ที่มาของโครงการ
เยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งปัจจุบันและอนาคต ถ้าเยาวชนตกอยู่ในสภาพที่เสื่อมถอย ทั้งในด้านสุขภาพร่างกาย-จิตใจ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ ด้านสำนึกความรับผิดชอบ ผลที่ตามมาก็คือการพัฒนาประเทศและเสถียรภาพทางสังคมก็จะอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง
ปัจจุบันมีปัจจัยหลายด้านที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเยาวชนไทย อาทิ สารเสพติด อบายมุข การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การมั่วสุมทางเพศ การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ และ การทำแท้ง นอกจากนี้ยังมีสิ่งกระตุ้นยั่วเย้าทางด้านวัตถุนิยมและสิ่งมอมเมาให้เยาวชนหลงใหลคลั่งไคล้ในการบริโภคนิยม ขณะเดียวกันปัจจัยที่จะสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนอย่างสร้างสรรค์ก็มีอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถ ตอบสนองการพัฒนาให้มีคุณภาพที่ดีได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ปัญหาต่างๆ และควรมีการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเยาวชนอย่างต่อเนื่อง สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในคุณภาพของเยาวชนไทย จึงได้จัดให้มีโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตของ เยาวชนไทยขึ้น โดยมีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลครอบคลุมในเรื่องรูปแบบการดำเนินชีวิต การศึกษาเล่าเรียน การใช้เวลาว่าง การวางแผนอนาคต การทำงาน สิ่งแวดล้อม และการเสพสิ่งเสพติด เป็นต้น
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อสำรวจจำนวนเยาวชนทั่วประเทศที่เกี่ยวข้อง/ใช้ยาเสพติด
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติดของเยาวชน
3. เพื่อประมาณการจำนวนเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้ยาเสพติดจำแนกตามภูมิภาคประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญและนำเสนอต่อรัฐบาล หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินนโยบายหรือมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาคุณภาพที่ดีของเยาวชนไทย
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจสถานการณ์ปัญหา ยาเสพติด และวิจัยเพื่อประมาณการจำนวนเยาวชนไทยทั่วประเทศที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด: กรณีศึกษากลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 11 - 26 ปีในระดับครัวเรือน หอพัก อพาร์ทเมนต์ และคอนโดมิเนียม ใน 29 จังหวัด ทั่วประเทศ" ซึ่งโครงการนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเยาวชนที่กระทำเป็นประจำในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน และการประมาณการจำนวน เยาวชนทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด โดยได้ทำการศึกษาตัวอย่างเยาวชนไทย ซึ่งคณะวิจัยได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยที่กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือเยาวชนที่มีอายุ 11 - 26 ปี ใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ น่าน นครสวรรค์ กำแพงเพชร กาญจนบุรี ลพบุรี ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี นครราชสีมา ศรีสะเกษ หนองคาย อุบลราชธานี ยโสธร ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา และยะลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-Stage Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่างแบบความเป็นไปได้ตามสัดส่วนของขนาดประชากร (Probability Proportionate to Size Sampling) ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับครัวเรือน (household) และแหล่งที่พักอาศัยอื่นๆ อาทิ หอพัก อพาร์ทเมนต์ และคอนโดมิเนียม เป็นต้น
ขนาดของตัวอย่างเยาวชนอายุระหว่าง 11 - 26 ปีในการศึกษาครั้งนี้คือ 14,783 คน
ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่างที่ระดับบวกลบร้อยละ 3.28
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า วิเคราะห์ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่า ร้อยละ 54.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 9.6 ระบุอายุ 11-12 ปี
ร้อยละ 18.4 ระบุอายุ 13-15 ปี
ร้อยละ 24.7 ระบุอายุ 16-18 ปี
