ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ประเด็นสำคัญทางการเมืองในความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี อยุธยา ลพบุรี ราชบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,171 ตัวอย่าง และ ตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,125 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1- 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 จากผลการสำรวจ พบว่า
ประเด็นที่ 1 เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวและสิ่งที่อยากให้รัฐบาลดูแลเพิ่มเติม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.6 ทราบว่ามีโครงการรับจำนำข้าว และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.3 ระบุควรเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากให้แก้ไขปรับปรุง และอยากให้รัฐบาลดูแลเพิ่มเติม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.9 ระบุอยากให้ดูแลที่ดินทำกินของเกษตรกรให้ชาวนาเป็นผู้ถือครองมีกรรมสิทธิ์เป็นของตนเอง รองลงมาคือร้อยละ 90.3 ระบุให้หาทางป้องกันการหลอกลวงชาวนาและเกษตรกร ร้อยละ 90.1 ระบุหามาตรการดูแลรายได้ของเกษตรกรและชาวนาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 89.0 ระบุหาช่องทางในการลดต้นทุนการผลิต การปลูกข้าว เช่น ราคาปุ๋ย ค่าขนส่ง เครื่องจักร และร้อยละ 84.3 ระบุทำด้วยความโปร่งใสในการรับจำนำข้าว ตามลำดับ
ประเด็นที่ 2 เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.2 รับรู้ข่าวความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับ กรุงเทพมหานคร ในเรื่องการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.5 อยากเห็นการเปิดโต๊ะเจรจาระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วม ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.4 กำลังกังวลกับปัญหาภัยน้ำท่วมในพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่
ประเด็นที่ 3 เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (เฉพาะค่าร้อยละของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม.) โดยสอบถามปัญหาสำคัญมากที่สุดที่ต้องการให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ควรเร่งแก้ไขปัญหา พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 31.6 ได้แก่ปัญหาน้ำท่วม รองลงมาอันดับที่สองหรือร้อยละ 27.3 ได้แก่ ปัญหาค่าครองชีพ ปากท้อง อันดับที่สามหรือร้อยละ 25.1 ได้แก่ ปัญหาจราจร อันดับที่สี่หรือร้อยละ 13.4 ได้แก่ ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม และร้อยละ 2.6 ระบุอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาการศึกษา ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาความไม่สะอาด และระบบสาธาณูปโภค เป็นต้น
นอกจากนี้ เมื่อถามความเห็นต่อกระแสข่าว พรรคเพื่อไทยอาจจะส่ง พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.6 เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.2 ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อไป แต่เมื่อถามว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ผู้ตอบแบบสอบถามจะเลือกใคร (เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ตัดสินใจแล้ว) พบว่า ร้อยละ 41.5 จะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ในขณะที่ร้อยละ 30.2 จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และร้อยละ 28.3 ไม่เลือกทั้งสองคนนี้
ประเด็นที่ 4 เกี่ยวกับความปรองดองของคนในชาติและเสถียรภาพของรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.7 ต้องการให้คณะกรรมการ คอป. ควรแจกแจงงบประมาณที่ใช้ในการทำรายงานให้สาธารณชนทราบอย่างโปร่งใส ร้อยละ 96.0 ระบุความขัดแย้งวุ่นวายทางการเมืองจะเกิดขึ้น ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมืองและนายทุน ร้อยละ 95.8 ยังเชื่อมั่นว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยจะนำไปสู่ความสงบสุขของบ้านเมืองได้ ถ้าฝ่ายการเมืองยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรม ร้อยละ 87.2 ระบุความขัดแย้งของคนในชาติเกิดขึ้นเพราะต่างฝ่ายต่างต้องการแย่งชิงตำแหน่ง อำนาจ และผลประโยชน์ ในขณะที่ร้อยละ 86.3 ระบุคนไทยส่วนใหญ่ยังรักกันแต่ความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเฉพาะกลุ่มคนส่วนน้อยของประเทศ
