ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ผลงานรัฐบาล ปัญหาชีวิตชาวบ้าน ต้นเหตุปัญหาสำคัญของชาติ การปรับคณะรัฐมนตรีและความปรองดองในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม สมุทรปราการ อุตรดิตถ์ ลำปาง เชียงราย มุกดาหาร หนองคาย สกลนคร เลย ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ยะลา นราธิวาส และ สงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,359 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 - 25 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ร้อยละ 7 โดยพบว่า
เมื่อถามถึงผลงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันเปรียบเทียบกับรัฐบาลชุดก่อน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.8 ระบุเหมือนเดิม ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ร้อยละ 23.9 ระบุดีขึ้นถึงดีขึ้นมาก แต่ร้อยละ 19.3 ระบุแย่ลงถึงแย่ลงมาก
เมื่อถามถึงความหลากหลายของปัญหาในชีวิตประจำวันที่ประสบในช่วงรัฐบาลชุดปัจจุบัน เปรียบเทียบกับรัฐบาลชุดก่อน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.8 ระบุปัญหาค่าครองชีพและหนี้สินเพิ่มขึ้น ร้อยละ 63.5 ระบุความรุนแรงของปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.4 ระบุการทุจริตคอรัปชั่นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 51.1 ระบุปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 49.8 ระบุการใช้ความรุนแรงในเด็กและเยาวชน ร้อยละ 46.7 ระบุการเลือกปฏิบัติและความไม่เป็นธรรมในสังคม และร้อยละ 45.5 ระบุความขัดแย้งทางการเมืองในหมู่ประชาชน ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงต้นเหตุของปัญหาสำคัญของชาติ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.3 ระบุมีข้าราชการที่ยอมรับใช้นักการเมืองเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 93.2 ระบุมีข้าราชการที่ยอมรับใช้นักการเมืองเพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 92.5 ระบุมี ส.ส. มุ่งแย่งชิงอำนาจเพื่อตัวเองและพวกพ้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 91.5 ระบุมีข้าราชการที่ยอมรับใช้นักการเมืองมากกว่ารักษาทรัพย์สมบัติของประเทศชาติ ร้อยละ 91.2 ระบุมี ส.ส.ในสภาเข้ามาเพื่อหวังกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ร้อยละ 90.3 ระบุมี ส.ส. ยอมอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มนายทุน และร้อยละ 88.2 ระบุมี ส.ส. และกลุ่มนายทุนที่หวังจะบุกรุกที่ดินอุทยานแห่งชาติ ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 ระบุว่ามีความจำเป็นต้องปรับคณะรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 35.3 ระบุว่ายังไม่จำเป็น นอกจากนี้ เมื่อถามถึงบทบาทสำคัญของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ในการทำให้พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.2 ระบุว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์มีบทบาทสำคัญ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.3 ระบุว่าให้โอกาส นายจตุพร พรหมพันธุ์ ที่จะรับตำแหน่งรัฐมนตรีถ้ามีการปรับ ค.ร.ม.ในขณะที่ร้อยละ 39.7 ระบุว่าไม่ให้โอกาส อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.8 ยังไม่เชื่อมั่นว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์จะทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งฝ่ายแบ่งสี ในขณะที่ร้อยละ 28.2 เชื่อมั่น
เมื่อสอบถามถึง ความหมายของคำว่า ปรองดอง ในความคิดเห็นของชาวบ้าน พบว่า ร้อยละ 48.2 ระบุความปรองดองคือ บ้านเมืองสงบสุข ไม่มีเหตุวุ่นวาย ในขณะที่รองๆ ลงไปคือ ร้อยละ 22.6 ระบุความปรองดองคือ การร่วมมือกันของทุกฝ่ายช่วยแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 11.9 ระบุความปรองดองคือ ใครผิดว่าไปตามผิด ทุกอย่างเป็นไปตามตัวบทกฎหมาย ร้อยละ 10.7 ระบุความปรองดองคือการยอมรับ การให้โอกาส และความเสียสละ และร้อยละ 6.6 ระบุความปรองดองคือการนิรโทษกรรมคดีการเมืองทุกคดี ตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ประเทศชาติและประชาชนกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกวาระหนึ่งเพราะปัญหาในชีวิตประจำวันของประชาชนส่วนใหญ่กำลังเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น และต้นเหตุของปัญหาสำคัญของชาติเพิ่มขึ้นเช่นกัน การปรับคณะรัฐมนตรีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่อาจทำให้สาธารณชนรู้สึกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในการบริหารจัดการปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน โดยการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทยนำมาซึ่งคณะบุคคลที่ทั้ง “ดีและเก่ง” ถูกใจประชาชนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งฝ่ายแบ่งสีได้ และการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีน่าจะสามารถฟื้นฟูความเชื่อมั่นของสาธารณชนขึ้นมาได้ถ้าไม่ตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ “อคติแห่งนครา” กล่าวคือไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลและแรงกดดันของกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนายทุนหรืออำนาจต่อรองทางการเมืองของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยเอง การตัดสินใจสุดท้ายหรือ Final Decision บนพื้นฐานเสียงเรียกร้องจากสาธารณชนและ “ความเป็นผู้นำ” ของนายกรัฐมนตรีจึงเป็นเรื่องจำเป็นในช่วงเวลาสำคัญเช่นนี้ และหากนายกรัฐมนตรีทำได้จริง น่าจะส่งผลให้ความปรองดองในความหมายแบบชาวบ้านทั่วไปเกิดขึ้นได้เพราะมีแรงสนับสนุนจากสาธารณชน