ร้อยละ 22.9 ระบุอายุ 19-21 ปี
และร้อยละ 24.4 ระบุอายุมากกว่า 21 ปีตามลำดับ
เมื่อพิจารณาสถานภาพทางการศึกษาพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.7 ระบุยังเป็นนักเรียน-นักศึกษาอยู่
ในขณะที่ร้อยละ 57.3 ระบุไม่ได้เป็นนักเรียน-นักศึกษา
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบของผลสำรวจปรากฏในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วย
ลำดับที่ บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วย ปี2546ร้อยละ ปี 2547ร้อยละ การเปลี่ยนแปลง
1 อยู่บ้านบิดามารดา 76.2 69.3 - 6.9
2 บ้านญาติ/พี่น้อง 12.0 11.8 - 0.2
3 พักอาศัยอยู่คนเดียว ตามหอพัก
อพาร์ทเมนต์ คอนโดมิเนียม 2.1 8.3 +6.2
4 อื่นๆ อาทิ อยู่กับเพื่อน / อยู่กับแฟน/ คู่รัก
/ อยู่กับครู /อาจารย์ / ผู้ปกครองที่ไม่ใช่ญาติ 9.7 10.6 +0.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดง 10 อันดับ กิจกรรมที่สร้างสรรค์ในกลุ่มเยาวชนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ กิจกรรมที่สร้างสรรค์ที่กลุ่มเยาวชนได้กระทำในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ปี 2546ร้อยละ ปี 2547ร้อยละ
1 พบปะใช้เวลาว่างอยู่กับครอบครัว/ญาติพี่น้อง 96.2 84.7
2 ติดตามข่าวสารประจำวันผ่านสื่อมวลชน 94.9 95.2
3 เล่นกีฬา 91.1 89.4
4 กิจกรรมเพื่อสังคม/สาธารณะประโยชน์ 86.2 76.9
5 ทำกิจกรรมทางศาสนา (เช่นทำบุญ ตักบาตร) 85.3 79.4
6 ท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ 80.7 87.9
7 ทำงาน/รายได้พิเศษ 67.1 75.2
8 อ่านหนังสือ/ เข้าห้องสมุด 54.3 48.4
9 เรียนพิเศษ 32.0 42.1
10 เล่นดนตรี 21.1 22.6
ตารางที่ 3 แสดง 10 อันดับ กิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ในกลุ่มเยาวชน ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ที่กลุ่มเยาวชนได้กระทำ ปีพ.ศ.2546 ร้อยละ ปีพ.ศ.2547 ร้อยละ
1 ดื่มเบียร์ ไวน์ เหล้า เป็นต้น 37.1 41.2
2 หนีเรียน ขาดเรียน 26.7 28.4
3 ดูหนังสือ /อินเตอร์เนต ภาพยนตร์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ 25.5 38.1
4 เล่นการพนัน 22.1 32.6
5 มีเพศสัมพันธ์ 21.3 31.8
6 ทะเลาะวิวาทกับนักเรียน/ นักศึกษา 17.4 26.9
7 สูบบุหรี่ 15.4 13.7
8 ลักขโมย 5.6 7.9
9 ถ่ายภาพนายแบบ นางแบบ 3.2 3.4
10 ถ่ายภาพนู้ด 2.2 2.7
ตารางที่ 4 แสดงผลประมาณการจำนวนและค่าร้อยละของเยาวชนไทยที่มีความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศ
ปี พ.ศ. 2546 ปี พ.ศ. 2547
ลำดับที่ ความโน้มเอียงของเยาวชน ผลประมาณการจำนวนคน ค่าร้อยละ ผลประมาณการจำนวนคน ค่าร้อยละ
ในการขายบริการทางเพศ
1 มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการทางเพศ 386,555 2.4 472,575 2.7
2 ไม่มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการทางเพศ 15,719,845 97.6 17,226,766 97.3
รวมทั้งสิ้น 16,106,400 100.0 17,699,341 100.0
ตารางที่ 5 สรุปผลประมาณการจำนวนเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้ยาเสพติด โดยไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์
จำแนกตามการเปรียบเทียบระหว่าง 3 เดือนหลังรัฐบาลทำสงครามกับยาเสพติด กับ ปี พ.ศ. 2547
พฤติกรรมของเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้ยาเสพติด 3 เดือนหลังรัฐบาลทำสงครามกับ ปัจจุบันปี
(ไม่รวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย) ยาเสพติด(พฤษภาคม 2546) พ.ศ. 2547
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ใช้ยาเสพติด (ไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย)
ตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา 444,307 2.76 955,764 5.40
***ฐานประชากรเป้าหมายมีจำนวนทั้งสิ้น 17,699,341 คน ปี พ.ศ.2547
ตารางที่ 6 สรุปผลประมาณการจำนวนเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้ยาเสพติด โดยไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์
จำแนกออกตามผู้ที่เป็นนักเรียน-นักศึกษา กับผู้ที่ไม่ได้เป็นนักเรียน-นักศึกษา
พฤติกรรมของนักเรียน-นักศึกษาที่ใช้ยาเสพติด นักเรียน-นักศึกษา ผู้ที่ไม่ได้เป็น นักเรียน-นักศึกษา
(ไม่รวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย) จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ใช้ยาเสพติด (ไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย)
ตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา 251,366 3.39 704,398 6.85
***ฐานประชากรเป้าหมายมีจำนวนทั้งสิ้น 17,699,341 คน ปี พ.ศ.2547
ตารางที่ 7 แสดงผลประมาณการจำนวนและค่าร้อยละของเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้สิ่งเสพติด
(ไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย)จำแนกตามประเภทของยาเสพติดและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของยาเสพติด ผลประมาณการจำนวนเยาวชนที่ใช้ยาเสพติด(คน) ค่าร้อยละ
1 ยาขยัน /ยาบ้า /ยาม้า 561,823 58.78
2 กัญชา 492,112 51.49
3 สารระเหย / กาว / แลค 216,775 22.68
4 ยาอี 164,421 17.20
5 ยากล่อมประสาท เช่น โดมีคุ่ม / แวเลี่ยม 127,493 13.34
6 ยาเลิฟ 78,328 8.19
7 ยาเค / เคตามีน 61,275 6.41
8 เฮโรอีน /แป๊ะ/ผงขาว 59,608 6.24
9 ฝิ่น 52,819 5.53
10 โคเคน 30,718 3.21
11 มอร์ฟีน 21,315 2.23
หมายเหตุ ฐานจำนวนเยาวชนผู้ใช้ยาเสพติดจำนวน 955,764 คน
ตารางที่ 8 แสดงผลประมาณการและค่าร้อยละของกลุ่มเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้ยาเสพติด เปรียบเทียบ
ระหว่าง 3 เดือนหลังรัฐบาลทำสงครามกับยาเสพติด กับปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2547 จำแนกตาม
ภูมิภาคทั่วประเทศ
เปรียบเทียบช่วงเวลา ภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้
จำนวนคน % จำนวนคน % จำนวนคน % จำนวนคน % จำนวนคน %
3 เดือนหลังทำสงคราม
กับยาเสพติด 95,526 3.3 71,977 2.0 40,876 1.7 99,525 3.0 136,403 5.8
ฐานจำนวนประชากร 2,882,944 - 3,627,758 - 5,904,685 - 1,351,939 - 2,339,074 -
ปี พ.ศ. 2546
ปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2547 152,393 4.76 177,190 4.49 97,225 5.82 270,099 4.34 258,857 9.74
ฐานจำนวนประชากร 3,201,532 - 3,946,346 - 1,670,527 - 6,223,273 - 2,657,663 -
แต่ละภาค ปีปัจจุบัน
บทสรุปผลวิจัย
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนามโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตของเยาวชนไทย เรื่อง "สำรวจสถานการณ์ปัญหายาเสพติดและวิจัยเพื่อประมาณการจำนวนเยาวชนไทยทั่วประเทศที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด: กรณีศึกษากลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 11 - 26 ปีในระดับครัวเรือน หอพัก อพาร์ทเมนต์ และคอนโดมิเนียม ใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ" ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างเยาวชน อายุระหว่าง 11 - 26 ปี ใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนเยาวชนในการศึกษาครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 14,783 คน ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
ผลสำรวจพบว่า เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา รองลงมาคือร้อยละ 11.8 พักอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง ร้อยละ 8.3 พักอาศัยอยู่คนเดียวตามหอพัก อพาร์ตเม้น และคอนโด ในขณะที่ร้อยละ 10.6 ระบุอื่นๆ เช่น พักอาศัยอยู่กับเพื่อน อยู่กับแฟนคู่รัก อยู่กับครู อาจารย์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนในปี พ.ศ. 2546 พบว่า เยาวชนที่พักอาศัยอยู่กับบิดามารดามีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 76.2 เหลือร้อยละ 69.3 นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึง กิจกรรมสร้างสรรค์ที่เยาวชนกระทำในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.2 ระบุติดตาม ข่าวสารผ่านสื่อมวลชน รองลงมาคือร้อยละ 89.4 ระบุเล่นกีฬา ร้อยละ 87.9 ระบุท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ ร้อยละ 84.7 ระบุพบปะใช้เวลาว่างอยู่กับครอบครัวบิดามารดาและญาติพี่น้อง ร้อยละ 79.4 ทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญ ตักบาตร ร้อยละ 76.9 ทำกิจกรรมเพื่อสังคม สาธารณะประโยชน์ ร้อยละ 48.4 อ่านหนังสือ เข้าห้องสมุด ร้อยละ 42.1 เรียนพิเศษ และร้อยละ 22.6 เล่นดนตรี
