ที่มาของโครงการ
ภายหลังการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม 2547 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ในฐานะผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 911,441 คะแนน การเข้ารับตำแหน่งของผู้ว่า กทม. คนใหม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นการประเมินความคิดเห็นและความคาดหวังในการทำงานของประชาชนต่อผู้ว่า กทม.คนใหม่ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้ขึ้น โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการสำรวจ
1. เพื่อสำรวจความสนใจของประชาชนในการติดตามข่าวสารการทำงานของผู้ว่า กทม. คนใหม่
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายด้านต่าง ๆ ของผู้ว่า กทม.คนใหม่
3. เพื่อสำรวจความคาดหวังของประชาชนต่อผลงานของผู้ว่า กทม.คนใหม่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบความคิดเห็นและความคาดหวังของประชาชนต่อผู้ว่า กทม.คนใหม่
2. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจขององค์กร/สถาบันทางสังคมและการเมืองที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง "ความคาดหวังของประชาชนต่อการทำงานของผู้ กทม.คนใหม่" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 10 - 13 ก.ย.2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง โครงการสำรวจนี้ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างคือ การสุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างและใช้วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยคำนึงถึงสัดส่วนที่แท้จริงของประชากร (Probability Proportionate to Size Sampling ) จากนั้นเข้าถึงตัวอย่างตามคุณลักษณะและสัดส่วนที่กำหนด
ขนาดตัวอย่าง 1,194 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละ +- 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
จากการศึกษา พบว่าตัวอย่างร้อยละ 47.2 ระบุเป็นชาย ในขณะที่ร้อยละ 52.8 ระบุเป็นหญิง ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 6.0 อายุระหว่าง 18 - 19 ปี ร้อยละ 29.2 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 16.5 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 43.0 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 25.3 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 21.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.3 ระบุอาชีพเป็นลูกจ้าง / พนักงานบริษัท ร้อยละ 16.6 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย ร้อยละ 15.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.1 ระบุเป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 10.5 ระบุอาชีพแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณ ร้อยละ 9.5 ระบุอาชีพเป็นนักธุรกิจ / เจ้าของกิจการ ร้อยละ 6.7 ระบุอาชีพราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.4 ระบุว่างงาน ร้อยละ 0.7 ระบุประกอบอาชีพเกษตรกร
ผลการสำรวจประเด็นสำคัญ
ตารางที่ 1 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจติดตามข่าวการทำงานของผู้ว่า กทม.คนใหม่(คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน)
ลำดับที่ ความสนใจติดตามการทำงานของผู้ว่า กทม.คนใหม่ ร้อยละ
1 สนใจติดตามอย่างต่อเนื่อง 32.0
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 58.8
