ที่มาของโครงการ
ความเอื้ออาทรทางสังคม (Social Support) ถูกค้นพบในเอกสารวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นในฐานะที่เป็นตัวแปรสำคัญ และมีผลต่อสุขภาพกายและการทำใจของคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคร้าย เช่น มะเร็ง เบาหวาน โรคไต และโรคเอดส์ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการศึกษา "ความเอื้ออาทรทางสังคม (Social Support)" ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ในลักษณะต่างๆ กัน เช่น ความเอื้ออาทรทางด้านจิตใจ ความเอื้ออาทรทาง ด้านวัตถุ ความเอื้ออาทรทางด้านข้อมูลข่าวสาร ความเอื้ออาทรทางด้านการประเมินคุณค่าตัวเองจากกลุ่มคน รอบข้าง และสายสัมพันธ์กับสังคมของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้ของผู้ป่วยโรคเอดส์ต่อความเอื้ออาทรทางสังคมจากคนรอบข้าง
2. เพื่อศึกษาประเภทของความเอื้ออาทรทางสังคมและสายสัมพันธ์ทางสังคมของผู้ป่วยโรคเอดส์
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจการรับรู้ต่อความเอื้ออาทรทางสังคม (Social Support) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 13 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึง ตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ ผู้ป่วย จำนวน 242 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.8 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 22.2 ระบุเป็นหญิง
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 34.9 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 31.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี
ร้อยละ 18.6 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 11.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 3.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 83.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 15.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.0 สำเร็จการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 47.1 ระบุประสบการณ์อาชีพรับจ้างทั่วไป
รองลงมาคือร้อยละ 19.7 ระบุเคยประกอบอาชีพค้าขาย
ร้อยละ 12.8 ระบุเคยเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 8.8 ระบุเป็นแม่บ้าน
ร้อยละ 4.2 ระบุเคยรับราชการ
และร้อยละ 7.4 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
ลำดับที่ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ
1 การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาอนามัย 74.1
2 เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติด 3.8
3 อื่นๆ อาทิ อุบัติเหตุ / ความผิดพลาดทางการแพทย์ เป็นต้น 2.0
4 ไม่ตอบ / ไม่ทราบสาเหตุ 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความเครียดหลังทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี
ลำดับที่ ระดับความเครียดหลังทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ
1 เครียดมากที่สุด 63.2
2 เครียดมาก 21.1
3 เครียดในระดับปานกลาง 2.0
4 เครียดเพียงเล็กน้อย 0.8
5 ไม่เครียดเพราะทำใจได้ 2.7
6 ไม่ตอบ 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อการให้กำลังใจจากคนในครอบครัว
ลำดับที่ การรับรู้ ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้นมาก 18.3
2 เพิ่มขึ้น 41.4
3 เท่าเดิม 11.8
4 ลดลง 17.5
5 ไม่มีเลย 11.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อการปรนนิบัติ ช่วยเหลือทางด้านวัตถุจากคนในครอบครัว
อาทิ การจัดหาอาหารให้ทาน / การจัดหายา เและเวชภัณฑ์ / การให้เงินไว้ใช้