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนในปี พ.ศ. 2546 พบกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สัดส่วนของเยาวชนลดลง ได้แก่ การใช้เวลาอยู่กับบิดามารดา ญาติพี่น้อง จากร้อยละ 96.2 เหลือร้อยละ 84.7 การทำกิจกรรมเพื่อสังคมสาธารณะประโยชน์จากร้อยละ 86.2 เหลือร้อยละ 76.9 การทำบุญตักบาตร จากร้อยละ 85.3 เหลือร้อยละ 79.4 อ่านหนังสือเข้าห้องสมุดลดลงจากร้อยละ 54.3 เหลือร้อยละ 48.4 นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังพบว่า สัดส่วนของเยาวชนกลับสูงขึ้นในกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ ได้แก่ เยาวชนดูหนังสือ อินเตอร์เนต ภาพยนต์ลามกอนาจาร เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 25.5 เป็น ร้อยละ 38.1 เล่นการพนันจากร้อยละ 22.1 เป็นร้อยละ 32.6 หนีเรียนขาดเรียนจากร้อยละ 26.7 เป็นร้อยละ 28.4 ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ จากร้อยละ 37.1 เป็นร้อยละ 41.2 และทะเลาะวิวาท จากร้อยละ 17.4 เป็นร้อยละ 26.9
ผลสำรวจยังพบว่า จำนวนเยาวชนที่มีความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศเพิ่มมากขึ้น จาก 386,555 คนในปีพ.ศ. 2546 เป็น 472,575 คนในการสำรวจล่าสุด ประเด็นผลสำรวจที่น่าเป็นห่วงคือ หลังจากเปรียบเทียบจำนวนเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดระหว่างช่วง 3 เดือนหลังรัฐบาลทำสงครามกับยาเสพติด กับผลสำรวจในปัจจุบันปีพ.ศ. 2547 พบว่า จำนวนเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นจาก 444,307 คนในช่วงเวลา 3 เดือนหลังรัฐบาลทำสงครามยาเสพติด เป็น 955,764 คนในการสำรวจครั้งล่าสุด เมื่อจำแนกกลุ่มเยาวชนออกเป็นกลุ่มที่เป็นนักเรียน-นักศึกษา และกลุ่มที่ไม่ได้เป็นนักเรียน-นักศึกษา ผลสำรวจพบว่าเยาวชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษามีจำนวนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจำนวน 251,366 คน ในขณะที่เยาวชนที่ไม่ได้เป็นนักเรียน-นักศึกษาเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดสูงถึง 704,398 คน
เมื่อจำแนกออกเป็นประเภทตัวอย่าง ผลวิจัยพบว่า เยาวชนจำนวน 561,823 คนหรือร้อยละ 58.78 ของจำนวนคนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งหมดระบุใช้ยาบ้า อันดับสองคือ กัญชามีจำนวน 492,112 คนหรือร้อยละ 51.49 อันดับสาม ได้แก่ สารระเหย กาว แลค มีเยาวชนจำนวน 216,775 หรือร้อยละ 22.68 อันดับสี่ได้แก่ ยาอี มีเยาวชนจำนวน 164,421 คนหรือร้อยละ 17.20 อันดับที่ห้าได้แก่ ยากล่อมประสาท เช่นโดมีคุ่ม แวเลี่ยม มีเยาวชนจำนวน 127,493 คน หรือร้อยละ 13.34 ตามด้วยยาเลิฟจำนวน 78,328 คน ยาเคจำนวน 61,275 คน เฮโรอีน แป๊ะ ผงขาว จำนวน 59,608 คน ฝิ่น จำนวน 52,819 คน และโคเคน จำนวน 30,718 คน
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เอแบคโพลล์ได้เปรียบเทียบจำนวนเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดไม่นับรวมเหล้าบุหรี่ ระหว่างช่วง 3 เดือนแรกหลังรัฐบาลทำสงครายาเสพติด กับผลสำรวจครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2547 และจำแนกตามภูมิภาค ซึ่งพบว่า จำนวนเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดสูงขึ้นในทุกๆ ภูมิภาคของประเทศ ซึ่งเยาวชนในภาคใต้มีสัดส่วนของผู้ใช้ยาเสพติดสูงที่สุดหรือร้อยละ 9.74 ของจำนวนเยาวชนในภาคใต้ รองลงมาคือ เยาวชนในกรุงเทพมหานครร้อยละ 5.82 ตามด้วยเยาวชนใน ภาคเหนือร้อยละ 4.76 เยาวชนภาคกลางร้อยละ 4.49 และเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 4.34 ตามลำดับ (ดูรายละเอียดในตารางที่ 8)
คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ยาเสพติดกลับมาแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นขณะนี้ น่าจะเกิดจากขบวนการ ค้ายาเสพติดสามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อผลประโยชน์กับอำนาจรัฐและอำนาจทางการเมืองสายใหม่ได้ แต่ในบางพื้นที่ของประเทศไทยเช่นในภาคใต้ซึ่งผลวิจัยชี้ว่ามีสัดส่วนของเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดสูงที่สุดกลับเป็นพื้นที่ที่เกิดความ อ่อนแอขึ้นทั้งสภาพสังคมและอำนาจรัฐ ผลที่ตามมา คือ ไม่เพียงแต่ปัญหายาเสพติดอย่างเดียวแต่รวมถึงปัญหาคุณภาพ เยาวชนโดยรวมและอนาคตของประเทศด้วย รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐในส่วนที่ดีอยู่ต้องเร่งปราบปรามและรักษาความเข้มแข็งของการป้องกัน เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้องของชุมชนให้น่าอยู่ขึ้น ควบคู่กับการสนับสนุนให้เยาวชนไทยมีการศึกษาที่ดีเพื่อมีอาชีพการงานที่ดีและประสบความสำเร็จในชีวิตต่อไป
