ที่มาของโครงการ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร นับว่าเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญที่ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และถึงแม้ว่าผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะปรากฏออกมาแล้วว่าผู้สมัครคนใดจะได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ แต่บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)และกรุงเทพมหานครยังไม่สิ้นสุด เพราะผลการเลือกตั้งดังกล่าวนั้น เป็นผลการเลือกตั้งที่ไม่เป็นทางการ ยังไม่ได้รับการประกาศรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดังนั้น กกต. และกรุงเทพมหานครจึงยังคงต้องร่วมมือกันทำหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการเลือกตั้งในครั้งนี้ ให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และโปร่งใสมาก ที่สุด ก่อนที่จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการออกมาสู่สาธารณชน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ต่อประเด็นความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผ่านมา ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อผู้ว่าราชการ กทม.คนใหม่
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของข้าราชการ กทม.ในการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ควันหลงเลือกตั้งผู้ว่า กทม. : กรณีศึกษาประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 30 สิงหาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,273 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของ
ตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.7 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 23.8 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี
ร้อยละ 15.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
และร้อยละ 8.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 29.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 16.4 ระบุอาชีพ แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 9.0 ระบุ อาชีพเกษตรกร
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
และร้อยละ 0.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวผลการเลือกตั้งผ่านทางสื่อมวลชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การติดตามข่าวผลการเลือกตั้งผ่านทางสื่อมวลชน ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าวทางโทรทัศน์ 79.3
2 วิทยุ 45.7
3 หนังสือพิมพ์ 40.0
4 อินเตอร์เน็ต 25.1
5 อื่นๆ อาทิ เพื่อน /คนรู้จัก 11.4
6 ไม่ได้ติดตามข่าวเลย 18.5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. ค่าร้อยละ
1 พอใจ 43.4
2 ค่อนข้างพอใจ 17.5
3 ไม่ค่อยพอใจ 10.6
4 ไม่พอใจ 3.4
5 ไม่มีความคิดเห็น 25.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงการจัด 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการให้ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครคนใหม่เร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาเร่งด่วน 10 อันดับที่ต้องการให้ผู้ว่าราชการ ค่าร้อยละ
กรุงเทพมหานครคนใหม่เร่งแก้ไข
1 ปัญหาการจราจร 78.3
2 ปัญหาด้านมลภาวะ/สิ่งแวดล้อม 69.8
3 ปัญหายาเสพติด 64.7
4 ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 57.8
5 ปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมในชุมชน 53.2
6 ปัญหาการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น/เยาวชน 43.3
7 ปัญหาด้านการศึกษา 41.0
8 ปัญหาการรีดไถของเจ้าหน้าที่ กทม. 38.9
9 ปัญหาคอรัปชั่นของข้าราชการในหน่วยงานสังกัด กทม. 34.4
10 ปัญหาคุณภาพอาหารและสุขภาพของประชาชนใน กทม. 32.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจในตัวผู้ว่าราชการ กทม.คนใหม่ ว่าจะสามารถ
ทำงานแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความมั่นใจในตัวผู้ว่าราชการ กทม.คนใหม่ ค่าร้อยละ
ว่าจะสามารถทำงานแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง
1 มั่นใจ 39.4
2 ค่อนข้างมั่นใจ 19.5
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 9.6
4 ไม่มั่นใจ 3.8
5 ไม่มีความคิดเห็น 27.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า เห็นด้วยหรือไม่ว่า ชัยชนะของผู้สมัครจาก
พรรคประชาธิปัตย์สะท้อนให้เห็นว่าความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาลโดยพรรคไทยรักไทยลดลง
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 38.7
2 ไม่เห็นด้วย 31.6
3 ไม่มีความเห็น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วย ระบุเหตุผลว่า…..
1) เพราะเริ่มเบื่อท่าทีของรัฐบาลในการสนับสนุนผู้สมัครคนอื่นที่เป็นคู่แข่งกับผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์
2) เพราะนโยบายบางอย่างเริ่มเห็นว่าไม่ได้ผลสำเร็จตามที่คาดหวัง อาทิ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สินค้าราคาสูงขึ้น ปัญหายาเสพติดกลับมาระบาดซ้ำ
3) เพราะพรรคไทยรักไทยไม่เสนอทางเลือกให้กับประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
4) เพราะพรรคไทยรักไทยไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาของ คนกทม.
กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วย ระบุเหตุผลว่า….
