ที่มาของโครงการ
การศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของข้าราชการตำรวจในการให้บริการและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนถือได้ว่า เป็นข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่สะท้อนออกมาจากข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานได้อย่างดีแก่สังคมโดยรวม ซึ่งคณะผู้วิจัยคาดหวังว่าจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อรัฐบาล สถาบันตำรวจไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจพัฒนาศักยภาพของข้าราชการตำรวจไทยให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของประชาชน บำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรได้ต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยครั้งนี้ขึ้น โดยได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจต่างๆ ทั่วประเทศ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาและอุปสรรคของข้าราชการตำรวจในการบริการประชาชน
2. เพื่อสำรวจภาพลักษณ์ของผู้บังคับบัญชาในอุดมคติของข้าราชการตำรวจ
3. เพื่อสำรวจความต้องการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของรัฐบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องใช้พัฒนาศักยภาพของข้าราชการตำรวจในการบริการและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ตลอดจนป้องกันและลดทอนปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น
2. เป็นข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ในครั้งนี้เรื่อง "ปัญหา - อุปสรรคของข้าราชการตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่: กรณีศึกษากลุ่มข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ระดับสถานีตำรวจทุกจังหวัดทั่วประเทศ" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 22 - 27 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ข้าราชการตำรวจจากสถานีตำรวจในทุกจังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบ แบบเชิงระบบ (systematic sampling) เข้าถึง สถานีตำรวจทั่วประเทศ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ 1,120 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ โทรศัพท์สัมภาษณ์
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error ) + / - ร้อยละ 2.48 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
งบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของ
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 51.4 ระบุอายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 39.9 ระบุอายุ 40 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 8.7 ระบุอายุต่ำกว่า 30 ปี
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82.3 ระบุชั้นยศเป็นตำรวจชั้นประทวน
ในขณะที่ร้อยละ 17.7 ระบุเป็นข้าราชการตำรวจระดับสัญญาบัตร
ซึ่งร้อยละ 33.8 ระบุรับราชการไม่เกิน 10 ปี
ร้อยละ 29.7 ระบุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 18.3 ระบุ 11-15 ปี
และร้อยละ 18.2 ระบุรับราชการมา 16-20 ปี
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 43.1 อยู่ในสายงานป้องกันและปราบปราม
ร้อยละ 21.4 ระบุอยู่ในสายงานธุรการ
ร้อยละ 11.3 อยู่ในสายงานสื่อสาร
ร้อยละ 10.5 อยู่ในสายงานสอบสวน
และร้อยละ 6.9 อยู่ในสายงานสืบสวน
ขณะที่ร้อยละ 6.8 ระบุอยู่ในสายงานจราจร เป็นต้น
ประเด็นสำคัญของการวิจัยที่ค้นพบปรากฏในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารปัญหาสังคม
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารปัญหาสังคม ค่าร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำทุกวัน 65.1
2 ติดตามบ้าง 34.3
3 ไม่ได้ติดตามเลย 0.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ในการรับใช้ประชาชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ในการรับใช้ประชาชน ค่าร้อยละ
1 วัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือในการดำเนินงานไม่เพียงพอ 83.8
2 งบประมาณมีไม่เพียงพอ 80.4
3 ความไม่ทันสมัยของเครื่องมือ 78.1
4 จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ 77.1
5 ประชาชนไม่เข้าใจความเหนื่อยยากลำบากของตำรวจ 69.1
6 ประชาชนมองภาพลักษณ์ของตำรวจในด้านลบเกินความเป็นจริง 54.1
7 ความไม่พร้อมด้านอาคารสถานที่ 41.2
8 มีปริมาณงานมากเกิน 33.7
9 ข้อจำกัดด้านระเบียบราชการ 33.0
10 ตำรวจไม่มีจิตสำนึกในหน้าที่ของตนเอง 29.8
11 ความไม่ชัดเจนในงานที่ได้รับมอบหมาย 28.8
12 ผู้บังคับบัญชาที่ดีมีไม่มาก 28.4
13 มีการใช้เส้นสายและอิทธิพลวิ่งเต้นคดี 28.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ค่าร้อยละ
1 ความไม่ทันสมัยของเทคโนโลยีในการสืบสวน 67.6
2 จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ 67.3