ที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจพบ 5 ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่จะทำให้รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ได้ไม่นาน ได้แก่ ร้อยละ 88.3 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น รองลงมาคือร้อยละ 85.2 ระบุการไม่ใส่ใจต่อความเดือดร้อนและความรู้สึกของประชาชน ร้อยละ 80.6 ระบุความขัดแย้งรุนแรงของคนในชาติ ร้อยละ 76.9 ระบุความขัดแย้ง แย่งตำแหน่ง อำนาจและผลประโยชน์ภายในพรรคเพื่อไทยเอง และร้อยละ 74.2 ระบุการเลือกปฏิบัติของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจครั้งล่าสุดนี้ ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังคงให้โอกาสนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำงานในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป สูงถึงร้อยละ 82.6 เพราะ มีความเป็นผู้นำมากขึ้น เป็นสตรีที่ช่วยสร้างบรรยากาศปรองดองได้ดี ขยันทำงานหนัก อดทน มุมานะทุ่มเท มาจากการเลือกตั้ง ความเป็นสตรีช่วยให้เข้าใจความรู้สึกของประชาชนได้ดี สุภาพ เป็นกันเอง ไม่ถือตัว น่าสงสาร ภาพลักษณ์ดูดี และมีผลงานดีขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจก่อนหน้านี้กว่าร้อยละ 90 เช่นกันที่ต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐระดับท้องถิ่นแจกแจงรายละเอียดงบประมาณภัยพิบัติให้สาธารณชนรับทราบ และครั้งนี้กว่าร้อยละ 90 เช่นกันที่ต้องการให้ คอป.ได้แจกแจงการใช้จ่ายงบประมาณต่อสาธารณชน แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่เกือบทั้งประเทศต้องการเห็นความโปร่งใสเกิดขึ้นในบ้านเมือง ดังนั้น
ประการแรก รัฐบาล หน่วยงานรัฐและคณะบุคคลน่าจะทำตามเสียงสะท้อนของสาธารณชนเพื่อเสริมสร้างพลังให้สาธารณชนเข้มแข็งออกมาต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล รัฐบาลก็จะทำการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปสังคมไทยได้เองโดยไม่ต้องมีอำนาจพิเศษใดๆ มาทำลายบรรยากาศประชาธิปไตยที่นานาประเทศทั่วโลกกำลังให้การยอมรับในเวลานี้
ประการที่สอง เสนอจัดรายการ “เรียลริตี้โชว์” การประชุมแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศเพื่อให้สาธารณชนรับทราบว่างบประมาณจากเงินภาษีอากรของประชาชนถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่าคุ้มทุน ผลที่ตามมาคือ แต่ละฝ่ายก็จำเป็นต้องทำการบ้านมานำเสนอต่อประชาชนทั้งประเทศ ในขณะที่รัฐบาล หน่วยงานรัฐและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องจะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Effectiveness) มีประสิทธิผลคุ้มค่าคุ้มทุน (Efficiency) และมอบหมายสิทธิอำนาจความรับผิดชอบ จัดวางคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบรรลุเป้าหมายของรัฐบาลที่วางไว้ (Accountability) โดยสาธารณชนสามารถโหวตผ่าน SMS และผ่านการทำสำรวจแบบเรียลไทม์ประเมินผลได้อย่างรวดเร็วฉับไวว่ารัฐบาล หน่วยงานรัฐใด หรือคณะบุคคลใดควรปรับปรุงแก้ไขหรือรักษาผลงานที่ถูกใจประชาชนไว้ต่อไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.4 เป็นชาย ร้อยละ 51.6 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ ร้อยละ 30.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 69.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 26.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 28.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 10.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 4.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ประเด็นที่ 1 โครงการรับจำนำข้าวและสิ่งที่อยากให้รัฐบาลดูแลเพิ่มเติม
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว ค่าร้อยละ 1 ทราบว่ามีโครงการรับจำนำข้าว 87.6 2 ไม่ทราบว่ามี 12.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อโครงการรับจำนำข้าว ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อโครงการรับจำนำข้าว ค่าร้อยละ 1 ควรเดินหน้าต่อไป 68.3 2 ไม่ควรเดินหน้าต่อ 31.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ควรปรับปรุงในโครงการรับจำนำข้าว ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการให้แก้ไขปรับปรุง อยากให้รัฐบาลดูแลเพิ่มเติม ค่าร้อยละ 1 ดูแลที่ดินทำกินของเกษตรกรให้ชาวนาเป็นผู้ถือครองมีกรรมสิทธิ์เป็นของตนเอง 91.9 2 หาทางป้องกันการหลอกลวงชาวนาและเกษตรกร 90.3 3 มาตรการดูแลรายได้ของเกษตรกรและชาวนาอย่างต่อเนื่อง 90.1 4 หาช่องทางในการลดต้นทุนการผลิต การปลูกข้าว เช่น ราคาปุ๋ย ค่าขนส่ง เครื่องจักร 89.0 5 ความโปร่งใสในการรับจำนำข้าว 84.3
