ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ เอแบคโพลล์ (Social Innovation Management and Business Analysis, SIMBA) ได้ร่วมมือกับบริษัท เอแบคอินเตอร์เนชั่นเนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (AIC) เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ประมาณการจำนวนเงินที่เด็กและเยาวชนใช้ซื้อขนมกรุบกรอบ กรณีศึกษาตัวอย่างอายุ 12 -25 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 700 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-30 กันยายน พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา โดยผลสำรวจทั้งหมดนี้สามารถดึงข้อมูลได้ที่ www.abacpolldata.au.edu
ผลสำรวจพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เด็กและเยาวชนใช้ซื้อขนมกรุบกรอบแต่ละครั้งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.5 ระบุไม่เกิน 50 บาท รองลงมาคือร้อยละ 24.9 ระบุระหว่าง 51 — 100 บาท และร้อยละ 6.6 ระบุเกินกว่า 100 บาทขึ้นไป เมื่อถามถึงประเภทขนมกรุบกรอบที่เด็กและเยาวชนชอบทานมากที่สุด พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 47.5 ระบุมันฝรั่งทอดกรอบ รองลงมาคือร้อยละ 16.1 ระบุปลาเส้น ร้อยละ 9.0 ระบุสาหร่ายทะเลทอด อบกรอบ ร้อยละ 6.5 ระบุเวเฟอร์ ร้อยละ 5.8 ระบุข้าวเกรียบ และรองๆ ลงไปคือ คุกกี้ ถั่วเคลือบรสต่างๆ แครกเกอร์ ขนมพองอบกรอบ และป๊อปคอร์น ตามลำดับ
เมื่อถามถึงรูปแบบการส่งเสริมการขายที่ทำให้กลุ่มเด็กและเยาวชนชอบซื้อทาน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.6 ระบุเพิ่มปริมาณ ราคาเท่าเดิม ร้อยละ 51.4 ระบุ ซื้อ 1 แถม 1 ร้อยละ 27.5 ระบุลดราคาปริมาณเท่าเดิม ร้อยละ 22.4 ระบุแจกให้ชิม และรองๆ ลงไปคือ แถมของเล่น มีของแถม และส่งชิงโชค ตามลำดับ นอกจากนี้ เมื่อถามถึงปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างเด็กวัยรุ่นเลือกซื้อขนมกรุบกรอบมากที่สุด พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 32.6 ระบุรสชาติ รองลงมาคือร้อยละ 19.8 ระบุ ราคา ร้อยละ 14.1 ระบุยี่ห้อ ร้อยละ 8.1 ระบุหาซื้อง่าย และร้อยละ 6.3 ระบุโปรโมชั่น เช่น ซื้อ 1 แถม 1 และของแถม รองๆ ลงไปได้แก่ คุณค่าทางอาหารที่ได้รับจากวัตถุดิบ ขนาดของบรรจุภัณฑ์ ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ เห็นจากโฆษณา กรรมวิธีการผลิต เช่น ใช้การอบกรอบแทนการย่าง แทนการทอด และอื่นๆ เช่น มีการระบุจำนวนแคลอรี่ คำเตือนผู้แพ้อาหาร และข้อมูลสำคัญต่อสุขภาพอื่นๆ ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อทำวิจัยเชิงคุณภาพเจาะลึกกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้ปกครอง พบว่า พรีเซนเตอร์ขนมกรุบกรอบที่ชื่นชอบมากที่สุดในกลุ่มวัยรุ่น อันดับที่ 1 คือ ญาญ่า อันดับที่ 2 คือ ณเดช และอันดับที่ 3 คือ คริส หอวัง โดย พรีเซนเตอร์มีผลทำให้เกิดการจดจำแบรนด์ สร้างความน่าเชื่อถือและแรงจูงใจในการซื้อได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ปกครองกลับมีความห่วงใยเรื่องของ “ความอ้วน” และคำเตือนเรื่องการแพ้อาหารที่เป็นส่วนของขนมกรุบกรอบ เช่น การแพ้ไข่ แพ้นม แพ้แป้งสาลี ที่ต้องการให้กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตขนมกรุบกรอบให้แสดงความรับผิดชอบติดเครื่องหมายคำเตือนให้ชัดเจน และระบุวันเวลาที่หมดอายุให้ทราบชัดเจนอีกด้วย
ที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่ง คือ กลุ่มตัวอย่างที่มั่นใจต่อการทำงานขององค์การอาหารและยา (อย.) ในการกำกับดูแลผู้ผลิตขนมกรุบกรอบ จำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ยิ่งมีอายุเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งมีความมั่นใจต่อ อย. ลดน้อยลง จากร้อยละ 83.7 ของช่วงอายุ 12 — 15 ปี มาอยู่ที่ร้อยละ 68.4 ในช่วงอายุ 16 — 19 ปี และร้อยละ 49.0 ในช่วงอายุ 20 — 25 ปีที่มั่นใจ อย.ระดับมากถึงมากที่สุดในการกำกับดูแลผู้ผลิตขนมกรุบกรอบ นอกจากนี้ ร้อยละ 21.2 ดูส่วนผสม วันหมดอายุของขนมกรุบกรอบทุกครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 58.1 ดูบางครั้ง และที่น่าห่วงคือ ร้อยละ 20.7 ไม่ดูเลย