1) ไม่เกี่ยวข้องกันระหว่างการเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม. กับการเมืองระดับประเทศ
2) พรรคไทยรักไทยไม่ส่งผู้สมัครจึงตัดสินไม่ได้
3) พรรคไทยรักไทยยังทำงานได้ดีอยู่
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความโปร่งใส
ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.
ลำดับที่ ความโปร่งใสในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีความโปร่งใส 73.4
2 ไม่เชื่อ 11.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การประกาศของ กกต. ที่ห้ามทำสำรวจหน้า
หน่วยเลือกตั้งหรือ Exit Polls
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 64.9
2 ไม่เห็นด้วย 20.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วย ระบุเหตุผลว่า….
1) การสำรวจหน้าหน่วยเลือกตั้งเป็นการรบกวนประชาชนผู้ไปใช้สิทธิ
2) อาจทำให้ผู้สมัครบางคนที่จะรู้ผลเลือกตั้งก่อความไม่สงบขึ้นในการเลือกตั้งได้
3) อาจทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบและความไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้ง
4) เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนผู้ไปใช้สิทธิ
5) ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการถูกรบกวนจากคนที่สอบถามและไม่อยากไปเลือกตั้ง
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เห็นด้วยหรือไม่ ถ้า กกต. จะประกาศห้ามทำสำรวจหน้า
หน่วยเลือกตั้งหรือ Exit Polls ในการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วประเทศด้วย
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 67.8
2 ไม่เห็นด้วย 19.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีการที่ กกต. แจกใบแดงให้กับผู้สมัครบางคน
เป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการแจกใบแดง ค่าร้อยละ
ให้กับผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม.บางคน
1 คิดว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ 10.3
2 ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ 75.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานโดยภาพรวมของ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.ในครั้งนี้
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ค่าร้อยละ
ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.
1 พอใจ 53.7
2 ค่อนข้างพอใจ 24.2
3 ไม่ค่อยพอใจ 4.8
4 ไม่พอใจ 2.0
5 ไม่มีความคิดเห็น 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานโดยภาพรวมของ
ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.ในครั้งนี้
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานของ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.
1 พอใจ 49.1
2 ค่อนข้างพอใจ 33.4
3 ไม่ค่อยพอใจ 1.7
4 ไม่พอใจ 7.9
5 ไม่มีความคิดเห็น 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ควันหลงเลือกตั้งผู้ว่า กทม." ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 30 สิงหาคม 2547 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 1,273 ตัวอย่าง ซึ่งผลการสำรวจค้นพบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาดังต่อไปนี้
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 79.3 ระบุติดตามข่าวผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯทางโทรทัศน์ ร้อยละ 45.7 ระบุติดตามทางวิทยุ ร้อยละ 40.0 ติดตามข่าวทางหนังสือพิมพ์ ในขณะที่ร้อยละ 18.5 ระบุไม่ได้ติดตามข่าวดังกล่าวเลย
ประเด็นสำคัญที่คณะผู้วิจัยค้นพบเกี่ยวกับการเลือกตั้งในครั้งนี้ ได้แก่ ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเลือกตั้งที่ปรากฏออกมา ซึ่งพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 60.9 ระบุพอใจ-ค่อนข้างพอใจ กับผลการเลือกตั้งดังกล่าว และปัญหาเร่งด่วน 3 อันดับแรก ที่ต้องการให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่เร่งแก้ไขได้แก่ ปัญหาการจราจร (ร้อยละ 78.3) ปัญหาด้านมลภาวะ/สิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 69.8) และปัญหา ยาเสพติด (ร้อยละ 64.7) ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามต่อไปถึงความมั่นใจในตัวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ว่าจะสามารถทำงานแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงหรือไม่นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.4 ระบุมั่นใจ ร้อยละ 19.5 ระบุค่อนข้างมั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 9.6 ระบุไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 3.8 ระบุไม่มั่นใจ ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 27.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังสอบถามถึงประเด็นที่ว่า เห็นด้วยหรือไม่ว่าชัยชนะของผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์สะท้อนให้เห็นว่าความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาลโดยพรรคไทยรักไทยลดลง ตัวอย่างร้อยละ 38.7 ระบุว่าเห็นด้วย ร้อยละ 31.6 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 29.7 ไม่ระบุความเห็น ซึ่งตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยให้เหตุผลว่า เริ่มเบื่อท่าทีของรัฐบาลในการสนับสนุนผู้สมัครคนอื่นที่เป็นคู่แข่งกับผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ / นโยบายบางอย่างเริ่มเห็นว่าไม่ได้สำเร็จตามที่คาดหวังไว้ เป็นต้น ส่วนตัวอย่างที่ระบุไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่า การเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งระดับประเทศ / พรรคไทยรักไทยไม่ได้ส่งผู้สมัครจึงตัดสินไม่ได้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ ยังแสดงให้เห็นถึงทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตรงซึ่ง ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. และข้าราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 73.4 ระบุเชื่อว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในครั้งนี้มีความโปร่งใส ในขณะที่ร้อยละ 11.4 ระบุไม่เชื่อว่ามีความโปร่งใส และร้อยละ 15.2 ไม่ระบุความเห็น