3 งบประมาณไม่เพียงพอ 64.8
4 คู่กรณีต่างยืนยันความถูกต้องของตนไม่ยอมรับผิด 62.4
5 ไม่ได้รับความร่วมมือจากพยาน 56.5
6 ประชาชนไม่เชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 52.9
7 ขั้นตอนการทำงานมีมากมายภายใต้ข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย 46.7
8 ระบบเส้นสายและการวางอำนาจบาตรใหญ่ของประชาชน 46.4
9 มีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการดำเนินงาน 39.2
10 ขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับคู่กรณี 35.3
11 การกดดันของผู้บังคับบัญชาให้เข้าข้างฝ่ายผิด 16.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้เงินหรือทรัพย์สินส่วนตัวในการทำงานรับใช้ประชาชน
ลำดับที่ การใช้เงินหรือทรัพย์สินส่วนตัวในการทำงานรับใช้ประชาชน ค่าร้อยละ
1 เคยใช้เงินทรัพย์สินส่วนตัวทำงานรับใช้ประชาชน 92.3
2 ไม่เคย 7.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำงานที่ต้องนำเงินหรือทรัพย์สินส่วนตัวเข้ามาใช้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การทำงานที่ต้องนำเงินหรือทรัพย์สินส่วนตัวเข้ามาใช้ ค่าร้อยละ
1 ค่ารถ/ค่าเดินทาง/ค่าน้ำมัน 63.3
2 ค่าอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ อาทิ เครื่องเขียน / ค่าถ่ายเอกสาร 22.2
3 จ่ายค่าปรับ/ค่าธรรมเนียมต่างๆแทนประชาชน/ค่าข้าวประชาชน 19.5
4 ค่าข้าว/ค่าจัดเลี้ยงผู้บังคับบัญชา 10.2
5 ค่าใช้จ่ายในการติดตามผู้ต้องหา 7.0
6 ซื้ออาวุธปืน/วิทยุสื่อสารประจำตัว 6.8
7 อื่นๆอาทิ ค่าโทรศัพท์ /ค่าจ้างนักสืบ /ค่าใช้จ่ายในการหาข่าว 9.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ข้าราชการตำรวจระดับผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้
ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ต้องการให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเร่งแก้ไข ค่าร้อยละ
1 ดูแลสวัสดิการต่างๆให้ดีขึ้น 94.9
2 พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัย 88.2
3 จัดสรรจำนวนบุคลากรให้มากพอกับปริมาณงาน 79.3
4 ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ 79.1
5 ความเป็นธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา 77.2
6 พัฒนาความรู้ความสามารถของตำรวจชั้นผู้น้อยให้ทั่วถึง 73.8
7 จัดสภาพแวดล้อมชุมชนที่พักอาศัยของตำรวจให้น่าอยู่ 69.9
8 กระจายอำนาจบริหารให้มากขึ้น 59.0
9 ประชาสัมพันธ์ผลงานที่ดีให้ประชาชนทราบ 58.6
10 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 58.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบในการปฏิบัติ
หน้าที่ ในหน่วยงานของตน
ลำดับที่ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบในหน่วยงานของตน ค่าร้อยละ
1 ใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า เช่น เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง 43.0
2 ใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า เช่นความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส 42.8
3 ใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน 14.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีความรู้สึกอึดอัดใจในการปฏิบัติหน้าที่รับราชการตำรวจ
ลำดับที่ การมีความรู้สึกอึดอัดใจในการปฏิบัติหน้าที่รับราชการตำรวจ ค่าร้อยละ
1 รู้สึกอึดอัดใจ 41.4
2 ไม่รู้สึกอึดอัดใจ 58.6
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุอดีตอธิบดีกรมตำรวจหรืออดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ที่ชื่นชอบ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ อดีตอธิบดีกรมตำรวจหรืออดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ชื่นชอบ ค่าร้อยละ
1 พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ 36.2
2 พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก 25.7
3 พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ 18.3
4 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ 11.7
5 พล.ต.อ.เภา สารสิน 10.6
6 อื่น อาทิ พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ /พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา
/พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ /พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงค วิบูลย์ 16.3
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ต้องการ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ต้องการ ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา 93.9
2 ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง 93.9
3 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 92.0
4 กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ 91.6
5 ยึดมั่นในระบบคุณธรรมและเป็นกลาง 90.2