ลำดับที่ การรับรู้ต่อการปรนนิบัติช่วยเหลือด้านวัตถุจากคนในครอบครัว ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้นมาก 6.5
2 เพิ่มขึ้น 10.4
3 เท่าเดิม 22.5
4 ลดลง 31.8
5 ไม่มีเลย 28.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความถี่ในการพูดคุยกับคนในชุมชน / เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก
ลำดับที่ ระดับความถี่ในการพูดคุยกับคนในชุมชน / เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก ร้อยละ
1 บ่อยขึ้นมาก 4.1
2 บ่อยขึ้น 8.9
3 เท่าเดิม 25.7
4 ลดลง 27.6
5 ไม่มีเลย 33.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณค่าในตัวเองที่รับรู้ได้จากคนในชุมชน / เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก
ลำดับที่ คุณค่าในตัวเองที่รับรู้ได้จากคนในชุมชน / เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้นมาก 1.9
2 เพิ่มขึ้น 6.8
3 เท่าเดิม 21.3
4 ลดลง 31.2
5 ไม่มีเลย 22.5
6 ไม่ตอบ 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับสายสัมพันธ์ทางสังคม อาทิ จำนวนคนที่ติดต่อด้วยในชุมชน
หรือ เครือญาติและเพื่อนที่เคยรู้จัก หลังจากติดเชื้อเอชไอวี
ลำดับที่ ระดับสายสัมพันธ์ทางสังคม อาทิ จำนวนคนที่ติดต่อด้วย ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้นมาก 0.7
2 เพิ่มขึ้น 9.4
3 เท่าเดิม 22.8
4 ลดลง 31.1
5 ไม่มีเลย 24.8
6 ไม่ตอบ 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม
ลำดับที่ ความรู้สึกถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม ร้อยละ
1 รู้สึกถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติ 67.8
2 ไม่รู้สึกว่าถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติ 8.5
3 ไม่ตอบ/ไม่มีความเห็น 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทางออกของปัญหาด้านจิตใจหลังจากที่ป่วยด้วยโรคเอดส์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกของผู้ป่วย ร้อยละ
1 พึ่งหลักธรรมะของศาสนาเข้าช่วย 62.9
2 พูดคุยกับคนใกล้ชิด 54.1
3 ดูแลสุขภาพกายให้ดีมากที่สุดเท่าที่ทำได้ 50.7
4 ออกกำลังกาย 38.4
5 อ่านหนังสือ 35.1
6 ไม่อยู่เฉยๆ ทำกิจกรรมตลอด อาทิ ทำงาน / ช่วยเหลือสังคม 21.8
7 อื่นๆ อาทิ ท่องเที่ยวพักผ่อน / ฟังเพลง / อยู่คนเดียวเพียงลำพัง เป็นต้น 14.4
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการจากสังคม (เป็นคำถามปลายเปิด ที่ผู้ป่วยตอบเอง)
ลำดับที่ ความต้องการของผู้ป่วยจากสังคม ร้อยละ
1 ความรักความเอาใจใส่ 60.4
2 ยารักษาโรคให้หายขาด 55.7
3 การปฏิบัติที่ดีจากสังคม 34.1
4 ความจริงใจของคนใกล้ชิด 31.8
5 โอกาสที่เท่าเทียมกันในสังคม 30.6
6 ความจริงใจของรัฐบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างดี
ด้านที่พักรักษาตัว ยารักษาโรคและอาหาร 25.8
7 ต้องการพูดคุยกับคนที่เข้าใจ 24.3
8 นโยบายที่ดีของรัฐบาลในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ 19.8
9 อื่นๆ อาทิ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ / ต้องการเงิน /
ต้องการคนเสียสละอย่างแท้จริงในการดูแล
ผู้ป่วยโรคเอดส์ / ความเห็นใจจากสังคม /
ทำกิจกรรมร่วมกับคนโรคเอดส์ เป็นต้น 16.3
10 ไม่ตอบ / ไม่ต้องการอะไร 36.9
