สำรวจการรับรู้ ทัศนคติ ระยะห่างทางสังคมในการยอมรับกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์: กรณีศึกษากลุ่มวัยรุ่นอายุ 12-24 ปี และกลุ่มผู้ปกครองของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
ที่มาของโครงการ
ปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ยังเป็นปัญหาระดับโลกที่ประเทศต่างๆให้ความสนใจ ทั้งนี้เพราะโรคเอดส์มิได้เป็นเพียงปัญหาทางสาธารณสุขซึ่งยังหาตัวยารักษาไม่ได้เท่านั้น หากแต่ยังข้ามพรมแดนไปเป็นปัญหาทางสังคมซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้าง ยิ่งไปกว่านั้นยังกลายเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งของปัจเจกบุคคลและของประเทศอีกด้วย ดังนั้นประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยของเราเอง จึงได้มีความพยายามร่วมกันใน อันที่จะยุติการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวให้ได้ ซึ่งล่าสุดประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพในการประชุมเอดส์โลกนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้ปกครองที่มีต่อประเด็นสำคัญต่างๆเกี่ยวกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับการประชุมเอดส์โลกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
2. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อผู้ป่วยโรคเอดส์
3.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจการรับรู้ ทัศนคติ ระยะห่างทางสังคมในการยอมรับกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์: กรณีศึกษากลุ่มวัยรุ่นอายุ 12-24 ปี และกลุ่มผู้ปกครองของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 10 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี และกลุ่มผู้ปกครองที่มีบุตรในช่วงอายุ 12-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง ให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,047 ตัวอย่างโดยแยกเป็น กลุ่มเยาวชนอายุ 12-24 ปี จำนวน 1,258 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้ปกครองจำนวนทั้งสิ้น 1,789 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเยาวชนอายุ 12-24 ปี พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.3 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 9.8 อายุไม่เกิน 14 ปี
ร้อยละ 42.8 อายุระหว่าง 15-19 ปี
ร้อยละ 47.4 อายุระหว่าง 20-24 ปี
โดย เมื่อพิจารณาสถานภาพทางการศึกษาของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 1.4 ระบุไม่เคยเรียนหนังสือเลย
ร้อยละ 70.9 ระบุกำลังศึกษาอยู่
และร้อยละ 27.7 ระบุสำเร็จการศึกษาแล้ว และไม่ได้ศึกษาต่อ
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มผู้ปกครองวัยรุ่น พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.3 เป็นชาย
ร้อยละ 57.7 เป็นหญิง
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 3.3 ระบุอายุต่ำกว่า 35 ปี
ร้อยละ 47.3 ระบุอายุ 35-44 ปี
และร้อยละ 49.4 ระบุอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 16.4 ระบุอาชีพ แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 9.0 ระบุ อาชีพเกษตรกร
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
และร้อยละ 0.5 ระบุ ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการ
ประชุมเอดส์โลก
ลำดับที่ การรับทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 82.3
2 ยังไม่ทราบข่าว 17.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการที่ประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการประชุมเอดส์โลก
ในครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการประชุมเอดส์โลกในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ได้ทราบสถานการณ์ปัจจุบันของการแพร่ระบาดโรคเอดส์จากทั่วโลก 45.8
2 รู้จักวิธีป้องกัน /การปฏิบัติตัวไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ 28.6
3 ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาโรคเอดส์ที่ทันสมัย /
เทคนิคการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น /การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี 23.4
4 ทำให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงทำให้ต่างประเทศรู้จักประเทศไทยมากขึ้น 17.5
5 ทำให้มีการประชาสัมพันธ์ดีขึ้น/มีการรณรงค์เรื่องโรคเอดส์มากขึ้น 13.8
6 อื่นๆ อาทิ ทำให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ /การอยู่ร่วมสังคม