6 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 87.4
7 เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว 82.2
8 มีแนวคิดพัฒนาตำรวจแบบทันสมัย 79.4
9 เข้าใจปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชา 78.1
10 มีความสามารถในการแก้ปัญหาที่สำคัญๆของประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 77.9
11 มีประวัติและภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาประชาชน 76.7
12 มีผลงานเป็นที่ประทับใจของประชาชน 76.1
13 มีการศึกษาสูง 73.5
14 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง 70.7
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ต้องการให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่
ลำดับที่ บุคคลที่ต้องการให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ค่าร้อยละ
1 พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 32.9
2 พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ 30.6
3 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 13.0
4 พล.ต.อ.อำนวย เพชรศิริ 8.9
5 พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ 7.2
6 พล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้ 5.7
7 พล.ต.อ.ปิยะ เจียมไชยศรี 1.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ปัญหาอุปสรรคของข้าราชการตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่: กรณีศึกษากลุ่ม ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ระดับสถานีตำรวจทุกจังหวัดทั่วประเทศ" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 22 - 27 กรกฎาคม 2547 จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,120 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างเชิงระบบ (systematic sampling) เข้าถึงสถานีตำรวจทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยการโทรศัพท์สัมภาษณ์ (phone survey)
ผลสำรวจพบว่า ตำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.1 ติดตามข่าวสารปัญหาสังคมเป็นประจำทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 34.3 ติดตามบ้างและเพียงร้อยละ 0.6 ไม่ติดตามเลย
เมื่อสอบถามถึงปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประชาชน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.8 ระบุวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือไม่เพียงพอ รองลงมาคือร้อยละ 80.4 ระบุงบประมาณมีไม่เพียงพอ ร้อยละ 78.1 ระบุความไม่ทันสมัยของเครื่องมือ ร้อยละ 77.1 ระบุจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ร้อยละ 69.1 ระบุประชาชนไม่ เข้าใจความเหนื่อยยากลำบากของตำรวจ ร้อยละ 54.1 ระบุประชาชนมองภาพลักษณ์ของตำรวจในด้านลบเกินความเป็นจริง ร้อยละ 41.2 ระบุความไม่พร้อมด้านอาคารสถานที่ ร้อยละ 33.7 ระบุมีปริมาณงานมากเกินไป ร้อยละ 33.0 ระบุข้อจำกัดด้านระเบียบราชการ ในขณะที่ร้อยละ 29.8 ระบุตำรวจไม่มีจิตสำนึกในหน้าที่ของตนเอง และอื่นๆ เช่นความไม่ชัดเจนในงานที่ได้รับมอบหมาย ผู้บังคับบัญชาที่ดีมีไม่มาก และมีการใช้เส้นสายและอิทธิพลวิ่งเต้นคดี (ดูรายละเอียดตารางที่ 2)
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึงปัญหาในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.6 ระบุความไม่ทันสมัยของเทคโนโลยีในการสืบสวน รองลงมาคือร้อยละ 67.3 ระบุจำนวนเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอ ร้อยละ 64.8 ระบุงบประมาณมีไม่เพียงพอ ร้อยละ 62.4 ระบุคู่กรณีต่างยืนยันความถูกต้องของตนเองไม่ยอมรับผิด ร้อยละ 56.5 ไม่ได้รับความร่วมมือจากพยาน ร้อยละ 46.7 ขั้นตอนการทำงานมีมากภายใต้ข้อจำกัดด้านกฎหมาย ร้อยละ 46.4 ระบุระบบเส้นสายและการวางอำนาจบาตรใหญ่ของประชาชน ร้อยละ 39.2 ระบุมีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการดำเนินงาน ร้อยละ 35.3 ระบุขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับคู่กรณี และร้อยละ 16.7 ระบุมีการกดดันจากผู้บังคับบัญชาให้เข้าข้างฝ่ายผิด ตามลำดับ
นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.3 ระบุเคยใช้เงิน ทรัพย์สินส่วนตัวทำงานรับใช้ประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 7.7 เท่านั้นที่ไม่เคย
สำหรับการทำงานส่วนตัวที่ต้องใช้เงินส่วนตัวจ่าย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.3 ระบุเป็นค่ารถ ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน รองลงมาคือร้อยละ 22.2 ระบุเป็นค่าอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ เช่น เครื่องเขียน ค่าถ่ายเอกสาร ร้อยละ 19.5 ระบุเป็นจ่ายค่าปรับ ค่าธรรมเนียมต่างๆ แทนประชาชน / ค่าเลี้ยงข้าวให้ประชาชน
