แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในตลาดโลก ทำให้ประเทศไทยได้รับผลพวงจากผลกระทบดังกล่าวโดยทางภาครัฐ
ได้มีการหารือกันอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และอัตราการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจของไทย อย่างไรก็ตามผลจากมาตรการดังกล่าว ส่งผลกระทบทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยในด้านของผู้ผลิตได้รับ
ผลกระทบด้านรายได้ที่ลดลง การจ้างงาน รวมถึงการซื้อสินค้าจากผู้ผลิต รายอื่นอาจลดลงตามไปด้วย ขณะที่ในด้านของ
ผู้บริโภคนั้นได้รับผลกระทบในด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การบริโภคสินค้า และพฤติกรรมการดำรงชีวิตโดยทั่วไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าวจึงได้จัดตั้งโครงการวิจัยเพื่อ
ศึกษาผลกระทบของราคาน้ำมันและมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ โดยจะดำเนินโครงการวิจัยด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็น
เครื่องมือในการวัดแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภคและนำเสนอ ข้อมูลไปยังรัฐบาลและสาธารณชนหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเพื่อให้ได้ ผลประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับทุกหน่วยในระบบเศรษฐกิจต่อไป สำนักวิจัยฯ
ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการเข้าถึงตัวอย่างผู้บริโภค ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้น้ำมันของประชาชน
2. เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน
3. เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาผลกระทบของมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐบาล
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะผู้บริหารในรัฐบาล กลุ่มบุคคลในสถาบันทางการเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อใช้ตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่มีผลกระทบต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
2. เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "โครงการสำรวจผลกระทบ
ของราคาน้ำมันและมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ: กรณีศึกษาตัวอย่างระดับครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนิน
โครงการวิจัยระหว่างวันที่ 18- 22 สิงหาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 - 60 ปี และพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
แผนการสุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบการเลือกตัวอย่างกลุ่ม 2 ชั้นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Two-Stage Sampling) โดยแบ่ง
พื้นที่ของกรุงเทพฯ ออกเป็น 3 ส่วน คือ ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก มีเขตเป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง ให้ความน่าจะเป็น
ในการเลือกเป็นปฏิภาคกับจำนวนประชากร (อายุระหว่าง 18 - 60 ปี) ของเขตตัวอย่างนั้นๆ และประชากรที่พักอาศัยในเขต
ตัวอย่างนั้นเป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง โดยกำหนดสัดส่วนตามช่วงอายุ และ เพศ
ขนาดของตัวอย่างในการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ 922 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ งบประมาณ
สนับสนุนโครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างผู้บริโภค พบว่า ร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.9