กับผู้ป่วยโรคเอดส์ /ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากต่างประเทศ 4.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมสังคม
กับผู้ป่วยโรคเอดส์
ลำดับที่ ระบุการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมสังคม กับผู้ป่วยโรคเอดส์ ค่าร้อยละ
1 มีความรู้เพียงพอแล้ว 42.6
2 ยังไม่มีความรู้เพียงพอ 50.4
3 ไม่มีความเห็น 7.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์ให้ประชาชนรับรู้รับทราบ
ลำดับที่ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์โดยรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เพียงพอแล้ว 34.0
2 ยังไม่เพียงพอ 59.5
3 ไม่มีความเห็น 6.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ที่ต้องการทราบ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความอยากทราบข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ ค่าร้อยละ
1 ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการรักษาโรคเอดส์ 68.1
2 วิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ 53.8
3 สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคเอดส์ 53.3
4 วิธีการป้องกันโรคเอดส์ 49.1
5 วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์ 48.1
6 ลักษณะอาการของโรคเอดส์ 47.2
7 ปัญหาการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเอดส์ 45.2
8 ทัศนคติของสังคมต่อผู้ป่วยเอดส์ 41.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทย
ลำดับที่ ความกังวลของตัวอย่างต่อการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 กังวล 51.4
2 ไม่กังวล 40.5
3 ไม่มีความเห็น 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ทำกิจกรรมต่างๆ ในสังคม
ลำดับที่ กิจกรรมต่างๆ ในสังคมที่เปิดกว้างกับผู้ป่วยเอดส์ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 ร่วมชมภาพยนตร์และคอนเสิร์ต 78.6 4.7 16.7
2 ร่วมใช้บริการสายการบิน 63.1 7.2 29.7
3 ร่วมใช้บริการโรงแรมที่พัก 80.9 5.3 13.8
4 ร่วมใช้บริการรถประจำทาง 62.4 9.5 28.1
5 ร่วมใช้บริการร้านตัดผมและเสริมสวย 61.4 14.8 23.8
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับการยอมรับกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ระดับการยอมรับของกลุ่มตัวอย่างต่อกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ ค่าร้อยละ
1 ยอมรับในการพักอาศัยในชุมชนเดียวกัน 74.8
2 ยอมรับในการทำงานร่วมกัน 60.2
3 ยอมรับในการพักอาศัยบ้านเดียวกัน 54.9
4 ยอมรับในการหลับนอนในห้องเดียวกัน 34.2
5 ยอมรับในการร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน 21.5
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีญาติหรือเพื่อนสนิทที่ป่วยเป็นเอดส์
ลำดับที่ มีญาติหรือเพื่อนสนิทที่ป่วยเป็นเอดส์ กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ กลุ่มผู้ปกครองค่าร้อยละ
1 มี 3.9 11.6
2 ไม่มี 86.6 84.0
3 ไม่ตอบ / ไม่ทราบ 9.5 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของเฉพาะตัวอย่างที่มีญาติหรือเพื่อนสนิทที่ติดโรคเอดส์ระบุ ความรู้สึกว่าผู้ป่วยติด
เชื้อเอดส์ถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม
ลำดับที่ ความรู้สึกของตัวอย่างว่าญาติหรือเพื่อนสนิทที่ติดโรคเอดส์ กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ กลุ่มผู้ปกครองค่าร้อยละ
ถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม
1 รู้สึกถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม 53.9 58.1
2 ไม่รู้สึกถูกเลือกปฏิบัติ 46.1 41.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างวัยรุ่นที่ระบุ ประสบการณ์เคยมีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ ประสบการณ์ของตัวอย่างในการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ
1 เคยมี 32.2
2 ไม่เคยมี 67.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของเฉพาะตัวอย่างที่เคยมีเพศสัมพันธ์ระบุ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในระหว่าง
มีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ กลุ่มผู้ปกครองค่าร้อยละ
1 ใช้ทุกครั้ง 16.9 38.9
2 ใช้บางครั้ง 34.8 41.2
3 ไม่เคยใช้เลย 48.3 19.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของเฉพาะตัวอย่างวัยรุ่นที่เคยมีเพศสัมพันธ์ระบุ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยใน
ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ จำแนกตามจังหวัดที่ศึกษา