อย่างไรก็ตาม ตำรวจร้อยละ 10.2 ต้องจ่ายค่าข้าวจัดเลี้ยงผู้บังคับบัญชา ร้อยละ 7.0 ระบุค่าใช้จ่ายในการติดตามผู้ต้องหา ร้อยละ 6.8 ต้องซื้ออาวุธปืน วิทยุสื่อสารประจำตัวด้วยเงินส่วนตัว และร้อยละ 9.3 ระบุอื่นๆ เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าจ้างนักสืบ ค่าใช้จ่ายในการหาข่าว
เมื่อสอบถามถึงปัญหาที่ต้องการให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเร่งแก้ไข ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 94.9 ระบุต้องการให้ดูแลสวัสดิการต่างๆ ให้ดีขึ้น ร้อยละ 88.2 ต้องการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัย ร้อยละ 79.3 ต้องการให้จัดสรรจำนวนบุคลากรให้มากพอกับปริมาณงาน ร้อยละ 79.1 ต้องการขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ร้อยละ 77.2 ต้องการความเป็นธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ร้อยละ 73.8 ต้องการให้ ส่งเสริมพัฒนาความรู้ความสามารถของตำรวจชั้นผู้น้อยโดยทั่วถึง ร้อยละ 69.9 ต้องการให้จัดสภาพแวดล้อม ชุมชนที่พักอาศัยของตำรวจให้น่าอยู่ ร้อยละ 59.0 ต้องการให้กระจายอำนาจมากขึ้น ร้อยละ 58.6 ต้องการให้ประชาสัมพันธ์ผลงานที่ดีให้ประชาชนทราบ และร้อยละ 58.2 ต้องการให้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ตามลำดับ
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามหลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบในหน่วยงานของตน ซึ่งผลสำรวจพบว่า ข้าราชการตำรวจจำนวนมากหรือร้อยละ 43.0 ระบุมีการใช้ระบบอุปถัมถ์มากกว่า เช่น เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง ในขณะที่ร้อยละ 42.8 ระบุใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า เช่นความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส และร้อยละ 14.2 ระบุมีการใช้สองระบบร่วมกัน
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ข้าราชการตำรวจจำนวนมากหรือร้อยละ 41.4 รู้สึกอึดอัดใจในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ตามร้อยละ 58.6 ไม่รู้สึกอึดอัดใจ
เมื่อสอบถามข้าราชการตำรวจถึงอดีตอธิบดีกรมตำรวจหรืออดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ชื่นชอบ ผลสำรวจพบว่า อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 36.2 ชื่นชอบ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ รองลงมาคือร้อยละ 25.7 ชื่นชอบ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ร้อยละ 18.3 ชื่นชอบ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ร้อยละ 11.7 ชื่นชอบ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ร้อยละ 10.6 ชื่นชอบ พล.ต.อ.เภา สารสิน และร้อยละ 16.3 ระบุคนอื่นๆ เช่น พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ เป็นต้น
และเมื่อสอบถามถึงคุณสมบัติของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ต้องการ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.9 ระบุต้องการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา และร้อยละ 93.9 เช่นกันระบุต้องการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง ร้อยละ 92.0 ระบุมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ร้อยละ 91.6 ระบุกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ ร้อยละ 87.4 ระบุต้องยึดมั่นในระบบคุณธรรมและเป็นกลาง ร้อยละ 82.2 ระบุเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ร้อยละ 79.4 ระบุมีแนวคิดพัฒนาตำรวจแบบทันสมัย ร้อยละ 78.1 ระบุต้องเข้าใจปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชา และอื่นๆ เช่น มีความสามารถในการ แก้ปัญหาที่สำคัญๆของประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประวัติและภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาประชาชน มีผลงานเป็นที่ประทับใจของประชาชน มีการศึกษาสูง และ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เป็นต้น
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึงบุคคลที่ต้องการให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ผลสำรวจพบสัดส่วนของข้าราชการตำรวจที่ใกล้เคียงกันมากระหว่างพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ และ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ซึ่งพบว่า ร้อยละ 32.9 ระบุเป็น พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ในขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุเป็น พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ร้อยละ 13.0 ระบุเป็น พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ร้อยละ 8.9 ระบุเป็น พล.ต.อ.อำนวย เพชรศิริ ร้อยละ 7.2 ระบุเป็น พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ และร้อยละ 7.4 ระบุเป็น พล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้ และ พล.ต.อ.ปิยะ เจียมไชยศรี