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนามเรื่อง "สำรวจการรับรู้ต่อความเอื้ออาทรทางสังคม (Social Support) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 13 กรกฎาคม 2547 จำนวนผู้ป่วย 242 คน ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างผู้ป่วยโรคเอดส์ในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.1 ระบุสาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดเชื้อ เอชไอวี หรือเชื้อเอดส์ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาอนามัย ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ระบุเพราะเกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติด และร้อยละ 2.0 ระบุสาเหตุอื่นๆ อาทิ อุบัติเหตุ / ความผิดพลาดทางการแพทย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 20.1 ไม่ตอบ/ ไม่ทราบสาเหตุ
เมื่อสอบถามถึงระดับความเครียดหลังทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.2 ระบุเครียดมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 21.1 ระบุเครียดมาก ในขณะที่เพียงร้อยละ 2.0 ระบุเครียดระดับปานกลาง ร้อยละ 0.8 เครียดเพียงเล็กน้อย และร้อยละ 2.7 ไม่เครียดเพราะทำใจได้ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 10.2 ไม่ตอบ
เมื่อสอบถามการรับรู้ต่อการให้กำลังใจจากคนในครอบครัว ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 11.8 ได้รับเท่าเดิม ร้อยละ 17.5 ได้รับลดลง และร้อยละ 11.0 ไม่มีเลย ในขณะที่ร้อยละ 41.4 ได้รับกำลังใจเพิ่มขึ้น และร้อยละ 18.3 ได้รับเพิ่มขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงการปรนิบัติช่วยเหลือทางด้านวัตถุจากคนในครอบครัว อาทิ จัดหาอาหารให้ทาน / จัดหายาและเวชภัณฑ์ หรือให้เงินไว้ใช้ ผลสำรวจพบว่า มีเพียงร้อยละ 6.5 ระบุเพิ่มขึ้นมาก และร้อยละ 10.4 เท่านั้นที่ระบุว่าได้รับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 22.5 ระบุได้รับเท่าเดิม ร้อยละ 31.8 ระบุได้รับลดลง และร้อยละ 28.8 ไม่ได้รับการปรนิบัติด้านวัตถุจากคนในครอบครัวเลย
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามถึงระดับความถี่ในการพูดคุยกับคนในชุมชน/ เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก ผลสำรวจ พบว่า ร้อยละ 33.7 ระบุไม่มีเลย และร้อยละ 27.6 ระบุลดลง ในขณะที่ร้อยละ 25.7 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 8.9 ระบุ บ่อยขึ้น และร้อยละ 4.1 ระบุบ่อยขึ้นมาก
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึงการรับรู้ต่อคุณค่าในตัวเองที่ได้รับจากคนในชุมชน / เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 31.2 ระบุลดลง และร้อยละ 22.5 ระบุไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 21.3 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 6.8 ระบุเพิ่มขึ้น และร้อยละ 1.9 ระบุเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่ร้อยละ 16.3 ไม่ตอบ
เมื่อสอบถามผู้ป่วยโรคเอดส์ถึงสายสัมพันธ์ทางสังคม อาทิ จำนวนคนที่ติดต่อด้วยในชุมชนหรือเครือญาติและเพื่อนที่เคยรู้จัก ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 31.1 ระบุลดลง และร้อยละ 24.8 ระบุไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 22.8 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 9.4 ระบุเพิ่มขึ้น และร้อยละ 0.7 เท่านั้นระบุเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่ร้อยละ 11.2 ไม่ตอบ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.8 รู้สึกถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม ในขณะที่ ร้อยละ 8.5 ไม่รู้สึกว่าถูกกีดกัน และร้อยละ 23.7 ไม่ตอบ / ไม่แสดงความคิดเห็น
