ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.3 ติดตามข่าวการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาผ่านทางสื่อมวลชน และเมื่อถามถึงผลดีที่ประเทศไทยได้รับจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา เมื่อตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.1 ระบุด้านการส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตย รองลงมาคือ ร้อยละ 82.3 ระบุการพัฒนาประเทศ และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ร้อยละ 78.9 ระบุด้านมนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน ร้อยละ 64.8 ระบุด้านปัญหายาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ ร้อยละ 62.4 ระบุด้านการส่งออก การลงทุนและธุรกิจ ร้อยละ 57.0 ระบุด้านการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการฟื้นฟูเยียวยาเหยื่อภัยพิบัติ ร้อยละ 55.2 ระบุด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ร้อยละ 53.8 ระบุด้านการศึกษาและฝึกอบรม และร้อยละ 27.2 ระบุด้านระบบสาธารณสุข ตามลำดับ
เมื่อถามถึงแบบอย่างที่ดีที่ได้รับจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.9 ระบุการยอมรับผลการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมาของชาวอเมริกัน ไม่วุ่นวาย ไม่เหมือนประเทศไทย รองลงมาคือร้อยละ 69.4 ระบุการไม่ซื้อสิทธิขายเสียงของประชาชนชาวอเมริกัน ร้อยละ 67.5 ระบุการแข่งขันเชิงนโยบายสาธารณะ ไม่มุ่งเอาแต่ชนะ ไม่สร้างเงื่อนไขขัดแย้งรุนแรงในหมู่ประชาชน ร้อยละ 66.8 ระบุมีน้ำใจต่อกัน แข่งขันกันเข้มข้น แต่เมื่อเกิดวิกฤตชาติขึ้นมาก็ช่วยเหลือกัน ร้อยละ 65.3 ระบุการตื่นตัวของประชาชนที่แสดงถึงความรักชาติสูง และร้อยละ 62.4 ระบุให้โอกาสแต่ละฝ่ายบริหารประเทศจนครบวาระ ใช้การเลือกตั้งเป็นตัวตัดสิน ตามลำดับ
นอกจากนี้ สิ่งที่ประชาชนคนไทยอยากเห็นนักการเมืองไทยฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านแสดงออกต่อกันในการส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมากที่สุด พบว่า ร้อยละ 34.9 ระบุช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รักกัน มีน้ำใจไมตรีจิตต่อกัน ทำงานหนักแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ รองลงมาคือ ร้อยละ 20.5 ระบุไม่ใช้ความรุนแรง เคารพกฎกติกาของบ้านเมือง ร้อยละ 13.3 ระบุเลิกจองเวร ล้างแค้นกัน เลิกทะเลาะกัน ร้อยละ 11.0 ระบุ ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ ไม่ทำเกินขอบเขตหน้าที่ของตน ไม่หลงลืมตัว ร้อยละ 8.3 ระบุตัดสินกันด้วยการเลือกตั้ง ร้อยละ 5.6 สนับสนุนกันให้ทำงานจนครบวาระ และร้อยละ 6.4 ระบุ อื่นๆ เช่น ลดอคติต่อกัน ถอยกันคนละก้าว ใช้การเมืองแก้ปัญหาการเมือง ใช้การเจรจากัน เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.5 ยังคงเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายหลังจากติดตามข่าวการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่เพียงร้อยละ 11.5 ไม่เชื่อมั่น อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.9 คิดว่าการเมืองของประเทศไทยนับจากวันนี้ไปจะร้อนแรงวุ่นวายมากขึ้น และเมื่อถามถึงข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการลดความร้อนแรงทางการเมืองลง พบว่า ร้อยละ 40.7 ระบุใช้ความจริงใจ ลงพื้นที่เข้าถึงชาวบ้าน แก้ไขปัญหาเดือดร้อนในพื้นที่ที่กำลังวิกฤตหนักๆ รองลงมาคือ ร้อยละ 19.1 ระบุใช้ความดี ความสุภาพอ่อนโยน ความเป็นกุลสตรีไทย (ใช้น้ำเย็นเข้าลูบ ดับไฟร้อนทางการเมือง) ร้อยละ 15.5 ระบุเดินหน้า มุ่งมั่นทำงานหนักให้สาธารณชนต่อไป ร้อยละ 11.6 ระบุใช้กิจกรรมเชิงวัฒนธรรม ประเพณีรื่นเริงเป็นตัวประสาน เช่น ลอยกระทง ร้อยละ 8.8 ระบุใช้การเจรจา หันหน้าเข้าหากัน แต่เพียงร้อยละ 4.3 ระบุยุบสภาหรือลาออก ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.7 กำลังสนใจข่าวม็อบขับไล่รัฐบาลมากกว่าข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 38.3 กำลังสนใจข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลมากกว่า โดยร้อยละ 71.6 คิดว่าฝ่ายค้านจะมีประเด็นใหม่ที่ประชาชนไม่เคยรู้มาก่อนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.7 ไม่คิดว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยฝ่ายค้านจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 42.3 คิดว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลได้
