ผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ทั้งจากรัฐบาล ฝ่ายค้าน
หน่วยงานราชการต่างๆ และประชาชน 47.9
2 ผู้สมัครแบบอิสระไม่สังกัดพรรค 25.9
3 ผู้สมัครแบบสังกัดพรรค 16.6
4 ไม่มีความเห็น 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า ตัดสินใจได้แล้วหรือไม่ว่าตั้งใจจะเลือกใครเป็น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การตัดสินใจของตัวอย่าง ร้อยละ
1 ตัดสินใจได้แล้ว 23.7
2 ยังไม่ตัดสินใจ 63.1
3 ไม่มีความเห็น 13.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า กทม. และ กกต. มีวิธีการประชาสัมพันธ์
ที่น่าสนใจให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วหรือไม่
ลำดับที่ วิธีการประชาสัมพันธ์ของ กทม. และ กกต. ร้อยละ
1 มีวิธีการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจแล้ว 8.7
2 ยังไม่มีอะไรน่าสนใจ 61.8
3 ไม่มีความเห็น 29.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ แถลงผลสำรวจ ภาคสนามเรื่อง "ปัจจัยต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่า กทม." ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,218 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 48.2 สนใจข่าวเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 44.4 ไม่ค่อยสนใจ และร้อยละ 7.4 ไม่สนใจเลย
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.3 ยังไม่พอใจเรื่องการแก้ปัญหาจราจร รองลงมาคือ ร้อยละ 69.8 ไม่พอใจเรื่องมลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 57.2 ไม่พอใจเรื่องแหล่งเสื่อมโทรม ชุมชนแออัด ร้อยละ 51.6 ไม่พอใจเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 50.8 ไม่พอใจเรื่อง สุขภาพทั้งทางกายและใจ ร้อยละ 47.1 ไม่พอใจเรื่องการแพร่ระบาดของยาเสพติด ร้อยละ 44.5 ไม่พอใจเรื่องปัญหาอาชญากรรม ร้อยละ39.2 ไม่พอใจเรื่องการให้บริการของหน่วยงานราชการ ร้อยละ 36.0 ไม่พอใจเรื่อง พฤติกรรมคอรัปชั่น รีดไถของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และร้อยละ 24.1 ระบุอื่นๆ อาทิ เด็กเร่ร่อน แรงงานต่างด้าว การศึกษา การส่งเสริมอาชีพ ศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ เป็นต้น
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ซึ่งผลสำรวจ 10 อันดับค่า ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ได้แก่ อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 77.9 ระบุเป็น ผลงานที่ ผ่านมาน่าประทับใจ รองลงมาคือร้อยละ 72.8 ระบุภาพลักษณ์ซื่อสัตย์ ไม่โกงกิน ร้อยละ 70.3 ระบุ ทุ่มเททำงานหนักตลอดเวลา ร้อยละ 66.4 ลงพื้นที่เข้าถึงปัญหา แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ ร้อยละ 59.1 บุคคลแวดล้อมไม่เป็นพิษต่อสังคม ร้อยละ 54.0 มีชื่อเสียงดีเป็นที่รู้จัก บุคลิกน่าเลื่อมใสศรัทธา ร้อยละ 46.2 การศึกษาดี มีวิสัยทัศน์ ร้อยละ 43.2 ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองระดับชาติขนาดใหญ่เช่นพรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น ร้อยละ 32.8 ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้ดี และร้อยละ 8.9 ระบุอื่นๆ เช่น เคยบริหารงานราชการกรุงเทพมหานครมาก่อน เคยเป็น สส มาก่อน เป็นต้น
นอกจากนี้ ประชาชนคนกรุงเทพมหานครจำนวนมากหรือร้อยละ 45.5 เห็นว่าจำเป็นที่ผู้สมัครต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลในการทำงานแก้ปัญหากรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 31.6 เห็นว่าไม่จำเป็น และร้อยละ 22.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีผลต่อการตัดสินใจของคนกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 53.8 ระบุเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้มีผลต่อการตัดสินใจของคนกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองลงมาคือร้อยละ 49.3 ระบุ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 44.6 ระบุนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 39.9 ระบุสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต ร้อยละ 32.2 ระบุสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ ร้อยละ 30.7 ระบุ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในขณะที่ร้อยละ 37.2 ระบุไม่มีใครมีผลสำคัญต่อการตัดสินใจ และร้อยละ 6.4 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ พบว่า ร้อยละ 48.9 รู้สึกสับสนกับท่าทีของพรรคไทยรักไทยใน การสนับสนุนผู้สมัคร ในขณะที่ร้อยละ 36.5 ไม่รู้สึกสับสน และร้อยละ 14.6 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนร้อยละ 47.9 ระบุว่าผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายทั้งจากรัฐบาล ฝ่ายค้าน หน่วยงานราชการต่างๆ และประชาชนจะมีความพร้อมในการทำงานแก้ปัญหาของกรุงเทพมหานครได้ดีที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 25.9 ระบุเป็นผู้สมัครแบบอิสระไม่สังกัดพรรค และร้อยละ 16.6 ระบุเป็นผู้สมัครแบบสังกัดพรรค และร้อยละ 9.6 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใครเป็นผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 23.7 ตัดสินใจได้แล้ว และร้อยละ 13.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.8 ระบุ กทม. และ กกต. ยังไม่มีวิธีการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 8.7 ระบุมีวิธีการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจแล้ว และร้อยละ 29.5 ไม่มีความเห็น