3 ไม่ได้ติดตาม (หรือติดตามน้อยมาก) 9.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อความสำเร็จของนโยบายการทำงานของผู้ว่ากทม.ในด้านต่าง ๆ
ลำดับที่ นโยบาย / การทำงานสำคัญ ความมั่นใจในความสำเร็จ
มั่นใจ ไม่มั่นใจ ไม่มีความเห็น รวม
1 เพิ่มพื้นที่สีเขียว/ สวนสาธารณะทั่วกทม. 70.7 20.5 8.8 100.0
2 ส่งเสริมศิลปะ/ วัฒนธรรม/ประเพณี 67.0 19.1 13.9 100.0
3 ให้ประชาชนมีส่วนร่วม/ ติดตามการทำงาน 64.7 21.6 13.7 100.0
4 พัฒนาคุณภาพการศึกษาของเยาวชน 63.7 26.2 10.1 100.0
5 แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย/ ขยะตกค้าง 60.0 33.1 6.9 100.0
6 ดูแลแก้ไขปัญหาอุบัติภัย/ เพลิงไหม้/ เหตุฉุกเฉิน 55.8 30.8 13.4 100.0
7 จัดระเบียบหาบเร่แผงลอยให้เรียบร้อย 55.7 33.6 10.7 100.0
8 พัฒนาระบบงานราชการให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ 55.5 32.5 12.0 100.0
9 แก้ไขปัญหาน้ำท่วม 48.4 42.6 9.0 100.0
10 ส่งเสริมอาชีพ/การหารายได้ของประชาชน 46.8 39.2 14.0 100.0
11 ช่วยเหลือจัดสวัสดิการให้คนยากจน/ ผู้ด้อยโอกาส 43.9 43.9 12.2 100.0
12 ส่งเสริมภาคธุรกิจ/การลงทุน 43.7 32.3 24.0 100.0
13 แก้ไขปัญหาจราจร 38.9 53.0 8.1 100.0
14 แก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 35.4 53.3 11.3 100.0
15 แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด/ แหล่งเสื่อมโทรม 32.5 54.5 13.0 100.0
ตารางที่ 3 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคาดหวังที่จะเห็นผลงานจากนโยบายการทำงานของผู้ว่า กทม.ในด้านต่าง ๆ
ลำดับที่ นโยบาย/การทำงานสำคัญ ระยะเวลาเฉลี่ยที่คาดหวังจะเห็นผลงาน
1 ให้ประชาชนมีส่วนร่วม/ติดตามการทำงาน ภายใน 1 ปี 1 เดือน
2 จัดระเบียบหาบเร่แผงลอยให้เรียบร้อย ภายใน 1 ปี 1 เดือน
3 ดูแลแก้ไขปัญหาอุบัติภัย/เพลิงไหม้/เหตุฉุกเฉิน ภายใน 1 ปี 1 เดือน
4 แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย/ขยะตกค้าง ภายใน 1 ปี 2 เดือน
5 พัฒนาระบบงานราชการให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ภายใน 1 ปี 2 เดือน
6 ส่งเสริมศิลปะ/วัฒนธรรม/ประเพณี ภายใน 1 ปี 2 เดือน
7 เพิ่มพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะทั่วกทม. ภายใน 1 ปี 3 เดือน
8 แก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ภายใน 1 ปี 4 เดือน
9 พัฒนาคุณภาพการศึกษาของเยาวชน ภายใน 1 ปี 4 เดือน
10 แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ภายใน 1 ปี 5 เดือน
11 ส่งเสริมอาชีพ/การหารายได้ของประชาชน ภายใน 1 ปี 5 เดือน
12 ช่วยเหลือจัดสวัสดิการให้คนยากจน/ผู้ด้อยโอกาส ภายใน 1 ปี 6 เดือน
13 แก้ไขปัญหาจราจร ภายใน 1 ปี 7 เดือน
14 ส่งเสริมภาคธุรกิจ/การลงทุน ภายใน 1 ปี 7 เดือน
15 แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด/แหล่งเสื่อมโทรม ภายใน 1 ปี 9 เดือน
หมายเหตุ ตัวเลขคิดจากค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ตัวอย่างระบุ
ตารางที่ 4 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่า "ผู้ว่ากทม. คนใหม่จะสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระจากพรรคประชาธิปัตย์"
ลำดับที่ ความมั่นใจ ร้อยละ
1 มั่นใจ 44.3
2 ไม่มั่นใจ 36.5
3 ไม่มีความเห็น 19.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่า "รัฐบาลจะสนับสนุนการทำงานของผู้ว่ากทม.คนใหม่ได้อย่างเต็มที่"
ลำดับที่ ความมั่นใจ ร้อยละ
1 มั่นใจ 44.5
2 ไม่มั่นใจ 27.2