ประเด็นที่ 2 เรื่อง การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ลำดับที่ กระแสข่าว ค่าร้อยละ 1 ข่าวความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร 54.2 2 ข่าวความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 45.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุอยากเห็นการเปิดโต๊ะเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาล กับ ฝ่ายค้านเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ลำดับที่ ความรู้สึก ค่าร้อยละ 1 อยากเห็น 89.5 2 ไม่อยากเห็น 10.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลต่อภัยน้ำท่วมในพื้นที่ที่พักอาศัย ลำดับที่ ความรู้สึก ค่าร้อยละ 1 กังวล 64.4 2 ไม่กังวล 35.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ประเด็นที่ 3 เรื่อง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (เฉพาะค่าร้อยละของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ควรเร่งแก้ไขปัญหาในเรื่องอะไรก่อนเป็นอันดับแรก ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ปัญหาน้ำท่วม 31.6 2 ค่าครองชีพ ปากท้อง 27.3 3 ปัญหาการจราจร 25.1 4 ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม 13.4 5 อื่นๆ เช่น ปัญหาการศึกษา ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาความไม่สะอาด และระบบสาธารณูปโภค 2.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อกระแสข่าว พรรคเพื่อไทยจะส่ง พล.ต.อ พงศพัศ พงษ์เจริญ ลงสมัครผู้ว่า กทม. ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 63.6 2 ไม่เห็นด้วย 36.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลำดับที่ การตัดสินใจ ค่าร้อยละ 1 ตัดสินใจแล้ว 40.8 2 ยังไม่ตัดสินใจ 59.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจเลือกระหว่าง พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ กับ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (เฉพาะร้อยละของผู้ตัดสินใจแล้ว และมีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม.) ลำดับที่ การตัดสินใจ ค่าร้อยละ 1 เลือก ม.ร.ว สุขุมพันธ์ บริพัตร 41.5 2 เลือก พล.ต.อ พงศพัศ พงษ์เจริญ 30.2 3 ไม่เลือกทั้งสองคนนี้ 28.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ประเด็นที่ 4 เรื่อง ความปรองดองของคนในชาติและเสถียรภาพของรัฐบาล ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับ ความปรองดองของคนในชาติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ประเด็นสำคัญเรื่อง ความปรองดองของคนในชาติ เห็นด้วย 1 คณะกรรมการ คอป. ควรแจกแจงงบประมาณที่ใช้ในการทำรายงานให้สาธารณชนทราบอย่างโปร่งใส 96.7 2 ความขัดแย้งวุ่นวายทางการเมืองจะเกิดขึ้น ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมืองและนายทุน 96.0 3 ยังเชื่อมั่นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยจะนำไปสู่ความสงบสุขของบ้านเมืองถ้าฝ่ายการเมืองยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรม 95.8 4 ความขัดแย้งของคนในในชาติเกิดขึ้นเพราะต่างฝ่ายต้องการแย่งชิงตำแหน่งอำนาจและผลประโยชน์ 87.2 5 คนไทยส่วนใหญ่ยังรักกันแต่ความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นกลุ่มคนส่วนน้อยของประเทศ 86.3 ตารางที่ 12 แสดง 5 อันดับแรกค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ได้ไม่นาน ลำดับที่ 5 ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่จะทำให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ได้ไม่นาน ค่าร้อยละ 1 ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น 88.3 2 การไม่ใส่ใจต่อความเดือดร้อนและความรู้สึกของประชาชน 85.2 3 ความขัดแย้งรุนแรงของคนในชาติ 80.6 4 ความขัดแย้ง แย่งตำแหน่ง อำนาจและผลประโยชน์ภายในพรรคเพื่อไทยเอง 76.9 5 การเลือกปฏิบัติของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ 74.2 ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ โอกาสที่ประชาชนมอบให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำงานในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ให้โอกาส เพราะ มีความเป็นผู้นำมากขึ้น เป็นสตรีที่ช่วยสร้างบรรยากาศปรองดองได้ดี ขยันทำงานหนัก อดทน
มุมานะทุ่มเท มาจากการเลือกตั้ง ความเป็นสตรีช่วยให้เข้าใจความรู้สึกของประชาชนได้ดี สุภาพ เป็นกันเอง
ไม่ถือตัว น่าสงสาร ภาพลักษณ์ดูดี และมีผลงานดีขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น 82.6 2 ไม่ให้โอกาส เพราะ เบื่อหน่าย ไม่เชื่อมั่นในการทำงาน และไม่สนใจเสียงสะท้อนของสาธารณชน เป็นต้น 17.4 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--