เอแบคโพลล์ส่งทีมวิจัยไป "มิชิแกน" เพื่อศึกษาทำโพลล์เลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า เอแบคโพลล์ได้ส่งทีมนักวิจัยไปศึกษาด้านการทำโพลล์เลือกตั้งและงานวิจัยเชิงสำรวจที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับหนึ่งในสิบของสหรัฐอเมริกา โดยได้มีโอกาสพบกับ มร.จิม คลิฟตัน ประธานซีอีโอของ "กัลลัพโพลล์" ที่เป็นสถาบันทำโพลล์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพื่อแลกเปลี่ยนสนทนาการทำโพลล์ที่ถูกต้องเที่ยงตรง น่าเชื่อถือ
ทีมวิจัยเอแบคโพลล์ได้ศึกษาทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา เพื่อ นำความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การเลือกตั้ง ส.ส. การเลือกตั้ง ส.ว. และการเลือกตั้งอื่นๆ ที่จะมีขึ้นในประเทศไทย โดยจะนำเสนอผลสำรวจทันทีหลังปิดหีบเลือกตั้ง เพื่อไม่ให้มีผลชี้นำต่อการตัดสินใจของประชาชนในวันเลือกตั้ง
ผลที่ได้รับจากการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกนนี้ จะสามารถพัฒนาการทำโพลล์ในประเทศไทยให้มีความถูกต้องเที่ยงตรง แม่นยำและน่าเชื่อถือได้มาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น การตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ของประชาชนคนกรุงเทพมหานครก็จะเกิดขึ้นในวันที่ 29 สิงหาคมนี้ คนกรุงเทพมหานครจะเลือกใครมาบริหารราชการเพื่อแก้ปัญหาที่สะสมมา ยาวนาน ทั้งปัญหาจราจร ปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมของชุมชน และปัญหาคุณภาพชีวิตต่างๆ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงดำเนินโครงการวิจัยเพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครต่อคุณสมบัติของผู้สมัครผู้ว่า กทม. ในอุดมคติ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยในการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ปัจจัยต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่า กทม. : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในระดับครัวเรือน
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,218 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 27 เขต ได้แก่ ดุสิต บางรัก บางเขน ยานนาวา จตุจักร ราชเทวี ดอนเมือง ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท ประเวศ วัฒนา หนองจอก มีนบุรี ดินแดง คลองเตย ลาดพร้าว ลาดกระบัง สะพานสูง ภาษีเจริญ ราษฏร์บูรณะ บางกอกใหญ่ ธนบุรี จอมทอง ทวีวัฒนา ทุ่งครุ ตลิ่งชัน และ บางบอน
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 20.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 25.7 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
และร้อยละ 10.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.9 ประกอบอาชีพค้าขาย / อิสระ
ร้อยละ 19.6 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 22.8 ระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 ระบุอาชีพแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 2.4 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจข่าวเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความสนใจข่าวเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 สนใจ 48.2
2 ไม่ค่อยสนใจ 44.4
3 ไม่สนใจเลย 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เรื่องที่คนกรุงเทพมหานครยังไม่พอใจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่คนกรุงเทพมหานครยังไม่พอใจ ร้อยละ
1 จราจรติดขัด 74.3
2 มลพิษอากาศ และสิ่งแวดล้อม 69.8
3 แหล่งเสื่อมโทรม ชุมชนแออัด 57.2
4 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 51.6
5 สุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ 50.8
6 การแพร่ระบาดของยาเสพติด 47.1
7 ปัญหาอาชญากรรม 44.5
8 การบริการของหน่วยงานราชการ 39.2
9 พฤติกรรมคอรัปชั่นรีดไถของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 36.0
10 อื่นๆ เด็กเร่ร่อน แรงงานต่างด้าว การศึกษา
การส่งเสริมอาชีพ ศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ เป็นต้น 24.1
ตารางที่ 3 แสดงการจัด 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ร้อยละ
1 ผลงานที่ผ่านมาน่าประทับใจ 77.9
2 ภาพลักษณ์ซื่อสัตย์ ไม่โกงกิน 72.8
3 ทุ่มเททำงานหนักตลอดเวลา 70.3
4 ลงพื้นที่เข้าถึงปัญหา แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ 66.4
5 บุคคลแวดล้อมไม่เป็นพิษต่อสังคม 59.1
6 มีชื่อเสียงดี เป็นที่รู้จัก บุคลิกภาพน่าเลื่อมใสศรัทธา 54.0
7 การศึกษาดี มีวิสัยทัศน์ 46.2
8 ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองระดับชาติขนาดใหญ่เช่น
พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น 43.2
9 ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้ดี 32.8
10 อื่นๆ เช่น เคยบริหารงานราชการกรุงเทพมหานครมาก่อน
เคยเป็น ส.ส. มาก่อน เคยประสบความสำเร็จในชีวิตมาก่อน
เป็นต้น 8.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นหรือไม่จำเป็น ที่ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ต้องมีความสัมพันธ์
ที่ดีกับรัฐบาลในการทำงานแก้ปัญหา กทม.