ระบุเป็นชาย ซึ่งร้อยละ 7.0 ระบุอายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 33.2 ระบุอายุ 20 - 29 ปี ร้อยละ 27.9
ระบุอายุ 30 - 39 ปี ร้อยละ 17.7 อายุ 40 - 49 ปี ขณะที่ร้อยละ 11.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 2.7
ไม่ระบุอายุ
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 63.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 29.3 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 2.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และร้อยละ 4.6 ไม่ระบุระดับการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.6
ระบุอาชีพข้าราชการ ร้อยละ 19.0 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว / ค้าขาย ร้อยละ 12.9
ระบุอาชีพนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 18.8 ระบุ อาชีพรับจ้างแรงงาน ร้อยละ 9.1 ระบุอาชีพแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 0.2 ระบุอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 1.2 ระบุว่างงาน โดยร้อยละ 4.3 ไม่ระบุอาชีพ
เมื่อพิจารณาถึงรายได้ส่วนตัวต่อเดือนของ ตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.2 ระบุรายได้อยู่ในช่วง
5,001-10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 16.6 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 11.0 ระบุรายได้อยู่ในช่วง
10,001 -15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 8.5 ระบุ รายได้อยู่ในช่วง 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 2.3 ระบุ
รายได้อยู่ในช่วง 20,001-25,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 3.0 ระบุ รายได้อยู่ในช่วง 25,001-30,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 6.1 ระบุ รายได้ มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 18.3 ไม่ระบุระดับรายได้
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบปรากฏดังในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุความเป็นเจ้าของยานพาหนะ
ลำดับที่ ความเป็นเจ้าของยานพาหนะ ค่าร้อยละ
1 มี 57.9
2 ไม่มี 42.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางบ่อยที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่
อันดับที่ 1 รถยนต์ส่วนบุคคล ร้อยละ 53.1
อันดับที่ 2 รถมอเตอร์ไซค์ ร้อยละ 34.6
อันดับที่ 3 รถกระบะ ร้อยละ 11.7
ตัวอย่างระบุบริการขนส่งที่นิยมใช้บริการบ่อยที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่
อันดับที่ 1 รถโดยสารประจำทาง ขสมก. ร้อยละ 72.2
อันดับที่ 2 แท็กซี่ ร้อยละ 5.9
อันดับที่ 3 รถตู้โดยสารประจำทาง ร้อยละ 3.6
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเปรียบเทียบปริมาณการใช้น้ำมันระหว่างปีนี้ (2547) กับปีที่ผ่านมา (2546)
ลำดับที่ ปริมาณการใช้น้ำมัน ค่าร้อยละ
1 ปีนี้ ( 2547 ) ใช้ปริมาณน้ำมันมากกว่า ปีที่แล้ว ( 2546 ) 33.7
2 ปีนี้ ( 2547 ) ใช้ปริมาณน้ำมันพอ ๆ กับ ปีที่แล้ว ( 2546 ) 28.4
3 ปีนี้ ( 2547 ) ใช้ปริมาณน้ำมันน้อยกว่า ปีที่แล้ว ( 2546 ) 11.6
4 ไม่แสดงความเห็น 26.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน
ลำดับที่ การรับรู้เกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน ค่าร้อยละ
1 ได้รับทราบ / เคยได้ยิน 96.4