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของข้าราชการตำรวจในการให้บริการและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนถือได้ว่า เป็นข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่สะท้อนออกมาจากข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานได้อย่างดีแก่สังคมโดยรวม ซึ่งคณะผู้วิจัยคาดหวังว่าจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อรัฐบาล สถาบันตำรวจไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจพัฒนาศักยภาพของข้าราชการตำรวจไทยให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของประชาชน บำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรได้ต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยครั้งนี้ขึ้น โดยได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจต่างๆ ทั่วประเทศ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาและอุปสรรคของข้าราชการตำรวจในการบริการประชาชน
2. เพื่อสำรวจภาพลักษณ์ของผู้บังคับบัญชาในอุดมคติของข้าราชการตำรวจ
3. เพื่อสำรวจความต้องการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของรัฐบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องใช้พัฒนาศักยภาพของข้าราชการตำรวจในการบริการและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ตลอดจนป้องกันและลดทอนปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น
2. เป็นข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ในครั้งนี้เรื่อง "ปัญหา - อุปสรรคของข้าราชการตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่: กรณีศึกษากลุ่มข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ระดับสถานีตำรวจทุกจังหวัดทั่วประเทศ" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 22 - 27 กรกฎาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ข้าราชการตำรวจจากสถานีตำรวจในทุกจังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบ แบบเชิงระบบ (systematic sampling) เข้าถึง สถานีตำรวจทั่วประเทศ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ 1,120 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ โทรศัพท์สัมภาษณ์
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error ) + / - ร้อยละ 2.48 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
งบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของ
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 51.4 ระบุอายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 39.9 ระบุอายุ 40 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 8.7 ระบุอายุต่ำกว่า 30 ปี
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82.3 ระบุชั้นยศเป็นตำรวจชั้นประทวน
ในขณะที่ร้อยละ 17.7 ระบุเป็นข้าราชการตำรวจระดับสัญญาบัตร
ซึ่งร้อยละ 33.8 ระบุรับราชการไม่เกิน 10 ปี
ร้อยละ 29.7 ระบุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 18.3 ระบุ 11-15 ปี
และร้อยละ 18.2 ระบุรับราชการมา 16-20 ปี
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 43.1 อยู่ในสายงานป้องกันและปราบปราม
ร้อยละ 21.4 ระบุอยู่ในสายงานธุรการ
ร้อยละ 11.3 อยู่ในสายงานสื่อสาร
ร้อยละ 10.5 อยู่ในสายงานสอบสวน
และร้อยละ 6.9 อยู่ในสายงานสืบสวน
ขณะที่ร้อยละ 6.8 ระบุอยู่ในสายงานจราจร เป็นต้น
ประเด็นสำคัญของการวิจัยที่ค้นพบปรากฏในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารปัญหาสังคม
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารปัญหาสังคม ค่าร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำทุกวัน 65.1
2 ติดตามบ้าง 34.3
3 ไม่ได้ติดตามเลย 0.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ในการรับใช้ประชาชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ในการรับใช้ประชาชน ค่าร้อยละ
1 วัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือในการดำเนินงานไม่เพียงพอ 83.8
2 งบประมาณมีไม่เพียงพอ 80.4
3 ความไม่ทันสมัยของเครื่องมือ 78.1
4 จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ 77.1
5 ประชาชนไม่เข้าใจความเหนื่อยยากลำบากของตำรวจ 69.1
6 ประชาชนมองภาพลักษณ์ของตำรวจในด้านลบเกินความเป็นจริง 54.1
7 ความไม่พร้อมด้านอาคารสถานที่ 41.2
8 มีปริมาณงานมากเกิน 33.7
9 ข้อจำกัดด้านระเบียบราชการ 33.0
10 ตำรวจไม่มีจิตสำนึกในหน้าที่ของตนเอง 29.8
11 ความไม่ชัดเจนในงานที่ได้รับมอบหมาย 28.8
12 ผู้บังคับบัญชาที่ดีมีไม่มาก 28.4
13 มีการใช้เส้นสายและอิทธิพลวิ่งเต้นคดี 28.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ค่าร้อยละ
1 ความไม่ทันสมัยของเทคโนโลยีในการสืบสวน 67.6
2 จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ 67.3
3 งบประมาณไม่เพียงพอ 64.8