3 ไม่มีความเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ผู้ที่ตอบว่า "มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้
1) เนื่องจากเป็นเจตนารมณ์ของประชาชนที่ต้องการให้ผู้ว่ากทม.คนใหม่ทำงาน
2) จุดมุ่งหมายของรัฐบาลและกทม.ตรงกันในเรื่องการสร้างประโยชน์แก่ประชาชน
3) ผู้ว่ากทม.คนใหม่เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ ตั้งใจทำงานจึงสมควรได้รับการสนับสนุน
4) เชื่อว่าผู้ว่ากทม.คนใหม่จะทำหน้าที่ประสานงานได้ดี
ผู้ที่ตอบว่า "ไม่มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้
1) อยู่คนละพรรค/คนละกลุ่มการเมืองที่มีผลประโยชน์ไม่ตรงกัน
2) อาจจะมีการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงผลงานกัน
3) แนวทางปฏิบัติของรัฐบาลมักยึดตนเองเป็นใหญ่/ไม่ฟังเสียงใคร
4) นโยบายของผู้ว่ากทม.บางอย่างอาจจะไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
ตารางที่ 6 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่า "ผู้ว่ากทม.คนใหม่จะทำงานได้บรรลุผลตามนโยบายที่ประกาศไว้"
ลำดับที่ ความมั่นใจ ร้อยละ
1 มั่นใจ 42.7
2 ไม่มั่นใจ 29.1
3 ไม่มีความเห็น 28.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ผู้ที่ตอบว่า "มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้
1) ผู้ว่าคนใหม่มีความรู้ความสามารถ และตั้งใจทำงาน
2) มีนโยบายและเป้าหมายชัดเจน
3) หลายฝ่ายให้การสนับสนุน
ผู้ที่ตอบว่า "ไม่มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้
1) ปัญหาต่าง ๆมีความยุ่งยากสะสมมานาน/ยากที่จะแก้ไข
2) นโยบายมีจำนวนมาก/อาจเกินความสามารถที่จะทำได้
3) ยังไม่เคยเห็นผลงาน/มือใหม่/ไม่มีประสบการณ์ด้านการเมืองและการทำงานสาธารณะ
4) อาจมีปัญหาขัดแย้ง/ไม่ลงรอยกับรัฐบาล
ตารางที่ 7 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาในชุมชนของตนเองที่ต้องการให้ผู้ว่ากทม. คนใหม่ แก้ไขมากที่สุด
ลำดับที่ ปัญหาในชุมชนที่ต้องการให้แก้ไขมากที่สุด ร้อยละ
1 แก้ไขปัญหาจราจร 23.0
2 แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย/ขยะตกค้าง 18.0
3 แก้ปัญหายาเสพติด 14.9
4 แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัด/แหล่งเสื่อมโทรม 10.7
5 แก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7.7
6 แก้ปัญหาสาธารณูปโภค 4.3
7 ช่วยเหลือจัดสวัสดิการให้คนยากจน/ผู้ด้อยโอกาส 4.2
8 ส่งเสริมอาชีพ/การหารายได้ของประชาชน 4.0
9 แก้ไขปัญหาน้ำท่วม 3.9
10 เพิ่มพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะทั่วกทม. 3.2
11 ปัญหาอื่น ๆ เช่น พัฒนาคุณภาพการศึกษาของเยาวชน/
จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย /ดูแลแก้ไขปัญหาอุบัติภัย/
เพลิงไหม้/เหตุฉุกเฉิน เป็นต้น 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุอดีตผู้สมัครผู้ว่ากทม. ที่ต้องการให้มีบทบาทติดตามตรวจสอบการทำงานของผู้ว่าคนใหม่ (ระบุได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ อดีตผู้สมัครผู้ว่ากทม.ที่ต้องการให้มีบทบาท ร้อยละ
1 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 48.4
2 นายพิจิตต รัตตกุล 36.0
3 นางปวีณา หงสกุล 35.8
4 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 12.4
5 ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ 10.1
6 นายมานะ มหาสุวีระชัย 5.3
7 อื่น ๆ เช่น นายวุฒิพงษ์, นายการุญ, นายพีระพงศ์,