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งปัจจุบันและอนาคต ถ้าเยาวชนตกอยู่ในสภาพที่เสื่อมถอย ทั้งในด้านสุขภาพร่างกาย-จิตใจ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ ด้านสำนึกความรับผิดชอบ ผลที่ตามมาก็คือการพัฒนาประเทศและเสถียรภาพทางสังคมก็จะอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง
ปัจจุบันมีปัจจัยหลายด้านที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเยาวชนไทย อาทิ สารเสพติด อบายมุข การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การมั่วสุมทางเพศ การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ และ การทำแท้ง นอกจากนี้ยังมีสิ่งกระตุ้นยั่วเย้าทางด้านวัตถุนิยมและสิ่งมอมเมาให้เยาวชนหลงใหลคลั่งไคล้ในการบริโภคนิยม ขณะเดียวกันปัจจัยที่จะสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนอย่างสร้างสรรค์ก็มีอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถ ตอบสนองการพัฒนาให้มีคุณภาพที่ดีได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ปัญหาต่างๆ และควรมีการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเยาวชนอย่างต่อเนื่อง สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในคุณภาพของเยาวชนไทย จึงได้จัดให้มีโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตของ เยาวชนไทยขึ้น โดยมีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลครอบคลุมในเรื่องรูปแบบการดำเนินชีวิต การศึกษาเล่าเรียน การใช้เวลาว่าง การวางแผนอนาคต การทำงาน สิ่งแวดล้อม และการเสพสิ่งเสพติด เป็นต้น
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อสำรวจจำนวนเยาวชนทั่วประเทศที่เกี่ยวข้อง/ใช้ยาเสพติด
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติดของเยาวชน
3. เพื่อประมาณการจำนวนเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้ยาเสพติดจำแนกตามภูมิภาคประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญและนำเสนอต่อรัฐบาล หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินนโยบายหรือมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาคุณภาพที่ดีของเยาวชนไทย
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "สำรวจสถานการณ์ปัญหา ยาเสพติด และวิจัยเพื่อประมาณการจำนวนเยาวชนไทยทั่วประเทศที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด: กรณีศึกษากลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 11 - 26 ปีในระดับครัวเรือน หอพัก อพาร์ทเมนต์ และคอนโดมิเนียม ใน 29 จังหวัด ทั่วประเทศ" ซึ่งโครงการนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเยาวชนที่กระทำเป็นประจำในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน และการประมาณการจำนวน เยาวชนทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด โดยได้ทำการศึกษาตัวอย่างเยาวชนไทย ซึ่งคณะวิจัยได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยที่กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือเยาวชนที่มีอายุ 11 - 26 ปี ใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ น่าน นครสวรรค์ กำแพงเพชร กาญจนบุรี ลพบุรี ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี นครราชสีมา ศรีสะเกษ หนองคาย อุบลราชธานี ยโสธร ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา และยะลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-Stage Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่างแบบความเป็นไปได้ตามสัดส่วนของขนาดประชากร (Probability Proportionate to Size Sampling) ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับครัวเรือน (household) และแหล่งที่พักอาศัยอื่นๆ อาทิ หอพัก อพาร์ทเมนต์ และคอนโดมิเนียม เป็นต้น
ขนาดของตัวอย่างเยาวชนอายุระหว่าง 11 - 26 ปีในการศึกษาครั้งนี้คือ 14,783 คน
ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่างที่ระดับบวกลบร้อยละ 3.28
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า วิเคราะห์ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่า ร้อยละ 54.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 9.6 ระบุอายุ 11-12 ปี
ร้อยละ 18.4 ระบุอายุ 13-15 ปี
ร้อยละ 24.7 ระบุอายุ 16-18 ปี