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึง ทางออกของปัญหาด้านจิตใจหลังจากที่ป่วยด้วยโรคเอดส์ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 พึ่งหลักธรรมะของศาสนาเข้าช่วย รองลงมาคือร้อยละ 54.1 อาศัยพูดคุยกับคนใกล้ชิด ร้อยละ 50.7 ดูแลสุขภาพให้ดีมากที่สุดเท่าที่ทำได้ ร้อยละ 38.4 ออกกำลังกาย ร้อยละ 35.1 อ่านหนังสือ ร้อยละ 21.8 ระบุไม่อยู่เฉยๆ หากิจกรรมทำตลอด อาทิ ทำงานช่วยเหลือสังคม และร้อยละ 14.4 ระบุอื่นๆ อาทิ ท่องเที่ยว พักผ่อน / ฟังเพลง / อยู่คนเดียวตามลำพัง เป็นต้น
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.4 ต้องการความรักความเอาใจใส่จากสังคม รองลงมาคือร้อยละ 55.7 ต้องการยารักษาโรคให้หายขาด ร้อยละ 34.1 ต้องการการปฏิบัติที่ดีจากสังคม ร้อยละ 31.8 ต้องการความจริงใจของคนใกล้ชิด ร้อยละ 30.6 ต้องการโอกาสที่เท่าเทียมกันในสังคม ร้อยละ 25.8 ต้องการความจริงใจของรัฐบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างดี ด้านที่พักรักษาตัว ยารักษาโรคและอาหาร ร้อยละ 24.3 ต้องการพูดคุยกับคนที่เข้าใจ ร้อยละ 19.8 ต้องการนโยบายที่ดีของรัฐบาลในการดูแลผู้ป่วย ในขณะที่ร้อยละ 16.3 ต้องการอื่นๆ อาทิ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ / ต้องการเงิน / ต้องการคนเสียสละอย่างแท้จริงในการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ / ความเห็นใจจากสังคม / ต้องการทำกิจกรรมร่วมกับผู้ป่วยด้วยกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 36.9 ไม่ตอบ / ไม่ต้องการอะไร
ข้อสังเกตจากคณะผู้วิจัย จากการเปรียบเทียบผลสำรวจที่ทำก่อนหน้านี้เกี่ยวกับทัศนคติของประชาชนต่อกลุ่มผู้ป่วยเอดส์ กับการวิจัยการรับรู้ของผู้ป่วยเอดส์ต่อความเอื้ออาทรทางสังคม พบว่า ถึงแม้ประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีและยอมรับกลุ่มผู้ป่วยเอดส์ระดับหนึ่ง แต่กลุ่มผู้ป่วยเอดส์กลับรับรู้ว่ากลุ่มผู้ป่วยเอดส์ยังไม่ได้รับความจริงใจในการปฏิบัติและเอาใจใส่อย่างแท้จริงจากสังคม
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ความเอื้ออาทรทางสังคม (Social Support) ถูกค้นพบในเอกสารวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นในฐานะที่เป็นตัวแปรสำคัญ และมีผลต่อสุขภาพกายและการทำใจของคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคร้าย เช่น มะเร็ง เบาหวาน โรคไต และโรคเอดส์ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการศึกษา "ความเอื้ออาทรทางสังคม (Social Support)" ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ในลักษณะต่างๆ กัน เช่น ความเอื้ออาทรทางด้านจิตใจ ความเอื้ออาทรทาง ด้านวัตถุ ความเอื้ออาทรทางด้านข้อมูลข่าวสาร ความเอื้ออาทรทางด้านการประเมินคุณค่าตัวเองจากกลุ่มคน รอบข้าง และสายสัมพันธ์กับสังคมของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้ของผู้ป่วยโรคเอดส์ต่อความเอื้ออาทรทางสังคมจากคนรอบข้าง
2. เพื่อศึกษาประเภทของความเอื้ออาทรทางสังคมและสายสัมพันธ์ทางสังคมของผู้ป่วยโรคเอดส์
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจการรับรู้ต่อความเอื้ออาทรทางสังคม (Social Support) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 13 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึง ตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ ผู้ป่วย จำนวน 242 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.8 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 22.2 ระบุเป็นหญิง
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 34.9 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 31.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี
ร้อยละ 18.6 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 11.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 3.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 83.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 15.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.0 สำเร็จการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 47.1 ระบุประสบการณ์อาชีพรับจ้างทั่วไป
รองลงมาคือร้อยละ 19.7 ระบุเคยประกอบอาชีพค้าขาย
ร้อยละ 12.8 ระบุเคยเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 8.8 ระบุเป็นแม่บ้าน
ร้อยละ 4.2 ระบุเคยรับราชการ
และร้อยละ 7.4 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
ลำดับที่ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ
1 การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาอนามัย 74.1
2 เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติด 3.8
3 อื่นๆ อาทิ อุบัติเหตุ / ความผิดพลาดทางการแพทย์ เป็นต้น 2.0
4 ไม่ตอบ / ไม่ทราบสาเหตุ 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความเครียดหลังทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี
ลำดับที่ ระดับความเครียดหลังทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ
1 เครียดมากที่สุด 63.2
2 เครียดมาก 21.1
3 เครียดในระดับปานกลาง 2.0
4 เครียดเพียงเล็กน้อย 0.8
5 ไม่เครียดเพราะทำใจได้ 2.7
6 ไม่ตอบ 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อการให้กำลังใจจากคนในครอบครัว
ลำดับที่ การรับรู้ ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้นมาก 18.3
2 เพิ่มขึ้น 41.4
3 เท่าเดิม 11.8
4 ลดลง 17.5
5 ไม่มีเลย 11.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อการปรนนิบัติ ช่วยเหลือทางด้านวัตถุจากคนในครอบครัว
อาทิ การจัดหาอาหารให้ทาน / การจัดหายา เและเวชภัณฑ์ / การให้เงินไว้ใช้
ลำดับที่ การรับรู้ต่อการปรนนิบัติช่วยเหลือด้านวัตถุจากคนในครอบครัว ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้นมาก 6.5
2 เพิ่มขึ้น 10.4
3 เท่าเดิม 22.5
4 ลดลง 31.8
5 ไม่มีเลย 28.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความถี่ในการพูดคุยกับคนในชุมชน / เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก
ลำดับที่ ระดับความถี่ในการพูดคุยกับคนในชุมชน / เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก ร้อยละ
1 บ่อยขึ้นมาก 4.1
2 บ่อยขึ้น 8.9
3 เท่าเดิม 25.7
4 ลดลง 27.6
5 ไม่มีเลย 33.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณค่าในตัวเองที่รับรู้ได้จากคนในชุมชน / เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก
ลำดับที่ คุณค่าในตัวเองที่รับรู้ได้จากคนในชุมชน / เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้นมาก 1.9
2 เพิ่มขึ้น 6.8
3 เท่าเดิม 21.3
4 ลดลง 31.2
5 ไม่มีเลย 22.5
6 ไม่ตอบ 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับสายสัมพันธ์ทางสังคม อาทิ จำนวนคนที่ติดต่อด้วยในชุมชน
หรือ เครือญาติและเพื่อนที่เคยรู้จัก หลังจากติดเชื้อเอชไอวี
ลำดับที่ ระดับสายสัมพันธ์ทางสังคม อาทิ จำนวนคนที่ติดต่อด้วย ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้นมาก 0.7
2 เพิ่มขึ้น 9.4
3 เท่าเดิม 22.8
4 ลดลง 31.1
5 ไม่มีเลย 24.8
6 ไม่ตอบ 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม
ลำดับที่ ความรู้สึกถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม ร้อยละ
1 รู้สึกถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติ 67.8
2 ไม่รู้สึกว่าถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติ 8.5