2 ไม่เคยรับทราบ / ไม่เคยได้ยิน 3.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุกิจกรรมที่ทำหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการงาน / การเรียน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรมหลังเลิกงาน / เลิกเรียน ค่าร้อยละ
1 ไปห้างสรรพสินค้า / แหล่งช้อปปิ้งต่าง ๆ 40.9
2 แวะซื้ออาหารสำเร็จรูป / ซื้ออาหารสดมาทานที่บ้าน 30.0
3 ออกกำลังกาย 27.3
4 รับประทานอาหารนอกบ้าน 20.9
5 ชมภาพยนตร์ 17.2
6 รับบุตรหลาน ที่โรงเรียน 15.2
7 ประกอบอาชีพเสริม 12.5
8 อบรม / เสริมความรู้ด้านต่าง ๆ 7.9
9 อื่น ๆ อาทิ ดูโทรทัศน์ที่บ้าน ดื่มเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ ทำงานบ้าน เป็นต้น 4.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุความคิดเห็นต่อมาตรการต่างๆของรัฐบาลในการประหยัดพลังงาน
ลำดับที่ มาตรการต่างๆ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่ค่อยเห็นด้วย เฉยๆ ค่อนข้างเห็นด้วย เห็นด้วยอย่างยิ่ง รวมทั้งสิ้น
1 ปิดห้างสรรพสินค้า เช่น เดอะมอลล์ เซ็นทรัล
โรบินสัน เวลา 20.00 น. 41.2 7.2 16.6 10.1 24.9 100
2 ปิดซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ (Discount Store)
เช่น บิ๊กซี คาร์ฟูร์ โลตัส เวลา 22.00 น. 25.9 5.8 12.7 14 41.6 100
3 ปิดปั๊มน้ำมัน ระหว่าง 24.00 — 05.00 น. 35.1 5.4 16.2 9.8 33.5 100
4 งดการออกอากาศรายการโทรทัศน์ ระหว่าง
เวลา 24.00 — 05.00 น. 29.5 5.2 12.5 12.4 40.4 100
5 เก็บภาษีแบบก้าวหน้า “ใครใช้น้ำมันมากจ่ายภาษี
มากใครใช้น้ำมันน้อยจ่ายภาษีน้อย” 28.5 6.3 13.3 11.8 40.1 100
6 เก็บค่าเข้าเมืองในเขตกรุงเทพฯ 62.2 9.6 11.6 6 10.6 100
7 ลดจำนวนรถบรรทุกเที่ยวเปล่า 11.7 4.5 12.9 14.5 56.4 100
8 การขึ้นราคาที่จอดรถสาธารณะ 54 10.4 13.4 6.9 15.3 100
9 การเพิ่ม / อำนวยความสะดวกของที่จอดรถเพื่อรองรับประชาชน
ที่ใช้บริการระบบขนส่งมวลชน อาทิ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน
รถเมล์ เป็นต้น 4.8 1.9 5.2 14.1 74 100
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 ให้ทุกคน / ทุกฝ่ายร่วมมือกัน / ช่วยกันประหยัดพลังงาน / สร้างจิตสำนึกรณรงค์ให้มากกว่านี้ 35.7
2 จำกัดจำนวนรถ / ลดปริมาณการใช้รถให้ ใช้รถลดลง 17.4
3 ลดราคาน้ำมัน / ลดภาษีการใช้น้ำมันของประชาชน / อยากให้ราคาน้ำมันลดลงกว่านี้ 9.6
4 ให้คณะรัฐมนตรี / รัฐมนตรี ทำตัวอย่างให้ดูก่อน เช่น ลดจำนวนรถนำขบวน 8.5
5 ปรับปรุงการให้บริการของ ขสมก ( ขนส่งมวลชน ) หรือ รถเมล์ 7.6
6 หันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เช่น ใช้บริการ ขสมก ให้มากขึ้น หรือบีทีเอสมากขึ้น 7.4
7 ไม่นั่งรถคนเดียว / คาร์พูล / รับคนที่เดินทางไปทางเดียวกันไปด้วยกัน / ทางเดียวกันไปด้วยกัน 6.3
8 ช่วยกันประหยัดไฟฟ้า / ปิดไฟฟ้าที่ป้ายโฆษณา / เปิดไฟดวงเว้นดวง 5.8
9 สร้างระบบขนส่งมวลชนให้ทั่วถึง เช่น ขยายเส้นทางรถไฟฟ้า รถเมล์วิ่งตลอด 24 ชม. 4.9
10 ขึ้นภาษีรถ โดยเฉพาะรถที่มีขนาด CC มาก เช่น 2500 CC 4.9
11 ให้ใช้มาตรการที่เข้มงวด / ใช้มาตรการเด็ดขาด ในการประหยัดพลังงาน 3.6
12 อื่น ๆ อาทิ ไม่ควรนำรถเก่ามาใช้ ปิดสถานบันเทิง บาร์ / ผับ เลื่อนการปิด-ห้าง
สรรพสินค้าเป็น 21.00 น. ความร่วมมือจากเจ้าของกิจการ เป็นต้น 13.6
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม
เรื่อง "โครงการสำรวจผลกระทบของราคาน้ำมันและมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ: กรณีศึกษาตัวอย่างระดับครัวเรือน
ในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการวิจัยระหว่างวันที่ 18- 22 สิงหาคม 2547 จำนวนตัวอย่าง ทั้งสิ้น 922
ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่สำรวจพบมีดังนี้
จากพฤติกรรมการใช้ปริมาณการใช้น้ำมันของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 33.7 ระบุ ว่าใช้ปริมาณน้ำมันมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว
โดยเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่มียานพาหนะเป็นของตัวเอง ขณะที่หลังกิจกรรมหลังเสร็จสิ้นภารกิจการงาน / เสร็จสิ้นภารกิจการ
เรียนแล้วพบว่าตัวอย่างร้อยละ 40.9 ระบุ ไปห้างสรรพสินค้า / แหล่งช้อปปิ้ง โดยร้อยละ 27.3 และ 17.2 ระบุไปออก
กำลังกายและชมภาพยนตร์ ตามลำดับ ส่วนการรับรู้ถึงมาตรการประหยัดพลังงานนั้นตัวอย่างร้อยละ 96.4 ระบุว่ารับรู้และเคยได้ยิน
หากพิจารณาถึงมาตรการประหยัดพลังงานต่างๆ ของรัฐบาล ตัวอย่างร้อยละ 88.1 เห็นด้วยกับการเพิ่ม/ อำนวย
ความสะดวกของที่จอดรถเพื่อรองรับประชาชนที่ใช้บริการระบบขนส่งมวลชน อาทิ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รถเมล์
เป็นต้น ร้อยละ 70.9 เห็นด้วยกับการลดจำนวนรถบรรทุกเที่ยวเปล่า และร้อยละ 55.6 เห็นด้วยกับการปิดซุปเปอร์มาร์เก็ต
ขนาดใหญ่ (Discount Store) อาทิ บิ๊กซี คาร์ฟูร์ โลตัส เวลา 22.00 น. สำหรับมาตรการที่ ตัวอย่างระบุไม่เห็นด้วย
ได้แก่ การเก็บค่าเข้าเมืองในเขตกรุงเทพฯ ร้อยละ 71.8 การขึ้นราคาที่จอดรถสาธารณะ ร้อยละ 64.4 และการปิดห้าง
สรรพสินค้า อาทิ เดอะมอลล์ เซ็นทรัล โรบินสัน เวลา 20.00 น. ร้อยละ 48.4
ข้อเสนอแนะของตัวอย่างเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน ได้แก่ การร่วมมือกันของทุกฝ่าย การกำจัดจำนวนรถยนต์
ส่วนบุคคล ขณะที่บางตัวอย่างอยากให้ลดราคาน้ำมัน หรืออยากให้ราคาน้ำมันลดลงอีก เป็นต้น
จากผลสำรวจดังกล่าว พบว่ามาตรการบางมาตรการ อาทิ การปิดห้างสรรพสินค้า เวลา 20.00 น. และการเปิด
ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ (Discount Store) เวลา 22.00 น. นั้น ส่งผลกระทบทั้งด้านผู้ประกอบการ (ในฐานะผู้ผลิต
สินค้าและบริการ ) และทั้งผู้บริโภค อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจพบว่า มาตรการทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวได้คะแนนเฉลี่ย
ที่ต่ำกว่าครึ่งไม่มาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคอาจปรับเปลี่ยนตาม จากผลสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์
เรื่องสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย (2544) พบว่า สถานที่ตัวอย่างระบุเลือกซื้อสินค้า
อุปโภคบริโภค 3 อันดับแรก ได้แก่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ / ไฮเปอร์มาร์เก็ต เช่น คาร์ฟูร์ บิ๊กซี โลตัส คิดเป็น
ร้อยละ 86.2 ห้างสรรพสินค้า เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ โรบินสัน คิดเป็นร้อยละ 63.1 และร้านสะดวกซื้อ เช่น
7- eleven / Family Mart คิดเป็นร้อยละ 46.1 เป็นต้น ขณะที่เป็นอันดับที่ 4 ร้านโชว์ห่วย / หรือร้านค้าปลีกทั่วไป
คิดเป็นร้อยละ 39.3 คณะผู้วิจัยจึงตั้งข้อสังเกตว่า หากมาตรการปิดห้าง สรรพสินค้าค้าเวลา 20.00 น. และมาตรการ
ปิดซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เวลา 22.00 น. นอกจากร้านสะดวกซื้อที่จะได้รับประโยชน์จากการปรับพฤติกรรมของผู้
บริโภคแล้ว ร้านโชว์ห่วยของผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดเล็ก จะได้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวหรือไม่ หากผู้ประกอบการ
