ที่มาของโครงการ
กว่า 3 ปี ในการเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีนั้น ได้รับความสนใจและติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่องจากประชาชน สื่อมวลชน องค์กรต่างๆทั้งในและต่างประเทศมาโดยตลอด ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายตามที่ได้ประกาศหาเสียงไว้กับประชาชน อาทิ การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละหนึ่งล้านบาท โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น และนอกจากนี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมายังมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมายที่อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้มีการติดตามผลงานของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดินมาโดยตลอด รวมทั้งได้มีการสำรวจความคิดเห็นและทรรศนะของประชาชนในประเด็นสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อค้นหาข้อมูลทางสถิติศาสตร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์จากประชาชนทั่วไป ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและประชาชนผู้สนใจทั่วไปใช้ในการปฏิรูปการเมืองของประเทศต่อไป และในครั้งนี้สำนักวิจัยฯได้มีโครงการสำรวจภาคสนามเพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลในช่วงครึ่งปีสุดท้ายก่อนครบวาระในต้นปี พ.ศ. 2548 โดยได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ครอบคลุม 25 จังหวัดทั่วประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ทั้งในชุมชนเมืองและเขตชนบทจากประชาชนทุกสาขาอาชีพ
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ที่ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
2. เพื่อสำรวจการรับรู้และความพึงพอใจในผลงานของรัฐบาลในรอบ 3 ปี 6 เดือนที่ผ่านมา
3. เพื่อวัดแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในการรับรู้และความพึงพอใจของประชาชนต่อผลงานใน ภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะบุคคลในสถาบันการเมืองและประชาชนทั่วไปใช้ตัดสินใจดำเนินการทางการเมืองเพื่อการปฏิรูปการเมืองของประเทศได้
2. เป็นข้อมูลให้ผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง "ผลงานรัฐบาลและคะแนนนิยมทักษิณในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 25 จังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 - 17 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกจังหวัดตัวอย่างได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ เลย กาฬสินธุ์ นครนายก นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สระแก้ว นครศรีธรรมราช ตรัง ชุมพร และ ระนอง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วน โดยให้ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดของตัวอย่าง คือ 4,817 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error) +/- ร้อยละ 3.39 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล งบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ร้อยละ 54.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.5 ระบุเป็นชาย
ซึ่งร้อยละ 26.9 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 20.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 81.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 17.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
โดยที่ตัวอย่าง ร้อยละ 39.5 อาชีพเกษตรกร / รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 26.5 ค้าขายส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 10.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.7 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.3 เกษียณอายุ / แม่บ้าน และไม่ได้ประกอบอาชีพ
และร้อยละ 5.2 เป็นนักศึกษา
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบของผลสำรวจปรากฏในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลนับตั้งแต่รัฐบาล
เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ปัญหาน้ำมันขึ้นราคา 63.0
2 ปัญหาสินค้าราคาแพง 54.7
3 ปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 53.2
4 ปัญหาราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ 40.4
5 ปัญหาของสถานีโทรทัศน์ช่อง5 /ปัญหาการบริหารงานในสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 37.8
6 การแพร่ระบาดของยาเสพติด 32.3
7 การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก 31.2
8 ปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว 30.9
9 ปัญหาความขัดแย้งภายในรัฐบาล 28.9
10 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 27.9
11 ปัญหาผลประโยชน์ทางธุรกิจของคนในฝ่ายรัฐบาล 27.2
12 ปัญหาในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 22.9
13 อื่นๆ เช่น คดีลอบสังหารประธานกลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรี
เป็นรายบุคคล การอภิปรายไม่ไว้วางใจ การแทรกแซงสื่อมวลชน เป็นต้น 32.4