ร้อยละ 22.9 ระบุอายุ 19-21 ปี
และร้อยละ 24.4 ระบุอายุมากกว่า 21 ปีตามลำดับ
เมื่อพิจารณาสถานภาพทางการศึกษาพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.7 ระบุยังเป็นนักเรียน-นักศึกษาอยู่
ในขณะที่ร้อยละ 57.3 ระบุไม่ได้เป็นนักเรียน-นักศึกษา
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบของผลสำรวจปรากฏในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วย
ลำดับที่ บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วย ปี2546ร้อยละ ปี 2547ร้อยละ การเปลี่ยนแปลง
1 อยู่บ้านบิดามารดา 76.2 69.3 - 6.9
2 บ้านญาติ/พี่น้อง 12.0 11.8 - 0.2
3 พักอาศัยอยู่คนเดียว ตามหอพัก
อพาร์ทเมนต์ คอนโดมิเนียม 2.1 8.3 +6.2
4 อื่นๆ อาทิ อยู่กับเพื่อน / อยู่กับแฟน/ คู่รัก
/ อยู่กับครู /อาจารย์ / ผู้ปกครองที่ไม่ใช่ญาติ 9.7 10.6 +0.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดง 10 อันดับ กิจกรรมที่สร้างสรรค์ในกลุ่มเยาวชนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ กิจกรรมที่สร้างสรรค์ที่กลุ่มเยาวชนได้กระทำในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ปี 2546ร้อยละ ปี 2547ร้อยละ
1 พบปะใช้เวลาว่างอยู่กับครอบครัว/ญาติพี่น้อง 96.2 84.7
2 ติดตามข่าวสารประจำวันผ่านสื่อมวลชน 94.9 95.2
3 เล่นกีฬา 91.1 89.4
4 กิจกรรมเพื่อสังคม/สาธารณะประโยชน์ 86.2 76.9
5 ทำกิจกรรมทางศาสนา (เช่นทำบุญ ตักบาตร) 85.3 79.4
6 ท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ 80.7 87.9
7 ทำงาน/รายได้พิเศษ 67.1 75.2
8 อ่านหนังสือ/ เข้าห้องสมุด 54.3 48.4
9 เรียนพิเศษ 32.0 42.1
10 เล่นดนตรี 21.1 22.6
ตารางที่ 3 แสดง 10 อันดับ กิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ในกลุ่มเยาวชน ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ที่กลุ่มเยาวชนได้กระทำ ปีพ.ศ.2546 ร้อยละ ปีพ.ศ.2547 ร้อยละ
1 ดื่มเบียร์ ไวน์ เหล้า เป็นต้น 37.1 41.2
2 หนีเรียน ขาดเรียน 26.7 28.4
3 ดูหนังสือ /อินเตอร์เนต ภาพยนตร์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ 25.5 38.1
4 เล่นการพนัน 22.1 32.6
5 มีเพศสัมพันธ์ 21.3 31.8
6 ทะเลาะวิวาทกับนักเรียน/ นักศึกษา 17.4 26.9
7 สูบบุหรี่ 15.4 13.7
8 ลักขโมย 5.6 7.9
9 ถ่ายภาพนายแบบ นางแบบ 3.2 3.4
10 ถ่ายภาพนู้ด 2.2 2.7
ตารางที่ 4 แสดงผลประมาณการจำนวนและค่าร้อยละของเยาวชนไทยที่มีความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศ
ปี พ.ศ. 2546 ปี พ.ศ. 2547
ลำดับที่ ความโน้มเอียงของเยาวชน ผลประมาณการจำนวนคน ค่าร้อยละ ผลประมาณการจำนวนคน ค่าร้อยละ
ในการขายบริการทางเพศ
1 มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการทางเพศ 386,555 2.4 472,575 2.7
2 ไม่มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการทางเพศ 15,719,845 97.6 17,226,766 97.3
รวมทั้งสิ้น 16,106,400 100.0 17,699,341 100.0
ตารางที่ 5 สรุปผลประมาณการจำนวนเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้ยาเสพติด โดยไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์
จำแนกตามการเปรียบเทียบระหว่าง 3 เดือนหลังรัฐบาลทำสงครามกับยาเสพติด กับ ปี พ.ศ. 2547
พฤติกรรมของเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้ยาเสพติด 3 เดือนหลังรัฐบาลทำสงครามกับ ปัจจุบันปี
(ไม่รวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย) ยาเสพติด(พฤษภาคม 2546) พ.ศ. 2547
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ใช้ยาเสพติด (ไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย)
ตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา 444,307 2.76 955,764 5.40
***ฐานประชากรเป้าหมายมีจำนวนทั้งสิ้น 17,699,341 คน ปี พ.ศ.2547
ตารางที่ 6 สรุปผลประมาณการจำนวนเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้ยาเสพติด โดยไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์
จำแนกออกตามผู้ที่เป็นนักเรียน-นักศึกษา กับผู้ที่ไม่ได้เป็นนักเรียน-นักศึกษา
พฤติกรรมของนักเรียน-นักศึกษาที่ใช้ยาเสพติด นักเรียน-นักศึกษา ผู้ที่ไม่ได้เป็น นักเรียน-นักศึกษา
(ไม่รวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย) จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ใช้ยาเสพติด (ไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย)
ตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา 251,366 3.39 704,398 6.85
***ฐานประชากรเป้าหมายมีจำนวนทั้งสิ้น 17,699,341 คน ปี พ.ศ.2547
ตารางที่ 7 แสดงผลประมาณการจำนวนและค่าร้อยละของเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้สิ่งเสพติด
(ไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย)จำแนกตามประเภทของยาเสพติดและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของยาเสพติด ผลประมาณการจำนวนเยาวชนที่ใช้ยาเสพติด(คน) ค่าร้อยละ
1 ยาขยัน /ยาบ้า /ยาม้า 561,823 58.78
2 กัญชา 492,112 51.49
3 สารระเหย / กาว / แลค 216,775 22.68
4 ยาอี 164,421 17.20
5 ยากล่อมประสาท เช่น โดมีคุ่ม / แวเลี่ยม 127,493 13.34
6 ยาเลิฟ 78,328 8.19
7 ยาเค / เคตามีน 61,275 6.41
8 เฮโรอีน /แป๊ะ/ผงขาว 59,608 6.24
9 ฝิ่น 52,819 5.53
10 โคเคน 30,718 3.21
11 มอร์ฟีน 21,315 2.23
หมายเหตุ ฐานจำนวนเยาวชนผู้ใช้ยาเสพติดจำนวน 955,764 คน
ตารางที่ 8 แสดงผลประมาณการและค่าร้อยละของกลุ่มเยาวชนทั่วประเทศที่ใช้ยาเสพติด เปรียบเทียบ
ระหว่าง 3 เดือนหลังรัฐบาลทำสงครามกับยาเสพติด กับปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2547 จำแนกตาม
ภูมิภาคทั่วประเทศ
เปรียบเทียบช่วงเวลา ภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้
จำนวนคน % จำนวนคน % จำนวนคน % จำนวนคน % จำนวนคน %
3 เดือนหลังทำสงคราม
กับยาเสพติด 95,526 3.3 71,977 2.0 40,876 1.7 99,525 3.0 136,403 5.8
ฐานจำนวนประชากร 2,882,944 - 3,627,758 - 5,904,685 - 1,351,939 - 2,339,074 -
ปี พ.ศ. 2546
ปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2547 152,393 4.76 177,190 4.49 97,225 5.82 270,099 4.34 258,857 9.74
ฐานจำนวนประชากร 3,201,532 - 3,946,346 - 1,670,527 - 6,223,273 - 2,657,663 -
แต่ละภาค ปีปัจจุบัน
บทสรุปผลวิจัย
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนามโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตของเยาวชนไทย เรื่อง "สำรวจสถานการณ์ปัญหายาเสพติดและวิจัยเพื่อประมาณการจำนวนเยาวชนไทยทั่วประเทศที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด: กรณีศึกษากลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 11 - 26 ปีในระดับครัวเรือน หอพัก อพาร์ทเมนต์ และคอนโดมิเนียม ใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ" ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างเยาวชน อายุระหว่าง 11 - 26 ปี ใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนเยาวชนในการศึกษาครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 14,783 คน ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
ผลสำรวจพบว่า เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา รองลงมาคือร้อยละ 11.8 พักอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง ร้อยละ 8.3 พักอาศัยอยู่คนเดียวตามหอพัก อพาร์ตเม้น และคอนโด ในขณะที่ร้อยละ 10.6 ระบุอื่นๆ เช่น พักอาศัยอยู่กับเพื่อน อยู่กับแฟนคู่รัก อยู่กับครู อาจารย์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนในปี พ.ศ. 2546 พบว่า เยาวชนที่พักอาศัยอยู่กับบิดามารดามีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 76.2 เหลือร้อยละ 69.3 นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึง กิจกรรมสร้างสรรค์ที่เยาวชนกระทำในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.2 ระบุติดตาม ข่าวสารผ่านสื่อมวลชน รองลงมาคือร้อยละ 89.4 ระบุเล่นกีฬา ร้อยละ 87.9 ระบุท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ ร้อยละ 84.7 ระบุพบปะใช้เวลาว่างอยู่กับครอบครัวบิดามารดาและญาติพี่น้อง ร้อยละ 79.4 ทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญ ตักบาตร ร้อยละ 76.9 ทำกิจกรรมเพื่อสังคม สาธารณะประโยชน์ ร้อยละ 48.4 อ่านหนังสือ เข้าห้องสมุด ร้อยละ 42.1 เรียนพิเศษ และร้อยละ 22.6 เล่นดนตรี