“การตัดสินใจสุดท้ายหรือ Final Decision นั้นอาจทำภายใต้สภาวะอย่างน้อยสองลักษณะคือลักษณะแรกเป็นแบบ Fail-Safe ที่เล็งเห็นผลลัพธ์ของต้นทุนและผลประโยชน์ต่างๆ โดยการตัดสินใจนั้นทำให้เกิดความสูญเสียต่อเสถียรภาพรัฐบาลน้อยที่สุด และลักษณะที่สองเป็นแบบเจรจาต่อรองทางการเมืองที่คำนึงถึงความนิยมของสาธารณชนต่อรัฐบาลร่วมกันของทุกๆ ฝ่าย โดยปล่อยให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภาแบบดั้งเดิมหรือ Conservative Political Movement ดำเนินไป แต่รัฐบาลมุ่งมั่นทำงานเชิงนโยบายทั้งการบำรุงรักษา DNA ของความจงรักภักดีของประชาชนคนไทย และการทำงานเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อประชาชนทุกหมู่เหล่าทั้งประเทศ” ดร.นพดล กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.4 เป็นชาย ร้อยละ 55.6 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.8 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 19.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 35.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 73.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 21.70 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 4.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 33.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.4 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 7.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.3 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ผลการประเมิน ค่าร้อยละ 1 ดีขึ้น ถึง ดีขึ้นมาก 23.9 2 เหมือนเดิม ไม่แตกต่างกัน 56.8 3 แย่ลง ถึง แย่ลงมาก 19.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความหลากหลายของปัญหาในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้นในช่วงรัฐบาลชุดปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐบาลชุดก่อน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัญหาในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้นช่วงรัฐบาลชุดปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐบาลชุดก่อน ร้อยละ 1 ปัญหาค่าครองชีพ และหนี้สินเพิ่มขึ้น 71.8 2 ความรุนแรงของปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม เพิ่มขึ้น 63.5 3 การทุจริตคอรัปชั่น 52.4 4 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 51.1 5 การใช้ความรุนแรงในเด็กและเยาวชน 49.8 6 การเลือกปฏิบัติ และความไม่เป็นธรรมในสังคม 46.7 7 ความขัดแย้งทางการเมืองในหมู่ประชาชน 45.5 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ต้นเหตุปัญหาสำคัญของชาติ ลำดับที่ ต้นเหตุปัญหาสำคัญของชาติ คิดว่าเพิ่มขึ้น คิดว่าไม่เพิ่มขึ้น 1 มีข้าราชการที่ยอมรับใช้นักการเมือง เพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตัว 93.3 6.7 2 มีข้าราชการที่ยอมรับใช้นักการเมือง เพื่อตำแหน่งหน้าที่ 93.2 6.8 3 มี ส.ส. มุ่งแย่งชิงอำนาจเพื่อตัวเองและพวกพ้อง 92.5 7.5 4 มีข้าราชการที่ยอมรับใช้นักการเมืองมากกว่ารักษาทรัพย์สมบัติชาติ 91.5 8.5 5 มี ส.ส ในสภาเข้ามาเพื่อหวังกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้อง 91.2 8.2 6 มี ส.ส. ยอมอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มนายทุน 90.3 9.7 7 มี ส.ส. และกลุ่มนายทุนที่หวังจะบุกรุกที่ดินอุทยานแห่งชาติ 88.2 11.8 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นต้องปรับคณะรัฐมนตรี ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 จำเป็น 64.7 2 ไม่จำเป็น 35.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นายจตุพร พรหมพันธุ์ กับบทบาทสำคัญให้พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล ลำดับที่ บทบาทของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ค่าร้อยละ 1 มีบทบาทสำคัญ 65.2 2 ไม่มีบทบาทสำคัญ 34.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้โอกาสนายจตุพร พรหมพันธุ์ รับตำแหน่งรัฐมนตรีถ้ามีการปรับ ค.ร.ม. ลำดับที่ การให้โอกาสนายจตุพร พรหมพันธุ์ รับตำแหน่งรัฐมนตรีถ้ามีการปรับ ค.ร.ม. ค่าร้อยละ 1 ให้โอกาส 60.3 2 ไม่ให้โอกาส 39.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ จะทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยไม่แบ่งฝ่ายแบ่งสี ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่น 28.2 2 ไม่เชื่อมั่น 71.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความปรองดองในความหมายของชาวบ้านทั่วไป (ตอบได้เพียงข้อเดียว) ลำดับที่ ความปรองดองในความหมายของชาวบ้านทั่วไป ร้อยละ 1 บ้านเมืองสงบสุข ไม่มีเหตุวุ่นวาย 48.2 2 การร่วมมือกันของทุกฝ่าย ช่วยแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 22.6 3 ใครผิดว่าไปตามผิด ทุกอย่างเป็นไปตามตัวบทกฎหมาย 11.9 4 การยอมรับ การให้โอกาส และความเสียสละ 10.7 5 การนิรโทษกรรมคดีการเมืองทุกคดี 6.6 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--