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้และความพึงพอใจต่อนโยบายของรัฐบาล
ลำดับที่ นโยบาย เห็นผลงานค่าร้อยละ ความพึงพอใจค่าร้อยละ
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 94.1 76.3
2 โครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล 90.1 78.0
3 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 87.2 65.2
4 การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท 76.1 59.7
5 การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี 63.4 51.4
6 การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 59.4 38.9
7 การจัดตั้งธนาคารประชาชน 52.3 43.7
8 การพัฒนารัฐวิสาหกิจ 50.8 37.3
9 การจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลาง / เล็ก 36.3 29.9
10 การจัดตั้ง TAMC แห่งชาติ 27.0 24.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า ร้อยละ
1 มั่นใจ 17.1
2 ค่อนข้างมั่นใจ 25.0
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 35.0
4 ไม่มั่นใจ 14.2
5 ไม่มีความเห็น 8.7
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า ร้อยละ
1 มั่นใจ 12.6
2 ค่อนข้างมั่นใจ 15.8
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 34.3
4 ไม่มั่นใจ 23.6
5 ไม่มีความเห็น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการปราบปรามคอรัปชั่นได้อย่างแท้จริง
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการปราบปรามคอรัปชั่นได้อย่างแท้จริงในอีก 6 เดือนข้างหน้า ร้อยละ
1 มั่นใจ 13.8
2 ค่อนข้างมั่นใจ 17.6
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 34.3
4 ไม่มั่นใจ 26.8
5 ไม่มีความเห็น 7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริงในอีก 6 เดือนข้างหน้า ร้อยละ
1 มั่นใจ 26.2
2 ค่อนข้างมั่นใจ 29.4
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 24.3
4 ไม่มั่นใจ 15.3
5 ไม่มีความเห็น 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อข้อคำถาม "ท่านนิยมชอบ พรรคการเมืองใดมากกว่ากัน
ระหว่าง พรรคไทยรักไทย กับพรรคประชาธิปัตย์"
ลำดับที่ พรรคการเมือง 1 ปีรัฐบาล 2 ปีรัฐบาล 3 ปีรัฐบาล 3 ปี 6 เดือน
(กุมภาพันธ์ 2545) (มีนาคม 2546) (กุมภาพันธ์ 2547) (กรกฎาคม 2547)
1 ไทยรักไทย 40.6 53.5 51.2 55.6
2 ประชาธิปัตย์ 19.6 14.3 16.3 10.3
3 ไม่มีความเห็น 39.8 32.2 32.5 34.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงความนิยมของประชาชนที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตามภูมิภาค
ความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กทม. กลาง อีสาน เหนือ ใต้ ภาพรวม
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 65.0 59.4 61.0 66.9 42.0 61.6
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการหรือไม่ต้องการที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความต้องการของตัวอย่างที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงาน ร้อยละ
1 ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ 75.1
2 ไม่ต้องการ 5.1
3 ไม่มีความเห็น 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการหรือไม่ต้องการที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความต้องการของตัวอย่าง 1 ปีรัฐบาล 2 ปีรัฐบาล 3 ปีรัฐบาล 3 ปี 6 เดือน
ที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงาน (กุมภาพันธ์ 545) (มีนาคม 2546) (กุมภาพันธ์2547) (กรกฎาคม 2547)
1 ต้องการให้โอกาสรัฐบาล 58.7 69.6 67.7 75.1
2 ไม่ต้องการ 6.4 3.4 4.2 5.1
3 ไม่มีความเห็น 34.9 27.0 28.1 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ผลงานรัฐบาลและคะแนนนิยมทักษิณในสายตาประชาชน" ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 25 จังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,817 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 - 17 กรกฎาคม 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ประเด็นสำคัญประการที่หนึ่งที่คณะผู้วิจัยได้ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ เหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อของรัฐบาล ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.0 ระบุเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลได้แก่ การขึ้นราคาน้ำมัน รองลงมาคือร้อยละ 54.7 ระบุการขึ้นราคาสินค้า ร้อยละ 53.2 ระบุปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 40.4 ระบุปัญหาราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ และร้อยละ 37.8 ระบุปัญหาการบริหารของสถานีโทรทัศน์ช่อง 5/ ปัญหา การออกอากาศของโทรทัศน์ช่อง 11 และร้อยละ 32.3 ระบุ การแพร่ระบาดของยาเสพติดตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ เมื่อคณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าร้อยละของการรับรู้และความพึงพอใจในผลงานต่างๆของรัฐบาล พบว่านโยบายที่ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.1ระบุเห็นผลงานได้แก่ การแก้ปัญหายาเสพติด รองลงมาคือร้อยละ 90.1 ระบุเห็นผลงานของโครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล (OTOP) และร้อยละ 87.2 ระบุโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค สำหรับผลงานที่ประชาชนให้ความพึงพอใจมากที่สุดได้แก่ โครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบลหรือ "OTOP" ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 78.0 ระบุพอใจในผลงานดังกล่าว รองลงมาคือร้อยละ 76.3 ระบุ การแก้ปัญหา ยาเสพติด และร้อยละ 65.2 ระบุโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ตามลำดับ