ลำดับที่ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย กทม. เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา
1 ใช้ทุกครั้ง 14.5 28.9 27.1 27.3
2 ใช้บางครั้ง 32.9 33.2 38.6 35.0
3 ไม่เคยใช้เลย 52.6 37.9 34.3 37.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของเฉพาะตัวอย่างที่เคยมีเพศสัมพันธ์ระบุ ความรู้สึกกังวลว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิด
อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์
ลำดับที่ ความรู้สึกกังวลของตัวอย่างที่เคยมีเพศสัมพันธ์ว่าตนเองหรือ กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ
บุคคลใกล้ชิดอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์
1 รู้สึกกังวล 23.5
2 ไม่กังวล 61.2
3 ไม่ตอบ / ไม่มีความเห็น 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อครอบครัวหากสมมติว่า "ตนเองติดเชื้อเอดส์"
ลำดับที่ มั่นใจหรือไม่ว่าครอบครัวจะยอมรับได้โดยไม่รังเกียจในตัวเอง กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 42.0
2 ไม่มั่นใจ 42.1
3 ไม่มีความเห็น 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนโยบายการควบคุมการแพร่ระบาดของ
โรคเอดส์ของรัฐบาลในปัจจุบัน
ลำดับที่ นโยบายการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ของรัฐบาล ค่าร้อยละ
ในปัจจุบันได้ผลอย่างแท้จริงมากน้อยเพียงใด
1 ระดับดี 16.2
2 ระดับพอใช้ 67.3
3 ระดับไม่ดี ควรเร่งปรับปรุง 16.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้เปิดเผยว่าผลสำรวจจากโครงการสำรวจ เรื่อง "สำรวจการรับรู้ ทัศนคติ ระยะห่างทางสังคมในการยอมรับกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์: กรณีศึกษากลุ่มวัยรุ่นอายุ 12-24 ปี และกลุ่มผู้ปกครองของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา" จำนวนทั้งสิ้น 3,047 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 10 กรกฎาคม 2547
จากการพิจารณาผลสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.3 ทราบข่าวว่าประเทศไทยเป็น เจ้าภาพจัดการประชุมเอดส์โลก ในขณะที่ร้อยละ 17.7 ไม่ทราบข่าว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.8 ระบุประโยชน์จากการประชุมเอดส์โลกในครั้งนี้คือทำให้ทราบสถานการณ์ปัจจุบันของการแพร่ระบาดโรคเอดส์จากทั่วโลก รองลงมาคือร้อยละ 28.6 ระบุทำให้รู้จักวิธีป้องกัน /การปฏิบัติตัวไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ ร้อยละ 23.4 ระบุทำให้ได้รับข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาโรคเอดส์ที่ทันสมัย /เทคนิคการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น /การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี และร้อยละ 17.5 ระบุทำให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงทำให้ต่างประเทศรู้จักประเทศไทยมากขึ้น
ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.4 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมสังคมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ยังไม่เพียงพอ ในขณะที่ร้อยละ 42.6 ระบุว่าเพียงพอแล้ว และร้อยละ 7.0 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.5 ระบุการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารโดยรัฐบาลเกี่ยวกับโรคเอดส์ยังไม่ เพียงพอ ในขณะที่ร้อยละ 34.0 ระบุเพียงพอแล้ว และร้อยละ 6.5 ไม่มีความเห็น โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 68.1 ต้องการข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ที่ต้องการทราบเพิ่มเติมได้แก่ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการรักษาโรคเอดส์ รองลงมาคือร้อยละ 53.8 ต้องการข้อมูลวิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ ร้อยละ 53.3 ต้องการข้อมูลด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคเอดส์ ร้อยละ 49.1 ระบุต้องการทราบวิธีการป้องกันโรคเอดส์ ร้อยละ 48.1 ต้องการข้อมูลวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ ร้อยละ 47.2 ต้องการข้อมูลลักษณะอาการของโรคเอดส์ และร้อยละ 45.2 ต้องการข้อมูลปัญหาการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเอดส์ ตามลำดับ