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีการประกาศของ กกต. ที่ห้ามทำสำรวจหน้าหน่วยเลือกตั้ง (Exit Polls) ตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 64.9 ระบุว่าเห็นด้วยต่อกรณีดังกล่าว เพราะ การสำรวจดังกล่าวเป็นการรบกวนผู้ไปใช้สิทธิ / อาจทำให้ผู้สมัครบางคนที่จะรู้ผลเลือกตั้งก่อความไม่สงบขึ้น เป็นต้น ร้อยละ 20.5 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.6 ไม่ระบุความเห็น นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังสอบถามความคิดเห็นต่อกรณี ถ้า กกต. จะประกาศห้ามทำสำรวจหน้าหน่วยเลือกตั้ง (Exit Polls) ในการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วประเทศด้วย ตัวอย่างร้อยละ 67.8 ระบุว่าเห็นด้วย ร้อยละ 19.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.9 ไม่ระบุความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งแจกใบแดงให้กับผู้สมัครบางคนนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 10.3 ระบุคิดว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 75.1 ระบุไม่คิดว่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติ และร้อยละ 14.6 ไม่ระบุความเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความพึงพอใจของตัวอย่างต่อบทบาทการทำงานโดยภาพรวมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.7 ระบุพอใจต่อการทำงานของ กกต. ร้อยละ 24.2 ระบุค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 4.8 ระบุไม่ค่อยพอใจ และ ร้อยละ 2.0 ระบุไม่พอใจ ในขณะที่ร้อยละ 15.3 ไม่ระบุความคิดเห็น สำหรับความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานโดยภาพรวมของข้าราชการกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งครั้งนี้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.1 ระบุพอใจ ร้อยละ 33.4 ระบุค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 1.7 ระบุไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 7.9 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 7.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร นับว่าเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญที่ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และถึงแม้ว่าผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะปรากฏออกมาแล้วว่าผู้สมัครคนใดจะได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ แต่บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)และกรุงเทพมหานครยังไม่สิ้นสุด เพราะผลการเลือกตั้งดังกล่าวนั้น เป็นผลการเลือกตั้งที่ไม่เป็นทางการ ยังไม่ได้รับการประกาศรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดังนั้น กกต. และกรุงเทพมหานครจึงยังคงต้องร่วมมือกันทำหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการเลือกตั้งในครั้งนี้ ให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และโปร่งใสมาก ที่สุด ก่อนที่จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการออกมาสู่สาธารณชน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ต่อประเด็นความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผ่านมา ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อผู้ว่าราชการ กทม.คนใหม่
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของข้าราชการ กทม.ในการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง "ควันหลงเลือกตั้งผู้ว่า กทม. : กรณีศึกษาประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 30 สิงหาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,273 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของ
ตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.7 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 23.8 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี
ร้อยละ 15.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
และร้อยละ 8.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 29.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 16.4 ระบุอาชีพ แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 9.0 ระบุ อาชีพเกษตรกร
ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
และร้อยละ 0.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวผลการเลือกตั้งผ่านทางสื่อมวลชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การติดตามข่าวผลการเลือกตั้งผ่านทางสื่อมวลชน ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าวทางโทรทัศน์ 79.3
2 วิทยุ 45.7
3 หนังสือพิมพ์ 40.0
4 อินเตอร์เน็ต 25.1
5 อื่นๆ อาทิ เพื่อน /คนรู้จัก 11.4