สำหรับความมั่นใจของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ ของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้าก่อนครบวาระนั้น พบว่า ประชาชนกว่าร้อยละ 50 ระบุมั่นใจว่าในช่วงเวลา 6 เดือนที่เหลืออยู่นั้นรัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง (ร้อยละ 26.2 ระบุมั่นใจ/ร้อยละ 29.4 ระบุค่อนข้างมั่นใจ) รองลงคือร้อยละ 42.1 ระบุมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจได้ (ร้อยละ 17.1 ระบุมั่นใจ/ร้อยละ 25.0 ระบุค่อนข้างมั่นใจ)
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 60 ไม่ค่อยมั่นใจและไม่มั่นใจ (ร้อยละ 34.3 ไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 26.8 ไม่มั่นใจ) ว่ารัฐบาลในการปราบปรามคอรัปชั่นได้อย่างแท้จริงในอีก 6 เดือนข้างหน้า ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.9 ไม่ค่อยมั่นใจและไม่มั่นใจ (ร้อยละ 34.3 ไม่ค่อยมั่นใจและร้อยละ 23.6 ไม่มั่นใจ) ว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาความแตกแยกระหว่างกลุ่ม ส.ส. ในรัฐบาลได้
เอแบคโพลล์ได้สอบถามถึงความนิยมต่อพรรคการเมืองเปรียบเทียบระหว่างพรรคไทยรักไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ จำแนกตามระยะเวลาการทำสำรวจเมื่อรัฐบาลทำงานครบ 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 3 ปี 6 เดือน ซึ่งผลสำรวจพบว่า ความนิยมของประชาชนต่อพรรคไทยรักไทยสูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์กว่าสองเท่าตัวในการสำรวจทุกครั้งที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้นผลสำรวจพบว่าแนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อพรรคไทยรักไทยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจตอนรัฐบาลทำงานครบ 1 ปี (ร้อยละ 40.6) กับผลสำรวจล่าสุด (ร้อยละ 55.6) ในขณที่พรรคประชาธิปัตย์กลับได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนลดต่ำลง คือร้อยละ 19.6 ในปีพ.ศ. 2545 เหลือร้อยละ 10.3 ในปี พ.ศ. 2547
เอแบคโพลล์ยังได้วัดแนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่รัฐบาลเริ่มทำงานใน 3 เดือนแรก ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนให้ความนิยมต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณมากที่สุดคือร้อยละ 71.9 ในเดือน พ.ค. 2544 แล้วลดต่ำลงสุดคือร้อยละ 39.9 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2545 จากนั้นแนวความความนิยมของประชาชนค่อยๆ สูงขึ้นจนถึงร้อยละ 64.6 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 และลดต่ำลงที่ร้อยละ 60.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และสูงขึ้นอีกเล็กน้อยในการสำรวจครั้งล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 61.6 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนทั่วประเทศในระดับที่สูงพอสมควร คณะผู้วิจัยมองว่าความนิยมที่สูงในระดับนี้น่าจะเป็นเพราะการรับรู้ของประชาชนต่อการทุ่มเททำงานหนักและคะแนนความเห็นใจที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรกำลังพยายามแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ ของจำนวนมากของประเทศ เช่นปัญหาชายแดนภาคใต้ ปัญหายาเสพติด และปัญหาทางการเมือง
เมื่อจำแนกความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ออกตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความนิยมต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ (นั่นคือ ร้อยละ 65.0 ของคนกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 59.4 ของประชาชนในภาคกลาง ร้อยละ 61.0 ของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 66.9 ของประชาชนในภาคเหนือ และร้อยละ 42.0 ของประชาชนในภาคใต้)
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.1 ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระในขณะที่เพียงร้อยละ 5.1 ไม่ต้องการและร้อยละ 19.8 ไม่มีความเห็น และเมื่อพิจารณาแนวโน้มของประชาชนที่ให้โอกาส รัฐบาลทำงานตามช่วงเวลาของการทำสำรวจตั้งแต่รัฐบาลทำงานครบ 1 ปีจนถึงปัจจุบัน ผลสำรวจพบว่า แนวโน้มของ ประชาชนที่ให้โอกาสรัฐบาลทำงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือร้อยละ 58.7 ในช่วงที่รัฐบาลทำงานครบหนึ่งปี ร้อยละ 69.6 เมื่อรัฐบาลทำงานครบสองปี ร้อยละ 67.7 เมื่อรัฐบาลทำงานครบสามปี และร้อยละ 75.1 เมื่อรัฐบาลทำงานครบสามปีหกเดือน
--เอแบคโพลล์--
-พห-