เอแบคโพลล์ยังสำรวจพบอีกว่า ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.4 กังวลต่อปัญหาการแพร่ระบาดโรคเอดส์ในประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 40.5 ไม่กังวล และร้อยละ 8.1 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ ผลสำรวจพบทัศนคติของประชาชนต่อการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยติดเชื่อเอดส์ทำกิจกรรมต่างๆ ในสังคม ซึ่งผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยในการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเอดส์ทำกิจกรรมต่างๆ ในสังคมเหมือนคนปกติทั่วไป อาทิ ร่วมชมภาพยนตร์ และคอนเสิร์ต (ร้อยละ 78.6) ร่วมใช้บริการสายการบิน (ร้อยละ 63.1) ร่วมใช้บริการโรงแรมที่พัก (ร้อยละ 80.9) ร่วมใช้บริการรถประจำทาง (ร้อยละ 62.4) ร่วมใช้บริการร้านตัดผมและเสริมสวย (ร้อยละ 61.4) ตามลำดับ
เอแบคโพลล์ได้สอบถามระดับการยอมรับผู้ป่วยเอดส์จำแนกตามระยะห่างในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ ผลสำรวจพบว่า ระดับการยอมรับผู้ป่วยเอดส์ลดลงตามถ้าต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งร้อยละ 74.8 ยอมรับผู้ป่วยเอดส์ในการพักอาศัยในชุมชนเดียวกัน รองลงมาคือร้อยละ 60.2 ยอมรับในการทำงานร่วมกัน ร้อยละ 54.9 ยอมรับในการพักอาศัยบ้านเดียวกัน ร้อยละ 34.2 ยอมรับในการหลับนอนห้องเดียวกัน และร้อยละ 21.5 ยอมรับในการร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน
เมื่อสอบถามถึงการมีญาติหรือเพื่อนสนิทที่เป็นผู้ป่วยเอดส์ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 3.9 ของผู้ตอบที่เป็น วัยรุ่น และร้อยละ 11.6 ของผู้ปกครองที่มีบุตรเป็นเยาวชน ระบุมีญาติหรือเพื่อนสนิทเป็นผู้ป่วยเอดส์ ในขณะที่ ร้อยละ 9.5 ของกลุ่มวัยรุ่น และ ร้อยละ 4.4 ของผุ้ปกครองไม่ตอบคำถามนี้ อย่างไรก็ตามร้อยละ 86.6 ของกลุ่มวัยรุ่น และร้อยละ 84.0 ของกลุ่มผู้ปกครองระบุไม่มีญาติหรือเพื่อนสนิทเป็นผู้ป่วยเอดส์
เมื่อสอบถามประชาชนที่มีญาติหรือเพื่อนสนิทเป็นผู้ป่วยเอดส์ถึงการถูกกีดกันและถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม ผลสำรวจพบว่า กลุ่มวัยรุ่นเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 53.9 และร้อยละ 58.1 ของกลุ่มผู้ปกครองรู้สึกว่าญาติหรือเพื่อนสนิทที่เป็นผู้ป่วยเอดส์ถูกกีดกันและถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม ในขณะที่ร้อยละ 46.1 ของกลุ่มวัยรุ่น และร้อยละ 41.9 ของกลุ่มผู้ปกครองไม่รู้สึกถูกเลือกปฏิบัติเอแบคโพลล์ยังได้สอบถามกลุ่มวัยรุ่นถึงประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 32.2 ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 67.8 ไม่เคยมี ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 16.9 ของกลุ่มวัยรุ่น และร้อยละ 38.9 ของกลุ่มผู้ปกครองใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 48.3 ของกลุ่มวัยรุ่นไม่เคยใช้เลยซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์มากที่สุด และร้อยละ 34.8 ของกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้ถุงยางบางครั้งในการมีเพศสัมพันธ์
เมื่อจำแนกตัวอย่างวัยรุ่นที่เคยมีเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยตามจังหวัดที่ถูกศึกษา ผลสำรวจพบว่า วัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สูงที่สุด (ร้อยละ 85.5 ของวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์) ในขณะที่วัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลามีสัดส่วนของวัยรุ่นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์พอๆ กัน (ร้อยละ 71.1 ร้อยละ 72.9 และร้อยละ 72.7 ของกลุ่มวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์แต่ละจังหวัด)
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ทั้งกลุ่มวัยรุ่นที่เคยมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.2 ไม่กังวลว่า ตนเองหรือคนใกล้ชิดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ ในขณะที่ร้อยละ 23.5 กังวล และร้อยละ 15.3 ไม่ตอบ/ ไม่มี ความเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความมั่นใจของกลุ่มวัยรุ่นว่า มั่นใจหรือไม่ว่าคนในครอบครัวจะยอมรับได้โดยไม่รังเกียจถ้าสมมติว่า ตนเองติดเชื้อเอดส์ ผลสำรวจพบว่า กลุ่มวัยรุ่นที่มั่นใจกับกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่มั่นใจมีสัดส่วนก่ำกึ่งกัน คือร้อยละ 42.0 ต่อร้อยละ 42.1 และร้อยละ 15.9 ไม่มีความเห็น
เอแบคโพลล์ยังได้ถามทั้งสองกลุ่มตัวอย่างในประเด็นสุดท้ายคือ นโยบายควบคุมการแพร่ระบาดโรคเอดส์ของรัฐบาลปัจจุบันได้ผลอย่างแท้จริงระดับใด ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 ให้คะแนนในระดับ พอใช้เท่านั้น ในขณะที่ร้อยละ 16.2 ให้คะแนนระดับดี และร้อยละ 16.5 ให้คะแนนระดับไม่ดี ควรเร่งปรับปรุง