ลำดับที่ ทรรศนะของตัวอย่าง ร้อยละ
1 จำเป็น เพราะ ปัญหา กทม เป็นปัญหาระดับชาติ ปัญหา กทม.
ต้องอาศัยงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล ต้องอาศัยความร่วมมือ
แก้ปัญหากับหน่วยราชการอื่นๆ ที่ไม่สังกัด กทม 45.5
2 ไม่จำเป็น 31.6
3 ไม่มีความเห็น 22.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีผลต่อการตัดสินใจ
ของคนกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่ตัวอย่างระบุมีผลต่อการตัดสินใจ ร้อยละ
ของคนกรุงเทพฯ ในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 53.8
2 ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 49.3
3 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 44.6
4 สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต 39.9
5 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ 32.2
6 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง 30.7
7 ไม่มีใครมีผลสำคัญต่อการตัดสินใจ 37.2
8 ไม่มีความเห็น 6.4
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกสับสนกับท่าทีของพรรคไทยรักไทยในการสนับสนุน
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม.
ลำดับที่ ความรู้สึกสับสนของตัวอย่าง ในการสนับสนุนผู้สมัคร ร้อยละ
1 สับสน 48.9
2 ไม่สับสน 36.5
3 ไม่มีความเห็น 14. 6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า ผู้สมัครประเภทใดที่มีความพร้อม
ในการทำงานแก้ปัญหาของกรุงเทพมหานครได้ดีที่สุด
ลำดับที่ ประเภทของผู้สมัคร ร้อยละ
1 ผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ทั้งจากรัฐบาล ฝ่ายค้าน
หน่วยงานราชการต่างๆ และประชาชน 47.9
2 ผู้สมัครแบบอิสระไม่สังกัดพรรค 25.9
3 ผู้สมัครแบบสังกัดพรรค 16.6
4 ไม่มีความเห็น 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า ตัดสินใจได้แล้วหรือไม่ว่าตั้งใจจะเลือกใครเป็น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การตัดสินใจของตัวอย่าง ร้อยละ
1 ตัดสินใจได้แล้ว 23.7
2 ยังไม่ตัดสินใจ 63.1
3 ไม่มีความเห็น 13.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า กทม. และ กกต. มีวิธีการประชาสัมพันธ์
ที่น่าสนใจให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วหรือไม่
ลำดับที่ วิธีการประชาสัมพันธ์ของ กทม. และ กกต. ร้อยละ
1 มีวิธีการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจแล้ว 8.7
2 ยังไม่มีอะไรน่าสนใจ 61.8
3 ไม่มีความเห็น 29.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ แถลงผลสำรวจ ภาคสนามเรื่อง "ปัจจัยต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่า กทม." ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,218 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 48.2 สนใจข่าวเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 44.4 ไม่ค่อยสนใจ และร้อยละ 7.4 ไม่สนใจเลย
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.3 ยังไม่พอใจเรื่องการแก้ปัญหาจราจร รองลงมาคือ ร้อยละ 69.8 ไม่พอใจเรื่องมลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 57.2 ไม่พอใจเรื่องแหล่งเสื่อมโทรม ชุมชนแออัด ร้อยละ 51.6 ไม่พอใจเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 50.8 ไม่พอใจเรื่อง สุขภาพทั้งทางกายและใจ ร้อยละ 47.1 ไม่พอใจเรื่องการแพร่ระบาดของยาเสพติด ร้อยละ 44.5 ไม่พอใจเรื่องปัญหาอาชญากรรม ร้อยละ39.2 ไม่พอใจเรื่องการให้บริการของหน่วยงานราชการ ร้อยละ 36.0 ไม่พอใจเรื่อง พฤติกรรมคอรัปชั่น รีดไถของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และร้อยละ 24.1 ระบุอื่นๆ อาทิ เด็กเร่ร่อน แรงงานต่างด้าว การศึกษา การส่งเสริมอาชีพ ศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ เป็นต้น
เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ซึ่งผลสำรวจ 10 อันดับค่า ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ได้แก่ อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 77.9 ระบุเป็น ผลงานที่ ผ่านมาน่าประทับใจ รองลงมาคือร้อยละ 72.8 ระบุภาพลักษณ์ซื่อสัตย์ ไม่โกงกิน ร้อยละ 70.3 ระบุ ทุ่มเททำงานหนักตลอดเวลา ร้อยละ 66.4 ลงพื้นที่เข้าถึงปัญหา แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ ร้อยละ 59.1 บุคคลแวดล้อมไม่เป็นพิษต่อสังคม ร้อยละ 54.0 มีชื่อเสียงดีเป็นที่รู้จัก บุคลิกน่าเลื่อมใสศรัทธา ร้อยละ 46.2 การศึกษาดี มีวิสัยทัศน์ ร้อยละ 43.2 ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองระดับชาติขนาดใหญ่เช่นพรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น ร้อยละ 32.8 ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้ดี และร้อยละ 8.9 ระบุอื่นๆ เช่น เคยบริหารงานราชการกรุงเทพมหานครมาก่อน เคยเป็น สส มาก่อน เป็นต้น
นอกจากนี้ ประชาชนคนกรุงเทพมหานครจำนวนมากหรือร้อยละ 45.5 เห็นว่าจำเป็นที่ผู้สมัครต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลในการทำงานแก้ปัญหากรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 31.6 เห็นว่าไม่จำเป็น และร้อยละ 22.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีผลต่อการตัดสินใจของคนกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 53.8 ระบุเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้มีผลต่อการตัดสินใจของคนกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองลงมาคือร้อยละ 49.3 ระบุ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 44.6 ระบุนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 39.9 ระบุสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต ร้อยละ 32.2 ระบุสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ ร้อยละ 30.7 ระบุ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในขณะที่ร้อยละ 37.2 ระบุไม่มีใครมีผลสำคัญต่อการตัดสินใจ และร้อยละ 6.4 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ พบว่า ร้อยละ 48.9 รู้สึกสับสนกับท่าทีของพรรคไทยรักไทยใน การสนับสนุนผู้สมัคร ในขณะที่ร้อยละ 36.5 ไม่รู้สึกสับสน และร้อยละ 14.6 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนร้อยละ 47.9 ระบุว่าผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายทั้งจากรัฐบาล ฝ่ายค้าน หน่วยงานราชการต่างๆ และประชาชนจะมีความพร้อมในการทำงานแก้ปัญหาของกรุงเทพมหานครได้ดีที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 25.9 ระบุเป็นผู้สมัครแบบอิสระไม่สังกัดพรรค และร้อยละ 16.6 ระบุเป็นผู้สมัครแบบสังกัดพรรค และร้อยละ 9.6 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใครเป็นผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 23.7 ตัดสินใจได้แล้ว และร้อยละ 13.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.8 ระบุ กทม. และ กกต. ยังไม่มีวิธีการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 8.7 ระบุมีวิธีการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจแล้ว และร้อยละ 29.5 ไม่มีความเห็น
เอแบคโพลล์ส่งทีมวิจัยไป "มิชิแกน" เพื่อศึกษาทำโพลล์เลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า เอแบคโพลล์ได้ส่งทีมนักวิจัยไปศึกษาด้านการทำโพลล์เลือกตั้งและงานวิจัยเชิงสำรวจที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับหนึ่งในสิบของสหรัฐอเมริกา โดยได้มีโอกาสพบกับ มร.จิม คลิฟตัน ประธานซีอีโอของ "กัลลัพโพลล์" ที่เป็นสถาบันทำโพลล์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพื่อแลกเปลี่ยนสนทนาการทำโพลล์ที่ถูกต้องเที่ยงตรง น่าเชื่อถือ
ทีมวิจัยเอแบคโพลล์ได้ศึกษาทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา เพื่อ นำความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การเลือกตั้ง ส.ส. การเลือกตั้ง ส.ว. และการเลือกตั้งอื่นๆ ที่จะมีขึ้นในประเทศไทย โดยจะนำเสนอผลสำรวจทันทีหลังปิดหีบเลือกตั้ง เพื่อไม่ให้มีผลชี้นำต่อการตัดสินใจของประชาชนในวันเลือกตั้ง
ผลที่ได้รับจากการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกนนี้ จะสามารถพัฒนาการทำโพลล์ในประเทศไทยให้มีความถูกต้องเที่ยงตรง แม่นยำและน่าเชื่อถือได้มาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-