กว่า 3 ปี ในการเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีนั้น ได้รับความสนใจและติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่องจากประชาชน สื่อมวลชน องค์กรต่างๆทั้งในและต่างประเทศมาโดยตลอด ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายตามที่ได้ประกาศหาเสียงไว้กับประชาชน อาทิ การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละหนึ่งล้านบาท โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น และนอกจากนี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมายังมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมายที่อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้มีการติดตามผลงานของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดินมาโดยตลอด รวมทั้งได้มีการสำรวจความคิดเห็นและทรรศนะของประชาชนในประเด็นสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อค้นหาข้อมูลทางสถิติศาสตร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์จากประชาชนทั่วไป ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและประชาชนผู้สนใจทั่วไปใช้ในการปฏิรูปการเมืองของประเทศต่อไป และในครั้งนี้สำนักวิจัยฯได้มีโครงการสำรวจภาคสนามเพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลในช่วงครึ่งปีสุดท้ายก่อนครบวาระในต้นปี พ.ศ. 2548 โดยได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ครอบคลุม 25 จังหวัดทั่วประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ทั้งในชุมชนเมืองและเขตชนบทจากประชาชนทุกสาขาอาชีพ
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ที่ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
2. เพื่อสำรวจการรับรู้และความพึงพอใจในผลงานของรัฐบาลในรอบ 3 ปี 6 เดือนที่ผ่านมา
3. เพื่อวัดแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในการรับรู้และความพึงพอใจของประชาชนต่อผลงานใน ภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะบุคคลในสถาบันการเมืองและประชาชนทั่วไปใช้ตัดสินใจดำเนินการทางการเมืองเพื่อการปฏิรูปการเมืองของประเทศได้
2. เป็นข้อมูลให้ผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง "ผลงานรัฐบาลและคะแนนนิยมทักษิณในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 25 จังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 - 17 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกจังหวัดตัวอย่างได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ เลย กาฬสินธุ์ นครนายก นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สระแก้ว นครศรีธรรมราช ตรัง ชุมพร และ ระนอง จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วน โดยให้ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดของตัวอย่าง คือ 4,817 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error) +/- ร้อยละ 3.39 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล งบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ร้อยละ 54.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.5 ระบุเป็นชาย
ซึ่งร้อยละ 26.9 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 26.8 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 20.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 81.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 17.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
โดยที่ตัวอย่าง ร้อยละ 39.5 อาชีพเกษตรกร / รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 26.5 ค้าขายส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 10.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.7 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.3 เกษียณอายุ / แม่บ้าน และไม่ได้ประกอบอาชีพ
และร้อยละ 5.2 เป็นนักศึกษา
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบของผลสำรวจปรากฏในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลนับตั้งแต่รัฐบาล
เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ปัญหาน้ำมันขึ้นราคา 63.0
2 ปัญหาสินค้าราคาแพง 54.7
3 ปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 53.2
4 ปัญหาราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ 40.4
5 ปัญหาของสถานีโทรทัศน์ช่อง5 /ปัญหาการบริหารงานในสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 37.8
6 การแพร่ระบาดของยาเสพติด 32.3
7 การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก 31.2
8 ปัญหาข้อสอบเอ็นทรานซ์รั่ว 30.9
9 ปัญหาความขัดแย้งภายในรัฐบาล 28.9
10 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 27.9
11 ปัญหาผลประโยชน์ทางธุรกิจของคนในฝ่ายรัฐบาล 27.2
12 ปัญหาในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 22.9
13 อื่นๆ เช่น คดีลอบสังหารประธานกลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรี
เป็นรายบุคคล การอภิปรายไม่ไว้วางใจ การแทรกแซงสื่อมวลชน เป็นต้น 32.4