6 ไม่ได้ติดตามข่าวเลย 18.5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. ค่าร้อยละ
1 พอใจ 43.4
2 ค่อนข้างพอใจ 17.5
3 ไม่ค่อยพอใจ 10.6
4 ไม่พอใจ 3.4
5 ไม่มีความคิดเห็น 25.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงการจัด 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการให้ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครคนใหม่เร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาเร่งด่วน 10 อันดับที่ต้องการให้ผู้ว่าราชการ ค่าร้อยละ
กรุงเทพมหานครคนใหม่เร่งแก้ไข
1 ปัญหาการจราจร 78.3
2 ปัญหาด้านมลภาวะ/สิ่งแวดล้อม 69.8
3 ปัญหายาเสพติด 64.7
4 ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 57.8
5 ปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมในชุมชน 53.2
6 ปัญหาการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น/เยาวชน 43.3
7 ปัญหาด้านการศึกษา 41.0
8 ปัญหาการรีดไถของเจ้าหน้าที่ กทม. 38.9
9 ปัญหาคอรัปชั่นของข้าราชการในหน่วยงานสังกัด กทม. 34.4
10 ปัญหาคุณภาพอาหารและสุขภาพของประชาชนใน กทม. 32.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจในตัวผู้ว่าราชการ กทม.คนใหม่ ว่าจะสามารถ
ทำงานแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความมั่นใจในตัวผู้ว่าราชการ กทม.คนใหม่ ค่าร้อยละ
ว่าจะสามารถทำงานแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง
1 มั่นใจ 39.4
2 ค่อนข้างมั่นใจ 19.5
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 9.6
4 ไม่มั่นใจ 3.8
5 ไม่มีความคิดเห็น 27.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า เห็นด้วยหรือไม่ว่า ชัยชนะของผู้สมัครจาก
พรรคประชาธิปัตย์สะท้อนให้เห็นว่าความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาลโดยพรรคไทยรักไทยลดลง
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 38.7
2 ไม่เห็นด้วย 31.6
3 ไม่มีความเห็น 29.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วย ระบุเหตุผลว่า…..
1) เพราะเริ่มเบื่อท่าทีของรัฐบาลในการสนับสนุนผู้สมัครคนอื่นที่เป็นคู่แข่งกับผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์
2) เพราะนโยบายบางอย่างเริ่มเห็นว่าไม่ได้ผลสำเร็จตามที่คาดหวัง อาทิ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สินค้าราคาสูงขึ้น ปัญหายาเสพติดกลับมาระบาดซ้ำ
3) เพราะพรรคไทยรักไทยไม่เสนอทางเลือกให้กับประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
4) เพราะพรรคไทยรักไทยไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาของ คนกทม.
กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วย ระบุเหตุผลว่า….
1) ไม่เกี่ยวข้องกันระหว่างการเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม. กับการเมืองระดับประเทศ
2) พรรคไทยรักไทยไม่ส่งผู้สมัครจึงตัดสินไม่ได้
3) พรรคไทยรักไทยยังทำงานได้ดีอยู่
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความโปร่งใส
ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.
ลำดับที่ ความโปร่งใสในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีความโปร่งใส 73.4
2 ไม่เชื่อ 11.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การประกาศของ กกต. ที่ห้ามทำสำรวจหน้า
หน่วยเลือกตั้งหรือ Exit Polls
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 64.9
2 ไม่เห็นด้วย 20.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
กลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วย ระบุเหตุผลว่า….
1) การสำรวจหน้าหน่วยเลือกตั้งเป็นการรบกวนประชาชนผู้ไปใช้สิทธิ
2) อาจทำให้ผู้สมัครบางคนที่จะรู้ผลเลือกตั้งก่อความไม่สงบขึ้นในการเลือกตั้งได้
3) อาจทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบและความไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้ง
4) เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนผู้ไปใช้สิทธิ
5) ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการถูกรบกวนจากคนที่สอบถามและไม่อยากไปเลือกตั้ง
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เห็นด้วยหรือไม่ ถ้า กกต. จะประกาศห้ามทำสำรวจหน้า
หน่วยเลือกตั้งหรือ Exit Polls ในการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วประเทศด้วย
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 67.8
2 ไม่เห็นด้วย 19.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีการที่ กกต. แจกใบแดงให้กับผู้สมัครบางคน
เป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการแจกใบแดง ค่าร้อยละ
ให้กับผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม.บางคน
1 คิดว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ 10.3
2 ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ 75.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานโดยภาพรวมของ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.ในครั้งนี้
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ค่าร้อยละ
ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.
1 พอใจ 53.7
2 ค่อนข้างพอใจ 24.2
3 ไม่ค่อยพอใจ 4.8
4 ไม่พอใจ 2.0
5 ไม่มีความคิดเห็น 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานโดยภาพรวมของ
ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.ในครั้งนี้
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานของ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.