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.1 ยังมีความหวังที่จะก้าวไปข้างหน้าถึงแม้สถานการณ์การเมืองกำลังจะเริ่มร้อนแรงในขณะนี้ ในขณะที่ร้อยละ 30.9 มีความกลัวต่อเหตุการณ์การเมืองในวันข้างหน้า
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าคิดที่ผลสำรวครั้งนี้ชี้ชัดว่าประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมี “ความเป็นผู้ใหญ่บรรลุวุฒิภาวะในทางการเมือง” และเชื่อมั่นต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคมไทยในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้อาจจะสะท้อนให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของคนเฉพาะกลุ่มที่รัฐบาลต้องใส่ใจให้ความสำคัญตัดไฟแต่ต้นลมด้วยสันติวิธีไม่ยั่วยุให้เกิดอารมณ์ต่อต้านอำนาจรัฐ และควรใช้ความหนักแน่นอดทนแสดงความเป็นผู้นำเข้าถึงหัวใจของปัญหาที่กำลังถูกเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชนเพื่อลดแรงเสียดทานที่น่าวิตกเปรียบเสมือน “พายุแซนดี้ทางการเมือง” ของไทยที่กำลังก่อตัวลงได้บ้าง ถ้าเล็งเห็นว่าจะต้านไม่ไหวก็แสดงความเป็นผู้นำด้วยการออกกฎหมายดีๆ ต่อลูกหลานเยาวชนรุ่นใหม่สักฉบับไว้ให้จดจำก่อนคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่ดีกว่าปล่อยให้อำนาจไปอยู่ในมือของกลุ่มคนเฉพาะกลุ่มที่ไม่เป็นประชาธิปไตยจนเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จนยากที่จะฟื้นฟูเยียวยา
“ทางออกคือ บทบาทของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องโดดเด่นมากที่สุดในสถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรงเวลานี้คือ รีบชิงทำให้เกิดการรับรู้ในกลุ่มประชาชนทุกหมู่เหล่าว่านายกรัฐมนตรีเป็นต้นแบบของความสำนึกรู้คุณแผ่นดินไม่ใช่แค่พรีเซนเตอร์ของประเทศไทยในพิธีการต่างๆ อย่างเดียวแต่อยู่ในกิจวัตรประจำวันที่สร้างสรรค์ของนายกรัฐมนตรีเองเพื่อปลุกจิตสำนึกของสาธารณชนให้เห็นพ้องเกิดความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ช่วยกันประคับประคองบ้านเมืองไปให้รอดเจริญมั่นคงมากขึ้นเรื่อยๆ อย่าปล่อยให้คนอื่นแสดงบทบาทนี้แทน และอย่ายืนหลังชายใส่สูทผูกเนคไทคนใดทั้งสิ้น อย่าลอยตัวหนีปัญหา แต่ให้นึกถึงบรรพบุรุษสตรีไทยผู้กอบกู้ประเทศชาติในประวัติศาสตร์ เพราะนายกรัฐมนตรีคือผู้นำประเทศในยามที่สถานการณ์การเมืองกำลังแกว่งตัว จึงขอให้หลีกเลี่ยงบทบาทที่ “ร้อนแรง” และขอให้ลดการใช้โมเดลที่เน้นการประเมินผลลัพธ์ของการตัดสินใจเชิงผลได้กับผลเสีย เช่น อย่าทำให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความเสียหายมากกว่าฝ่ายรัฐบาล และอย่าทำให้รู้สึกว่าฝ่ายรัฐบาลเป็นฝ่ายได้เปรียบเยาะเย้ยเหนือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล เพราะโมเดลเหล่านี้ในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติที่ผ่านมาในอดีตของหลายประเทศมักจะทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองยืดเยื้อไม่จบสิ้น” ดร.นพดล กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.6 เป็นชาย
ร้อยละ 52.4 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 35.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 59.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 35.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 29.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.5 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน
ร้อยละ 8.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.3 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.7 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผ่านสื่อมวลชน ค่าร้อยละ 1 ติดตาม 93.3 2 ไม่ได้ติดตามเลย 6.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลดีที่ประเทศไทยได้รับจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ผลดีที่ประเทศไทยได้รับ ค่าร้อยละ 1 ด้านการส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตย 90.1 2 ด้านการพัฒนาประเทศ และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 82.3 3 ด้านมนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน 78.9 4 ด้านปัญหายาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ 64.8 5 ด้านการส่งออก การลงทุนและธุรกิจ 62.4 6 ด้านการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติและการฟื้นฟูเยียวยาเหยื่อภัยพิบัติ 