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้และความพึงพอใจต่อนโยบายของรัฐบาล
ลำดับที่ นโยบาย เห็นผลงานค่าร้อยละ ความพึงพอใจค่าร้อยละ
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 94.1 76.3
2 โครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล 90.1 78.0
3 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 87.2 65.2
4 การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท 76.1 59.7
5 การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี 63.4 51.4
6 การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 59.4 38.9
7 การจัดตั้งธนาคารประชาชน 52.3 43.7
8 การพัฒนารัฐวิสาหกิจ 50.8 37.3
9 การจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลาง / เล็ก 36.3 29.9
10 การจัดตั้ง TAMC แห่งชาติ 27.0 24.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า ร้อยละ
1 มั่นใจ 17.1
2 ค่อนข้างมั่นใจ 25.0
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 35.0
4 ไม่มั่นใจ 14.2
5 ไม่มีความเห็น 8.7
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า ร้อยละ
1 มั่นใจ 12.6
2 ค่อนข้างมั่นใจ 15.8
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 34.3
4 ไม่มั่นใจ 23.6
5 ไม่มีความเห็น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการปราบปรามคอรัปชั่นได้อย่างแท้จริง
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการปราบปรามคอรัปชั่นได้อย่างแท้จริงในอีก 6 เดือนข้างหน้า ร้อยละ
1 มั่นใจ 13.8
2 ค่อนข้างมั่นใจ 17.6
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 34.3
4 ไม่มั่นใจ 26.8
5 ไม่มีความเห็น 7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริงในอีก 6 เดือนข้างหน้า ร้อยละ
1 มั่นใจ 26.2
2 ค่อนข้างมั่นใจ 29.4
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 24.3
4 ไม่มั่นใจ 15.3
5 ไม่มีความเห็น 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อข้อคำถาม "ท่านนิยมชอบ พรรคการเมืองใดมากกว่ากัน
ระหว่าง พรรคไทยรักไทย กับพรรคประชาธิปัตย์"
ลำดับที่ พรรคการเมือง 1 ปีรัฐบาล 2 ปีรัฐบาล 3 ปีรัฐบาล 3 ปี 6 เดือน
(กุมภาพันธ์ 2545) (มีนาคม 2546) (กุมภาพันธ์ 2547) (กรกฎาคม 2547)
1 ไทยรักไทย 40.6 53.5 51.2 55.6
2 ประชาธิปัตย์ 19.6 14.3 16.3 10.3
3 ไม่มีความเห็น 39.8 32.2 32.5 34.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงความนิยมของประชาชนที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำแนกตามภูมิภาค
ความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กทม. กลาง อีสาน เหนือ ใต้ ภาพรวม
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 65.0 59.4 61.0 66.9 42.0 61.6
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการหรือไม่ต้องการที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความต้องการของตัวอย่างที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงาน ร้อยละ
1 ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ 75.1
2 ไม่ต้องการ 5.1
3 ไม่มีความเห็น 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการหรือไม่ต้องการที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความต้องการของตัวอย่าง 1 ปีรัฐบาล 2 ปีรัฐบาล 3 ปีรัฐบาล 3 ปี 6 เดือน
ที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงาน (กุมภาพันธ์ 545) (มีนาคม 2546) (กุมภาพันธ์2547) (กรกฎาคม 2547)
1 ต้องการให้โอกาสรัฐบาล 58.7 69.6 67.7 75.1
2 ไม่ต้องการ 6.4 3.4 4.2 5.1
3 ไม่มีความเห็น 34.9 27.0 28.1 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ผลงานรัฐบาลและคะแนนนิยมทักษิณในสายตาประชาชน" ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 25 จังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,817 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 - 17 กรกฎาคม 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ประเด็นสำคัญประการที่หนึ่งที่คณะผู้วิจัยได้ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ เหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อของรัฐบาล ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.0 ระบุเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลได้แก่ การขึ้นราคาน้ำมัน รองลงมาคือร้อยละ 54.7 ระบุการขึ้นราคาสินค้า ร้อยละ 53.2 ระบุปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 40.4 ระบุปัญหาราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ และร้อยละ 37.8 ระบุปัญหาการบริหารของสถานีโทรทัศน์ช่อง 5/ ปัญหา การออกอากาศของโทรทัศน์ช่อง 11 และร้อยละ 32.3 ระบุ การแพร่ระบาดของยาเสพติดตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ เมื่อคณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าร้อยละของการรับรู้และความพึงพอใจในผลงานต่างๆของรัฐบาล พบว่านโยบายที่ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.1ระบุเห็นผลงานได้แก่ การแก้ปัญหายาเสพติด รองลงมาคือร้อยละ 90.1 ระบุเห็นผลงานของโครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล (OTOP) และร้อยละ 87.2 ระบุโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค สำหรับผลงานที่ประชาชนให้ความพึงพอใจมากที่สุดได้แก่ โครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบลหรือ "OTOP" ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 78.0 ระบุพอใจในผลงานดังกล่าว รองลงมาคือร้อยละ 76.3 ระบุ การแก้ปัญหา ยาเสพติด และร้อยละ 65.2 ระบุโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ตามลำดับ