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ที่มาของโครงการ
ปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ยังเป็นปัญหาระดับโลกที่ประเทศต่างๆให้ความสนใจ ทั้งนี้เพราะโรคเอดส์มิได้เป็นเพียงปัญหาทางสาธารณสุขซึ่งยังหาตัวยารักษาไม่ได้เท่านั้น หากแต่ยังข้ามพรมแดนไปเป็นปัญหาทางสังคมซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้าง ยิ่งไปกว่านั้นยังกลายเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งของปัจเจกบุคคลและของประเทศอีกด้วย ดังนั้นประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยของเราเอง จึงได้มีความพยายามร่วมกันใน อันที่จะยุติการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวให้ได้ ซึ่งล่าสุดประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพในการประชุมเอดส์โลกนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้ปกครองที่มีต่อประเด็นสำคัญต่างๆเกี่ยวกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับการประชุมเอดส์โลกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
2. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อผู้ป่วยโรคเอดส์
3.เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจการรับรู้ ทัศนคติ ระยะห่างทางสังคมในการยอมรับกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์: กรณีศึกษากลุ่มวัยรุ่นอายุ 12-24 ปี และกลุ่มผู้ปกครองของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 10 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี และกลุ่มผู้ปกครองที่มีบุตรในช่วงอายุ 12-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง ให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,047 ตัวอย่างโดยแยกเป็น กลุ่มเยาวชนอายุ 12-24 ปี จำนวน 1,258 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้ปกครองจำนวนทั้งสิ้น 1,789 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเยาวชนอายุ 12-24 ปี พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.3 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 9.8 อายุไม่เกิน 14 ปี
ร้อยละ 42.8 อายุระหว่าง 15-19 ปี
ร้อยละ 47.4 อายุระหว่าง 20-24 ปี
โดย เมื่อพิจารณาสถานภาพทางการศึกษาของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 1.4 ระบุไม่เคยเรียนหนังสือเลย
ร้อยละ 70.9 ระบุกำลังศึกษาอยู่
และร้อยละ 27.7 ระบุสำเร็จการศึกษาแล้ว และไม่ได้ศึกษาต่อ
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มผู้ปกครองวัยรุ่น พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.3 เป็นชาย
ร้อยละ 57.7 เป็นหญิง
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 3.3 ระบุอายุต่ำกว่า 35 ปี
ร้อยละ 47.3 ระบุอายุ 35-44 ปี
และร้อยละ 49.4 ระบุอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 16.4 ระบุอาชีพ แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 9.0 ระบุ อาชีพเกษตรกร
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
และร้อยละ 0.5 ระบุ ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการ
ประชุมเอดส์โลก
ลำดับที่ การรับทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 82.3
2 ยังไม่ทราบข่าว 17.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการที่ประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการประชุมเอดส์โลก
ในครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการประชุมเอดส์โลกในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ได้ทราบสถานการณ์ปัจจุบันของการแพร่ระบาดโรคเอดส์จากทั่วโลก 45.8
2 รู้จักวิธีป้องกัน /การปฏิบัติตัวไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ 28.6
3 ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาโรคเอดส์ที่ทันสมัย /
เทคนิคการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น /การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี 23.4
4 ทำให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงทำให้ต่างประเทศรู้จักประเทศไทยมากขึ้น 17.5
5 ทำให้มีการประชาสัมพันธ์ดีขึ้น/มีการรณรงค์เรื่องโรคเอดส์มากขึ้น 13.8
6 อื่นๆ อาทิ ทำให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ /การอยู่ร่วมสังคม
กับผู้ป่วยโรคเอดส์ /ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากต่างประเทศ 4.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมสังคม
กับผู้ป่วยโรคเอดส์
ลำดับที่ ระบุการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมสังคม กับผู้ป่วยโรคเอดส์ ค่าร้อยละ
1 มีความรู้เพียงพอแล้ว 42.6
2 ยังไม่มีความรู้เพียงพอ 50.4
3 ไม่มีความเห็น 7.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์ให้ประชาชนรับรู้รับทราบ
ลำดับที่ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์โดยรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เพียงพอแล้ว 34.0
2 ยังไม่เพียงพอ 59.5
3 ไม่มีความเห็น 6.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ที่ต้องการทราบ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความอยากทราบข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ ค่าร้อยละ
1 ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการรักษาโรคเอดส์ 68.1
2 วิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ 53.8
3 สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคเอดส์ 53.3
4 วิธีการป้องกันโรคเอดส์ 49.1
5 วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์ 48.1
6 ลักษณะอาการของโรคเอดส์ 47.2
7 ปัญหาการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเอดส์ 45.2
8 ทัศนคติของสังคมต่อผู้ป่วยเอดส์ 41.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทย
ลำดับที่ ความกังวลของตัวอย่างต่อการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 กังวล 51.4
2 ไม่กังวล 40.5
3 ไม่มีความเห็น 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ทำกิจกรรมต่างๆ ในสังคม
ลำดับที่ กิจกรรมต่างๆ ในสังคมที่เปิดกว้างกับผู้ป่วยเอดส์ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1 ร่วมชมภาพยนตร์และคอนเสิร์ต 78.6 4.7 16.7
2 ร่วมใช้บริการสายการบิน 63.1 7.2 29.7
3 ร่วมใช้บริการโรงแรมที่พัก 80.9 5.3 13.8
4 ร่วมใช้บริการรถประจำทาง 62.4 9.5 28.1
5 ร่วมใช้บริการร้านตัดผมและเสริมสวย 61.4 14.8 23.8
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับการยอมรับกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ระดับการยอมรับของกลุ่มตัวอย่างต่อกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ ค่าร้อยละ
1 ยอมรับในการพักอาศัยในชุมชนเดียวกัน 74.8
2 ยอมรับในการทำงานร่วมกัน 60.2
3 ยอมรับในการพักอาศัยบ้านเดียวกัน 54.9
4 ยอมรับในการหลับนอนในห้องเดียวกัน 34.2
5 ยอมรับในการร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน 21.5
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีญาติหรือเพื่อนสนิทที่ป่วยเป็นเอดส์
ลำดับที่ มีญาติหรือเพื่อนสนิทที่ป่วยเป็นเอดส์ กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ กลุ่มผู้ปกครองค่าร้อยละ
1 มี 3.9 11.6
2 ไม่มี 86.6 84.0
3 ไม่ตอบ / ไม่ทราบ 9.5 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของเฉพาะตัวอย่างที่มีญาติหรือเพื่อนสนิทที่ติดโรคเอดส์ระบุ ความรู้สึกว่าผู้ป่วยติด
เชื้อเอดส์ถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม
ลำดับที่ ความรู้สึกของตัวอย่างว่าญาติหรือเพื่อนสนิทที่ติดโรคเอดส์ กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ กลุ่มผู้ปกครองค่าร้อยละ
ถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม
1 รู้สึกถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม 53.9 58.1
2 ไม่รู้สึกถูกเลือกปฏิบัติ 46.1 41.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างวัยรุ่นที่ระบุ ประสบการณ์เคยมีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ ประสบการณ์ของตัวอย่างในการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ
1 เคยมี 32.2
2 ไม่เคยมี 67.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของเฉพาะตัวอย่างที่เคยมีเพศสัมพันธ์ระบุ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในระหว่าง
มีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ กลุ่มผู้ปกครองค่าร้อยละ
1 ใช้ทุกครั้ง 16.9 38.9
2 ใช้บางครั้ง 34.8 41.2
3 ไม่เคยใช้เลย 48.3 19.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของเฉพาะตัวอย่างวัยรุ่นที่เคยมีเพศสัมพันธ์ระบุ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยใน
ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ จำแนกตามจังหวัดที่ศึกษา
ลำดับที่ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย กทม. เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา
1 ใช้ทุกครั้ง 14.5 28.9 27.1 27.3
2 ใช้บางครั้ง 32.9 33.2 38.6 35.0
3 ไม่เคยใช้เลย 52.6 37.9 34.3 37.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของเฉพาะตัวอย่างที่เคยมีเพศสัมพันธ์ระบุ ความรู้สึกกังวลว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิด
อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์
ลำดับที่ ความรู้สึกกังวลของตัวอย่างที่เคยมีเพศสัมพันธ์ว่าตนเองหรือ กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ
บุคคลใกล้ชิดอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์
1 รู้สึกกังวล 23.5
2 ไม่กังวล 61.2
3 ไม่ตอบ / ไม่มีความเห็น 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อครอบครัวหากสมมติว่า "ตนเองติดเชื้อเอดส์"
ลำดับที่ มั่นใจหรือไม่ว่าครอบครัวจะยอมรับได้โดยไม่รังเกียจในตัวเอง กลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 42.0
2 ไม่มั่นใจ 42.1
3 ไม่มีความเห็น 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนโยบายการควบคุมการแพร่ระบาดของ
โรคเอดส์ของรัฐบาลในปัจจุบัน
ลำดับที่ นโยบายการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ของรัฐบาล ค่าร้อยละ
ในปัจจุบันได้ผลอย่างแท้จริงมากน้อยเพียงใด
1 ระดับดี 16.2
2 ระดับพอใช้ 67.3
3 ระดับไม่ดี ควรเร่งปรับปรุง 16.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้เปิดเผยว่าผลสำรวจจากโครงการสำรวจ เรื่อง "สำรวจการรับรู้ ทัศนคติ ระยะห่างทางสังคมในการยอมรับกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์: กรณีศึกษากลุ่มวัยรุ่นอายุ 12-24 ปี และกลุ่มผู้ปกครองของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา" จำนวนทั้งสิ้น 3,047 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 10 กรกฎาคม 2547
จากการพิจารณาผลสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.3 ทราบข่าวว่าประเทศไทยเป็น เจ้าภาพจัดการประชุมเอดส์โลก ในขณะที่ร้อยละ 17.7 ไม่ทราบข่าว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.8 ระบุประโยชน์จากการประชุมเอดส์โลกในครั้งนี้คือทำให้ทราบสถานการณ์ปัจจุบันของการแพร่ระบาดโรคเอดส์จากทั่วโลก รองลงมาคือร้อยละ 28.6 ระบุทำให้รู้จักวิธีป้องกัน /การปฏิบัติตัวไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ ร้อยละ 23.4 ระบุทำให้ได้รับข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาโรคเอดส์ที่ทันสมัย /เทคนิคการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น /การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี และร้อยละ 17.5 ระบุทำให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงทำให้ต่างประเทศรู้จักประเทศไทยมากขึ้น
ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.4 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมสังคมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ยังไม่เพียงพอ ในขณะที่ร้อยละ 42.6 ระบุว่าเพียงพอแล้ว และร้อยละ 7.0 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.5 ระบุการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารโดยรัฐบาลเกี่ยวกับโรคเอดส์ยังไม่ เพียงพอ ในขณะที่ร้อยละ 34.0 ระบุเพียงพอแล้ว และร้อยละ 6.5 ไม่มีความเห็น โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 68.1 ต้องการข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ที่ต้องการทราบเพิ่มเติมได้แก่ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการรักษาโรคเอดส์ รองลงมาคือร้อยละ 53.8 ต้องการข้อมูลวิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ ร้อยละ 53.3 ต้องการข้อมูลด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคเอดส์ ร้อยละ 49.1 ระบุต้องการทราบวิธีการป้องกันโรคเอดส์ ร้อยละ 48.1 ต้องการข้อมูลวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ ร้อยละ 47.2 ต้องการข้อมูลลักษณะอาการของโรคเอดส์ และร้อยละ 45.2 ต้องการข้อมูลปัญหาการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเอดส์ ตามลำดับ