รายเล็กปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในตลาดโลก ทำให้ประเทศไทยได้รับผลพวงจากผลกระทบดังกล่าวโดยทางภาครัฐ
ได้มีการหารือกันอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และอัตราการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจของไทย อย่างไรก็ตามผลจากมาตรการดังกล่าว ส่งผลกระทบทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยในด้านของผู้ผลิตได้รับ
ผลกระทบด้านรายได้ที่ลดลง การจ้างงาน รวมถึงการซื้อสินค้าจากผู้ผลิต รายอื่นอาจลดลงตามไปด้วย ขณะที่ในด้านของ
ผู้บริโภคนั้นได้รับผลกระทบในด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การบริโภคสินค้า และพฤติกรรมการดำรงชีวิตโดยทั่วไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าวจึงได้จัดตั้งโครงการวิจัยเพื่อ
ศึกษาผลกระทบของราคาน้ำมันและมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ โดยจะดำเนินโครงการวิจัยด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็น
เครื่องมือในการวัดแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภคและนำเสนอ ข้อมูลไปยังรัฐบาลและสาธารณชนหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเพื่อให้ได้ ผลประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับทุกหน่วยในระบบเศรษฐกิจต่อไป สำนักวิจัยฯ
ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการเข้าถึงตัวอย่างผู้บริโภค ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้น้ำมันของประชาชน
2. เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน
3. เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาผลกระทบของมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐบาล
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะผู้บริหารในรัฐบาล กลุ่มบุคคลในสถาบันทางการเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อใช้ตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่มีผลกระทบต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
2. เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "โครงการสำรวจผลกระทบ
ของราคาน้ำมันและมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ: กรณีศึกษาตัวอย่างระดับครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนิน
โครงการวิจัยระหว่างวันที่ 18- 22 สิงหาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 - 60 ปี และพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
แผนการสุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบการเลือกตัวอย่างกลุ่ม 2 ชั้นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Two-Stage Sampling) โดยแบ่ง
พื้นที่ของกรุงเทพฯ ออกเป็น 3 ส่วน คือ ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก มีเขตเป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง ให้ความน่าจะเป็น
ในการเลือกเป็นปฏิภาคกับจำนวนประชากร (อายุระหว่าง 18 - 60 ปี) ของเขตตัวอย่างนั้นๆ และประชากรที่พักอาศัยในเขต
ตัวอย่างนั้นเป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง โดยกำหนดสัดส่วนตามช่วงอายุ และ เพศ
ขนาดของตัวอย่างในการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ 922 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ งบประมาณ
สนับสนุนโครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างผู้บริโภค พบว่า ร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.9