นายวิทยา, ร.อ.เมตตา, ฯลฯ 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ภายหลังการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม 2547 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ในฐานะผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 911,441 คะแนน การเข้ารับตำแหน่งของผู้ว่า กทม. คนใหม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นการประเมินความคิดเห็นและความคาดหวังในการทำงานของประชาชนต่อผู้ว่า กทม.คนใหม่ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้ขึ้น โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการสำรวจ
1. เพื่อสำรวจความสนใจของประชาชนในการติดตามข่าวสารการทำงานของผู้ว่า กทม. คนใหม่
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายด้านต่าง ๆ ของผู้ว่า กทม.คนใหม่
3. เพื่อสำรวจความคาดหวังของประชาชนต่อผลงานของผู้ว่า กทม.คนใหม่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบความคิดเห็นและความคาดหวังของประชาชนต่อผู้ว่า กทม.คนใหม่
2. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจขององค์กร/สถาบันทางสังคมและการเมืองที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง "ความคาดหวังของประชาชนต่อการทำงานของผู้ กทม.คนใหม่" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 10 - 13 ก.ย.2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง โครงการสำรวจนี้ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างคือ การสุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างและใช้วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยคำนึงถึงสัดส่วนที่แท้จริงของประชากร (Probability Proportionate to Size Sampling ) จากนั้นเข้าถึงตัวอย่างตามคุณลักษณะและสัดส่วนที่กำหนด
ขนาดตัวอย่าง 1,194 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละ +- 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
จากการศึกษา พบว่าตัวอย่างร้อยละ 47.2 ระบุเป็นชาย ในขณะที่ร้อยละ 52.8 ระบุเป็นหญิง ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 6.0 อายุระหว่าง 18 - 19 ปี ร้อยละ 29.2 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 16.5 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 43.0 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 25.3 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 21.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.3 ระบุอาชีพเป็นลูกจ้าง / พนักงานบริษัท ร้อยละ 16.6 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย ร้อยละ 15.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.1 ระบุเป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 10.5 ระบุอาชีพแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณ ร้อยละ 9.5 ระบุอาชีพเป็นนักธุรกิจ / เจ้าของกิจการ ร้อยละ 6.7 ระบุอาชีพราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.4 ระบุว่างงาน ร้อยละ 0.7 ระบุประกอบอาชีพเกษตรกร
ผลการสำรวจประเด็นสำคัญ
ตารางที่ 1 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจติดตามข่าวการทำงานของผู้ว่า กทม.คนใหม่(คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน)
ลำดับที่ ความสนใจติดตามการทำงานของผู้ว่า กทม.คนใหม่ ร้อยละ
1 สนใจติดตามอย่างต่อเนื่อง 32.0
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 58.8