เอแบคโพลล์ยังสำรวจพบอีกว่า ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.4 กังวลต่อปัญหาการแพร่ระบาดโรคเอดส์ในประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 40.5 ไม่กังวล และร้อยละ 8.1 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ ผลสำรวจพบทัศนคติของประชาชนต่อการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยติดเชื่อเอดส์ทำกิจกรรมต่างๆ ในสังคม ซึ่งผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยในการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเอดส์ทำกิจกรรมต่างๆ ในสังคมเหมือนคนปกติทั่วไป อาทิ ร่วมชมภาพยนตร์ และคอนเสิร์ต (ร้อยละ 78.6) ร่วมใช้บริการสายการบิน (ร้อยละ 63.1) ร่วมใช้บริการโรงแรมที่พัก (ร้อยละ 80.9) ร่วมใช้บริการรถประจำทาง (ร้อยละ 62.4) ร่วมใช้บริการร้านตัดผมและเสริมสวย (ร้อยละ 61.4) ตามลำดับ
เอแบคโพลล์ได้สอบถามระดับการยอมรับผู้ป่วยเอดส์จำแนกตามระยะห่างในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ ผลสำรวจพบว่า ระดับการยอมรับผู้ป่วยเอดส์ลดลงตามถ้าต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งร้อยละ 74.8 ยอมรับผู้ป่วยเอดส์ในการพักอาศัยในชุมชนเดียวกัน รองลงมาคือร้อยละ 60.2 ยอมรับในการทำงานร่วมกัน ร้อยละ 54.9 ยอมรับในการพักอาศัยบ้านเดียวกัน ร้อยละ 34.2 ยอมรับในการหลับนอนห้องเดียวกัน และร้อยละ 21.5 ยอมรับในการร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน
เมื่อสอบถามถึงการมีญาติหรือเพื่อนสนิทที่เป็นผู้ป่วยเอดส์ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 3.9 ของผู้ตอบที่เป็น วัยรุ่น และร้อยละ 11.6 ของผู้ปกครองที่มีบุตรเป็นเยาวชน ระบุมีญาติหรือเพื่อนสนิทเป็นผู้ป่วยเอดส์ ในขณะที่ ร้อยละ 9.5 ของกลุ่มวัยรุ่น และ ร้อยละ 4.4 ของผุ้ปกครองไม่ตอบคำถามนี้ อย่างไรก็ตามร้อยละ 86.6 ของกลุ่มวัยรุ่น และร้อยละ 84.0 ของกลุ่มผู้ปกครองระบุไม่มีญาติหรือเพื่อนสนิทเป็นผู้ป่วยเอดส์
เมื่อสอบถามประชาชนที่มีญาติหรือเพื่อนสนิทเป็นผู้ป่วยเอดส์ถึงการถูกกีดกันและถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม ผลสำรวจพบว่า กลุ่มวัยรุ่นเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 53.9 และร้อยละ 58.1 ของกลุ่มผู้ปกครองรู้สึกว่าญาติหรือเพื่อนสนิทที่เป็นผู้ป่วยเอดส์ถูกกีดกันและถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม ในขณะที่ร้อยละ 46.1 ของกลุ่มวัยรุ่น และร้อยละ 41.9 ของกลุ่มผู้ปกครองไม่รู้สึกถูกเลือกปฏิบัติเอแบคโพลล์ยังได้สอบถามกลุ่มวัยรุ่นถึงประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 32.2 ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 67.8 ไม่เคยมี ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 16.9 ของกลุ่มวัยรุ่น และร้อยละ 38.9 ของกลุ่มผู้ปกครองใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 48.3 ของกลุ่มวัยรุ่นไม่เคยใช้เลยซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์มากที่สุด และร้อยละ 34.8 ของกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้ถุงยางบางครั้งในการมีเพศสัมพันธ์
เมื่อจำแนกตัวอย่างวัยรุ่นที่เคยมีเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยตามจังหวัดที่ถูกศึกษา ผลสำรวจพบว่า วัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สูงที่สุด (ร้อยละ 85.5 ของวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์) ในขณะที่วัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลามีสัดส่วนของวัยรุ่นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์พอๆ กัน (ร้อยละ 71.1 ร้อยละ 72.9 และร้อยละ 72.7 ของกลุ่มวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์แต่ละจังหวัด)
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ทั้งกลุ่มวัยรุ่นที่เคยมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.2 ไม่กังวลว่า ตนเองหรือคนใกล้ชิดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ ในขณะที่ร้อยละ 23.5 กังวล และร้อยละ 15.3 ไม่ตอบ/ ไม่มี ความเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความมั่นใจของกลุ่มวัยรุ่นว่า มั่นใจหรือไม่ว่าคนในครอบครัวจะยอมรับได้โดยไม่รังเกียจถ้าสมมติว่า ตนเองติดเชื้อเอดส์ ผลสำรวจพบว่า กลุ่มวัยรุ่นที่มั่นใจกับกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่มั่นใจมีสัดส่วนก่ำกึ่งกัน คือร้อยละ 42.0 ต่อร้อยละ 42.1 และร้อยละ 15.9 ไม่มีความเห็น
เอแบคโพลล์ยังได้ถามทั้งสองกลุ่มตัวอย่างในประเด็นสุดท้ายคือ นโยบายควบคุมการแพร่ระบาดโรคเอดส์ของรัฐบาลปัจจุบันได้ผลอย่างแท้จริงระดับใด ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 ให้คะแนนในระดับ พอใช้เท่านั้น ในขณะที่ร้อยละ 16.2 ให้คะแนนระดับดี และร้อยละ 16.5 ให้คะแนนระดับไม่ดี ควรเร่งปรับปรุง
--เอแบคโพลล์--
-พห-