ระบุเป็นชาย ซึ่งร้อยละ 7.0 ระบุอายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 33.2 ระบุอายุ 20 - 29 ปี ร้อยละ 27.9
ระบุอายุ 30 - 39 ปี ร้อยละ 17.7 อายุ 40 - 49 ปี ขณะที่ร้อยละ 11.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 2.7
ไม่ระบุอายุ
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 63.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 29.3 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 2.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และร้อยละ 4.6 ไม่ระบุระดับการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.6
ระบุอาชีพข้าราชการ ร้อยละ 19.0 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว / ค้าขาย ร้อยละ 12.9
ระบุอาชีพนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 18.8 ระบุ อาชีพรับจ้างแรงงาน ร้อยละ 9.1 ระบุอาชีพแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 0.2 ระบุอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 1.2 ระบุว่างงาน โดยร้อยละ 4.3 ไม่ระบุอาชีพ
เมื่อพิจารณาถึงรายได้ส่วนตัวต่อเดือนของ ตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.2 ระบุรายได้อยู่ในช่วง
5,001-10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 16.6 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 11.0 ระบุรายได้อยู่ในช่วง
10,001 -15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 8.5 ระบุ รายได้อยู่ในช่วง 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 2.3 ระบุ
รายได้อยู่ในช่วง 20,001-25,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 3.0 ระบุ รายได้อยู่ในช่วง 25,001-30,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 6.1 ระบุ รายได้ มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 18.3 ไม่ระบุระดับรายได้
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบปรากฏดังในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุความเป็นเจ้าของยานพาหนะ
ลำดับที่ ความเป็นเจ้าของยานพาหนะ ค่าร้อยละ
1 มี 57.9
2 ไม่มี 42.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ระบุยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางบ่อยที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่
อันดับที่ 1 รถยนต์ส่วนบุคคล ร้อยละ 53.1
อันดับที่ 2 รถมอเตอร์ไซค์ ร้อยละ 34.6
อันดับที่ 3 รถกระบะ ร้อยละ 11.7
ตัวอย่างระบุบริการขนส่งที่นิยมใช้บริการบ่อยที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่
อันดับที่ 1 รถโดยสารประจำทาง ขสมก. ร้อยละ 72.2
อันดับที่ 2 แท็กซี่ ร้อยละ 5.9
อันดับที่ 3 รถตู้โดยสารประจำทาง ร้อยละ 3.6
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างเปรียบเทียบปริมาณการใช้น้ำมันระหว่างปีนี้ (2547) กับปีที่ผ่านมา (2546)
ลำดับที่ ปริมาณการใช้น้ำมัน ค่าร้อยละ
1 ปีนี้ ( 2547 ) ใช้ปริมาณน้ำมันมากกว่า ปีที่แล้ว ( 2546 ) 33.7
2 ปีนี้ ( 2547 ) ใช้ปริมาณน้ำมันพอ ๆ กับ ปีที่แล้ว ( 2546 ) 28.4
3 ปีนี้ ( 2547 ) ใช้ปริมาณน้ำมันน้อยกว่า ปีที่แล้ว ( 2546 ) 11.6
4 ไม่แสดงความเห็น 26.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน
ลำดับที่ การรับรู้เกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน ค่าร้อยละ
1 ได้รับทราบ / เคยได้ยิน 96.4