3 ไม่ตอบ/ไม่มีความเห็น 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทางออกของปัญหาด้านจิตใจหลังจากที่ป่วยด้วยโรคเอดส์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกของผู้ป่วย ร้อยละ
1 พึ่งหลักธรรมะของศาสนาเข้าช่วย 62.9
2 พูดคุยกับคนใกล้ชิด 54.1
3 ดูแลสุขภาพกายให้ดีมากที่สุดเท่าที่ทำได้ 50.7
4 ออกกำลังกาย 38.4
5 อ่านหนังสือ 35.1
6 ไม่อยู่เฉยๆ ทำกิจกรรมตลอด อาทิ ทำงาน / ช่วยเหลือสังคม 21.8
7 อื่นๆ อาทิ ท่องเที่ยวพักผ่อน / ฟังเพลง / อยู่คนเดียวเพียงลำพัง เป็นต้น 14.4
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการจากสังคม (เป็นคำถามปลายเปิด ที่ผู้ป่วยตอบเอง)
ลำดับที่ ความต้องการของผู้ป่วยจากสังคม ร้อยละ
1 ความรักความเอาใจใส่ 60.4
2 ยารักษาโรคให้หายขาด 55.7
3 การปฏิบัติที่ดีจากสังคม 34.1
4 ความจริงใจของคนใกล้ชิด 31.8
5 โอกาสที่เท่าเทียมกันในสังคม 30.6
6 ความจริงใจของรัฐบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างดี
ด้านที่พักรักษาตัว ยารักษาโรคและอาหาร 25.8
7 ต้องการพูดคุยกับคนที่เข้าใจ 24.3
8 นโยบายที่ดีของรัฐบาลในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ 19.8
9 อื่นๆ อาทิ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ / ต้องการเงิน /
ต้องการคนเสียสละอย่างแท้จริงในการดูแล
ผู้ป่วยโรคเอดส์ / ความเห็นใจจากสังคม /
ทำกิจกรรมร่วมกับคนโรคเอดส์ เป็นต้น 16.3
10 ไม่ตอบ / ไม่ต้องการอะไร 36.9
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนามเรื่อง "สำรวจการรับรู้ต่อความเอื้ออาทรทางสังคม (Social Support) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 13 กรกฎาคม 2547 จำนวนผู้ป่วย 242 คน ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างผู้ป่วยโรคเอดส์ในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.1 ระบุสาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดเชื้อ เอชไอวี หรือเชื้อเอดส์ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาอนามัย ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ระบุเพราะเกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติด และร้อยละ 2.0 ระบุสาเหตุอื่นๆ อาทิ อุบัติเหตุ / ความผิดพลาดทางการแพทย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 20.1 ไม่ตอบ/ ไม่ทราบสาเหตุ
เมื่อสอบถามถึงระดับความเครียดหลังทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.2 ระบุเครียดมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 21.1 ระบุเครียดมาก ในขณะที่เพียงร้อยละ 2.0 ระบุเครียดระดับปานกลาง ร้อยละ 0.8 เครียดเพียงเล็กน้อย และร้อยละ 2.7 ไม่เครียดเพราะทำใจได้ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 10.2 ไม่ตอบ
เมื่อสอบถามการรับรู้ต่อการให้กำลังใจจากคนในครอบครัว ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 11.8 ได้รับเท่าเดิม ร้อยละ 17.5 ได้รับลดลง และร้อยละ 11.0 ไม่มีเลย ในขณะที่ร้อยละ 41.4 ได้รับกำลังใจเพิ่มขึ้น และร้อยละ 18.3 ได้รับเพิ่มขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงการปรนิบัติช่วยเหลือทางด้านวัตถุจากคนในครอบครัว อาทิ จัดหาอาหารให้ทาน / จัดหายาและเวชภัณฑ์ หรือให้เงินไว้ใช้ ผลสำรวจพบว่า มีเพียงร้อยละ 6.5 ระบุเพิ่มขึ้นมาก และร้อยละ 10.4 เท่านั้นที่ระบุว่าได้รับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 22.5 ระบุได้รับเท่าเดิม ร้อยละ 31.8 ระบุได้รับลดลง และร้อยละ 28.8 ไม่ได้รับการปรนิบัติด้านวัตถุจากคนในครอบครัวเลย