3 ไม่ได้ติดตาม (หรือติดตามน้อยมาก) 9.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อความสำเร็จของนโยบายการทำงานของผู้ว่ากทม.ในด้านต่าง ๆ
ลำดับที่ นโยบาย / การทำงานสำคัญ ความมั่นใจในความสำเร็จ
มั่นใจ ไม่มั่นใจ ไม่มีความเห็น รวม
1 เพิ่มพื้นที่สีเขียว/ สวนสาธารณะทั่วกทม. 70.7 20.5 8.8 100.0
2 ส่งเสริมศิลปะ/ วัฒนธรรม/ประเพณี 67.0 19.1 13.9 100.0
3 ให้ประชาชนมีส่วนร่วม/ ติดตามการทำงาน 64.7 21.6 13.7 100.0
4 พัฒนาคุณภาพการศึกษาของเยาวชน 63.7 26.2 10.1 100.0
5 แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย/ ขยะตกค้าง 60.0 33.1 6.9 100.0
6 ดูแลแก้ไขปัญหาอุบัติภัย/ เพลิงไหม้/ เหตุฉุกเฉิน 55.8 30.8 13.4 100.0
7 จัดระเบียบหาบเร่แผงลอยให้เรียบร้อย 55.7 33.6 10.7 100.0
8 พัฒนาระบบงานราชการให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ 55.5 32.5 12.0 100.0
9 แก้ไขปัญหาน้ำท่วม 48.4 42.6 9.0 100.0
10 ส่งเสริมอาชีพ/การหารายได้ของประชาชน 46.8 39.2 14.0 100.0
11 ช่วยเหลือจัดสวัสดิการให้คนยากจน/ ผู้ด้อยโอกาส 43.9 43.9 12.2 100.0
12 ส่งเสริมภาคธุรกิจ/การลงทุน 43.7 32.3 24.0 100.0
13 แก้ไขปัญหาจราจร 38.9 53.0 8.1 100.0
14 แก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 35.4 53.3 11.3 100.0
15 แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด/ แหล่งเสื่อมโทรม 32.5 54.5 13.0 100.0
ตารางที่ 3 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคาดหวังที่จะเห็นผลงานจากนโยบายการทำงานของผู้ว่า กทม.ในด้านต่าง ๆ
ลำดับที่ นโยบาย/การทำงานสำคัญ ระยะเวลาเฉลี่ยที่คาดหวังจะเห็นผลงาน
1 ให้ประชาชนมีส่วนร่วม/ติดตามการทำงาน ภายใน 1 ปี 1 เดือน
2 จัดระเบียบหาบเร่แผงลอยให้เรียบร้อย ภายใน 1 ปี 1 เดือน
3 ดูแลแก้ไขปัญหาอุบัติภัย/เพลิงไหม้/เหตุฉุกเฉิน ภายใน 1 ปี 1 เดือน
4 แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย/ขยะตกค้าง ภายใน 1 ปี 2 เดือน
5 พัฒนาระบบงานราชการให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ภายใน 1 ปี 2 เดือน
6 ส่งเสริมศิลปะ/วัฒนธรรม/ประเพณี ภายใน 1 ปี 2 เดือน
7 เพิ่มพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะทั่วกทม. ภายใน 1 ปี 3 เดือน
8 แก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ภายใน 1 ปี 4 เดือน
9 พัฒนาคุณภาพการศึกษาของเยาวชน ภายใน 1 ปี 4 เดือน
10 แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ภายใน 1 ปี 5 เดือน
11 ส่งเสริมอาชีพ/การหารายได้ของประชาชน ภายใน 1 ปี 5 เดือน
12 ช่วยเหลือจัดสวัสดิการให้คนยากจน/ผู้ด้อยโอกาส ภายใน 1 ปี 6 เดือน
13 แก้ไขปัญหาจราจร ภายใน 1 ปี 7 เดือน
14 ส่งเสริมภาคธุรกิจ/การลงทุน ภายใน 1 ปี 7 เดือน
15 แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด/แหล่งเสื่อมโทรม ภายใน 1 ปี 9 เดือน
หมายเหตุ ตัวเลขคิดจากค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ตัวอย่างระบุ
ตารางที่ 4 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่า "ผู้ว่ากทม. คนใหม่จะสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระจากพรรคประชาธิปัตย์"
ลำดับที่ ความมั่นใจ ร้อยละ
1 มั่นใจ 44.3
2 ไม่มั่นใจ 36.5
3 ไม่มีความเห็น 19.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่า "รัฐบาลจะสนับสนุนการทำงานของผู้ว่ากทม.คนใหม่ได้อย่างเต็มที่"
ลำดับที่ ความมั่นใจ ร้อยละ
1 มั่นใจ 44.5
2 ไม่มั่นใจ 27.2