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.4 เป็นหญิง ร้อยละ 49.6 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 24.9 อายุ 12-15 ปี ร้อยละ 31.7 อายุระหว่าง 16-19 ปี และร้อยละ 43.4 อายุระหว่าง 20-25 ปี ตัวอย่างร้อยละ 32.5 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.2 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 4.1 สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา /ปวส. ร้อยละ 26.0 สำเร็จการระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญา ตัวอย่างร้อยละ 56.1 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 27.0 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท ร้อยละ 16.9 ระบุมีรายได้ 10,001 บาทขึ้นไป
ลำดับที่ ค่าใช้จ่ายในการซื้อขนมกรุบกรอบแต่ละครั้ง ร้อยละ 1 ไม่เกิน 50 บาท 68.5 2 51 — 100 บาท 24.9 3 เกินกว่า 100 บาทขึ้นไป 6.6 ..โดยมีค่าเฉลี่ยในการซื้อแต่ละสัปดาห์อยู่ที่ 58.79 บาท ผลประมาณการ
ทางสถิติยอดซื้อโดยรวมประมาณ 300 ล้านบาทต่อสัปดาห์..
รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทของขนมกรุบกรอบที่กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นรับประทานมากที่สุด ลำดับที่ ประเภทของขนมกรุบกรอบที่กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นรับประทานมากที่สุด ร้อยละ 1 มันฝรั่งทอดกรอบ 47.5 2 ปลาเส้น 16.1 3 สาหร่ายทะเลทอด/อบกรอบ 9.0 4 เวเฟอร์ 6.5 5 ข้าวเกรียบ 5.8 6 คุกกี้ 5.5 7 ถั่วเคลือบรสต่างๆ 4.4 8 แครกเกอร์ 2.4 9 ขนมพองอบกรอบ 2.2 10 ป็อปคอร์น 0.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรูปแบบการส่งเสริมการขายที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นชอบซื้อทาน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ รูปแบบการส่งเสริมการขายที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นชอบซื้อทาน ร้อยละ 1 เพิ่มปริมาณ ราคาเท่าเดิม 65.6 2 ซื้อ 1 แถม 1 51.4 3 ลดราคาปริมาณเท่าเดิม 27.5 4 แจกให้ชิม 22.4 5 แถมของเล่น/มีของแถม 13.3 6 ส่งชิงโชค 13.1 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นเลือกซื้อขนมกรุบกรอบมากที่สุด ลำดับที่ ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นเลือกซื้อขนมกรุบกรอบ ร้อยละ 1 รสชาติ 32.6 2 ราคา 19.8 3 ยี่ห้อ 14.1 4 หาซื้อง่าย 8.1 5 โปรโมชั่น เช่น ซื้อ 1 แถม 1 ของแถม 6.3 6 คุณค่าทางอาหารที่ได้รับจากวัตถุดิบ 4.9 7 ขนาดของบรรจุภัณฑ์ 4.2 8 ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ 3.0 9 เห็นจากโฆษณา 2.8 10 กรรมวิธีการผลิต เช่น ใช้การอบกรอบ แทนการย่างแทนทอด 2.1 11 อื่นๆ มีการระบุจำนวนแคลอรี่ คำเตือนผู้แพ้อาหารและข้อมูลสำคัญต่อสุขภาพอื่นๆ 2.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อการทำงาน อย. (องค์การอาหารและยา) ในการกำกับดูแลผู้ผลิตขนมขบเคึ้ยว จำแนกตามช่วงอายุ ลำดับที่ ความมั่นใจต่อการทำงาน อย. (องค์การอาหารและยา) ในการกำกับดูแลผู้ผลิตขนมกรุบกรอบ 12-15 ปี 16-19 ปี 20-25 ปี 1 มากถึงมากที่สุด 83.7 68.4 49.0 2 ปานกลาง 9.2 19.9 32.2 3 น้อย ถึงไม่มั่นใจเลย 7.1 11.7 18.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการดูส่วนผสม หรือวันหมดอายุของขนมของกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่น ลำดับที่ การดูส่วนผสม หรือวันหมดอายุของขนมของกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่น ร้อยละ 1 ดูทุกครั้งที่ซื้อ 21.2 2 ดูบางครั้ง 58.1 3 ไม่ดูเลย 20.7 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--