57.0 7 ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย 55.2 8 ด้านการศึกษาและการฝึกอบรม 53.8 9 ด้านระบบสาธารณสุข 27.2 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แบบอย่างที่ดีที่ได้รับจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ แบบอย่างที่ดีที่ได้รับจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ค่าร้อยละ 1 การยอมรับผลของการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมาของชาวอเมริกัน ไม่วุ่นวาย ไม่เหมือนประเทศไทย 78.9 2 การไม่ซื้อสิทธิขายเสียงของประชาชนชาวอเมริกัน 69.4 3 การแข่งขันเชิงนโยบายสาธารณะ ไม่มุ่งเอาแต่ชนะ ไม่สร้างเงื่อนไขขัดแย้งรุนแรงในหมู่ประชาชน 67.5 4 มีน้ำใจต่อกัน แข่งขันกันเข้มข้น แต่เมื่อเกิดวิกฤตชาติขึ้นมาถึงก็ช่วยเหลือกัน 66.8 5 การตื่นตัวของประชนชนที่แสดงถึงความรักชาติสูง 65.3 6 ให้โอกาสแต่ละฝ่ายบริหารประเทศจนครบวาระ ใช้การเลือกตั้งเป็นตัวตัดสิน 62.4 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่อยากเห็นนักการเมืองไทยฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านแสดงออกต่อกันในการส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมากที่สุด ลำดับที่ สิ่งที่อยากเห็นนักการเมืองไทยฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านแสดงออกต่อกัน ค่าร้อยละ 1 ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รักกัน มีน้ำใจไมตรีจิตต่อกัน ทำงานหนักร่วมกันแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ 34.9 2 ไม่ใช้ความรุนแรง เคารพกฎกติกาของบ้านเมือง 20.5 3 เลิกจองเวร ล้างแค้นกัน เลิกทะเลาะกัน 13.3 4 ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ ไม่ทำเกินเลยขอบเขตหน้าที่ของตน ไม่หลงลืมตัว 11.0 5 ตัดสินกันด้วยการเลือกตั้ง 8.3 6 สนับสนุนกันให้ทำงานจนครบวาระ 5.6 7 อื่นๆ เช่น ลดอคติต่อกัน ถอยกันคนละก้าว ใช้การเมืองแก้ปัญหาการเมือง ใช้การเจรจากัน เป็นต้น 6.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยภายหลังจากติดตามข่าวเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 88.5 2 ไม่เชื่อมั่น 11.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความร้อนแรงทางการเมืองของประเทศไทยนับจากวันนี้ไป ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 จะร้อนแรงวุ่นวายมากขึ้น 70.9 2 จะไม่ร้อนแรงวุ่นวายมากไปกว่านี้ 29.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะต่อ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการลดความร้อนแรงทางการเมืองของประเทศไทยมากที่สุด (ตอบเพียงข้อเดียว) ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการลดความร้อนแรงทางการเมือง ค่าร้อยละ 1 ใช้ความจริงใจ ลงพื้นที่เข้าถึงชาวบ้าน แก้ไขปัญหาเดือดร้อนที่กำลังวิกฤตหนักๆ 40.7 2 ใช้ความดี ความสุภาพอ่อนโยน ความเป็นกุลสตรีไทย (ใช้น้ำเย็นเข้าลูบ ดับไฟร้อนทางการเมือง) 19.1 3 เดินหน้า มุ่งมั่นทำงานหนักให้สาธารณชนต่อไป 15.5 4 ใช้กิจกรรมเชิงวัฒนธรรม ประเพณีรื่นเริงเป็นตัวประสาน เช่น ลอยกระทง 11.6 5 ใช้การเจรจา หันหน้าเข้าหากัน 8.8 6 ยุบสภา ลาออก 4.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสนใจต่อข่าวม็อบไล่รัฐบาลกับข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ลำดับที่ ความสนใจของประชาชน ค่าร้อยละ 1 สนใจข่าวม็อบขับไล่รัฐบาลมากกว่า 61.7 2 สนใจข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลมากกว่า 38.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ว่าฝ่ายค้านจะมีประเด็นใหม่ที่ประชาชนไม่รู้มาก่อนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในครั้งนี้ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่ามี 71.6 2 ไม่คิดว่ามี 28.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในครั้งนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในรัฐบาล ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 42.3 2 ไม่คิดว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 57.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความหวัง กับ ความกลัว ในสถานการณ์การเมืองที่กำลังเริ่มร้อนแรงขณะนี้ ลำดับที่ ความหวัง กับ ความกลัว ค่าร้อยละ 1 ยังมีความหวังจะก้าวไปข้างหน้า 69.1 2 มีความกลัวต่อเหตุการณ์การเมืองข้างหน้า 30.9 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--