3 ไม่มีความเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ผู้ที่ตอบว่า "มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้
1) เนื่องจากเป็นเจตนารมณ์ของประชาชนที่ต้องการให้ผู้ว่ากทม.คนใหม่ทำงาน
2) จุดมุ่งหมายของรัฐบาลและกทม.ตรงกันในเรื่องการสร้างประโยชน์แก่ประชาชน
3) ผู้ว่ากทม.คนใหม่เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ ตั้งใจทำงานจึงสมควรได้รับการสนับสนุน
4) เชื่อว่าผู้ว่ากทม.คนใหม่จะทำหน้าที่ประสานงานได้ดี
ผู้ที่ตอบว่า "ไม่มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้
1) อยู่คนละพรรค/คนละกลุ่มการเมืองที่มีผลประโยชน์ไม่ตรงกัน
2) อาจจะมีการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงผลงานกัน
3) แนวทางปฏิบัติของรัฐบาลมักยึดตนเองเป็นใหญ่/ไม่ฟังเสียงใคร
4) นโยบายของผู้ว่ากทม.บางอย่างอาจจะไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
ตารางที่ 6 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจว่า "ผู้ว่ากทม.คนใหม่จะทำงานได้บรรลุผลตามนโยบายที่ประกาศไว้"
ลำดับที่ ความมั่นใจ ร้อยละ
1 มั่นใจ 42.7
2 ไม่มั่นใจ 29.1
3 ไม่มีความเห็น 28.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ผู้ที่ตอบว่า "มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้
1) ผู้ว่าคนใหม่มีความรู้ความสามารถ และตั้งใจทำงาน
2) มีนโยบายและเป้าหมายชัดเจน
3) หลายฝ่ายให้การสนับสนุน
ผู้ที่ตอบว่า "ไม่มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้
1) ปัญหาต่าง ๆมีความยุ่งยากสะสมมานาน/ยากที่จะแก้ไข
2) นโยบายมีจำนวนมาก/อาจเกินความสามารถที่จะทำได้
3) ยังไม่เคยเห็นผลงาน/มือใหม่/ไม่มีประสบการณ์ด้านการเมืองและการทำงานสาธารณะ
4) อาจมีปัญหาขัดแย้ง/ไม่ลงรอยกับรัฐบาล
ตารางที่ 7 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาในชุมชนของตนเองที่ต้องการให้ผู้ว่ากทม. คนใหม่ แก้ไขมากที่สุด
ลำดับที่ ปัญหาในชุมชนที่ต้องการให้แก้ไขมากที่สุด ร้อยละ
1 แก้ไขปัญหาจราจร 23.0
2 แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย/ขยะตกค้าง 18.0
3 แก้ปัญหายาเสพติด 14.9
4 แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัด/แหล่งเสื่อมโทรม 10.7
5 แก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7.7
6 แก้ปัญหาสาธารณูปโภค 4.3
7 ช่วยเหลือจัดสวัสดิการให้คนยากจน/ผู้ด้อยโอกาส 4.2
8 ส่งเสริมอาชีพ/การหารายได้ของประชาชน 4.0
9 แก้ไขปัญหาน้ำท่วม 3.9
10 เพิ่มพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะทั่วกทม. 3.2
11 ปัญหาอื่น ๆ เช่น พัฒนาคุณภาพการศึกษาของเยาวชน/
จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย /ดูแลแก้ไขปัญหาอุบัติภัย/
เพลิงไหม้/เหตุฉุกเฉิน เป็นต้น 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 ร้อยละของตัวอย่างที่ระบุอดีตผู้สมัครผู้ว่ากทม. ที่ต้องการให้มีบทบาทติดตามตรวจสอบการทำงานของผู้ว่าคนใหม่ (ระบุได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ อดีตผู้สมัครผู้ว่ากทม.ที่ต้องการให้มีบทบาท ร้อยละ
1 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 48.4
2 นายพิจิตต รัตตกุล 36.0
3 นางปวีณา หงสกุล 35.8
4 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 12.4
5 ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ 10.1
6 นายมานะ มหาสุวีระชัย 5.3
7 อื่น ๆ เช่น นายวุฒิพงษ์, นายการุญ, นายพีระพงศ์,
นายวิทยา, ร.อ.เมตตา, ฯลฯ 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-