ที่มาของโครงการ
จากกรณีข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจู่โจมบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้าที่เกิดขึ้นนั้น ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความรับผิดชอบและการกระทำที่เกินกว่าเหตุ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจู่โจมบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจู่โจมบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า: กรณีศึกษาประชาชน ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,149 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 54.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 20.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 17.8 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 31.9 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 24.2 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
และร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.1 ประกอบอาชีพค้าขาย / อิสระ
ร้อยละ 17.0 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.3 ระบุอาชีพข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.8 ระบุอาชีพแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.2 ระบุเป็นนักเรียน / นักศึกษา และร้อยละ 1.7 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจู่โจมบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า
ลำดับที่ การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างต่อข่าว ร้อยละ
1 ทราบข่าว 86.7
2 ไม่ทราบข่าว 13.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำ
ที่เกินกว่าเหตุหรือไม่
ลำดับที่ ความเห็นต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ
1 เกินกว่าเหตุ 62.5
2 ไม่เกินกว่าเหตุ 23.8
3 ไม่มีความเห็น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ใครควรได้รับการตำหนิจากเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้น
ลำดับที่ บุคคลที่ควรได้รับการตำหนิ ร้อยละ
1 ทั้งฝ่ายการเมืองและตำรวจ 40.1
2 ฝ่ายการเมือง 14.8
3 ตำรวจ 8.2
4 ไม่มีใครควรได้รับการตำหนิ 22.6
5 ไม่มีความเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ใครควรรับผิดชอบและด้วยวิธีใด
ลำดับที่ ใครควรรับผิดชอบและด้วยวิธีใด ร้อยละ
1 ทั้งฝ่ายการเมืองและตำรวจ ควรรับผิดชอบด้วยการ ชดใช้ค่าเสียหาย /
ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ / ปลอบขวัญเด็กและคนชรา ที่ถูกกระทำ / ลาออกจากตำแหน่ง เป็นต้น 43.9
2 ฝ่ายการเมือง ควรรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย / ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ /
ลาออกจากตำแหน่ง / เปลี่ยนคนทำหน้าที่แทน เป็นต้น 13.0
3 ตำรวจ ควรรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย / ปลอบขวัญเด็กและคนชราที่ถูกกระทำ /
ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ เป็นต้น 7.4
4 ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะมีการยิงต่อสู้เจ้าหน้าที่ และมีพฤติการณ์
ที่เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องทำการจู่โจม 22.0
5 ไม่มีความเห็น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า การกระทำเช่นนี้มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์
ของรัฐบาล หรือไม่
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล 42.3
2 ไม่มีผลกระทบต่อภาพลักาณ์ของรัฐบาล 39.7
3 ไม่มีความเห็น 18.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ในกรณีอื่นๆ ท่านพร้อมให้กำลังใจ
เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติดต่อไปหรือไม่
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติดต่อไป
เพราะ ยาเสพติดกำลังกลับมาแพร่ระบาดมากขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องทำตามหน้าที่
และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นเพียงเฉพาะกรณีนี้เท่านั้น เป็นต้น 80.9
2 ไม่พร้อมให้กำลังใจตำรวจ เพราะตำรวจมักใช้ความรุนแรง /
ตำรวจมักทำตามใบสั่งนักการเมือง เป็นต้น 6.7
3 ไม่มีความเห็น 12.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจู่โจมบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า" ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2547 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น จำนวน 1,149 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 86.7 ระบุรับทราบข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกถล่มบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า ในขณะที่ ร้อยละ 13.3 ระบุไม่ทราบข่าวดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงการกระทำของ เจ้าหน้าที่รัฐในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 62.5 ระบุการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ร้อยละ 23.8 ระบุความคิดว่าไม่เกินกว่าเหตุ และร้อยละ13.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากผลสำรวจในครั้งนี้อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ควมคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีใครควรได้รับการตำหนิจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 40.1 ระบุทั้งฝ่ายการเมืองและ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 14.8 ระบุฝ่ายการเมือง ร้อยละ 8.2 ระบุเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 22.6 ระบุไม่มีใครควรได้รับการตำหนิ และร้อยละ 14.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของเอแบคโพลล์กรณีบุคคลที่ควรรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ ดังกล่าว ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.9 ระบุฝ่ายการเมือง และตำรวจควรรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย /ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ / ปลอบขวัญเด็กและคนชราที่ถูกกระทำ / ลาออกจากตำแหน่ง เป็นต้น ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 13.0 ฝ่ายการเมือง ควรรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย / ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ / ลาออกจากตำแหน่ง / เปลี่ยนคนทำหน้าที่แทน เป็นต้น ร้อยละ 7.4 ฝ่ายตำรวจควรรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย / ปลอบขวัญเด็กและคนชราที่ถูกกระทำ / ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ เป็นต้น ร้อยละ 22.0 ระบุไม่จำเป็นต้องรับ ผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะมีการยิงต่อสู้เจ้าหน้าที่และมีพฤติกรรมที่เจ้าหน้าที่ต้องทำการจู่โจม และร้อยละ 13.7 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 42.3 ระบุเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 39.7 ระบุไม่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์รัฐบาล และร้อยละ 18.0 ไม่ระบุความ คิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 80.9 ระบุพร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจในการ ปราบปรามยาเสพติดต่อไป ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 6.7 เท่านั้นที่ระบุไม่พร้อมให้กำลังใจ โดยให้ เหตุผลว่า ตำรวจมักใช้ความรุนแรง / ตำรวจมักทำตามใบสั่งนักการเมือง เป็นต้น และร้อยละ 12.4 ไม่ระบุความคิดเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จากกรณีข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจู่โจมบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้าที่เกิดขึ้นนั้น ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความรับผิดชอบและการกระทำที่เกินกว่าเหตุ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจู่โจมบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจู่โจมบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า: กรณีศึกษาประชาชน ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,149 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 54.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 20.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 17.8 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 31.9 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 24.2 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