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนในปี พ.ศ. 2546 พบกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สัดส่วนของเยาวชนลดลง ได้แก่ การใช้เวลาอยู่กับบิดามารดา ญาติพี่น้อง จากร้อยละ 96.2 เหลือร้อยละ 84.7 การทำกิจกรรมเพื่อสังคมสาธารณะประโยชน์จากร้อยละ 86.2 เหลือร้อยละ 76.9 การทำบุญตักบาตร จากร้อยละ 85.3 เหลือร้อยละ 79.4 อ่านหนังสือเข้าห้องสมุดลดลงจากร้อยละ 54.3 เหลือร้อยละ 48.4 นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังพบว่า สัดส่วนของเยาวชนกลับสูงขึ้นในกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ ได้แก่ เยาวชนดูหนังสือ อินเตอร์เนต ภาพยนต์ลามกอนาจาร เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 25.5 เป็น ร้อยละ 38.1 เล่นการพนันจากร้อยละ 22.1 เป็นร้อยละ 32.6 หนีเรียนขาดเรียนจากร้อยละ 26.7 เป็นร้อยละ 28.4 ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ จากร้อยละ 37.1 เป็นร้อยละ 41.2 และทะเลาะวิวาท จากร้อยละ 17.4 เป็นร้อยละ 26.9
ผลสำรวจยังพบว่า จำนวนเยาวชนที่มีความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศเพิ่มมากขึ้น จาก 386,555 คนในปีพ.ศ. 2546 เป็น 472,575 คนในการสำรวจล่าสุด ประเด็นผลสำรวจที่น่าเป็นห่วงคือ หลังจากเปรียบเทียบจำนวนเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดระหว่างช่วง 3 เดือนหลังรัฐบาลทำสงครามกับยาเสพติด กับผลสำรวจในปัจจุบันปีพ.ศ. 2547 พบว่า จำนวนเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นจาก 444,307 คนในช่วงเวลา 3 เดือนหลังรัฐบาลทำสงครามยาเสพติด เป็น 955,764 คนในการสำรวจครั้งล่าสุด เมื่อจำแนกกลุ่มเยาวชนออกเป็นกลุ่มที่เป็นนักเรียน-นักศึกษา และกลุ่มที่ไม่ได้เป็นนักเรียน-นักศึกษา ผลสำรวจพบว่าเยาวชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษามีจำนวนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจำนวน 251,366 คน ในขณะที่เยาวชนที่ไม่ได้เป็นนักเรียน-นักศึกษาเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดสูงถึง 704,398 คน
เมื่อจำแนกออกเป็นประเภทตัวอย่าง ผลวิจัยพบว่า เยาวชนจำนวน 561,823 คนหรือร้อยละ 58.78 ของจำนวนคนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งหมดระบุใช้ยาบ้า อันดับสองคือ กัญชามีจำนวน 492,112 คนหรือร้อยละ 51.49 อันดับสาม ได้แก่ สารระเหย กาว แลค มีเยาวชนจำนวน 216,775 หรือร้อยละ 22.68 อันดับสี่ได้แก่ ยาอี มีเยาวชนจำนวน 164,421 คนหรือร้อยละ 17.20 อันดับที่ห้าได้แก่ ยากล่อมประสาท เช่นโดมีคุ่ม แวเลี่ยม มีเยาวชนจำนวน 127,493 คน หรือร้อยละ 13.34 ตามด้วยยาเลิฟจำนวน 78,328 คน ยาเคจำนวน 61,275 คน เฮโรอีน แป๊ะ ผงขาว จำนวน 59,608 คน ฝิ่น จำนวน 52,819 คน และโคเคน จำนวน 30,718 คน
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เอแบคโพลล์ได้เปรียบเทียบจำนวนเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดไม่นับรวมเหล้าบุหรี่ ระหว่างช่วง 3 เดือนแรกหลังรัฐบาลทำสงครายาเสพติด กับผลสำรวจครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2547 และจำแนกตามภูมิภาค ซึ่งพบว่า จำนวนเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดสูงขึ้นในทุกๆ ภูมิภาคของประเทศ ซึ่งเยาวชนในภาคใต้มีสัดส่วนของผู้ใช้ยาเสพติดสูงที่สุดหรือร้อยละ 9.74 ของจำนวนเยาวชนในภาคใต้ รองลงมาคือ เยาวชนในกรุงเทพมหานครร้อยละ 5.82 ตามด้วยเยาวชนใน ภาคเหนือร้อยละ 4.76 เยาวชนภาคกลางร้อยละ 4.49 และเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 4.34 ตามลำดับ (ดูรายละเอียดในตารางที่ 8)
คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ยาเสพติดกลับมาแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นขณะนี้ น่าจะเกิดจากขบวนการ ค้ายาเสพติดสามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อผลประโยชน์กับอำนาจรัฐและอำนาจทางการเมืองสายใหม่ได้ แต่ในบางพื้นที่ของประเทศไทยเช่นในภาคใต้ซึ่งผลวิจัยชี้ว่ามีสัดส่วนของเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดสูงที่สุดกลับเป็นพื้นที่ที่เกิดความ อ่อนแอขึ้นทั้งสภาพสังคมและอำนาจรัฐ ผลที่ตามมา คือ ไม่เพียงแต่ปัญหายาเสพติดอย่างเดียวแต่รวมถึงปัญหาคุณภาพ เยาวชนโดยรวมและอนาคตของประเทศด้วย รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐในส่วนที่ดีอยู่ต้องเร่งปราบปรามและรักษาความเข้มแข็งของการป้องกัน เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้องของชุมชนให้น่าอยู่ขึ้น ควบคู่กับการสนับสนุนให้เยาวชนไทยมีการศึกษาที่ดีเพื่อมีอาชีพการงานที่ดีและประสบความสำเร็จในชีวิตต่อไป
--เอแบคโพลล์--
-พห-