สำหรับความมั่นใจของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ ของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้าก่อนครบวาระนั้น พบว่า ประชาชนกว่าร้อยละ 50 ระบุมั่นใจว่าในช่วงเวลา 6 เดือนที่เหลืออยู่นั้นรัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง (ร้อยละ 26.2 ระบุมั่นใจ/ร้อยละ 29.4 ระบุค่อนข้างมั่นใจ) รองลงคือร้อยละ 42.1 ระบุมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจได้ (ร้อยละ 17.1 ระบุมั่นใจ/ร้อยละ 25.0 ระบุค่อนข้างมั่นใจ)
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 60 ไม่ค่อยมั่นใจและไม่มั่นใจ (ร้อยละ 34.3 ไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 26.8 ไม่มั่นใจ) ว่ารัฐบาลในการปราบปรามคอรัปชั่นได้อย่างแท้จริงในอีก 6 เดือนข้างหน้า ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.9 ไม่ค่อยมั่นใจและไม่มั่นใจ (ร้อยละ 34.3 ไม่ค่อยมั่นใจและร้อยละ 23.6 ไม่มั่นใจ) ว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาความแตกแยกระหว่างกลุ่ม ส.ส. ในรัฐบาลได้
เอแบคโพลล์ได้สอบถามถึงความนิยมต่อพรรคการเมืองเปรียบเทียบระหว่างพรรคไทยรักไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ จำแนกตามระยะเวลาการทำสำรวจเมื่อรัฐบาลทำงานครบ 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 3 ปี 6 เดือน ซึ่งผลสำรวจพบว่า ความนิยมของประชาชนต่อพรรคไทยรักไทยสูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์กว่าสองเท่าตัวในการสำรวจทุกครั้งที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้นผลสำรวจพบว่าแนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อพรรคไทยรักไทยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจตอนรัฐบาลทำงานครบ 1 ปี (ร้อยละ 40.6) กับผลสำรวจล่าสุด (ร้อยละ 55.6) ในขณที่พรรคประชาธิปัตย์กลับได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนลดต่ำลง คือร้อยละ 19.6 ในปีพ.ศ. 2545 เหลือร้อยละ 10.3 ในปี พ.ศ. 2547
เอแบคโพลล์ยังได้วัดแนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่รัฐบาลเริ่มทำงานใน 3 เดือนแรก ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนให้ความนิยมต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณมากที่สุดคือร้อยละ 71.9 ในเดือน พ.ค. 2544 แล้วลดต่ำลงสุดคือร้อยละ 39.9 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2545 จากนั้นแนวความความนิยมของประชาชนค่อยๆ สูงขึ้นจนถึงร้อยละ 64.6 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 และลดต่ำลงที่ร้อยละ 60.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และสูงขึ้นอีกเล็กน้อยในการสำรวจครั้งล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 61.6 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนทั่วประเทศในระดับที่สูงพอสมควร คณะผู้วิจัยมองว่าความนิยมที่สูงในระดับนี้น่าจะเป็นเพราะการรับรู้ของประชาชนต่อการทุ่มเททำงานหนักและคะแนนความเห็นใจที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรกำลังพยายามแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ ของจำนวนมากของประเทศ เช่นปัญหาชายแดนภาคใต้ ปัญหายาเสพติด และปัญหาทางการเมือง
เมื่อจำแนกความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ออกตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความนิยมต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ (นั่นคือ ร้อยละ 65.0 ของคนกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 59.4 ของประชาชนในภาคกลาง ร้อยละ 61.0 ของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 66.9 ของประชาชนในภาคเหนือ และร้อยละ 42.0 ของประชาชนในภาคใต้)
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.1 ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระในขณะที่เพียงร้อยละ 5.1 ไม่ต้องการและร้อยละ 19.8 ไม่มีความเห็น และเมื่อพิจารณาแนวโน้มของประชาชนที่ให้โอกาส รัฐบาลทำงานตามช่วงเวลาของการทำสำรวจตั้งแต่รัฐบาลทำงานครบ 1 ปีจนถึงปัจจุบัน ผลสำรวจพบว่า แนวโน้มของ ประชาชนที่ให้โอกาสรัฐบาลทำงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือร้อยละ 58.7 ในช่วงที่รัฐบาลทำงานครบหนึ่งปี ร้อยละ 69.6 เมื่อรัฐบาลทำงานครบสองปี ร้อยละ 67.7 เมื่อรัฐบาลทำงานครบสามปี และร้อยละ 75.1 เมื่อรัฐบาลทำงานครบสามปีหกเดือน
--เอแบคโพลล์--
-พห-