2 ไม่เคยรับทราบ / ไม่เคยได้ยิน 3.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุกิจกรรมที่ทำหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการงาน / การเรียน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรมหลังเลิกงาน / เลิกเรียน ค่าร้อยละ
1 ไปห้างสรรพสินค้า / แหล่งช้อปปิ้งต่าง ๆ 40.9
2 แวะซื้ออาหารสำเร็จรูป / ซื้ออาหารสดมาทานที่บ้าน 30.0
3 ออกกำลังกาย 27.3
4 รับประทานอาหารนอกบ้าน 20.9
5 ชมภาพยนตร์ 17.2
6 รับบุตรหลาน ที่โรงเรียน 15.2
7 ประกอบอาชีพเสริม 12.5
8 อบรม / เสริมความรู้ด้านต่าง ๆ 7.9
9 อื่น ๆ อาทิ ดูโทรทัศน์ที่บ้าน ดื่มเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ ทำงานบ้าน เป็นต้น 4.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุความคิดเห็นต่อมาตรการต่างๆของรัฐบาลในการประหยัดพลังงาน
ลำดับที่ มาตรการต่างๆ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่ค่อยเห็นด้วย เฉยๆ ค่อนข้างเห็นด้วย เห็นด้วยอย่างยิ่ง รวมทั้งสิ้น
1 ปิดห้างสรรพสินค้า เช่น เดอะมอลล์ เซ็นทรัล
โรบินสัน เวลา 20.00 น. 41.2 7.2 16.6 10.1 24.9 100
2 ปิดซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ (Discount Store)
เช่น บิ๊กซี คาร์ฟูร์ โลตัส เวลา 22.00 น. 25.9 5.8 12.7 14 41.6 100
3 ปิดปั๊มน้ำมัน ระหว่าง 24.00 — 05.00 น. 35.1 5.4 16.2 9.8 33.5 100
4 งดการออกอากาศรายการโทรทัศน์ ระหว่าง
เวลา 24.00 — 05.00 น. 29.5 5.2 12.5 12.4 40.4 100
5 เก็บภาษีแบบก้าวหน้า “ใครใช้น้ำมันมากจ่ายภาษี
มากใครใช้น้ำมันน้อยจ่ายภาษีน้อย” 28.5 6.3 13.3 11.8 40.1 100
6 เก็บค่าเข้าเมืองในเขตกรุงเทพฯ 62.2 9.6 11.6 6 10.6 100
7 ลดจำนวนรถบรรทุกเที่ยวเปล่า 11.7 4.5 12.9 14.5 56.4 100
8 การขึ้นราคาที่จอดรถสาธารณะ 54 10.4 13.4 6.9 15.3 100
9 การเพิ่ม / อำนวยความสะดวกของที่จอดรถเพื่อรองรับประชาชน
ที่ใช้บริการระบบขนส่งมวลชน อาทิ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน
รถเมล์ เป็นต้น 4.8 1.9 5.2 14.1 74 100
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 ให้ทุกคน / ทุกฝ่ายร่วมมือกัน / ช่วยกันประหยัดพลังงาน / สร้างจิตสำนึกรณรงค์ให้มากกว่านี้ 35.7
2 จำกัดจำนวนรถ / ลดปริมาณการใช้รถให้ ใช้รถลดลง 17.4
3 ลดราคาน้ำมัน / ลดภาษีการใช้น้ำมันของประชาชน / อยากให้ราคาน้ำมันลดลงกว่านี้ 9.6
4 ให้คณะรัฐมนตรี / รัฐมนตรี ทำตัวอย่างให้ดูก่อน เช่น ลดจำนวนรถนำขบวน 8.5
5 ปรับปรุงการให้บริการของ ขสมก ( ขนส่งมวลชน ) หรือ รถเมล์ 7.6
6 หันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เช่น ใช้บริการ ขสมก ให้มากขึ้น หรือบีทีเอสมากขึ้น 7.4
7 ไม่นั่งรถคนเดียว / คาร์พูล / รับคนที่เดินทางไปทางเดียวกันไปด้วยกัน / ทางเดียวกันไปด้วยกัน 6.3
8 ช่วยกันประหยัดไฟฟ้า / ปิดไฟฟ้าที่ป้ายโฆษณา / เปิดไฟดวงเว้นดวง 5.8
9 สร้างระบบขนส่งมวลชนให้ทั่วถึง เช่น ขยายเส้นทางรถไฟฟ้า รถเมล์วิ่งตลอด 24 ชม. 4.9
10 ขึ้นภาษีรถ โดยเฉพาะรถที่มีขนาด CC มาก เช่น 2500 CC 4.9
11 ให้ใช้มาตรการที่เข้มงวด / ใช้มาตรการเด็ดขาด ในการประหยัดพลังงาน 3.6
12 อื่น ๆ อาทิ ไม่ควรนำรถเก่ามาใช้ ปิดสถานบันเทิง บาร์ / ผับ เลื่อนการปิด-ห้าง
สรรพสินค้าเป็น 21.00 น. ความร่วมมือจากเจ้าของกิจการ เป็นต้น 13.6
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม
เรื่อง "โครงการสำรวจผลกระทบของราคาน้ำมันและมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐ: กรณีศึกษาตัวอย่างระดับครัวเรือน
ในเขตกรุงเทพมหานคร" ซึ่งดำเนินโครงการวิจัยระหว่างวันที่ 18- 22 สิงหาคม 2547 จำนวนตัวอย่าง ทั้งสิ้น 922
ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่สำรวจพบมีดังนี้
จากพฤติกรรมการใช้ปริมาณการใช้น้ำมันของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 33.7 ระบุ ว่าใช้ปริมาณน้ำมันมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว
โดยเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่มียานพาหนะเป็นของตัวเอง ขณะที่หลังกิจกรรมหลังเสร็จสิ้นภารกิจการงาน / เสร็จสิ้นภารกิจการ
เรียนแล้วพบว่าตัวอย่างร้อยละ 40.9 ระบุ ไปห้างสรรพสินค้า / แหล่งช้อปปิ้ง โดยร้อยละ 27.3 และ 17.2 ระบุไปออก
กำลังกายและชมภาพยนตร์ ตามลำดับ ส่วนการรับรู้ถึงมาตรการประหยัดพลังงานนั้นตัวอย่างร้อยละ 96.4 ระบุว่ารับรู้และเคยได้ยิน
หากพิจารณาถึงมาตรการประหยัดพลังงานต่างๆ ของรัฐบาล ตัวอย่างร้อยละ 88.1 เห็นด้วยกับการเพิ่ม/ อำนวย
ความสะดวกของที่จอดรถเพื่อรองรับประชาชนที่ใช้บริการระบบขนส่งมวลชน อาทิ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รถเมล์
เป็นต้น ร้อยละ 70.9 เห็นด้วยกับการลดจำนวนรถบรรทุกเที่ยวเปล่า และร้อยละ 55.6 เห็นด้วยกับการปิดซุปเปอร์มาร์เก็ต
ขนาดใหญ่ (Discount Store) อาทิ บิ๊กซี คาร์ฟูร์ โลตัส เวลา 22.00 น. สำหรับมาตรการที่ ตัวอย่างระบุไม่เห็นด้วย
ได้แก่ การเก็บค่าเข้าเมืองในเขตกรุงเทพฯ ร้อยละ 71.8 การขึ้นราคาที่จอดรถสาธารณะ ร้อยละ 64.4 และการปิดห้าง
สรรพสินค้า อาทิ เดอะมอลล์ เซ็นทรัล โรบินสัน เวลา 20.00 น. ร้อยละ 48.4
ข้อเสนอแนะของตัวอย่างเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน ได้แก่ การร่วมมือกันของทุกฝ่าย การกำจัดจำนวนรถยนต์
ส่วนบุคคล ขณะที่บางตัวอย่างอยากให้ลดราคาน้ำมัน หรืออยากให้ราคาน้ำมันลดลงอีก เป็นต้น
จากผลสำรวจดังกล่าว พบว่ามาตรการบางมาตรการ อาทิ การปิดห้างสรรพสินค้า เวลา 20.00 น. และการเปิด
ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ (Discount Store) เวลา 22.00 น. นั้น ส่งผลกระทบทั้งด้านผู้ประกอบการ (ในฐานะผู้ผลิต
สินค้าและบริการ ) และทั้งผู้บริโภค อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจพบว่า มาตรการทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวได้คะแนนเฉลี่ย
ที่ต่ำกว่าครึ่งไม่มาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคอาจปรับเปลี่ยนตาม จากผลสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์
เรื่องสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย (2544) พบว่า สถานที่ตัวอย่างระบุเลือกซื้อสินค้า
อุปโภคบริโภค 3 อันดับแรก ได้แก่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ / ไฮเปอร์มาร์เก็ต เช่น คาร์ฟูร์ บิ๊กซี โลตัส คิดเป็น
ร้อยละ 86.2 ห้างสรรพสินค้า เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ โรบินสัน คิดเป็นร้อยละ 63.1 และร้านสะดวกซื้อ เช่น
7- eleven / Family Mart คิดเป็นร้อยละ 46.1 เป็นต้น ขณะที่เป็นอันดับที่ 4 ร้านโชว์ห่วย / หรือร้านค้าปลีกทั่วไป
คิดเป็นร้อยละ 39.3 คณะผู้วิจัยจึงตั้งข้อสังเกตว่า หากมาตรการปิดห้าง สรรพสินค้าค้าเวลา 20.00 น. และมาตรการ
ปิดซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เวลา 22.00 น. นอกจากร้านสะดวกซื้อที่จะได้รับประโยชน์จากการปรับพฤติกรรมของผู้
บริโภคแล้ว ร้านโชว์ห่วยของผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดเล็ก จะได้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวหรือไม่ หากผู้ประกอบการ
รายเล็กปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-