1 พอใจ 49.1
2 ค่อนข้างพอใจ 33.4
3 ไม่ค่อยพอใจ 1.7
4 ไม่พอใจ 7.9
5 ไม่มีความคิดเห็น 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "ควันหลงเลือกตั้งผู้ว่า กทม." ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 30 สิงหาคม 2547 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 1,273 ตัวอย่าง ซึ่งผลการสำรวจค้นพบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาดังต่อไปนี้
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 79.3 ระบุติดตามข่าวผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯทางโทรทัศน์ ร้อยละ 45.7 ระบุติดตามทางวิทยุ ร้อยละ 40.0 ติดตามข่าวทางหนังสือพิมพ์ ในขณะที่ร้อยละ 18.5 ระบุไม่ได้ติดตามข่าวดังกล่าวเลย
ประเด็นสำคัญที่คณะผู้วิจัยค้นพบเกี่ยวกับการเลือกตั้งในครั้งนี้ ได้แก่ ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเลือกตั้งที่ปรากฏออกมา ซึ่งพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 60.9 ระบุพอใจ-ค่อนข้างพอใจ กับผลการเลือกตั้งดังกล่าว และปัญหาเร่งด่วน 3 อันดับแรก ที่ต้องการให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่เร่งแก้ไขได้แก่ ปัญหาการจราจร (ร้อยละ 78.3) ปัญหาด้านมลภาวะ/สิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 69.8) และปัญหา ยาเสพติด (ร้อยละ 64.7) ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามต่อไปถึงความมั่นใจในตัวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ว่าจะสามารถทำงานแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงหรือไม่นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.4 ระบุมั่นใจ ร้อยละ 19.5 ระบุค่อนข้างมั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 9.6 ระบุไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 3.8 ระบุไม่มั่นใจ ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 27.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังสอบถามถึงประเด็นที่ว่า เห็นด้วยหรือไม่ว่าชัยชนะของผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์สะท้อนให้เห็นว่าความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาลโดยพรรคไทยรักไทยลดลง ตัวอย่างร้อยละ 38.7 ระบุว่าเห็นด้วย ร้อยละ 31.6 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 29.7 ไม่ระบุความเห็น ซึ่งตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยให้เหตุผลว่า เริ่มเบื่อท่าทีของรัฐบาลในการสนับสนุนผู้สมัครคนอื่นที่เป็นคู่แข่งกับผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ / นโยบายบางอย่างเริ่มเห็นว่าไม่ได้สำเร็จตามที่คาดหวังไว้ เป็นต้น ส่วนตัวอย่างที่ระบุไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่า การเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งระดับประเทศ / พรรคไทยรักไทยไม่ได้ส่งผู้สมัครจึงตัดสินไม่ได้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ ยังแสดงให้เห็นถึงทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตรงซึ่ง ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. และข้าราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 73.4 ระบุเชื่อว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในครั้งนี้มีความโปร่งใส ในขณะที่ร้อยละ 11.4 ระบุไม่เชื่อว่ามีความโปร่งใส และร้อยละ 15.2 ไม่ระบุความเห็น
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีการประกาศของ กกต. ที่ห้ามทำสำรวจหน้าหน่วยเลือกตั้ง (Exit Polls) ตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 64.9 ระบุว่าเห็นด้วยต่อกรณีดังกล่าว เพราะ การสำรวจดังกล่าวเป็นการรบกวนผู้ไปใช้สิทธิ / อาจทำให้ผู้สมัครบางคนที่จะรู้ผลเลือกตั้งก่อความไม่สงบขึ้น เป็นต้น ร้อยละ 20.5 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.6 ไม่ระบุความเห็น นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังสอบถามความคิดเห็นต่อกรณี ถ้า กกต. จะประกาศห้ามทำสำรวจหน้าหน่วยเลือกตั้ง (Exit Polls) ในการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วประเทศด้วย ตัวอย่างร้อยละ 67.8 ระบุว่าเห็นด้วย ร้อยละ 19.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.9 ไม่ระบุความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งแจกใบแดงให้กับผู้สมัครบางคนนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 10.3 ระบุคิดว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 75.1 ระบุไม่คิดว่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติ และร้อยละ 14.6 ไม่ระบุความเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความพึงพอใจของตัวอย่างต่อบทบาทการทำงานโดยภาพรวมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.7 ระบุพอใจต่อการทำงานของ กกต. ร้อยละ 24.2 ระบุค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 4.8 ระบุไม่ค่อยพอใจ และ ร้อยละ 2.0 ระบุไม่พอใจ ในขณะที่ร้อยละ 15.3 ไม่ระบุความคิดเห็น สำหรับความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานโดยภาพรวมของข้าราชการกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งครั้งนี้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.1 ระบุพอใจ ร้อยละ 33.4 ระบุค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 1.7 ระบุไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 7.9 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 7.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-