ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.5 มีความรู้สึกยินดีต้อนรับต่อการมาเยือนของ นาย เวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนระดับค่อนข้างมากถึงมากที่สุด และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 รู้สึกผูกพันใกล้ชิดค่อนข้างมากถึงมากที่สุดกับประเทศจีน นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 รู้สึกภูมิใจต่อประเทศไทยค่อนข้างมากถึงมากที่สุดที่ผู้นำทั้งสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีนมาเยือนประเทศไทย
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อถามถึงรูปแบบการต้อนรับของรัฐบาลไทยต่อ นาย เวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนที่อยากเห็น ระหว่างการจัดแถวกลุ่มเด็กเล็ก นักเรียน นักศึกษาถือธงชาติของจีนและไทย กับ การจัดแถว ทหาร ตำรวจ กองเกียรติยศ พบว่า ร้อยละ 37.3 อยากเห็นการต้อนรับโดยจัดแถวกลุ่มเด็กเล็ก นักเรียน นักศึกษาถือธงชาติจีนและไทยมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 32.8 อยากเห็นทั้งสองรูปแบบ และร้อยละ 29.9 อยากเห็นการต้อนรับโดยจัดแถว ทหาร ตำรวจ กองเกียรติยศมากกว่า
ที่น่าสนใจคือ นโยบายสาธารณะระหว่างประเทศที่ต้องการให้ทั้งประเทศจีนและประเทศไทยร่วมมือกัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.4 อยากเห็นการค้าการลงทุนร่วมกัน ร้อยละ 82.5 อยากเห็นการแก้ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ ร้อยละ 80.8 อยากเห็นนโยบายด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ร้อยละ 71.5 อยากเห็นนโยบายสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย ร้อยละ 63.8 อยากเห็นนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ร้อยละ 45.8 อยากเห็นนโยบายแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา และร้อยละ 42.3 อยากเห็นนโยบายด้านสุขภาพ เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ ประเภทของการค้าการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนที่คนไทยอยากเห็น นาย เวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน กับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร่วมกันผลักดัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.2 ระบุด้านการเกษตร รองลงมาคือ ร้อยละ 77.6 ด้านการท่องเที่ยว ร้อยละ 65.9 ระบุด้านเทคโนโลยี ร้อยละ 63.2 ระบุด้านการคมนาคม ร้อยละ 62.7 ระบุการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ร้อยละ 61.6 ระบุด้านอาหาร ร้อยละ 59.4 ระบุด้านการศึกษา ร้อยละ 52.7 ระบุด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ ร้อยละ 52.1 ระบุด้านสุขภาพ และร้อยละ 50.4 ระบุด้านพลังงาน ตามลำดับ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.8 เป็นชาย ร้อยละ 51.2 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 2.9 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 19.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 61.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ ร้อยละ 38.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 34.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 28.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 12.4 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 10.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.7 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 5.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 1.2 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ความรู้สึกยินดีต้อนรับ ค่าร้อยละ 1 ยินดีค่อนข้างมากถึงมากที่สุด 73.5 2 ปานกลาง 22.6 3 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด 3.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกผูกพันใกล้ชิดของคนไทยกับประเทศจีน ลำดับที่ ความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด ค่าร้อยละ 1 รู้สึกผูกพันใกล้ชิดค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด 72.2 2 ปานกลาง 24.7 3 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด 3.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกภูมิใจต่อประเทศไทยที่ผู้นำทั้งสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีนมาเยือนประเทศไทย ลำดับที่ ความรู้สึกภูมิใจต่อประเทศไทย ค่าร้อยละ 1 รู้สึกภูมิใจค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด 80.6 2 ปานกลาง 15.5 3 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด 3.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ รูปแบบการต้อนรับของรัฐบาลไทยต่อ นาย เวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ลำดับที่ รูปแบบการต้อนรับ ค่าร้อยละ 1 ต้อนรับโดยจัดแถวกลุ่มเด็กเล็ก นักเรียน นักศึกษาถือธงชาติจีนและไทย มากกว่า 37.3 2 ต้อนรับโดยจัดแถว ทหาร ตำรวจ กองเกียรติยศ มากกว่า 29.9 3 ทั้งสองรูปแบบ 32.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นโยบายสาธารณะระหว่างประเทศที่ต้องการให้ทั้งประเทศจีนและประเทศไทยร่วมมือกัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ นโยบายสาธารณะระหว่างประเทศ ค่าร้อยละ 1 การค้าการลงทุน 86.4 2 การแก้ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ 82.5 3 การศึกษาและวัฒนธรรม 80.8 4 ด้านสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย 71.5 5 ด้านสิทธิมนุษยชน 63.8 6 นโยบายแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา 45.8 7 ด้านสุขภาพ 42.3 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทของการค้าการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ประเภทการค้าการลงทุน ค่าร้อยละ 1 ด้านการเกษตร 78.2 2 ด้านการท่องเที่ยว 77.6 3 ด้านเทคโนโลยี 65.9 4 ด้านการคมนาคม 63.2 5 การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง 62.7 6 ด้านอาหาร 61.6 7 ด้านการศึกษา 59.4 8 ด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ 52.7 9 ด้านสุขภาพ 52.1 10 ด้านพลังงาน 50.4
--เอแบคโพลล์--