ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความหวังในความสงบร่มเย็นของบ้านเมืองหลังการยุติการชุมนุมทางการเมืองขององค์การพิทักษ์สยาม พบว่า ร้อยละ 48.3 มีความหวังเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.4 หวังเท่าเดิม และร้อยละ 15.3 มีความหวังลดลง
เมื่อถามถึงคะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความสงบเรียบร้อยของการชุมนุมทางการเมืองขององค์การพิทักษ์สยาม เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาให้ 8.02 คะแนน โดยร้อยละ 82.7 พอใจค่อนข้างมากถึงมาก ต่อแผนหรือวิธีการของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ในการรับมือดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 17.3 พอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อย
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความชื่นชมความเป็นผู้นำในการตัดสินใจของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ที่ประกาศยุติการชุมนุมทางการเมืองตามคำพูดและช่วยรักษาความสงบของบ้านเมือง พบว่า ประชาชนทั้งกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 และกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่ร้อยละ 67.1 ชื่นชม พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ที่ยุติการชุมนุมตามคำพูดและเพื่อรักษาความสงบของบ้านเมือง อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาลเกินครึ่งหรือร้อยละ 53.4 ไม่ชื่นชม
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงความพร้อมสนับสนุนการชุมนุมทางการเมืองขับไล่รัฐบาล ถ้าพบว่า รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตคอรัปชั่นโดยไม่เร่งรีบแก้ไข พบว่า ทั้งกลุ่มพลังเงียบเกินครึ่งหรือร้อยละ 53.8 และกลุ่มผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.4 พร้อมสนับสนุนการชุมนุมขับไล่รัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 55.7 ของผู้สนับสนุนรัฐบาลไม่พร้อมสนับสนุนการชุมนุมขับไล่เพราะ ควรใช้กระบวนการยุติธรรมดีกว่า ใช้ระบบรัฐสภา ใช้วิธีอื่นที่ไม่เกิดความรุนแรงบานปลาย ต้องการให้เป็นไปตามธรรมชาติของประชาธิปไตย และให้ทุกอย่างตัดสินที่การเลือกตั้ง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.6 เห็นด้วยกับแนวคิดที่ รัฐบาลควรสร้างอาคารขนาดใหญ่เปิดพื้นที่เฉพาะสำหรับการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเพื่อเป็นเวทีภาคประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เพราะ จะได้ไม่วุ่นวาย เป็นสัดส่วน สะดวกสบาย ดูแลความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยได้ง่าย เป็นการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วยสันติวิธี และไม่เสี่ยงต่อการเกิดความสูญเสียโดยง่าย ในขณะที่ร้อยละ 26.4 ไม่เห็นด้วย เพราะ สิ้นเปลืองงบประมาณ ถึงเวลาคนเหล่านั้นก็ไม่ใช้ ชุมนุมกันก็ต้องการให้เกิดความวุ่นวาย ดึงความสนใจของสาธารณชนเพื่อต่อรองผลประโยชน์และอำนาจกัน เป็นต้น
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่จะ “ลด” ปัจจัยกระตุ้นการชุมนุมขับไล่รัฐบาลลงไปได้ โดยทำในสิ่งที่รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำไม่ทันในช่วงก่อนการยึดอำนาจ เดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2549 เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยประกาศจะทำสงครามกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่น การวางยุทธศาสตร์ที่บูรณาการทุกหน่วยงานของรัฐบาลมาเป็น “โมเดลทำสงครามกับคอรัปชั่น” น่าจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติการของรัฐบาลเองจนทำให้ชาวบ้าน “วางใจ” ต่อรัฐบาล ไม่ต้องรอองค์กรอิสระมาคอยจับผิดเพราะจะทำให้เกิดการจินตนาการและความเชื่อว่า รัฐบาลเป็น “หนู” หรือ “ผู้ร้าย” ส่วนองค์กรอิสระเป็น “แมว” หรือ “พระเอก” ดังนั้น ถ้ารัฐบาลสร้างความโปร่งใสและความวางใจของสาธารณชนต่อรัฐบาลได้เอง ผลที่ตามมาคือ องค์กรอิสระก็จะไม่จำเป็น และทั้ง “รัฐบาลและการปกครองแบบประชาธิปไตย” ก็จะมั่นคง