4 คู่กรณีต่างยืนยันความถูกต้องของตนไม่ยอมรับผิด 62.4
5 ไม่ได้รับความร่วมมือจากพยาน 56.5
6 ประชาชนไม่เชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 52.9
7 ขั้นตอนการทำงานมีมากมายภายใต้ข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย 46.7
8 ระบบเส้นสายและการวางอำนาจบาตรใหญ่ของประชาชน 46.4
9 มีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการดำเนินงาน 39.2
10 ขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับคู่กรณี 35.3
11 การกดดันของผู้บังคับบัญชาให้เข้าข้างฝ่ายผิด 16.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้เงินหรือทรัพย์สินส่วนตัวในการทำงานรับใช้ประชาชน
ลำดับที่ การใช้เงินหรือทรัพย์สินส่วนตัวในการทำงานรับใช้ประชาชน ค่าร้อยละ
1 เคยใช้เงินทรัพย์สินส่วนตัวทำงานรับใช้ประชาชน 92.3
2 ไม่เคย 7.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำงานที่ต้องนำเงินหรือทรัพย์สินส่วนตัวเข้ามาใช้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การทำงานที่ต้องนำเงินหรือทรัพย์สินส่วนตัวเข้ามาใช้ ค่าร้อยละ
1 ค่ารถ/ค่าเดินทาง/ค่าน้ำมัน 63.3
2 ค่าอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ อาทิ เครื่องเขียน / ค่าถ่ายเอกสาร 22.2
3 จ่ายค่าปรับ/ค่าธรรมเนียมต่างๆแทนประชาชน/ค่าข้าวประชาชน 19.5
4 ค่าข้าว/ค่าจัดเลี้ยงผู้บังคับบัญชา 10.2
5 ค่าใช้จ่ายในการติดตามผู้ต้องหา 7.0
6 ซื้ออาวุธปืน/วิทยุสื่อสารประจำตัว 6.8
7 อื่นๆอาทิ ค่าโทรศัพท์ /ค่าจ้างนักสืบ /ค่าใช้จ่ายในการหาข่าว 9.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ข้าราชการตำรวจระดับผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้
ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ต้องการให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเร่งแก้ไข ค่าร้อยละ
1 ดูแลสวัสดิการต่างๆให้ดีขึ้น 94.9
2 พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัย 88.2
3 จัดสรรจำนวนบุคลากรให้มากพอกับปริมาณงาน 79.3
4 ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ 79.1
5 ความเป็นธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา 77.2
6 พัฒนาความรู้ความสามารถของตำรวจชั้นผู้น้อยให้ทั่วถึง 73.8
7 จัดสภาพแวดล้อมชุมชนที่พักอาศัยของตำรวจให้น่าอยู่ 69.9
8 กระจายอำนาจบริหารให้มากขึ้น 59.0
9 ประชาสัมพันธ์ผลงานที่ดีให้ประชาชนทราบ 58.6
10 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 58.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบในการปฏิบัติ
หน้าที่ ในหน่วยงานของตน
ลำดับที่ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบในหน่วยงานของตน ค่าร้อยละ
1 ใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า เช่น เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง 43.0
2 ใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า เช่นความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส 42.8
3 ใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน 14.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีความรู้สึกอึดอัดใจในการปฏิบัติหน้าที่รับราชการตำรวจ
ลำดับที่ การมีความรู้สึกอึดอัดใจในการปฏิบัติหน้าที่รับราชการตำรวจ ค่าร้อยละ
1 รู้สึกอึดอัดใจ 41.4
2 ไม่รู้สึกอึดอัดใจ 58.6
รวมทั้งสิ้น 100. 0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุอดีตอธิบดีกรมตำรวจหรืออดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ที่ชื่นชอบ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ อดีตอธิบดีกรมตำรวจหรืออดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ชื่นชอบ ค่าร้อยละ
1 พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ 36.2
2 พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก 25.7
3 พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ 18.3
4 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ 11.7
5 พล.ต.อ.เภา สารสิน 10.6
6 อื่น อาทิ พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ /พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา
/พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ /พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงค วิบูลย์ 16.3
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ต้องการ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ต้องการ ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา 93.9
2 ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง 93.9
3 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 92.0
4 กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ 91.6
5 ยึดมั่นในระบบคุณธรรมและเป็นกลาง 90.2