และร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.1 ประกอบอาชีพค้าขาย / อิสระ
ร้อยละ 17.0 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.3 ระบุอาชีพข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.8 ระบุอาชีพแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.2 ระบุเป็นนักเรียน / นักศึกษา และร้อยละ 1.7 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจู่โจมบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า
ลำดับที่ การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างต่อข่าว ร้อยละ
1 ทราบข่าว 86.7
2 ไม่ทราบข่าว 13.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำ
ที่เกินกว่าเหตุหรือไม่
ลำดับที่ ความเห็นต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ
1 เกินกว่าเหตุ 62.5
2 ไม่เกินกว่าเหตุ 23.8
3 ไม่มีความเห็น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ใครควรได้รับการตำหนิจากเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้น
ลำดับที่ บุคคลที่ควรได้รับการตำหนิ ร้อยละ
1 ทั้งฝ่ายการเมืองและตำรวจ 40.1
2 ฝ่ายการเมือง 14.8
3 ตำรวจ 8.2
4 ไม่มีใครควรได้รับการตำหนิ 22.6
5 ไม่มีความเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ใครควรรับผิดชอบและด้วยวิธีใด
ลำดับที่ ใครควรรับผิดชอบและด้วยวิธีใด ร้อยละ
1 ทั้งฝ่ายการเมืองและตำรวจ ควรรับผิดชอบด้วยการ ชดใช้ค่าเสียหาย /
ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ / ปลอบขวัญเด็กและคนชรา ที่ถูกกระทำ / ลาออกจากตำแหน่ง เป็นต้น 43.9
2 ฝ่ายการเมือง ควรรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย / ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ /
ลาออกจากตำแหน่ง / เปลี่ยนคนทำหน้าที่แทน เป็นต้น 13.0
3 ตำรวจ ควรรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย / ปลอบขวัญเด็กและคนชราที่ถูกกระทำ /
ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ เป็นต้น 7.4
4 ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะมีการยิงต่อสู้เจ้าหน้าที่ และมีพฤติการณ์
ที่เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องทำการจู่โจม 22.0
5 ไม่มีความเห็น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า การกระทำเช่นนี้มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์
ของรัฐบาล หรือไม่
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล 42.3
2 ไม่มีผลกระทบต่อภาพลักาณ์ของรัฐบาล 39.7
3 ไม่มีความเห็น 18.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ในกรณีอื่นๆ ท่านพร้อมให้กำลังใจ
เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติดต่อไปหรือไม่
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติดต่อไป
เพราะ ยาเสพติดกำลังกลับมาแพร่ระบาดมากขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องทำตามหน้าที่
และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นเพียงเฉพาะกรณีนี้เท่านั้น เป็นต้น 80.9
2 ไม่พร้อมให้กำลังใจตำรวจ เพราะตำรวจมักใช้ความรุนแรง /
ตำรวจมักทำตามใบสั่งนักการเมือง เป็นต้น 6.7
3 ไม่มีความเห็น 12.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรต่อเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจู่โจมบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า" ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2547 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น จำนวน 1,149 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 86.7 ระบุรับทราบข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกถล่มบ้านผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า ในขณะที่ ร้อยละ 13.3 ระบุไม่ทราบข่าวดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงการกระทำของ เจ้าหน้าที่รัฐในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 62.5 ระบุการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ร้อยละ 23.8 ระบุความคิดว่าไม่เกินกว่าเหตุ และร้อยละ13.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากผลสำรวจในครั้งนี้อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ควมคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีใครควรได้รับการตำหนิจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 40.1 ระบุทั้งฝ่ายการเมืองและ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 14.8 ระบุฝ่ายการเมือง ร้อยละ 8.2 ระบุเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 22.6 ระบุไม่มีใครควรได้รับการตำหนิ และร้อยละ 14.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของเอแบคโพลล์กรณีบุคคลที่ควรรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ ดังกล่าว ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.9 ระบุฝ่ายการเมือง และตำรวจควรรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย /ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ / ปลอบขวัญเด็กและคนชราที่ถูกกระทำ / ลาออกจากตำแหน่ง เป็นต้น ในขณะที่ ตัวอย่างร้อยละ 13.0 ฝ่ายการเมือง ควรรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย / ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ / ลาออกจากตำแหน่ง / เปลี่ยนคนทำหน้าที่แทน เป็นต้น ร้อยละ 7.4 ฝ่ายตำรวจควรรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย / ปลอบขวัญเด็กและคนชราที่ถูกกระทำ / ซ่อมแซมบ้านให้ใหม่ เป็นต้น ร้อยละ 22.0 ระบุไม่จำเป็นต้องรับ ผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะมีการยิงต่อสู้เจ้าหน้าที่และมีพฤติกรรมที่เจ้าหน้าที่ต้องทำการจู่โจม และร้อยละ 13.7 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 42.3 ระบุเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 39.7 ระบุไม่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์รัฐบาล และร้อยละ 18.0 ไม่ระบุความ คิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 80.9 ระบุพร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจในการ ปราบปรามยาเสพติดต่อไป ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 6.7 เท่านั้นที่ระบุไม่พร้อมให้กำลังใจ โดยให้ เหตุผลว่า ตำรวจมักใช้ความรุนแรง / ตำรวจมักทำตามใบสั่งนักการเมือง เป็นต้น และร้อยละ 12.4 ไม่ระบุความคิดเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-