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามถึงระดับความถี่ในการพูดคุยกับคนในชุมชน/ เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก ผลสำรวจ พบว่า ร้อยละ 33.7 ระบุไม่มีเลย และร้อยละ 27.6 ระบุลดลง ในขณะที่ร้อยละ 25.7 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 8.9 ระบุ บ่อยขึ้น และร้อยละ 4.1 ระบุบ่อยขึ้นมาก
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึงการรับรู้ต่อคุณค่าในตัวเองที่ได้รับจากคนในชุมชน / เพื่อนๆ ที่เคยรู้จัก ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 31.2 ระบุลดลง และร้อยละ 22.5 ระบุไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 21.3 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 6.8 ระบุเพิ่มขึ้น และร้อยละ 1.9 ระบุเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่ร้อยละ 16.3 ไม่ตอบ
เมื่อสอบถามผู้ป่วยโรคเอดส์ถึงสายสัมพันธ์ทางสังคม อาทิ จำนวนคนที่ติดต่อด้วยในชุมชนหรือเครือญาติและเพื่อนที่เคยรู้จัก ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 31.1 ระบุลดลง และร้อยละ 24.8 ระบุไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 22.8 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 9.4 ระบุเพิ่มขึ้น และร้อยละ 0.7 เท่านั้นระบุเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่ร้อยละ 11.2 ไม่ตอบ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.8 รู้สึกถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม ในขณะที่ ร้อยละ 8.5 ไม่รู้สึกว่าถูกกีดกัน และร้อยละ 23.7 ไม่ตอบ / ไม่แสดงความคิดเห็น
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึง ทางออกของปัญหาด้านจิตใจหลังจากที่ป่วยด้วยโรคเอดส์ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 พึ่งหลักธรรมะของศาสนาเข้าช่วย รองลงมาคือร้อยละ 54.1 อาศัยพูดคุยกับคนใกล้ชิด ร้อยละ 50.7 ดูแลสุขภาพให้ดีมากที่สุดเท่าที่ทำได้ ร้อยละ 38.4 ออกกำลังกาย ร้อยละ 35.1 อ่านหนังสือ ร้อยละ 21.8 ระบุไม่อยู่เฉยๆ หากิจกรรมทำตลอด อาทิ ทำงานช่วยเหลือสังคม และร้อยละ 14.4 ระบุอื่นๆ อาทิ ท่องเที่ยว พักผ่อน / ฟังเพลง / อยู่คนเดียวตามลำพัง เป็นต้น
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.4 ต้องการความรักความเอาใจใส่จากสังคม รองลงมาคือร้อยละ 55.7 ต้องการยารักษาโรคให้หายขาด ร้อยละ 34.1 ต้องการการปฏิบัติที่ดีจากสังคม ร้อยละ 31.8 ต้องการความจริงใจของคนใกล้ชิด ร้อยละ 30.6 ต้องการโอกาสที่เท่าเทียมกันในสังคม ร้อยละ 25.8 ต้องการความจริงใจของรัฐบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างดี ด้านที่พักรักษาตัว ยารักษาโรคและอาหาร ร้อยละ 24.3 ต้องการพูดคุยกับคนที่เข้าใจ ร้อยละ 19.8 ต้องการนโยบายที่ดีของรัฐบาลในการดูแลผู้ป่วย ในขณะที่ร้อยละ 16.3 ต้องการอื่นๆ อาทิ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ / ต้องการเงิน / ต้องการคนเสียสละอย่างแท้จริงในการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ / ความเห็นใจจากสังคม / ต้องการทำกิจกรรมร่วมกับผู้ป่วยด้วยกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 36.9 ไม่ตอบ / ไม่ต้องการอะไร
ข้อสังเกตจากคณะผู้วิจัย จากการเปรียบเทียบผลสำรวจที่ทำก่อนหน้านี้เกี่ยวกับทัศนคติของประชาชนต่อกลุ่มผู้ป่วยเอดส์ กับการวิจัยการรับรู้ของผู้ป่วยเอดส์ต่อความเอื้ออาทรทางสังคม พบว่า ถึงแม้ประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีและยอมรับกลุ่มผู้ป่วยเอดส์ระดับหนึ่ง แต่กลุ่มผู้ป่วยเอดส์กลับรับรู้ว่ากลุ่มผู้ป่วยเอดส์ยังไม่ได้รับความจริงใจในการปฏิบัติและเอาใจใส่อย่างแท้จริงจากสังคม
--เอแบคโพลล์--
-พห-