6 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 87.4
7 เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว 82.2
8 มีแนวคิดพัฒนาตำรวจแบบทันสมัย 79.4
9 เข้าใจปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชา 78.1
10 มีความสามารถในการแก้ปัญหาที่สำคัญๆของประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 77.9
11 มีประวัติและภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาประชาชน 76.7
12 มีผลงานเป็นที่ประทับใจของประชาชน 76.1
13 มีการศึกษาสูง 73.5
14 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง 70.7
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ต้องการให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่
ลำดับที่ บุคคลที่ต้องการให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ค่าร้อยละ
1 พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 32.9
2 พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ 30.6
3 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ 13.0
4 พล.ต.อ.อำนวย เพชรศิริ 8.9
5 พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ 7.2
6 พล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้ 5.7
7 พล.ต.อ.ปิยะ เจียมไชยศรี 1.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ปัญหาอุปสรรคของข้าราชการตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่: กรณีศึกษากลุ่ม ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ระดับสถานีตำรวจทุกจังหวัดทั่วประเทศ" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 22 - 27 กรกฎาคม 2547 จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,120 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างเชิงระบบ (systematic sampling) เข้าถึงสถานีตำรวจทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยการโทรศัพท์สัมภาษณ์ (phone survey)
ผลสำรวจพบว่า ตำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.1 ติดตามข่าวสารปัญหาสังคมเป็นประจำทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 34.3 ติดตามบ้างและเพียงร้อยละ 0.6 ไม่ติดตามเลย
เมื่อสอบถามถึงปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประชาชน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.8 ระบุวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือไม่เพียงพอ รองลงมาคือร้อยละ 80.4 ระบุงบประมาณมีไม่เพียงพอ ร้อยละ 78.1 ระบุความไม่ทันสมัยของเครื่องมือ ร้อยละ 77.1 ระบุจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ร้อยละ 69.1 ระบุประชาชนไม่ เข้าใจความเหนื่อยยากลำบากของตำรวจ ร้อยละ 54.1 ระบุประชาชนมองภาพลักษณ์ของตำรวจในด้านลบเกินความเป็นจริง ร้อยละ 41.2 ระบุความไม่พร้อมด้านอาคารสถานที่ ร้อยละ 33.7 ระบุมีปริมาณงานมากเกินไป ร้อยละ 33.0 ระบุข้อจำกัดด้านระเบียบราชการ ในขณะที่ร้อยละ 29.8 ระบุตำรวจไม่มีจิตสำนึกในหน้าที่ของตนเอง และอื่นๆ เช่นความไม่ชัดเจนในงานที่ได้รับมอบหมาย ผู้บังคับบัญชาที่ดีมีไม่มาก และมีการใช้เส้นสายและอิทธิพลวิ่งเต้นคดี (ดูรายละเอียดตารางที่ 2)
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึงปัญหาในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.6 ระบุความไม่ทันสมัยของเทคโนโลยีในการสืบสวน รองลงมาคือร้อยละ 67.3 ระบุจำนวนเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอ ร้อยละ 64.8 ระบุงบประมาณมีไม่เพียงพอ ร้อยละ 62.4 ระบุคู่กรณีต่างยืนยันความถูกต้องของตนเองไม่ยอมรับผิด ร้อยละ 56.5 ไม่ได้รับความร่วมมือจากพยาน ร้อยละ 46.7 ขั้นตอนการทำงานมีมากภายใต้ข้อจำกัดด้านกฎหมาย ร้อยละ 46.4 ระบุระบบเส้นสายและการวางอำนาจบาตรใหญ่ของประชาชน ร้อยละ 39.2 ระบุมีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการดำเนินงาน ร้อยละ 35.3 ระบุขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับคู่กรณี และร้อยละ 16.7 ระบุมีการกดดันจากผู้บังคับบัญชาให้เข้าข้างฝ่ายผิด ตามลำดับ
นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.3 ระบุเคยใช้เงิน ทรัพย์สินส่วนตัวทำงานรับใช้ประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 7.7 เท่านั้นที่ไม่เคย
สำหรับการทำงานส่วนตัวที่ต้องใช้เงินส่วนตัวจ่าย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.3 ระบุเป็นค่ารถ ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน รองลงมาคือร้อยละ 22.2 ระบุเป็นค่าอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ เช่น เครื่องเขียน ค่าถ่ายเอกสาร ร้อยละ 19.5 ระบุเป็นจ่ายค่าปรับ ค่าธรรมเนียมต่างๆ แทนประชาชน / ค่าเลี้ยงข้าวให้ประชาชน