“ด้วยเหตุและผลเหล่านี้ ในจังหวะเวลาที่เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวางจึงเป็นช่วงเวลาพิสูจน์ที่สำคัญของรัฐบาลในการใช้หน่วยงานของรัฐบาลเอง เช่น ป.ป.ท. ให้มีประสิทธิภาพ เปิดทางให้ ป.ป.ท. แสดงบทบาทเด่นๆ เหมือนยุคของ พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ อดีตเลขาธิการ ป.ป.ท. เคยทำไว้และได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชนในการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมากกว่าองค์กรอิสระอีกด้วย รัฐบาลจึงอย่าหยุดความเชื่อมั่นของพี่น้องประชาชนต่อรัฐบาลผ่านหน่วยงานของรัฐบาลเอง เพราะถ้าความเสื่อมศรัทธาต่อรัฐบาลเกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ผลที่ตามมาคือ ทั้ง “รัฐบาลและการปกครองแบบประชาธิปไตย” จะสั่นคลอน” ดร.นพดล กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.8 ระบุในสถานการณ์การเมืองปัจจุบันขอเป็นพลังเงียบหรือเป็นกลุ่มไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 24.1 ระบุเป็นกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 14.1 เป็นกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล ตัวอย่างร้อยละ 47.4 เป็นชาย ร้อยละ 52.6 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.9 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 27.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 23.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 23.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 62.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ ร้อยละ 37.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 33.8 ระบุเกษตรกร/ รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ร้อยละ 25.1 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 11.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.6 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 7.3 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.9 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ความหวัง ค่าร้อยละ 1 มีความหวังในความสงบร่มเย็นของบ้านเมืองเพิ่มขึ้น 48.3 2 เท่าเดิม 36.4 3 ลดลง 15.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าคะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการชุมนุมทางการเมืองโดยองค์การพิทักษ์สยาม เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ความพึงพอใจ คะแนนเฉลี่ย ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในการดูแลความสงบเรียบร้อย ของประชาชนในการชุมนุมทางการเมืองโดยองค์การพิทักษ์สยาม 8.02 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความพอใจต่อ แผนหรือวิธีการของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ในการรับมือดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ลำดับที่ ระดับความพอใจ ค่าร้อยละ 1 พอใจค่อนข้างมาก ถึง มาก 82.7 2 ค่อนข้างน้อย ถึง น้อย 17.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การแสดงความชื่นชมความเป็นผู้นำในการตัดสินใจของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ที่ประกาศยุติการชุมนุมทางการเมืองตามคำพูดและช่วยรักษาความสงบของบ้านเมือง จำแนกตาม กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล และกลุ่มพลังเงียบ ลำดับที่ ความรู้สึกของสาธารณชน สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ กลุ่มไม่ฝักใฝ่ 1 ชื่นชม พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ที่ยุติการชุมนุมตามคำพูดและเพื่อรักษาความสงบของบ้านเมือง 67.1 46.6 69.5 2 ไม่ชื่นชม 32.9 53.4 30.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพร้อมสนับสนุนการชุมนุมทางการเมืองขับไล่รัฐบาล ถ้าพบว่ารัฐบาลปล่อยปละละเลยให้มี การทุจริตคอรัปชั่นโดยไม่เร่งรีบแก้ไข ลำดับที่ ความพร้อมสนับสนุนการชุมนุม กลุ่มสนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ กลุ่มไม่ฝักใฝ่ 1 พร้อมสนับสนุนการชุมนุม ถ้ารัฐบาลปล่อยปละละเลย ให้มีการทุจริตคอรัปชั่นโดยไม่เร่งรีบแก้ไข 44.3 79.4 53.8 2 ไม่พร้อมสนับสนุน เพราะ ควรใช้กระบวนการยุติธรรมดีกว่า
ใช้ระบบรัฐสภา ใช้วิธีอื่นที่ไม่เกิดความรุนแรงบานปลาย
ต้องการให้เป็นไปตามธรรมชาติของประชาธิปไตย
ให้ทุกอย่างตัดสินที่การเลือกตั้ง เป็นต้น 55.7 20.6 46.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวคิดที่ว่า รัฐบาลควรสร้างอาคารขนาดใหญ่เปิดพื้นที่เฉพาะ สำหรับการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อเป็นเวทีภาคประชาชนแสดงความคิดเห็น ต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย เพราะ จะได้ไม่วุ่นวาย เป็นสัดส่วน สะดวกสบาย ดูแลความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยได้ง่าย
เป็นการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วยสันติวิธี ไม่เสี่ยงต่อการเกิดความสูญเสียโดยง่าย เป็นต้น 73.6
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ สิ้นเปลืองงบประมาณ ถึงเวลาก็ไม่ใช้ ชุมนุมกันก็ต้องการให้เกิดความวุ่นวาย ดึงความสนใจ ของสาธารณชนเพื่อต่อรองผลประโยชน์และอำนาจกัน เป็นต้น 26.4 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--