อย่างไรก็ตาม ตำรวจร้อยละ 10.2 ต้องจ่ายค่าข้าวจัดเลี้ยงผู้บังคับบัญชา ร้อยละ 7.0 ระบุค่าใช้จ่ายในการติดตามผู้ต้องหา ร้อยละ 6.8 ต้องซื้ออาวุธปืน วิทยุสื่อสารประจำตัวด้วยเงินส่วนตัว และร้อยละ 9.3 ระบุอื่นๆ เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าจ้างนักสืบ ค่าใช้จ่ายในการหาข่าว
เมื่อสอบถามถึงปัญหาที่ต้องการให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเร่งแก้ไข ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 94.9 ระบุต้องการให้ดูแลสวัสดิการต่างๆ ให้ดีขึ้น ร้อยละ 88.2 ต้องการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัย ร้อยละ 79.3 ต้องการให้จัดสรรจำนวนบุคลากรให้มากพอกับปริมาณงาน ร้อยละ 79.1 ต้องการขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ร้อยละ 77.2 ต้องการความเป็นธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ร้อยละ 73.8 ต้องการให้ ส่งเสริมพัฒนาความรู้ความสามารถของตำรวจชั้นผู้น้อยโดยทั่วถึง ร้อยละ 69.9 ต้องการให้จัดสภาพแวดล้อม ชุมชนที่พักอาศัยของตำรวจให้น่าอยู่ ร้อยละ 59.0 ต้องการให้กระจายอำนาจมากขึ้น ร้อยละ 58.6 ต้องการให้ประชาสัมพันธ์ผลงานที่ดีให้ประชาชนทราบ และร้อยละ 58.2 ต้องการให้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ตามลำดับ
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามหลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบในหน่วยงานของตน ซึ่งผลสำรวจพบว่า ข้าราชการตำรวจจำนวนมากหรือร้อยละ 43.0 ระบุมีการใช้ระบบอุปถัมถ์มากกว่า เช่น เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง ในขณะที่ร้อยละ 42.8 ระบุใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า เช่นความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส และร้อยละ 14.2 ระบุมีการใช้สองระบบร่วมกัน
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ข้าราชการตำรวจจำนวนมากหรือร้อยละ 41.4 รู้สึกอึดอัดใจในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ตามร้อยละ 58.6 ไม่รู้สึกอึดอัดใจ
เมื่อสอบถามข้าราชการตำรวจถึงอดีตอธิบดีกรมตำรวจหรืออดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ชื่นชอบ ผลสำรวจพบว่า อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 36.2 ชื่นชอบ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ รองลงมาคือร้อยละ 25.7 ชื่นชอบ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ร้อยละ 18.3 ชื่นชอบ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ร้อยละ 11.7 ชื่นชอบ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ร้อยละ 10.6 ชื่นชอบ พล.ต.อ.เภา สารสิน และร้อยละ 16.3 ระบุคนอื่นๆ เช่น พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ เป็นต้น
และเมื่อสอบถามถึงคุณสมบัติของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ต้องการ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.9 ระบุต้องการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา และร้อยละ 93.9 เช่นกันระบุต้องการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง ร้อยละ 92.0 ระบุมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ร้อยละ 91.6 ระบุกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ ร้อยละ 87.4 ระบุต้องยึดมั่นในระบบคุณธรรมและเป็นกลาง ร้อยละ 82.2 ระบุเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ร้อยละ 79.4 ระบุมีแนวคิดพัฒนาตำรวจแบบทันสมัย ร้อยละ 78.1 ระบุต้องเข้าใจปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชา และอื่นๆ เช่น มีความสามารถในการ แก้ปัญหาที่สำคัญๆของประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประวัติและภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาประชาชน มีผลงานเป็นที่ประทับใจของประชาชน มีการศึกษาสูง และ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เป็นต้น
เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึงบุคคลที่ต้องการให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ผลสำรวจพบสัดส่วนของข้าราชการตำรวจที่ใกล้เคียงกันมากระหว่างพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ และ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ซึ่งพบว่า ร้อยละ 32.9 ระบุเป็น พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ในขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุเป็น พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ร้อยละ 13.0 ระบุเป็น พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ร้อยละ 8.9 ระบุเป็น พล.ต.อ.อำนวย เพชรศิริ ร้อยละ 7.2 ระบุเป็น พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ และร้อยละ 7.4 ระบุเป็น พล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้ และ พล.ต.อ.ปิยะ เจียมไชยศรี
--เอแบคโพลล์--
-พห-